foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

pra tam tesana header

าตมาเคยถามญาติโยม ถามไปถามมา เลยไม่ได้อะไร ไม่รู้จะเอาอะไร ได้แต่ว่า “แก่แหล่ว” จั๊กแหล่ว นี้มันภาษาไม่รู้เรื่องนะ ถามไปถามมาเลยไม่รู้จะเอาอะไร ไม่มีอะไรจะได้ ทำมาตั้งแต่เล็ก จนแก่จนเฒ่า เวลาจะเอาจริงๆ ไม่รู้จะเอาอะไร ถามมาที่เอาไม่มีใครตอบได้ ว่าจะเอาอะไร เวลาทำทำเต็มมือเต็มเท้า เวลาจะไป กลับไม่ได้อะไร มันน่าสงสารจริงๆ นะ นี้ก็ควรคิด

มาปีนี้ก็ต่างเก่านะ ต่างแม้กระทั่งอาตมาด้วย แก่ลงหลาย คนหัวหงอกหัวขาว สวยกว่าเก่า หือ....ควรคิดนะ พากันสร้างบารมี ถ้าไม่ได้ใจตนเองแล้ว ไม่มีอะไรจะได้นะ คิดดูให้ดีซิ ไม่มีอะไรจะได้ มีแต่ทำแต่ไม่เห็นที่ได้ ถ้าเป็นนักมวยก็มีแต่ชก แต่ไม่มีหมัดล้มหมัดตาย นี้ควรเอาไปคิดดูไปพิจารณาดูให้ดีๆ ว่าเราได้อะไรหนอ? ไม่มีอะไรได้ อาตมาเคยเล่าให้ฟังว่า คนบางจำพวก อย่างวัดหนองป่าพงเป็นตัวอย่าง ต่างประเทศเขาก็มากัน แม่ออกพ่อออก (โยมผู้หญิงผู้ชาย) บ้านใกล้ๆ ไม่เคยเห็นวัดหนองป่าพงเลยก็มี อย่างนี้มันเป็นเพราะอะไร?

pla mai hen nam

เพราะไม่ได้พิจารณา หลง หลงไปข้างหน้า หลงไปข้างหลัง ไม่รู้จะทำอะไร ให้เราพิจารณา ให้ภาวนา ภาวนาก็คือให้คิดให้อ่าน ให้พิจารณา ทำอะไรก็ภาวนาทั้งหมดนั่นแหละ ทำไร่ก็ภาวนา ทำนาก็ภาวนา แต่ไม่รู้ตัวเอง มันสั้นไปละมัง มันยาวไปละมัง เหล่านี้ ล้วนแต่ภาวนาทั้งหมดนั่นแหละ แต่เราไม่รู้จัก

cha 15ภาวนา คือ การพิจารณาให้เห็นที่มันถูกต้อง เห็นเป็นที่ถูกต้องเป็นที่พอคือแล้วมาแต่งใจเจ้าของ แต่พวกเราพากันไปดูแต่ที่อื่น ไม่ได้ดูตัวเอง ไม่ได้แต่งใจตัวเองสักที ไม่ได้รักษาใจตนเอง มันพาทุกข์พายาก พาลำบากอยู่ก็ไม่เห็น คนไม่ดูตนเอง ไม่รักษาตนเอง มันพาทุกข์พายาก พาลำบากอยู่ก็ไม่ยอมแก้ไข การมาพิงธรรมก็คือมาหาความรู้แล้วไปศึกษา ศึกษาทางกายด้วย ทางใจด้วย ให้ไปศึกษา คนเรามันไม่รู้จักตัวเองนะ

อาตมาเคยบอกว่า "ปลามันอยู่ในน้ำ แต่ไม่เห็นน้ำ" พ่อแม่ ปูย่า ตายายมันก็เกิดอยู่ในน้ำ แต่มันไม่เห็นน้ำ น้ำแช่ตามันอยู่ มันก็ไม่เห็น มันไม่ไกลหรอก มันใกล้เกินไปเลยไม่เห็น ความไม่เห็นนี้ อยู่ใกล้ก็ไม่เห็น อยู่ไกลมันก็ไม่เห็น เหมือนไส้เดือนกินดินขี้ขวยสูงตั้งศอก แต่มันไม่เห็นดิน กินดินอยู่แต่ก็ไม่เห็น เหมือนคนไม่เห็นตัวเองก็เป็นอย่างนั้น หรือเหมือนสุนัข อาหารของสุนัขก็คือข้าวเหมือนพวกเรา ข้าวสารข้าวสุกมันก็กิน แต่ถ้าเป็นข้าวเปลือกมันไม่เห็นที่กิน ยามฤดูหนาวเรานวดข้าว มันก็นอนบนกองข้าว.... สบาย แต่พอหิวอาหารกลับวิ่งหนีไปกินที่อื่น ที่ตนนอนทับอยู่นั้นมันไม่เห็น มันใกล้เกินไป เพราะอะไร? เพราะเปลือกข้าวบังไว้อยู่ นี่แหละ เราหลงตัวเองก็เหมือนกับสุนัขนอนอยู่บนกองข้าว แต่เวลาหิวก็วิ่งไปกินเศษก้างปูก้างปลาที่เขาเททิ้งโน่น ทั้งยากทั้งลำบาก ที่ตัวนอนทับอยู่ไม่รู้ว่าเป็นอาหารของตัวเอง มันไม่รู้วิธีกะเทาะข้าวเปลือก มันไม่มีโรงสี มันซ้อมข้าวไม่เป็นเลยไม่เห็นที่จะกิน

พระพุทธเจ้าก็เหมือนกันกับพวกเราทั้งหลาย ก่อนจะเป็นพระพุทธเจ้าก็เหมือนพวกเรานี่แหละ แต่ท่านรู้จักเจ้าของ รู้จักแก้ไขเรื่องต่างๆ ในใจเจ้าของ ท่านแนะน่าเจ้าของแก้ไขความทุกข์ของตนเองได้ เรามาพิงธรรมก็คือมาพิงเอาความรู้ไปแก้ปัญหา พ่อออกแม่ออกหรือพวกเราทุกคนเกิดมา มันมีปัญหาติดต่อกันเรื่อยๆ อยู่บ้านยิ่งแยะ ปัญหาเรื่องนาบ้าง ฝนดีเกินไปบ้าง ฝนไม่ดีบ้าง นํ้าท่วมข้าวบ้าง ดำนาล่าไปบ้าง เรื่องวัว เรื่องควาย เรื่องเงินเรื่องทอง สารพัดอย่างซึ่งเป็นปัญหาถามเรา

cha 13บางครั้งดึกขนาดนี้ยังนอนไม่หลับ เพราะกำลังแก้ปัญหาอยู่ แต่คนเราไม่รู้จักการแก้ปัญหา พูดง่ายๆ ว่า ถ้ามันร้อนก็เป็นทุกข์ มันหนาวก็เป็นทุกข์ แก้ปัญหาไม่ได้ เผลอๆ ด่ากระทั่งแดด ด่ากระทั่งลม ว่ามันร้อนโคตรพ่อโคตรแม่มัน... อะไรอย่างนี้ ว่าไปทั่ว อ้าวเรื่องมันร้อน ก็เรื่องธรรมดาเว้ย ให้ดูจิตของตนเอง อย่าไปกวนเขา เพราะเขาเป็นอย่างนั้น ถึงคราวร้อนเขาก็ร้อน ถึงคราวเย็นเขาก็เย็น เพราะธรรมชาติเขาเป็นอยู่อย่างนั้น เราก็วิ่งไปตามแต่สิ่งทั้งหลายเหล่านั้น

สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา แต่พวกเราไม่รู้จัก ของในโลกนี้มันเรียบร้อยหมด ทุกอย่างไม่มีปัญหา มันมีปัญหาก็แต่พวกเรา เรานั้นพยายามไปติเขา อันนั้นเล็กไป อันนั้นใหญ่ไป อันนั้นสั้นไป อันนั้นยาวไป จริงๆ แล้วเขาก็ไม่ได้ว่าอะไร สั้นเขาก็อยู่อย่างนั้น ยาวเขาก็อยู่อย่างนั้น เขาไม่ได้ว่าอะไร เราชอบหาเรื่องใส่เขาไม่หยุดไม่หย่อน นี้เรียกว่าไม่ได้แก้ปัญหา เรื่องธรรมชาติมันเป็นอยู่ตามเรื่องของมัน แต่เราไม่มีปัญญาเอาธรรมชาติเหล่านั้นมาไซได้

เหมือนอย่างต้นไม่ในป่า มันมีทั้งต้นทั้งใบทั้งเปลือก นี้คือธรรมชาติของมัน เขาก็เป็นของเขาอยู่อย่างนั้น เขาไม่ได้ว่า เขาเล็ก เขาใหญ่ เขาสั้น เขายาว เขาเป็นอยู่อย่างนั้น ผู้มีปัญญาก็นำธรรมชาติเหล่านั้นมาแต่ง มาแปลงเอาด้วยปัญญา แปลงมาเป็นขื่อเป็นแป ให้เป็นบ้านเป็นเรือน นี้เรียกว่าปล้อนเอาออกมาจากธรรมชาติ เราเห็นธรรมชาติมันสงบทุกอย่าง ทั้งต้นไม้ภูเขา เถาวัลย์ก็ล้วนแต่เป็นของสงบอยู่ เรานี่แหละไม่ดีเอง เที่ยวติเขาไม่ได้หยุด เดินจากป่ามาบ้านเจอฟืนดุ้นหนึ่ง แบกใส่บ่าเดินมา แบกไปแบกไปมันก็ยิ่งหนัก จะทิ้งก็เสียดาย จะแบกต่อไปก็หนัก แต่ก็ทนแบกไปจนยางตายแทบออก พอมาถึงบ้านทิ้งลง โครม "โคตรพ่อโคตรแม่มันหนักเหลือเกิน" พูดแล้วก็แล้วไป ไม่ได้พิจารณา ไม่รู้ว่าใครหนัก ไม้หนักหรือว่าเราหนัก ก็ไม่รู้ ไม่รู้ว่าด่าแม่ใคร หรือด่าแม่ตนเองก็ไม่รู้ ใครหนักก็คงจะด่าแม่คนนั้นละมัง...นะ เพราะไม้มันไม่หนักไม่เบา มันเป็นอยู่อย่างนั้น นี้คือคนไม่รู้เรื่อง ไม่รู้จักแก้เจ้าของ ไม่รู้จักเหตุผล

พวกเราให้พาก้นสร้างบารมี เพิ่มพูนบารมีของเรา อาตมา เห็นว่า... บุญเด้อพ่อออก บุญคือการกระทำดีกระทำชอบ เป็นบุญ บุญนี้เกิดขึ้นมาก็เรียกว่า กรรมเก่า มีทั้งบุญและบาป ถ้าเราทำอะไรไป ถ้ากรรมเก่าคือบาปมาเกี่ยวข้องแล้วลำบาก เสียหายมาก เราอยู่ไปหากินไป ถ้ากรรมเก่าที่ดีมาพัวพันเป็นเหตุให้ง่าย ให้ดีขึ้นมาได้ มันเป็นอย่างนั้น

samati2ฉะนั้น พวกเรานั้นสมควรที่จะพากันศึกษาเรื่องนี้ ถ้าใครไม่รู้จักธรรมะ ก็เอาตนหลุดพ้นไปจากทุกข์ไม่ได้ คำว่า “ทุกข์” คือ ทุกข์ทางใจ พวกเราอาจจะไม่รู้จัก หรือบางคนอาจจะคิดว่า พระพุทธเจ้าตายไปแล้ว อย่างนั้ก็มีนะ พระพุทธเจ้ามีองค์เดียวเท่านั้นแหละ ท่านตายแล้ว.... หยุด! ถ้าอาตมาจะพูดว่าพระพุทธเจ้ายังไม่ตาย โยมพ่อออกจะว่าอย่างไร? ก็ท่านยังไม่ตาย ทุกวันนี้ท่านยังอยู่ ท่านยังช่วยมนุษย์ทั้งหลายในโลกนี้ ถ้าทำดีท่านยังช่วยอยู่ตลอดเวลา พระธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว พระธรรมก็คือพระพุทธเจ้า ใครเห็นพระพุทธเจ้าก็คือเห็นพระธรรม ใครเห็นพระธรรมก็คือเห็นพระพุทธเจ้า ใครเห็นพระพุทธเจ้าก็คือเห็นพระสงฆ์ ใครเห็นพระสงฆ์ก็เห็นพระธรรม ไม่ได้อยู่ไกลที่ไหน อยู่ตรงนี้ เดิมพระพุทธเจ้า ก็เป็นสิทธัตถราชกุมาร เป็นคนธรรมดาเหมือนกับเรา ยังไม่รู้อะไร เมื่อท่านรู้ธรรมะชัดเจนแล้ว ก็เรียกท่านว่า “พระพุทธเจ้า” คนธรรมดาเลยหายไป

คำสอนของพระพุทธเจ้านั้น มันเป็นปฏิปักษ์ต่อใจของพวกเรา เทศน์ไปๆ ถ้าจะเทศน์ความจริงให้ฟังจริงๆ แล้ว ทุกสิ่งมีแต่เรื่องขัดใจเรา เพราะเหตุใด? เพราะใจเรามันสกปรก มีแต่เรื่องขัดใจทุกอย่าง พวกเรามันเสียดายความชั่ว เสียดายความไม่ดี เสียดายความสกปรก อยากเก็บเอาไว้ ท่านว่าทิ้งมันเสีย ก็ไม่อยากจะทิ้ง มันชอบของเลว ไม่ชอบของดี อย่างนี้... อาตมาถึงว่า ธรรมของพระพุทธเจ้ามันขัดใจคน ขัดใจปุถุชนทั้งหลาย ขัดจนกลายเป็นอริยชน ถ้าไม่ขัดอย่างนั้นก็ไม่ได้ อาตมาเคยไปเทศน์ธรรมะหลายแห่ง เข้าไปบางบ้านเทศน์ให้ฟัง บางทีพ่อออก แม่ออก อยู่บ้านเดียวกันก็ยังทะเลาะกัน คนหนึ่งไป อีกคนหนึ่งไม่ไป คนหนึ่งว่าถูก คนหนึ่งว่าผิด แยกกันเลย มันแยกกันนี้เป็นเพราะอะไร? เพราะกรรมมันบังไว้ ใครมีปัญญาก็เห็น ใครไม่มืปัญญาก็เห็นได้ยาก เห็นไม่ได้ง่ายๆ ของอันนี้ มันใกล้ มันไม่ได้อยู่ไกลหรอก

เรื่อง ทิฏฐิมานะ ของคนนั้น ถ้าจะเทียบแล้ว จะย้ายภูเขาลูกนี้ไปไว้ที่อื่นก็ยังง่ายกว่า หรือท่าให้มันราบเหมือนแผ่นดินก็ยังง่ายกว่า เป็นอย่างนั้น หรือจะเปรียบให้ฟังอีกง่ายๆ ก็ เหมือนพ่อกำนันนี่แหละ สร้างบ้านขึ้นหลังหนึ่งเสร็จเรียบร้อย อยู่มาได้ลัก ๑๐ วัน หรือเดือนหนึ่ง อย่างนี้ มีคนหนึ่งพูดว่า “พ่อกำนันบ้านหลังนี้รื้อเสียเป็นไง” ชวนรื้อบ้านหัวขาดก็ไม่รื้อ ใช่ไหม? ทำไมล่ะ ก็บ้านเราเพิ่งสร้างขึ้นใหม่ๆ ใครจะยอมรื้อ อีกอย่างหนึ่งก็คงจะยังคิดว่าเพื่อนพูดเล่นอยู่อีกนะ ยังจะนึกว่าคนนั้นมันบ้าหรือไง บ้านเพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆ มาชวนรื้อ ยังนึกว่า เขาพูดเล่นอยู่อีกนะ ยังจะนึกว่าคนนั้นมันบ้าหรือไง บ้านเพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆ มาชวนรื้อ ยังนึกว่าเขาพูดเล่นอยู่อีก ทิฏฐิมานะก็เหมือนกัน เช่นอันนี้มันผิด เลิกเสียนะ โอ๊ย....ไม่ได้ ถ้าสิ่งใดมันชอบสิ่งใดมันติดแล้ว ไม่กล้าละไม่กล้าถอน ติดอยู่นั้นแล้ว.... ยาก ไม่ได้ง่ายๆ ทิฏฐิมานะมันติดมันแน่น มันลึกมันซึ้งเหลือเกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ความเห็นผิดเป็นชอบ พูดให้ฟังไม่เห็นละ ถอนไม่ได้ง่ายๆ คือมันไม่เห็นนั่นเอง ถ้ามันเห็นแล้วมันก็ง่าย แต่นี่มันไม่เห็น เรื่องคนไม่เห็นอยู่ไกลมันก็ไม่เห็น อยู่ใกล้มันก็ไม่เห็น อยู่ในลูกตานี้มันก็ยังไม่เห็น มันจึงเป็นของยากเป็นของลำบากหลาย

arjhan cha 08

ที่พระท่านสอนก็เพื่อละทิฏฐิมานะที่ยึดไว้ถือไว้ของไม่แน่นอน อาตมาจึงอยากจะขอกับญาติโยม ขอไม่มากหรอก ขอเพียงว่า ถึงจะละความผิดไม่ได้ก็ไม่ว่า แต่ขอให้รู้จัก ให้รู้จักว่าอันนี้มันผิดอันนี้มันถูก แค่นี้เสียก่อน ให้รู้จักจริงๆ เท่านี้อาตมาก็ดีใจแล้ว ให้รู้จักจริงๆ ไม่ใช่รู้เล่นๆ เท่านี้ก็ได้ห้าสิบเปอร์เซ็นต์แล้ว ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ถ้าคนรู้ว่าอันนี้มันผิดอยู่ในใจของเขาแล้ว ทำอะไรมันก็รู้ว่าผิด ใจมันบอก ทำเมื่อไหร่มันก็บอกว่าอันนี้มันผิด มันทวงไม่หยุดอย่างนี้ ทำตอนไหนก็ผิด เห็นอยู่เรื่อยๆ เดี๋ยวมันก็หยุดเอง อันนี้ไม่ได้ถามตัวเองสักที มันจึงไม่เห็นชัด มันไม่เห็นชัดอย่างนั้น

เช่นเรากินเหล้าอย่างนี้ พอยกแก้วขึ้นมา ก็บอกว่า....บาปนะ แต่ก็ยังกินอยู่ เพื่อนชวนกินในสังคมอย่างนี้ก็กินไป พอยกแก้ว ขึ้นตอนไหนก็บอกว่าบาปนะ เห็นว่ามันผิดทันที มันเลยขวางกันไปกับใจพวกเรา ยกขึ้นครั้งใดก็นึกอยู่เสมอว่า หลวงพ่อท่านว่ามันบาปนะ ไม่เฉพาะแต่ท่านว่า เห็นคนอื่นกินก็เห็นว่ามันเป็นบ้าเป็นบอ เห็นว่ามันผิดอยู่อย่างนั้น แต่ก็กิน แต่ก็ยังคิด เอ๊า....เอาแค่นี้ ไม่เอาอีกแล้ว เดี๋ยวเขาก็ยกมาให้อีก เอ๊า....ลุง นี้ของหลานนะ เอาสักนิดทั้งๆ ที่รู้ว่ามันผิดอยู่ กินตอนไหนก็รู้ว่ามันผิดอยู่อย่างนี้เรื่อยไป ประเดี๋ยวมันก็หยุด ไม่หยุดก็ไม่ได้ เพราะมันรู้อยู่ว่ามันผิดอย่างนี้

sit salaการฆ่าสัตว์ก็เหมือนกัน เห็นอยู่ว่าฆ่าเขามันบาป แต่ก็ไม่หยุด ไม่หยุดก็ตามแต่ให้มันเห็น อันนี้....อาตมาเคยพบมา จึงพูดให้ฟัง เราสร้างบารมี คือเราฟังแล้วมาพิจารณาใจของเรา เช่น เราไปจับกบแต่ก่อน พอจับได้หักขามันทันที แต่พอบอกว่า มันบาปนะ....โยม คิดหักขาเขาก็เหมือนหักขาเราเหมือนกัน ถ้าคิดให้ดีๆ เมื่อไปพิจารณาดูเลยรู้ขึ้นมา ทีหลังได้กบมาใหม่ไม่หักขา....กลัว....มันกลัว มันลดลงมา ไม่หักขา แต่เอามาใส่ข้องไว้นั่นแหละ เอามาบ้านให้แม่บ้านทำ คิดอย่างนี้ก็ทำ ไปเรื่อยๆ จับกบมาใส่ข้องทีไรก็ไม่หักขาละทีนี้ ได้แล้วขั้นหนึ่ง คือไม่หักขากบ แต่ก็เอามาเหมือนเดิมนั่นแหละ ทำอยู่อย่างนั้น คิดไม่หยุด นึกไปนึกมา ว้า....เว้ย....อันนี้มันก็ยังไม่ถูกมั้ง ไม่หัก แต่ก็ยังเอามาให้เขา มันก็จะเถียงกันอยู่ในใจนั่นแหละ เถียงไป เถียงมา เอาไปเอามา มันสร้างบารมี นึกไปนึกมาก็ยิ่งถูก ว่ามันผิดอยู่ เกรงอยู่ กลัวอยู่ แต่ไม่หยุด แต่ก็คิด อันนี้ก็เป็นเหตุประเดี๋ยวก็หยุด บางทีก็หยุดไม่มาก หยุดเฉพาะวันพระ มันห่างแล้วทีนี้ หยุดแต่วันพระ วันไม่พระก็ยังเอาอยู่ ทำไปปฏิบัติไปแต่กลัวอยู่คิดอยู่ ทำไมหยุด มันก็มีความรู้เกิดขึ้นมาว่า วันพระหรือไม่พระ มันก็คงเหมือนกันละมัง มันสอนอยู่อย่างนี้ จิตเราถ้ามันเห็นแล้ว นั่งอยู่ก็สอน เดินอยู่ก็สอน สอนว่ามัน ผิด....มันผิด....อยู่อย่างนี้ ผลที่สุดมันจู้จี้มาก มันก็หยุดเท่านั้นเอง

สำหรับการสร้างบารมีอาตมาถึงว่า พ่อออกเอ๊ย....รักษา ศีลนะ “ครับ กระผมจะพิจารณา จะพยายาม” นี่คือการเปิดประตูเอาตนเองออก ถ้าคิดว่าไม่ได้หรอกครับ นี่คือการปิดประตูไม่มืหนทางจะออก คำว่าไม่ได้คือเราไม่เคยคิดว่าจะออก ถ้าบอกว่ากระผมจะพิจารณาครับ นี้ยังพอมีหนทาง คำพูดอันนี้เป็นคำพูดออกมาจากจิตใจ ว่าจะพยายามก็จะพยายามจริงๆ นี่คือ การสร้างบารมีทางด้านจิตใจของเรา ทำอะไรก็รู้อยู่เห็นอยู่ว่ามันถูกมันผิด มันเปลี่ยนจากมิจฉาทิฏฐิ มาเป็นสัมมาทิฏฐิ ไม่นานหรอกโยม นี้เรืยกว่า “การสร้างบารมีทางจิต” เห็นไป.... เห็นไป.... ความเห็นมันก็แก่กล้าขึ้น บารมีมันกล้าขึ้นเพิ่มขึ้น อันนี้มันก็เลยมากขึ้น กิเลสมันก็น้อยลงเพราะบารมีมันมากขึ้น เปรียบประหนึ่งว่า เราทุกคนที่นั่งกันอยู่นี้ สมัยก่อนเราเป็นเด็กเล็กๆ ตอนนี้เราเป็นผู้ใหญ่ ถามว่าเด็กเล็กมันหายไปไหน? มันไม่หาย ไปไหนหรอก คือเด็กน้อยเป็นเหตุให้เราใหญ่ เวลาเราโตเด็กมันก็เลยหายไป เด็กไม่มีไม่รู้ไปไหน กลายมาเป็นผู้ใหญ่เลย ไม่มีเด็กน้อย (มิจฉาทิฏฐิ = ความเห็นที่ผิดจากคลองธรรม, สัมมาทิฏฐิ = ความเห็นที่ถูกต้องตามที่เป็นจริง)

arjhan cha 01จิตใจของเราก็เช่นกัน ถ้าความรู้เกิดขึ้น ความไม่รู้มันก็หายไป ทิ้งไป เหมือนกับเรานี่แหละ แต่ก่อนเป็นเด็กแต่พอโตขึ้นมาเด็กก็ไม่มี มันไปไหนละ มันไม่ได้ไปไหนหรอก อยู่ตรงนั้นแหละ คือมันหนีจากเด็กแล้วมาเป็นผู้ใหญ่ มันฆ่าของมันเองหรอก หรือว่าไง? หรือเราคิดว่าเด็กมันไปไหน เด็กน้อยมันวิ่งไปภูเขาโน่นหรือมันไปไหน? หือ....คิดให้คักๆ (ดีๆ) เด้อ นี้เรืยกว่า “การพิจารณา การสร้างบารมี” แต่ก่อนเด็กน้อยมันอยู่กับเรา แต่เมื่อมันใหญ่มันก็เลยไม่มี

มะม่วงก็เหมือนกัน มันเป็นดอกก่อน เวลาเป็นลูกดอกมันไปไหน มันก็มาเป็นลูกนั่นแหละ เวลามันเล็กมันก็ยังไม่ใหญ่ เพราะอะไร? เพราะมันคา (ติด) ลูกเล็กอยู่ ถ้าอยู่ไปนานๆ ใหญ่ก็ปรากฏขึ้น เล็กก็ค่อยหายไป ใหญ่ขึ้นมามันก็ห่าม ผลดิบมันก็หายไป พอถึงเวลามันสุกแล้ว ผลห่าม ผลเล็ก ดอกมันไปไหน เวลามันหวาน ความเปรี้ยวมันไปไหน? เวลาเปลือกมันเหลือง ความเขียวมันไปไหน? มันเข้ามารวมกันที่มะม่วงใบเดียวกันทั้งหมด ผลน้อยก็มารวมที่ผลใหญ่ รสเปรี้ยวก็มารวมที่รสหวาน สีเปลือกที่เขียวๆ ก็มารวมที่สีเหลืองๆ ของมัน ไม่ใช่มันวิ่งไปไหน มันก็มารวมกันที่เดียวทั้งหมด แต่พวกเราไม่รู้จัก ไม่ได้พิจารณา ไม่ได้พิจารณาอย่างไร มะม่วงใบนี้เมื่อมันสุกมาแล้วเราจับขึ้นมา ยกขึ้นมา ไม่ได้เข้าใจว่าเรายกต้นมะม่วง ยกกิ่งมะม่วง ยกรสมะม่วงกลิ่นมะม่วง ไม่เคยเห็นความเป็นจริงแล้วเวลาเราจับมะม่วงขึ้นมากิน ก็คือเรายกขึ้นมาทั้งต้น ทั้งผล ทั้งเมล็ด แต่ในเวลานี้มันเห็นไม่ได้เพราะมันละเอียดมาก เมื่อเวลาเราเอาไปฝังลงบนดินให้มันถูกสัดส่วนของมัน มันจะถอดลำต้นถอดใบขึ้นมา แล้วเกิดกิ่งขึ้นมา เกิดดอกออกผล เกิดรสเกิดชาติขึ้นมา แต่ว่าเวลาเรากินมะม่วงเราไม่เห็นเพราะอะไร? เพราะเราไม่ละเอียด มันจึงไม่เห็น เวลาเอาไปปลูกจึงเห็นว่า โอ้....ที่แท้เราแบกต้นมะม่วงกินอยู่แต่ไม่รู้จัก

ความหลงของสัตว์ก็เหมือนกันฉันนั้น มันเป็นอย่างนั้น พระพุทธองค์ท่านจึงให้สร้างบารมี บารมีก็คือคุณธรรมอันยวดยิ่ง สร้างบารมีทางจิตใจ คือให้พิจารณา ให้ภาวนา “ภาวนา” ก็คือการพิจารณา เหมือนเราจับเอาไม้มาตัด ต้องรู้ว่าตัดตรงนี้ มันจะสั้นไปไหมหนอ หรือจะยาวไปไหมหนอ นี้คือภาวนาล่ะ ไม้นี้มันจะใหญ่ไปหรือเล็กไปหนอ พิจารณาว่าจะตัดตรงไหน

ความจริงทุกคนต้องภาวนา แต่เราไม่รู้เรื่องของเจ้าของ ถ้าเราพิจารณาเหตุพิจารณาผลแล้ว เราก็ทำความชั่วไม่ได้ ไม้.... ถ้าเราพิจารณาแล้วตัดไม่ผิด ถ้าพิจารณาไม่ออกเอาตลับเมตรมาวัดดู ได้ห้าเมตร หกเมตร ตามที่เราต้องการค่อยตัด ไม่ผิด นี้เรืยกว่า การภาวนา ทุกอย่างให้ได้ภาวนา

