foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

how2teach farang

standเรื่องของพระฝรั่ง 

เรื่องที่มีญาติโยมสงสัยกันมาก คือ เมื่อเข้ามาในวัดป่าพงแล้ว จะเห็นพระฝรั่งเดินไปเดินมาอยู่ ในวัดจึงสงสัยว่า

"หลวงพ่อสอนพระฝรั่งอย่างไร พระฝรั่งจะอยู่ร่วมกับพระไทยอย่างไร เพราะความเป็นอยู่คุ้นเคยแต่เดิมมาต่างกัน"

คำถามนี้หลวงพ่อคงได้ยินอยู่บ่อยๆ ด้วยทราบว่าท่านก็พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ถนัดที่สุดก็ภาษาลาว (อีสาน) จนบางครั้งหลวงพ่อก็ต้องคลายข้อสงสัยเขา โดยการถามเขาย้อนกลับไปว่า "โยม ที่บ้านโยมเลี้ยงหมา เลี้ยงแมวไหม?"

พวกเขาต่างก็ตอบกันเซ็งแซ่ว่า "เลี้ยงอยู่ครับ (ค่ะ)"

ท่านจึงกล่าวต่อว่า "โยมเลี้ยงหมาต้องพูดภาษาหมาไหมล่ะ พระฝรั่งก็เช่นกันมิได้แตกต่าง จากพระไทยเลย ท่านมาบวชเพื่อแสวงหาหนทางดับทุกข์เหมือนกัน ใหม่ๆ ก็อาจมีความรู้สึกว่า ภาษาเป็นอุปสรรคกั้น อยู่ไปๆ ก็สบาย เช่น พระฝรั่งมาใหม่ๆ ฉันอาหารก็ไม่ลง อยู่ไปๆ บางองค์ฉันปลาร้าเก่งกว่าพระไทยอีก"

dog monk

น้ำร้อน น้ำฮ้อน 'hot water' ความร้อนที่เกิดขึ้นมันก็คือกัน ต่างกันก็แค่ภาษาบัญญติสมมติ จะพูดอย่างไร เมื่อนำมือจุ่มลงไปก็รู้สึกเช่นเดียวกัน เป็นธรรมะ "

การตอบปัญหาของหลวงพ่อ

พวกเราเคยสงสัยว่า ทำไม? หลวงพ่อตอบได้หลายปัญหา เช่น ครั้งหนึ่ง ท่านได้รับนิมนต์ให้ฉันภัตตาหารในพระบรมมหาราชวัง เนื่องในพิธีวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งหลวงพ่อกลับมาเล่าให้ฟังว่า "มีพระ 9 รูป เป็นพระป่า 3 รูป หลังจากที่สมเด็จพระญาณสังวรถวายเทศน์แล้ว สมเด็จฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ถวายจตุปัจจัยองค์ละสองหมื่นห้าพันบาท ส่วนองค์เทศน์ถวายห้าหมื่นบาท"

lp cha 04

ภายหลังเทศน์จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนิมนต์พระป่าเพื่อซักถามปัญหาส่วนพระองค์ ปีนั้นเป็นปีที่บ้านเมืองกำลังระส่ำระสาย นักศึกษากำลังมีเรื่องประท้วงกับรัฐบาล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรัสถามพระป่าทั้งสามรูปถึงปัญหาของบ้านเมือง และทรงถามความเห็นว่า ท่านควรจะวางพระองค์อย่างไรในสถานการณ์เช่นนี้ พระอีกสองรูปให้วางอุเบกขา แต่ไม่ได้อธิบายอะไรต่อ ครั้นมาถึงหลวงพ่อ ท่านก็ตอบว่า "การวางเฉยนั้นต้องมีปัญญาเข้าประกอบด้วย การวางเฉยอย่างมีปัญญาจะต้องศึกษาว่า เหตุการณ์เป็นอย่างไร ควรใช้สติปัญญา พิจารณาถึงการควร การไม่ควร" ท่านเล่าว่าพอตอบเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแย้มพระสรวล

การเล่าเรื่องต่างๆ นี้ หลวงพ่อไม่เคยปิดบัง พบเห็นอะไรมาก็นำมาเล่าให้ลูกศิษย์ฟัง ปกครองเหมือนพ่อกับลูก ดังนั้นเมื่อลูกศิษย์ถามว่า "ท่านใช้หลักใดตอบปัญหา" ท่านก็บอกว่า "ปัญหาก็คือปัญหา การตอบก็ไม่ได้ตั้งจิตว่า ต้องการเอาแพ้หรือเอาชนะ แต่ก็ใช้จิตหยั่งสภาวะดู แล้วใช้ปัญญาตอบไปโดยธรรม ให้ตั้งพรหมวิหารธรรมไว้ในใจอยู่เสมอ และสอดแทรกธรรมแห่ง การปฏิบัติลงไปเท่าที่จะเป็นได้"

lp cha 05

แลกทุกข์กันไหม?

วันหนึ่ง ขณะที่ธุดงค์ไปพักที่วัดถ้ำแสงเพชร ซึ่งอยู่ไกลจากอำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ พอสมควร ปรากฏว่า มีโยมอุปัฏฐากที่เป็นผู้มีหน้า มีตา ของอำเภอ และเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักปฏิบัติ มานั่งร้องไห้ต่อหน้าหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ยังคงนั่งเฉยอยู่ จนเมื่อโยมได้สร่างโศกลงบ้าง ท่านก็ถามว่า "เป็นอะไรล่ะ จึงนั่งร้องไห้" โยมผู้นั้นเล่าว่า รถที่เพิ่งซื้อมาใหม่ถูกขโมยไปแล้ว แต่หลวงพ่อก็นั่งเงียบ เผอิญก็มีโยมผู้ชายคนหนึ่งมาพร้อมกับญาติ พอกราบหลวงพ่อเสร็จก็ร้องไห้ เป็นวรรคเป็นเวรเช่นกัน หลวงพ่อนั่งคอยจนเขาพอพูดได้ ก็ถามด้วยคำถามเดิมว่า "เป็นอะไรไปล่ะ"

เขาก็ตอบว่า "เมียตายสองคน ลูกตายสองคน" (เผอิญชายคนนี้มีภรรยาสองคน อยู่ในบ้านเดียวกัน) หลวงพ่อก็ถามต่อว่า "เป็นอะไรตายล่ะ" โยมผู้ชายก็ตอบว่า "กินเห็ดเบื่อตาย"

หลวงพ่อหันไปถามโยมผู้หญิงที่ยังน้ำตาซึม แต่ก็นั่งเงียบฟังโยมผู้ชายเล่าอยู่ด้วยและพูดว่า "แลกกันไหมล่ะ ดูซิ ของเขาลูกเมียตายตั้งสี่คน ของโยมรถหายคันเดียว โลกนี้เป็นอย่างนี้แหละ มีความปรารถนาอะไรแล้วไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ไม่อยากให้รถหาย มันก็หาย ไม่อยากให้ลูกเมียตาย ก็ตาย ใครจะห้ามได้ ชีวิตทุกชีวิตเป็นอย่างนี้แหละ ใครอยากล่ะ โยม อยากให้รถหายไหม โยมอยากให้ลูกเมียตายไหม"

ทั้งคู่ก็ตอบรับหลวงพ่อว่า "ไม่อยากค่ะ (ครับ)"

หลวงพ่อกล่าวต่อไปว่า "เป็นอย่างนี้แหละ ความโศก ความร่ำไรรำพัน ให้เราพิจารณาดู ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเราไม่หนีมัน มันก็หนีเรา คนก็เหมือนกัน เราไม่จากเขา เขาก็จากเรา มันอยู่ที่ ใครไปก่อนใครเท่านั้นเอง บางทีวัตถุก็ไปก่อนเรา บางทีเราก็ไปก่อนวัตถุ บางทีคนใกล้ชิดเราเขา ก็ไปก่อน บางทีเราไปก่อนเขา มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของกรรม ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม เราย่อมมีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นผู้ติดตาม ให้ผล ไม่ว่าบุญหรือบาป ดีหรือชั่วก็ตาม เราจะต้องรับกรรมนั้นโดยแน่นอน"

cha 4

พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)

ภาพเหมือนสีปาสเตล ฝีมือ อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต

สำหรับโยมผู้ชายนั้น โยมผู้หญิงกับลูกเขาทำกรรมกับเรามาแค่นี้ เขาตายไปเขาก็ไม่ขออนุญาตเรา ไม่บอกเรา ไม่ได้เขียนใบลา เขาก็ตายไป โยมผู้หญิงก็เช่นกัน รถคันนี้มันทำกรรมกับโยมมาแค่นี้ รถมันก็ไม่บอกเราก่อนว่ามันจะถูกขโมยแล้วนะ อยู่ๆ มันก็หายไป ดังนั้นให้เราเห็นว่า เป็นธรรมดาของทุกสิ่งทุกอย่าง เราไม่หนีมัน มันก็หนีเรา เราเกิดมาเป็นอะไร เกิดที่ไหน เกิดมากี่ครั้งๆ โลกก็เป็นเช่นนี้ เราเองต่างหากที่ไปอุปาทานว่า นี่รถของเรา นี่ลูกนี่เมียของเรา รถมันไม่เคย บอกนะว่ามันเป็นของเรา เราไปซื้อมันมาตกแต่ง มารักมันเอง ที่จริงรถมันไม่ได้เป็นของใคร

มันเป็นของธรรมชาติที่ไหลไปตามเหตุปัจจัย มนุษย์ไปสมมุติขึ้นมา แล้วยึดว่าเราเป็นเจ้าของ เมื่อมันหาย ไปให้เราคิดว่า นั่นเป็นการคืนกลับสู่ธรรมชาติ โยมผู้ชายก็เหมือนกัน ลูกเมียก็เสียไปแล้ว พิจารณา มองให้เห็นว่าเป็นทุกข์ ไม่ใช่พอสร่างโศกก็ไปหามาใหม่ เป็นการเพิ่มทุกข์ขึ้นมาอีก เราควรทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล ทำภาวนา แผ่ให้ผู้ตายบ้าง เราเองก็ต้องตาย ไม่แน่ว่าเมื่อไร ขอให้เข้าใจสัจธรรม ของธรรมชาติ

lp cha 06

หลวงพ่อกล่าวเป็นสังเขป พอให้โยมสร่างทุกข์ หน้าที่ของพระก็คือ แก้ไขทุกข์ โดยคิดว่า ทุกคนเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น เมื่อกล่าวไปแล้วก็ไม่ได้คิดปรุงว่า จะแก้ได้หรือไม่ได้ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมีคำตอบอยู่ในตัวมันเองอยู่แล้ว ผู้มีปัญญาก็จะค้นหาคำตอบ ของปัญหาของเขาเองได้ในที่สุด

wat nong papong 06

ทำบุญกับพระวัดไหนดี?

เคยมีโยมได้ปรารภกับหลวงปู่ชาว่า “หลวงพ่อ ข้าน้อยมีความสงสัยอยู่ข้อหนึ่งเกี่ยวกับการทำบุญสุนทาน ถ้าจะหาพระสงฆ์อยู่ตระกูลหลวงพ่อนั้น หายาก โดยมากมีแต่สายปริยัติธรรมดา ถ้าจะเลือกก็ไม่ได้ทำบุญ จะให้ทำอย่างไรดี ข้าน้อยทำบุญตักบาตรเกิดข้อลังเลสงสัยอยู่”

LP Cha

หลวงปู่ชาตอบว่า “การทำบุญนั้น พึงตั้งใจไว้เป็นกลางๆ ให้สบาย เมื่อเป็นของบริสุทธิ์ได้มา เวลาใส่บาตรก็ยกขึ้นอธิษฐานเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชาโน่น ส่วนพระเณรที่มารับเป็นเพียง 'บุรุษไปรษณีย์' ที่รับส่งบุญเท่านั้น แล้วก็ทำไปเถอะ ไม่ต้องคิดอะไรมาก”

โยมประณมมือว่า “สาธุ ข้าน้อยสบายใจแล้ว จะได้ถือปฏิบัติต่อไป”

[ อ่านเพิ่มเติม : ดอกบัวบานทางทิศตะวันตก ]

redline

backled1

ariya boocha

วัดหนองป่าพง กำหนดให้มีการปฏิบัติธรรม ถือศีลแปด เป็น "อาจริยบูชารำลึก พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)" ระหว่างวันที่ 12-17 มกราคม เป็นประจำทุกปี  โดยมีพระภิกษุสงฆ์ สามเณร จากวัดสาขาต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ มาร่วมปฏิบัติธรรมจำนวนมาก

ajariya bucha 2567 1

นอกจากนี้ยังจะมี พระอาจารย์จากวัดต่างๆ มีเมตตามาแสดงธรรมเทศนานับร้อยรูป ตลอดช่วงเวลาจัดงาน โดยเฉพาะในวันที่ 16 มกราคม อันเป็นวันมรณภาพของหลวงพ่อชา จะถือเนสัชชิก จะมีพระอาจารย์จากวัดต่างๆ เวียนกันมาแสดงธรรมให้ฟังตลอดคืน ก่อนจะแยกย้ายในเช้าวันที่ 17 มกราคม

ในปีพุทธศักราช 2567 นี้ กำหนดการ งานปฏิบัติธรรมอาจริยบูชา พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท)" ระหว่างวันที่ 12-17 มกราคม 2567 ณ วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ajariya bucha 2563 03

เรื่องแจ้งให้ทราบครับ

ามที่มีผู้สอบถามกันมาเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับ "การโอนปัจจัยเพื่อร่วมทำบุญ" ใน งานปฏิบัติธรรมอาจริยบูชา พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) นั้น

ขอเรียนให้ทราบทั่วกันว่า ทาง "วัดหนองป่าพง" ไม่มีการเปิดรับบริจาค หรือ มีเบอร์บัญชีธนาคารเพื่อรับโอนปัจจัยสำหรับงานนี้

หากท่านไม่สามารถร่วมเดินทางไปงานได้ แนะนำให้ฝึกนั่งสมาธิภาวนาที่บ้าน รักษาศีลห้า ศีลแปด ตามแต่สะดวก ก็ถือได้ว่าท่านมีส่วนในการทำบุญร่วมกับงานนี้แล้วครับ "

เพราะจุดประสงค์ของงานมีเพื่อให้มีการร่วมกันปฏิบัติธรรม ถือศีลแปด เพื่อเป็นอาจริยบูชารำลึกถึง พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)

