foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

dance header

bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

fon tamnong lam header

3diamondการฟ้อนตังหวาย

การฟ้อนตังหวาย ฟ้อนตังหวายนั่นมีที่มาอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่

fon tang wai2.1 ฟ้อนตังหวายเป็นฟ้อนเพื่อบวงสรวงบูชา โดยเฉพาะชนชาติที่อาศัยอยู่ตามแถบลุ่มแม่น้ำโขง มีความเชื่อและยึดมั่นในการนับถือเทวดาฟ้าดิน ภูติผีวิญญาณ ต้นไม้ใหญ่ จอมปลวก งูใหญ่ หนองน้ำใหญ่ เป็นต้น และเข้าใจว่า สิ่งที่ตนให้ความนับถือนั้นสามารถจะบันดาลให้เกิดผลสำเร็จ หรือเมื่อเกิดอะไรที่ผิดจากธรรมดาขึ้นมาก็เข้าใจว่า สิ่งที่ตนนับถือโกรธจึงบันดาลให้เป็นไปอย่างนั้น

จึงจัดให้มีการบวงสรวงบูชา หรือจัดให้มีพิธีขอขมาขึ้นมาเพื่อขอให้มีโชคลาภ โดยมีหัวหน้าเป็นผู้บอกกล่าวกับสิ่งนั้นโดยผ่านล่ามเป็นผู้บอกขอขมา มีการฆ่าสัตว์ ไก่ หมู วัว ควาย และสิ่งอื่นๆ ตามกำหนดเพื่อนำมาบูชาเทพเจ้าหรือเจ้าที่เจ้าทางที่ตนเองนับถือ เท่านั้นยังไม่พอได้มีการตั้งถวาย ฟ้อนรำถวายเป็นการเซ่นสังเวย

พอถึงฤดูกาลชาวบ้านต่างจะนำเอาอาหารมาถวายเจ้าที่เจ้าทาง หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยถือว่าปีใด "ขนไก่ ไม่ตก ขนนก ไม่หล่น" ก็ถือว่าปีนั้นดี เทวดาจะให้ความคุ้มครอง จะต้องมีการจัดฉลองใหญ่โดยมีการ "ตั้งถวาย ฟ้อนรำถวาย" แต่ต่อมาคำว่า "ตั้งถวายฟ้อนถวาย" คำนี้ได้สึกกร่อนไปตามความนิยมเหลือเพียงคำสั้นๆ ว่า "ตั้งหวาย" หรือ "ตังหวาย"

2.2 ฟ้อนตังหวายกับลำตังหวาย ลำตังหวายเป็นทำนองลำของหมอลำในแคว้นสวันนะเขต คำว่า ตังหวาย น่าจะมาจากคำว่า "ตั่งหวาย" ซึ่งในสูจิบัตรการแสดงศิลปวัฒนธรรม ของคณะศิลปินและกายกรรมแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ก็ใช้คำว่า "ขับลำตั่งหวาย" คำว่า "ตั่งหวาย" ถ้าพิจารณาตามความหมายของคำแล้ว คำว่า "ตั่ง" หมายถึงที่สำหรับนั่งไม่มีพนัก อาจมีขาหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น "ตั่งหวาย" น่าจะหมายถึง ที่นั่งที่ทำมาจากหวาย

จึงสันนิษฐานว่า การลำตั่งหวาย เป็นทำนองลำที่นิยมลำของหมอลำ ในหมู่บ้านที่มีอาชีพผลิตตั่งหวายออกจำหน่าย แต่เมื่อทำนองลำนี้เผยแพร่เข้ามาในประเทศไทย จึงกลายมาเป็น "ลำตังหวาย" ลำตังหวายเป็นทำนองลำที่มีความเร้าใจ สนุกสนาน และมีความไพเราะเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะลักษณะของกลอนลำ จะมีการยกย่องทั้งฝ่ายชายและหญิง กลอนลำมีลักษณะโต้ตอบกัน จะมีคำสร้อยลงท้าย เช่นคำว่า หนาคิงกลม คนงามเอย ซำบายดี และคำขึ้นต้นว่า ชายเอย นางเอย

font tang wai 3

การฟ้อนที่อ่อนช้อยของตังหวายนี้ นายประดิษฐ์ แก้วชิณ ได้พบเห็นการแสดงที่อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เห็นว่ามีลีลาการแสดงอ่อนช้อยงดงาม น่าจะฟื้นฟูจึงได้นำมาทดลองฝึกให้เด็กรำ เห็นว่าเหมาะสมดี จึงได้นำชุดฟ้อนนี้ออกแสดงในงานปีใหม่ ที่ทุ่งศรีเมือง ในปี พ.ศ. 2514 ต่อมา อาจารย์ศิริเพ็ญ อัตไพบูลย์ หัวหน้าภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูอุบลราชธานี (มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ในปัจจุบัน) นำต้นแบบมาดัดแปลงท่ารำให้เหมาะสมยิ่งขึ้น แล้ววงโปงลางวิทยาลัยครูอุบลราชธานี ได้นำออกมาแสดง จนเป็นที่นิยมและเป็นเอกลักษณ์ของวงมาจนบัดนี้

เครื่องแต่งกาย ผู้แสดงเป็นหญิงล้วนเครื่องแต่งกายนิยมใช้อยู่ 2 แบบ คือ

  1. สวมเสื้อแขนกระบอกสีพื้น นุ่งผ้าถุงมัดหมี่คาดเข็มขัดเงินทับ ผมเกล้ามวย ใช้ฝ้ายสีขาวมัดผมคล้ายอุบะ
  2. ใช้ผ้าแพรวารัดอกทิ้งชายทั้งสองข้าง นุ่งผ้าถุงมัดหมี่ยาวครึ่งแข้ง เกล้าผมมวยใช้ผ้ามัดหรือใช้ดอกไม้ประดับรอบมวยผม