พระพุทธองค์ท่านจึงสอนว่า การให้ทานร้อยครั้ง ไม่เท่ารักษาศีลครั้งหนึ่ง รักษาศีลร้อยครั้งไม่เท่าภาวนาครั้งหนึ่ง ภาวนานี้มันละเอียด เพราะภาวนานี้มันถึงจิต มันปล้อนสารพัดอย่างออกมาได้ เห็นในจิตตนเอง ถ้าเห็นในจิตตนเองแล้ว ต่างจากคนที่ไม่เห็น เหมือนกันกับเราไปเห็นหมูป่าหรืออีเก้งด้วยตนเอง กับการที่เราได้ยินเขาพูดให้ฟังว่า หมูปาเป็นอย่างนี้นะ อีเก้งเป็นอย่างนี้นะ เท่านี้ก็มืความรู้ต่างกันแล้ว ถ้าเราเห็นชัดเจนแล้วว่า ลักษณะหมูปาเป็นอย่างนี้ ใครมาพูดให้ฟังถูกหมด ตลอดรูปร่างสัณฐานของมัน ตลอดขนมัน ขามัน แข้งมันสารพัดอย่าง เราจะมีความสามารถพูดได้อย่างแจ่มแจ้ง แต่ถ้าเราไม่รู้ ได้ยินเขา พูดว่าหมูป่านะ ก็จะมืปัญหาว่า หมูป่ามันเป็นอย่างไร? อธิบายไม่ถูก เดี๋ยวเขาก็จะสวนกลับมาว่า มึงไม่รู้จักหมูหรือไงวะ ถ้าเราเห็นจริงๆ แล้วสามารถอธิบายได้ พูดได้เต็มปาก เพราะทางจิตเห็นมันเป็นอย่างนั้น การภาวนามันแจ้งขาวกว่ากัน สิ่งที่เราเอาไปนั้นมันไม่มือะไร เราเห็นชัดเจนแล้ว เรื่องมันเป็นวัตถุ เป็นเรือนชานบ้านช่อง ทรัพย์สมบัติต่างๆ ที่เรืยกว่าของเรานั้นก็จริงอยู่ แต่จริงโดยสมมุติ เป็นของสมมุติ

cha kamson 7

อาตมาเคยไปสำรวจตรวจสอบดู ทายกทายิกา พากันอยากได้วัด ร้องขอ เอาวัดไปให้แล้วไม่รู้พากันทำขนาดไหน ไปเยี่ยมดู ไปสำนักไหนก็มืความรู้สึกว่าเหมือนกับหิ้วของหนัก พากันแบกของหนัก แบกไปๆ มันหนักมาก นึกแต่จะปลงจะวาง มันเหนื่อย....สร้างคุณงามความดีนี้กำลังมันไม่พอ มันมืความขี้เกียจมักง่าย ไปที่ไหนๆ ก็เหมือนกัน ตลอดจนพระเจ้า พระสงฆ์เหมือนกันกับแบกของหนัก มันทุกข์....เมื่อมันทุกข์ ความรู้สึกในใจก็มืแต่อยากจะปลงจะวาง อยากปล่อย....กำลังใจ ไม่มาก เหมือนคนกำลังไม่มากแบกของหนัก คอยแต่จะปลงจะวาง พวกประพฤติธรรมะก็เหมือนกัน ผู้ยังไม่ถึงธรรม ยังไม่บรรลุธรรม มันก็อยู่ในความทรมาน หิ้วไป ดึงไป แต่ก็ยังดี ยังดึกว่าบุคคลที่ยังไม่ทันแบกของ ยังไม่เคยได้ลอง ดึกว่า....มีความอดทน

cha 11คณะอุบาสกอุบาสิกาที่เป็นฆราวาส ความเป็นจริงอยากให้รู้จักหน้าที่การงานของเจ้าของไว้ทุกๆ คน เพราะว่ามันไม่มือะไร ไม่มือะไรจะได้จะดี ไม่มีอะไรที่จะเป็นแก่นเป็นสารสักอย่างหนึ่ง ที่มันเป็นแก่นเป็นสารท่านให้ภาวนา เพื่อให้มันบรรลุถึงความพ้นทุกข์ทั้งหลาย เมื่อเฒ่าแก่มากแล้วก็ไม่เห็นมือะไร หรือใครว่ายังไง? หมดราคา...สภาวะร่างกายนี้หมดราคา ก้อนรูปมันไม่เที่ยง มันเปลี่ยนไป....เปลี่ยนไป ทางจิตที่เรียกว่า “นาม” มันก็ไม่เหมือนเก่า แต่ว่าเลี้ยงคนโดยธรรมะนั้นเลี้ยงยากมากนะ

เลี้ยงลูกเราเอาข้าวเอาน้ำให้มันกิน มันก็รู้จักใหญ่รู้จักโต เลี้ยงโดยภาษาธรรมให้อาหารธรรม ให้คนใหญ่ในธรรม ให้คนดีในธรรม ให้คนมีกำลังในธรรม ยาก....ลำบากแท้ๆ ปฏิบัติไปจนเฒ่าจนแก่ก็ยังไม่โต ยังน้อย ยังไม่ใหญ่ มันใหญ่แต่ร่างกาย ร่างกายเราให้อาหารมันกิน มันก็ใหญ่ ใหญ่ทางเนื้อทางหนัง ธรรมะ ความรู้ทางจิตใจมันไม่ใหญ่ ความเป็นจริงการปฏิบัตินักบวชก็ดึ เป็นฆราวาสวิสัยก็ดึนะ พวกเรามาอบรมกันตั้งหลายปี ตั้งแต่เด็กจนเฒ่าจนตายก็ยังไม่ใหญ่นะ กำลังธรรมะมันน้อย กำลังธรรมะไม่มาก...ไม่เห็น

เหมือนกันกับปลา ปลาอยู่ในนํ้า มันไม่เห็นนํ้า อันนี้ก็จริง อยู่ในน้ำแต่ไม่เห็นน้ำ อันนี้เราอยู่กับกองธรรมอยู่กับพระไตรปิฎก ไม่ได้อ่านพระไตรปิฎก ถึงอ่านพระไตรปิฎกก็ไม่ได้เข้าใจในพระไตรปิฎก ในข้อความอันนั้น เราอยู่กับกองกาย กองรูป กองเวทนา กองสัญญา กองสังขาร กองวิญญาณ และสวดด้วย เรียนด้วย แต่ไม่เห็น พูดอยู่ สวดอยู่ แต่ไม่เห็น จึงเหมือนกับปลาดำอยู่ในนํ้าแต่ไม่เห็นนํ้า ก็เหมือนกับพวกเราทั้งหลาย พูดธรรมะอยู่แต่ไม่เห็นธรรม เพราะว่ามันมือะไรปิดบังไว้โดยไม่รู้สึกตัวเอง มองไม่เห็น เช่นการเรียนการสวด หรือการพูดมันเป็นอุบายให้เข้าไปเห็นธรรม ไม่ใช่ตัวธรรมะ ไม่ใช่เรื่องธรรมะ นั้นก็ยังไม่ใช่ตัวธรรมะ มันเป็นข้อความบันทึกธรรมะแค่นั้น เราพากันเรียนพากันบ่นพากันสวดเป็นต้น สวดเรื่องธรรมะสวดข้อบันทึกธรรมะ ไม่ใช่ตัวธรรมะ

sit 6อุปมาเหมือนกับว่า พริกมันเผ็ด เกลือมันเค็ม เราบอกว่า พริกมันเผ็ดอย่างนี้ ยังไม่เห็นความเผ็ดของมัน ยังไม่รู้จักค่าที่ว่ามันเผ็ด มันเค็ม ไม่ใช่ตัวเผ็ดตัวเค็ม การอธิบายธรรมะให้ฟ้งก็เหมือนกัน อันนี้ไม่ใช่ตัวธรรมะ เป็นคำพูดของบุคคล เป็นอุบายให้เข้าไปเห็นธรรมะ ตัวหนังสือคัมภีร์ต่างๆ ก็เหมือนกัน เป็นข้อความบันทึกของธรรมะ ไม่ใช่ตัวธรรมะ อ่านได้ ท่องได้ แต่ใจยังไม่เป็นธรรมะ พูดรู้เรื่องอยู่ ก็ยังไม่เป็นธรรม ยังไม่เห็นธรรมะ ตัวธรรมะจริงๆ นั้นบอกกันไม่ได้ เอาให้กันไม่เป็น ไม่รู้จัก ส่วนที่เราศึกษาเล่าเรียน สิ่งที่เราปฏิบัติทั้งหลายเหล่านี้มันเป็นอุบาย เป็นข้อประพฤติปฏิบัติบอกให้เข้าไปถึง เช่นบอกว่า พริกมันเผ็ดนะ ยังไม่รู้จักว่าตัวเผ็ดจริงๆ นั้นเป็นอย่างไร รู้จักแต่ใช้สำเนียงชื่อมันว่าเผ็ด แต่ตัวเผ็ดไม่รู้จัก ส่วนนั้นไม่ใช่ส่วนของครูบาอาจารย์ ไม่ใช่ส่วนของหนังสือ ไม่ใช่ส่วนของคัมภีร์ มันเป็นส่วนของเจ้าของที่ปฏิบัติ มันจึงจะรู้จักว่ามันเผ็ดจริงๆ จึงจะรู้ว่าตัวเผ็ด จึงจะเข้าถึงตัวเผ็ดตัวเค็มเป็นต้น เผ็ด....เค็มมีแต่ชื่อไม่ใช่ตัวมัน ได้ยินแต่ไม่รู้จัก ส่วนนั้นมันเป็นส่วนของการปฏิบัติ ต้องเอาไปกิน ความเผ็ดความเค็มความเปรี้ยวจึงจะปรากฏขึ้นมา อันนั้นเป็นตัวเผ็ด อันนั้นเป็นตัวเค็ม เราอ่านหนังสือ เราฟังธรรมะ ยังไม่ใช่ธรรมะ ตรัสรู้ธรรมไม่ได้ รู้ได้ด้วยตำราเป็นส่วนของอุปัชฌาย์อาจารย์จะแนะนำโดยอุบายต่างๆ เพื่อให้เข้าไปเห็นความเผ็ด คือธรรมะ อันนี้ก็เหมือนกัน เป็นอุบายให้เข้าไปเห็นธรรมะ ไม่ใช่ตัวธรรมะ

ดังนั้น คนจึงยากที่จะรู้ ยากที่จะเห็น เพราะไม่ได้เข้าใจในการปฏิบัติ เช่นเดียวกับแพทย์หรือหมอรู้จักสรีระร่างกายของมนุษย์ดีเพราะการศึกษาเล่าเรียนมาจึงรู้จัก แต่ก็ไม่รู้จักสรีระอวัยวะของมนุษย์ตามเป็นจริงของหลักธรรม รู้ตามหลักการและวิชาการเท่านั้น ท่านเรียกว่าไม่เห็น เหมือนปลาอยู่ในน้ำแต่ไม่เห็นน้ำ หมอผ่าตัดสรีระร่างกายของคน รู้จักไปตามหลักการวิชาการ แต่ไม่รู้จักในหลักธรรมะตามความเป็นจริง มันเป็นคนละแขนงอย่างนั้น

ฉะนั้น พุทธบริษัทเราทั้งหลายยากที่จะรู้ธรรมะ เรียกว่า เข้าไม่ถึงแก่นของธรรมะ ก็เพราะมันเป็นอย่างนี้เอง ไม่ได้น้อมเข้ามา เราตั้งใจปฏิบัติมานมนาน ปฏิบัติได้ ๙ พรรษา ๑๐ พรรษา ๒๐ พรรษา บุรุษและสตรีทั้งหลาย ถ้าเราไปบุกเบิกท่าไร่ไถนา คงจะได้มาหลายไร่แล้วนะ นั่น....มันเป็นอย่างนั้น เราเป็นนักบวชตั้งใจมาปฏิบัติแท้ๆ แต่ยังไม่ได้อะไร ยังท่าความยุ่งยากใส่ตัวเองอยู่ และใส่ผู้อื่นอยู่ มันไม่รู้จักทั้งๆ ที่จะไปละกิเลสทั้งหลาย แต่ไม่รู้เรื่อง ถูกนินทากาเลยังมีโกรธมีโมโห ยังถือเราถือเขา ยังถือทิฏฐิมานะ เป็นหน้าที่ของนักปฏิบัติ จะฝ่าฟันลงให้เห็น เช่น เราสวดอาการสามสิบสอง แยกแยะ ออกหมดทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้เห็น เพื่อให้ละลักกายทิฏฐิ ไม่ให้ถือตัวถือตนว่าเป็นแก่นเป็นสารเป็นเรา เป็นเขา สวดแล้วก็ไม่เห็น เพราะธรรมะไม่ได้อยู่ที่นี่ ยังไม่เป็นธรรม ยังมีความโกรธมีความขึ้งเครียด ยังมีความเห็นแก่ตัว เป็นลักกายทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา ยังไม่ได้ มันยังไม่ลงหนทาง จึงเป็นของยาก เป็นของลำบาก

lp cha 01

เราอยู่ไปนานๆ มันก็หนัก เหมือนแบกของหนัก คนแบกของหนักคิดพยายามจะปลง จะวางเพราะมันไม่สบาย โดยมากนักบวชนักพรตนักปฏิบัติเราชอบจะเป็นอย่างนี้ ไม่ได้อาศัยเจ้าของเป็นอยู่ อาศัยคนอื่น เหมือนกันกับพระอานนท์ พระอานนท์เป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า ได้เป็นพุทธอุปัฏฐาก ไปไหนก็ไปตาม ติดตามกันไปเรื่อยๆ พระพุทธเจ้าโปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลายด้วยธรรมะ พระอานนท์ก็ได้ยินได้ฟัง แต่ก็ยังไม่ได้บรรลุซึ่งธรรมะ เมื่อถึงคราวพระพุทธเจ้านิพพาน พระอานนท์ร้องไห้ เพราะเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นครูเป็นอาจารย์ของพวกเราทั้งหลายนั้น บัดนี้ท่านมาเสียชีวิตไปแล้ว ต่อไปใครหนอจะเป็นครูเป็นอาจารย์ของเรา น้อยใจ ความน้อยใจท่าให้ร้องไห้ ปริเทวนาการ คนยังไม่ถึงธรรมะ ยังไม่บรรลุธรรมะเป็นอย่างนี้ เรื่องคิดเอาไม่ได้ เพราะพระอานนท์ได้ยินแต่คำท่านเทศน์ธรรมะ ได้ดูตำราข้อความบันทึกของธรรมะ พระอานนท์ยังไม่บรรลุถึงธรรมะ ตัดความโศกเศร้าปริเทวนาไม่ได้ เข้าใจว่าเมื่อครูของท่านล่วงสับไปแล้ว ใครจะเป็นครูเป็นอาจารย์ เราคงไม่เห็นท่านอีกแล้ว คิดไปนํ้าตามันก็ไหลออกมา ความรู้สึกเช่นนี้ล่ะเกิดขึ้นกับคนที่ไม่รู้จักธรรมะ ไม่มีทางพ้นทุกข์ พระเถระทั้งหลาย ท่านผู้บรรลุถึงธรรมะชั้นสูงเห็นพระพุทธเจ้านิพพาน ท่านไม่เคยคิดอย่างนั้น เออ....พระตถาคตท่านไปดีแล้ว ท่านสบายแล้ว ท่านหมดภพหมดชาติของท่านแล้ว...สบาย เกิดความสลดสังเวช ในสังขารเท่านั้นก็แล้วไป

cha bwธรรมดาคนเราทุกวันนี้ลำบาก ไม่เห็นง่ายๆ ยกตัวอย่าง เช่น พระธาตุพนมพัง คนร้องไห้ก็มื และวิพากษ์วิจารณ์กันไปหลายๆ อย่าง มันเป็นกรรมเป็นเวร เป็นเสนียดจัญไรแก่บ้าน แก่เมือง ว่าไปอย่างนั้น เสียใจ มันก็คิดไปเพราะคนมันหลง ความเป็นจริงอันนี้เป็นธาตุท่านพังนะ ท่านนิพพานตัวท่านเอง ท่านก็ยังไป ท่านไม่อยู่ ก่อนท่านไปยังบอกว่า “สิ่งทั้งปวงมีความเกิดแล้วไม่แปรผันไปนั้นไม่มี ต้องแตกทำลายเป็นเบื้องหน้า’’ ท่านสอนไว้ ตัวของท่านเองท่านก็ไปแล้ว เหลือแต่อัฐิ อัฐิก็กระดูกท่าน แต่ตัวจริงท่านก็ผ่านไปแล้ว ท่านยังสั่งว่า อนิจจังเป็นของไม่เที่ยง อย่าพากันไปตำหนิก้อนอิฐ อย่าไปตำหนิก้อนหิน อย่าพากันไปถือต้นไม่โลหะต่างๆ เป็นที่พึ่ง มันไม่เกิดประโยชน์ ให้เราพ้นจากทุกข์ไม่ได้ แม้ท่านจะนิพพานแล้วก็ตาม ให้พากันเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม ให้มีรากฐานแน่นหนา ให้มืพระอริยสงฆ์ อันเกิดจากพระสัทธรรมเป็นที่พึ่ง อันเป็นสรณะที่พึ่งของเรา

ฉะนั้น ถ้าเราไปอาศัยภูเขา อาศัยต้นไม้ อาศัยก้อนหิน อาศัยก้อนอิฐอยู่มันก็พัง ถ้าพังแล้วมันก็ร้องไห้เสียใจ นี่ล่ะ.... พระพุทธเจ้าท่านไม่ให้ถือมงคลตื่นข่าว มันทุกข์ มันนำตนพ้นทุกข์ไม่ได้ พ้นจากวัฏฏสงสารไม่ได้ มันเป็นมงคลตื่นข่าว ฉะนั้น ยากที่คนจะเห็น ยากที่คนจะรู้เรื่องธรรมะ พูดตามความเป็นจริง ความจริงที่มันมือยู่ตั้งอยู่เสมอ ไม่มือะไรหวั่นไหว ความจริงยังตั้งมั่นอยู่ ท่านว่ามันพังมันก็พัง ท่านว่ามันแตก มันก็แตก ท่านว่ามันฉิบหาย มันก็ฉิบหาย มันก็ถูกอยู่แล้ว ไม่มีอะไรจะเกิดวิปลาสอีกต่อไป ไม่มีทางแกไข ความจริงตั้งมั่นอยู่อย่างนี้

cha 1เมื่อพระองค์ทรงพระชนม์อยู่ ท่านก็เทศน์ให้ฟัง เมื่อท่านดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว ท่านก็ได้สั่งไว้โดยปริยายในเบื้องปลาย เพื่อจะให้ประชาชนทั้งหลายได้เข้าใจในธรรม ขนาดนี้ก็ยังเข้าใจได้ยาก นี่อะไรมันบัง อะไรมันปิดบังไว้ อะไรมันปิดดวงตา เช่น ท่านให้พิจารณาสกนธ์ร่างกายเป็นของไม่เที่ยง เป็นของไม่สะอาด เป็นของไม่เป็นแก่นสาร สภาพร่างกายตาเรามองเห็น เห็นขน เห็นขา เห็นนี้วมีอนี้วเท้า เห็นทุกส่วน แต่ว่ามันไม่เห็น เห็นแล้วก็ไม่เห็น เห็นแล้วไม่เห็นลักษณะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในรูปอันนี้ เมื่อมันวิบัติมาวิบัติไป ก็มีความโศกเศร้าปริเทวนารำพัน ชื่อว่าเราไม่เห็น ไม่ใช่ตาเนื้อ อันนี้ท่านหมายถึงตาใจ คือปัญญาให้พิจารณาทุกสิ่งสารพัด ท่านให้ภาวนา ภาวนาคือคิดให้มันถูก คิดให้มันแม่น การคิดให้มันถูกนั่นแหละคือยอดธรรมะ ยอดของการภาวนา

เราจะเดินจงกรมก็ดี เราจะนั่งสมาธิก็ดี เคลื่อนอิริยาบถต่างๆ ทั้งหลายก็ดี คือพระพุทธเจ้าท่านบังคับให้มีสติรอบรู้ อยู่อย่างนั้น ก็เพราะว่าท่านอยากให้เรามีความเห็นถูกต้องดี ถ้ามีความเห็นถูกต้องดีมันก็เป็น มรรค เป็น สัมมาทิฏฐิ เท่านั้น เมื่อเราทุกข์เราก็จะระบายทุกข์ออก เช่นว่าเราเจ็บไข้ มันเจ็บหัว มันปวดท้องอย่างนี้เป็นต้น หรือมันเฒ่าแก่ชรามาอย่างนี้ เราเห็นแล้วเราก็มีความสบายในธรรมะ เรื่องนี้มันเป็นอย่างนี้เอง มันจะไม่เป็นไปอย่างอื่น

ทุกรูปทุกนามเกิดมาแล้วจะต้องเป็นอย่างนี้ มันจะมีดวามทุกข์เกิดขึ้นมาก็ไม่เมา มันจะมีดวามสุขเกิดขึ้นมาก็ไม่เมา ไม่ไต้เมาในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง เพราะเห็นวามันเป็นอย่างนั้นตามเหตุตามปัจจัยของมัน เมื่อความเห็นถูกต้อง ใจก็ไม่ตื่นเต้น ไม่หวาด ไม่กลัว ไม่สะดุ้งต่อเหตุการณ์ทั้งหลายต่างๆ จะเห็นรูปก็ดี จะได้ยินเสียงก็ดี จะได้ลิ้มรสก็ดี ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายก็ดี ธรรมารมณ์อันเกิดขึ้นทางใจก็ดี อิฏฐารมณ์....อารมณ์ที่น่าปรารถนา อนิฏฐารมณ์....อารมณ์ที่ไม่ปรารถนาก็ดี จิตใจของผู้บรรลุธรรมะ จะตรง จะเที่ยง จะมั่น รู้รอบ อยู่ตามจริงนั้น.... พ้นจากทุกข์

lp cha 09

อันนี้คือความคิดถูก เมื่อคิดถูกแล้ว มันสงบทุกสั่งทุกอย่าง นี้คือการประพฤติปฏิบัติของพวกเราชาวพุทธทั้งหลายให้เห็นอันนี้ คำที่ว่า “พ้นจากทุกข์” นั้นก็ฟังยากลำบาก ว่ามันพ้นโดยวิธีอย่างไร ท่าอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ได้ ถ้าภาษาเราง่ายๆ ว่า มันได้อะไรทุกสิ่งทุกอย่างตามชอบใจแล้วไม่ทุกข์ ว่าอย่างนั้นแล้วไม่คิดว่าอันใดทั้งปวงในโลกนี้ให้มันได้ตามชอบใจนั้น มีไหม? มันไม่มีหรอก หาไม่ได้หาไม่มี นอกจากสร้างปัญญาให้เกิดขึ้นให้ได้เท่านั้นเอง

ฉะนั้น เรื่องประพฤติปฏิบัติของพวกเราทั้งหลายนั้น มันจึงไม่ก้าวหน้า อาตมาเห็นว่ามันเหนื่อยหน่าย มันไม่บรรลุธรรมะอย่างแท้จริง ไม่บรรลุซึ่งธรรม ถ้าบรรลุซึ่งธรรม ปฏิบัติไปนานๆ มันจะเบื่อหน่าย เบื่อไป....เบื่อไป....เป็นต้น มันไม่ขี้เกียจ แต่คนเราไม่เป็นอย่างนั้น ปฏิบัติธรรมแล้วขี้เกียจ พอใครว่าหน่อยก็โกรธเลย ของใช้ไม่ได้ ขี้เกียจมันจะเป็นอย่างนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างเอาออกได้ยาก เพราะไม่ได้พิจารณาด้วยปัญญาของเจ้าของ ผลของการปฏิบัติก็คือ โลภะ โทสะ โมหะ เต็มอยู่ในใจ เครื่องหมายของผู้ปฏิบัติมันน้อยหรือมันมาก มันเจริญหรือมันเสื่อม ทั้งหลายเหล่านี้จะต้องพาก้นรู้จักตัวเอง

ถ้าเราพากันรู้เรื่องธรรมะแล้ว เราทั้งหลายจะเป็นผู้มีกำไร เป็นผู้มีกำไรมากทีเดียว มันจะไม่ตื่นเต้น จะไม่ทุกข์ในสิ่งใดๆ ทั้งสั้น เพราะว่าเห็นโลกตามเป็นจริง เช่นว่า “โลกวิทู เป็นผู้รู้โลก อย่างแจ่มแจ้ง” แต่เราไม่รู้ว่าโลกมันอยู่ตรงไหน มันพ้นจากโลก มันพ้นอย่างไร เราไม่รู้จัก รู้แต่ว่า เออ....ถ้าตายคงสบายหรอก อยู่ในโลกนี้มันยาก พวกเราทั้งหลายเลยเห็นว่าดินฟ้าอากาศนี้เป็นโลก โลกที่อยู่ไกล้ไม่เห็น โลกอันนี้มันโลกคือแผ่นดิน โลกที่ทำให้สัตว์หมุนเวียนอยู่ในโลกคืออารมณ์ อารมณ์ที่มันเกิดอยู่รอบๆ เรานี้ อารมณ์ที่มันเกิดทางหูบ้าง ทางตาบ้าง ฯลฯ เข้ามารวมที่จิตใจ ถ้ามันหลงมันก็เกิดโลภและโกรธขึ้นมา อันนี้เป็นเครื่องหมาย ถ้าเรารู้ไม่เท่าเอาไม่ทัน กำลังกิเลสทั้งหลายเหล่านี้มันจะเต็มตื้ออยู่อย่างเก่า

cha supatto 01

เมื่อเรารู้ตามเป็นจริงของมันแล้ว ไม่มีอะไร อารมณ์นี้ไม่ให้โทษ อารมณ์ก็เหมือนนั้าที่มันไหลไปตามเรื่องของมัน เหมือนลมที่พัดไปตามอากาศ เราไปโทษว่ามันไหลเร็วไหลช้า ไปโทษว่ามันเป็นอย่างนั้นมันเป็นอย่างนี้ ความเป็นจริงเรื่องของมันเป็นอย่างนี้ ถึงแม้สกนธ์กายของเรานี้ก็เช่นก้น มันจะแปรไปไหนก็ช่างมัน เกิดโรคอะไรก็ตาม โรคอ้วนก็ตาม โรคผอมก็ตาม โรคตับโรคปอด มันตายเพราะโรคอันนั้น มันตายเพราะโรคอันนี้ มันเป็นแขนงของมันต่างหากหรอก ถ้าพูดให้มันถูกจุดเดียว โรคนี้ก็ไม่มืมาก คนนี้ตายเพราะอะไรหนอ? มันตายเพราะมันเกิด ไม่มีโรคอะไร โรคเกิด เขาตายเพราะโรคอะไร? ตอบว่า โรคเกิด เท่านี้ก็พอ โรคอะไรก็ตามมันเป็นโรคอันเดียว คือเกิด....พอ ถ้าเราว่าโรคเกิดมันก็จบ เพราะถ้ามันไม่เกิดมันก็ไม่ตาย ถ้าพูดง่ายๆ ก็ตามพูดอย่างนี้ เป็นโรคอะไร? โรคเกิดก็จบ ถ้าภาวนา ภาวนาอย่างไร? คือทำให้มันถูก แค่นี้ก็หมดเรื่องภาวนา ถ้าพูดให้มันสั้นก็ต้องพูดอย่างนี้ เอวัง.

redline

backled1

pra tam tesana header

ต่อไปพากันตั้งใจฟังธรรม การฟังธรรม ฟังให้เกิดประโยชน์ ฟังเพื่อให้เข้าอกเข้าใจให้มันเป็นประโยชน์ สำรวมอายตนะทั้งหลายให้เหลือไว้แต่จิต พระพุทธเจ้าท่านสอนให้ฟังธรรม

mai mee arai dai

การปฏิบัติธรรม ให้สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย อายตนะ ของเรามีหก ปิดไว้ห้า เหมือนบุรุษจะจับเหี้ย เหี้ยมันอยู่ในโพรงจอมปลวก จอมปลวกมีรูอยู่หกรู ปิดไว้ห้ารู เหลือไว้รูเดียว คอยดักจับ เหี้ยมันจะออกมา ปิดตา หู จมูก ลิ้น กาย เหลือไว้แต่ใจ ท่าใจให้เป็นหนึ่งไว้คอยจับอารมณ์ อาการกิเลสทั้งหลายมันจะเข้าไป

cha 1จิตใจมนุษย์เราทั้งหลาย มันไม่แปลกอะไรกับเทป ถ้าเราเปิดเครื่องบันทึก เสียงอะไรต่างๆ มันจะเข้าไปวุ่นวายในเทปนั้น เปิดฟังก็ไม่รู้เรื่อง ใจเรานี้ก็เหมือนกัน ถ้าต่างคนต่างพูดเสียงอึงคะนึง เลยไม่รู้เรื่อง ว่าท่านเทศน์อะไร ถ้าเราเงียบๆ ทำจิตให้เป็นหนึ่ง นั่งหลับตาดีๆ สำรวมไว้ มันก็จะเหมือนกันกับเราอัดเทปในที่เงียบๆ มันจะไม่มืเสียงอะไรเข้าไปปะปนในเทปนั้น จะมืความรู้สึกสงบระงับ ธรรมก็จะเข้าถึง จิตใจของเรา เหมือนเทปอัดไว้ในที่ไม่มืเสียงรบกวน เวลาเราต้องการจะเปิดฟัง ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะชัดเจนน่าฟัง จิตมนุษย์เรานี้ก็เหมือนกันฉันนั้น เมื่อเราฟังถึงยังไม่รู้เรื่องก็ฟังให้จิตเป็นหนึ่ง มันจะป้อนเนื้อธรรมเข้าไปอัดเข้าไว้ บางคนก็ไม่รู้จักไม่เข้าใจ ได้แต่ความสงบ ค่อยฟังไป ค่อยบำเพ็ญไป ค่อยปฏิบัติไป ค่อยศึกษาไปเรื่อยๆ ต่อไปอนาคตข้างหน้า มันจะปรากฏเหตุการณ์ขึ้นมาในมโนภาพเหมือนกันกับม้วนเทป การพิจารณาธรรมจะเกิดขึ้นมาเพราะความสงบเป็นเหตุ เป็นนิสัยเป็นปัจจัย ปฏิบัติไปมันจะพ้นขึ้นมา