ซึ่งในขณะที่หลวงปู่ชายังไม่มรณภาพ ท่านจะเน้นสอนให้ญาติโยมเร่งปฏิบัติภาวนากัน  หากเรานับถือศรัทธาหลวงปู่ชา ก็ควรทำตามคำสั่งสอนของท่านครับ

ต้องขออภัยในความไม่สะดวกครับ

กำหนดการจัดงานอาจาริยบูชา 12-17 มกราคม 2566

วันที่ 12 มกราคม

  • เวลา 09.00 น. ลงทะเบียน และเข้าที่พักที่จัดให้ พระภิกษุ สามเณร และอุบาสก อุบาสิกา
  • เวลา 14.00 น. ดูแลปัดกวาดบริเวณวัดให้เรียบร้อย และสรงนํ้า อาบนํ้า
  • เวลา 16.00 น. ฉันนํ้าปานะ และเดินจงกรม
  • เวลา 17.45 น. สัญญาณระฆัง
  • เวลา 19.00 น. ทำวัตรเย็น นั่งสมาธิ
  • เวลา 21.00 น. สมาทานศีล 8 และฟังพระธรรมเทศนา
  • เวลา 22.00 น. พักตามอัธยาศัย

ajariya bucha 03

วันที่ 13-15 มกราคม

  • เวลา 02.45 น. สัญญาณระฆัง
  • เวลา 03.15 น. ทำวัตรเช้า นั่งสมาธิ
  • เวลา 05.00 น. พระภิกษุ สามเณร จัดโรงฉัน
  • เวลา 05.30 น. พระภิกษุ สามเณร ออกรับบิณฑบาต
  • เวลา 06.00 น. อุบาสก-อุบาสิกา เดินจงกรม
  • เวลา 08.00 น. รวมกันที่ธรรมศาลา ฟังพระธรรมเทศนา กล่าวคำถวายสังฆทาน และฉันภัตตาหาร
  • เวลา 10.00 น. ล้างบาตร รวมฟังโอวาทที่โรงฉัน กราบพระ เลิกพร้อมกัน
  • เวลา 12.00 น. พักผ่อน
  • เวลา 13.00 น. สัญญาณระฆัง
    - พระภิกษุ สามเณร นั่งสมาธิรวมกันที่อุโบสถ
    - อุบาสก /อุบาสิกา นั่งสมาธิรวมกันที่ธรรมศาลา
  • เวลา 14.00 น. ฟังพระธรรมเทศนา
  • เวลา 15.00 น. ฉันนํ้าปานะที่โรงฉัน ทำภารกิจส่วนตัว
  • เวลา 16.00 น. รวมกันเดินจงกรม
  • เวลา 19.00 น. ทำวัตรเย็น นั่งสมาธิ
  • เวลา 21.00 น. ฟังพระธรรมเทศนา
  • เวลา 22.00 น. พักตามอัธยาศัย

วันที่ 16 มกราคม

  • เวลา 02.45 น. สัญญาณระฆัง
  • เวลา 03.15 น. ทำวัตรเช้า นั่งสมาธิ
  • เวลา 05.00 น. พระภิกษุ สามเณร จัดโรงฉัน
  • เวลา 05.30 น. พระภิกษุ สามเณร ออกรับบิณฑบาต
  • เวลา 06.00 น. อุบาสกอุบาสิกา เดินจงกรม
  • เวลา 08.00 น. รวมกันที่ธรรมศาลา ฟังพระธรรมเทศนา กล่าวคำถวายสังฆทาน และฉันภัตตาหาร
  • เวลา 10.00 น. ล้างบาตร รวมฟังโอวาทที่โรงฉัน กราบพระ เลิกพร้อมกัน
  • เวลา 12.00 น. พักผ่อน
  • เวลา 13.00 น. สัญญาณระฆัง
    - พระภิกษุ สามเณร นั่งสมาธิรวมกันที่อุโบสถ
    - อุบาสก /อุบาสิกา นั่งสมาธิรวมกันที่ธรรมศาลา
  • เวลา 14.00 น. ฟังพระธรรมเทศนา

ajariya bucha 02

  • เวลา 15.00 น. รวมจัดแถวพร้อมเพรียงกัน (พร้อมด้วยดอกไม้ ธูป เทียน) เดินจากธรรมศาลาสู่ลานเจดีย์พระโพธิญาณเณร ทำประทักษิณรอบเจดีย์
    กล่าวคำถวายสักการะ เสร็จแล้ว ฉันนํ้าปานะที่โรงฉัน ทำภารกิจส่วนตัว
  • เวลา 17.45 น. สัญญาณระฆัง
  • เวลา 19.00 น. ทำวัตรเย็น นั่งสมาธิ
  • เวลา 21.00 น. ฟังพระธรรมเทศนาตลอดคืน

วันที่ 17 มกราคม

  • เวลา 05.30 น. พระภิกษุ สามเณร ออกรับบิณฑบาต
  • เวลา 08.00 น. ทำพิธีถวายเครื่องสักการะ แด่พระโพธิญาณเถระ กล่าวถวายสังฆทาน และฉันภัตตาหาร
  • เวลา 09.00 น. ล้างบาตร เก็บบริขาร ฟังโอวาทที่โรงฉัน กราบพระ เลิกพร้อมกัน แยกย้ายกันกลับอาวาส

ajariya bucha 01

ระเบียบปฏิบัติของผู้ที่จะร่วมงาน

  • ห้ามซื้อขายสินค้าใดๆ ภายในบริเวณเขตวัด
  • ห้ามเรี่ยไรเงินภายในบริเวณเขตวัด หากประสงค์จะบริจาค ขอเชิญบริจาคได้ที่กองอํานวยการหลังพิพิธภัณฑ์เท่านั้น
  • หน่วยงานที่จะจัดทำโรงทานให้ลงทะเบียนที่จุดประสานงาน จุดประสานงานโรงทานหน้าพิพิธภัณฑ์
  • หน่วยงานที่จะจัดทำโรงทาน ควรจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ มาเอง
  • โรงทานหยุดปรุงอาหารตั้งแต่เวลา 18.00 น. และบริการแจกทานจนเสร็จห้ามเกิน 19.00 น 
  • โรงทานทุกโรงทาน ให้ติดแผ่นป้ายชื่อโรงทาน รวมทั้งวัดสาขาขนาดไม่เกิน 1 x 2 เมตร
  • ขอความร่วมมืองดใช้โฟมใส่อาหารแจกทาน ควรใช้ใบตอง หรือวัสดุที่ย่อยสลายได้ จะมีกลุ่มนักเรียนจาก โรงเรียนทอสี และโรงเรียนปัญญาประทีป บริการจุดทิ้งขยะเพื่อนำไป Recycle ขอความกรุณาให้ความร่วมมือด้วย
  • ขอความร่วมมือโรงทานตอนเช้า แจกทานให้ผู้ปฏิบัติธรรม (ชุดขาว) ได้เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป
  • วันที่ 16 มกราคม โรงทานปิดแจกทานตั้งแต่เวลา 11.00 น. เพื่อทําประทักษิณรอบเจดีย์ (ไม่มีโรงทานจรตามมติที่ประชุมสงฆ์)
  • โรงทานเมื่อแจกทานเสร็จแล้วควรรักษาความสะอาดภายในโรงทานให้เรียบร้อย และเก็บขยะออกไป ภายนอกวัดด้วย
  • ขอความร่วมมือโรงทานงดใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในการปรุงอาหาร เนื่องจากจะทําให้กระแสไฟฟ้าเกิดการขัดข้อง และดับทั่วบริเวณเป็นอุปสรรคในการใช้งานในส่วนอื่นๆ ที่สำคัญ
  • ผู้เข้าปฏิบัติธรรมให้ลงทะเบียนที่ กองอำนวยการด้านหลังอาคารพิพิธภัณฑ์
  • แม่ชีที่มาปฏิบัติธรรมให้ไปลงทะเบียนที่สำนักชีเท่านั้น
  • อุบาสก (ผู้ชาย) สวมกางเกงขายาวสีขาวและเสื้อสีขาว อุบาสิกา (ผู้หญิง) สวมเสื้อสีขาวและผ้าถุงสีขาวหรือดำ ไม่บางเกินไป
  • กรุณาเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ที่จำเป็นมาเอง คือ กลดหรือเต็นท์ ไฟฉาย หมอน ผ้าห่ม (อากาศค่อนข้างหนาวเตรียมเสื้อกันหนาวด้วยก็ดี) ผ้าปูนั่ง เครื่องใช้ส่วนตัว เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ ขวดน้ำประจำตัว ภาชนะใส่อาหาร ช้อน ฯลฯ เตรียมชุดขาวมาเปลี่ยนด้วย และควรเตรียมมาพอกับจำนวนวันที่อยู่ เพื่อไม่ต้องยุ่งยากในการหาซักผ้า ตากผ้า และผู้มีโรคประจำตัวควรนำยาติดตัวมาด้วย งดนำเครื่องประดับและของมีค่าติดตัว ในระหว่างเข้าร่วมปฏิบัติธรรม งดสูบบุหรี่
    (พระภิกษุ สามเณร ต้องเป็นกลดเท่านั้น เป็นไปได้ให้ใช้จีวรสีแก่นหรือสีบวร เพื่อความกลมกลืนกับพระสายหนองป่าพง ที่ย้อมจีวรด้วยแก่นขนุน)
  • ผู้มาปฏิบัติธรรมรับประทานอาหารเช้าหลังเวลา 06.30 น. และควรงดรับอาหารหลังเวลา 12.00 น.

ญาติโยมที่มีจิตกุศลจะร่วมทำโรงทานในงานอาจริยบูชา ประจำปี 2566 โปรดติดต่อ

  • คุณอรดี โทร. 062-120-3396
  • คุณเชตยา โทร. 085-313-5888

ajariya bucha 2563 05

สำหรับท่านที่สนใจจะเดินทางไปปฏิบัติธรรม เรามีรายละเอียดการเดินทางมาแนะนำดังนี้

  • เดินทางด้วยเครื่องบิน ไปลงที่สนามบินนานาชาติอุบลราชธานี ซึ่งมีบริการหลายเที่ยวบินต่อวันดังตารางข้างล่างครับ

 flight schedule 1 2567

  • เดินทางโดยรถไฟ ปลายทางที่สถานีอุบลราชธานี (อำเภอวารินชำราบ) มีรถนอนอีสานวัฒนา และขบวนอื่นๆ ตามตารางในเว็บไซต์นี้
  • เดินทางโดยรถทัวร์ มีหลายบริษัทบริการทั้ง บขส.(ด่วน 999) รุ่งประเสริฐทัวร์ พิบูลทัวร์ ชนะภัยทัวร์ นครชัยแอร์ และอื่นๆ แนะนำ บริษัท นครชัยแอร์ ครับ

จาก สนามบิน สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง และสำนักงานบริษัทรถทัวร์ สามารถเรียกใช้บริการแท็กซี่ รถเมล์ รถสองแถว หรือรถรับจ้างต่างๆ ได้ หมายเลขโทรศัพท์เรียกใช้บริการแท็กซี่ (ซึ่งมีจำนวนมากทีเดียวครับ จากจำนวนป้ายทะเบียนขนส่งมากกว่า 550 คัน ทั้งแท็กซี่บริษัทฯ สีน้ำเงิน-เหลือง แท็กซี่ส่วนบุคคล สีส้ม-เหลือง) มีดังนี้

  • บริษัท แท็กซี่อุบล จำกัด 045-256111-2
  • บริษัท แท็กซี่มิเตอร์พัฒนา จำกัด 045-265999
  • บริษัท แท็กซี่สหกรณ์อุบล จำกัด 045-283283
  • บริษัท แท็กซี่อุบลบริการดี จำกัด 045-280333
  • บริษัท แท็กซี่สหการอุบล จำกัด 045-280888
  • บริษัท แท็กซี่ V.I.P จำกัด 045-284111, 045-280028
  • บริษัท แท็กซี่อุบลพัฒนากิจ จำกัด 045-265265

ajariya bucha 2563 06

แผนที่เดินทางไปวัดหนองป่าพง

map ubon pahpong big

คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพขยายขนาดใหญ่

แผนที่การจัดการจราจรภายในบริเวณวัด

map traffic wat nong papong

การจัดการจราจรภายในและรอบบริเวณวัด

ปัญหาคาใจที่ท่านสอบถามกันมา รวมมาตอบให้ ณ ที่นี้

Q : ต้องอยู่ปฏิบัติตั้งแต่ 12 -17 มกราคมไหม ?
A : ไม่จำเป็น จะอยู่กี่วันก็ได้ตามที่ท่านสะดวกและมีเวลาพอ

Q : ผู้หญิงใส่กางเกง หรือผ้าถุงสีต่างๆ ได้ไหม
A : ถ้าจะอยู่ค้างแรมปฏิบัติธรรม ควรปฏิบัติตามระเบียบ คือสวมใส่ผ้าถุงสีดำหรือขาว เสื้อสีขาว ไม่บางจนมองเห็นสัดส่วน

Q : ทางวัดจะมีรถรับ-ส่งจาก สนามบิน สถานีขนส่ง หรือท่ารถทัวร์ สถานีรถไฟไหม?
A : ไม่มีครับ มีรถสาธารณะ เช่น รถสองแถว รถแทกซี่มิเตอร์บริการครับ

        เบอร์โทรศัพท์ศูนย์แท็กซี่แต่ล่ะบริษัทในอุบลราชธานี

  • บริษัท แท็กซี่อุบล จำกัด 045-256111-2
  • บริษัท แท็กซี่มิเตอร์พัฒนา จำกัด 045-265999
  • บริษัท แท็กซี่สหกรณ์อุบล จำกัด 045-283283
  • บริษัท แท็กซี่อุบลบริการดี จำกัด 045-280333
  • บริษัท แท็กซี่สหการอุบล จำกัด 045-280888
  • บริษัท แท็กซี่ V.I.P จำกัด 045-284111, 045-280028
  • บริษัท แท็กซี่อุบลพัฒนากิจ จำกัด 045-265265

Q : ต้องนำเต้นท์ไปเองใช่ไหม
A :ใช่ครับ มีบริเวณให้กางเต้นท์เป็นเขตอุบาสก และอุบาสิกา

Q : เบอร์โทร หรือ line ติดต่อในการลงทะเบียน
A : ไม่มีครับ ลงทะเบียนตามกำหนดการในเช้าวันงานที่วัดหนองป่าพงครับ