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน (โปงลาง) ทำนองลำตังหวาย

ฟ้อนตังหวาย

ลำตังหวาย

            โอ.... วาสนาอีน้องน้อย (บ่คอยได้ ฮ่วยพี่ชาย) ออ.... เอ้ย
        ตังหวายนี้มีมาแต่โบราณ
ของเขาดีมีไว้อย่าทำลาย
       เขมราฐอำเภอถิ่นบ้านเกิด
ท่าร่ายรำต่างๆ ช่วยเพิ่มพูน
        บัดนี้ข้าจักยอนนอแม้นมือน้อม
ถวายให้ดอกผู้อยู่เทิง
        ชายเอย จุดประสงค์นอแม่นหมายแม้ง
ตั้งแต่ครั้งโบราณผู้ให้เฟื่องฟู
        คำนางปูเป็นทางนอเพื่อเดินแต้ม
แม่นพวกพ้องนำมาร้องออกโฆษณา
ชาวอีสานบำรุงไว้อย่าให้หาย
ขอพี่น้องทั้งหลายจงได้ชม
ช่วยกันเถิดรักษาไว้อย่าให้สูญ
อย่าให้สูญเสียศิลปะเรา
ธุลีกรนอแม้นก้มกราบ ชูสลอนนอแม้นนบนิ้ว
หล้าพี่คนงามนี่นา หนาคิงกลม
เพื่อเผยศิลปนอแม้นพื้นบ้านเก่าของไทยเฮา
อ้ายพี่ ของน้องนี่นา หนาคิงกลม
ทางอีสานบ่ให้หลุดหล่น นอเฮานอ
เหล่าพี่คนงามนี่เอย หนาคิงกลม
        ชายเอย คันจบๆ หนอแม่นจั่งน้อง
กินข้าว หัวมองนอแม่นนำไก่
บ่ายปลา ท้ายล่ามคนงามนี่นา
        ชายเอย คิดเห็นคราวนอแม่นเฮาเว้า
แม่สิย้อนนอแม่นไม่แส้ ดีน้องนั่นแต่ผู้เดียวๆ ๆ
        นางเอย ไปบ่เมือนอแม่นนำอ้าย
ค่าเฮียอ้ายนี่บ่ให้จ้าง
เอราวัณหนอให้น้องขี่
ให้นางน้องออกแม่นขี่เมือ
        ชายเอย ย้านบ่จริงนอแม่นจั่งว่า
ดำนาแล้วตอกเหยียบใส่ตมๆ ๆ
        บัดนี้ขอส่งพระ สะละแม่นไปให้
ทั้งชายแดนและตำรวจน้ำ
ขอให้สุขนอแม่นถ้วนหน้าประชาทุกคืนวัน
งามๆ หนอแม่นจั่งน้อง สังบ่ไปนอแม่น
คันขี้ล่ายเด๊อแม่นจั่งอ้าย กินข้าวดอกแม่น
หนาคิงกลม
ในเถียงนาคันบ่มีฟ้า แม่สิลากนอแม้นไม้ค้อน
บุญน้องนั่นบ่สมอ้ายนา หนาคิงกลม
เมือนำนอแม่นอ้ายบ่ ค่ารถนี่บ่ให้เสีย
อ้ายสิกลายนอแม่นเป็นช้าง
กลายเป็นรถนอแม่นแท็กซี่
ชู้พี่คนงามนี่เอย หนองหมาว้อ
สีชมพูเจ้าจึงว่า ย้านเป็นตอกนอแม่นมัดกล้า
อ้ายพี่ น้องบ่ลืมอ้ายนา หนองหมาว้อ
ทหารไทยคันผู้กล้าแก่น
อ.ส.กล้าคันจงเจริญ สรรเสริญภิญโญเจ้านอ
(หล่าพี่, อ้ายพี่) คนงามน้องนี่นา ซำบายดี
        เอ้าลาลาลาที ขอให้โชคดีเถิดนะแฟนจ๋า
ถ้าหากสนใจละหนูขอขอบคุณ คันไกลคันไกลกันแล้ว
จากต้น ผู้จากต้น ผู้จากต้น บ่ได้แม่กลิ่นหอม
ดินของขอลาไปแล้ว (ซ้ำ) เจ้าไปแล้ว
เสียงจากลูกทุ่งบ้านนา โชคดีเถิดหนาลองฟังกันใหม่
เรือแจวมันไกลจากฝั่ง ดอกสะมัน มันไกลผู้จากต้น
นั่นละหนานวลนา ละนาพี่นวลนา หางตาผู้ลักท่าลา

รำตังหวาย บ้านเจียด อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

อ่านเพิ่มเติม : ลำตังหวาย วัฒนธรรมสองฝั่งโขง newgreen1

3diamondฟ้อนสาละวัน

fon salawanฟ้อนสาละวัน เป็นชุดฟ้อนที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ โดยทาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบัน) การฟ้อนชุดนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากการที่ อาจารย์วีณา วีสเพ็ญ อาจารย์เฉลิมชัย ชนไพโรจน์ และอาจารย์วาสนา ต้นสารี ได้เดินทางไปเยี่ยมศูนย์ลาวอพยพ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อศึกษาทำนองลำชนิดต่างๆ ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และการไปครั้งนี้ก็ได้พบกับหมอลำที่มีชื่อเสียงของลาวคือ หมอลำบัวผัน แก้ววิเศษ และหมอแคนเข็มพร แก้ววิเศษ ซึ่งหมอลำบัวผันได้ลำเพลงพื้นเมืองทำนองต่างๆ พบว่ามีทำนองลำพื้นเมืองหลายทำนอง เช่น ลำมหาชัย ลำผู้ไท ลำสาละวัน ลำคอนสวัน ลำบ้านซอก ซึ่งในทำนองลำแต่ละทำนอง ก็จะมีลีลา ท่วงทำนองแตกต่างกันออกไป

ในปี พ.ศ. 2525 ทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดย อาจารย์วีณา วีสเพ็ญ พร้อมนิสิตชมรมดนตรีและนาฏศิลป์พื้นเมือง จึงร่วมกันประดิษฐ์ท่าฟ้อนประกอบการลำสาละวัน ซึ่งมีท่วงทำนองที่เร้าใจ เนื้อหาของลำสาละวันนั้น นอกจากจะสะท้อนให้เห็นการเกี้ยวพาราสีของชายหญิงแล้ว โวหารเปรียบเทียบที่ใช้ยังสะท้อนให้เห็นถึงความงามของภาษา ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์และศึกษาต่อไปยิ่งนัก การฟ้อนสาละวันนับเป็นการฟ้อนตีบทตามกลอนลำสาละวัน คำว่า "สาละวัน" คงได้ชื่อมาจากแหล่งกำเนิดและนิยมขับร้องทำนองพื้นเมืองชนิดนี้ ซึ่งแพร่หลายอยู่ในแถบเมืองสาละวัน จึงได้ชื่อว่า "ลำสาละวัน"

