foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

art local people

หมอลำคูณ ถาวรพงษ์

koon tawonpong smหมอลำคูณ ถาวรพงษ์ เกิดเมื่อปี 2445 ณ บ้านจานตะโนน หมู่ที่ 11 ตำบลหนองบ่อ อำเภอเขื่องใน (ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นเขต อำเภอเมืองอุบลราชธานี) จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของนายพ่วย และนางสุนีย์ ถาวรพงษ์ ท่านชอบการร้องลำมาตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก โดยหัดลำด้วยตนเองก่อน ต่อมาได้ไปเรียนลำจากครูที่บ้านเตยสวนงัว อำเภอม่วงสามสิบ เมื่อท่านอายุ 16 ปี ได้บวชเป็นสามเณรที่วัดจานตะโนน และได้ลาสิกขาเมื่อปี พ.ศ. 2469 ท่านก็หันมาประกอบอาชีพเป็นหมอลำเต็มตัว และได้แต่งงานอยู่กินกับ นางพับ สุวรรณกูฎ มีบุตรเป็นชาย 4 คน หญิง 4 คน

หมอลำฝ่ายหญิงที่ลำคู่กันกับหมอลำคูณ มีหลายคน ได้แก่ หมอลำจอมศรี บรรลุศิลป์, หมอลำหม่อน, หมอลำอั้ว, หมอลำเที่ยง, หมอลำสุบรรณ เป็นต้น แต่ที่ลำด้วยกันบ่อยที่สุด คือ หมอลำจอมศรี บรรลุศิลป์ จนกิตติศัพท์ดังไกลถึงหูของ นาย ต.เง็กชวน นายห้างเจ้าของห้างแผ่นเสียงตรากระต่าย ซึ่งมีความคิดที่จะนำศิลปินพื้นบ้านประจำภาคต่างๆ มาอัดแผ่นเสียงบ้าง จึงได้แสวงหาจากภูมิภาคต่างๆ สำหรับภาคอีสานนั้นได้ทราบว่า มีหมอลำชื่อดังของเมืองอุบลราชธานี คือ หมอลำคูณ ถาวรพงษ์ กับหมอลำจอมศรี บรรลุศิลป์ ท่านทั้งสองจึงได้ถูกชักชวนให้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยรถไฟ เมื่อเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2483 โดยมีหมอแคน คือ นายชื่น ทานให้ และ นายบัว มีทรัพย์ เพื่อบันทึกเสียง แผ่นเสียงที่นาย ต. เง็กชวน อัดออกจำหน่ายในครั้งนั้นคือ "ลำทางสั้น กลอนศีลห้า" และลำคู่กันคือ "ลำเว้าสาว" เป็นแผ่นเสียงชุดแรกและชุดสุดท้ายของท่านทั้งสอง มีการจำหน่ายเผยแพร่และได้รับการตอบรับอย่างดี ทำให้ชื่อเสียงของท่านทั้งสองโด่งดั่งมากขึ้นไปอีก จนมีงานลำมากมายทุกวันจนไม่มีเวลาพักผ่อน

koon tawonpong 01

ลำเว้าสาว - หมอลำคูณ-หมอลำจอมศรี

ในสมัยนั้น ยังไม่มีเครื่องขยายเสียง การลำต้องลำด้วยปากเปล่า การเดินทางต้องเดินด้วยเท้าบ้าง ใช้เกวียนบ้าง (ไม่ได้มีรถประจำทางอย่างสมัยนี้) ท่านเป็นหมอลำที่มีน้ำเสียงดี ก้องกังวาน ชัดเจน และถนัดในการลำกลอนเพอะ (สองแง่สองง่าม) คนทั่วไปจึงพากันตั้งฉายาให้ท่านว่า “หมอลำคูณหี” (เพราะกลอนลำของท่านเฉียดฉิวอยู่กับอวัยวะเพศชาย-หญิงนั่นเอง) แต่นิสัยของท่านนั้น เป็นคนมีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริต สันโดษ ไม่ดื่มสุราและไม่มีนิสัยทางชู้สาวเลย เป็นคนสุขุม ค่อนไปในทางเก็บตัว จึงมีลูกศิษย์น้อย ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงคือ หมอลำวังสถาน สิงห์ธรรม

ลำเว้าสาว - หมอลำคูณ-หมอลำจอมศรี

ในปี พ.ศ. 2487 หมอลำคูณได้ล้มป่วยลงด้วยอาการไข้ งดรับงานลำอยู่หลายปี ก่อนจะกลับมาลำได้ตามปกติ แต่อาการยังไม่สู้ดีนัก ในขณะที่ท่านลำที่บ้านโนนแดง ตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ท่านเกิดอาการไข้จับสั่น แต่ก็ฝืนลำฉลองงานไปตลอดคืนจนสว่าง สถานที่นี้คือเวทีลำสุดท้ายของท่าน ก่อนจะล้มป่วยลงอีกครั้ง และได้เสียชีวิตเมื่อปี 2488 อายุ 43 ปี

ลำกลอนตลก (ลำเพอะ) โดย หมอลำคูณหี (คูณ ถาวรพงษ์)

ลำชมสัตว์ต่างๆ โดย หมอลำคูณ ถาวรพงษ์

ลำชมเรือน โดย หมอลำคูณ ถาวรพงษ์

ลูกศิษย์เอกของหมอลำคูณ ถาวรพงษ์ ที่ได้สืบทอดการลำแบบกลอนเพอะไปได้ครบถ้วน และมีชื่อเสียงอีกคนหนึ่ง คือ หมอลำวังสถาน สิงห์ธรรม คนบ้านคำหว้า ตำบลคำหว้า อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี และนี่คือกลอนลำทางสั้นที่ชื่อกลอนว่า "มักโยนี"

ลำมักโยนี - หมอลำวังสถาน สิงห์ธรรม

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)