Q : ต้องการร่วมบุญ ขอเลขบัญชี
A : งานนี้ไม่มีการขอรับบริจาคหรือเรี่ยไรแต่อย่างใดครับ

Q : พระที่ไม่ใช่สายวัดหนองป่าพง ไปร่วมงานได้ไหม
A : ไปได้ครับ แต่รบกวนท่านนำกลดมาด้วยครับ ไม่มีกุฏิเพียงพอครับ

Q : มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมงานปฏิบัติธรรมไหม
A : ไม่มีครับ หากพบเห็นการเดินเรี่ยไร หรือเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายใดๆ หรือค่าบำรุงวัดใดๆ ขอความกรุณารีบแจ้งทางกองอำนวยการทันที เพื่อจะได้เอาผิดกับผู้แอบอ้างนะครับ

Q : มีบริการอาหาร/เครื่องดื่มไหม

A : จะมีโรงทานจากญาติโยม สานุศิษย์ ที่มาตั้งบริการจำนวนมากครับ แต่แนะนำท่านได้เตรียมภาชนะส่วนตน (ถ้วย/จาน/ช้อน) มาด้วยเพื่อลดปริมาณขยะให้มีน้อยที่สุดครับ

ajariya bucha 2563 07
ขอบคุณภาพประกอบจาก คุณสุขสันต์ แก้วสง่า (นายเต้าทึง) ครับ

redline

backled1

LP Sing header

หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระภิกษุผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามพระธรรมวินัย เอาใจใส่การศึกษาปฏิบัติธรรม มีความรู้ความเห็นลึกซึ้ง มีปฏิภาณเทศนาแจ่มแจ้ง โวหารไพเราะจับใจ มีชื่อเสียงด้านวิปัสสนาธุระ ธรรมบาลี อักษรสมัย และวิทยาคม เป็นบุคคลที่มีจิตใจหนักแน่น ประพฤติพรหมจรรย์ บำเพ็ญวิปัสสนาธุระตลอดชีวิต จนได้รับขนานนามว่า "แม่ทัพธรรมพระกรรมฐาน"

สิงห์ ขนฺตยาคโม

พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ หรือ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม (27 มกราคม พ.ศ. 2432 - 8 กันยายน พ.ศ. 2504) เป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ชาวจังหวัดอุบลราชธานี พระป่ากรรมฐานศิษย์องค์สำคัญของ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

LP Sing 01

ชาติกำเนิด

หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม นามเดิมชื่อ สิงห์ บุญโท ถือกำเนิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 3 ปีฉลู เอกศก จุลศักราช 1251 ตรงกับวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2432 ณ บ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งในปัจจุบันคือ บ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ บิดาชื่อ เพียอินทวงษ์ (อ้าน บุญโท) มารดาชื่อ หล้า บุญโท ท่านเป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 7 คน (บุตรคนที่ 5 คือ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ป.ธ.5 พระน้องชายของหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม)

บรรพชา

ปี พ.ศ. 2446 เมื่อท่านอายุได้ 14 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ สำนักพระอุปัชฌาย์ป้อง ณ วัดบ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี

ปี พ.ศ. 2449 เมื่อท่านอายุ 17 ปี ได้ย้ายไปอยู่ วัดสุทัศน์ เมืองอุบลราชธานี เพื่อศึกษาเล่าเรียนวิชาความรู้ให้ยิ่งขึ้น และได้บวชซ้ำเป็นสามเณรธรรมยุตในสำนักพระครูสมุห์โฉม ณ วัดสุทัศน์ เมืองอุบลราชธานี เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตรงกับวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2449 ในปัจจุบันคือ วัดสุทัศนาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

อุปสมบท

ปี พ.ศ. 2452 เมื่อท่านอายุ 20 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดสุทัศน์ เมืองอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 โดยมี พระศาสนดิลก (อ้วน ติสฺโส) ต่อมาดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาเสน ชิตเสโน ต่อมาดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนดิลก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระปลัดทัศน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และได้พำนักจำพรรษา ณ วัดสุทัศน์ เมืองอุบลราชธานี แห่งนี้ ในปัจจุบันคือ วัดสุทัศนาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล กับ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ณ วัดสุทัศน์ จังหวัดอุบลราชธานีเมื่อ ปี พ.ศ. 2458 หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้กลับจากเขาสาริกา จังหวัดนครนายก ไปพักจำพรรษา ณ วัดบูรพาราม จังหวัดอุบลราชธานี มีกิตติศัพท์ขจรไปว่า ท่านได้สำเร็จธรรมจากเขาสาริกา ดังนั้น พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม จึงได้ไปศึกษากรรมฐานกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านให้กรรมฐาน กายคตาสติ ข้อ ปัปผาสะ ปัญจกะ (คือ หทยํ ยกนํ กิโลมกํ ปิหกํ ปปฺผาสํ) ให้เป็นบทบริกรรม ในช่วงปีนี้ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้ถวายตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พร้อมกับเพื่อนสหธรรมิกคือ พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล เมื่อได้ถวายตัวเป็นศิษย์และได้ฝึกทำสมาธิกับครูบาอาจารย์ จิตใจสงบดี มีความสังเวชสลดใจเกิดความเบื่อหน่ายในการประกอบคันถธุระ เชื่อแน่ว่ายังไม่หมดเขตสมัยมรรคผลนิพพาน เพราะหนทางการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีอยู่ จึงตกลงบำเพ็ญด้านวิปัสสนาธุระสืบไป และได้ออกธุดงค์ติดตาม หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต นับแต่นั้นมาไป ซึ่งท่านได้ธุดงค์วิเวกตามป่าเขาสถานที่ต่างๆ ในเขตจังหวัดมุกดาหาร จังหวัดนครพนม จังหวัดหนองคาย

ปี พ.ศ. 2460 หลังออกพรรษา พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้เดินทางกลับจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมกับ เด็กชายเทสก์ เรี่ยวแรง เพื่อเยี่ยมอาการป่วยของพี่ชายและน้องชาย ต่อมาพี่ชายได้ถึงแก่กรรม ส่วนน้องชาย คือ พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล หายป่วยและได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ในการกลับมาจังหวัดอุบลราชธานีในครั้งนี้ ได้รับบัญชาจาก สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ในขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชมุนี เจ้าอาวาสวัดสุปัฏนารามวรวิหารและเจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานี ให้ช่วยสั่งสอนพุทธบริษัทในวัดสุปัฎน์ (วัดสุปัฏนารามวรวิหาร) และวัดสุทัศน์ (วัดสุทัศนาราม) อีกด้วย และหลังออกจากพรรษาในปี พ.ศ. 2461 ท่านได้ออกธุดงค์ติดตามหา หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และพำนักจำพรรษาในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย

ปี พ.ศ. 2463 พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้ธุดงค์วิเวกไปพักจำพรรษาเพียงลำเพียงรูปเดียว ณ ถ้ำผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เมื่อได้โอกาสดีจึงเร่งความเพียรแต่ต้นพรรษา จนถึงกลางเดือน 9 ได้เกิดความอัศจรรย์ทางจิต เกิดความรู้ความเห็นแจ่มแจ้งในพระธรรมวินัย จึงเร่งความเพียรต่อไปตลอดไตรมาส ได้เกิดความเข้าใจว่า "พระพุทธเจ้าทรงเป็นวิภัชวาที (ผู้จำแนกธรรม) ตรัสจำแนกขันธ์ 5 ในตัวเรา หรือ กายกับใจ ออกเป็นพระธรรมวินัยถึง 84000 พระธรรมขันธ์ เมื่อกล่าวความจริงแล้ว ตัวคนเรา หรือ กายกับใจ นี้เป็นตัวอริยสัจทั้ง 4 คือ ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา รวมกันเป็นธรรมแท่งเดียว" ในตอนนี้ท่านบันทึกต่อว่า "ความรู้ที่เกิดขึ้นในตอนนี้ ละเอียดเฉียบแหลมคมคายมาก รู้จักตัดสินพระธรรมวินัยได้เด็ดขาด ทำให้การปฏิบัติพระธรรมและพระวินัยเป็นไปอย่างเด็ดเดี่ยวมั่นคงและกล้าหาญ"

หลังจากออกพรรษาในปี พ.ศ. 2463 ท่านได้เดินทางไปหา หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งพำนักอยู่ที่จังหวัดสกลนคร และธุดงค์ติดตามต่อไปในเขตจังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร และในช่วงนี้ได้ท่านได้พำนักกับ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต อีกด้วย

ปี พ.ศ. 2466 หลังออกพรรษา ปี พ.ศ. 2465 ท่านได้เดินทางกลับจังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากโยมมารดาถึงแก่กรรม และอยู่พำนักจำพรรษา ณ วัดสุทัศน์ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งในการนี้ท่านได้นำ สามเณรเทสก์ เรี่ยวแรง ทำการอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสุทัศน์ หรือ วัดสุทัศนาราม จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 โดยมี พระมหารัตน์ รฏฺฐปาโล ป.ธ. 4 เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ซึ่งสามเณรเทสก์ เรี่ยวแรง นั้นในกาลต่อมาก็คือ พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (เทสก์ เทสรังสี)

LP Sing 04ในปีนี้ ท่านได้ทำการอบรม พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ป.ธ.5 ผู้เป็นพระน้องชาย ในทางวิปัสสนาธุระ จนกระทั่งพระมหาปิ่นผู้เป็นน้องชายได้ตัดสินใจออกธุดงค์ ปฏิบัติธรรมกรรมฐานศึกษาด้านวิปัสสนาธุระ และเผยแผ่พระธรรมคำสอนสู่ประชาชนเคียงบ่าเคียงไหล่พระพี่ชาย ชื่อเสียงขจรหอมฟุ้งร่ำลือไปไกล จนมีผู้จนเลื่อมใสศรัทธาอย่างกว้างขวางมาจนถึงปัจจุบัน

ปี พ.ศ. 2470 ในวันเพ็ญ เดือน 3 ก่อนเข้าพรรษา คณะพระธุดงค์กรรมฐานของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ปักหลักอยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี และได้จัดประชุมคณะสงฆ์ขึ้นในช่วงวันมาฆบูชา ซึ่งในการนี้ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้ปรารภถึงการออกธุดงค์วิเวกเพียงลำพัง เพื่อพิจารณาค้นคว้าในปฏิปทาสัมมาปฏิบัติ อันเป็นธรรมอันสูงสุด และได้มอบภารธุระทุกอย่างให้แก่ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ศิษย์อาวุโสเป็นผู้บริหารปกครองหมู่คณะสงฆ์ แนะนำพร่ำสอน ตามแนวทางที่ท่านได้ให้ไว้แล้วต่อไป

ปี พ.ศ. 2471 พระครูพิศาลอรัญเขต ในกาลต่อมาก็คือ พระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ และเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่นในขณะนั้น ได้ทำหนังสือไปนิมนต์พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ศิษย์อาวุโสในองค์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ให้มาช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาธรรมปฏิบัติให้แก่ประชาชนจังหวัดขอนแก่น ท่านจึงได้กราบเรียนปรึกษาหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เมื่อเห็นว่าเหมาะสมดีแล้ว จึงมอบให้เป็นหน้าที่ของพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม รับนิมนต์

หลังจากออกพรรษาแล้ว พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล กับหมู่คณะสงฆ์ ได้เดินเท้านำกองทัพธรรมจากบ้านนาหัววัว อำเภอกุดชุม จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือ จังหวัดยโสธร) มุ่งสู่จังหวัดขอนแก่น และได้ตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นที่ ป่าช้าโคกเหล่างา ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดขอนแก่น ซึ่งปัจจุบันก็คือ วัดป่าวิเวกธรรม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งในขณะนั้นมีพระสงฆ์สามเณรรวมกันไม่ต่ำกว่า 70 รูป ท่านจึงได้ประชุมคณะสงฆ์ตกลงกันให้แยกย้ายกันไปตั้งเป็น สำนักสงฆ์วัดป่าอรัญวาสี ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น และพื้นที่ใกล้เคียง จึงทำให้วัดป่าอรัญวาสีและคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ตั้งขึ้นในจังหวัดขอนแก่น และพื้นที่ใกล้เคียงเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้เองจึงนับได้ว่า วัดป่าวิเวกธรรม เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาฝ่ายอรัญวาสีของภาคอีสานตอนกลาง

ปี พ.ศ. 2475 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ในขณะที่ดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมปาโมกข์ และดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดสุทธจินดาวรวิหาร และ เจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา ได้บัญชาให้ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ และหลักธรรมคำสอนให้แก่ประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมา ดังนั้น พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม จึงนำหมู่คณะสงฆ์ อาทิ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ เดินทางมุ่งสู่งจังหวัดนครราชสีมา

LP Sing 03

ในการนี้ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ดำริให้สร้างวัดป่าอรัญวาสีขึ้น สำหรับคณะสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ เพื่อใช้จำพรรษาและบำเพ็ญเพียรวิปัสสนากรรมฐาน หลวงชำนาญนิคมเขต ผู้บังคับกองตำรวจกองเมืองนครราชสีมาในขณะนั้น มีศรัทธาถวายที่ดินและรับบัญชาก่อสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น ซึ่งสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ให้นามว่า วัดป่าสาลวัน โดยมี พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก และได้สร้างสำนักสงฆ์ขึ้นอีกแห่ง ซึ่งก็คือ วัดป่าศรัทธารวม โดยมี พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ในกาลต่อมา ได้มีสร้างวัดป่าอรัญวาสีในเขตจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดใกล้เคียงเพิ่มมากขึ้น

ปี พ.ศ. 2480 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ในขณะที่ดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพรหมมุนี และดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร และ เจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา ได้บัญชาให้ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เดินทางช่วยท่านเจ้าคุณพระปราจีนมุนี ตั้งวัดป่าอรัญวาสีสำหรับพระฝ่ายวิปัสสนาธุระภาคตะวันออก และไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ และหลักธรรมคำสอนให้แก่ประชาชนชาวจังหวัดปราจีนบุรี ดังนั้น พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พร้อมด้วย พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ได้เดินทางไปยังจังหวัดปราจีนบุรี ท่านทั้งสองได้ตั้ง สำนักสงฆ์วัดป่าทรงคุณ ขึ้น ปัจจุบันก็คือ วัดป่าทรงคุณ ตำบลดงพระราม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี และได้ช่วยปฏิสังขรณ์ วัดปากกระพอก อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ซึงร้างมา 5 ปี ให้กลับคืนสู่สภาพเป็นวัดมีพระภิกษุสงฆ์อยู่ประจำ