พระบรมศาสดาตรัสว่า “นิสัยปัจจัย” ค่าที่ว่า นิสัยปัจจัย นั้นไม่รู้มันอยู่ที่ไหน? ไม่เห็น แต่มันก็มือยู่ บางคนสอนได้ง่ายๆ บางคนฟังยาก สอนยาก มันก็ใจเหมือนกัน ทำไมมันไม่เหมือนกัน นิสัยปัจจัยมันไม่เหมือนกัน เหมือนกันกับเรื่องอัดเทป ถ้าอัดในที่สงบมันก็อย่างหนึ่ง อัดในที่วุ่นวายมันก็อย่างหนึ่ง อัดเหมือนกันแต่ก็ไม่เหมือนกัน คนเราก็เช่นเดียวกัน ฟังเทศน์กัณฑ์เดียวกัน แต่มืความเห็นต่างกัน มีความเข้าใจต่างกัน ฉะนั้นการฟังธรรมในครั้งพุทธกาลกับในสมัยนี้ก็ไม่แปลกกัน พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายท่านให้เคารพในการฟังธรรม ทำไมท่านจึงให้เคารพในการฟังธรรม เพราะสมัยปัจจุบันนี้ พุทธบริษัทเราก็ยังอยู่ ข้ออรรถข้อธรรมก็ยังมีอยู่ ธรรมที่ให้สำเร็จมรรคผลนิพพานก็ยังอยู่ ไม่ได้หายไปไหน ถ้าพวกเราตั้งใจฟ้งให้ดีแล้วนำมาพิจารณา ก็เกิดมรรคเกิดผลได้ในปัจจุบันนี้เอง ไม่ต้องสงสัย

sit stickแต่ว่าโดยมากพวกเราทั้งหลายพากันเข้าใจผิดอยู่อย่างหนึ่งว่า การประพฤติธรรม การปฏิบัติธรรม การท่ากรรมฐาน การท่าภาวนาให้บรรลุธรรม เข้าใจว่าเป็นเรื่องของพระพุทธเจ้า เป็นเรื่องของพระสาวกก่อนโน้น พากันเข้าใจไปอย่างนั้น ดังนั้น การฟังเทศน์ฟังธรรมในสมัยนี้จึงไม่เป็นกิจลักษณะ ฟังเพื่อตลกคะนองต่างๆ นานา เลยไม่เข้าใจ จะเอาคุณงามความดี เอามรรคเอาผลอันเกิดขึ้นจากการฟังไม่ได้ เหมือนกับการฟังเทศน์บุญมหาชาตินั่นแหละ ใครว่าได้อะไรบ้าง? ไม่เห็นได้อะไร ฟังไปๆ อย่างนั้นเอง พระก็เทศน์เรื่องนก พรรณนา ไป... “นกกก นกแกง ชุมแซง คอถ่าน ห่านฟ้าและสังกา” ว่าไป อย่างนั้นไม่รู้เรื่อง ไปพูดเรื่องนก เรื่องต้นไม้ เรื่องภูเขาเลากา ไปโน้น สุดท้ายก็ไม่ได้อะไร เปลืองข้าวต้มขนมเปล่าๆ ไม่ได้การไม่ได้งาน มาถึงบ้านแล้วจะปฏิบัติอย่างไรบ้าง วันนี้ฟังเทศน์แล้วได้อะไรบ้าง เข้าใจอะไรบ้าง? เงียบ (มิดสี่หลี่) ยิ่งฟังยิ่งไม่รู้เรื่อง มีแต่ความประมาท ฝนโบกขรพรรษ ก็หว่านข้าวตอกข้าวสาร หว่านกันไปกันมา กลายเป็นกะลาเป็นก้อนอิฐขว้างไปขึ้นศาลา เลยเป็นเรื่องทำเล่น เอาคำพระพุทธเจ้าไปทำเล่น เอาเรื่องท่านไปพูดเล่น...บาป สร้างบาปกันขึ้นตรงที่ทำบุญนั้นแหละ ทำไม? เพราะไม่รู้เรื่องในการฟังธรรม ว่าการฟังธรรมคืออะไร?

การฟังธรรมก็คือเรื่องท่านสอนเราโดยตรงนี้แหละ ท่านสอนเราให้รู้จักบาป ให้รู้จักบุญ ให้รู้จักคุณ ให้รู้จักโทษ รู้จักผิด รู้จักถูก เราพากันฟังแต่ก็ไม่รู้เรื่อง เมื่อไม่รู้เรื่องไม่เข้าใจ ฟังแล้วกลับไปถึงบ้านก็ทำอย่างเก่า การประพฤติทางกาย ทางวาจา ทางใจ ในครอบในครัว ในบ้านในเมือง ก็อย่างเก่า เคยแช่งเคยด่า ก็แช่งก็ด่าอย่างเก่า เคยโลภก็โลภอย่างเก่า เคยโมโหก็โมโหอยู่อย่างเก่า เคยเป็นผีก็เป็นผี เคยเป็นเปรตก็เป็นเปรตอยู่อย่างเก่า ไม่เคยเปลี่ยนแปลง ไม่รู้จักบาป บาปเป็นอย่างไร.... ไม่รู้บาป ทางกาย ทางวาจาก็ไม่เท่าไหร่หรอก ใจของเรานั่นซิ วันหนึ่งบาปหลายครั้งนะ คราวใดใจมันโกรธไม่พอใจ นั่นแหละบาป เกิดขึ้นแล้วที่ใจของเจ้าของ

มาวัดทำไม? มาวัดก็มาทำบุญนั่นแหละ มาเห็นพระเจ้า พระสงฆ์ ได้ฟังเทศน์ฟังธรรมใจมันก็สบาย ไม่ขุ่นไม่มัว เรียกว่า มาสร้างบุญ ใจสบายไม่ขุ่นมัวได้ทั้งบุญและกุศล ถ้าทางใจมันเป็นบุญแล้ว ทางวาจาก็ไม่ต้องไปพูดมันมากหรอก ไม่ต้องไปควบคุมมัน ท่านจึงว่า มาวัดเพื่อสร้างบุญสร้างกุศล บางคนอาจจะคิดว่าเอาของมาถวายพระนั่นแหละจึงเป็นบุญ ไม่ใช่อย่างนั้น ตาเราได้มาเห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น เห็นครูบาอาจารย์ เห็นพระเจ้าพระสงฆ์ หูก็ได้ฟังเทศน์ฟังธรรม ใจก็สบาย ถ้าอยู่บ้านเดี๋ยวลูกตีกันแล้ว หมาขโมยกินของในครัวแล้ว ควายกินต้นกล้วยแล้ว เดี๋ยวก็หมูร้อง เดี๋ยวก็เป็ดร้อง เราเลยตกนรกขุมเล็กขุมใหญ่อยู่ตลอดเวลา ท่านจึงว่าอยู่ที่บ้านบาปมันเยอะ ใจของเรามันเป็นบาป มันขุ่นมัว นรกขุมเล็กๆ เรียกได้ว่าตกเป็นนิจกาล แต่ไม่รู้ตัวเองตกนรก ถ้าใจเศร้าหมองเมื่อไรเวลาใดนั่นแหละ ท่านเรียกว่า บาป ใจไม่ผ่องใส

arjhan cha 10

ถ้าเรามาวัดได้ฟังเทศน์ฟังธรรม รู้เรื่องนั้นเรื่องนี้ ท่านประกาศธรรม ประกาศศีลธรรมไว้ ก็ล้วนแต่เรื่องดีๆ ทั้งนั้นล่ะ ท่านไม่ให้เบียดเบียนกัน ไม่ให้อิจฉาพยาบาทกัน ให้สามัคคีกัน ไม่ให้นอกใจกัน ท่านสอนเราแต่เรื่องดีๆ แต่เราฟังไม่ชัด ฟังไม่เข้าใจเฉยๆ ถ้าฟังเป็นมีแต่เรื่องดีๆ มีแต่เรื่องถูกๆ ทั้งนั้น ผู้รู้จักธรรม รู้จักอดรู้จักกลั้น รู้จักข้อประพฤติปฏิบัติ แม้ว่าจะทำไร่ทำนาทำสวน ไร่นาสวนของคนนั้นก็เจริญ แม้จะปฏิบัติในครอบครัวหรือในบ้าน บ้านคนนั้นก็สะอาดสะอ้าน อยู่กันด้วยความสงบสุขเป็นมงคล รู้จักผิดรู้จักถูก มันจะทะเลาะกัน จะเถียงกันขึ้นมาก็รู้จัก ไม่ทำอย่างนั้นไม่คิดอย่างนั้น มันก็ เป็นการตัดบาปตัดกรรมเท่านั้นแหละพวกเราทั้งหลาย

ถ้าหากว่าพวกเราทั้งหลายไม่พากันฝึก ไม่พากันหัด พวกเราจะไม่แปลกอะไรกับพวกสัตว์ทั้งหลาย มนุษย์เราทั้งหลาย จะต่างจากสัตว์ก็ตรงที่รู้จักอาย ถ้าไม่มีความอายความกลัวต่อความชั่วแล้วก็ไม่ต่างอะไรกับสัตว์ ถ้าพูดถึงความคิดอยากเป็นโน่นเป็นนี่ อยากได้โน่นได้นี่ มันก็เหมือนกันนั่นแหละกับสัตว์ทั้งหลาย ไม่ได้แปลกกัน ถ้ารู้จักอดไว้ กลั้นไว้ ยับยั้งไว้ มีความละอาย มันอยากได้อยู่ แต่ก็อายไม่เอา หาอะไรแลกเอาเปลี่ยนเอา มนุษย์เราล้าไม่มีสิ่งนี้ก็ไม่ผิดอะไรกับไก่ พอเห็นข้าวสารก็กินเลย ไม่รู้ข้าวสารใคร มันไม่รู้จัก ควายก็เหมือนกัน เข้านาเข้าสวนใครก็กินเลย ไม่รู้จัก มันจึงมืความรู้สึกต่างกันกับมนุษย์อย่างนี้

cha 3พูดถึงคนไม่รู้เรื่อง ก็ไม่รู้เรื่องจริงๆ อยากให้เป็นอย่างโน้น อยากให้เป็นอย่างนี้ จะไม่ให้บาปได้อย่างไร ก็ไม่รู้เรื่องนี่ ของมันเป็นอย่างนั้น มันก็เป็นอย่างนั้นแหละ จะร้องไห้กับสิ่งเหล่านั้นมันก็ใช้ไม่ได้ ของมันเป็นอยู่อย่างนั้นแต่ไหนแต่ไรมา เราก็ไม่รู้จัก นี้ของฉัน นั่นของคุณ นี่ของเรา นั่นของเขา นึกว่าเป็นอย่างนี้ จริงๆ ถึงเวลามันจากไปเลยไม่มืที่พื่ง ไม่มีพระพุทธเป็นที่พึ่ง ไม่มีพระธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ก็ร้องไห้โฮ เท่านั้นแหละ บางคนข้าวก็ไม่กิน มันทุกข์ มันจะตายไปด้วยกัน ก็ยังไม่รู้จัก นี่แหละคือคนโง่...รู้จักไหม

สมัยก่อนธรรมะยังไม่เปิดหูเปิดตาของสัตว์ทั้งหลาย ทุกวันนี้ชาวบ้านก่อ-บ้านนํ้าคำเหล่านี้สบาย คนตายก็ตายไป ช่วยกันทำเมรุ หัวเราะกันได้ อยู่ง่ายอยู่สบายไม่มีอะไร คนเราก็มาอย่างนี้ ก็ไปอย่างนี้แหละ ถ้าไม่ไปอย่างนั้นจะได้มาอย่างนี้ หรือ มาอย่างนี้ก็ไปอย่างนั้น ก็เพราะหนทางมันเป็นอยู่อย่างนี้ จะไปห้ามโลกไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะไปห้ามอย่างไร พวกเราไม่ได้คิดกันอย่างนี้ นี่แหละการฟังธรรมให้รู้เรื่องสิ่งเหล่านี้ ให้รู้เรื่องความเป็นจริงอย่างนี้ ใครรู้เรื่องอย่างนี้ ผู้นั้นก็เข้าใจธรรม ใครเข้าใจธรรมก็เข้าใจเรื่องนี้ มาฟังเทศน์ฟังธรรมกันทุกวันพระก็เพื่อให้รู้จักสิ่งเหล่านี้ ถ้าเข้าใจดีแล้ว ทุกข์ไม่มีทุกข์ไม่เกิด ถ้าเราพลัดจากกันก็ให้นึกเสียว่า มันเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ท่านที่ละไป ท่านได้สร้างคุณงามความดีไว้ ท่านสบายแล้ว ยังเหลือแต่พวก เรานี่แหละยังสาละวนอยู่กับ เป็ดกับไก่ กับหมูกับหมา กับวัวกับควายอยู่เดี๋ยวนี้ ท่านที่เสร็จแล้วท่านสบายแล้ว ยังเหลือแต่พวกเรานี่แหละ จะให้สร้างคุณงามความดี ก็บอกว่ายุ่งกับสิ่งนั้นสิ่งนึ้

พระพุทธเจ้าก็ดี พระสาวกทั้งหลายก็ดี ท่านตรัสรู้ธรรม ก็คือ มารู้เรื่องสิงเหล่านี้ตามความเป็นจริง มารู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มารู้เรื่องวิมุตติ สมมุติ เหล่านี้ มารู้เรื่องสมมุติสังขารเหล่านี้ มารู้จักสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา สังขารคือสกนธ์ร่างกาย ของเรานี้ไม่ใช่ของเราตามธรรมชาติ เพราะเราบอกมันไม่ได้ ใช้มันไม่ฟัง เป็นไปตามธรรมชาติของมัน ถึงเราจะร้องไห้กับมัน มันก็เป็นอย่างนั้น ถึงเราจะหัวเราะกับมัน มันก็เป็นอยู่อย่างนั้นของมัน...เป็นอยู่อย่างนั้น

ดังนั้นพวกเราจึงมาเรียนให้มันรู้จัก พูดถึงเรื่องนี้ต่างกันมากกับญาติโยม จะให้มาวัด บอกว่าโลภหลาย โกรธหลาย หลงหลาย บาปหลาย มายังไม่ได้หรอก ไม่ได้เข้าใจว่ามาวัดเพื่ออะไร มาเพื่อศึกษาให้มันรู้ความจริงตามธรรม ถ้ารู้แล้วมันจะหมดทุกข์ รู้แล้วมันจะหมดอยาก รู้แล้วมันจะหายลำบาก จะไม่โศกาปริเทวนารำพัน มันจะรู้เสมอภาคว่า สภาพทั้งหลายของสังขาร ที่มันเป็นอยู่นี้ตามความเป็นจริง ถ้ารู้ตามความเป็นจริงแล้ว พวกเราจะไม่พากันเป็นทุกข์ จะพากันสบาย ของมันได้มาก็ได้มาอย่างนี้ ได้มาอย่างนี้มันก็ไปอย่างนั้น ใจเราก็จะไม่ยึด ไม่มั่น มีลูกก็ให้รู้ว่า สมมุติ นะนี่นะ มีบ้านมีเรือนก็รู้แต่ว่ามันเป็น เพียง สมมุติ เลยไม่มีของเราจริงๆ มันก็จะได้คิด

arjhan cha 09

ถ้าคนไม่รู้จักก็มีแต่ของกูๆ ลูกกู เมียกู หลานกู กู๊...กู ๆ ๆ อยู่อย่างนั้น เหมือนกันกับนกเขาอยู่บนต้นมะขาม ร้องกู ๆ กู ๆ มีแต่ของกู ของกู หรือเหมือนบ่างตาโตกินมะขาม จะว่าของกูอยู่นั้นเหรอ... พากันดูหน่อย ดูข้างหน้าข้างหลังหน่อย ดูข้างล่างดูข้างบนหน่อย โยมไม่เคยเห็นหมอลำเขาลำหรือ โยมพ่อออกแม่ออก หมอลำเขาว่าอย่างไร? เขาว่า “เอา...จึ๊ก เข้าไป ข้างใน ข้างนอก” ได้ยินไหมล่ะ ไม่รู้อะไร? ไม่รู้ข้างใน ไม่รู้ข้างนอก รู้ไหมล่ะ ข้างในก็เหมือนข้างนอก ข้างนอกก็เหมือนข้างใน เขาก็เหมือนเรา เราก็เหมือนเขา มันไม่ได้แปลกอะไรกัน ลูกท่านหลานท่านก็เหมือนกับลูกเราหลานเรา พ่อท่านแม่ท่าน ก็เหมือนพ่อเราแม่เรา ของเราก็เหมือนของท่าน นี่แหละท่านจึงว่า ให้รู้เข้าไปข้างในข้างนอก ยังจะพูดเล่นอยู่นั้นหรือ อย่าว่าของเราของเขา ต้องมีเมตตากรุณา ดูให้มันทั่วให้มันถึง

ถ้าเรามีธรรมรู้จักธรรมแล้ว เราจะสบายกันมาก จะพากันถอนความโลภออก ถอนความโกรธออก ถอนความหลงออก หลงว่าของคนโน้น หลงว่าของคนนี้ หลงว่าของกู หลงว่าของมึง หลงยึด หลงหมาย หลงทุกข์หลงยาก หลงลำบาก แต่ที่สุดก็ไม่มีอะไร ให้พากันเข้าใจเอาไว้ ให้พากันรู้เรื่องเอาไว้ ถ้ารู้เรื่องสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ข้างนอกก็ดีข้างในก็ดี ข้างนอกคือต้นไม้ ภูเขา เครือเขา เถาวัลย์ก็ดี ทุกสิ่งทุกอย่างก็ล้วนเป็นของไม่แน่นอน เกิดมาแล้วก็สลายไปเป็นธรรมดา เห็นไหมล่ะ? ต้นไม้บ้าง ดินบ้างมันมีที่สูงที่ต่ำ ต้นไม้ก็มีต้นคดต้นงอ เป็นธรรมชาติของมันอย่างนั้น เป็นธรรมชาติของสังขาร ข้างในเราก็เหมือนกัน ตาบ้าง หูบ้าง จมูกบ้าง ลิ้นบ้าง กายบ้าง ก็ไม่เหมือนกัน เป็นของไม่แน่นอน เป็นไปตามสภาพของมัน หูมันอยากหนวกวันไหนมันก็หนวก ตามันอยากบอดวันไหนมันก็บอด กายมันอยากเจ็บ ตรงไหนมันก็เจ็บ อยากพิการตรงไหนมันก็พิการ มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น จะไปร้องขอยอมือกับมันก็ไม่ได้ ถึงคราวมันจะเป็นมันก็เป็น อันนั้นมันเป็นของเขาแท้ๆ เป็นสังขารแท้ๆ ไม่ใช่เป็นของเราตามเป็นจริง เป็นของเราโดยฐานสมมติ

cha 15ดังนั้น พระพุทธเจ้าก็ดี สาวกทั้งหลายก็ดี ท่านพ้นจากทุกข์ จากความยากลำบาก ก็เพราะท่านมารู้ตามความเป็นจริง รู้อะไร? ก็คือรู้เจ้าของ รู้ว่ามันไม่แน่ "อัชฌัตตา ธัมมา, พหิทธา ธัมมา" อัชฌัตตา ธัมมา ก็คือภายใน พหิทธา ธัมมา ก็คือ ภายนอก “จึ๊กเข้าไป ข้างใน ข้างนอก” ภาษาพระพุทธเจ้าว่า อัชฌัตตา ธัมมา, พหิทธา ธัมมา ธรรมภายในก็ดี ภายนอกก็ดี ล้วนเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นของไม่แน่นอน มีความเกิดเป็นเบื้องต้น มีความแก่เป็นท่ามกลาง มีความตายเป็นที่สุดเหมือนกันหมด จะเป็นข้างในก็ดี ข้างนอกก็ดี หนุ่มก็ดี แก่ก็ดี จนก็ตาม รวยก็ตาม จะเป็นเจ้าพระยาไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ก็ตาม ก็เป็นอยู่อย่างนี้ เวลาจะไป (ตาย) ใครมีมากก็ทิ้งไว้มาก ใครมีน้อยก็ทั้งไว้น้อย ตายก็เหม็นหมดทุกคนนั่นแหละ ไม่เว้นใคร นี้ท่านเรียกว่า ข้างในก็เหมือนข้างนอก ข้างนอกก็เหมือนข้างใน...เหมือนกัน

เราทั้งหลายต้องมาเรียนธรรมไว้ในปัจจุบันให้มันรู้จัก ถ้ารู้จักแล้วมันสบาย... สบายอย่างไร? เหมือนเราเห็นรังต่อ เราก็ไม่เข้าไปใกล้ ตรงนั้นมีเสือ ตรงนั้นมืงู เรารู้จักอย่างนี้ เราก็หนี ไม่เข้าไปใกล้ ถ้าคนไม่รู้จักก็เดินสวบๆ ตกลงไปหลุมต่อ มันก็ต่อยหัวเอาเท่านั้นแหละ คนไม่รู้จักอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เสกคาถาว่าของกูๆ อยู่อย่างนั้น ถ้าคราวไม่ใช่ของกู ก็ร้องไห้โก๊กๆ เท่านั้นแหละ นั่นเป็นเครื่องหมายของคนบาป ถ้ามาฟังธรรมแล้ว มันก็จะหายบาปแล้วก็ดีด้วย เป็นผู้มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อยู่ใกล้กันไม่ทะเลาะกัน ไม่ทุ่มเถียงกัน สงเคราะห์กัน... สบาย นั้นท่านเรียกว่า คนมีบุญ คนมีบุญอยู่ที่ไหนก็เป็นบุญ กุศลอยู่ที่ไหนก็เย็น ก็เป็นสุคโต อยู่ก็เป็นสุข ไปก็เป็นสุข มีแต่เรื่องเป็นสุข มีแต่เรื่องสบาย

ถ้าเราฟังธรรมพิจารณาถูกต้องแล้ว รู้สิ่งทั้งหลายเหล่านี้แล้ว ตรัสรู้ธรรม พระพุทธเจ้าท่านว่า “ตรัสรู้ธรรม” ตรัสรู้ซึ่ง อริยสัจจ์ นี้เรียกว่า เรารู้ความจริง รู้ตามความเป็นจริงว่า โลกมันเป็นอยู่อย่างนี้หลายชาติ หลายตระกูลมาแล้ว ปู ย่า ตา ยาย ของเรา ท่านก็เป็นมาเหมือนเรานี่แหละ ผลที่สุดท่านก็ไป ไปในรูปนี้แหละ เราเกิดมาก็จะไปในรูปเดียวกันนี้แหละ ไม่มีใครอยู่ ฉะนั้นควรศึกษาธรรม ศึกษาให้มันพ้นทุกข์

ทุกวันนี้เราทั้งหลายถ้ามาวิจัยตามเหตุการณ์แล้ว ถึงเรากินก็กินเพื่อความพ้นทุกข์ ถึงเราเดินก็เดินเพื่อความพ้นทุกข์ ถึงแม้จะนอนก็นอนเพื่อความพ้นทุกข์ จะไปในที่ไหนๆ ก็ไปเพื่อความพ้นทุกข์ ถ้าดูให้ดีแล้วถึง แม้กินข้าวก็กินเพื่อจะไม่กินอีก ถึงแม้เดินก็เดินเพื่อจะไม่เดินอีกนั่นแหละ คืออยากให้มันเสร็จ แต่มันก็ไม่เสร็จ เดินแล้วก็เดินอีก นั่งแล้วก็นั่งอีก นอนแล้วก็นอนอีก กินแล้วก็กินอีก พูดแล้วก็พูดอีก อยู่อย่างนี้ ความเป็นจริงก็ไปตรงที่มันหมดนั่นแหละ มุ่งไปที่มันจริง ดังนั้นท่านจึงให้ พิจารณาซึ่งอนัตตา...เอามันจนหมดเนื้อหมดตัวโน้นแหละ ถ้ามันมีของกูของมึง ไม่หมดล่ะ เอาให้หมดเนื้อหมดตัว หมดอัตตา ไม่มีใคร ดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น ถ้ามันแตกก็พวกดิน พวกนํ้า พวกไฟ พวกลม มันแตกไป ตัวสัตว์ตัวบุคคลนั้นไม่มี ถ้าไม่มี ก็ไม่มีอะไรเสีย ถ้าไม่มี ก็ไม่มีอะไรได้ เลยเป็นคนผู้ไม่ได้ไม่เสีย เป็นคนที่ไม่รวย เป็นคนที่ไม่จน เป็นคนผู้ไม่สุข เป็นคนผู้ไม่ทุกข์ อย่างนี้ อยู่ตรงที่มันหมดเหตุหมดผล ท่านจึงให้พิจารณา พวกเราทั้งหลายก็จะมุ่งไปตรงนั้นแหละ

cha 10แต่ว่าความรู้สึกของปุถุชนเราทั้งหลาย เหมือนกันกับเด็กน้อย มันชอบเล่นอะไรที่มันเปรอะเปื้อน ที่ไหนสกปรกชอบเล่น ตอนเย็นแม่จับไปอาบนี้า... มันกลัวน้ำ... วิ่งหนี แม่ตามไปจับมา มันร้องไห้ มันกลัวจะสะอาด ให้หน้ามันมอมอยู่อย่างนั้น ให้ขี้มูกมันย้อยอยู่อย่างนั้น ให้มันเหม็นอยู่อย่างนั้น เด็กมันเป็นอย่างนั้น... มันกลัวความสะอาด (ซั่นแหลว)

พวกเราก็เหมือนกันนั่นแหละ พระพุทธเจ้าสอนให้พิจารณา สิ่งเหล่านี้ให้ดี ไม่อยากพิจารณา... หัดพิจารณากันหน่อย ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย นั่น มรณสติ คือความตาย ยิ่งคนมีสุขมากๆ ยิ่งไม่รู้จัก พอมีใครพูดถึงความตาย อย่าพูด อย่าพูด... ฉันไม่อยากได้ยิน ฉันไม่อยากทำอะไรแล้วถ้าพูดถึงความตาย เหมือนกับว่าเขาจะหนีไปพ้น... งานของเรายังไม่เสร็จ น่าจะมาทำให้มันแล้วให้มันเสร็จ อันนี้งานยังไม่เสร็จ กลัวแต่งานมันจะเสร็จ ทุกข์ดองใจตัวเองอยู่ ควรมาศึกษาให้มันรู้จัก ไม่อยากศึกษา เหมือนเราเป็นไข้หนัก แพทย์จะช่วยรักษา ไม่ยอมให้รักษา อยากให้มันหายเหมือนกัน แต่ไม่อยากรักษา ไม่อยากกินยา มันเป็นเรื่องอย่างนี้ ความจริงเป็นเรื่องทุกข์ใหญ่ที่เราจะต้องศึกษา เพราะเราจะต้องพบ ทุกคนเกิดมานี้จะต้องพบทุกคน จะไปในรูปนี้เหมือนกันทุกคน ถ้าใครไม่รู้สิ่งเหล่านี้ในปัจจุบัน เป็นคนที่ขาดทุนเหลือเกิน ไม่รู้เรื่อง