เครื่องแต่งกาย ผู้หญิงแต่งชุดผ้าฝ้ายพื้นเมือง เสื้อแขนกระบอกสีขาวขลิบสีชมพู ผ้าถุงมัดหมี่ฝ้ายสีดำ เก็บชายเสื้อห่มสไบผ้าขิดสีชมพู คาดเอวด้วยสายเข็มขัดเงิน ผมเกล้ามวยสูง ผูกผ้าสีชมพูสด ผู้ชายแต่งผ้าฝ้ายล้วน เสื้อสีนวลคอกลม แขนสั้น กางเกงขาก๊วยสีเขียวสด คาดเอวด้วยผ้าขาวม้าไหม โพกผ้าด้วยผ้าขิดสีชมพู ลวดลายเหมือนกับผ้าสไบของฝ่ายหยิง สวมสร้อยคอเงินหรือใช้ฝ้ายคล้องคอ

fon salawan 2

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ทำนองลำสาละวัน

ฟ้อนสาละวัน

ลำสาละวัน

1. โอ...... โอละเดอชายเอย แต่บาดสิบปีล้ำ ซาวปีล้ำ มาเห็นกันเทื่อหนึ่ง เดออ้ายเอย ชายเอย
            พอแต่เข้าขึ้นเล้ามาพ้อเทื่อสองอ้ายเอย... คีงบางเอย
            โอยเด..... คันแม่นแฟนเพิ่นแล้วนางขอติตั้งแต่ผ่าน เดอ
            โอนอ..... คันแม่นซู้ต่างบ้าน นางขอต้านตั้งแต่ละความอ้ายเอย.... คีงบางเอย

2. โอ...... โอนอ ชายเอย พอแต่เหลียวเห็นหน้าขาวมายิ้มป่อยหล่อยแท้นอ
            โอ เด .... คันบ่ให้น้องน้อยนำอ้ายบ่แม่นคนอ้ายเอย คีงบางเอย
            โอ นอ.... เชิญอ้ายมาลำเตี้ยสาละวันให้มันคล่องเด้ออ้ายเอย
            โอย เด ..... พอฟังอ้ายและน้องมาลำเตี้ยให้มันค่องกัน แน่ก่อน โอ... เอย
            โอย เด ..... เตี้ยลงสาละวันเตี้ยลง (ซ้ำ) เตี้ยต่ำๆ ผู้เตี้ยลงต่ำๆ
            เตี้ยลงแล้วฟังข่อยสิเดี่ยวกลอน ฟ้อนอ่อนๆ สาวสาละวันเอย
            ฟ้อนอ่อนๆ เด้อสาวสาละวัน เฮามาฟ้อนนำกันผู้เตี้ยลงต่ำๆ เตี้ยต่ำๆ เตี้ยลงต่ำๆ
            เตี้ยลงแล้วลุกขึ้นสาละวัน สาละวันลุกขึ้น ลุกขึ้นสาละวัน ลุกขึ้นแล้วกะฟ้อนยืนตรงๆ (ซ้ำ)
            มารำวงนำกันเป็นหมู่ เดินเป็นคู่สอดสายมาลัย จักแฟนไผกะซังมางามแท้น้อ
            รูปหล่อๆ ให้น้องขอเมือนำ ตาดำๆ ซิฮักน้องบ่อนอ (ซ้ำ) นออ้ายเอ้ย

3. โอ...... โอนอ ชายเอย นางบ่เคยลำเตี้ยสาละวันจักเทื่อ เด้ออ้ายเอย
            โอ เด .... มาพบพุ่มหมากเขือ มาพบเครือหมากแข้ง มาพบแซงหมากพร้าว
            มาพบบ่าวผู้ฮู้ มาพบซู้ผู้นี้อยากลำเกี้ยวใส่กันแท้นออ้าย เอย
            เดินหน้าแล้วเชิญยิ้มหวานๆ (ซ้ำ) เดินหน้าสาละวันเดินหน้า (ซ้ำ)
            ถ้าบ่สงสารสาวหมอลำบ่ (ซ้ำ) บ่ฮักน้องบ้อ บ่เอาน้องบ่ (ซ้ำ)
            ถอยหลังสาละวันถอยหลัง (ซ้ำ) หูคอยฟังเสียงกลองเขาแหน่
            หูคอยฟ้องเสียงแคนเขาแน ต้อยแลนแตรผู้ต้อยแลนแตร่ (ซ้ำ)
            คันบ่ฮักเจ้าแน น้องกะบ่มาลำ (ซ้ำ)

4. โอย...... พอแต่เหลียวเห็นหน้าอยากคืนมาฟ้าใหม่แท้ เด
            โอย เด พออยากขยับเข้าใกล้เฮือนเพิ่น ตั้งแต่คนอ้ายเอยคนงามเอย
            โอย.... ชายเอยคั่นแม่นนางน้องนี้แล้ว โอ เด ..... น้องนี้มาเสียจิตตั้งแต่บ้านน้องนี้อยู่ไกล
            โอ เด ..... น้องนี้มาเสียใจตั้งแต่บ้านน้องอยู่ห่างเด้
            โอเดพออยากย่อแผ่นพื้นโนนบ้านเข้าใส่กันอ้ายเอย คีงบางเอย...
            โอเดเชิญอ้ายมาลำเกี้ยวสาละวันให้มันคล่อง เด้ออ้ายเอย
            โอนอ พอฟังอ้ายและน้องมาละเตี้ยให้คล้องกันหย่าง เอยคนงามเอย
            เกี้ยวกันสาละวันเกี้ยวกัน (ซ้ำ) โอยละพี่ชายเอย จังหวาละพี่ชายเอย
            การที่มาลำเตี้ยนางบ่เคยเต้ยจักเทื่อ แนวใด๋มันคือเอ้อ เอย....
            มาพบพุ่มกะละแม่นหมากเขือ นางมาพบเดื่อหมากแข้ง มาพบแซงกะละแม่นหมากพร้าว
            มาพบบ่าวกะละแม่นผู้ฮู้ นางมาพบชู้ผู้นี้อยากลำเกี้ยว ลำเกี้ยว เข้าใส่กัน
            นั่นละหนานางนา ละหนาหน้านวลนำผู้หนาลำคีงบางเอย ผู้หนาลำคีงเจ้าบางเอย เจ้าบางเอย
            โอย.... ชายเอย น้องสิไลลาแล้วสาละวันสิโค้งอ่วยก่อนเด้อ
            โอยเด นางสิลาพี่น้อง อันนี่ค่อยอยู่ดีแน่ท่อนลาลงละเด้อ... ลาลง สาละวันลาลง (ซ้ำ)