ปี พ.ศ. 2483 ในขณะ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้กลับมาพำนักจำพรรษาที่วัดป่าสาลวัน เพื่อสอนพุทธบริษัทให้ฝึกหัดนั่งสมาธิภาวนาเป็นประจำ กระทั่งออกพรรษา คณะชาวบ้านหนองบัวใหญ่ อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ได้มาอาราธนาให้ไปสร้างสำนักสงฆ์ขึ้นที่ บ้านหนองบัวใหญ่ ท่านจึงได้เดินทางไปสร้างวัดขึ้นและให้ชื่อว่า วัดป่าไพโรจน์ ปัจจุบันคือ วัดป่าสุวรรณไพโรจน์ ต.หนองบัวใหญ่ อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

ในปีนี้ ช่วงที่พำนักอยู่ วัดป่าไพโรจน์ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้เดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเป็นประธานในการจัดงานถวายมุทิตาจิต หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล อายุครบ 80 ปี โดยจัดขึ้น ณ วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

LP Sing 05

หลวงปู่สิงห์ ขนฺตฺยาคโม เมื่อครั้งยังมีพรรษาไม่มากนัก

ปี พ.ศ. 2485 พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้เดินทางไปจังหวัดนครจัมปาศักดิ์ ประเทศไทย ในขณะนั้น เพื่อรับสรีระสังขาร หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งได้มรณภาพในอิริยาบถนั่งกราบพระประธานครั้งที่ 3 ในพระอุโบสถวัดอำมาตยาราม อำเภอวรรณไวทยากร จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ ประเทศไทย ในขณะนั้น (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 สิริอายุ 82 ปี พรรษา 62 คณะศิษย์ได้เชิญศพของท่านกลับมา ณ วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และได้ประกอบพิธีฌาปนกิจในวันที่ 15 - 16 เมษายน พ.ศ. 2486

ในปีนี้ คณะวัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ได้มาอาราธนาให้ไปช่วยสั่งสอนพุทธบริษัทญาติโยม และช่วยสร้างศาลาการเปรียญ เมื่อทำเสร็จแล้วจึงกลับไปจำพรรษา ณ วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา และ พ.ศ. 2486 ในช่วงเวลานอกพรรษา ได้กลับไปจัดสร้างพระพุทธบาท กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร พร้อมมณฑป เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาท ณ วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ปี พ.ศ. 2487 พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้ไปพำนักจำพรรษา ณ วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจาก พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล พระน้องชายอาพาธและพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าแสนสำราญแห่งนี้ อีกทั้ง สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ก็อาพาธและได้มาพักรักษาตัวอยู่ที่วัดสุปัฏนารามวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ได้บัญชาให้ท่านมาอยู่พำนักจำพรรษาในที่ใกล้ๆ ไปมาเยี่ยมเยียนกันได้ง่าย

ปี พ.ศ. 2489 ในขณะที่พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้กลับไปพำนักจำพรรษา ณ วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา นั้น พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ได้มรณภาพ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 ณ ณ วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ในการนี้ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ได้บัญชาให้จัดพิธีฌาปนากิจโดยไม่ชักช้า พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม จึงได้จัดพิธีฌาปนากิจ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2489

LP Sing 06ปี พ.ศ. 2491 พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้ไปพำนักจำพรรษา ณ วัดป่าทรงคุณ ตำบลดงพระราม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เพื่ออบรมสั่งสอนคณะพุทธบริษัทวัดป่าทรงคุณ ให้ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ให้เป็นไปเพื่อความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ต่อมาได้สร้าง วัดป่าทรงธรรม ตำบลท่าตูม อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี และท่านได้ไปช่วยคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรี สร้างวัดธรรมยุตขึ้นในเขตจังหวัดเพชรบุรีอีกด้วย

สมณศักดิ์

ได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ตามลำดับ ดังนี้

  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2496 เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ "พระครูญาณวิศิษฏ์"
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2500 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์"

ปี พ.ศ. 2504 พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้จัดงาน ผูกพัทธสีมาพระอุโบสถวัดป่าสาลวัน ขึ้น ในการนี้ ได้ถือโอกาสจัดประชุมใหญ่คณะสงฆ์พระกรรมฐาน ทั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคอื่นๆ ได้มีตัวแทนพระภิกษุสงฆ์มาร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก เพื่อปรึกษาหารือข้อปัญหาทางพระวินัย และระเบียบการเดินธุดงค์ของคณะพระกรรมฐาน เพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจมีขึ้น เนื่องจากการเดินธุดงค์ไปต่างถิ่นห่างไกลครูบาอาจารย์ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 และเมื่อเสร็จการประชุมแล้ว คณะสงฆ์ได้พร้อมเพรียงกันสวดถอดถอน และผูกพัทธสีมาพระอุโบสถวัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 7 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2504

มรณภาพ

พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม) ได้ละวางสังขาร เนื่องจากเป็นโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารเรื้อรัง มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2504 เวลา 10.20 น. ณ วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา สิริอายุ 72 ปี พรรษา 52

LP Sing 07

บรรดาศิษยานุศิษย์พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ที่มาในงานประชุมเพลิงสรีระสังขาร “ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ”
เมื่อวันอังคารที่ ๓๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ณ วัดป่าสุทธาวาส บ้านคำสะอาด ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร

คติธรรมคำสอน

...นักปฏิบัติทั้งหลายในพระพุทธศาสนานี้ พึงเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก มีวัตรปฏิบัติพร้อมบริบูรณ์ และมีธรรมซึ่งมีอุปการะมากเป็นที่เจริญอยู่ จึงเป็นผู้เจริญรุ่งเรือง ธรรมมีอุปการะมาก มีหลายประการ แต่จะกล่าวในที่นี้เฉพาะ 3 ประการ คือ

  1. อปฺปมาโท อมตํ ปทํ พึงเป็นผู้ไม่ประมาท ซึ่งบทธรรมอันไม่ตาย
  2. สติมา ปริมุขํ สติ อุปฏฺฐเปติ พึงเป็นผู้มีสติ เฉพาะหน้าเสมอ
  3. สมฺปชาโน พึงเป็นผู้มีสัมปชัญญะ รู้จิตเสมอ

ธรรม 3 ประการเหล่านี้ เป็นธรรมมีอุปการะมาก นักปฏบัติย่อมเจริญอยู่เป็นนิตย์ ฯ...

พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)

redline

backled1

LP kinnaree header

หลวงปู่กินรี จนฺทิโย มีนามเดิมว่า "กลม" กำเนิดในตระกูล “จันทร์ศรีเมือง” ซึ่งเป็นตระกูลเก่าแก่ หนึ่งใน 8 ตระกูล ที่โยกย้ายมาจากบ้านโพธิ์ชัย เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ที่คนเฒ่าคนแก่ส่วนใหญ่เรียกว่า บ้านโพธิ์ชัยแตก เกิดขึ้นในปีมะเมีย (ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่ชัด) โยมบิดาชื่อ โพธิ์ โยมมารดาชื่อ สุวันดี หรือบางประวัติว่าชื่อ วันดี ท่านเกิดเมื่อวันพุธ ที่ 8 เมษายน 2439 ปีวอก แรม 11 ค่ำ เดือน 5 ตรงกับ จ.ศ. 1258 หรือ ร.ศ. 115 ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ณ บ้านหนองฮี ตำบลปลาปาก อำเภอหนองบึก จังหวัดนครพนม (ปัจจุบันยกฐานะใหม่เป็น ตำบลหนองฮี อำเภอปลาปาก) มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 7 คน หลวงปู่เป็นลูกหล้า (น้องสุดท้อง) ด้วยฐานะทางครอบครัวที่ประกอบอาชีพชาวนา มีพี่น้องหลายคน และโดยที่ในสมัยนั้นการศึกษาเล่าเรียนยังอยู่ในวงจำกัด แม้จะมีใจรักในการศึกษาเพียงใด แต่ก็ขาดโอกาสในการศึกษาต่อ จึงได้รับการศึกษาสามัญเบื้องต้น

ชีวิตสมณะและการแสวงธรรม

LP Kinaree 01

ปี พ.ศ. 2458 เมื่ออายุ 10 ขวบ ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดหนองฮี และมีโอกาสได้ศึกษาหนังสือธรรม หนังสือผูก ทั้งภาษาขอม ภาษาไทยน้อยหรืออักษรธรรม และภาษาสมัยไทยปัจจุบัน ท่านได้บวชเป็นสามเณรเรื่อยมา จนกระทั่งอายุครบบวชในปี พ.ศ. 2469 อายุครบ 20 ปี ก็ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดอ้อมแก้ว** (วัดเกาะแก้วอัมพวัน) ตำบลเกาะแก้วอัมพวัน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

ต่อมาด้วยความห่วงใยในบิดา - มารดา และได้รับการขอร้องด้วยความที่เป็นบุตรคนเล็ก ท่านจึงได้ลาสิกขาตามความต้องการของโยมบิดา - มารดา ไปใช้ชีวิตฆราวาส ซึ่งก็ไม่ราบรื่นและไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก เป็น "นายฮ้อยวัว-ควาย" ก็ขาดทุนอย่างหนัก ซึ่งหลวงปู่เล่าได้ว่า "เพราะการกระทำของท่านได้พรากพ่อ-แม่-ลูก วัว ควาย ที่ขายไปถิ่นต่างๆ ย่อมเป็นบาปอย่างมหันต์ ผลกรรมจึงย้อนตอบสนองให้ต้องสูญเสียภรรยา หลังจากคลอดบุตรได้ไม่นาน และได้สูญเสียลูกอันเป็นสุดที่รักซ้ำอีก เพราะทารกน้อยขาดนมจากผู้เป็นมารดา"

ความสูญเสียอันใหญ่หลวงของท่าน ทำให้เป็นทุกขเวทนา ความอาลัยอาวรณ์ ความโศกเศร้า ทับถมเพิ่มทวีความทุกข์ยิ่งขึ้น ด้วยความทุกข์เป็นกุศลปัจจัยผลักดัน และบันดาลใจให้ท่านก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ สู่ความเป็นบรรพชิตในบวรพระพุทธศาสนาอีกครั้ง โดยได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดศรีบุญเรือง ตำบลกุดตาไก้ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2465 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 ปีจอ (อายุครบ 25 ปีบริบูรณ์พอดี) โดยมีพระอาจารย์วงศ์ เป็นพระอุปชฌาย์, พระอาจารย์พิมพ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์พรหมา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ชื่อใหม่จากพระอุปัชฌาย์ จาก “กลม” เป็น “กินรี” และได้รับนามฉายาว่า “จนฺทิโย” ซึ่งแปลว่า “ผู้เปรียบประดุจพระจันทร์”

หลังจากอุปสมบท หลวงปู่ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านหนองฮี ในช่วงสิบปีแรก ท่านได้สงเคราะห์ญาติ หลานๆ ด้วยการให้ความรู้เรื่องภาษาไทย อบรมสั่งสอนการอ่าน การเขียนภาษาไทย เพราะในสมัยนั้น การพัฒนาทางการศึกษายังล้าหลังมาก ขาดการแผ่ขยายให้กว้างขวางออกสู่ชนบท ที่จะเจริญก็คงมีแต่เมืองหลวงเท่านั้น การเผยแผ่และการถ่ายทอดวิชาความรู้ในวิชาการบางสาขา จึงต้องอาศัยพระที่วัดเป็นผู้สอน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งก็มีแต่วิชาภาษาไทยเท่านั้นที่สอนกัน นอกเหนือไปจากการสอนหลักธรรมะในทางพระพุทธศาสนา

LP Kinaree 07พ่อใหญ่ยศ มาภา อดีตเด็กชายยศ เล่าว่า "หลวงปู่ ท่านเป็นคนจริงจังกับการงานมาก โดยเฉพาะ เรื่องอาบัติเล็กน้อย ท่านไม่มองข้าม เช่น การประเคนของ ถ้าวันไหนมีแต่ผู้หญิงมาวัดเพื่อถวายของ ท่านจะไม่รับ แม้จะทิ้งไว้ทั้งวันทั้งคืนก็ทิ้งไป ทำให้แม่ออก (ญาติโยมผู้หญิง) เกรงท่านมาก”

อุปนิสัยของท่านนั้น เป็นที่กล่าวขวัญกันว่าค่อนข้างจะมุ่งมั่นและขยันขันแข็งในการงานอยู่มากทีเดียว ปฏิปทาที่เป็นไปจนตลอดชีวิตของท่านก็คือ "งาน" หลวงปู่ไม่เคยอยู่นิ่งเฉยนอกจากขณะทำสมาธิภาวนา ไม่เคยเป็นคนเกียจคร้านเห็นแก่ความสุขจากการนอน การกิน หรือการพูดจาสนุกเฮฮา โดยปกติแล้วในตอนที่ว่างเว้นจากการงาน ท่านมักจะเก็บตัวอยู่แต่เพียงผู้เดียวด้วยความสงบ เมื่อออกจากที่ภาวนา หลังจากที่ได้พักผ่อนร่างกายบ้างแล้ว ท่านก็จะทำงานอีก โดยถ้าไม่ทำอย่างใดก็ต้องเป็นอย่างหนึ่ง หรือไม่ก็ทำติดต่อกันไปหลายๆ งานเลยทีเดียว

พระผู้เฒ่าที่ทางหลวงพ่อชา สุภทฺโท ส่งมาดูแลอุปัฐากท่านเล่าให้ฟังว่า "ชีวิตในบั้นปลายของหลวงปู่ ท่านจะลุกขึ้นมาตอนรุ่งสางเสมอ ถึงแม้ว่าร่างกายของท่านในวัยชราจะซูบผอม มีโรคเสมหะที่ทำให้ต้องกระแอมไอเป็นประจำ แต่ถึงกระนั้นลักษณะการเดินเหินยังคล่องแคล่วว่องไว และกระฉับกระเฉงมาก เมื่อฉันเสร็จแล้วหลวงปู่ก็จะกลับเข้ากุฏิ จะเงียบเสียงไปบ้างก็ไม่นาน และได้ยินเสียงเหมือนเคาะอะไรสักอย่างกุกๆ กักๆ ดังอยู่อย่างนั้น ประเดี๋ยวเคาะ ประเดี๋ยวเงียบ ตลอดเวลาครึ่งค่อนวัน จนกระทั่งบ่ายจึงจะเห็นท่านออกจากกุฏิลงมาลานวัด บางทีก็เดินหาไม้กวาดสำหรับกวาดลานวัด หยิบลากเอาไปกวาดลานวัดจนเตียนโล่ง