พระศาสดาท่านตรัสว่า จำเป็นจะต้องศึกษา ศึกษาธรรมให้รู้จัก ถ้าศึกษาให้รู้จัก เหมือนอย่างสกนธ์ร่างกายสังขารของเรา นื้ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สมมุติบัญญัติ สมมุติ วิมุตติ ศึกษา ให้รู้จัก บางคนไม่รู้จักนะ ถ้าว่าของเราก็ของเราจริงๆ อะไรๆ ก็ของเราจริงๆ ความเป็นจริงไม่มีอะไรหรอก มันเป็นสมบัติของโลก เราอยู่นี่ก็อยู่ชั่วคราว เมื่อเราไปก็เป็นสมบัติของโลก มีใครได้อะไร อะไรก็เอาไปไม่ได้ อยู่กับโลกนี้แหละ ไม่ไดใปไหน พิจารณาดูให้ดีซิ ใครหาบอะไรไปได้ ใครหามอะไรไปได้ ถ้าได้ ถ้าดี ถ้ามี ถ้าเป็น ก็สร้างขึ้นในปัจจุบันนี้ มีทรัพย์สินเงินทอง ก็ซื้อความชั่วออกจากเราเสีย ซื้อบาป ซื้อกรรมออกจากเรา ด้วยการสร้างน้ำทำบุญให้เจ้าของ พยายามเอาตัวเข้ามาฟัง มาฝึกหัดจิตใจ ให้มันอยู่ให้มันนึ่งใหได้ จะรอให้มันเสร็จเสียก่อน มันไม่เสร็จหรอก มันไม่พอหรอก อยาก...มันหยุดอยากไม่เป็น แต่อิ่มมันอิ่มเป็นเหมือนกัน อิ่ม...นั่นเป็นเรื่องของท้อง แต่คำว่า “อยาก”...มันไม่มีท้องใส่ ไม่มีที่ใส่ ไปตั้งที่ไหนก็อยาก มีมันก็อยาก ไม่มีมันก็อยาก รวยมันก็อยาก อยากนี้ไม่มีที่ “พอ”

ท้อง เรามันอิ่มเป็น อย่างกินข้าวเมื่อเข้านี้....อิ่ม แต่อยากมันยังมีอยู่นะ อิ่มมันอิ่ม เหมือนกันกับสุนัข เอาข้าวให้มันกินปั้นหนึ่งก็หมด สองปั้นก็หมด สามปั้น สี่ปั้น หลายปั้นเข้ามันก็อิ่ม ท้องมันตึงที่เหลือกินไม่ได้... ก็ดม... ยิกแย๊กๆ อยากไม่หยุด แต่ท้องมันเต็มแล้ว ไม่รู้จะทำอย่างไร นอนเฝ้าอยู่นั่นแหละ ไม่หนี ทำตาปริบๆ อยู่นั่นแหละ สุนัขตัวอื่นจะมากินก็ขู่ โฮ่ง ไม่ให้เพื่อนกิน หวงไว้ ไก่จะมากิน ก็....โฮ่ง จะกัดไก่ ท้องจะแตกตายอยู่แล้ว อิ่มแล้วแต่อยากมันก็ยังอยาก หวงอยู่อย่างนั้น นี้แหละท่านว่า อิ่มอันหนึ่งมันเรื่องของท้อง อยากมันเป็นของไม่มีท้อง เอาจักรวาลมาใส่มันก็ไม่พอ

คำที่ว่า “อยาก” นี้ เดี๋ยวบัดนั้นก่อน เดี๋ยวบัดนี้ นี่ล่ะตัวสำคัญ จะผลัดไปถึงไหน หือ.... ประเดี๋ยวบัดนั้น ประเดี๋ยวบัดนี้ ถึงเวลามันเฒ่า มันแก่ มันเจ็บ มันไข้ ทีนี้ไม่เอาแล้ว ไม่อยากจะได้อะไรแล้ว น้ำก็บ่แซ่บ ข้าวก็บ่แซ่บ ไม่เอาอะไรสักอย่าง เอาแต่ทุกข์ เอามือปิดหูยังกะลิงถุงแล้วทีนี้ กินอะไรก็ไม่อร่อย ไม่เอา อะไรก็ไม่เอา เอาไปให้บ่อยๆ เดี๋ยวก็อารมณ์เสียเท่านั้นแหละ มันกลับกันอย่างนี้นะ เรื่องของมัน

lp cha 06

ฉะนั้น ให้เราพิจารณา เรื่องของคนรู้กับเรื่องของคนไม่รู้มันต่างกันมาก ถึงแม้ทุกข์มี มันก็ไม่ทุกข์ เมื่อมาถูกท่านผู้รู้ทั้งหลายแล้ว มันจะละลายหายไปหมด เรื่องสิ่งทั้งหลายจะจากเราไป เรื่องเราจะจากเพื่อนฝูงไป เหล่านี้...ไม่มีปัญหา เพราะพิจารณาแล้ว เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ลูกจะพรากจากเรา เราจะพรากจากลูก พ่อแม่จะพรากจากเรา เราจะพรากจากพ่อแม่ เพื่อนฝูงจะพรากจากเรา เราจะพรากจากเพื่อนฝูง พิจารณาแล้วทุกอย่าง ใครจะไปก็ไป ใครจะมาก็มา สบาย... ไม่มีทุกข์ ทำไม? เพราะไม่ไปมั่นหมายมัน นายพรานเขาดักแร้วอยู่ตรงนั้น เห็นแล้วไม่เอาคอยื่นเข้าไปใส่ แร้วก็ไม่หนีบคอเรา

ทุกข์ฉันพิจารณาแล้ว เห็นทุกข์ รู้จักเหตุที่ทุกข์จะเกิด ไม่ไปท่าเหตุตรงนั้น ทุกข์มันก็ไม่เกิด ทุกข์มันก็ไม่มี เราก็ไม่ทุกข์ ภายนอกก็ตาม ภายในก็ตาม ที่ใกล้ก็ตาม ที่ไกลก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม มันเป็นอยู่อย่างนี้ ใจข้าพเจ้าจะไม่หวั่นไหว เพราะเห็นว่ามันเป็นอยู่อย่างนี้ เอามันพอควรพออยู่ก็สบาย มีน้อยก็ใช้น้อย มีมากก็ใช้มาก อยู่อย่างไรก็อยู่ได้ มันสบาย สงบระงับ มีมากก็ไม่เป็นไรให้รู้เรื่องของมัน มีน้อยก็ไม่เป็นไรถ้ารู้เรื่องของมัน นี่แหละเรื่องคนจะสบาย คือมีปัญญา เรื่องคนจะไม่สบาย เรื่องคนจะสำบากนั้น โอ๊ย! มันยาก ทุกอย่าง ถึงท่างานอยู่มันก็ยาก ให้อยู่เฉยๆ มันก็ยาก ถึงแม้จะให้นอนมันก็ยาก ให้ทำก็ยาก ไม่ให้ทำก็ยาก มันไม่แน่สักอย่าง จะว่าอย่างไร แม้จะรวยมันก็ทุกข์ แม้จะจนมันก็ทุกข์อยู่อย่างนั้น เรื่องมันทุกข์

ท่านอุปมาเหมือนกับลิงตัวน้อยๆ ก็เรียกลิงน้อย ใหญ่ก็เรียกลิงใหญ่ เฒ่าก็เรียกลิงเฒ่า ตายก็เรียกลิงตาย เหลือแต่กระดูกก็ไม่พ้นเรียกว่ากระดูกลิง มันจะไปที่ไหน ก็เพราะมันเป็นอย่างนั้น ถ้าเรารู้สิ่งเหล่านี้ มันจะไปไหน จะหอบจะหาบอะไรไปไหน? ให้รีบสร้างคุณงามความดีไว้ในใจเจ้าของ “สวรรค์ในอก นรกในใจ” ใจใครไม่ทุกข์ไม่โศก ใจคนนั้นแหละ เป็นใจสงบเป็นใจระงับ เพราะพิจารณาเห็นแล้ว อัชฌัตตา ธัมมา, พหิทธา ธัมมา ธรรมทั้งภายในก็ดี ภายนอกก็ดี ทั้งที่ใกล้ก็ดี ทั้งที่ไกลก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี มันรวมลงที่เดียว คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นของไม่แน่นอน

สังขารทั้งหลายเหมือนกันกับอาหาร อาหารที่เราบริโภคทุกวันนี้ อันไหนมันดีมันชั่ว แม้เราจะแบ่งไว้ อันนั้นดี อันนี้ไม่ดี เวลารวมลงไปในท้อง อันไหนดีกว่ากันมืไหม? อันไหน... ที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ มีไหม? ใครจะรวมคะแนนให้ได้ หือ... เหมือนกัน... มันเหมือนกันอย่างนั้น “สามัญลักษณะ” มันเหมือนกันอย่างนั้น

relax2ฉะนั้น พวกเราทั้งหลายที่อยู่ด้วยกันนี้เป็นญาติกันนะ ญาติความเกิด ญาติความแก่ ญาติความเจ็บ ญาติความตาย ฉะนั้น พวกเราอย่าเอารัดเอาเปรียบกัน ให้มีธรรมไว้ในใจ มีธรรมอย่างไร? คนรวยอย่าดูถูกคนจน นี้คือหลักใหญ่ของมัน คนจนก็อย่าไปอิจฉาคนรวย เท่านี้ก็พอ....มันพอ

เหมือนกันกับผลไม้ ผลที่มันหวานก็ให้มันหวานไป ผลที่มันเปรี้ยวก็ให้เปรี้ยวไป คงไม่มืใครอยากกินหวานอย่างเดียวหรอก บางครั้งแดดเผาหัวนึกอยากกินเปรี้ยวๆ ก็มืเยอะแยะไป อย่าเพิ่งไปโทษว่ามันเปรี้ยว เดี๋ยวจะเรียกหามันหรอก เปรี้ยวมันก็ดี หวานมันก็ดี ของมันดีอยู่อย่างนั้น เวลาเราต้องการเราต้องการอย่างเดียวหรือเปล่า จริงๆ แล้วเราต้องการหลายอย่าง นี้ก็เหมือนกันให้พิจารณาอย่างนั้น แล้วจะเอาตอนไหน... พวกเรา? เอาตอนนี้แหละ ตอนที่ยังไม่เจ็บไม่ไข้นี้แหละ ควรมาวัด หรือจะรอจนมันเจ็บไขโน้นหรือถึงจะเข้ามาวัด รอจนหัวเข่ามันบวม คอเหลือเท่าแขนโน้นหรือถึงจะให้เขาพาไป หาครูบาอาจารย์ เอามาทำไมอย่างนั้น? เอาไปทิ้งปาช้าโน้น.... อย่างนั้นไม่ต้องเอามา....หือ....ดูซิ

ควรฝึกไว้แต่ไกลๆ ให้มันรู้จัก จะอยู่ที่ไหนก็ตามพวกเราทุกสิ่งเป็นของไม่แน่นอน มันจะมือะไรก็ช่างมัน มันจะเป็นเพชรก็ช่างมัน มันจะเป็นพลอยก็ช่างมัน จะเป็นทองคำก็ช่างมัน ก้อนดิน....ก้อนดินมันเหลือง มันเขียว มันแดง ก้อนขี้ดิน ทั้งหมด... ไม่มีอะไร มันเป็นสมมุติ อันนี้สมมุติว่าเพชร อันนี้เป็นพลอย อันนี้เป็นแก้ว อันนี้เป็นทอง ก็พูดกันไปอย่างนั้น อันไหนเหลืองก็ว่ามันเหลือง อันไหนเขียวก็ว่ามันเขียว ก็อยู่ตามเรื่องของมัน อันนี้มันมีราคามากราคามันก็มาก อันนี้ไม่มีราคา มันก็ไม่มีราคา ก็เราไปว่ากันเอาเอง ผลที่สุดก็คือขี้ดินนั้นแหละ พูดง่ายๆ เหมือนกับขุยขี้ไส้เดือนนั่นแหละ

เราก็เหมือนกัน จะดี จะเลิศ จะประเสริฐขนาดไหน มันก็ไม่พ้นไปจากธรรม ไม่พ้นไปจากอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันไม่พ้นไปหรอก เป็นหนุ่มก็ดี เป็นสาวก็ดี เป็นเด็กก็ดี มาถึงตอนนี้ เป็นอย่างไร แต่ก่อนไม่เป็นอย่างนี้หรอก เต้นสามศอก ออกสามวา ถ้าพูดถึงกำลังสนุกสนานมาก ดูตัวเองเนี้อหนังมังสาก็งามทุกส่วน เหมือนกับว่าความไม่งามจะไม่มื แต่พอแก่มาๆ สิ่งเหล่านี้ไม่รู้มันแอบหนีไปตอนไหน ทิ้งไว่ให้เราแต่ของไม่ดี ดีๆ ไม่รูไปไหนหมด นี้เรียกว่ามันเปลี่ยนไป แปรไป มันไม่เที่ยงแท้ ไม่แน่นอน ผลที่สุดก็เป็นขี้ดินเหมือนเดิม ให้เราพิจารณาไว้แต่ไกล รู้หลักความจริงอย่างนี้ก็คือรู้ธรรม ผู้ที่รู้ธรรมแม้จะมืชีวิตอยู่ก็ไม่แก่งแย่งกัน ไม่อิจฉากัน...สบาย โยม พ่อออก (ผู้ชาย) ก็สบาย โยม แม่ออก (ผู้หญิง) ก็สบาย พูดรู้เรื่องกัน อันไหนทุกข์จะเกิดขึ้น ไม่ไปพูดไม่ไปทำมัน มันก็เลิกจากสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น

เรื่องการประพฤติปฏิบัติในพระศาสนาไม่มือะไรมากมาย ดังนั้น การมาฟังธรรมให้รู้เรื่อง สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ที่มันยังละไม่ได้ ก็ให้พากันอดกลั้น มันอยากจะด่าลูก อยากจะด่าหลาน อยากจะด่าใครคนใดคนหนึ่งก็ให้ด่าตัวเองก่อน แต่งตัวเองให้ดีเสียก่อนจึงพูดจึงทำ ถึงจะพูดแรงหน่อยก็ได้ จะพูดหนักหน่อยก็เป็น แต่ให้รู้จักเสียก่อน ให้ดูเราเสียก่อน ให้เราดีเสียก่อน ให้เรารู้เสียก่อน สอนเราเสียก่อน ให้มันเป็น เผื่อว่ามันสะท้อนกลับมาก็ไม่มือะไร จะทำไร่ทำนาก็ได้ มีแก้วก็ได้ มีแหวนก็ได้ มีเพชรนิลจินดาก็ได้ ให้มันอยู่เหนือสิ่งเหล่านั้น เมื่อสิ่งเหล่านี้มันวิบัติไปก็ให้เราสบาย เราได้มาก็ให้สบาย มันจากเราไปก็ให้สบาย เพราะเห็นว่าสิ่งทั้งหลายมันเป็นอย่างนั้น นี้เรียกว่าผู้เห็นธรรมในที่ไกล แล้วก็มาเห็นในที่ใกล้ เห็นข้างนอกเห็นข้างใน ผู้อื่นก็เป็นอย่างนี้ เราก็เป็นอย่างนี้ ข้างนอกเป็นอย่างนี้ ข้างในก็เป็นอย่างนี้ มันเหมือนกัน

cha kamson 8

ดังนั้น ถ้าหากรู้ธรรมก้อนเดียวเท่านี้เอง ไม่ไปทำเหตุให้ทุกข์เกิด ทุกข์ก็เกิดขึ้นมาไม่ได้ เมื่อฟังธรรมเข้าใจธรรมอย่างนี้ เข้าใจสิ่งทั้งหลายที่อธิบายมานี้ ทุกกาลทุกเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นผู้มีสติอยู่สม่ำเสมอ พิจารณาเรื่องทั้งหลายเหล่านี้ให้มันเสมออยู่ที่ใจของเจ้าของ ให้รู้เท่าสิ่งทั้งหลายว่ามันเป็นอยู่อย่างนี้ จะไปใต้ใปเหนือก็เป็นอย่างนี้ คนรวยคนจนก็ต้องเป็นอย่างนี้ ไปที่ไหนก็เป็นอย่างนี้ ตามเรื่องของมัน อันนี้ล่ะ...ให้เราทำสัญญาเอาไว้

ให้ถามตัวเองอยู่บ่อยๆ ว่า ขาที่เดินอยู่นึ่เป็นของเราจริงหรือเปล่า บ้านของเราจริงหรือเปล่า เรานอนอยู่ทุกวัน...แม่นบ่ วันไหนเขาจะหามหนี ให้พากันคิดไว้หน่อยเน้อ! นอนลงไป ก็ให้ถามตัวเองด้วยว่า “จะนอนได้กี่วัน” “เข้าใจไหมล่ะ คนแก่ๆ กลุ่มนั้น” (มีเสียงตอบว่า เข้าใจ) เออ! ให้เข้าใจไว้ อย่านอนกรน อยู่เฉยๆ จะอยู่ได้กี่วันน้อ! ให้ถามตัวเองอย่างนั้น “วันไหนหนอ เขาจะหามหนี” พูดแค่นี้ก็ได้ภาวนา ภาวนาแค่นี้ก็ได้นะ ไม่ต้องพูดมาก แค่นี้ก็เกิดอานิสงส์แล้วล่ะ เอวัง.

redline

backled1

pra tam tesana header

นานาสาระจากความสงสัยของญาติโยม ที่หลวงพ่อได้สนทนาธรรมด้วยจนเกิดความสว่างในดวงใจ

putcha wipasana

 พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)

ตอบปัญหาคนไทย ในอเมริกา รัฐวอชิงตัน

หลวงพ่อ : ................สงสัยทั้งนั้นเหรอ
อุบาสก : ไม่.....ผม.....เดี๋ยวอาจารย์.....ผมไม่ถาม.........เมื่อกี้ผมถามแล้ว......
หลวงพ่อ : ใช่.....อยากจะรู้เรื่อง อยากจะรู้อะไรต่ออะไร เรื่องจิตใจว่า เราอยู่นอกพุทธศาสนา.....มา เลื่อมใสได้อย่างไร อยากรู้จักในฐานอย่างนี้
อุบาสก : ครับ.....เข้าใจครับคือว่า.........นี่ถ้าผมไปเล่าให้ใคร คงจะไม่มีใครเชื่อ
หลวงพ่อ : ใช่.....ที่ท่าน (หมายถึงท่านสุเมโธ) ตอบให้ท่านฟังน่ะ ท่านตอบไม่ค่อยถูกดีน๊ะ ถูก.....แต่มันไม่เข้าใจ ถามว่า.....ท่านได้ไปเสาะแสวงหาศาสนาอื่นแล้วหรือยัง ท่านว่า......ไม่ได้ไปหรอก คือว่ามาถึงศาสนาพุทธแล้วก็พอ คำที่ว่าพอน่ะ คนฟังก็เห็นว่า ท่านศึกษาน้อยไป นี่น่ะ.....

ไม้ฆ้อนนี่เห็นไม๊ (หลวงพ่อหยิบไม้ฆ้อนที่วางอยู่ใกล้ ๆ แสดงประกอบ) ส่วนหนึ่งอยู่ตรงนี้ ส่วนหนึ่งอยู่ตรงโน้น ท่านจับตรงกลางมันขึ้นเท่านี่น่ะ สองข้างมันก็ยกขึ้นเองของมัน

อุบาสก : ครับ
หลวงพ่อ : ศึกษาพุทธศาสนานั่นน่ะ มันหมดที่จะสงสัยแล้ว ก็เลยหยุด ท่านได้ไปศึกษาศาสนาอื่น ๆ หรือเปล่า.....ศาสนาอื่นๆ มันอยู่สองข้างนี้ ตรงนี้เป็นจุดกลางน๊ะ (หลวงพ่อหยิบไม้ฆ้อนที่วางอยู่ใกล้ๆ แสดงประกอบคำอธิบาย คือตรงนี้ท่านเห็น ความว่า.....ไม่มีที่จะเพิ่มเข้าไปอีกแล้ว ไม่มีที่จะเอาออกไปอีกแล้ว..... ไอ้ความเข้าใจของท่านอย่างนั้น ท่านถึงตอบอย่างนี้

ถ้าได้ศึกษาพุทธศาสนาแล้วก็แล้ว.....เป็นอย่างนั้น อาตมาก็มีความรู้สึกเหมือนกันน๊ะ เรื่องคนนับถือพุทธศาสนา อย่างเมืองไทยเราน่ะ อย่างโยมที่ว่า.....อาตมาก็ฟังได้เหมือนกัน แต่พุทธศาสนาจะสมบูรณ์ทุกเรื่อง.....อันนี้ก็ฟังได้เหมือนกันน๊ะ

ถึงอาตมาจะบอกไปว่า จะเอาฝรั่งมาฝึกหัดคนไทยน่ะ.....ไม่รู้เรื่อง.....เรื่องอะไรก็ไม่รู้ โยมศึกษาแต่เรื่องทางโลกทั้งหลาย มันก็เลยดีไปทางโลก รู้เรื่องของโลกไปซ๊ะ ไอ้เรื่องอันนี้.....แท้จริงน่ะ.....ไม่รู้จัก แต่เราอยู่ในกลุ่มพุทธศาสนาทั้งนั้นแหละ แต่เรื่องศาสนาที่แท้จริง ๆ นั้น เราไม่ค่อยจะรู้เรื่อง มันเป็นเสียอย่างนี้

อุบาสก : ถ้าหากว่าฝรั่งเขาถามผมว่า ศาสนาพุทธคืออะไรนี่ ผมจะตอบว่าอย่างไรครับท่าน
หลวงพ่อ : อันนี้.....โยมจะต้องไปศึกษาพุทธศาสนาเอาเอง อย่ามาเอาความรู้คนอื่นไปตอบเลย มันไม่ถูกหรอก
อุบาสก : ผมไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้นครับ.....ผมหมายความว่า.....สมมติเขาถามมาแบบง่าย ๆ ว่า.....พุทธศาสนาคืออะไร ?.....ท่าน.....ท่านพอจะ.....
หลวงพ่อ : ต๊าย.....อาตมามันไม่ได้ ไม่มีหร๊อก.....พุทธศาสนานี่คือ...... "ความที่ต้อง" เท่านั้นแหละ.... "สิ่งที่ถูกต้อง"
อุบาสิกา : เป็นความจริงใช่ไม๊ค๊ะ.....ความจริงที่ไม่มีใครค้านได้
หลวงพ่อ : จริงหรือไม่จริง.....ก็ที่มันถูกต้องนั่นน่ะ.....ทุกวันนี้ ถ้าเราทำถูก.....มันก็สบายกันทุกคน
อุบาสิกา : ค่ะ
หลวงพ่อ : มันไม่สบายเพราะทำไม่ถูก ทุกวันนี้ ตรงนั้นแหละๆ คำที่ว่า.....ที่ถูกต้องน่ะ มันสำคัญมากที่สุด
อุบาสิกา : นี่คลุมหมดเลย คำ นี้คลุมได้ทุกแง่เลย
อุบาสก : แล้วอริยสัจเล่าครับ ?
หลวงพ่อ : ไม่ต้อง.....ไม่ต้องออกชื่อมันหร๊อก ไอ้สิ่งที่มันที่ถูกต้อง คือความเป็นจริงนั่นน่ะ.....คือพุทธศาสนาล่ะ ถ้าเราไปถึงความเป็นจริงแล้ว จะไปถามอะไรอีกไม๊ ถ้าบอกเอาแก้วมา ก็ยกแก้วมาจะไปถามมันทำไม มันหมดปัญหาแล้ว ยกมาให้ดูแล้ว คือเห็นความจริง มันก็หมดแค่นั้นแหละไม่มีทางที่จะต้องไปแล้ว เราจะยอมรับหรือไม่ยอมรับ เท่านั้นแหละ
อุบาสก : คือผมไม่ใช่ว่า จะอยู่ที่ว่า.....เราจะยอมรับหรือไม่ยอมรับ คือว่า.....เราจะมีปัญญาเพียงพอหรือเปล่า ที่จะยอมรับ
หลวงพ่อ : นั่นแหละ.....ถ้ายอมรับ ก็ต้องมีปัญญาซี่ เอ้า.....คำที่ว่ารับ.....ไม่ใช่ไปรับปลอม ๆ รับอย่างแท้จริงซิ อย่ารับได้ รับเอาซิ อย่างฉันได้มาก.....มากของใช้ไม่ได้มาก ก็จริงอยู่ แต่ว่ามันไม่ดีนี่ จะทำยังไง มันเป็นปริมาณซ๊ะ มันมีคุณภาพอย่างนี้ อาตมาเคยพูดให้ญาติ - โยมฟัง ลูกศิษย์ลูกหานั่นแหละไปทั่วทิศ อย่างเราออกมานี่น่ะไปเรียนความรู้วิชาใช่ไม๊ เรียกว่าศาสตร์ มันหลายศาสตร์เหลือเกินทุกวันนี้น่ะ มันยัดศาสตร์เข้าไป จนจะนับไม่ไหวแล้วล่ะ

แต่ว่าศาสตร์อะไรก็ตามเถอะ ถ้าไม่มารวมพุทธศาสตร์แล้ว.....วุ่นวาย.....นี่.....พุทธศาสตร์นี่เว้นจากอิจฉาพยาบาท.....เรียบร้อย.....เมตตา กรุณากันไม่มีทางที่จะไปแล้ว ไม่เห็นแก่ตัวแล้ว นี่.....พุทธศาสตร์ ศาสตร์อื่น ๆ มีความรู้ดีเหมือนกัน ถ้ามารวมพุทธศาสตร์นี่ มันดีหม๊ดทุกศาสตร์เลย ถ้าแยกออกจากพุทธศาสตร์ คือความจริงนี่แล้ว ก็เป็นศาสตร์ทะเลาะกันทั้งนั้นแหละ นี่.....มันเป็นเสียอย่างนั้น อาตมาถึงบอกว่า ไอ้ศาสตร์.....คือพุทธศาสตร์นี่ มันครอบแล้ว

อุบาสก : อ้า.....หลวงพ่อครับ อยากจะย้อนกลับไปถึงหลวงพี่ (หมายถึงท่านสุเมโธ) ครับ
หลวงพ่อ : เอา.....ได้
อุบาสก : อ้า.....หลวงพี่ไปถึงกรุงเทพ ฯ ปุ๊บน่ะฮ๊ะ ไปพบพระพบอะไรเข้า แล้วเกิดความเลื่อมใส แสดงว่าหลวงพี่ต้อง.....อ้า.....คล้าย ๆ ว่า.....
หลวงพ่อ : ยังไงก็เชื่อเอาเถ๊อะ.....ว่างั้นซ๊ะ ไปตะครุบเอาเลย ว่างั้นเถอะ
อุบาสก : นั่นแหละครับ ผมไม่เข้าใจว่า เรื่องอะไร ถึงไปปั๊บ ๆ .....
หลวงพ่อ : ใช่.....คือเรื่องนั้น ท่านไปเลื่อมใสเฉย ๆ เรื่องแท้จริง ท่านมาค้นคว้าทีหลังนี่.....ใช่ไม๊ ?
อุบาสก (อีกคน) : ไม่มีศรัทธาก่อน
หลวงพ่อ : ใช่.....มีศรัทธา.....ศรัทธาน่ะมันเชื่อ ไอ้ความเชื่อเฉย ๆ ตรงนั้น ก็เลยมาทำอย่างนี้ มาค้นคว้าอีก.....การบวช.....ปฏิบัติขึ้นมา มันรู้เรื่องตามเป็นจริงขึ้นมาทีหลัง ทับเข้าไปอีกทีหนึ่ง
อุบาสก : ตอนแรกอาจจะไม่สมบูรณ์น๊ะครับ
หลวงพ่อ : ใช่.....อย่างผลไม้น่ะ สีมันใส ๆ ก็ชอบมัน นึกว่ามันจะหวาน.....มันจะเปรี้ยวก็ได้.....อ้าว ไม่ใช่แล้วนี่
อุบาสก : ใช่ครับ.....
หลวงพ่อ : แต่ก็เลื่อมใสมันครั้งแรก ผลไม่ผลนี้ เป็นทางที่จะให้ค้นคว้าผลอื่นต่อไปอีก มันเลยได้ความจริงอย่างนั้น นี่เรียกว่า ครั้งแรกนี่.....เชื่อโดยศรัทธาอธิโมกข์.....ไม่มีปัญญา นี่ก็ได้ แต่ถ้าได้ศึกษาแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นมา เป็นศรัทธาที่ประกอบไปด้วยปัญญา ไม่มีทางหลีกเลี่ยงแล้ว จำเป็นจะต้องยอมรับ เพราะมันเป็นอย่างนั้น

ศรัทธา.....ถ้าไปถึง เชื่อเลย จับมาดูเฉย ๆ แล้วเชื่อเลยว่าเป็นจริง.....มันมีศรัทธาเฉย ๆ ไม่มีปัญญา ยังไม่รู้เรื่องตามความจริงมัน อย่างผลไม้ นึกว่ามันจะหวาน เอามาทานดู.....มันเปรี้ยว.....อ้าว.....ไม่ใช่แล้ว ก็ทิ้งมันไป