ລຳສາລະວັນ" ເລື່ອງລາວສິລະປະວັນນະຄະດີພື້ນເມືອງທີ່ມາໃນຮູບແບບຂັບລຳທ້ອງຖິ່ນ ທີ່ສະທ້ອນໃຫ້ເຫັນເຖິງຫົວຄິດປະດິດສ້າງຂອງປະຊາຊົນລາວ,​ ຄວາມສວຍງາມທາງວັດທະນະທຳອັນເປັນເອກະລັກໂດດເດັ່ນ.
ປັດຈຸບັນລຳສາລະວັນ ຍັງເປັນຫນຶ່ງໃນກອນລຳອຳມະຕະທີ່ບໍ່ໄດ້ເປັນສະເພາະຊັບສົມບັດຂອງຄົນສາລະວັນ ແຕ່ຍັງເປັນຂອງຄົນລາວທັງຊາດ,​ ການຟ້ອນປະກອບລຳສາລະວັນໄດ້ກາຍເປັນຫນຶ່ງໃນທ່າລຳວົງມາດຕະຖານອັນເປັນທີ່ນິຍົມຊົມຊອບ ຈົນຖືກຂະຫນານນາມໃຫ້ວ່າເປັນ ''​ລຳມະຫາອຳນາດ''​ ແລະກ້າວສູ່ການເປັນມໍລະດົກໂລກ.​ "

"ลำสาละวัน" ในฝั่งทาง สปป.ลาว นั้นเป็นศิลปะขับลำท้องถิ่นที่สะท้อนให้เห็นถึงการคิดประดิดประดอย ความสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น ปัจจุบัน ลำสาละวัน ไม่ได้เป็นสมบัติของคนในเมืองสาละวัน ทางตอนใต้ของ สปป.ลาว เท่านั้น แต่เป็นสมบัติของคนลาวทั้งชาติ เพราะการฟ้อนประกอบท่ารำสาละวันได้กลายเป็นหนึ่งในท่ารำวงมาตรฐานของลาวที่ผู้คนนิยมชมชอบ ถึงกับขนานนามให้ว่าเป็น "ลำสาละวัน-ลำมหาอำนาจ" และกำลังถูกเสนอให้เป็นมรดกโลกทางด้านศิลปวัฒนะธรรมจากองค์การยูเนสโกด้วย

เหตุใด? จึงเรียกว่า "ລຳມະຫາອຳນາດ'' ท่วงท่าในการรำวงสาละวันนั้นจะมีท่อนร้องที่ให้ผูร่วมในการร่ายรำต้องทำตาม เช่น "สาละวันจับหู จับหูสาละวัน" หรือท่อนที่บอกว่า "สาละวันเตี้ยลง เตี้ยลงสาละวัน สาละวันลุกขึ้น ลุกขึ้นสาละวัน" ผู้ลำต้องทำตามที่สั่งเสมอ ไม่ว่าผู้ร่ายรำในขณะนั้นจะเป็นใคร ชาวบ้าน หนุ่ม-สาว เด็กน้อย เจ้าแขวง เจ้าเมือง หรือแม้แต่รัฐมนตรี ก็ต้องทำตามทั้งสิ้น นี่จึงเป็น "​ລຳມະຫາອຳນາດ'' อย่างแท้จริงนั่นเอง

ดูเพิ่มเติม : ເລາະລຸຍລາວຕອນ: ລຳສາລະວັນ-ລຳມະຫາອຳນາດ

 

next green คลิกไปอ่าน  การฟ้อนชุดชุมนุมเผ่าต่างๆ

 

redline

backled1

dance header

bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

fon tamnong lam header

วามหมายและที่มาของคำว่า "ลำ" เดิมทีเดียว "ลำ" คงจะมีความหมายถึง สิ่งที่มีลักษณะยาวกลม เช่น ลำไผ่ ลำอ้อย ลำตาล ลำน้ำ และใช้เป็นนามเรียกสิ่งเช่นนั้น เช่น ไม้ไผ่ 3 ลำ อ้อย 2 ลำ เป็นต้น

ส่วน "ลำ" ที่มีความหมายว่า "ขับร้อง" หรือการขับร้องนั้นเป็นความหมายที่เกิดขึ้นใหม่ ถือว่าเป็นการกลายความหมายของคำให้กว้างออกไป (พรชัย ศรีสารคาม. 2521) คำว่า "ลำ" ในที่นี้เป็นคำกริยาหมายถึง การขับร้องเป็นทำนองอย่างมีศิลปะ คงมีความหมายเช่นเดียวกับการขับลำนำ (บุญเรือง ถาวรสวัสดิ์. 2524)

คำว่า "ลำ" ในพจนานุกรมภาคอีสาน-ภาคกลาง (2515 : 350) ได้ให้ความหมายของคำว่า "ลำ" ไว้ 2 ความหมายคือ

  • ลำ (1 น.) เรื่องที่แต่งตามระเบียบฉันทลักษณะ เช่น ลำพระเวส เป็นต้น ตัวของสัตว์หรือสิ่งต่างๆ ไม่นับส่วนที่เป็นแขนขาหรือกิ่งก้าน เรียกส่วนที่ยาว กลม หรือลักษณะเช่นนั้น เช่น ลำไผ่ ลำอ้อย ลักษณะนามเรียกสิ่งเช่นนี้หรือเรือ ว่า หนึ่งลำ สองลำ เป็นต้น
  • ลำ (2 น.) การขับร้องอย่างหนึ่ง มีแคนเป็นดนตรีประกอบมีหลายทำนอง