ท่านจะทำกิจเหล่านั้นด้วยตนเอง ไม่เคยตีระฆังรวมหรือใช้ให้ใครทำ แต่ถ้าถึงคราวที่อยากจะให้ใครทำท่านจะไม่ใช้ด้วยวาจา กลับจะลากเข่งใบเก่าๆ หรือใบที่สานใหม่ซึ่งก็เป็นฝีมือของท่านเอง มาวางทิ้งไว้ที่กองขยะ แล้วเดินหลีกหนีไป ใช้กิริยาที่เดินหนีแทนการบอก เสร็จจากกวาดลานวัด บางทีก็หาไม้ตอกหรือหวายมาจักสานทำเป็นเครื่องใช้ไม้สอยประจำวัด หรือไม่เช่นนั้นก็เป็นอุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่จะใช้ในวัด ท่านจะทำกิจเหล่านี้ไปจนเย็น ไม่ค่อยพูดจากับใครให้เป็นที่เอิกเกริก บางครั้งพระเณรจะไปช่วย ท่านบอก “ให้เร่งความเพียรปฏิบัติ เดินจงกรม นั่งสมาธิ ภาวนาให้มาก” ค่ำมืดแล้วท่านก็สรงน้ำ กลับเข้ากุฏิเก็บตัวเงียบ หลวงปู่เป็นตัวอย่างแห่งความมุ่งมั่นจริงจังและพากเพียร ขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองฮี ท่านได้ขุดลอกสระน้ำขนาดใหญ่ด้วยตัวของท่านเองจนเป็นผลสำเร็จ ให้วัดและชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ มีน้ำอุปโภคบริโภคมาจนถึงทุกวันนี้"

การแสวงหาธรรมปฏิบัติ

ได้เกิดขึ้นเป็นช่วงตอนปลายของทศวรรษแรกของการอุปสมบท ด้วยการเดินทางไปศึกษาเล่าเรียนพระกรรมฐานกับ ท่านพระอาจารย์หลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล ที่สำนักบ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เป็นจุดเกิดและเป็นก้าวแรกที่ท่านรับเอาพระกรรมฐานเข้าไว้ในจิตของท่าน หลวงปู่ได้ศึกษาการปฏิบัติภาวนากับหลวงปู่ทองรัตน์ (ครูบาจารย์เฒ่า) ระยะหนึ่ง ท่านก็เดินทางกลับมาอยู่ที่วัดบ้านเกิด และไปกราบครูอาจารย์ร่วมธุดงค์โดยไปมาหาสู่อยู่เสมอ ท่านได้นำเอาข้อปฏิบัติพระธรรมกรรมฐานมาอบรมสั่งสอนชาวบ้านหนองฮี ได้สงเคราะห์โยมมารดาและญาติด้วยการบวชชี และได้จัดตั้งสำนักสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีในบ้านเกิด ชื่อว่า “สำนักสงฆ์เมธาวิเวก” หรือ “วัดป่าเมธาวิเวก” ในปัจจุบัน

LP Thongrat 01สำนักสงฆ์เมธาวิเวก เดิมเป็นดอนกลางนา ชาวบ้านพยายามที่จะเข้าทำประโยชน์ครั้งแล้วครั้งเล่า ก็ต้องมีอันเป็นไปทุกราย เจ็บป่วยก็หลายคน ต้องจบชีวิตลงจากการล่วงละเมิดอาถรรพ์

ปี พ.ศ. 2473 ครูบาจารย์โสมและหลวงปู่กินรี ได้เข้าพำนักระยะหนึ่ง ต่อมา พ.ศ. 2477 หลวงปู่ทองรัตน์ (ครูบาจารย์เฒ่า) ก็เข้าพักจำพรรษาสำนักสงฆ์เมธาวิเวก เป็นบูรพาจารย์ของอุบาสก อุบาสิกาบ้านหนองฮี

ประเพณีอันงดงามที่ชาวบ้านหนองฮีได้รับปลูกฝังในอดีต คือความพร้อมเพรียงสามัคคีกัน อีกทั้งยังมีประเพณีอันดีงามเด่นเฉพาะตัว เช่น การตักบาตร เวลาใส่บาตรจะหงายมือขึ้น พระเณรเดินผ่านจะถอดรองเท้า ถอดหมวก นั่งลงพร้อมกับพนมมือ จนกว่าพระเณรจะเดินผ่านพ้นไป หญิงใดจะออกเรือนต้องมาบวชชีอยู่วัด 1 พรรษาก่อน

ช่วงนั้นหลวงปู่กินรีไปธุดงค์ที่อื่นแล้ว มีแม่ชีในสำนักสงฆ์เมธาวิเวก 4 คน การเทศน์สั่งสอนแม่ชีของหลวงปู่ทองรัตน์ (ครูบาจารย์เฒ่า) นั้น แม่ชีเลี่ยน มาภา หลานสาวหลวงปู่กินรี เล่าว่า ส่วนมากจะสอนการปฏิบัติภาวนา ให้รู้หน้าที่ของตนเอง “เฮา เป็นชีให้ฮู้จักหน้าที่เจ้าของ อย่าคึดจะไปฮั่นมานี่คือผู้ชาย เฮาเป็นหญิง หน้าที่ของเฮาเก็บผัก หักฟืน อุปัฏฐากอุปถัมภ์พระสงฆ์องค์เจ้า” (เราเป็นชีให้รู้จักหน้าที่ของตัวเอง อย่าคิดจะไปนั่นมานี่เหมือนผู้ชาย เราเป็นผู้หญิงหน้าที่ของเราคือเก็บผัก หักฟืน อุปัฏฐากอุปถัมภ์พระสงฆ์องค์เจ้า)

ในระยะที่หลวงปู่นำโยมมารดามาบวชเป็นชีนี้ก็ชรามากแล้ว หลวงปู่ได้เกลี้ยกล่อมเอาเด็กหญิงเลี่ยน ผู้เป็นหลานสาวเข้ามาบวชชี อยู่ปรนนิบัติรักษาคุณยายผู้เป็นโยมมารดาของท่านด้วย โดยที่หลวงปู่ได้ให้เหตุผลว่า “ตามธรรมเนียมโบราณ ผู้เป็นหลานควรจะได้ทดแทนบุญคุณญาติผู้ใหญ่ เฝ้าปรนนิบัติอุปัฏฐากคุณตาคุณยายในวัยชรา ญาติพี่น้องนั้นไม่มีใครอีกแล้วที่จะมาทำเช่นนี้ได้ ต่างคนเขาก็ต่างแยกย้ายกันไปมีครอบครัวเหย้าเรือน หาความสนุกสุขสำราญส่วนตัวเขา เราสิเป็นเด็กเป็นเล็กควรจะภูมิใจและเต็มใจทำ” หลานสาวเชื่อฟังคำท่านจึงยอมบวช และตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน แม่ชีเลี่ยน มาภา สิริอายุได้ 91 ปี 77 พรรษา (เมื่อปี พ.ศ. 2552) ก็ยังคงเป็นแม่ชีเลี่ยนอยู่เหมือนเดิมมิได้เปลี่ยนแปลง

ในระหว่างที่หลวงปู่ไปมาหาสู่เพื่อคารวะ และปฏิบัติธรรม ในสำนักของพระอาจารย์หลวงปู่ทองรัตน์นั้น ท่านอาจารย์ทองรัตน์ได้พาหลวงปู่เดินทางไปกราบนมัสการ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานผู้มีชื่อเสียง และเกียรติคุณเลื่องลือโด่งดังมาก ในขณะที่หลวงปู่มั่นพระธรรมาจารย์ผู้มีปรีชาสามารถ พำนักอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เพื่อรับโอวาทจากท่าน

หลวงปู่มั่นท่านได้อบรมสั่งสอนธรรมแก่หลวงปู่กินรี ถึงข้อปฏิบัติธรรมกรรมฐานนั้น ซึ่งมีรากฐานอยู่ที่การกระทำศีลให้สมบูรณ์บริบูรณ์พร้อมๆ ไปกับการเจริญสมาธิภาวนา เพื่อจะทำจิตให้สงบระงับจากอารมณ์ทั้งปวง เพราะความที่จิตปลอดจากอกุศลว่างเว้นจากอารมณ์ อันเกิดจากการสัมผัสทางอายตนะ คือ ที่ตั้งแห่งการกระทบ มี 6 คู่ อันได้แก่ ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับการสัมผัสทางกาย และใจที่กระทบกับอารมณ์ในภายในที่ทำให้เกิดเวทนา ความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ รู้ดี รู้ชั่ว รู้สวย รู้ไม่สวย รู้น่ารัก รู้ไม่น่ารัก ทั้งหลายแล้ว จิตใจก็ย่อมจะตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว อารมณ์นั้นก็ได้แก่พระกรรมฐาน หมายถึง การเอาพระกรรมฐานเข้ามาตั้งไว้ในใจ ความตั้งมั่นของจิตในลักษณะการเช่นนี้ ย่อมจะทำจิตให้สงบอย่างเดียว เป็นความสงบที่สะอาดและบริสุทธิ์ผุดผ่องใส

หลังจากนั้นแล้วจึงหันมาพิจารณาธาตุทั้ง 4 อันได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม และพิจารณาขันธ์ทั้ง 5 อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ให้รู้ว่าธาตุขันธ์และรูปนามทั้งหลายเหล่านี้แท้จริงก็คือบ่อเกิดของความทุกข์โศกร่ำไรรำพันนานาประการทั้งปวงนั่นเอง

หลวงปู่มั่นท่านได้อบรมสั่งสอนข้อธรรมแก่หลวงปู่กินรีเป็นประจำ และเมื่อท่านพบหน้าหลวงปู่กินรี ท่านมักจะเอ่ยถามไปว่า “กินรี ได้ที่อยู่แล้วหรือยัง ?”

คำถามของหลวงปู่มั่นนั้น "มิได้หมายถึงที่อยู่ในวัดปัจจุบัน แต่ท่านถามถึงส่วนลึกของใจว่ามีสติตั้งมั่นหรือยัง" ถ้ายังท่านก็จะกล่าวอบรมต่อไป ซึ่งส่วนมากหลวงปู่มั่นท่านจะเน้นให้เห็นถึงว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นบ่อเกิดของความทุกข์ เพราะเกิดจากอวิชชา คือ ความไม่รู้แจ้งในความเป็นของไม่เที่ยง ในความเป็นของเสื่อมโทรมของธาตุขันธ์ทั้งหลาย เป็นเหตุ และเพราะความไม่รู้จักสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริงว่า มันมิใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ไม่รู้จักความไม่เที่ยง ไม่รู้จักความเป็นทุกข์ และไม่รู้ความเป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตนตามความเป็นจริงแล้ว อาสวะกิเลส คือ ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ ก็ย่อมครอบงำจิตของคนๆ นั้นให้มืดมัว เร่าร้อนและเป็นทุกข์ได้ในที่สุด

LP Kinaree 03

หลวงปู่มั่นท่านอบรมสั่งสอนหลวงปู่กินรีต่อไปว่า การประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นมีรากฐานสำคัญอยู่ที่การปฏิบัติศีลเป็นเบื้องต้น และทำสมาธิในท่ามกลางเพื่อจะให้เกิดปัญญา ความรู้แจ้งแทงตลอดในธาตุขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นได้ในที่สุด และเพื่อจะให้รู้ความจริงก็ต้องหมั่นพิจารณาว่าร่างกายของเราที่ปั้นปรุงขึ้นมาจากธาตุทั้ง 4 นี้ ประกอบอยู่ด้วยธาตุอีกอย่างหนึ่งซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 อย่าง ได้แก่

  • เวทนา คือ ความรู้สุข รู้ทุกข์ และไม่สุข ไม่ทุกข์
  • สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ในอายตนะทั้งหลายที่มากระทบแล้วรู้สึกแล้ว
  • สังขาร คือ ความไกลเวียนปรุงเปลี่ยนไม่หยุดอยู่ของนามธาตุนั้น
  • วิญญาณ คือ ความรู้สึกได้

รวมเป็น 4 อย่างด้วยกัน เรียกว่า นามขันธ์

เมื่อรวมเข้ากับธาตุ 4 คือ รูปขันธ์ด้วยแล้วจึงเป็นขันธ์ รวมย่อแล้วเรียกว่า กายกับใจนี้เป็นสิ่งที่ไม่ยืนยงคงที่ ไม่เที่ยงแท้แน่นอนอะไรเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ร่างกายเนื้อหนังของเรานี้เป็นของไม่สวยไม่งาม สกปรกโสโครกโดยประการทั้งปวง การภาวนาที่ถูกต้องจะต้องเป็นไปในลักษณะนี้ นักภาวนาเมื่อรู้เห็นซึ่งสภาพตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมจะมีความสะดุ้งกลัวต่อภัยและความเป็นโทษทุกข์ของสังขาร ไม่อยากประสบพบเห็นกับควาทุกข์ทรมานเหล่านี้อีกแล้ว เมื่อนั้นจิตก็ย่อมจะคลายจากความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ย่อมคลายความกำหนัดรักใคร่ชอบใจในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความรักใคร่ชอบใจ เมื่อจิตมีความเบื่อหน่ายคลายความกำหนัดเช่นนี้แล้ว ทุกข์ทั้งปวงก็ย่อมดับลงได้โดยแท้ ข้อที่ว่าทุกข์ทั้งปวงดับลงนี้เป็นเพราะอวิชชาคือความไม่รู้ ความเป็นจริงในธรรมดับไปนั่นเอง จึงเป็นเหตุให้รู้ความเห็นในธรรมที่เรียกว่า “ปัญญา” นั้น เจริญถึงที่สุด ผลที่ได้รับก็คือ “ปัญญาอันสงบระงับและแจ่มแจ้ง” หลวงปู่มั่นท่านกล่าวอบรมหลวงปู่กินรี