อุบาสก : ครับ.....
หลวงพ่อ : ต้องหาผลไม้ใหม่มา ที่ไหนมันจะหวาน ให้มีปัญญาเกิดขึ้นมาเสียก่อน จึงเป็นความจริงของมันอย่างนั้น เป็นศรัทธาครั้งที่สอง ท่านให้มานั่งภาวนา.....พิจารณา พิเคราะห์ พิจารณาดีแล้ว มันไม่พ้นจากนี้ไป ก็มีความเชื่อครั้งที่สองขึ้นมา.....เอา ๆ ให้หมดน๊ะ
อุบาสก : อันนั้นผมพอจะเข้าใจแล้ว นอกจากหลวงพี่องค์นี้ มีคนค่างชาติ ต่างประเทศอื่น ที่เข้าไปบวชนี่มากไม๊ครับ ?
หลวงพ่อ : เยอะแยะไปที่วัดป่าพงน่ะ บาทหลวงก็มาบวชอยู่ที่นั่น.....เวลานี้
อุบาสก : โอเค.....แล้วบวชเป็นพระ.....พุทธน๊ะฮ๊ะ นอกจากประเทศไทยแล้ว ที่ไหนมีครับ ?
หลวงพ่อ : หา.....คนบวชหรือคนที่จะมาบวช ?
อุบาสก : คนที่จะไปบวชได้ครับ
หลวงพ่อ : บวชที่ไหน ?
อุบาสก : ครับ.....นอกจากเมืองไทยแล้ว
หลวงพ่อ : ได้.....ใครจะมีศรัทธามาบวช.....ก็บวชได้ จะบวชในเมืองไทยก็ได้
อุบาสก : ไม่ใช่ครับ.....นอกจากผู้ที่จะบวชเป็นพระในเมืองไทยได้แล้วน๊ะฮ๊ะ ที่ประเทศอื่นมีที่ไหนบ้างครับ ?
หลวงพ่อ : ยัง.....ยัง ที่นี่ก็ได้ (หมายถึง อเมริกา) ต่อไปได้
อุบาสก : เปล่า.....ไม่ใช่ครับ พูดถึงว่า จะไปบวช ถ้าหากไม่บวชที่เมืองไทย ก็อาจจะบวชที่อินเดีย
หลวงพ่อ : ใช่ ๆ
อุบาสก : .....หรือที่ลังกา......
หลวงพ่อ : สถานที่บวช.....พูดถึงสถานที่บวช ศาสนานี่ มันมีอยู่ทุกแห่งทุกหนนั่นแหละ ถ้าเรามีศรัทธาบวชน๊ะ.....คำที่ว่าบวชน่ะ อย่างเมืองไทยเราน่ะ มันมีเถรวาท.....มีเถรสมาคม เป็นหลักพุทธศาสนา.....บวชก็ต้องมีสีมาน๊ะ ผูกสีมา ตั้งสีมาขึ้นจึงบวชได้ ตรงนี้ไม่มีสีมา จะบวชตรงไหนนี่
อุบาสก : ครับ....คำถามผมไม่ได้หมายความอย่างนั้น
หลวงพ่อ : เอา.....ยังไง.....เอาไปซี่
อุบาสก : อย่างสมมติเราจะไปเรียนหนังสือน๊ะครับ มีมหาวิทยาลัยดี ๆ อยู่ ๔-๕ แห่ง ถ้า.....คำถามผมว่า ทำไมถึงมาเลือกบวชในเมืองไทยมากกว่า ไปบวชที่ลังกา หรือมากกว่าไปบวชที่พม่า
หลวงพ่อ : ไอ้เมืองไทย.....ทำไมคนไทยมันมากกว่าฝรั่งล่ะ.....เพราะมันตั้งรกรากที่นั่นก่อนใช่ไม๊
อุบาสก : ผมไม่ได้หมายถึง.....
หลวงพ่อ : เปรียบเทียบซิ.....เปรียบเทียบ
อุบาสก : หมายถึงคนต่างประเทศที่ไปบวช ที่เมืองไทย
หลวงพ่อ : ใช่.....ไม่รู้เขาละอันนั้น เขาไปมีศรัทธาที่เมืองไทย เขาก็บวชในเมืองไทย รู้เรื่องของเขาไม่ได้ตรงนั้นน่ะ
อุบาสก : มันต้องมีเหตุผลน๊ะครับท่านครับ
หลวงพ่อ : มีซิ.....เขาถึงบวช.....อ้าว ทำไมจะไม่มี เขาก็ไปเมืองไทยมาก เขาไปสืบกับพระมาก เขาก็บวชตรงนั้นมาก ไอ้คนหนึ่งไป คนสองไป เพื่อนๆ ของคนๆ หนึ่ง มันมีกี่คนน๊ะ ไอ้คนนั้นไปก็ไปเยี่ยมกัน มันก็หลายขึ้นมาเท่านั้นแหละ เหตุผลมันเป็นอย่างนั้น
อุบาสก : ครับ ๆ
อุบาสิกา : แล้วอีกอย่าง ต้นรากเง่า ที่จะสั่งสอนอบรม ในการปฏิบัติธรรมะ.....ศาสนกิจ หรือทางวิปัสสนากรรมฐาน หรือสมาธิภาวนา.....อาจารย์ทั้งหลาย ก็อยู่ที่นั่น
หลวงพ่อ : ใช่ ๆ.....เข้าใจแล้วละ โยมถามว่า ทำไม่ถึงไปบวชเมืองไทยหลาย คือเมืองไทย ไม่รู้จักมันเป็นอะไรล่ะน๊ะ คือคนไปเที่ยวเมืองไทย จุดแรกก็คือมีใครสักคนหนึ่ง มาจากเมืองนอกเป็นฝรั่งเมืองใดก็ตามเถอะ เข้าไปบวชตรงนั้น ก็ได้ความเห็นชัดขึ้นมาน๊ะ ไอ้เพื่อนของคน ๆ นี้มันมีกี่คน ก็ไปเยี่ยมบอกกันไปเรื่อยๆ ไป

อย่างวัดป่าพง ครั้งแรกที่ท่านสุเมโธองค์เดียวนี่ เดี๋ยวนี้รับไม่ไหวเลย.....หลาย แต่ไม่ได้หมดทุกคนน๊ะ.....เลือกเอา บางทีมันก็มีศรัทธามีความเห็น..... มันก็เอาได้มาก บางคนก็มาบวชศึกษา ๕ พรรษา ๒ พรรษาสึกก็มี แต่ว่า..... เขาศึกษาต่างจากคนไทยเรา ศึกษาพุทธศาสนานี้ อย่างอาตมาไปว่า ต้นไม้มันหลายร้อยปีมาแล้วน๊ะ ลูกมันก็ไม่ค่อยมาก.....แต่อ้วน.....เหลือแต่กิ่งที่มันตายน๊ะ มันพังลงมา.....ให้เรากวาดมัน

อุบาสก : ครับ
หลวงพ่อ : อย่างเมืองไทยเราเหมือนกัน บวชเดี๋ยวนี้ ๑๕ วัน ๗ วัน เท่านั้นแหละ.....ไม่รู้เรื่องอะไร
อุบาสก : เรียกว่าบวชเป็นพิธี
หลวงพ่อ : นั่นแหละ บวชเป็นพิธี อันนั้นเขาไม่ใช่อย่างนั้นนี่ อาตมานี่ให้บวชอย่างน้อย ต้องอยู่ด้วย ๕ พรรษา ที่จะมาเป็นนาคนี่ ต้องพรรษา หรือสองพรรษา ทรมานให้หนักกว่าคนไทยอีก มันถึงเห็นชัด
อุบาสก : แต่ผมว่า.....ถ้าเผื่อหลวงพ่อพูดว่า ทุกคนบวชกันเพียง ๑๕ วันน๊ะฮ๊ะ
หลวงพ่อ : อ้า.....ใช่
อุบาสก : สมมติว่าผู้ชายไทยทุกคน จะบวชกัน ๔-๕ พรรษา เราเลยไม่ต้องทำอะไรกันเลย เป็นพระกันหมดถูกไหมครับ
หลวงพ่อ : มันหมดไม่ได้.....อันนั้นสมมติที่เป็นไปไม่ได้
อุบาสก : แต่มันก็เป็นไปได้ บางคน ๗ วัน บางคน ๓ เดือน ถ้าเผื่อทุกคนบวชไปได้ คนละ ๔ - ๕ พรรษา หมดก็ดี.....
หลวงพ่อ : ทำไม ?
อุบาสิกา : กลัวจะไม่มีคนทำงานให้ประเทศชาติ ใช่ไหมค๊ะ ?
อุบาสก : .....(หัวเราะ)
หลวงพ่อ : อย่าไปกลัวเลย.....ไอ้ไส้เดือนมันกลัวดินจะหมด.....(ทั้งกลุ่มหัวเราะชอบใจ) เราอย่าไปคิดอย่านั้นซิเอ้อ.....ไปคิดแบบนั้นน่ะแบบนกกระสา ไส้เดือนนี่มันเป็นอย่างนั้น อันนี้สมมติไปตัดบทมัน ไอ้ความเป็นจริง เป็นไปไม่ได้อย่างนั้น อย่างอาตมาไปสั่งสอนให้โยมเชื่อ อาตมาก็ทำไม่หมดหรอก ผลที่สุดก็ย้อนไป ๆ หาได้เท่าไรก็เอาเท่านั้น แต่ว่าเหตุผลอาตมาที่ว่า ถ้าบวช ๗ วัน ๑๕ วัน ทุกคนจะเป็นยังไง.....มันจะดีไม๊ ?......

ใครจะมาสอนศีลธรรมให้กันอีกล่ะ.....อย่างนี้.....มันก็คนละแง่ซิ มันเป็นไปไม่ได้ บวช ๑๐ วัน ๑๕ วัน ทุกคนไม่ได้ บวชจนตายก็มี ๕ ปี ๖ ปีก็มี ๖ วัน ๗ วันก็มี มันเป็นเรื่องของธรรมดาอย่างนั้น ไอ้ความคิดเช่นนั้นมันความคิดของไส้เดือนนี่..... (พวกโยมหัวเราะ) จำไว้.....เป็นอย่างนั้นทีก่อนอาตมาเคยมาเมืองนอก มากรุงลอนดอนครั้งหนึ่งน๊ะ

พวก บี.บี.ซี. เขาไปสัมภาษณ์ ถ่ายทำเป็นหนังออกมา.....สารพัดอย่าง เขาสัมภาษณ์แล้วพอใจต่อนั้นมา ก็มีพวกฝรั่ง เข้ามาบวชเรื่อย ๆ ตลอดมา ไอ้ความเป็นจริงคือว่า.....เขายังไม่เคยเห็นการทำอย่างนี้

อุบาสก : ครับ
หลวงพ่อ : เขาก็อยากจะไปดู.....ไปทำกัน ไปดู.....ไปทำแล้ว มันก็แปลก.....อย่างนี้ ไม่ใช่ได้หมดทุกคนน๊ะ มันเป็นไปอย่างนั้น เรื่องของศาสนานี่
อุบาสก : ผมมีความสนใจครับ แต่ว่า.....ศรัทธาผมอาจจะไม่แรงเหมือน.....
หลวงพ่อ : เออ.......เอามันไว้นั่นก่อน ศรัทธาอย่าเอามาไว้ในนี้เลย
อุบาสก : ศรัทธาผมมีน๊ะฮ๊ะ แล้วผม......พยายามใช้ชีวิตที่ว่า.....ในทางที่ถูกน๊ะฮ๊ะ หรืออาจจะผิดหวังนิดหน่อยน๊ะครับ
หลวงพ่อ : ไม่เป็นไร.....มันมีผิดถูก สลับกันไปหล่ะ มันมีเปรี้ยวอย่างเดียว มันไม่อร่อยหรอก ให้มันมีเปรี้ยว....มีหวานสลับกันไป
อุบาสก : จะให้ทำให้ถูกอย่างหลวงพ่อ หรือหลวงพี่นี่ ผมคงอาจจะ.....ยังมีปัญญาไม่ถึงครับ
หลวงพ่อ : ใช่.....ก็อยู่ไปซิ ใครจะเฝ้าบ้านล่ะ ถ้าไปหมด เราก็อยู่เฝ้าบ้านซ๊ะคนซิ..... (ทั้งกลุ่มหัวเราะ) แต่กวาดบ้านให้ดี ๆ น๊ะ ทำบ้านให้สะอาดน๊ะ อย่าอยู่เฉย ๆ.....เฝ้าบ้านน่ะ
อุบาสิกา : คำว่า "สะอาด" นี่ลึกซึ้งมากเลยล่ะ
อุบาสก : ครับ ๆ
หลวงพ่อ : เอาซิ.....วันนี้ตั้งใจมาแล้ว ไม่มีเวลานาน จะแก้ความสงสัยลูกหลานเรานี่แหละ ให้ปรึกษากันไม่ใช่ว่าสนทนาเรื่องใด เรื่องพุทธศาสนานี้ก็เรียกว่า.....พวกเรามันอยู่กันนาน แต่ว่าไม่พูดถึงโยมผู้ปฏิบัติศาสนา เลยมันตายไป.....เลยจะไม่ได้เห็นอะไรเลยก็มี ก็เพราะไม่ได้ศึกษาอย่างแม้จริง

ฉะนั้นอาตมาก็จะรายงานให้ญาติโยมทราบซักหน่อยนึง อาตมานี้ไม่ได้เรียนอะไรหรอกเรียนเรื่องธรรมชาติ.....เรื่องจิตใจ บวชเข้ามาแล้ว ก็อยู่ไปไม่กี่พรรษา แล้วก็ออกป่าตั้งแต่คราวท่านอาจารย์มั่นยังอยู่ ถึงนี้แหละ ศึกษาพุทธศาสนาตั้งแต่อายุ ๙ ขวบ เป็นเด็กอยู่อย่างนั้นแหละ ไม่รู้เขาไปอะไรกัน ก็ไปกับเขา คลุกคลีอยู่กับพระเจ้าพระสงฆ์

อุบาสก : โดยที่ไม่รู้จักอะไร ?
หลวงพ่อ : ใช่ ๆ......มันมีศรัทธาอย่างว่าแหละ ศรัทธาอย่างโยมว่า
อุบาสก : ครับ
หลวงพ่อ : ศรัทธาอยากเข้าไปอยู่วัด
อุบาสก : แต่ไม่รู้ว่าอยู่เพราะอะไร
หลวงพ่อ : ไม่รู้เพราะอะไร.....นี่มันเป็นอย่างนี้ ไม่ต้องสงสัยมันแล้วทีนี้ คนเรา.....ถ้าเราไปศึกษาดูน๊ะอย่างเช่นเราน่ะ ให้อาหารมันทุกวัน ๆ มันก็โตขึ้นทุกวันน่ะแหละ จนถึงที่มันทุกวันนี้ เกิดมาครั้งแรก ไม่โตถึงนี้หรอก แต่ให้อาหารมันทุกวัน มันถึงโตขึ้นมาถึงบัดนี้ เราเข้าไปสั่งสมในที่อะไร มันก็ค่อย ๆ เข้าใจขึ้นมา มันก็เปลี่ยน ๆๆๆ นี่.....อย่างเด็ก ๆ เราเกิดมาชอบเล่นอย่างหนึ่ง โตมาขนาดนี้ อยากเล่นอย่างเด็กมันเล่นไม๊
อุบาสก : ครับ
หลวงพ่อ : ไม่อยากเล่นอย่างเด็กมันเล่น ไม่มีประโยชน์ แต่เราจะไปพูดกับเด็กว่า แหม.....ทำอย่างนี้ไม่มีประโยชน์ มันเกลียดเอาเลยน๊ะ อย่างนี้ ทำไมเราเป็นเด็กถึงชอบอย่างนั้น พอมันเปลี่ยนแล้ว ทำไมมันไม่เป็นอย่างนั้น นี่.....มันเป็นอย่างนี้ คือธรรมชาติเราได้เสพสมมา มันเป็นอย่างนี้ นี่ท่านเรียกว่าธรรมชาติของมัน
อุบาสก : ครับ
หลวงพ่อ : อาตมาให้โอกาสถาม ญาติโยมเรานี่ ไม่ได้เอาอะไรมาพูดให้ฟัง เอาความจริงมาพูดให้ฟัง
อุบาสก : ครับ ๆ ผมมีปัญหาถามหลวงพ่อ ๆ
หลวงพ่อ : อ้ามี......เดี๋ยวมันจะหมดเวลา......
อุบาสก : อย่างนั่งกรรมฐานนี่ นั่งอย่างไรครับ ? ผมคิดว่าพวกเราหลายคน ที่อยากจะนั่งเหมือนกัน
หลวงพ่อ : ใช่......
อุบาสก : แล้วผมอยากจะให้ท่านพูดถึง ผลประโยชน์ ทั้งในร่างกาย และจิตใจ ขอโอกาสนมัสการ..... และวิธีทำด้วยครับ
หลวงพ่อ : วิธีทำก็ได้ ถ้าโยมจะทำก็ไม่ยาก ขอแต่มีใครขอได้ทั้งนั้น กลัวแต่จะไม่มีคนเอาเท่านั้นแหละ (พวกโยมหัวเราะ)
อุบาสก : ำไมท่านไปคิดอย่างนั้นล่ะครับ....ผมจะยอมรับหมด
หลวงพ่อ : ใช่....ก็พูดให้ฟังนี่ จะทำยังไง เรื่องนี้....เรื่องพระน่ะ ไม่ใช่มีอะไรโดยตรงเป็นอย่างอื่นน๊ะ เรื่องที่สั่งสอนตัวเจ้าของนั้นน่ะ สั่งสอนประชาชนทั้งหลาย ที่อุปการะพระมาทุกวันนี้ไม่มีเรื่องอื่นจะกอบโกยไปที่ไหน ไม่มีแล้ว เอาเฉพาะความเป็นอยู่ แล้วก็สงเคราะห์คนอื่นเท่านั้น เรื่องพุทธศาสนานี้ก็เรื่อง ศีลน่ะ.....เรื่องศีล กฎของมันน๊ะ เรื่องสมาธิ.....เรื่องปัญญาเท่านี้ เรื่องศีลเรื่องธรรมนี้ก็เพื่อ ให้เราทั้งหลายไม่มีความเดือดร้อนวุ่นวาย สมมติน๊ะ หมายความว่าอย่างนั้น อย่าไปว่า ทำไมมันวุ่นวาย อย่าไปว่าให้มันน๊ะ ข้อที่สอง.....ความไม่วุ่นวายเกิดขึ้น ความสงบก็เกิดขึ้นมา.....คือสมาธิ

เมื่อความสงบเกิดขึ้นมาแล้ว ความสะอาดมันก็มี ปัญญาก็เกิดครอบเลย ที่นี้มาพูดถึงการ กระทำ มันกระทำยากสักหน่อยหนึ่งน๊ะ ยากหน่อย แต่ยากมันก็ไม่เป็นอะไรหรอกยากมันถูกของดีมันน่ะ มันต้องยากก่อน มันจึงเห็นทุกข์ ถ้าคนไม่ทุกข์ มันไม่ลืมตามหรอกถ้ามันมีแต่สุขแล้ว มันหลับสนิททั้งนั้นแหละ ทุกข์นี่มันทำให้มีความคิด ขยายตัวขึ้นมามาก ทุกข์มันเกิดมาเพราะอะไร จะต้องรู้มันอีก ไม่ใช่ว่านั่งให้มันหมดทุกข์เฉย ๆ น๊ะ บัดนี้ฉันหนักแล้ว มันหนักเพราะอะไร เพราะยกแก้วนี่ขึ้นมา มันถึงหนัก ถ้าปล่อยไว้ เฉย ๆ แก้วนี่มันไม่หนัก....หนัก.....แต่ไม่ปรากฏแก่เรา เพระาเราไม่ไปสัมพันธ์กับมัน มันก็ไม่หนักนี่.....เรื่องทุกข์มันเป็นอย่างนั้น

เราทำไมถึงหนัก เพราะเรายกแล้วขึ้นมา ทำไมมันถึงทุกข์ ? ......เราไปจับทุกข์มาไว้ แต่เราไม่เข้าใจว่าทุกข์น่ะ.....ว่าทุกข์นั้นมันเป็นของประเสริฐ ทุกข์นั้นจะเป็นของดี ให้วาง......ก็วางไม่ได้ ให้ปล่อย.......ก็ปล่อยไม่ได้ ก็หมักอยู่อย่างนั้นน่ะ ทุกข์ก็ทุกข์อย่างนั้น

ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงสอนว่า ให้รู้จักทุกข์ ที่ไปยึดขึ้นมานี่ หมายความว่า ไปหมายมั่นมันจนเกินไป ไม่วางมัน... อย่างนั้นพระพุทธเจ้าท่านสอน อะไรก็ให้รู้จัก เช่นว่า อันนี้ไม่ใช่เรา อันนี้ ถ้าไม่หนักแล้วไม่สบายนี่.....มันหนัก.......ทั้งดิ้น......ทั้งรน อันนั้นมันหนัก ก็พยายามจะไปโกยเอานี่น่ะ

คำที่ว่าท่านให้วาง ก็ว่า อื้อ......ผมก็ไม่ต้องทำมาหากินซิ ไม่ใช่อย่างนั้นอีกไม่ใช่ให้ทำมาหากินอีกแหละ ให้ขยันขึ้นในทางที่ชอบ ไม่ใช่ให้เกียจคร้าน ให้ขยันให้สะสมอันนี้ แต่ว่าให้รู้จักวัตถุอันนี้ วัตถุอันนี้ไม่ใช่อาหารสำหรับใส่น้ำมาดื่มเท่านั้น อย่าไปดื่มทั้งแก้วน๊ะ ถ้าดื่มทั้งแก้วมันเป็นทุกข์ ใช่ไหมนี่ ?

อุบาสก : ใช่ครับ
หลวงพ่อ : นี่มันไม่ใช่ของเรา แต่เอาไว้ใช้รักษาไว้ให้ดีเพื่อจะได้ใช้ แต่เราเข้าใจว่าไม่ใช่ของเราแต่รักษามันไว้ เมื่อถึงคราวมันแต่แล้วก็แตกไป.....อย่างนี้ ต้องให้สัมพันธ์กัน ต้องรู้จักอันนี้อยู่ มันเป็นเรื่องที่พูดยาก แต่คนเราพอว่าสัมพันธ์กัน ก็นึกว่าของเรา ไปมั่นไปหมายมันจนเกิดความทะเลาะเบาะแว้งกัน ก็เพราะสิ่งนี้ไม่ใช่ของเรา แต่เราไปเข้าใจว่าของเราทุกข์จึงเกิดขึ้นมา มันถึงเป็นของหนักอย่างนี้ ให้รู้จักอย่างนี้ แต่จะต้องเอาไปพิจารณาถึงจะได้ จะต้องไปวิจัยหาเหตุผลของมัน ดังนั้นท่านจึงให้นั่งสมาธิ นั่งสมาธินี่เราไปนั่ง

ได้คนศึกษาทางโลกก็ว่า.....ฉันไม่นั่งหรอกไปนั่งหลับตาทำไมอยู่นั่น ลืมตามันก็ยังไม่เห็น (มีเสียงหัวเราะชอบใจ) มันว่าไปอย่างนั้นอีกซ๊ะแล้ว เรามองซิ......เมืองไทยเห็นไม๊ เรานั่งหลับตาถึงไม๊.....นี่มันเรื่องทางนี้ ทางจิตนี่เห็นขนาดนั้น......ไปนั่งจะเกิดประโยชน์อะไร ก็เห็นว่านั่งไม่เกิดประโยชน์ ไปนั่งแผล๊บเดียวก็ง่วงแล้ว คือไม่รู้จักเรื่องของมัน ไอ้ความเป็นจริงน่ะ ตาของคนเราท่านแยกเป็น ๒ อย่าง ตาเนื้ออันหนึ่ง....ตาปัญญาอันหนึ่ง ตาปัญญาเห็นถึงความจริง ควรโศก ไม่โศก ควรดิ้นรน ไม่ดิ้นรน เพราะเห็นตามความเป็นจริงมัน เช่น

ว่าแก้วใบนี้มันแตก เราเสียดายมันเหลือเกินน๊ะ.....เสียใจ.....เพราะตาในคุณยังไม่มี ถ้ามีตาในแก้วใบนี้มันจะดี คุณจะเห็นว่าแก้วใบนี้มันแตกแล้ว (หลวงพ่อพูดพร้อมกับใช้นิ้วเคาะแก้ว) และคุณจะต้องใช้แก้วแตกทุกวันทุกเวลา กางเกงตัวนี้มันก็ผุแล้ว เสื้อนี่มันก็ผุอยู่แล้ว เห็นชัดแล้วอย่างนี้ แก้วใบนี้ถึงแม้ว่ามันถืออยู่อย่างนี้ ก็เห็นว่ามันแตกแล้ว ทำไมถึงเห็นว่ามันแตกก็เห็นที่มันไม่แตกนี่แหละ มันจึงบอกว่าแตก มันมีอยู่อย่างนี้ ถ้าหากว่าเรารู้อย่างนี้ทุกอย่างแก้วใบนี้เราก็ใช้ไปโดยทางที่มีปัญญา เราใช้ไป มันจะแตกเพล๊าะลงไปก็ว่า

อือ.....มันเป็นอย่างนั้นของมันน่ะ....ทุกข์ไม่มี.....ปัญหาไม่เกิด เพราะว่าเห็นมันเป็นอย่างนั้นแล้ว......นี่......แม้ถึงหนึกไปกว่านั้นอีก อย่างคุณป่วยน่ะ ดูตัวคนจริง ๆ ของเรา.....อันนี้เสียดาย ถ้าคุณป่วยทุกข์ขึ้นมา ถ้าเข้าโรงพยาบาล คุณจะนึกว่า.....โอ.....แหมหายซ๊ะเกิดพ่อคุณให้หายเถิด พระท่านไม่ว่าอย่างนั้น ท่านไม่เห็นหน้าเดียว ท่านว่าหายก็เอา ไม่หายก็เอา นี่ท่านเห็นอย่างนี้เห็นทางที่ไม่ต้องทุกข์ ถ้าไม่หายก็ให้มันไม่หาย ถ้ามันหายก็ให้มันหายไป ถ้าเราอยากให้มันหายไปอย่างเดียว ถ้าเหตุที่มันไม่หายมี ก็ร้องไห้เท่านั้แหละ