คำว่า "ลำ" ที่มีความหมายว่า ขับร้อง หรือการร้องเพลงนั้น ทางภาคเหนือของประเทศไทยใช้คำว่า "ขับ" เช่น ขับซอ ดังปรากฏในลิลิตพระลอว่า "ขับซอยอยศอ้าง" ส่วนภาษาถิ่นไทยใต้ก็ใช้คำว่าขับเช่นกัน เช่น ขับกลอน

fon lam

มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ "บทดอกสร้อยเป็นลำส่งดนตรีแต่ครั้งโบราณ" พิมพ์ที่โรงพิมพ์วัชรินทร์ รัตนโกสินทร์ศก 120 ซึ่งหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเก่าที่รวบรวมบทดอกสร้อยโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งใช้ขับลำนำส่งดนตรี และสมเด็จกรมพระบาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าเกี่ยวกับการเล่นสักรวาซึ่งเป็นการเล่นสดไว้ว่า "ลำที่ร้องสักรวานั้น เมื่อเล่นเรื่องร้องลำพระทองลำเดียวทุกวง ต่อจวนเลิกจึงร้องลำอื่นส่งวงละลำ สองลำแล้วก็เลิก เพราะฉะนั้นสักรวาร้องง่ายกว่าดอกสร้อย"

จะเห็นได้ว่าในภาคกลางก็ใช้คำว่า "ลำ" ในความหมายของการขับร้องเช่นกัน ซึ่งคำว่าลำส่งดนตรีนั้น ก็หมายถึงการขับลำนำส่งดนตรี ความหมายของลำกับการขับลำนำจึงมีความหมายเดียวกันในภาษาไทยกลาง ส่วน "ลำพระทอง" ก็หมายถึงการขับร้องทำนองพระทองนั่นเอง

ในสมัยโบราณได้มีการจารเรื่องราวต่างๆ ไว้ในคัมภีร์ใบลานทั้งที่เป็นนิทานและเรื่องราวเกี่ยว กับการเสวยพระชาติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งนิยมแต่งไว้เป็นบทกลอนที่คล้องจองกัน เมื่อนำบทกลอนมาร้องจึงว่าเป็นทำนองลำนำ ซึ่งมีความไพเราะกว่าการอ่านหนังสือตามธรรมดา แรกทีเดียวคงเรียกว่า "ขับลำ" เช่น ขับลำพระเวส ขับลำการะเกด แม้แต่ในปัจจุบันสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวยังใช้คำว่า "ขับลำ" เช่น ขับลำตั่งหวาย ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวทางภาคเหนือ ส่วนมากเรียกว่า "ขับ" เช่น ขับซำเหนือ ขับทุ่งหลวงพระบาง ขับเชียงขวาง ขับงึ่ม แต่ในภาคใต้ของ สปป.ลาว และในภาคอีสานของประเทศไทยจะใช้คำว่า "ลำ" เช่น ลำมหาชัย ลำสีทันดร ลำคอนสวัน ลำสาละวัน เป็นต้น

ข้อสังเกตคำว่า "ขับ" ของ สปป.ลาว กับคำว่า "ลำ" ของภาคอีสานของไทย และคำว่า "ขับลำนำ" ในภาคกลางมีความหมายเหมือนกันเป็นการขับร้องที่ไม่มีการฟ้อนประกอบ และคำว่า "ลำ" ของภาคอีสานกับคำว่า "รำ" ในภาษาไทยกลางก็มีความหมายแตกต่างกัน คือ คำว่า "ลำ" มีความหมายว่าการขับร้องอย่างหนึ่งมีหลายทำนองเช่น ลำเกี้ยว ลำกลอน ลำโจทย์ ฯลฯ ส่วนคำว่า "รำ" ตรงกับคำว่า "ฟ้อน" ในภาษาอีสานหรือ "เรือม" ในภาษาเขมร

fon salawan 3

การฟ้อนตามทำนองลำของหมอลำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทำนองลำที่แพร่หลายในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การตั้งชื่อทำนองลำนั้น นิยมใช้ชื่อหมู่บ้าน แคว้น หรือเมือง ที่นิยมลำทำนองนั้นๆ เช่น ลำสาละวัน ลำมหาชัย ลำคอนสวัน ลำสีทันดร ฯลฯ การฟ้อนประกอบทำนองลำเป็นการประดิษฐ์ท่าฟ้อนประกอบการขับลำในทำนองต่างๆ เพื่อให้ได้อรรถรสและเกิดความสวยงามยิ่งขึ้น เช่น

3diamondฟ้อนคอนสวัน

ฟ้อนคอนสวัน เป็นการฟ้อนเพื่อประกอบทำนอง ลำคอนสวัน ซึ่งเก็บการลำประจำถิ่นของหมอลำใน แขวงสวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าใจว่าจะเรียกตามชื่อเมืองสวันนะเขตว่า "ลำนครสวันนะเขต" หรือเรียกตามชื่อเมืองสองคอนสวันนะเขตว่า "ลำสองคอนสวัน" และกลายมาเป็นคำว่า "ลำคอนสวัน" ในที่สุด (เจริญชัย ชนไพโรจน์ 2531:1) คำว่า คอนสวัน ไม่ใช่ คอนสวรรค์ ซึ่งเป็นชื่ออำเภอหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิแต่อย่างใด แต่เป็นทำนองลำที่นิยม และแพร่หลายอยู่ในแคว้นสวันนะเขต สังเกตว่า ลำคอนสวันจะมีคำสร้อยว่า เฮ้ยย่ะ ๆ ๆ ๆ

fon kon sawan 3

เครื่องแต่งกาย การแต่งกายชุดฟ้อนคอนสวันซึ่งใช้ผู้แสดงหญิงล้วน โดยสวมเสื้อแขนกระบอกสีดำขลิบแดง นุ่งผ้าถุงยาวสีดำ พาดผ้าแพรวาทิ้งชายที่สะโพก

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ทำนองคอนสวัน

 

ฟ้อนคอนสวัน

ลำคอนสวัน

        ใหม่ๆ แก้มอ้ายเจ้าใหม่ๆ นางบ่ไปดอกนำอ้าย ส่วนสิเมือนอนำอ้าย พี่เอ๋ยอันวา นางละกับอ้าย กะกับอ้าย
ขอให้เป็นเจ้าคือป้าย สายยาวเชือกว่าว พี่เอ๋ยใด๋อ้ายผู้ดีเอ๋ย คันว่าเป็นเจ้าเลี่ยงช้าง ให้เป็นเพิงอยู่เนืองๆ (เฮ้ย ย่ะ ๆ ๆ ๆ)