หลวงปู่กินรีท่านได้เล่าเรื่องราวของท่าน สมัยที่ท่านไปฝึกอบรมกรรมฐานกับหลวงปู่มั่น ให้สานุศิษย์ทั้งหลายฟังอยู่เสมอว่า ในขณะที่ท่านนั่งสมาธิบริกรรมภาวนาอยู่นั้น ก็รู้สึกว่าจิตค่อยๆ สงบเข้าไปทีละน้อยๆ แล้วปรากฏว่า ทั้งร่างกายและเนื้อหนังของท่านนั้นได้เปื่อยหลุดออกจากกัน จนเหลือแต่ซากของกระดูก อันเป็นโครงร่างที่แท้จริงในกายของท่านเอง “สิ่งที่ปรากฏในอาการอย่างนั้นมันชวนให้น่าเบื่อหน่ายยิ่งนัก” หลวงปู่ท่านกล่าว

ประสบการณ์ในธรรมโดยลักษณะนี้ ได้เกิดขึ้นกับหลวงปู่ท่านอีกครั้งหนึ่งในเวลาต่อมา แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าในขณะนั้นท่านพำนักอยู่ที่ใด ซึ่งครั้งนี้ท่านกล่าวว่า “ในขณะที่ภาวนาอยู่นั้นได้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นในตัว เปลวเพลิงได้ลุกลามพัดไหม้ทั่วร่าง ในที่สุดก็เหลืออยู่แต่ซากกระดูกที่ถูกเผา และคิดอยู่ที่นั้นว่าร่างกายคนเราจะสวยงามแค่ไหน ในที่สุดมันก็ต้องถูกเผาอย่างนี้เอง” หลวงปู่กินรีท่านได้อธิบายถึง การภาวนา ว่ามีอยู่ 3 ขั้นด้วยกัน กล่าวคือ

  1. บริกรรมภาวนา คือ การภาวนาที่กำหนดกรรมฐาน 40 อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ เพื่อจะทำจิตให้ตั้งมั่น ขั้นนี้ยังเป็นเพียงการกำหนดนึก ยังไม่เป็นอารมณ์ที่แน่นแฟ้นจริงจัง มีการภาวนา “พุทโธ” เป็นอาทิ ข้อนี้เป็นการภาวนาในระดับที่จะทำให้เ
  2. กิดบริกรรมนิมิตอันเป็นนิมิตข้อต้นเท่านั้น
  3. อุปจารภาวนา คือ การภาวนาที่เริ่มจะทำจิตให้ตั้งมั่นดีกว่าข้อแรกขึ้นนิดหนึ่ง ข้อนี้อุคหนิมิตจะปรากฏขึ้นได้
  4. อัปนาภาวนา เป็นการภาวนาที่แน่วแน่ อาจทำให้เกิดปฏิภาคนิมิตได้

หลวงปู่กินรีท่านได้ใช้ชีวิตอยู่กับท่านหลวงปู่มั่นเพียง 2 ปี เท่านั้น ส่วนเวลานอกนั้นท่านมักจะอยู่ตามลำพัง เป็นตัวของตัวเองมากกว่า ส่วนผู้ที่หลวงปู่กินรีจะลืมเสียมิได้ถึงแม้จะมาอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่นก็ตาม ท่านคือ พระอาจารย์หลวงปู่ทองรัตน์ เพราะท่านเป็นผู้ที่ให้วิชาความรู้ในการปฏิบัติแก่หลวงปู่ นับว่าเป็นองค์แรกที่เป็นอาจารย์ของหลวงปู่กินรี ซึ่งท่านมักจะไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ อีกอย่างหนึ่งที่เป็นสาเหตุให้หลวงปู่กินรีชอบอยู่อย่างสันโดษแต่ผู้เดียวนั้น เนื่องจากท่านเป็นพระมหานิกาย ไม่ได้ญัตติเป็นธรรมยุตเช่นพระทั้งหลายรูปอื่นๆ

LP Kinaree 06

หลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล (ครูบาจารย์เฒ่า) เป็น "บูรพาจารย์พระกรรมฐานฝ่ายมหานิกาย" ระดับแนวหน้าของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต แต่เพียงผู้เดียว หลวงปู่มั่นท่านให้เหตุผลว่า

“ถ้าพากันมาญัตติเป็นพระธรรมยุตหมดเสียแล้ว ฝ่ายมหานิกายจะไม่มีใครแนะนำการปฏิบัติ มรรคผลไม่ได้ขึ้นอยู่กับนิกายหรอก แต่มรรคผลขึ้นอยู่กับการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำสั่งสอนไว้แล้ว ละในสิ่งที่ควรละ เว้นในสิ่งที่ควรเว้น เจริญในสิ่งที่ควรเจริญ นั่นแหละทางดำเนินไปสู่มรรคผลนิพพาน บรรดาศิษย์ฝ่ายมหานิกายที่ท่านได้อนุญาตให้ญัตติตอนนั้นมีหลายรูป และที่ท่านไม่อนุญาต มีท่านพระอาจารย์ทองรัตน์เป็นต้น”

เรื่องระหว่างธรรมยุติกับมหานิกาย เป็นเรื่องที่ยกขึ้นมาพูดหลังพุทธปรินิพพานนานแล้ว ทำให้ผู้ไม่เข้าใจในเรื่องนี้ดีพอ ต้องไขว้เขวไปด้วย จนเกิดเรื่องเกิดราวกันมานับไม่ถ้วน

ในสมัยครูบาจารย์เฒ่าทองรัตน์ ต้องมีเรื่องวิพากษ์วิจารณ์กันมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ บางรูปก็ว่าครูบาจารย์เฒ่าทองรัตน์ไม่ได้ญัตติ ไม่น่าให้ร่วมสังฆกรรมด้วย บางรูปก็ว่าในเมื่อมีข้อวัตรปฏิบัติเหมือนกัน แถมยังเป็นลูกศิษย์พ่อแม่ครูบาอาจารย์เดียวกัน ควรที่จะให้ร่วมสังฆกรรมด้วย

ก่อนถึงวันลงอุโบสถ พระเณรกำลังกังวลกันในเรื่องนี้มาก กลัวว่าเมื่อรวมสังฆกรรมแล้ว จะไม่เกิดผลดีต่อคณะสงฆ์ศิษย์ทั้งสองฝ่าย เพราะเหตุเคลือบแคลงสงสัยในสังฆกรรมนั้น หลวงปู่มั่นได้หาอุบายเพื่อให้พระเณรคลายสงสัย หลวงปู่มั่นจึงถามครูบาจารย์เฒ่าในท่ามกลางสงฆ์ที่รวมฉันน้ำปานะด้วยกันว่า

“ท่านทองรัตน์สงสัยในสังฆกรรมอยู่บ้อ”

ครูบาจารย์เฒ่ากราบเรียนพร้อมกับพนมมือ “โดยข้าน้อย ข้าน้อยบ่สงสัยดอกข้าน้อย” (ครับกระผม กระผมไม่สงสัยหรอกขอรับ)

“เออ..บ่สงสัยกะดีแล้ว ให้มาลงอุโบสถนำกันเด้อ” (เออ..ไม่สงสัยก็ดี ให้มาลงอุโบสถร่วมกันนะ)

หลวงปู่มั่นพูดด้วย ครูบาจารย์เฒ่าก็ไม่อยากให้ครูบาอาจารย์ต้องลำบากใจจึงพูดไปว่า “โดยข้าน้อย บ่เป็นหยังดอก ข้าน้อย ข้าน้อยขอโอกาสไปลงทางหน้าพู้นดอกข้าน้อย” ครูบาจารย์ตอบพร้อมกับพนมมือรับ

และต่อๆ มา เมื่อมีพระมหานิกายที่ไปกราบขอศึกษาประพฤติปฏิบัติธรรมกับ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ที่ยังไม่ญัตติหรือไม่ประสงค์จะญัตติ ท่านก็บอกให้ไปศึกษากับครูบาจารย์ทองรัตน์ตลอด พระสงฆ์ที่ไปขอศึกษาประพฤติปฏิบัติกับหลวงปู่เสาร์ ลวงปู่มั่น ที่ไม่ได้ญัตติ บางรูปถึงแม้จะไปขอญัตติท่านก็ไม่ญัตติให้ โดยท่านให้เหตุผลว่า “ถ้าพากันมาญัตติหมดจะทำให้พระสงฆ์เกิดการแตกแยกเป็นก๊กเป็นเหล่ามากกว่าที่เป็นอยู่” ซึ่งหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านพยายามเป็นอย่างยิ่งที่จะคืนนิกายทั้งสองนั้นให้เป็นอันเดียวกัน

หลวงปู่กินรี จนฺทิโย เล่าว่า คราวใดที่ครูบาจารย์เฒ่าทองรัตน์ไปกราบฟังธรรมหลวงปู่มั่น ท่ามกลางหมู่สงฆ์ หลวงปู่มั่นมักชอบเอ่ยชื่อและยกตัวอย่างท่านให้พระเณรฟังบ่อย และมีบางครั้งท่านได้รับคำสั่งให้ตรวจดูพฤติกรรมของพระเณรที่นอกลู่นอกทางพระธรรมวินัย จึงเป็นเหตุให้พระเณรเกลียดชัง ครูบาจารย์เฒ่าเป็นคนไม่เกรงกลัวใคร ตรงไปตรงมาตามธรรมวินัยสม่ำเสมอ

LP Mann 11

หลวงปู่มั่น ภูริทัตฺโต พระอาจารย์ใหญ่สายวิปัสสนา

หลวงพ่ออวน ปคุโณ วัดจันทิยาวาส จังหวัดนครพนม เล่าว่า ครูบาจารย์ทองรัตน์เตือนสติพระเณรผู้กำลังจะพลั้งเผลอต่อพระธรรมวินัย ซึ่งผลที่จะตามมาคือความเศร้าหมองเอง แต่ละองค์ละท่านอยากฟังพระธรรมเทศนาเป็นแนวปฏิบัติแต่องค์หลวงปู่มั่น ท่านก็ทรมานพระเณรด้วยการไม่อบรมไม่เทศนา จนพระเณรทนไม่ไหว จึงไปกราบเรียนครูบาจารย์ทองรัตน์ ทำอย่างไรถึงจะได้ฟังธรรมจากหลวงปู่มั่นสักที

“อยากฟังอีหลีบ้อ” (อยากฟังจริงๆ หรือ)

“พวกขะน้อยมาปฏิบัติกับพ่อแม่ครูบาอาจารย์ตั้งดนตั้งนาน แต่บ่เห็นครูบาจารย์เพิ่นสอนอีหยัง จนขะน้อยสิใจออกหนี เมื่อแหล่วไล้ขะน้อย” (พวกกระผมปฏิบัติกับหลวงปู่มั่นตั้งนานนมแล้ว ยังไม่เห็นองค์ท่านเทศน์สอนข้าน้อยเลย กระผมคิดเปลี่ยนใจลากลับแล้ว ขอรับกระผม)

“บ่ยากตั๋ว เดี๋ยวมื่อแลงกะได้ฟังเทศน์เพิ่น” (ไม่ยาก เดี๋ยวตอนเย็นก็ได้ฟังท่านเทศน์)

ครูบาจารย์ทองรัตน์รับปาก หลังจากนั้นเมื่อถึงเวลาออกรับบิณฑบาต และวันนี้มีโยมนำแตงกวามาใส่บาตร ขณะเดินตามหลวงปู่มั่น ท่านได้ล้วงแตงกวามากัดเคี้ยวกินเฉย เมื่อหลวงปู่มั่นหันมาดูก็ปิดปากไว้ เมื่อท่านหันกลับก็เคี้ยวต่อ ผลตอนเย็นหลวงปู่มั่นเทศน์ให้พระเณรฟังสมปรารถนา

ความสมถะ ปลีกวิเวก

ด้วยเอกลักษณ์พิเศษที่หลวงปู่กินรี มีอุปนิสัยสมถะ ไม่นิยมในหมู่คณะมาก ชอบความเป็นคนผู้เดียวตามครูอาจารย์ที่สั่งสอนทั้ง หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และหลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล ทำให้ท่านแยกตัวไปเฉพาะตน และธุดงค์เรื่อยไปตามป่าเขา ถ้ำ หุบเหว รื่นเริงและห้าวหาญที่จะแสวงหาโมกขธรรม การมุ่งเข้าป่าหาที่วิเวกที่สัปปายะ จึงเป็นเอกนิสัยของท่าน แล้วกลับมากราบคารวะบูรพาจารย์เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติ และตรวจสอบอารมณ์ธรรม แล้วจะแยกจากหมู่คณะเสพเสนาสนะตามธรรมชาติตามอุปนิสัยของท่าน ปฏิปทาของหลวงปู่จึงนับได้ว่า ได้ดำเนินตามทางที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน หลวงปู่ธุดงค์ในเขตอีสานเหนือเป็นปกติ และบางครั้งข้ามไปฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงสู่ประเทศลาว เช่น ครั้งหนึ่งท่านธุดงค์ไปยังฝั่งลาวตรงข้ามกับบ้านแพงพร้อมกับ หลวงพ่ออวน ปคุโณ เพื่อไปกราบหลวงปู่ทองรัตน์

ในการธุดงควัตรป่าไม้อันร่มรื่นนั้น หลวงปู่กินรีกล่าวเตือนสานุศิษย์ของท่านว่า "อย่าอยู่ภายในถ้ำระหว่างเดือน 11 ถึงเดือน 12 เพราะอุณหภูมิของถ้ำต่ำและชื้นมาก พร้อมทั้งมีเชื้อไข้ป่าชุกชุม ถ้าเข้าไปอาศัยอยู่ภายในถ้ำเวลานั้น อาจจะทำให้เป็นไข้จับสั่นได้"

ช่วงเวลาที่หลวงปู่กินรีพำนักอยู่ “สำนักสงฆ์เมธาวิเวก” จังหวัดนครพนม เป็นหลายปีนั้น ระยะหนึ่งท่านจะอยู่ ระยะหนึ่งท่านจะไป ที่จะอยู่แต่ในสำนักฯ โดยตลอดเช่นนั้นก็หามิได้ แต่การไปของหลวงปู่ทุกครั้งจะไม่มีการบอกกล่าวว่าที่ใดเป็นจุดหมาย แต่พอจะรู้ๆ กันอยู่ว่า ถ้าท่านไม่ไปสำนักท่านครูบาจารย์ทองรัตน์ ก็ต้องไปที่สำนักท่านพระอาจารย์เสาร์ หรือไม่ก็ถ้ำกับป่า และในระหว่างที่หลวงปู่พำนักอยู่ที่สำนักสงฆ์เมธาวิเวกนี้ ท่านครูบาจารย์ทองรัตน์ก็เคยมาอยู่ร่วมสำนักของท่านด้วย

