foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

paothai kalerng

ชนเผ่ากะเลิง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในหลายๆ กลุ่มที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนคร มีประวัติความเป็นมา การเลือกหลักแหล่งทำมาหากิน วัฒนธรรม ความเชื่อ ตลอดจนภาษาพูดที่มีสำเนียงหรือถ้อยคำที่นิยมใช้กันเฉพาะในกลุ่มของตน

paothai kalerng 00

ชาวกะเลิง (ข่าเลิง ข่ากะเลิง) ปี 2444 เครดิต : Mission Pavie

ชนเผ่ากะเลิง เป็นกลุ่มที่ชอบอาศัยอยู่ในพื้นที่ราบสูง ตามไหล่เขา และเมื่อกลุ่มกะเลิงลงมาอยู่พื้นที่ราบปะปนกับโย้ย ญ้อ ทำให้เกิดการรับวัฒนธรรมภาษาพูดในกลุ่มไทย-ลาว ชนเผ่ากะเลิง ก่อนจะอพยพมาอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง จากการสันนิษฐานของนักวิชาการ กล่าวไว้ว่า ชาวจีนเขียนไว้ว่า คุณลุน หรือกุรุง จนเพี้ยนเป็น กะลุง ในภาษาจาม

เมื่อชาวเขมรมาตั้งถิ่นฐานอยู่ตอนเหนือของเวียดนาม ได้ยืมคำนี้มาจากพวกจาม แหล่งที่อยู่ของชาวกะเลิงไม่ห่างจากเมืองเง่อาน ในบริเวณเทือกเขาจากทางทิศตะวันตก และคณะสำรวจดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง นำโดย ร.อ.เดอมาเกลฟ ได้กล่าวถึงถิ่นที่อยู่ของชนเผ่ากะเลิงว่า อยู่ที่ลุ่มแม่น้ำตะโปน และบริเวณต้นน้ำเซบังเหียน ชนเผ่ากะเลิงเป็นผู้ที่รักความสงบ

ชนเผ่ากะเลิง ในเขตจังหวัดสกลนคร เป็นที่ยอมรับกันว่า ได้อพยพมาจากดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง อพยพข้ามมาหลายครั้ง นับตั้งแต่การปราบปรามเจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในสมัยรัชกาลที่ 3 และอพยพครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเกิดกบฎจีนฮ่อ ที่ยกกำลังเข้ามาตีเมืองเชียงขวาง ชุมนุมพลอยู่ที่ทุ่งเชียงคำ เตรียมยกเข้าตีหัวเมืองริมฝั่งแม่น้ำโขง เมืองที่อยู่ในการปกครองของไทย คือเมืองหลวงพระบาง ก็ถูกคุกคามจากพวกฮ่อเช่นกัน ทำให้ไทยต้องยกกำลังไปปราบฮ่อหลายครั้ง พร้อมทั้งส่งแม่ทัพนายกองเกณฑ์ทหารจากหัวเมืองต่างๆ ในภาคอีสาน ไปช่วยปราบฮ่อด้วย

paothai kalerng 01

เมืองสกลนคร ถูกเกณฑ์ช้าง 25 เชือก โคต่าง 100 ตัว ข้าวสาร 300 ถัง กำลังพล 1,000 คน โดยมีอุปฮาด (โง่นคำ) กับราชวงศ์ (ฟอง) เป็นนายกองสะเบียงยกไป การทำศึกกับฮ่อหลายครั้ง ทำให้ผู้คนที่อยู่ตามเมืองต่างๆ เดือดร้อน วิตกกังวลถึงอันตรายที่เกิดขึ้น จึงได้มีการอพยพติดตามแม่ทัพนายกองเข้ามาอยู่ในเมืองต่างๆ โดยเฉพาะหมู่บ้านชนเผ่ากะเลิงในบริเวณใกล้ๆ ตัวเมืองสกลนคร เช่น บ้านนายอ บ้านนามน บ้านโพนงาม ที่มีชนเผ่ากะเลิงอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นชนเผ่ากะเลิงที่อพยพมาจากเมืองภูวานากะแด้ง ในสมัยพระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ)

ชนเผ่าไทกะเลิง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

ต่อมามีผู้นำชาวกะเลิงที่สมัครใจอพยพขึ้นไปตั้งหลักแหล่งบนเทือกเขาภูพาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบบ้านบัว อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานว่า เริ่มตั้งหลักแหล่งเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่า ชาวกะเลิงอพยพมาอยู่ประมาณ 150 ปีมาแล้ว

ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เกิดโรคระบาดที่เรียกว่า โรคห่า อย่างรุนแรง มีผู้คนเสียชีวิตจำนวนมาก จึงมีการอพยพหนีโรคร้ายบางกลุ่มไปตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บ้านเหล่า ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านบัวประมาณ 1 กิโลเมตร สำหรับบ้านบัวเป็นสถานที่แห่งแรกตั้งหมู่บ้านอยู่ริมห้วยทราย และมีหนองน้ำขนาดใหญ่มีกอบัว ดอกบัวบานสะพรั่ง ชาวบ้านจึงเรียกว่า บ้านบัวห้วยทราย แต่ต่อมาทางราชการเรียกว่า บ้านบัว เพื่อให้คำเรียกชื่อหมู่บ้านกระทัดรัด แสดงความสำคัญของหนองบัวในหมู่บ้าน ชาวกะเลิงมีลักษณะรูปร่างเตี้ย ผิวคล้ำ เป็นคนซื่อๆ ชอบสนุก และชอบอยู่ตามป่า ตามเขา หาอาหารโดยการล่าสัตว์ หญิงชาวกะเลิง เป็นคนขี้อาย แต่แข็งแรงอดทน

paothai kalerng 02

ประเพณีการแต่งกายของชาวกะเลิง แต่งกายด้วยเสื้อผ้าย้อมคราม ทอมือ เย็บด้วยมือ ชาวกะเลิง มีวัฒนธรรมการแต่งกาย ดังนี้

  • ผ้าซิ่น ใช้ด้าย 2 เส้นมาทำเกลียวควบกัน ใช้ทั้งผ้าฝ้ายธรรมดาและผ้าไหม เป็นผ้าตีนเต๊าะ แต่มีเชิงแถบเล็กๆ แคบ 2 นิ้ว นิยมสีเปลีอกอ้อย เข็นด้วยด้ายสีแดง เหลืองเป็นสายเล็กๆ นอกจากนี้ยังนิยมใช้ผ้าฝ้ายเข็น 2 เส้นควบกัน เช่น แดงควบเหลือง น้ำเงินควบขาว เขียวควบเหลือง ถ้าไม่ใช่เป็นผ้าตีนเต๊าะมักนุ่งสั้น
  • เสื้อ กะเลิงนิยมแต่งตัวกะทัดรัด เช่น ถ้านุ่งซิ่นผ้าฝ้ายสั้น มักใช้ผ้าทอพื้นบ้าน เป็นตาสี่เหลี่ยมเล็กๆ คาดอก โพกผ้าบนศีรษะ สะพายกะหยัง ขึ้นภูเก็บผักเก็บหญ้าส่วนกะเลิง ที่นุ่งซิ่นยาวคลุมเข่ามักสวนเครื่องประดับ เช่น สร้อยข้อมือทำด้วยรัตนชาติ หรือดินเผา ใส่ต่างหูเป็นห่วงกลม เสื้อแขนยาวสีขาวเหลืองเก็บชายเสื้อคาดเข็มขัดเงิน เป็นชุดที่ใช้ในงานมงคลต่างๆ นับเป็นเครื่องแต่งกายที่งดงามที่สุดของชาวเผ่ากะเลิงวัยหนุ่มสาว ส่วนกะเลิงสูงอายุ มักนุ่งซิ่นลายดำ ขาว แดง สวมเสื้อแขนกระบอกย้อมคราม ที่สาบเสื้อมีเหรียญสตางค์แดงติดเป็นแนวกระดุม เกล้าผมสูง

paothai kalerng 03

วิถีการดำเนินชีวิตของชาวกะเลิง เหมือนกับชาวอีสานทั่วไป คือ ยึดถือฮีตสิบสอง คองสิบสี่ เป็นหลักในการดำเนินชีวิต และมีคติความเชื่อถือในเรื่องผี นับถือผีมเหสักข์หลักบ้าน วิญญาณบรรพบุรุษ ผีตาแหก ผีป่า ผีเขา ประเพณีที่ชาวกะเลิง จัดทำเป็นงานบุญยิ่งใหญ่ คือ บุญเผวส (เทศน์มหาชาติ) ซึ่ง 3 ปี จะจัดให้มีขึ้นครั้งหนึ่ง เพราะสิ้นเปลืองค่าใช่จ่ายมาก นอกจากนี้ก็มีประเพณีเลี้ยงผีซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี

เซิ้งไทกะเลิงป้องหมู ของ ชนเผ่ากะเลิงบ้านกุดแฮด อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร

สมัยก่อน ชาวกะเลิงชายจะนิยมสักเป็นรูปนกที่แก้มดังผญาว่า "สักนกน้อยงอยแก้มตอดขี้ตา สักนกน้อยงอยแก้มจั่งงาม" ปัจจุบันยังพบชายชาวกะเลิง สักลายที่ขาและตามตัวบ้าง แต่ก็มีการสักรูปนกที่แก้ม ชายชาวกะเลิงในปัจจุบันแต่งกายเหมือนชายชาวอีสานทั่วไป หญิงชาวกะเลิงในสมัยก่อนแต่งกายโดยนุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่มีเชิง ไม่สวมเสื้อ ใช้แพเบี่ยงโต่งในเวลามีงานปกตินิยมเปลือยหน้าอก ซึ่งเรียกว่า ปละนม ไว้ผมยาว และผมมวยสวมกำไลข้อมือ ข้อเท้า และตุ้มหูเงิน นิยมทัดดอกไม้ ประเทืองผมด้วยขมิ้น ทาหน้าด้วยหัวกลอยและข้าวสาร บางคนนิยมมาถูฟันให้ดำงาม สวมรองเท้าที่ประดิษฐ์เองใช้วัสดุในท้องถิ่น เช่น ไม้ หนังสัตว์ กาบหมาก

ชนเผ่ากะเลิง อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร

ความเชื่อในเรื่องผีของชาวกะเลิง ไม่เคร่งครัดในพิธีกรรม เช่นบางเผ่า ชาวกะเลิงนับถือผี ดังนี้

  1. ผีเรือน ผีชาน (ชาวผู้ไทยเรียกว่า "ผีแจ") ถือกันว่าเป็นวิญญาณของพ่อแม่ บรรพบุรุษจะยังวนเวียนปกปักรักษาคุ้มครอง โดยอยู่ที่มุมใดมุมหนึ่งของบ้าน โดยเรียกว่า "แจ" ถ้าบ้านใดมีลูกเขย หรือลูกสะใภ้ จะเข้ามาที่มุมแจนั้นไม่ได้เป็นการผิดผี ต้องให้หมอเหยามาทำพิธี
  2. ผีหมู่บ้าน ผีหอ หรือ ผีมเหศักข์ เป็นที่เชื่อกันว่าเป็นผู้คุ้มครองทั้งหมู่บ้าน ชาวกะเลิงจะทำศาลในลักษณะของศาลพระภูมิเจ้าที่ไว้ในที่แห่งแห่งหนึ่ง เมื่อสิ้นปีซึ่งกำหนดในเดือน 3 ขึ้น 3 ค่ำ ชาวบ้านจะพากันไปเลี้ยงผี จะมี "เจ้าจ้ำ" เป็นเจ้าพิธี หลังจากนั้นจะมีการกินเลี้ยงรื่นเริงกันอย่างสนุกสนาน
  3. ผีนา หรือ ตาแฮก ซึ่งชาวบ้านจะบอกกล่าวเวลาหว่านหรือเก็บเกี่ยว อาจทำหรือตั้งศาลพระภูมิให้ตามนาก็ได้

ความเชื่อในเรื่องขวัญ ชาวกะเลิงเชื่อว่า เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือตกใจ หรือตกต้นไม้ ขวัญจะยังคงอยู่ในบริเวณนั้น เมื่อต้องการให้ขวัญเข้าร่างกายจะต้องหาภาชนะ หรือผ้าขาวม้าไปซ้อนขวัญกลับมาสู่ร่างของผู้ได้รับอุบัติเหตุนั้นๆ จากนั้นจะผูกข้อต่อแขนผู้ประสบอุบัติเหตุเจ้าของขวัญ ส่วนการตั้งเครื่องบูชารับขวัญ หรือใช้สวิงซ้อนขวัญ เช่นบางพวกนั้นจะไม่ปรากฏในหมู่กะเลิง

ฟ้อนหมากเบ็ง ของ ของนักเรียนชาวไทกะเลิงคำเตย จังหวัดนครพนม

วัฒนธรรมกะเลิงนั้งนับแต่จะสูญหายไปทีละน้อยๆ ไม่เพียงจะเกิดจากการผสมปนเปกับเผ่าอื่นเท่านั้น แต่หากหมายถึงความสะดวกสบายที่มีถนนหนทาง ซึ่งมีผลให้วัฒนธรรมแบบเมืองเข้ามามีอิทธิพลรวดเร็ว หนุ่มสาวกะเลิงนุ่งยีนส์แทนนุ่งซิ่น แม่กล่อมลูกด้วยเพลงไทยสากล หรือเพลงลูกทุ่งแทนการกล่อมด้วยภาษากะเลิง การทำมาหากินที่ฝืดเคืองเท่านั้นที่ช่วยให้พวกกะเลิงยังไม่เป็นคนแบบคนเมือง มิฉะนั้นเราจะไม่รู้ว่าใครเป็นกะเลิงฯ

paothai kalerng 05

ชนเผ่ากะเลิง บ้านหนองสังข์ ตำบลหนองสังข์ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

redline

 

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)