คือเหตุมันยังเหลืออยู่อย่างนั้น เชื้อมันยังมีอยู่ ธรรมะท่านสอนไว้ข้างในโน้น

อุบาสก : ท่านหมายถึงว่าถ้าเผื่อเราไปทำอะไร ทำดีที่สุดแล้ว มันเกิดแค่นี้ก็ให้พอใจแค่นั้นใช่ไหมครับ
หลวงพ่อ : ใช่.....ก็มันสุดแล้วจะทำยังไงอีกล่ะ
อุบาสก : อันนี้ถ้าสรุปแล้วหมายความว่า เมื่อมีการเกิดก็ต้องมีการตาม
หลวงพ่อ : ใช่.....มันเป็นอย่างนั้น ของมันเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว ที่เราทุกข์อยู่นั้นเพราะอะไรน๊ะ อย่างคุณสองคนนี่น่ะ เดินไปเห็นสัตว์สองอย่าง เปรียบเทียบน๊ะธรรมะต้องเปรียบเทียบ อักตัวหนึ่งเป็นเป็ด อีกตัวหนึ่งเป็นไก่ คุณสองคนนี้จะเห็น ไอ้เป็นทำไมไม่เหมือนไก่น๊ะ มันน่าจะเหมือนกันไก่กับเป็ดนี่ คิดจะให้มันเหมือนกันอย่างนั้น นอนก็คิดอย่างนั้น เดินก็คิดอย่างนั้น คิดอยากให้ไก่เหมือนกับเป็ด จะให้เป็ดเหมือนกับไก่ คุณจะทุกข์จนตลอดเวลาเลย ถ้าคุณคิดว่า อือ.....ไอ้เรื่องเป็ดก็ให้เป็นอย่างนั้นน่ะ เรื่อไก่ก็ให้มันเป็นอย่างนั้นของมัน มันเป็นอย่างนั้นแล้ว ปัญหาก็ไม่มี
อุบาสก : ครับ
หลวงพ่อ : ปัญหามันก็หมดไปอย่างนั้น ไม่ได้ผูกไว้ นี่คือเห็นตามความจริงมันอย่างนั้น
อุบาสก : ใช่.....ท่านครับไอ้ข้อนี้ครับ ผมยังไม่เข้าใจ
หลวงพ่อ : เอ้าเอาให้มันเข้าใจ ไม่เข้าใจอย่างไร
อุบาสก : เราเห็นไปตามเท่าที่เห็นน๊ะฮ๊ะว่า อย่างเมืองไทยน๊ะครับสิ่งที่ว่า.....(ช่วงนี้เทปขาดตอนไป).....อันนี้ผมยังเข้าใจผิด
หลวงพ่อ : ให้เข้าใจถูกซิ เป็นไข้ก็ต้องกินยาไปก่อนซิ หรือจะไม่กินเลย
อุบาสก : ต้องกินไปก่อน
หลวงพ่อ : นั่น.....เรื่องโลกต้องเป็นอย่างนั้น มันไข้ก็ต้องกินยาไปก่อน ไปกินแล้วจะหายให้หายทุกคนอย่าเพิ่งเข้าใจขนาดนั้น บางคนหาย บางคนไม่หายก็มี ต้องเข้าใจไปแบบนี้ อันนั้นมันเรื่องหลักของธรรมชาติ มันเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว ไม่ให้ตัดออกอย่างนั้น ทีนี้ไอ้บ้านเมืองเราทำไมมันไม่ค่อยปรับปรุงกันยังงั้นเหรอ.....จะไปปรับปรุงมันทำไม.....ยังงั้นเหรอ
อุบาสก : ครับ ในเมื่อเราเกิดมาไม่กี่ปีเราก็ตายไปแล้ว แล้วเรื่องอะไร.......
หลวงพ่อ : ไม่ใช่อย่างนั้น ๆๆๆ ถ้าเราเข้าใจในพุทธศาสนา ความคิดเช่นนั้นไม่มี คนขยันถึงแก่ขนาดไหน เป็นต้น ก็ยังกวาดบ้านได้ดีทั้งนั้นแหละ มันเป็นนิสัย ลูกเศรษฐี.....คนเศรษฐีแล้วจึงรักษาอะไรมั่นคง ไม่เหมือนคนขี้เกียจ คนขี้เกียจคือคนทุกข์ ไอ้คนที่ขยันมันเป็นสันดานอยู่แล้ว ยังไงก็ต้องขยันจนแก่ ต้องระมัดระวังอยู่อย่างนี้ เป็นสันดานอย่างนั้น ถ้าพุทธศาสนาไม่ใช่เของเรา ๆ อย่างนั้น ไม่ต้องทำอะไรมัน.....อันนี้มันไม่ใช่ความคิดของพุทธศาสนา มันก็คิดไปแขนงหนึ่ง
อุบาสก : อ๋อ.....ไม่ใช่ใช่ไหมครับ
หลวงพ่อ : ไม่ใช่ ๆ แต่ว่าให้หามันมากก็ได้ แต่ว่าเราอย่าให้มันทุกข์กับอันนี้ อย่าให้มันพาเราทุกข์ แต่ให้เราใช้อันนี้อยู่ แต่อย่าให้อันนี้พาให้เราทุกข์ อย่าเป็นทาสของสิ่งนี้ เราหามันมากก็เป็นทาสมันพอแรงแล้ว มันจะแตกจะหัก ก็ยังจะทุกข์กับมันอีก จะเอาดีเมื่อไหร่ล่ะเรา
อุบาสก : ไม่ยึดมั่น.....ให้วาง
หลวงพ่อ : เอ้อ.....นี่เรื่องจิตน๊ะ ให้คุณแยกออกเป็นเรื่องจิตน๊ะ
อุบาสก : อย่ามัวเมายึดมั่นในสิ่งทั้งหลาย อ้า.....ผมได้อ่านบทความของพุทธทาสภิกขุน๊ะฮ๊ะว่า อย่านึกว่ายึดมั่นว่าเป็นของเรา ท่านพูดแบบนั้น คำว่ากู.....ของกู แล้วก็อย่ายึดมั่นในนั้นน่ะ ท่านหมายความว่ายังไงครับ
หลวงพ่อ : นี่แหละ ๆๆ คือกูนั้นมันไม่มี ไม่ใช่ว่าแต่ของมัน ตัวเรานี้ก็ไม่มี กูนี้ท่านหมายถึงเรา ยึดท่านหมายความว่าของนี้ นี่มันเป็นทางให้เราเกิดทุกข์ ถ้าหากว่ามันมีกู มันมีโดยฐานที่สมมติอันนี้คงยังพูดไม่เข้าใจกัน คนหนึ่งพูดไปข้างล่าง คนหนึ่งพูดไปข้างบนนี่ มันเรื่องจิตเรื่องความเป็นจริง กับเรื่องธรรมดานี้ มันพูดยากที่จะเข้าใจกัน พูดอันเดียวกันแต่ไม่เข้ากัน
อุบาสก : ใช่.....อันนี้ผมว่า เป็นธรรมดาของโลก
หลวงพ่อ : ใช่
อุบาสก (อีกคน) : คือผมพอจะเข้าใจแล้วครับ คือเราต้องพยายามไปหาเงินมาซื้อแก้ว เพื่อไว้ใช้แต่เราไม่ได้เป็นทาสของแก้ว
หลวงพ่อ : น่านยังงั้น
อุบาสก (อีกคน) : แต่เมื่อรู้ว่าแก้วแตกแล้ว ไม่หมายความว่าเราจะไม่ซื้อ......เราต้องไปหามาเพื่อใช้
หลวงพ่อ : ใช่......แต่ให้รู้ในนี้อีกต่อไป ให้รู้อย่างนั้นอีกต่อไป ไม่ใช่ว่าไม่ให้แก้วมี
อุบาสก : อ้อ
หลวงพ่อ : ที่ว่าของเรานี้ ให้พูดอยู่เสมอว่าของเรา โดยฐานที่สมมติต้องเป็นเรา เช่นว่าชื่อนี่ไม่ตรงกับทุกคนน๊ะ
อุบาสก : ท่านครับสมมติว่า.....โอเค.....เราเกิดมาไม่กี่ปีน๊ะฮ๊ะ มีชีวิตอยู่ไม่นาน แล้วเรื่องอะไรเราไม่ควรยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย แล้วเรื่องอะไรเรามามัวทำมาหากินสร้างทรัพย์สมบัติไปให้
หลวงพ่อ : ก็นั่นซีท่านถึงว่า.......สร้างก็อย่าให้ทุกข์ซิ ท่านไม่ให้ทุกข์เท่านั้น อยากสร้างก็ได้.....แต่อย่าให้ทุกข์ คนทุกคนสร้างไว้ให้ใครมีไม๊ ?
อุบาสิกา : ก็ไม่ต้องไปคิดว่าให้ตัวเราอยู่
หลวงพ่อ : ใช่.....ท่านพูดความจริง
อุบาสิกา : สมมติว่า คิดแบบนั้นน๊ะครับ แล้วเราจะสร้างประเทศชาติให้เจริญอย่างไรครับ ..........ถ้าเรานึกว่าไม่ใช่ของเรา.....เราสร้างไว้ทำไม.....ในเมื่อไม่กี่ปีเราก็ตายไปแล้ว
หลวงพ่อ : นี่ ๆ ใครสร้างนี่....ใครเป็นคนสร้างนี่ (หลวงพ่อชี้ให้ดูตัวอาคาร) คนสร้างได้อะไรไม๊นี่ ทีนี้พระพุทธองค์ท่านไม่สอนอย่างนั้น ท่านไม่สอนให้เป็นคนเห็นแก่ตัวอย่างนั้น อย่างแก้วนี้เรามีสตางค์เราก็ซื้อไว้หลาย ๆ เถอะ เพื่อนเรามาคนละใบ ๆ ได้ใช้ดื่มน้ำก็ได้ ไม่ใช่ว่าไม่ให้มีไม่ใช่ว่าหามาไว้ทำไม มีมากก็ได้ แต่เราอย่าให้มันเป็นทุกข์ คือรู้จักแก้วทุก ๆ ใบเท่านั้น
อุบาสก : ครับ.....ยังงั้นผมพอจะเข้าใจ.....เราสร้างได้.....พยายามสร้าง หมายถึงว่าสร้างในสิ่งที่มันถูกทางหรือยังไงครับ ?
หลวงพ่อ : ใช่.....คือเรื่องถูกทาง ไม่ถูกทางนั้นน่ะ ถึงแม้ว่าคุณจะเอาเงินทองของคุณมาทุ่มเทสร้างขึ้น ก็ถูกทางของคุณน๊ะ แต่ว่า.... เมื่อบ้านมันจะพังเมื่อใดน่ะ มันก็ยังเป็นของคุณอยู่ มันจะทุกข์อีกจะลำบากอีก ถ้าไฟมาไหม้ก็ลำบาก ให้รู้ไว้อย่างนี้ จะสร้างก็ได้ ถึงคุณจะว่าให้เป็นของคุณก็จริงหรอก.....แต่ว่าผลที่สุด มันก็ไม่เป็นอยู่แล้ว ท่านบอกไปก่อนว่า มันไม่ใช่ของคุณ ถ้าหากว่าเป็นของคุณอย่างแน่นอน คุณจะยิ่งเป็นบ้า หลงไปยิ่งกว่านั้นอีก

ขนาดท่านว่าอันนี้ไม่ใช่ของคุณน๊ะ......ระวังน๊ะ.....มันเป็นสมบัติอย่างนี้ ขนาดนี้เรายังตะกายจะไปฮุปไว้ให้มาก ไม่ใช่แต่เท่านั้นยังทะเลาะกันอีก..... ยังปล้นกันอีก..... ของไม่ใช่ของใครซักคนเลย..... เท่านั้นแหละ..... ให้มันเบาทุกข์ลงไปเท่านั้น ให้รู้จักละวางในทางพุทธศาสนานี่ มันก็ถูกของท่านน๊ะ ท่านก็ไม่บังคับให้เราสร้างน๊ะ ใครบังคับให้เราสร้าง.....บ้านเรานี่น่ะ.... ความอยากที่มันเกิดขึ้นตรงนั้นเอง

อุบาสก : ไอ้ความอยากนี่ครับ ที่ผมสงสัยว่า มันเป็นความที่เรียกว่า......แบบที่เรามีความอยากกัน ใช่ไม๊ครับ? ........มันเป็นความ........
หลวงพ่อ : ถ้าเรามีปัญญาในความอยากนั้นมันก็ดี ถ้ามันโง่มันก็ไม่ดี คนรวยมันดีหรือเปล่า ? กับคนจนใครมันดีกว่ากัน เอ๊า....จะถามคุณยังงี้แหละ ?
อุบาสก : ท่านถามว่ายังไงครับ ?
หลวงพ่อ : คนรวยกับคนจนใครดีกว่ากัน ?
อุบาสก : มัน.....มันต้องถามว่า......ดีแบบไหนด้วยครับ
หลวงพ่อ : แบบไหนล่ะ.....แบบมันดีน่ะแหละ (พวกโยมหัวเราะชอบใจ) ดีถึงที่สุดมันน่ะแหละ เอาดีอะไรก็เอาแหละ
อุบาสก : ผม.....คนดีหรือคนรวยดีกว่ากันเหรอฮ๊ะ.......คนจนกับคนรวย ?
หลวงพ่อ : คนจนกับคนรวย
อุบาสก : ผมว่าก็ดีทั้งสองฝ่าย
หลวงพ่อ : คนรวยเคยมีทุกข์ไม๊ ?
อุบาสก : ทั้งสองฝ่ายมีทุกข์ครับ
หลวงพ่อ : แน่ะ.....นี่แหละ มันก็เสมอกันอย่างนั้นใช่ไม๊ ?
อุบาสก : แต่ผมว่า....ไอ้คำว่า....ดีกว่ากันนี่ มันไม่มีใครดีกว่ากัน
หลวงพ่อ : ใช่.....มันเสมอกันอย่างนั้น นี่พูดถึงที่สุดมัน ถ้าคุณมีบ้านหลังใหญ่ ก็ว่าบ้านของคุณแหละดีกว่าเขาแต่ถ้ามันพัง.......มันก็พังใหญ่น๊ะ (ทั้งกลุ่มหัวเราะชอบใจ) ถ้าน้ำท่วมก็ท่วมหลังใหญ่น๊ะมันเป็นอย่างนี้ มันเป็นบริกรรมอย่างนั้น ให้เราเข้าใจอย่างนั้น
อุบาสก : ผมไม่แน่ใจว่า ผมเข้าใจอย่างนั้นหรือเปล่า ?
หลวงพ่อ : ทีนี้ในเวลานี้ ยังไม่เข้าใจ ให้ได้ยินไว้ คุณก็ยังไม่เข้าใจ ให้ได้ยินไว้เถอะ แต่ว่าที่พูดให้ฟังอย่าเชื่อ.....อย่าไม่เชื่อ....ให้ฟัง แต่ฟังไว้เฉย ๆ ฟังได้ ดูด้วยเหตุการณ์ของมันจะเป็นยังไง คุณจะต้องสำนึกอยู่เสมอว่า....เรื่อย ๆ มันเป็นยังไง ให้สังเกตไปเรื่อย ๆ น๊ะ มันเป็นเช่นนั้น เราจะเห็นว่ากิ้งกือ แหม.....มันมีขามาก มันจะวิ่งเร็วน๊ะ...ไก่มันแคงขา...มันวิ่งช้า ๆ
อุบาสก : ครับ
หลวงพ่อ : ที่ว่าอย่างนี้ อาตมาจะบอกให้ง่าย ๆ ว่าถ้าความสงสัยอย่างนี้มีอยู่น๊ะ.....ถ้าคุณจะไปเที่ยวถามให้หายสงสัยนั่น ตายก็ไม่หาย....นี่จำไว้อย่างหนึ่งน๊ะ (พวกโยมหัวเราะ)....ถ้าหากว่าคุณจะหายสงสัย เมื่อนั่งสมาธิแล้วจิตสงบขึ้นมาเอง....นั่นแหล
อุบาสก : แล้วหลวงพ่อจะแนะนำวิธีนั่งสมาธิ.....
หลวงพ่อ : ได้ ๆๆ......สมาธินี้น่ะ.....สมาธินี่เป็นเรื่องของพี่ทำยากซ๊ะหน่อยนึง ก็เพราะว่ามันเป็นของที่ไม่เคยหยิบมาตั้งแต่เล็ก ๆ จิตใจของเรานี้มันไม่มีกำลัง ยิ่งมีความคิดมาก.....รู้มาก......ไม่มีกำลัง ถ้ากายมันมีกำลัง ต้องวิ่งออกกำลังกายถึงจะมีกำลัง.....จิต.....ต้องให้หยุดพักนิ่งเป็นอันเดียวเสียก่อน จิตมีกำลังเป็นแบบนี้

ทีนี้เราจะมาทำจิตให้หยุดนิ่งเป็นอารมณ์เดียวสักชั่วโมงนึง หรือ ๑ นาที ๓ นาทีก็ดีน๊ะ จะรู้สึกว่าจิตนี้ มันจะมีปัญญาเกิดขึ้นมาได้ ทีนี้มันลำบากที่เรามานั่งสมาธินี่ เย็น ๆ ไปนั่งดูก็ได้น๊ะ หลับตาลงซ๊ะนิดนึง ให้ทำความปล่อยวางทั้งหมด ไม่ต้องนึกคิดอะไรมาก.....ปล่อย.....เวลานี้ปล่อย ให้มีความรู้สึกลมมันออกแล้วลมมันเข้า ให้รู้ตามลมเท่านี้ ไม่ต้องไปทำอะไรมันมาก มันจะรู้อะไร.....จะอะไรอย่าไปคิดวุ่นวายเลย

อุบาสก : แล้วสมมติอย่างนั่งนี่ ไอ้เรื่องที่เข้าไปในจิต.....
หลวงพ่อ : เรื่องอะไร ?
อุบาสก : ไอ้เรื่องที่ผ่านมา หรือเรื่องอะไรที่ผ่านมาในชีวิต หรือเรื่องที่เราเคยไปทะเลาะกับใครอย่างนี้
หลวงพ่อ : นั่นแหละ.....เรื่องทรมานและนั่นน่ะ อุดซิ.....มันรั่วตรงไหนก็อุดซิ (หัวเราะ)
อุบาสก : แต่มัน.....ไอ้ตอนที่เรานั่งน่ะ ไอ้จิตที่มันเข้ามา
หลวงพ่อ : จิตอะไร ?
อุบาสก : ไอ้เรื่องอื่นที่มันเข้ามา ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องธรรมชาติใช่ไหมครับ ? ที่เราจะต้องนั่งปั๊บตัดให้มัน
หลวงพ่อ : ไม่ใช่ ๆ ......ไม่ใช่เอาเดี๋ยวนี้น๊ะ....นานน๊ะนี่ อีกชิวิตหนึ่งได้ก็ยังดีน๊ะ ที่พูดนี่น่ะ ไม่ใช่ว่ามันง่ายขนาดนั้นน๊ะ ต้องให้รู้ว่ามันเรื่องอะไร
อุบาสก : ผมก็ว่าอย่างนั้นแหละครับ มัน.....ไอ้ที่จะนั่งโดยไม่ให้มีอะไรติดเข้ามา ให้ว่างทีเดียวเลยผมว่ามัน อ้า......
หลวงพ่อ : ใช่.....หลวงพ่อเข้าใจอย่างนั้นนะ เช่นว่าคุณนั่งฟังเสียงดนตรีที่เขาเล่นน๊ะ คุณก็ต้องการความสงบใช่ไม๊?
อุบาสก : หูก็ได้ยิน
หลวงพ่อ : เมื่อได้ยินน่ะคุณจะคิดอย่างไร.....คิดว่าเสียงมารบกวนเราอย่างงั้นเหรอ?
อุบาสก : ผมไม่นึก
หลวงพ่อ : นึกยังงัย.....สบายไม๊ สงบไม๊?
อุบาสก : ผมว่าผมสงบ เสียงก็เสียงมีไป
หลวงพ่อ : หา.....ได้อย่างนั้นจริงหรือ.....หรืออันนี้เป็นคำพูดเฉยๆ นี่
อุบาสก : ไม่.....มันมีอย่างนั้นจริง แต่บางทีถ้าเผื่ออยู่ในอารมณ์ที่ ไม่ถูกกับอารมณ์อย่างนี้ มันก็รบกวนเหมือนกัน
หลวงพ่อ : นั่นแหละมันรบกวน.....ไม่ใช่สิ่งนั้นมารบกวนเรา เราไปรบกวนเขารู้ไหม?
อุบาสก : ก็ถูกแล้วนี่ครับ
หลวงพ่อ : นั่นแหละ.....คุณต้องเข้าใจใหม่ คนจะพูดโต้งๆอยู่ คุณจะว่า แหม....นั่งสมาธิไม่ได้คนมารบกวน เสียงมารบกวนก็คิดได้.....แต่ว่ามันไม่ถูก ถ้าถูกแล้วเราไปรบกวนเขา..... เขาไม่รบกวนเราถ้าคิดอย่างนี้จิตก็สงบง่าย
อุบาสก : เดี๋ยวๆ..... หลวงพ่อยอมรับหรือเปล่าว่า ตอนหลวงพ่อนั่งสมาธิ หลวงพ่อมีสิ่งอื่นเข้ามารบกวนไม๊ฮ๊ะ?
หลวงพ่อ : มี
อุบาสก : มีใช่ไม๊ครับ.....ผมขอถามแค่นี้แหละครับ
หลวงพ่อ : เออมี
อุบาสก : แล้วหลวงพ่อทำอย่างไรครับ
หลวงพ่อ : แต่รู้มันอันนี้ไม่เป็นไรนี่ มันเป็นอารมณ์เฉยๆ เราไม่มีอะไรกะมัน ไม่มีความวุ่นวายกับมันแล้ว เห็นไก่มันผ่านก็ อื้อ.....ไก่มันผ่าน เห็นสุนัขมันผ่านก็ อื้อ.....สุนัขมันผ่าน แล้วก็แล้วไป อะไรมันผ่านก็ผ่านแล้วไป
อุบาสก : หลวงพ่อยังไม่ได้บอกถึงวิธีนั่งเลยครับ
หลวงพ่อ : นี่นั่งอยู่เดี๋ยวนี้ (พูดพลางแสดงท่าให้ดู) เอาขาขวาทับขาซ้าย.....นี่ๆ.....มือขวาทับมือซ้ายตั้งกายให้ตรง แล้วก็นึกว่าในเวลานี้ เราจะปล่อยวางทั้งหมด เหลือแต่จิตอันเดียว เรื่องการงานทุกสิ่งเราปล่อยแล้วเดี๋ยวนี้
อุบาสก : ไม่ว่าจะมีปัญหาอะไร ?
หลวงพ่อ : ใช่.....เดี๋ยวนี้ไม่ต้องนั่งแก้ปัญหากับใครแล้ว เราจะปล่อยวาง แล้วกำหนดเอาความรู้สึกกับลม เอาลมเป็นรากฐาน
อุบาสก : คือว่า......หายใจให้มันเป็นจังหวะ
หลวงพ่อ : หายใจให้มันสบาย อย่าไปบังคับใหัมันยาว.....มันสั้นน๊ะ ปล่อยตามสบายของมัน จะมีอะไรมาผ่านก็ช่าง เราจะปล่อยวางมัน นั่งอย่างนี้มันจะเป็นยังไงไม๊....อย่าคิด คิดก็ไม่ส่งเสริมมัน นั่งไปยังงี้มันจะเป็นยังไงไม๊?......มันจะเห็นอะไร? ....อย่าไปคิด ไม่เอาทั้งนั้นแหละ....เราไม่ต้องการอะไร เราต้องการรู้ลมเข้า - ออกเท่านั้น จนกว่าที่เรามีความสงบเข้าไปเรื่อย ๆ
อุบาสก : แล้วนั่งต้องหลับตาหรือเปล่าครับ ?
หลวงพ่อ : หลับตานิดนึงซิ อย่าไปหลับให้มัน.......
อุบาสก : แล้วไม่ต้องการอะไรใช่ไหมครับ ?
หลวงพ่อ : ไม่ต้องเพ่งอะไร ดูนี่ ๆ .....ดูลมเข้า-ออกนี่ ไม่ต้องดูอะไร เอาตามกำลังน๊ะ อย่าไปบังคับมันมาก นั่งไปชำนาญไปแล้วมันนั่งอยู่ได้
อุบาสก : แล้วนั่งวันละกี่นาทีครับ ?
หลวงพ่อ : เอาเถอะ......มีโอกาสเท่าไรก็เอาเถอะ...... บางคนไปนั่งอยู่ทั้งวัน มันก็เลยไม่ได้ทำงานเลย
อุบาสก : ใช่......เสียประโยชน์ไป
หลวงพ่อ : ใช่......เสียประโยชน์ซิ........ ไอ้คนมีประโยชน์มาก ๆ ยิ่งเสียแล้วนี่ นั่งในเวลาเราจะนอนหรือเวลาเราพักผ่อน....... วันหยุด.....เราหาร่มไม้เย็น ๆ ไป นั่ง
อุบาสก : เดี๋ยวก็หลับเลยซิครับ ?
หลวงพ่อ : หลับก็คนมันหมดแล้วนั่นน่ะ คนขี้เกียจมันถึงหลับ เราไปเขียนหนังสือเราเคยหลับไม๊ ? มันก็อย่างเดียวกันนั่นแหละ เราเคยเขียนหนังสือ ทำบัญชีอะไร มันหลับไหมนี่ จะหลับยังไงมันเขียนจ้องอยู่นี่ หลับมันก็พังเท่านั้นแหละ จิตนี้ก็เหมือนกัน มันก็แยกออกจากลมเท่านั้นแหละ คนยังไม่ได้ทำน่ะสงสัย ถ้าเป็นอาตมายิ่งจะสงสัยมากกว่านี้.....ถ้าไม่ได้ทำน๊ะ ทีนี้ต่อไปเมื่อจิตสงบแล้ว ไม่ต้องนั่งมากหรอก นั่งทีละ ๕ นาทีก็ได้ เมื่อคุณออกจากสมาธิ จะไปทำงานอะไรที่ไหนก็ตามที จะยืน เดิน นั่ง นอน ให้มีสติอยู่ว่า เราทำอะไรอยู่เดี๋ยวนี้ อันนี้มันเป็นที่เรียกว่า ให้กำลังเราที่ไม่มีเวลานั่งนาน เราจะทำงาน ยืนเราก็ต้องทำงาน นั่งเราก็ต้องทำงาน นอนก็ต้องทำงาน ให้เรามีสติอยู่อย่างนี้เสมอเท่าที่เราทำได้สองดูให้จิตสงบแล้วดูซิ ลอง ๆ มันจะเป็นยังไงไม๊ ให้มันเกิดขึ้นในที่นั้นแหละ ไอ้ตัวที่มันไม่รู้นั่นแหละ อย่าไปถามคนอื่นเลย ให้มันรู้ขึ้นมาแล้วมันจะบอกตัวมันเอง ตรงนั้นแหละ.....ยังไม่เคยได้ทำกันใช่ไม๊ ?
อุบาสก : ผมจะลองทำดูครับ.....ก็ผมก็คิดว่า......ผมไปทำแบบของพวอินเดีย
อุบาสิกา : โยคะหรือค๊ะ ?
อุบาสก : ไม่ใช่....ไอ้ ๆ......(พูดเป็นภาษาอังกฤษ).....ของอินเดียเค๊า
หลวงพ่อ : เอ้อ.....เขาทำยังไง ?
อุบาสก : คือแบบที่ให้พูดถึงคำ..... โดยที่คำ ๆ นี้ไม่มีความหมายอะไรทั้งสิ้น เขาว่าจะทำให้จิตว่างไปโดยที่พูดถึงคำที่ไม่มีความหมาย ก็คล้าย ๆ กันอีกแหละกับของพุทธเรา
หลวงพ่อ : อันนั้นเราไม่รู้แง่มุมของมัน ไม่ได้ถึงที่สุด เรายังไม่รู้เรื่องของมัน ความเป็นจริงของว่างน่ะ.....คล้าย ๆ แก้วใบนี้ไม่มีใช่ไม๊ ?
อุบาสก : ครับ
หลวงพ่อ : ถ้าไม่มีวัตถุ มันจะมีว่างหรือ ว่าง.....มันเกิดจากของที่มีอยู่ แต่ท่านพูดว่า....มันเป็นของว่าง.....(หัวเราะร่วนในลำคอ).....นี่แก้วมันเป็นวัตถุ ท่านบอกว่ามันว่าง.....ทำจิตให้มันว่างจิตจะไปเอาอะไรไปทำให้มันว่าง มันว่างกันหมดซ๊ะแล้วนี่ มันก็จนมุมเท่านั้น คำที่ว่าว่างมันว่างในของที่มีอยู่
อุบาสก : ถูกแล้วครับ
หลวงพ่อ : อันนี้มันเป็นของสมมติ
อุบาสก : ท่านพูดถูกแล้วครับ หมายถึงว่างในสิ่งที่เราคิดอยู่ พอมีอะไรมากระทบให้วางจากสิ่งนั้น
หลวงพ่อ : ให้วางจากสิ่งนั้น แต่อันนั้นมันมีอยู่น๊ะ..... มีคือเรารู้เฉย ๆ คือมี..... ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นมันแต่มันรู้จักอยู่ ถ้ามันไม่มีมันก็ไม่รู้ มันรู้เพราะสิ่งที่มันมี และก็ว่างมีก็เพราะสิ่งที่มันไม่ว่าง มันต้องเป็นอย่างนั้น
อุบาสก : ครับ
หลวงพ่อ : ไอ้ความเป็นจริงแล้วนี่ไม่มีน๊ะ แต่คนมาสมมติว่าแก้ว.......ไปสมมติมาจากอะไรนี่ สมมติมาจากสิ่งที่มันไม่มี ให้มันมี มันเป็นของสมมติ ไอ้ความเป็นจริงแก้วมันก็ไม่ใช่ มันไม่มีอะไรทั้งนั้นมันเป็นธรรมชาติขึ้นมาเฉย ๆ เท่านั้น เราไปตั้งชื่อให้มันแล้วก็ไปยึดชื่อ......ติดชื่อมัน ใครว่าแก้วก็ยึดว่าแก้ว ไอ้คนนี้ยึดว่าถ้วย ก็ว่าถ้วย ไอ้คนไปพบแก้วกับถ้วยนี่พูดคนละอย่าง ก็ทะเลาะกันก็ได้ เพราะว่าอันนี้มันสมมติมันจึงต่างกัน แต่ตามสภาพของมัน มันไม่มีอะไรทั้งนั้นแหละ เราสมมติให้มันเป็นแก้ว เป็นกระโถน เป็นถ้วยขึ้นมา ตามธรรมชาติมันไม่มีอะไร มันมีเมื่อเราสมมติขึ้นมานี้.....อย่างตัวเราทุกคน มีชื่อตั้งแต่วันเกิดหรือเปล่า พอเกิดมาปุ๊บ พ่อ-แม่ก็ตั้งชื่อให้ เป็นนายก. นายข. นี่.....มันมีขึ้นเดี๋ยวนี้ มีประโยชน์ไหมชื่อนี่.....มีซิให้คนรู้จักว่าชื่อนั้น ๆ ถ้าเรียกว่าคน ๆ ถ้ามาตั้งร้อยคนพันคน ใครจะมาล่ะ ก็มาทั้งพันคนร้อยคน จะเป็นประโยชน์อะไรล่ะ ต้องเรียกเป็นนาย ก. นายก. นายข. ก็มามีประโยชน์แค่นี้ สมมติไม่ใช่ว่าไม่มีประโยชน์ ทีนี้วิมุติมันก็พ้นจากนี้ไป คิดว่ามันไม่มีอะไรตรงนี้ ที่มีอยู่เดี๋ยวนี้ก็เรียกว่าสมมติ ของเรานี่ไปซื้อมาเดี๋ยวนี้ถ้ามาหาพระ.....พระก็ว่า......นี่ไม่ใช่ของคุณหรอก คุณก็จะเถียงไม่ใช่ของผมยังไง ผมซื้อมาเดี๋ยวนี้ ซึ้อก็จริงเถอะ ซื้อมาก็ไม่ใช่ อย่างนี้.....มันว่างอย่างนี้
อุบาสก : หลวงพ่อมาที่นี่.....ผลประโยชน์..... อ้า.....ท่านยังไม่อธิบาย ผมอยากให้ท่านอธิบาย
หลวงพ่อ : อาตมาเห็นว่า มันไม่ค่อยยากอะไรน๊ะ ให้ผลมันเกิดมาจากเหตุมันเถอะ ถ้าเราทำแล้วผลมันจะเกิดขึ้นเอง ไม่อยากจะรู้ก็ต้องรู้ เช่น ผลไม้ผลนั้น จะทำยังไง.....ให้เข้าใจอย่างเดียว ก็ให้เข้าใจหมดน๊ะ อาตมาไม่เคยมาเมืองนอกน่ะ.....ไม่รู้ว่าผลอะไร เขาเอามาให้ทาน แหม....อร่อยจริงน๊ะ มันหวาน.....มันหอมรู้จักหมด แต่ชื่อผลอะไรนี่อาตมาก็ไม่สำคัญมาก ไม่ต้องถามหามันแล้วน๊ะ รู้ก็ได้