สำหรับท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล นั้น ดูเหมือนจะมีเรื่องเล่าถึงหลวงปู่กินรีน้อยมาก แม้ว่าหลวงปู่กินรีจะเคยอยู่ร่วมอบรมปฏิบัติธรรมกรรมฐานกับท่านนานถึง 6 ปีก็ตาม และเมื่อพูดถึงเรื่องการปฏิบัติแต่ละครั้ง หลวงปู่จะไม่ลืมคำว่าเป็นข้อวัตรข้อปฏิบัติของท่านพระอาจารย์เสาร์-ท่านพระอาจารย์มั่นเลย หลวงปู่กินรีเคารพนับถือท่านพระอาจารย์เสาร์ว่า เป็นพระอาจารย์ผู้มีพระคุณสูงยิ่ง

หลวงปู่กินรีได้ชวนนายยศ หลานชายซึ่งเป็นลูกพี่ชายของท่าน ที่เคยอยู่วัดเรียนหนังสือด้วยสมัยอยู่วัดบ้าน และต่อมาบวชเป็นสามเณรแล้วสึกไป คราวที่หลวงปู่ไม่อยู่นั้น ให้มาบวชอีกครั้งหนึ่ง โดยครั้งนี้หลวงปู่ได้อ้างเหตุผลว่า “ลุงตายเสียแล้วลูกก็ไม่มี ใครเล่าจะบวชอุทิศส่วนกุศลไปให้ท่าน เธอนี่แหละเหมาะสมแล้ว จงบวชเสียเถิด” ดังนั้น นายยศจึงได้เข้ามาบวชตอนอายุ 22 ปี โดยบวชเป็นพระภิกษุใหม่

การเดินธุดงค์ครั้งยิ่งใหญ่ของท่านก็คือ การเดินธุดงค์สู่ดินแดนพุทธภูมิ พร้อมศิษย์คือพระภิกษุยศและพระภิกษุหลอด จากบ้านเกิดบ้านหนองฮี มุ่งหน้าสู่ท่าอุเทน และเลียบริมฝั่งโขงไปทางเหนือตามสายน้ำสู่ต้นน้ำ ผ่านอำเภอศรีสงคราม บ้านแพง บึงกาฬ แล้วข้ามโขงไปกราบนมัสการพระพุทธบาทโพนสันของลาว หลวงปู่เดินทวนกระแสน้ำผ่านโพนพิสัย ท่าบ่อ ศรีเชียงใหม่ สังคม ปากชม จนกระทั่งถึงอำเภอเชียงคาน

LP Kinaree 10

เส้นทางธุดงค์ของหลวงปู่กินรี จากบ้านหนองฮี อ.ปลาปาก จ.นครพนม ไปยังกรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า

การธุดงค์ด้วยระยะทางนี้ยาวไกล ต้องทั้งอดทั้งทนบางคราวต้องอดอาหารถึง 7 วัน ก็ยังเคยมี จนเป็นสิ่งปกติ แม้จะทุกข์ยากลำบากทุกข์เวทนาเพียงใด หลวงปู่กินรียิ่งยึดมั่นในข้อวัตรปฏิบัติเคร่งครัดหนักยิ่งขึ้น ท่านอบรมสอนศิษย์ให้ฝึกทำจิตให้ตั้งมั่นแม้ในระหว่างการเดินทาง โดยสอนว่าการปฏิบัตินั้นมิใช่จะอยู่ที่การนั่งสมาธิเพียงอย่างเดียว แต่การปฏิบัติภาวนาที่ถูกต้องนั้นจะต้องเป็นไปในทุกๆ อิริยาบถ จะนั่ง จะยืน จะเดิน จะนอน เราจะทำสิ่งใดในขณะใดๆ ก็ให้มีสติอยู่ทุกขณะ ลมหายใจเข้าออกที่เราจะกำหนดได้นั้นก็อาจจะทำได้ แม้ในขณะเดิน กล่าวคือ

ถ้าเรามีสติรู้ว่าความคิดนึกอย่างใดที่เป็นบาป อย่างใดที่ไม่เป็นบาป อย่างใดที่ทำจิตให้เศร้าหมอง อย่างใดที่ทำจิตไม่ให้เศร้าหมอง ถ้าเรามีสติรู้จักสิ่งทั้งหลายเหล่านี้อยู่ตลอดเวลาแล้ว พยายามขจัดความคิดที่เป็นบาป ที่เศร้าหมองออกไปเสียอย่าให้เกิดมีขึ้นมาในจิตได้ นั่นแหละที่เรียกว่าความพากเพียรที่ถูกต้อง เป็นการภาวนาที่ถูกต้อง ลมหายใจมันก็จะรู้อยู่ในนั้นเสร็จ ถือว่าเราปฏิบัติถูกต้องตามอริยมรรคแล้ว การกระทำเช่นนั้นเราอาจจะทำได้ในทุกๆ ขณะย่างก้าว จะนั่งอยู่กับที่เงียบๆ และกำหนดลมหายใจเข้าออกให้จิตสงบนั้น ก็เป็นไปเพื่อจะละอกุศลและเจริญกุศลอย่างนี้ จะนอนก็ต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ จะเดินก็เหมือนกันให้มีสติอยู่ตลอดเวลา เมื่อทำได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์แล้ว นั่นก็หมายความว่าเราได้ทำสัมมาวายามะให้เกิดขึ้นแล้ว ผลคือปัญญาความรู้แจ้งสว่างไสวก็จะเกิดขึ้นมาเอง นี่คือการปฏิบัติภาวนาของเรา ฉะนั้น ท่านจึงสอนให้พยายามพากเพียรกระทำให้ถูกต้องอยู่เสมอ

LP Kinaree 02หลวงปู่กินรีนำคณะศิษย์ผ่านป่าดินแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา บุกป่าปีนเขาลูกแล้วลูกเล่าผจญสัตว์ป่า ไข้ป่าที่ชุกชุมและคุกคาม จากเชียงคานสู่เขตอำเภอท่าสี จังหวัดเลย แล้วเข้าสู่เมืองปากลาย เมืองบ่อแตน แขวงไชยบุรีของลาว ได้พบพระอลัชชี ป่าตองเหลืองที่นุ่งห่มใบไม้ และคนป่าถักแถ่ แล้วจึงวกเข้าสู่บ้านห้วยหมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ หลวงปู่เคยจำพรรษาอยู่กับเผ่าแม้ว ตลอดพรรษาได้ฉันแต่ข้าวโพดเพราะไม่มีข้าว

ออกจากบ้านน้ำปาดมุ่งสู่จังหวัดอุตรดิตถ์ แล้วต่อไปสรรคโลก จึงขึ้นรถยนต์ไปลงที่บ้านระแหง อำเภอเมืองตาก ต่อจากนั้นหลวงปู่ก็เดินธุดงค์เข้าสู่แม่สอด ข้ามเข้าสู่ประเทศพม่าโดยไม่ได้ใช้หนังสือเดินทางใดๆ พระยศกับพระหลอดหมดความอดทนที่จะเดินทางต่อไป ด้วยห่างไกลบ้านมานาน หลวงปู่จึงส่งกลับเขตแดนไทย ส่วนหลวงปู่กับหลานลูกพี่ชายได้ออกเดินทางจากบ้านห้วยหมุ่น น้ำปาด เดินทางไปสู่ย่างกุ้ง และได้พำนักอยู่วัดแห่งหนึ่งในย่างกุ้ง ต่อมาได้รับศรัทธาจากอุบาสกชาวพม่า จึงได้รับนิมนต์ให้ไปอยู่ ณ “วัดกุลาจ่อง” ต่อมาหลวงปู่ได้พบกับพระภิกษุไทยรูปหนึ่ง ซึ่งได้นำทางไปสู่แดนพุทธภูมิ เพื่อนมัสการสังเวชนียสถานทั้ง 4 หลัง จากนั้นหลวงปู่ได้นำคณะเดินทางกลับพม่า และหลวงปู่จำพรรษาอยู่ในพม่าถึง 12 ปี ทำให้หลวงปู่พูดภาษาพม่าได้

ในคืนหนึ่ง หลังจากที่หลวงปู่ได้ภาวนา...ได้จำวัดพักผ่อน และเกิดนิมิตว่า "โยมมารดาของท่านซึ่งบวชชี มานอนขวาง" หลวงปู่รู้สึกแปลกใจในนิมิต คิดว่าคงจะมีเหตุการณ์เกิดขึ้นกับโยมมารดา ท่านจึงต้องเดินทางกลับบ้าน ทั้งที่ไม่คิดที่จะเดินทางกลับ คาดว่าหลวงปู่กลับโดยพาหนะรถยนต์ ระยะนั้น หลวงปู่มั่นจำพรรษาที่บ้านตองโขบ วัดป่าบ้านนามน (วัดป่านาคนิมิตต์) พอหลวงปู่ทราบได้เข้าไปกราบนมัสการ หลวงปู่มั่นได้ถามว่า “กินรี ได้ที่อยู่แล้วหรือยัง ?” หลวงปู่ตอบว่า “ได้แล้วครับ” หลังจากนั้น หลวงปู่กินรีได้เดินทางกลับไปบ้านหนองฮี ผ่านป่าช้าของหมู่บ้าน พบแต่เถ้าถ่านกองฟอนที่เผาโยมมารดา ท่านจึงนำคณะญาติพี่น้องทำบุญเก็บอัฐิของโยมมารดา ด้วยการทำบุญให้เป็นบุญ คือ ห้ามมิให้ฆ่าสัตว์และไม่ให้ดื่มสุรา

หลังจากนั้น หลวงปู่กินรีได้ธุดงค์กลับไปยังประเทศพม่า ผ่านบ้านลานสาง จังหวัดตาก ได้จำพรรษาอยู่ในหมู่บ้านมูเซอ ระหว่างนี้หลวงปู่ท่านอาพาธด้วยโรคหัวใจ ฉันไม่ได้อยู่ประมาณ 3 เดือน ซึ่งท่านเล่าว่า “ความเจ็บไข้ทางกายนี้ เมื่อเป็นหนักเข้ามันก็เป็นอุปสรรคต่อการภาวนาอยู่มากเหมือนกัน เป็นที่ตั้งแห่งนิวรณ์ ความฟุ้งซ่านรำคาญทั้งหลาย บางครั้งก็ทำให้เกิดความเครียด ความสงสัยเคลือบแคลงลังเลใจ ไม่แน่ใจไปเสียทุกอย่าง สงสัยอาบัติที่มีแก่ตัว สงสัยอย่างอื่นจนทำให้การภาวนาไม่สบาย ที่ทรงไว้ได้ดีก็คือศีล แต่ในที่สุดอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นก็สงบลง เพราะการเพ่งพิจารณาอยู่ในอารมณ์”

คืนหนึ่งท่านนอนซมอยู่ ลุกไม่ได้ คิดว่าตายแน่คราวนี้ แต่นิวรณ์ทั้งหลายขาดสิ้นแล้ว ไข้ยังไม่หาย รู้สึกเป็นนิมิต มีพระสมัยโบราณ 6 รูปมานั่งรายล้อมอยู่ รูปสัณฐานใหญ่น้อยลำดับกันไป หลวงปู่พูดว่า “จะมานั่งเฝ้าผมอยู่ทำไม ผมใกล้ตายแล้ว อีกหน่อยมันก็มีแต่ร่างที่เน่าเฟะ เปื่อยผุพังเท่านั้น หาประโยชน์มิได้ จงกลับไปเสีย อย่ามานั่งเฝ้าผมให้ลำบากเลย” พระองค์หัวแถวจึงพูดว่า “อย่าว่าอย่างนั้นเลย ท่านจะยังไม่ตายก่อน จงบอกแก่ชาวเขา ให้นำสิ่งนี้ๆ มาให้กิน ครั้นท่านกินไข้นั้นจะหาย” ว่าแล้วก็เลือนหายไปทั้ง 6 รูป รุ่งขึ้นหลวงปู่ท่านก็บอกชื่อสมุนไพรตามพระโบราณบอก นำมาฝนยาดื่มกิน ทำให้หลวงปู่หายจากอาพาธอย่างน่าอัศจรรย์ ท่านจึงตัดสินใจเปลี่ยนใจที่จะละสังขารที่พม่ากลับมาสู่ประเทศไทยแดนมาตุภูมิ

หลวงปู่กินรี จนฺทิโย กลับมาพำนักอยู่สำนักสงฆ์เมธาวิเวก แล้วต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่วัดกันตศิลาวาส แม้ว่าปฏิปทาของหลวงปู่จะไม่นิยมและเผยแผ่พระศาสนาด้วยการเทศนาเชิงโวหารหรือคำพูด หลวงปู่เป็นตัวอย่างของการทำให้ดูปฏิบัติให้เห็นมากกว่า แต่อุบายธรรมคำสั่งสอนของท่านทรงปัญญาและลุ่มลึกมาก เช่น

  • เตือนและให้สติ หลวงพ่อชา สุภัทโท ผู้เป็นลูกศิษย์ที่จะขอลากลับสู่บ้านเกิดว่า “ระวังให้ดี ถ้าท่านรักใคร คิดถึงใคร เป็นห่วงใคร ผู้นั้นจะให้โทษแก่ท่าน”
  • ให้รักษาศีลให้ดี ทำความเพียรให้มาก มันก็จะรู้เองเห็นเอง เป็นคำสอนที่หลวงปู่บอกกับลูกศิษย์เสมอ
  • สตินี้เป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าเราทราบระเบียบวินัยที่มีอยู่มากมายอย่างละเอียดรอบครอบแล้ว และตามรักษาได้อย่างครบถ้วน สติของเราก็จะต่อเนื่องกัน จิตใจก็จักจดจ่ออยู่แน่ในข้อวัตรปฏิบัติของตน ไม่มีโอกาสที่จะแส่ส่ายไปภายนอก ถ้าขาดสติ โอกาสที่จิตใจจะวิ่งไปตามอารมณ์ภายนอกมันก็มีมากขึ้น และอารมณ์ทั้งหลายก็ย่อมครอบงำจิตให้หลงไหลมัวเมาได้ง่ายขึ้น
  • ไม่ควรคลุกคลี ให้อยู่คนเดียวมากๆ สาธยายด้วยตัวเองให้มาก มีจิตใจกำหนดจดจ่ออยู่ในพระธรรมให้มากนี้เป็นการดีที่สุด
  • สังขาร คือ ร่างกาย จิตใจนี้ เป็นของไม่เที่ยง และจะหาสาระแก่สารอะไรมิได้ โดยประการทั้งปวง
  • จะให้ลูกเป็นคนดี ต้องทำดีให้ลูกดู
  • บุรุษพึงพยายามไปกว่าจะสำเร็จประโยชน์
  • ผู้ขยันในหน้าที่ การงานไม่ประมาท เข้าใจการเลี้ยงชีวิตตามสมควร จึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้
  • คนโกรธมีวาจาหยาบ
  • วาจาเช่นเดียวกับใจ
  • ธรรมเป็นของแน่นอน แต่รูปเป็นของไม่แน่นอน
  • กิเลสคือตัวมารอันร้ายกาจ แม่น้ำเสมอด้วยความอยากไม่มี
  • ความอยากไม่มีขอบเขต ความอยากย่อมผลักดันให้คนวิ่งวุ่น
  • โลกถูกความอยากนำไป ความอยากเป็นแดนเกิดของความทุกข์