        พี่เอ๋ยเห็นน้องดำเจ้าขี่หลี่ เจ้าขี่หลี่อย่าฟ้าวขี่เฮือกาย คั่นน้องดำเจ้าปอยลอย อย่าสุพาย หนอ เฮือเว้น (เฮ้ย ย่ะ ๆ ๆ ๆ)

        พี่เอ๋ยอุปมาว่าน้องแล้ว ว่าน้องแล้วเปรียบดังเฮือบ่มีน้ำ บ่มีคลองอันกว้างใหญ่ ได้อ้ายผู้ดีเอ๋ย พี่เอ๋ย คันว่าเป็นดังน้องแหล่ว สิได้เป็นค่าไพร่บ้าน สิได้ย้อนว่าใส่แคน ฟังแล้วจังสิยอ (เฮ้ย ย่ะ ๆ ๆ ๆ)

       พี่เอ๋ย เจ้าผู้เฮือนก่าแก่ง นอคาแก่ง สั่งบ่ลอยสิผู้ส่ง คันบ่ได้ส่อยยู้ยังสิได้ส่อยพาย (เฮ้ย ย่ะ ๆ ๆ ๆ)

       พี่เอ๋ยความสัมพันธ์สิลาแล้ว สิลาแล้ว สาวนางลำสิลาก่อน สวยพอนๆ ละห่านี่ สิลาเจ้าก่อนลง โอหนอ... (เฮ้ย ย่ะ ๆ ๆ ๆ)

เพลง : ลำคอนสะหวัน ขับร้องโดย : เชียงสะหวัน (ศิลปินจาก สปป.ลาว) และมลฤดี พรมจักร

 

next green คลิกไปอ่าน  การฟ้อนชุดชุมนุมเผ่าต่างๆ

 

redline

backled1

dance header

bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

fon boran kadee header

hi banchieng 2ภาคอีสานของประเทศไทย อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งโบราณคดี โดยเฉพาะชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ ที่ปรากฏหลักฐานในภาคอีสานนั้น มีอายุราว 12,000 - 5,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ในสมัยนั้นมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ อาศัยอยู่ตามเพิงผาแนวริมแม่น้ำโขง เช่น ที่ผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ตามถ้ำเช่นที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี อาสัยธรรมชาติเป็นสำคัญ หาอาหารโดยการล่าสัตว์ ชุมชนขยายตัว มีการติดต่อสื่อสาร คบหาสมาคม แลกเปลี่ยนสิ่งของเครื่องใช้ระหว่างกัน มีความร่วมมือ และมีการแต่งงานกันระหว่างเผ่าพันธุ์ จึงมีการขยายชุมชนกว้างขวางเป็นสังคมเมือง หรือแว่นแคว้นเล็กๆ

ภาคอีสานจึงรุ่มรวยไปด้วยแหล่งโบราณคดี การฟ้อนชุดโบราณคดีของภาคอีสาน นั้น แตกต่างจากโบราณคดีของภาคกลาง หรือ ของกรมศิลปากรประดิษฐ์ขึ้น เพราะกรมศิลปากรนั้นนำยุคสมัยต่างๆ ทางโบราณคดีมาจัดทำเป็นชุดระบำโบราณคดี ได้แก่ ระบำทวาราวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เชียงแสนและสุโขทัย ต่อมามีการประดิษฐ์ท่ารำเพิ่มเติม เช่น ระบำอยุธยา ในส่วนระบำโบราณคดีของภาคอีสานนั้นได้นำชื่อของอาณาจักร โบราณสถาน และชุมชนโบราณในภูมิภาคนี้มาจัดทำเป็นชุดฟ้อน ได้แก่ ระบำบ้านเชียง ระบำศรีโคตรบูรณ์ ระบำพนมรุ้ง และระบำจัมปาศรี

3diamondระบำบ้านเชียง 

hi banchiengระบำบ้านเชียงเป็นชุดฟ้อนโบราณคดีที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ในปี พ.ศ. 2521 โดยการฟ้อนชุดนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องราวอันเก่าแก่ของวัฒนธรรมบ้านเชียง ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย เพราะชุมชนบ้านเชียงเป็นแหล่งชุมชนโบราณมีอายุประมาณ 5,600 ปีมาแล้ว โดยการหาอายุจากเครื่องโลหะสำริด แสดงให้เห็นภึงพัฒนาการของการถลุงโลหะ และการหล่อสำริดที่ได้มีพัฒนาการขึ้นมาในภูมิภาคนี้ และเก่าแก่กว่าแหล่งสำริดแหล่งใดๆ ในโลก

นอกจากนี้แหล่งชุมชนบ้านเชียง อำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี ยังรู้จักการทำลูกปัด รู้จักปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ และรู้จักทำภาชนะดินเผาที่มีการเขียนลวดลายสวยงาม มีรูปทรงงดงามแปลกตา ลายที่เขียนบนหม้อที่พบมากที่สุดได้แก่ ลายก้านขด หรือลายขดน้ำวน ซึ่ง อาจารย์จิต บัวบุศย์ ได้เรียกหม้อที่มีลายแบบนี้ว่า หม้อลายวัฏ (Spiral) สันนิษฐานว่า เป็นหม้อที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในพิธีฝังศพโดยเฉพาะ ไม่ใช่จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยในชีวิตประจำวัน เป็นสัญลักษณ์ของการเกิดดับ (cycle of Rebirth) โดยเป็นการนำดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับไปแล้ว จะได้ไปเกิดใหม่อีกโดยส่งข้ามห้วงมหรรณพไปสู่สุคติภูมิ การที่ดวงวิญญาณจะไปเกิดใหม่นั้นต้องมีพิธีกรรมเคาะเรียกและส่งดวงวิญญาณผู้ตาย

จากการขุดค้นทางโบราณคดี ทำให้ทราบถึงประเพณีการฝังศพของยุคสัมฤทธิ์ว่า เมื่อมีการตายเกิดขึ้น ญาติของผู้ตายจะขุดหลุมลึกประมาณ 60-65 เซนติเมตร แล้วนำศพของผู้ตายใส่ลงไปในหลุมในท่านอนหงายเหยียดยาว หันศีรษะไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และหลุมฝังศพจะขุดตื้นๆ บริเวณด้านหัวจะมีเครื่องสังเวยวางอยู่ เครื่องเซ่นสังเวยนั้นได้แก่ หม้อดินเผา และกระดูกสัตว์ การฟ้อนโบราณคดีชุดระบำบ้านเชียง จึงได้แนวความคิดจากการเกิดดับของมนุษย์นี้เอง