ถ้ามีคนบอกผลนั้นชื่อนี้ก็รับฟัง ถ้าไม่มีใครบอก็ช่างมัน ให้อาตมาได้ฉันผลไม้ชนิดนี้ก็แล้วกันเท่านั้นแหละ ถ้าเขาว่าผลอันนี้ ผลอันนั้นมันก็ไม่เพิ่มความหวานขึ้นมาอีกหรอกน๊ะ มันไม่เพิ่มความเอร็ดอร่อยขึ้นมาอีก

อุบาสก : ครับ
หลวงพ่อ : ให้เข้าใจอย่างนี้ เราก็ไม่ต้องสนใจอะไรเท่าไหร่ ควรรู้ก็รู้ ไม่ควรรู้ก็ไม่ต้องรู้ ผลเกิดจากสมาธิ จิตของคุณจะเยือกเย็น คุณจะมีสติ ปัญหาอะไรเกิดขึ้นมาปุ๊บเป็นต้น คุณจะพยายามตัดอันนั้นไม่ให้เป็นทุกข์
อุบาสก : คือเรียกว่ารู้จักว่าอะไรเป็นอะไร
หลวงพ่อ : นั่นแหละ.....มันจะเป็นอย่างนั้น ให้ค่อย ๆ สังเกตไป อย่าเร็วน๊ะ.....นี่น่ากลัวจะร้อนเกินไป
อุบาสก : ไม่ครับ
หลวงพ่อ : เออ.....อย่าให้ร้อนน๊ะ ร้อนไม่พบน๊ะ.....ยิ่งร้อนใหญ่น๊ะ
อุบาสก : ผมพยายามนั่งมาตั้ง ๓-๔ ปีแล้วครับ
หลวงพ่อ : เอ้อ.....ให้วางซ๊ะ คืออย่าไปเอาอะไรเลยนั่งน่ะ เรานั่งทำความเพียรเพื่อการปล่อยวางไม่ใช่จะเอาอย่างนั้นอย่างนี้
อุบาสก : ไม่ครับ.....ผมไม่ได้คิดอะไรครับ ทำเพราะเพื่อความพักร้อน
หลวงพ่อ : จิตสงบไม๊ ?
อุบาสก : ก็บางครั้งก็สงบ บางครั้งก็มีเรื่องไม่สงบ
หลวงพ่อ : นั่นแหละ.....เรื่องไม่สงบข้างนอก แต่ความคิดเราจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ คิดเข้าไปหาจุดมันแล้วจะเปลี่ยนลำต้นไปเรื่อย ๆ
อุบาสก : แต่สรุปแล้วมันดีกับสุขภาพจิตครับ
หลวงพ่อ : เอ้อ.....ต้องเอาอย่างนั้น
อุบาสิกา (อีกคน) : หลวงพ่อค๊ะ หนูมีปัญหาอยากจะถามว่า เรื่องการนั่งกรรมฐานนี่น๊ะค๊ะ ซึ่งหนูก็เคยทดลอง และหนูได้ไปที่วัด ก็มีท่านอาจารย์ที่วัดสอนอยู่เหมือนกันว่า วิธีนั่งกรรมฐานนี่น่ะ ให้เรานั่งแบบที่หลวงพ่อได้สอนเมื่อกี้นี้น่ะฮ่ะ แล้วให้เพ่งจิตอยู่ที่ลมหายใจเข้า-ออก ในระหว่างที่ลมหายใจเข้า - ออกนี่น่ะ หลวงพ่อคิดว่าจะเป็นการดีหรือว่า.....สำคัญหรือไม่ที่เราจะใช้คำพูดที่ว่า หายใจเข้า......พุท.....หายใจออก......โธ พุทโธตลอดเวลาเลย หรือว่าเราจะเพ่งจิตอยู่ที่สายลมหายใจค๊ะ ?
หลวงพ่อ : มันเป็นอย่างนี้ ๆ อันนี้เราต้องทำผ่านไปแล้วถึงรู้จัก ที่เราหายใจและนึกว่าพุทโธ มันทำงานหยาบ เราฝึกว่า พุทโธ เราก็นั่ง....พุทโธไปเรื่อย เมื่อจิตเรามันละเอียด ไอ้พุทโธมันเป็นของหยาบซ๊ะแล้ว ถ้ามามัวเพ่งว่าพุทโธ มันอยากจะรำคาญ เลยเกิดความสงสัยขึ้นมาเราจะไปว่ามันไม่ได้น๊ะ ไอ้พุทโธนั่นคือตัวผู้รู้นั่นเองแหละ ไม่ต้องว่าพุทโธก็ได้ แต่มันรู้ว่าเข้า - ออก นั่นแหละความรู้นั้นเรียกว่าพุทโธ ไอ้ตัวพุทโธนี่คือคำพูดที่เรารู้ว่า ลมเข้า-ออก อยู่ ขณะนั้นมันเป็นตัวพุทโธอย่างแท้จริง

แต่ในระยะที่มันเปลี่ยน เราไปสงสัยว่า ท่านอาจารย์บอกให้ว่าพุทโธ......พุทโธ เราก็ไม่ว่าพุทโธ แต่ลมมันก็เข้า-ออกอยู่ มันจะเป็นตัวสงสัยขึ้น อันนี้ไม่ต้องสงสัยแล้ว ไม่ต้องพูดว่าพุทโธ มันก็รู้อยู่แล้ว ไอ้ความรู้นั่นแหละเรียกว่าพุทโธ ความรู้สึกว่าพุทโธนั่น.....เรียกว่าพุทโธอยู่แล้ว มันเปลี่ยนเท่านี้ เข้าใจเท่านี้ก็พอแล้ว ให้รู้ว่ามันออกหรือมันเข้าเท่านั้นแหละ นั่งอยู่ตรงนี้ ผลที่สุดเห็นจิตอยู่ที่นี่ เห็นลงอยู่นี่นี่ เห็นสติอยู่ที่นี่ เห็นความรู้เกิดพร้อมอยู่ในความสงบ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้สงบลงไปแล้วจิตก็เห็นหนึ่งไม่มีอะไรตรงนี้

ทีนี้ออกจากนี้ไป.....ก่อนนั่งสมาธินี่ควรพิจารณา ตั้งแต่ศรีษะลงไปหาปลายเท้า พิจารณากาย.....กายทั้งก้อนนี้เป็นกาย แล้วพิจารณาของในกายนี่มีอะไรอีกบ้างไหม ?.....ทุกครั้ง อันนี้จะส่งเสริมให้เราเข้าไปเห็นว่า..... เออ..... คนเรานี่มันก็ไม่มีอะไรมากมายน๊ะ มันจะพิจารณามีปัญญาไปเอง เมื่อมีปัญญาไอ้ความทุกข์.....ความยากมันก็ทอนเข้ามา

อย่างข้าววันนี้กินกี่จาน....นี่.....ทำไมมันกังวล บางวันทะเลาะกัน พ่อบ้าน แม่บ้าน ไม่ได้อยุ่เป็นสุขกันเพราะอะไร?.....มันจะไปค้นคว้ามาอ่านดู มันจะรู้จักปล่อย รู้จักวาง จิตใจเราจะสงบ เห็นแล้วมันก็ปล่อย....ก็วาง เป็นจิตใจที่เยือกเย็น จิตใจที่แน่นหนา เป็นกำลังที่จะเกิดปัญญาของเรา สำหรับให้เราเยือกเย็นในครอบครัวนี้

อุบาสิกา : แล้วก็มีอีกอย่างหนึ่ง เอ้อ.....ท่านผู้ใหญ่ซึ่งอายุก็รุ่นราวคุณย่า คุณยายน๊ะค๊ะ ท่านเล่าให้ฟังว่า ท่านได้นั่งกรรมฐาน แล้วเป็นความจริงไหมค๊ะว่าทุกคนเมื่อมีจิตศรัทธาแน่นแล้ว ก็ให้ฝึกกรรมฐานนี่น่ะ เมื่อนั่งไปนาน ๆ เมื่อจิตสงบแล้วก็ จะเห็นอะไรต่าง ๆ เกี่ยวกับนรกสวรรค์หรืออะไรอย่างนี้ ที่เล่าให้ฟังนี้เป็นความจริงไหมค๊ะ ?
หลวงพ่อ : อันนี้มันเรื่องเบ็ดเตล็ด มันต้องทิ้งทั้งนั้นแหละ ถ้าเห็นสวรรค์จะกระโดดขึ้นไปได้หรือ เห็นแสงสว่าง.... อยู่ในเมืองเรานี่แสงสว่างเยอะไปน๊ะ ไม่ต้องไปนั่งหลับตาก็เห็นสว่างหรอก เดินไปตามเมืองแสงสว่างมันเยอะไปแล้ว ไม่ต้องไปอย่างเห็นอันนั้น อยากจะเห็นความสงบของจิตเรานี้ เมื่อถูก อารมณ์ไม่อยากจะให้มันยึดมั่นถือมั่น อยากให้มันพ้นจากทุกข์เท่านั้นอันนั้นก็เป็นไปได้เหมือนกัน แต่ว่ามันเป็นเครื่องประดับของผู้มีปัญญา มันเป็นของเบ็ดเตล็ดอย่างนั้น ไม่เป็นของควรยึดมั่นถือมั่นอะไรมัน เราไม่ต้องการอันนั้น อันนั้นมันเป็นของภายนอก มันเป็นไปได้ทุกอย่างน่ะแหละ
อุบาสิกา : จุดประสงค์ของหลวงพ่อก็คือ..... การนั่งกรรมฐานนี่ ต้องการทำใจให้สงบเท่านั้น
หลวงพ่อ : ใช่
อุบาสิกา : แต่ว่าการนั่งกรรมฐานของท่านผู้ใหญ่ ที่เคยเล่าให้หนูฟังเมื่อสมัยเป็นเด็ก คือนั่งกรรมฐานแบบต้องการจะรู้แบบ......
หลวงพ่อ : นั่นแหละคนชอบเล่นหมากรุก จะไปนั่งให้รำคาญทำไมอย่างนั้น มันไม่อดหรอกของจะดูอันนั้นไม่ต้องอย่างนั้นแล้วนี่ รู้ว่ามันเป็นของปลอม ก็ไม่ต้องไปรู้ซิ
อุบาสิกา : คือถ้าเผื่อนั่งนี่ต้องการจะเห็น ๆ จริงหรือเปล่าค๊ะ ?
หลวงพ่อ : ไม่รู้.....บางคนมันก็เห็น บางคนมันก็ไม่เห็น มันคนหลายคนทำ ไม่ใช่คน ๆ เดียวทำ
อุบาสก : ไอ้ผล.....เราไม่ต้องการเห็นอะไร
หลวงพ่อ : เอ้อ ๆ ......นั่น
อุบาสก : แล้วเห็นอะไรล่ะครับ ?
หลวงพ่อ : เห็นจิตเจ้าของมันสงบเท่านั้นแหละ
อุบาสก : ใช่.....เหตุผลมันมีอยู่แค่นั้นแหละ ไอ้การที่ใครบอกว่าเห็นโน่น เห็นนี่ ผมว่า.....แสดงว่าจิตเขาไม่ว่างจริง ถ้าเผื่อเขาเห็นถูกไหมครับ ?
หลวงพ่อ : ใช่....ถ้าเห็นก็เห็นมีเหตุผลดีกว่านั้น เห็นเรื่องจนว่าระงับให้ไม่มีเรื่อง.

 redline

backled1

pra tam tesana header

นานาสาระจากความสงสัยของญาติโยม ที่หลวงพ่อได้สนทนาธรรมด้วยจนเกิดความสว่างในดวงใจ

putcha wipasana

แพทย์หญิง - ปุจฉา, หลวงพ่อซา - วิสัชนา

ถาม : วันหนึ่งลูกได้ไปอ่านหนังสือที่ฝรั่งเขาเขียน เรื่องพุทธศาสนา เขาเขียนอยู่ตอนหนึ่งว่า ศาสนาฮินดูเขาเชื่อว่า มีการเกิดใหม่ขึ้น โดยที่ว่าวิญญาณเดิมหรือว่าจิตเดิม เพียงแต่ว่าเปลี่ยนร่างกายใหม่เท่านั้น ส่วนในพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ไม่ใช่เป็นอย่างนั้น คือชีวิตที่เกิดขึ้นใหม่นี้ ท่านให้เรียกว่า เป็นสภาวะ.....การเปลี่ยนชีวิตนี้ ไม่ใช่เปลี่ยนร่างใหม่ แต่ว่าเปลี่ยนจากสภาวะหนึ่ง เป็นอีกสภาวะหนึ่ง ส่วนจะนั้นก็ยังเป็นจิตเดิม แล้วเขาให้คำในวงเล็บไว้ว่า (อนัตตา).......เขาบอกว่า

การที่เปลี่ยนจากสภาวะหนึ่ง เป็นอีกสภาวะหนึ่ง ที่เราเรียกกันว่าชีวิตใหม่นี้ กรรม.....ทำไว้อย่างไร ก็จะส่งผลให้เป็นอย่างนั้น เหมือนกับว่าลูกบิลเลียดลูกที่หนึ่ง ที่วิ่งไปถูกลูกที่สอง จะทำให้ลูกที่สองวิ่งไป แล้วก็วิ่งไปในทิศทางที่ลูกแรกไปกระทบถูกค่ะ ทำให้ลูกมาคิดว่า ถ้าอย่างนั้น.....ถ้าเราหยุดกรรมได้.....ก็แสดงว่าสภาวะต่อไป จะไม่เกิดขึ้น แต่ว่าไม่เข้าใจว่า จิตที่ว่าเป็นจิตเดิมนี่น่ะ เป็นยังไงค๊ะ ? และก็อนัตตานี่ เป็นสภาวะอย่างไร ? ขอกราบเรียนอธิบายค่ะ.....ถ้าว่า ไม่ต้องสนใจเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง.....อะไรทั้งนั้นถ้าเรารู้อย่างเดียวว่า เราสามารถจะหยุดกรรมได้ ก็จะไม่มีสภาพต่อไปเกิดขึ้น อันนี้ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกหรือผิด

ตอบ : ปัญหานี้ต้องแยกตอบ ปัญหานี้มันก็มีสองแง่ แง่หนึ่ง.....เรื่องมันจบแล้ว แง่หนึ่ง.....ก็เรื่องมันไม่จบ เรื่องที่มันจบไปแล้ว ก็ไม่ต้องถามถึงมันหรอก มันจบไปแล้ว มันจะไปอะไรที่ไหน.....ก็คือเรื่องทุกอย่าง.....มันจบ เรื่องเปลวของไฟที่ดับไป มันจะไปที่ไหนนั้น ก็ไม่เป็นปัญหา ที่จะต้องถามแล้ว.....มันเป็นอย่างนี้.......อันนั้นเรียกว่า เรื่องที่มันจบไป และมันคงเหลือแต่เรื่องที่ไม่จบเรียกว่า "สภาวะ" สภาวะเรื่องมันไม่จบนี้ ก็จะพูดว่าเป็น "กรรม" ก็ได้ แต่ว่าไอ้ที่มันไม่จบนี่เรียกว่า "วิบาก"

มันเกิดขึ้นจากกรรมที่กระทำนั้น เป็นสภาวะอันหนึ่ง ถ้าหากว่าเรื่องวิบาก มันจบไปแล้วนั้น ก็ไม่มีปัญหา ท่านพูดย้อนกลับมา ถึงวิบากที่มันเป็นปัจจัย เทียบง่าย ๆ ว่า มีความรู้สึกนึกคิดขึ้นเดี๋ยวนี้ ที่มันมีความรู้สึกนึกคิดขึ้นเดี๋ยวนี้ เช่นว่า คุณหมด อยากจะถามให้รู้เรื่อง ทำไมมันถึงมีความรู้สึก ออกปากมาถามอย่างนี้ ก็เพราะมันมีปัจจัย มันจึงเกิดความรู้สึกขึ้นอย่างนี้ นี่เรียกว่า.......เรื่องมันยังไม่จบ.......เรียกว่าปัจจัย เหตุปัจจัย.....เป็นสภาวะอันหนึ่ง ถ้าหากว่าคุณหมอเข้าใจ ในเรื่องเหล่านี้ดีแล้ว ก็หมดปัจจัย ไม่มีปัจจัยที่จะต้องถาม ที่จะสงสัย อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น

เรื่องที่เป็นอนัตตาอันนั้น อนัตตานี้พูดศัพท์ง่ายๆ ก็เรียกว่า ของไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน แต่ว่ามันอาศัยอาการตัวตนอยู่ อาศัยอาการของอัตตาอยู่ อนัตตานั้นจึงมี เป็นอนัตตาที่ถูกต้องด้วยถ้าอัตตานี้ไม่มีแล้ว อนัตตาก็ไม่ปรากฎขึ้นมา เช่นว่าคุณหมอ ไม่มีกระโถนใบนี้อยู่ในบ้าน เรื่องของกระโถนใบนี้ ก็ไม่กวนกับคุณหมอเลย มันจะแตก มันจะร้าว หรือขโมยมันจะขโมยไป.....อย่างนี้ก็ไม่มากวนจิตใจของคุณหมอเลย เพราะมันไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย คืออะไร ?.....ก็คือว่า.....กระโถน ไม่มีในบ้านเรา

ถ้าหากมีกระโถนขึ้นมาในบ้านเรา มันก็เป็นตัวอัตตาขึ้นมาแล้ว เมื่อกระโถนมันแตก มันก็กระทบเมื่อกระโถนมันหาย.....มันก็กระทบ เพราะกระโถนนี้.....มีเจ้าของแล้ว อันนี้เรียกว่า "อัตตา" มันมีสภาวะอยู่อย่างนี้ ส่วนสภาวะที่ว่า "อนัตตา" นั้น คือสภาวะที่ว่า กระโถนในบ้านเราไม่มี จิตใจจะคอยพิทักษ์รักษากระโถนนั้นก็ไม่มี จะกลัวขโมย มันจะขโมยไป มันก็ไม่มี อันนั้นมันหมดสภาวะแล้ว เรียกว่า " สภาวะธรรม" มันมีสภาวะ.....มีเหตุ มีปัจจัย แต่เพียงมันยังเหลืออยู่เท่านั้น

ฉะนั้นอนัตตานี้ อันที่ไม่ใช่ตัวใช่คนนี้ อะไรบอกมัน มันถึงรู้จักว่า ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ก็คือตัวตนนี้แหละ มันบอกขึ้นมา อันนี้ธรรมมีหลักเปรียบเทียบ ธรรมะที่ไม่มีตัวตน มีหลักเปรียบเทียบ เช่นว่าอนิจจัง.....มันของไม่เที่ยง อย่างนี้เป็นต้น ไม่เที่ยงไปทุกอย่างรึ.....ของเที่ยงมีไม๊ ?.....ของเที่ยงมันก็มีเหมือนกัน มันมาจากไหน ?.....ตัวอนิจจังนี้แหละ.....มันคลอดออกมาเป็นนิจจัง มันเป็นจริงอยู่อย่างนั้น มันเที่ยง.....เที่ยงยังไง ?.....ไอ้ความเที่ยงมันคลอดออกมา จากสิ่งที่ไม่เที่ยง ไอ้ความไม่เที่ยงนั่นแหละ เรียกว่า มันเป็นนิจจัง นิจจังนี่ออกมาจากอนิจจัง

อนิจจังมีที่ไหน นิจจังมีที่นั้น นิจจังมีที่ไหน อนิจจังมันก็มีอยู่ที่นั้น อย่างนี้เป็นต้น มันเป็นของคู่เคียงกันอย่างนี้ ฉะนั้นอัตตาหรืออนัตตานี่ ก็เหมือนกันฉันนั้น อนัตตาจะมีขึ้นมา จะปรากฏขึ้นมา ก็เพราะมีอัตตา อัตตาจะปรากฎขึ้นมา ก็เพราะมีอนัตตา

อันหนึ่งมันเป็นสภาวะที่หยาบ อันหนึ่งมันเป็นสภาวะที่ละเอียด แต่มันติดกันอยู่อย่างนี้ จะพูดง่ายๆ ก็เรียกว่า ไอ้ตัวเรานี้มันมีสองคน ตัวรูปร่างอันนี้ มันเป็นตัววัตถุ แต่เงาของเรามันเป็นสิ่งละเอียดเข้าไปอีก มันแฝงอยู่อย่างนี้.....อันนี้เป็นสภาวะ ความเป็นจริงแล้วก็ ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ มันเป็นอุบายเท่านั้น ที่จะให้เรามองเห็นอย่างนั้น.....เท่านั้น อันนี้ก็ไม่ต้องสงสัยอะไรมันแล้ว

ถ้าอนัตตาไม่มีตัวมีตนแล้ว จะไปอยู่ยังไง ก็คือทุกข์เราหมดไปแล้ว มันจะไปอยู่ยังไง ของเราไม่มีแล้ว จะไปอยู่ยังไง ไอ้ความคิดในเวลาต่อไป มันยังไม่เกิดขึ้น จะไปอยู่ที่ไหน ? ก็เพราะมันเกิดความคิดขึ้น เราถึงรู้ว่ามันเป็นอย่างนี้ แต่ก่อนเรายังไม่คิด ไอ้ความคิดเช่นนี้ มันไปอยู่ที่ไหน ? เป็นต้น มันอยู่ที่เหตุปัจจัย มากระทบขึ้นมา อย่างแก้วใบนี้กับพื้นนี้ มันจะมีเสียงเกิดขึ้น ก็เพราะมีการกระทบเกิดขึ้นมาเดี๋ยวนี้ มันก็อยู่ตรงนั้นแหละ แต่มันมีเหตุมีปัจจัยอยู่เฉยๆ แต่เสียงนั้นมันยังไม่มี แต่เหตุจะใหเกิดเสียงนั้น มันมีอยู่ แต่บัดนี้มันยังไม่ปรากฎ อันนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ถาม : หมายความว่า ถ้าเราจะวางเหตุทั้งหลายได้ ไม่ให้มันมีเหตุขึ้นมา ตัวสภาวะอันนี้ มันก็จะแตกดับไปเลยใช่ ไหมค๊ะ ?
ตอบ : คือไม่ใช่ว่าไม่ให้มีเหตุ แต่ว่าให้รู้จักเหตุ คือเรื่องเหล่านี้ มันจะเป็นไปอยู่อย่างนั้น มันมีเหตุอยู่อย่างนี้ ห้ามไม่ได้เหตุนี้ แต่ว่าเมื่อเราเกิด "ความรู้" เหตุอันนั้น เหตุอันนั้น......มันก็หมดเหตุหมดปัจจัย เพราะความที่ "รู้" เหตุอันนั้น อย่างเหตุที่เกิดทุกข์ มันมีอยู่ทุกขณะ แต่เรารู้เหตุทุกข์จะเกิดขึ้น ทุกข์มันก็หายสลายไป เรารู้จักเหตุปัจจัย เหตุปัจจัยยังมีอยู่ แต่เรารู้เหตุปัจจัยเราก็ปล่อย มันก็หมดไปอย่างนั้น
ถาม : ถ้าหากว่าเรารู้ว่า เหตุเกิดขึ้นเพราะอะไรแล้ว เรายังไปยึดเหนี่ยวมันอยู่ อย่างนี้เราก็จะไม่พ้นทุกข์ใช่ไหมค๊ะ ?
ตอบ : ใช่.....แต่ให้รู้น๊ะ.....รู้ไม่ยึด พูดง่าย ๆ ซ๊ะ.....รู้ไม่ยึด มันก็เกี่ยวกับภพชาติ อย่างแก้วใบนี้มันมีอยู่แต่ว่าไม่ใช่ภพ ถ้าแก้วใบนี้มันแตก เราก็เกิดทุกข์.....เกิดชาติ ไม่สบายใจ มันเป็นทุกข์อย่างนี้ เรียกว่า.....ชาติ มันไปเกิดในภพ ภพนั้นคืออุปาทาน.....มั่นหมายในแก้วใบนั้น ถ้าเราไม่มั่นหมายในแก้วใบนั้น เมื่อมันแตก.....ความทุกข์ก็ไม่มีๆ ก็คือชาติไม่เกิดในที่นั้น อย่างนี้เป็นต้น คือมันหมดเหตุ หมดปัจจัย เพราะว่าอะไร ? เพราะเรารู้แล้วว่า แก้วใบนี้แตก

มันจะเป็นทุกข์ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ แต่เรารู้ว่าสภาวะของแก้วใบนี้ เป็นของไม่แน่นอนอยู่แล้ว เราชัดเจนแล้ว เราก็ดับเหตุอันนี้ ทุกข์มันก็เกิดขึ้นไม่ได้.....อย่างนี้ เหตุผลมันก็มีอยู่เรื่อยๆ ไป แต่ไอ้ความรู้แจ้งนี้น่ะ สำคัญมากเรื่องนี้

ถาม : ถ้าเรายังมีชีวิตเป็นฆราวาสอยู่ และต้องผูกพันอยู่กับการงาน ซึ่งทำให้เราต้องบังเกิด ความพัวพันกับการงาน การหวังผลประโยชน์แบบนี้น๊ะค๊ะ แต่ว่าใจของเรารู้อยู่ว่า อันเหตุเหล่านี้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว แต่โดยหน้าที่แล้ว จำเป็นจะต้องปฏิบัติต่อไปอย่างนี้เราควรจะทำอย่างไรดีค๊ะ ?
ตอบ : เราจะต้องรู้จักภาษา.....คำพูดอันนี้ คำที่ว่า "ยึด" นี้ ยึดเพื่อไม่ยึด ถ้าคนไม่ยึดแล้ว ก็พูดไม่รู้เรื่องกัน ไม่รู้จักทำงานอะไรทั้งนั้น "เหมือนกับมีสมมติ มันก็มีวิมุติ" ถ้าไม่มีเรื่องทั้งหลายเหล่านี้ ก็ไม่มีอะไรที่จะทำกันจึงให้รู้จัก"สมมติ" และ "วิมุตติ" คำที่ว่า "ยึดมั่น" หรือ "ถือมั่น" นี่น่ะ เราถอนตัวออก อันนี้เป็นภาษาที่พูดกัน เป็นคำที่พูดกัน แต่ตัวอุปทาน.....คือสิ่งทั้งหลาย เช่นว่า เรามีแก้วอยู่ใบหนึ่งน๊ะ

เราก็รู้อยู่แล้วว่า จำเป็น เราจะต้องใช้แก้วใบนี้ อยู่ตลอดชีวิต แต่ให้เรามาเรียนรู้ว่า แก้วใบนี้น่ะ ให้มันชัดเจนซ๊ะ สำหรับแก้วใบนี้จนจบเรื่องของแก้ว จบยังไง....ก็คือเห็นว่า แก้วใบนี้ "มันแตกแล้ว" ถึงแก้วที่ไม่แตกเดี๋ยวนี้ เราก็เห็นว่า "มันแตกแล้ว" เมื่อปัญญาเห็นว่ามันแตกแล้ว เราก็ใช้แก้วใบนี้ไป ใส่น้ำร้อน น้ำเย็น แต่ว่าเมื่อแก้วใบนี้ มันแตกเมื่อไรเป็นต้น ทุกข์เกิดขึ้นไม่ได้....ทำไม? .....เพราะว่าเราเห็นความแตกของแก้วใบนี้ก่อนแตกแล้ว

ไอ้ที่มันแตกเดี๋ยวนี้มัน "ของทีหลัง" เพราะปัญญาเรารู้ว่ามันแตกแล้ว แตกปัจจุบันนี้ เป็นของแตกทีหลัง เราเห็นแตกก่อนแตกเสียแล้ว แก้วใบนี้มันก็แตกไป ปัญหาอะไรก็ไม่มีเกิดขึ้นเลย ทั้งๆ เราใช้แก้วใบนี้อยู่......อย่างนี้ เข้าใจอย่างนั้นไม๊ ?