หลวงปู่พระอาจารย์กินรี จนฺทิโย ได้ยึดมั่นถือปฏิบัติตามบูรพาจารย์ใหญ่ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และหลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล ที่อยู่อย่างสมถะเรียบง่าย ไม่เปิดเผยตน เก็บตัว ไม่ชอบคนหมู่มาก มักน้อยไม่มักมาก ไม่ต้องการความมีชื่อเสียง พูดน้อย ไม่ชอบเทศน์ถ้าไม่นิมนต์ให้เทศน์ หลวงปู่อยู่อย่างสงบๆ เหมือนพระผู้เฒ่าไม่มีอะไรดี

การปฏิบัติภาวนาของหลวงปู่กินรี เพียงวิธีการสังเกตดูกิริยาภายนอกนั้นอยากที่จะเข้าใจ เพราะกิริยาพฤติกรรมที่แสดงออกกับภูมิจิต ภูมิธรรมภายในนั้นเป็นคนละเรื่อง ดังคำปรารถของ พระอาจาย์ชา สุภทฺโท ครั้นปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่ ทั้งก่อนและหลังที่เดินธุดงค์สู่ภูลังกา จังหวัดนครพนม ได้กล่าวว่า ท่านเองทำความเพียรอย่างสาหัส เดินจงกรมทั้งวัน ไม่ว่าฝนจะตกแดดจะออกจนแผ่นดินทรุดทางเดินเป็นร่องลึกหลายต่อหลายร่อง ปฏิบัติมิได้หยุดหย่อน ยังไม่รู้ไม่เป็นอะไรแล้วท่านอาจารย์ปฏิบัติเพียงเดินจงกรมก็ไม่เคยเดินจะนั่งสมาธินานๆ ก็ไม่เห็นนั่ง คอยแต่จะทำนั่นทำนี่แล้วจะไปถึงไหนกัน

LP Kinaree 11

แล้วหลวงพ่อชา ได้กล่าวภายหลังว่า "เรามันคิดผิดไป ท่านพระอาจารย์ทำความเพียรขั้นอุกฤกษ์มากต่อมาก หลายต่อหลายปี รู้อะไรมากกว่าเราเป็นไหนๆ คำเตือนสั้นๆ ห้วนๆ แม้จะนานๆ ครั้ง แต่ก็เป็นสิ่งที่เราไม่เคยคิด ไม่เคยเห็นมาก่อน อุปมาเหมือนแสงจันทร์กับแสงเทียน การปฏิบัติแท้ๆ นั้นไม่ใช่กิริยาอาการภายนอก ไม่ใช่การเดินจงกรมด้วยเท้า ไม่ใช่การนั่งสมาธิ มิใช่การศึกษาตำราตัวหนังสือ มิใช่เพียงคำพูดและมิใช่สิ่งที่จะยกเป็นตัวเป็นตนได้แต่การปฏิบัติภาวนาที่แท้จริงนั้น เป็นกิริยาภายใน เป็นอาการภายใน เป็นการปฏิบัติทางใจ นั่งนิ่งอยู่ที่จิต ทำอารมณ์ให้นิ่ง ทำจิตให้นิ่ง มีสมาธิจนเป็นหนึ่งอยู่ทุกขณะจิต ตลอดภาวนา ทุกเวลาทุกอริยาบทแม้การทำจิตอันใด ฉะนั้นการจะไปจับเอาการกระทำด้วยการนั่งสมาธิกายเดินจงกรมของครูบาอาจารย์นั้นไม่ได้และไม่ถูก"

หลวงปู่กินรีเป็นพระที่ยึดมั่นในศีลธรรม อบรมลูกศิษย์อย่าประมาทในศีลแม้สิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ ในพระวินัยจะประมาทไม่ได้เด็ดขาด แม้เพียงการตากผ้าสงบจีวรแล้วมิได้เฝ้าดูรักษา หลวงปู่ก็ตำหนิพระลูกศิษย์ว่า ประมาทในสิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ การเป็นสมณะต้องเป็นผู้มักน้อยสันโดษ เป็นอยู่ง่ายๆ กินแต่น้อยมีทรัพย์สิ่งของน้อยและไม่สะสม จะต้องทะนุถนอมรักษาใช้ให้นานๆ เป็นผู้ไม่สิ้นเปลืองมาก ถ้าใช้สุรุ่ยสุร่าย แสดงถึงการขาดสติในการประคับประคองตัวให้อยู่ในครอบร่างรอยของสมณะ แล้วจะมีอะไรเป็นเครื่องมือปฏิบัติภาวนา สตินั้นต้องมั่นคง และต่อเนื่องด้วยการสังวรระวังในวินัยสิกขาบท สติเราก็จะมั่นคงต่อเนื่อง ถ้าขาดวินัยย่อมขาดสติ จิตจะวิ่งไปตามอารมณ์ภายนอกอารมณ์ทั้งหลายก็ย่อมครอบงำจิตให้หลงใหลมัวเมา การมีสติอยู่กับข้อวัตรพระวินัย ย่อมเป็นเครื่องกั้นอารมณ์ทั้งปวงและทำให้สติต่อเนื่อง จิตใจย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิจิตตลอดกิริยาบถ คำสอนของหลวงปู่จึงเป็นคำสอนที่ง่ายๆ เป็นการสอนด้วยข้อปฏิบัติและกระทำทันที

LP Kinaree 05

พิพิธภัณฑ์อัฐบริขารหลวงปู่กินรี จนฺทิโย ณ วัดกันตศิลาวาส

หลวงปู่กินรี ท่านเป็นคนพูดน้อย แต่ละคำพูดที่พูดจึงมีแต่ความบริสุทธิ์และจริงใจ ท่านยึดถือคติธรรม “สติโลกสฺมิ ชาคโร” สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่เสมอ จงเอาสติตามรักษาจิตไว้ เพราะคนมีสติย่อมประสบแต่ความสุข จะพูดจะคิดจึงควรมีสติทุกเมื่อ ท่านมักจะอยู่คนเดียว ไม่ชอบคลุกคลีกับหมู่คณะ พยายามให้พระเณรในวัดมีการร่วมกันน้อยที่สุด ให้เร่งทำความเพียร อย่าได้อยู่ด้วยความเกียจคร้าน อย่าเป็นผู้พูดมาก เอิกเกริกเฮฮา ไม่จำเป็นท่านจะไม่ให้ประชุมกัน แม้การสวดมนต์ทำวัตรยังให้ทำร่วมกันสัปดาห์ละครั้งเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ต้องทำด้วยตนเองอยู่แล้ว ให้อยู่คนเดียวทำคนเดียวมากๆ จิตจดจ่ออยู่ในพรรษาให้มาก โดยเฉพาะเตือนลูกศิษย์ให้อยู่ในป่าช้าให้มาก อานิสงส์ของการอยู่ในป่าช้าทำให้จิตใจกล้า องอาจ จิตตื่นอยู่เสมอ พิจารณาข้อธรรมได้ถี่ถ้วน เพราะจิตปราศจากนิวรณ์

หลวงปู่กินรี จนฺทิโย เคยอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่เสาร์นานถึง 6 ปี อยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่น 2 ปี และอยู่กับหลวงปู่ทองรัตน์ 4 ปี หลังจากนั้นได้กราบคารวะบูรพาจารย์ให้ทั้งสามอยู่เนืองนิจ แต่ชีวิตปั้นหลายของหลวงปู่กินรี นั้น ทุกสิ่งทุกอยางปกติคือพูดน้อย เก็บตัวอยู่เรียบง่ายสงบระงับ หยุดการเดินทาง หยุดการธุดงค์ มีนานๆ ครั้งจะไปเยี่ยมพระอาจารย์ชา ผู้เป็นศิษย์ ที่วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ด้วยลักษณะนิสัยต้องการอยู่ตามลำพัง อยู่คนเดียว ไม่เปิดเผยตัวเอง จึงไม่มีผู้ใดที่จะเคยได้ยินคำพูดที่จะเป็นไปในทางโอ้อวดการมีดี การอวดคุณธรรมวิเศษจากหลวงปู่ ท่านสมณะที่สงบเสงี่ยมเจียมตน จึงไม่อุดมด้วยศิษยานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและฆราวาส พระอาจารย์ชา สุภทฺโท จึงส่งพระลูกศิษย์ 2 รูปมาอุปัฏฐากดูแลท่าน

LP Kinaree 08

หลวงปู่กินรีมีโรคประจำตัว คือ ไออยู่เป็นนิจ เนื่องจากเกี่ยวกับปอดชื้น แต่ท่านไม่ยอมให้หมอรักษาไม่ว่าท่านจะเป็นอะไร จะอาการหนักหรือไม่หนัก ท่านจะไม่ยอมให้ใครนำตัวท่านไปรักษาที่โรงพยาบาลอย่างเด็ดขาด อะไรมันจะเกิดก็ต้องเกิด จนกระทั่งเมื่อวันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 12 ปีวอก หลวงปู่จึงได้ละสังขารจากพวกเราไป สิริรวมอายุได้ 84 ปี 7 เดือน 16 วัน พรรษา 58

LP Kinaree 09

หลวงพ่อชา สุภัทโท เป็นองค์ประธาน งานประชุมเพลิงหลวงปู่กินรี จันฺทิโย

 ** หมายเหตุ
redline

ในประวัติของหลวงปู่กินรีจากหลายแหล่ง ได้มีหมายเหตุในเรื่อง วัดอ้อมแก้ว ว่า “ปัจจุบันชื่อ วัดเกาะแก้วอัมพวัน ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้เคยมาพำนัก” ซึ่งปี พ.ศ. ที่บวชไม่สอดคล้องกับปีที่สร้างวัดเกาะแก้วอัมพวัน และในการสร้างวัดเกาะแก้วอัมพวันก็ไม่มีข้อบ่งชี้ว่า เป็นการบูรณะวัดเก่า ดังข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในประวัติหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ที่ รศ.ปฐม นิคมานนท์ เป็นผู้เรียบเรียง ซึ่งมีข้อความว่า

“ในปลายปี พ.ศ. ๒๔๗๓ นั้นเอง หลวงปู่ใหญ่จึงออกธุดงค์ไปทางอำเภอธาตุพนม ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครพนมไปทางใต้กว่า ๕๐ กิโลเมตร หลังจากพาลูกศิษย์ไปนมัสการพระธาตุพนม แล้ว หลวงปู่ใหญ่ก็พาคณะไปพำนักปักกลดอยู่ที่ป่าดอนอ้อมแก้ว อยู่ทางทิศใต้ขององค์พระธาตุพนม

บริเวณป่าดอนอ้อมแก้วแห่งนี้ เป็นผืนดินที่มีลักษณะคล้ายเกาะ เพราะมีน้ำล้อมรอบอยู่ ทางตะวันตกมีน้ำจากลำห้วยแคน ไหลผ่านลงลำน้ำก่ำ แล้วลงแม่น้ำโขงอีกทีที่ปากก่ำ ซึ่งอยู่ไม่ไกลบริเวณนั้น

ประชาชนชาวธาตุพนม ซึ่งเรียกว่าชาวไทพนม นำโดยโยมทองอยู่ และโยมแก้วผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ได้ร่วมแรงร่วมใจพากันช่วยถากถางป่าต้นหนามคอมและกอไผ่หนาม จัดสร้างกุฏิ กระต๊อบ และเสนาสนะที่จำเป็นสำหรับคณะพระธุดงค์ได้พักอาศัย พอกันแดดกันฝนได้ รวมทั้งอุปถัมภ์อุปัฏฐากให้คณะของหลวงปู่ใหญ่ได้พักจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่แห่งนั้น

เป็นอันว่าในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ หลวงปู่ใหญ่และคณะพักจำพรรษาโปรดญาติโยมอยู่ที่ป่าดอนออมแก้ว อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นพรรษาที่ ๕๐ ของท่าน

สำนักป่าดอนอ้อมแก้วแห่งนี้ จึงได้กลายเป็นวัดกรรมฐาน ชื่อว่าวัดป่าอ้อมแก้ว เพื่อเป็นการฉลองศรัทธาและเป็นเกียรติแก่โยมแก้ว เจ้าของที่ ในปลายปี พ.ศ. ๒๔๗๓ นั่นเอง

หลวงปู่ใหญ่เสาร์จึงเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ต่อมาภายหลังได้ใช้ชื่อใหม่ว่า วัดเกาะแก้วอัมพวัน มาจนทุกวันนี้”

ตามข้อความข้างต้น วัดป่าอ้อมแก้ว ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ หลังจากปีที่หลวงปู่กินรีบวช คือปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ถึง ๔ ปี ดังนั้นความเป็นไปได้จึงมี ๓ ทางคือ

  • วัดที่หลวงปู่กินรีบวช ไม่ใช่วัดอ้อมแก้ว หรือ
  • ถ้าวัดที่หลวงปู่กินรีบวชเป็นวัดอ้อมแก้วจริง วัดอ้อมแก้ว ที่หลวงปู่กินรีบวช กับวัดเกาะแก้วอัมพวัน ก็ต้องไม่ใช่วัดเดียวกัน หรือ
  • ถ้าวัดวัดอ้อมแก้ว กับวัดเกาะแก้วอัมพวัน เป็นวัดเดียวกัน ปี พ.ศ. ที่หลวงปู่กินรีบวช หรือปี พ.ศ. ที่สร้างวัดเกาะแก้วอัมพวัน ปีใดปีหนึ่งต้องผิด

redline

backled1

Subcategories

ประวัติหลวงพ่อชา

พระธรรมเทศนาของหลวงพ่อ

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)