เครื่องแต่งกาย ผู้แสดงฝ่ายหญิงนุ่งผ้าถุงสีน้ำเงินจีบหน้านาง เสื้อใช้ผ้าขิดพื้นแดงลายขิดสีเหลืองรูดรัดหน้าอก สวมกรองคอสีดำ ส่วนเอวมีผ้าคาดสีน้ำเงินขลิบแดงห้อยด้วยกระดิ่ง ประดับร่างกายด้วยสร้อยหินสีต่างๆ กระพรวน และกำไลสัมฤทธิ์

ผู้แสดงฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาสามส่วนสีน้ำเงิน สวมเสื้อคอกลมไม่มีแขน ส่วนเอวมีผ้าคาดสีทองขลิบน้ำเงินห้อยกระดิ่งประดับด้วยลูกกระพรวน

เครื่องดนตรี เนื่องจากชุมชนบ้านเชียงยังไม่ปรากฏหลักฐานทางดนตรีในระยะใกล้เคียงกันนั้น ได้พบเพียงระฆังสัมฤทธิ์ ดังนั้นดนตรีประกอบการฟ้อนชุดระบำบ้านเชียงจึงใช้เครื่องดนตรีประเภทโลหะ ได้แก่ ระฆังและฆ้อง ประกอบการเคาะเรียกวิญญาณ ผู้ประดิษฐ์ดนตรีได้แก่ อาจารย์ชฎิล นักดนตรี ส่วนผู้ออกแบบท่าฟ้อนและเครื่องแต่งกายได้แก่ อาจารย์วีณา วีสเพ็ญ

อุปกรณ์ประกอบการแสดง ได้แก่ คบเพลิง หม้อลายวัฏ และโลงศพ

ระบำบ้านเชียง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ลำดับขั้นตอนของการแสดง การฟ้อนชุดระบำบ้านเชียงเริ่มโดยการนำศพมาฝัง โดยฝ่ายชายจะถือคบเพลิง และหามโลงศพออกมา ฝ่ายหญิงจะเป็นผู้นำเครื่องสังเวยซึ่งอยู่ในหม้อมาประกอบพิธีกรรม เพื่ออัญเชิญวิญญาณผู้ตายมารับเครื่องเซ่นสังเวยนั้น ท่าฟ้อนจึงเริ่มด้วยท่าเชิญ ซึ่งเป็นการอัญเชิญดวงวิญญาณของผู้ตายให้มารับเครื่องเซ่นสังเวย ท่าลงเป็นท่าซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิญญาณรับเชิญแล้วจะเข้าทรงผู้รำ และลงมากินเครื่องเซ่นสังเวย ต่อไปจะเป็นท่าชมเครื่องเซ่นสังเวยว่ามีอะไรบ้างและจะเป็นท่ากินเครื่องเซ่นสังเวยนั้น

3diamondรำศรีโคตรบูรณ์

fon si kotaboonการฟ้อนโบราณคดีชุด "รำศรีโคตรบูรณ์" เป็นชุดฟ้อนที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยข้าราชการในจังหวัดนครพนม คำว่า "ศรีโคตรบูรณ์" เป็นชื่อของอาณาจักรหนึ่ง เดิมอยู่ใต้ปากเซบั้งไฟ มีพระยาติโคตรบูรเป็นผู้ปกครอง ในหนังสือเรื่องอุรังคธาตุได้กล่าวถึงเมืองศรีโคตรบูรณ์ไว้ว่า

"เราทั้งหลายเรียกว่าเมืองศรีโคตโม เหตุเพราะพระโคตโมได้ให้คำวุฒิสวัสดีแก่พระยาติโคตรบูรและบัดนี้คนทั้งหลายชาวเมืองลุ่มเรียกว่า เมืองศรีโคตรบอง"

เมืองศรีโคตรบอง หรือ เมืองศรีโคตรบูรณ์ เป็นนครที่มีความรุ่งเรืองมาแต่อดีต นับเป็นอาณาจักรร่วมสมัยกับอาณาจักรทวาราวดีของภาคกลาง อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ปรากฏหลักฐานขึ้นครั้งแรกในหนังสืออุรังคธาตุว่า

พระยานันเสนผู้ครอบครองนครโคตรบูร เป็นผู้มีส่วนร่วมในการก่อสร้างพระธาตุพนม ต่อมาเมืองศรีโคตรบองนี้ได้ย้ายจากบริเวณใต้ปากเซบั้งไฟมายังฝั่ง ธาตุพนม ณ ดงไม้รวก และได้ขนานนามใหม่ว่า "เมืองมรุกขนคร" ซึ่งก็คือที่ตั้งจังหวัดนครพนมในปัจจุบันนี้

การฟ้อนโบราณคดีชุดรำศรีโคตรบูรณ์ เป็นชุดฟ้อนที่ท่าฟ้อนประยุกต์มาจากท่าเซิ้งบั้งไฟ และท่าฟ้อนผู้ไทรวมกัน ฟ้อนชุดศรีโคตรบูรณ์นี้ใช้เพลงลำผู้ไท หรือเพลงลมพัดไผ่ ซึ่งมีทำนองเนิบๆ ทำให้รำศรีโคตรบูรณ์มีลีลานุ่มนวล อ่อนช้อยสวยงามมาก

fon si kotaboon 2

การแต่งกาย รำศรีโคตรบูรณ์ใช้ผู้แสดงหญิงล้วน แต่งกายคล้ายชาวไทดำ โดยสวมเสื้อแขนกระบอกสีดำขลิบแดง นุ่งผ้าถุงสีดำคาดเอวด้วยผ้าแถบสีแดง เกล้าผมมวยใช้ผ้าแดงผูกผม

fon si kotaboon 3

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน เพลงลำผู้ไท หรือเพลงลมพัดไผ่