นี่.....มันเป็นอย่างนี้ มันหลบกันใกล้ๆ เลย ทุกอย่างที่เราใช้ของอยู่ ก็ให้มีความรู้อย่างนี้ไว้ มันก็เป็นประโยชน์ เรามีไว้มันก็สบาย ที่มันจะหายไป มันก็ไม่เป็นทุกข์ คือไม่ลืมตัวของเรา เพราะรู้ท่านสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ นี่เรียกว่า ไอ้ความรู้ที่มันเกิดขึ้นในที่นี้ มันคุมสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ อยู่ในกำมือของมัน เราก็ทำไปอย่างนี้แหละ ถ้าว่าความดีใจ หรือความเสียใจ มากระทบอยู่เป็นธรรมดาอย่างนี้ เราก็รู้อารมณ์ว่า ไอ้ความดี.....มันไปถึงแค่ไหน

มันก็ "ไปถึง" เรื่องอนิจจังเท่านั้นแหละ.....เรื่องไม่แน่นอน ถ้าเราเห็นเรื่องไม่แน่นอนอันนี้ เรื่องสุข.....เรื่องทุกข์นี้ มันก็เป็นเพียง เศษ.....เป็นกากอันหนึ่งเท่านั้น ในความรู้สึกนึกคิดของเรา เป็นธรรมดาของมันเสียแล้ว เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นมา มันก็จักว่า มันก็ "อย่างนั้นเอง" เมื่อทุกข์เกิดขึ้นมา หรือสุขเกิดขึ้นมา มันก็ "อย่างนั้นเอง" ไอ้ความที่ว่า....อย่างนั้นเอง มันกันตัวอยู่อย่างนี้ ไม่ใช่คนไม่รู้น๊ะ ไม่ใช่คนเผลอน๊ะ เพราะว่าเรามีสติรอบคอบอยู่เสมอ

ในการงานทุกประเภท.....ทุกอย่างบางแห่ง เคยเข้าใจว่า มันเป็นฆราวาสอยู ฉันได้ทำงานอยู่ ประกอบกิจการงาน เป็นพ่อบ้าน แม่บ้านอยู่อย่างนี้ ฉันไม่มีโอกาสที่จะปฏิบัติ อย่างนี้เป็นต้น อันนี้เป็นคำที่เข้าใจผิด ของบุคคลที่ยังไม่รู้ชัด ความเป็นจริงนั้น ถ้าหากว่าเราปฏิบัติหน้าที่การงานอยู่ มีสติอยู่ มีสัมปชัญญะอยู่มีความรู้ตัวอยู่......อย่างนี้กาารงานมันยิ่งจะเลิศ ยิ่งจะประเสริฐ ทำการงาน จะไม่ขัดข้องจะมีความสงบ มีความจริญงอกงาม ในการงานอันนั้นดีขึ้น

เพราะว่า.......การปฏิบัตินี้ อาตมาเคยเทียบให้ฟังว่า เหมือนกับลมหายใจเรา ทีนี้เราทำงานทุกแขนงอยู่ เราเคยบ่นไหมว่า เราไม่ได้หายใจ มันจะยุ่งยากสักเท่าไร ก็ต้องพยายามหายใจอยู่เสมอ เพราะมันเป็นของจำเป็นอยู่อย่างนี้ การประพฤติปฏิบัตินี่ก็เหมือนกัน เมื่อเรามีโอกาสหายใจอยู่ ในเวลาที่เราทำงาน เราก็มีโอกาสที่จะประพฤติปฏิบัติ อยู่ทั้งนั้น ในชีวิตฆราวาสของเรา ก็เพราะว่าการประพฤติปฏิบัตินั้น คือความรู้สึกในใจของเรา ความรู้ในใจของเรา

ไม่ต้องไปแยกที่ไหน ทำอยู่เดี๋ยวนี้ ก็รู้เดี๋ยวนี้ ไม่ใช่ไปทำอย่างอื่น มันก็เหมือนกันฉันนั้น ลมหายใจกับชีวิต กับคุณค่าการปฏิบัตินี้มันเท่ากัน ถ้าเราไปคิดว่า เราทำงานอยู่เราไม่ได้ปฏิบัติ ก็เรียกว่า.....เราขาดไป ก็เพราะว่าการปฏิบัตินั้น อยู่ที่จิด ไม่ใช่อยู่ที่การงาน ไม่ใช่อยู่ที่อื่น เราลอดทำความรู้สึกเข้าแล้วเป็นต้น มันก็มีไปทางตา หู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางจิตหมด เป็นฆราวาสอยู่ก็ได้ แต่ว่าทำปัญญาให้รู้เรื่องของมัน.....รู้เหตุทุกข์จะเกิด

ดูเหมือนว่า ในครั้งพุทธกาลนั้น ฆราวาสที่ประพฤติธรรม ก็ไม่ใช่น้อย.....เยอะเหมือนกันน๊ะ อย่างนางวิสาขา ประวัติของท่านน่ะ เป็นโสดาบันบุคคล มีครอบมีครัวอยู่น๊ะ.....นี่เป็นต้น มันคนละตอนกันอย่างนี้ อันนี้ก็ไม่ต้องสงสัย แต่ว่ากิจการงานของเรานั้น ต้องเป็นสัมมนาอาชีวะ นางวิสาขานั้น อยู่ในบ้าน ก็ไม่เหมือนเพื่อนเค๊า ความรู้สึกนึกคิดไม่เหมือนเพื่อน มันเป็นสัมมาอาชีวะ มีความเห็นที่ถูกต้องอยู่ การงานมันก็ถูกต้องเท่านั้น

ถ้าจะเอาแต่พระจะได้หรือ พระมีกี่องค์ในเมืองไทยนี้ ถ้าโยมไม่เห็นบุญ.......ไม่เห็นกุศล เห็นเหตุ.....เห็นปัจจัยแล้ว มันก็ไปไม่ได้ ฉะนั้นการประพฤติปฏิบัติของพระ และฆราวาสนั้น มันจึงรวมกันได้ แต่ว่ามันยากสักนิดหนึ่ง กับบุคคลที่ยังไม่เข้าใจ เป็นฆราวาสก็คือ มันไม่เป็นทางที่จะปฏิบัติโดยตรง แต่ว่าพระออกบวชมาแล้วน่ะ มุ่งโดยตรง ไม่มีอะไรมาขัดข้องหลายอย่าง แต่ถ้าไม่มีปัญญาแล้ว ก็เท่ากันน่ะแหละ ถึงไปอยู่ในที่สงบ มันก็ทำตัวเราให้สงบไม่ได้ ถึงอยู่ในที่คนหมู่มาก ว่ามันไม่สงบ ผู้มีปัญญาก็ทำความสงบก็ได้ มันเป็นอย่างนี้

ถาม : ถ้าอย่างนั้นตลอดชีวิต เราปฏิบัติตัวอย่างที่หลวงพ่อให้ธรรมะ มีสติอยู่ตลอดไป ว่าของทุกอย่างมันเกิดได้ และก็ดับได้ เตรียมใจไว้ เมื่อถึงเวลาที่ชีวิตเราสิ้นสุดลง เราก็สามารถที่จะผ่อนคลาย สภาวะใหม่ที่จะเกิดขึ้น ใช่ไหมค๊ะ ?
ตอบ : ใช่.....ยังงั้น การปฏิบัติทั้งหลายเหล่านี้ มันเป็นเรื่องบรรเทากิเลส บรรเทาความหลงทั้งนั้น คือบรรเทาให้มันน้อยลง มันน้อยลงก็เรียกว่า มันไม่มาก ไอ้ผลที่ว่ากิเลสทั้งหลาย มันน้อยลงมันก็จะปรากฎแก่เราอยู่เสมอ อันนั้นเป็นวิบาก
ถาม : ในบางขณะที่จิตของเรา บังเกิดบังหมองขึ้น แต่เราก็รู้ตัวของเราเอง เช่นบางครั้งเราเกิดโทสะ.....โมฆะ และโลภะค้น เราก็รู้ว่ามันเป็นของที่น่ารังเกียจ แต่มันบังเกิดขึ้น โดยที่เราห้ามไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่เรารู้อย่างนี้จะเรียกว่า เป็นเครื่องให้เรายึดเหนี่ยวมากขึ้น หรือดึงกลับไปสู่ที่เดิมมากขึ้น
ตอบ : นั่นแหละ.....ต้องรู้มันไว้ ตรงนั้นแหละ.....คือข้อปฏิบัติ ละ
ถาม : คือทั้ง ๆ ที่รู้แล้ว และก็รังเกียจด้วยค่ะ แต่ไม่สามารถจะหักห้าม มันพลุ่งออกมาเสียแล้ว
ตอบ : อันนั้น มันเหลือวิสัยของมันแล้ว ตรงนั้นต้องปรับพิจารณาอีกต่อไป อย่าไปทิ้งมันตรงนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นบางคนก็เสียใจ ไม่สบายใจ เมื่อเห็นขึ้นมาเช่นนั้น ก็เรียกว่า.....อันนี้มันก็ไม่แน่ เพราะว่าเราเห็นความผิดมันอยู่ แต่เรายังไม่พร้อม คือมันเป็นของมัน คือกรรมที่มันเหลือเศษอยู่มันปรุงแต่งขึ้นมา

เราไม่อยากให้มันเป็นอย่างนั้น มันก็เป็นอย่างนั้น อันนี้เรียกว่า "ความรู้" เรายังไม่พอ.....ไม่ทัน จะต้องทำสตินี้ให้มาก ให้รู้ยิ่งขึ้น มันจะเศร้าหมองก็ช่างมัน เมื่อมันเกิดขึ้นมา เราก็พิจารณาว่า อันนี้มันก็เป็นของไม่เที่ยง.....ไม่แน่นอน พิจารณาอยู่ทุกขณะที่มันเกิดขึ้นนานไปๆ เราก็เห็นของไม่เที่ยง

ในอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น อันนั้นมันจะค่อย ๆ หมดราคาเรื่อยไป เพราะมันเป็นอย่างนั้น ไอ้ความยึดมั่นถือมั่นในความเศร้าหมดงอันนั้น มันก็น้อยลง ๆ ทุกข์เกิดขึ้นมา ก็ปรับปรุงได้อีก แต่อย่าทิ้งมัน ต้องให้ติดต่อ พยายามให้รู้เท่าทันมัน ก็เรียกว่ามรรคของเรา มันยังมีกำลังไม่พอ มันสู้กิเลสไม่ได้ เมื่อทุกข์ขึ้นมาก็ขุ่นมัว ไอ้ความรู้เรื่องขุ่นมัว เราก็พิจารณามันอยู่อย่างนี้

ฉะนั้นเราก็จับเอาอันนั้น มาพิจารณาอีกต่อไปว่า เรื่องทุกข์.....เรื่องไม่สบายใจนี่ มันก็ไม่แน่หรอกน๊ะ มันเป็นของไม่เที่ยง....เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาทั้งสิ้น เราจับจุดนี้ไว้ เมื่อหาว่าอาการเหล่านี้เกิดขึ้นมาอีก

ที่เรารู้มันเดี๋ยวนี้ก็เพราะ.....เราได้ผ่านมันมาแล้ว กำลังอันนี้เราจะค่อย ๆ เห็นทีละน้อย ๆ เข้าไป

ต่อไป....เรื่องอารมณ์ที่มันเกิดขึ้นมา ก็หมดราคาเหมือนกันจิตเราก็รู้ ก็วาง ที่เรารู้.....มันวางได้ง่าย ๆ ก็เรียกว่า "มรรค" มันกล้าขึ้นมาแล้ว มันจึงข่มกิเลสได้เร็วมากที่สุด ต่อไปก็.....ตรงนี้มันเกิดขึ้นมา.....ตรงนี้ก็รับ เหมือนกันกับน้ำทะเลที่กระทบฝั่ง เมื่อขึ้นมาถึงแค่ฝั่ง

มันก็ละลายเท่านั้น คลื่นใหม่มาอีก ก็ต่อไปอีก มันจะเลยฝั่งไปไม่ได้ อันนี้มันจะเลยความรู้เราไปไม่ได้เหมือนกัน เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จะพบกันที่ตรงนั้น มันจะแตกร้าวอยู่ที่ตรงนั้น มันจะหายก็อยู่ที่ตรงนั้น เห็นว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาคือฝั่งทะเล อารมณ์ทั้งหลายผ่านเข้ามา มันก็เป็นอย่างนั้น ไอ้ความสุขมันก็ไม่แน่ มันเกิดาหลายครั้งแล้ว ไอ้ความทุกข์มันก็ไม่แน่ มันเกิดมาหลายทีแล้ว มันก็เป็นอย่างนั้นแหละ

ในใจเรารู้ว่า เออ.....มันก็อย่างนั้นแหละ มันก็เท่านั้นแหละ อย่างนี้มันจะมีอาการอยู่ในใจของเราอันนั้นก็ค่อย ๆ หมดราคาไปเรื่อย ๆ มันจะเป็นอย่างนี้ อันนี้พูดเรื่องอาการจิต มันจะเป็นอย่างนั้นทุกคนแม้พระพุทธเจ้า และสาวกทั้งหลาย ก็ต้องเป็นอย่างนี้ ถ้ามรรคมันกล้าขึ้นมา

มันก็ไม่ต้องการอะไร มันเป็นอัตโนมัติ เมื่อเกิดขึ้นมา มันก็รู้ทัน มันทำลายไปเลย อันนั้นเรียกว่ามรรคมันยังไม่กล้า และก็ข่มกิเลสยังไมได้รวดเร็ว.....อย่างนี้มันต้องเป็น ใครก็ต้องเป็นทุกคน แต่ว่าเอาเหตุผลที่ตรงนั้นน่ะ อย่าได้ไปคว้าอย่างอื่นเลยอย่าไปแก้ตรงอื่น แก้ตรงนี้แหละ แก้ตรงที่มันเกิด และมันก็ดับ สุขเกิดแล้วมันดับไปไม๊ ?

ทุกข์เกิดแล้วมันดับไปไม๊ ? มันก็เห็นเรื่องเกิด-ดับ ความดี ความชั่วอยู่เสมอ อันนี้เป็นสภาวะที่เป็นอยู่อย่างนี้ของมันเอง อย่าไปยึดมั่น หมายมั่นมันเลย ถ้าเรามีความรู้อันนี้ มันก็เป็นอยู่อย่างนี้ แม้กระทบกันอยู่ แต่ว่าไม่มีเสียง.....มันหมดเสียง เรียกว่าเรามาเห็นธรรมดาเกิดแล้วดับเห็นมันเกิดแล้วมันก็ดับ เห็นความเกิดดับในเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

เรื่องธรรมะมันจะเป็นของมันอยู่อย่างนี้ เมื่อเราเห็นของแค่นี้ มันก็อยู่แค่นั้น ไอ้ความยึดมั่นถือมั่นมันก็ไม่มี อุปาทานทั้งหลายพอจะรู้สึก มันก็หายไป เกิดแล้วก็ดับไปเท่านั้น อันนี้มันก็สงบ ไอ้ที่มันสงบไม่ใช่ว่า ไม่ได้ยินอะไรน๊ะ.....ได้ยินอยู่ แต่ว่ามันรู้เรื่อง ไม่ไปยึดมั่นถือมั่นในเรื่องเหล่านั้น เรียกว่า....มันสงบ เรื่องอารมณ์ทั้งหลาย

ก็มีอยู่ในใจเรานี่แหละ แต่ว่ามันไม่ตามอารมณ์นั้น เรื่องจิตก็เป็นอย่างหนึ่ง เรื่องอารมณ์มันเป็นอย่างหนึ่ง เรื่องกิเลสนี้มันก็เป็นอย่างหนึ่ง เมื่ออารมณ์มากระทบเราไปชอบมัน ๆ ก็เกิดกิเลสขึ้นมา เมื่อไม่ชอบมันก็เกิดกิเลสขึ้นมา ถ้าหากเราเห็นความเกิด-ดับ ของมันอยู่อย่างนี้ ก็ไม่มีอะไรจะเกิดขึ้นมาแล้ว มันหมดแค่นั้น

ถาม : ในการพิจารณาธรรม เบื้องต้นจะต้องฝึกสมาธิให้ได้เสียก่อนใช่ไหมค๊ะ ?
ตอบ : อันนี้เราจะพูดอย่างนั้นก็ถูกไปแง่หนึ่ง ถ้าพูดถึงด้านปฏิบัติจริง ๆ แล้ว ปัญญามันมาก่อนน๊ะ.....ปัญญามาก่อน แค่ตามแบบ ต้องศีล......ต้องสมาธิ.....ต้องปัญญา ถ้านักปฏิบัติธรรมะจริงๆ แลัว ปัญญามาก่อน ถ้าปัญญามาก่อน รู้จักผิด รู้จักถูก รู้จักความสงบ รู้จักความวุ่นวาย แต่พูดตามหลักปริยัติแล้ว ก็ต้องเรียกว่า การสังวร สำรวมนี้ ให้เกิดความละอาย

ให้เกิดความกลัวความผิดทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นมา เมื่อกลัวความผิด ไม่ทำความผิดแล้ว ไอ้ความผิดก็ไม่มี เมื่อความผิดไม่มี ก็เกิดอาการความสงบขึ้นมาในที่นั้น ความสงบอันนั้น เป็นสมาธิไปพลาง ๆ.......เป็นฐาน

เมื่อจิตสงบขึ้นมาแล้ว ไอ้ความรู้ทั้งหลาย ที่มันเกิดมาจากความสงบนั่นแหละ ท่านเรียกว่า "วิปัสสนา" ความรู้เท่าตามความเป็นจริงอย่างนี้ มันมีอาการอยู่ในนี้ ถ้าหากพูดให้มันลงอันเดียวกันซ๊ะ มันจะเป็นศีล จะเป็นสมาธิ มันจะเป็นปัญญา ถ้าพูดให้มันรวม ก็ว่าธรรมสามอย่างนี้ เป็นก้อนเดียวกัน ไม่แยกกัน แต่ว่าพูดถึงลักษณะของมัน มันเป็นศีล

เป็นสมาธิ เป็นปัญญาอย่างนี้ถูกแล้ว แต่ว่าคนเรา ถ้ามีการกระทำผิดอยู่ จิตใจก็สงบไปไม่ได้ ถ้าหากว่าดูไปแน่นอนแล้ว มันจะไปพร้อมๆ กัน จะว่าจิตสงบ.......อย่างนี้ มันก็ถูก การทำสมาธิ......ถ้าพูดตามเรื่องมันก็รักษาศีล รักษากาย วาจา ไม่ให้มีความเดือนร้อน ไม่ให้มีความผิดเกิดขึ้นมาในวงนี้ อันนี้เป็นฐานความสงบ.....แต่มันเกิดขึ้นตรงนั้นนี่ เมื่อฐานความสงบมีอยู่ ก็จะเป็นฐานรองรับให้ปัญญา.....คือความรู้ให้เกิดในที่นั้น

ถ้าหากว่าสอนไปตามแบบของท่านแล้ว ก็เรียกว่า ศีล.....ศีลนี้น่ะสำคัญมาก อาทิกัลยาณัง มัชเฌกัลยาณัง ปริโยสานกัลยาณัง ให้งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด มันเป็นอย่างนี้ เคยทำแล้วยังล่ะสมาธิ.......เคยทำแล้วยัง ?

ถาม : กำลังเรียนอยู่ค่ะ
ตอบ : เออ.....กำลังเรียน
ถาม : วันนั้นไปหาหลวงพ่อ ๆ ที่เขื่อน (วัดเขื่อนสิรินธร สาขาวันป่าพงที่ 8) พอวันรุ่งขึ้นคุณน้า เอาหนังสือโอวางของหลวงพ่อไปให้ที่บ้าน ตอนเช้านั่งทำงานอยู่ในร้าน ก็หยิบขึ้นมาอ่าน มีคำถามของพระที่ถามหลวงพ่อปัญหาต่าง ๆ หลวงพ่อบอกว่า ข้อสำคัญให้จิตเฝ้าดูอยู่ว่า อะไรจะเกิด อะไรต่าง เฝ้าดูอยู่เฉย ๆให้รู้ไว้ ตอนบ่ายได้ไปเรียนสมาธิ ก็ปรากฏว่า มีอาการว่านั่งแล้วรู้สึกว่า ตัวมันหายไปเฉยๆ

มือ.....มันก็ไม่รู้สึก ขา.....ก็ไม่รู้สึก รู้สึกว่ามันไม่มีตัว แต่รู้ว่าเรายังมีตัวอยู่ แต่ว่ามันไม่รู้สึกค่ะ ตอนเย็นได้มีโอกาส ไปกราบนมัสการ ท่านอาจารย์เทสก (หลวงปู่เทสก์) และเล่าอาการให้ท่านฟัง ท่านบอกว่าทำต่อไป อันนั้นเรียกว่า "จิตรวมค่ะ" แต่ก็เป็นอยู่หนหนึ่ง หนหลัง ๆ บางครั้งก็เหมือนกับว่า เราไม่รู้สึกมือของเรา แต่ก็ยังรู้สึกส่วนอื่น ๆ บางทีมานั่งนึกว่า.....ถ้าเรามานั่งอยู่อย่างนี้

ให้จิตปล่อยวางเฉย ๆ....ถูกหรือ หรือเรามานั่งครุ่นคิดถึงปัญหาธรรม ที่เรากำลังข้องใจอยู่.....อะไรคือที่ถูก ?

ตอบ : อันนั้นไม่ต้องไปซ้ำเติมมันน๊ะ ที่ท่านอาจารย์เทสก์ท่านบอกน่ะ.....อย่าไปซ้ำเติมมัน ไอ้ความรู้คือความสงบนั้น ให้ดูความสงบนั้นอยู่ แต่ความรู้สึกของเรา มันจะรู้สึกไม่มีตัว ไม่มีตนอะไร ก็ช่างมันเถอะ.....อันนี้ ให้มันอยู่ในนี้......ความรู้สึก นี่เรียกว่า.....ความสงบจิตที่มันรวม เมื่อมันรวมอยู่นาน ๆ ครั้งหรือสองครั้งนั่นน่ะ แล้วมันจะมีอาการเปลี่ยนแปลงคือ เรียกว่า.....มันถอนออกมามันเป็นอัปปนาสมาธิ

แล้วมันจะถอนออกมา คือ.....ไม่ใช่ถอน.....จะพูดถอนก็ถูก เรียกว่า มันพลิกก็ได้มันเปลี่ยนแปลงก็ได้ แต่ในลักษณะครูบาอาจารย์ท่านสอน ก็ว่า.....เมื่อมันสงบแล้ว มันจะถอนออกมา ถ้าหากพูดภาษาไม่ถูกกันนี้ มันก็ยากเหมือนกันน๊ะ เอ.....จะไปถอนมันยังไงน้อ.....ไอ้เรื่องถอนนี่ มันก็ไปงมงายในภาษานี้ลึก แต่ว่าให้เข้าใจว่า ให้ดูอาการนั้นอยุ่ ด้วยมีสติสัมปชัญญะ ลักษณะที่จิตที่มันไม่แน่นี่ มันก็พลิกออกมา

มันเป็นอุปจาระ.....ถอนออกมา ถ้ามันถอนออกมาอยู่ตรงนี้......ตรงนั้น มันไม่รู้เรื่อง.....ถอนมาตรงนี้.....มันจะรู้เรื่อง ถ้ามันรู้เรื่องตรงนี้ มันก็คล้าย ๆสังขาร หรือจะเหมือนกับเป็นคนสองคน ปรึกษาสนทนากัน อันนี้คนไม่เข้าใจ ก็เสียใจว่า จิตเราไม่สงบ เมื่อความเป็นจริงแล้ว มันจะสนทนาปราศรัยกันอยู่ ในความสงบระงับอันนั้นอันนี้มันเป็นลักษณะที่มันถอนออกมาแล้ว เป็นอุปาจาระ รู้เรื่องอะไรต่าง ๆ

เมื่อระบบนี้อยู่ซักพักหนึ่ง มันจะเข้าของมันไป คือมันจะพลิกกลับ เข้าไปในสถานที่เดิม.....สงบอย่างเก่า หรือมันจะมีกำลังที่ใสสะอาด สงบยิ่งกว่าเก่าก็มี ถึงกำลังอันนั้นเราก็กำหนดไว้เท่านั้น ถึงเวลามันจะถอนออกมาอีก ถอนออกมาแล้ว มันจะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นมา ตรงนี้รู้เรื่องต่าง ๆตรงนี้คือมาสอบถาม มาสอบสวนเรื่องคดีต่าง ๆ ให้รู้เรื่อง เมื่อจบเรื่องแล้ว มันค่อยเข้าไปตรงนั้นอีก เข้าไปบ่มไว้

ไม่มีอะไร......มีความรู้อย่างเดียวเท่านั้นแหละ ให้เรามีสติเต็มที่ไว้ เมื่อถึงเวลามันก็จะออกมาอีก

มันจะมีอาการออก หรือเข้าอย่างนี้ อยู่ในจิตของเรานี่น่ะ แต่เราพูดยากอันนี้ อันนี้ไม่เสียหายนานไป ๆ ไอ้ตรงที่มันมาปรึกษาข้างนอกน่ะ มันจะเป็นสังขารปรุงแต่ง ถ้าคนไม่รู้จักอันนี้ว่าเป็นสังขาร ก็นึกว่า มันเป็นปัญญา นึกว่าปัญญามันเกิด ถ้าเราเห็นว่า ไอ้ความปรุงแต่งนี้น่ะให้เห็นความสำคัญของความปรุงแต่งนี้ว่า อันนี้ก็ของไม่เที่ยง.....นี่....บังคับไว้เสมอ อย่าไปปล่อยใจมันว่า

มันปรุงไปอย่างไร ก็เชื่อไปอย่างนั้น อันนั้นมันเป็นสังขารนี่ มันไม่เกิดปัญญา อารมณ์ที่จะให้เกิดปัญญานี่ มันจะปรุงไปที่ไหน เราก็ฟังมัน รู้มันเถอะ.....เอ้อ.....อันนี้มันก็ไม่แน่นอน....อันนี้ก็ไม่เที่ยง จึงเป็นเหตุที่จะให้จิตเรา ปล่อยตรงนี้ได้ เมื่อจิตปล่อยวางตรงนี้ จิตก็สงบเข้าไป ทำอย่างนี้เรื่อย ๆ ไปเถอะ มันเข้าไป.....แล้วก็ถอนออก นี่.....ปัญญาจะเกิดขึ้นมาในที่นั้น มันจะแก้ปัญหาอะไรต่างๆ

ทุกอย่างในสกลโลกอันนี้ ปัญญามันจะตามตอบคำถาม จะนั่งที่ไหน คิดที่ไหน อะไรที่ไหนน่ะ มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น อันนี้จะทำให้ปัญญาเกิดขึ้นมา ถ้ามันเกิดขึ้นมาอย่างนี้ ก็อย่าไปหลงมันว่า อันนี้มันเป็นสังขารน๊ะ เมื่อพวกว่าเราเอาอารมณ์ไปเข้ากันซ๊ะว่า.....อันนี้มันก็ไม่เที่ยง มันก็ไม่แน่นอน อย่าไปยึดมั่นถือมั่นมันเลย สภาวะอันนี้น่ะ ถ้าเราแทนเข้าไป จิตมันจะยิ้มขึ้นมาอยู่ตรงกลางอันนี้ รู้เรื่องสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ จิตของเราจะเดินไปได้ถูกต้อง ตามทางการภาวนาของเรา มันจะไม่หลงมันจะเป็นอย่างนี้

ถาม : ถ้าสมมติว่าจิตมันนิ่งอย่างนี้น่ะ แต่เรายังได้ยินอยู่.....นี่จะเรียกว่าอะไรค๊ะ ?
ตอบ : มันจิตก็เป็นจิต เสียงก็เป็นเสียง มันก็ได้ยินซี่
ถาม : เรียกว่า สงบใช่ไม๊ค๊ะ ?
ตอบ : สงบ ๆ ได้ยิน....แต่ไม่ฟุ้ง
ถาม : มันลบมันละเอียด
ตอบ : ใช่.....มันก็ได้ยิน มันไม่ได้ยิน ก็เสียคนเท่านั้นแหละ มันก็ไม่รู้เรื่องอะไร มันทิ้งความรู้แล้วจะเกิดอะไร
ถาม : แต่ในใจมันหยุดล่ะฮ่ะ.....แต่ว่าไอ้เลียง มันเข้าไปอยู่เรื่อย ๆ
ตอบ : ก็ช่างมันเถอะ
ถาม : แต่มันไม่ปนกันล่ะฮ่ะ
ตอบ : ใช่.....แต่เราไม่ยึด
ถาม : แต่ว่าพอมันนิ่งแล้ว มันก็ไม่เกิดปัญญาซีน๊ะ มันเฉย ๆ .......
ตอบ : เออ.....อย่าเพิ่งไปบังคับ ให้มันเกิดปัญญาเถอะ มันจะหล่อเลี้ยงของมันเองหรอก
ถาม : แต่มันก็หยุดล่ะฮ่ะ.....ลมมันก็ละเอียด มันนิ่งเฉย ๆ
ตอบ : เออ....ช่างมันเถอะ นิ่งเฉย ๆอย่างนี้ก่อน
ถาม : และก็......สงสัย.....
ตอบ : นี่แหละคนเรา.....มันเป็นอย่างนี้ ไอ้ความหลงของคนน่ะ คือคนอยากจะรู้ ที่ครั้งแรกจิตเราไม่เคยสงบ ก็มาถามอาจารย์เรื่องจะให้มันสงบ จะทำยังไง.....อยากให้มันสงบ......แน่ะเราว่า เออ.....ทำๆไปเถอะ พยายามไป ก็ยังไม่อยู่

 อ่านต่อ : ปุจฉา - วิสัชนา ตอนที่ 2

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)