ฟ้อนศรีโคตรบูรณ์

3diamondระบำพนมรุ้ง 

rabam panom roong 2ปราสาทหินพนมรุ้ง ตั้งอยู่บนปากปล่องภูเขาไฟที่ดับแล้ว เป็นโบราณสถานที่สำคัญของภาคอีสาน และนับได้ว่าเป็นปราสาทหินที่มีความสมบูรณ์ และสวยงามที่สุดในประเทศไทย ปราสาทหินพนมรุ้งตั้งอยู่ ณ บ้านตาเป๊ก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ สันิษฐานว่าปราสาทหินพนมรุ้งสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 15 (สมัยเกาะแกร์) และพัฒนาความเจริญเรื่อยมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 18 (สมัยบายน) และหมดความสำคัญลงไป

ระบำพนมรุ้ง เป็นชุดการฟ้อนที่จัดทำขึ้นโดยทางจังหวัดบุรีรัมย์ ได้นำการแสดงชุดนี้ไปแสดงถวายหน้าพระที่นั่ง ณ ตำหนักภูพานราชนิเวศน์ ในปี พ.ศ. 2521 ในการแสดงครั้งแรกนี้จัดเป็นการรำ 2 ชุด ติดต่อกัน คือชุดที่หนึ่งเป็นการรำเดี่ยว เพื่อเป็นการแนะนำความเป็นมาของจังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้ชื่อว่า "ชุดบุรีรัมย์รำลึก"

ต่อมาชุดที่สองจึงเป็นชุด ระบำพนมรุ้ง การฟ้อนชุดระบำพนมรุ้งนี้ใช้ผู้แสดงตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป ท่าฟ้อนแรกใช้เป็นการฟ้อนตีบทตามบทของเนื้อร้อง และในเพลงรับจะมีท่าฟ้อนที่ประดิษฐ์ขึ้นจากภาพแกะสลักบนปราสาทหินเขาพนมรุ้ง

rabam panom roong

เครื่องแต่งกาย จะใช้เครื่องแต่งกายให้เข้ากับสมัยลพบุรี โดยใส่เสื้อแขนสั้นสีเหลืองคอกลมฟ้า ตัดเสื้อยาวถึงสะโพกบนรัดรูปเล็กน้อย ติดสาปสีดำเป็นแถบที่ปลายแขน รอบคอลงมาด้านหน้าจนจดชายเสื้อ รอบตัวใช้เลื่อมสีทองตกแต่งบนแถบที่ปลายแขน ในลักษณะพาหุรัด และที่รอบคอในลักษณะกรองคอ ผ้านุ่งจะเป็นผ้าป้ายทับกัน เว้าชายข้างหน้ามีความยาวเพียงครึ่งน่อง ใช้ผ้าแถบคนละสีทาบจากด้านหน้ายาวลงไปจนรอบชาย ทรงผมเกล้าเป็นมวยสูงไว้กลางศรีษะ กดให้ผมด้านข้างพองออกเป็นปีก ประดับด้วยผ้าแถบดำปักเลื่อมสีทอง รัดรอบมวยผม รัดข้อมือ ข้อเท้า พร้อมต่างหูทรงยาวเป็นสายอีก 1 คู่ (สายชล สุทธนารักษ์. ม.ป.ป.)

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้วงมโหรีทำนองเพลงเขมรขาวหรือขะแมรซอ

เพลง "ระบำพนมรุ้ง"

คำร้อง : ศุภภิดา   แผ้วพลสง
ท่ารำและออกแบบเครื่องแต่งกาย : สายชล   ชื่นวิเศษ
          บุรีรัมย์เมืองแมนแดนรื่นรมย์
ด้วยเดชะพระบารมีแห่งเทพไท
เหมือนพระพรหมประสิทธิ์สรรพนมรุ้ง
สถิตย์ยังยอดเขาราววิมาน
ลวดลายงามปราสาทวาดวิจิตร
ช่างบรรจงแกะลายละออตา
เสน่ห์เอ๋ยเสน่หาใครมาเห็น
มิตรภาพอาบไมตรีอภิรมย์
แสนชื่นชมชาวประชาหน้าสดใส
ส่งเสริมให้บุรีรัมย์งานตระการ
จรรโลงจรุงบุรีรัมย์เกินคำขาน
เป็นสถานคู่เคียงเมืองเรืองศรัทธา
เหมือนเทพนิมิตรเลิศล้ำงามสูงค่า
สุดจะสรรวาจามากล่าวชม
ธารน้ำใจใสเย็นเป็นสุขสม
หลั่งพร่าวพรมแด่ชนคนไปเยือน

ฟ้อนชุดพนมรุ้งนี้ทาง วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ ได้ประดิษฐ์ชุดฟ้อนรำขึ้นใหม่ โดยอาศัยรูปจำหลักในพิพิธภัณฑ์พนมรุ้งเป็นต้นแบบ ผู้แสดงฝ่ายหญิงถือพานพุ่ม และฝ่ายชายจะถือพานใส่หมากพลู

rabam panom roong 3

เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงจะนุ่งผ้าพื้นเมืองมีผ้าทิ้งชายด้านหน้า สวมเสื้อคอกลมสีเหลืองไม่มีแขนขลิบชายสีแดง เกล้าผมมวยมีเครื่องประดับศรีษะทิ้งเป็นชาย 2 หาง ฝ่ายชายจะนุ่งโจงกระเบนสีน้ำตาล มีผ้าทิ้งชายด้านหน้า ไม่สวมเสื้อ ใช้เครื่องประดับคอ

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานออกสำเนียงเขมร

การแสดงแสงสีเสียง พนมรุ้งมหาเทวาลัย ปี 2556

ลำดับขั้นตอนของการแสดง ฝ่ายหญิงและชายออกมาพร้อมๆ กัน โดยฝ่ายหญิงจะถือพานพุ่ม ฝ่ายชายถือพานใส่หมากพลู ต่อมาฝ่ายชายจะไปตั้งแถวแสดงลีลาคล้ายๆ กับพระศิวะนาฏราช ส่วนฝ่ายหญิงจะแสดงท่าเหมือนกับการบูชา บวงสรวง

3diamondระบำจัมปาศรี

rabam jampasiอาณาจักรจัมปาศรี หรือ นครจัมปาศรี ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคามนั้น มีความรุ่งเรืองมา 2 ยุคด้วยกันคือ ยุคทวาราวดี (พ.ศ. 1000 - 12000) และยุคลพบุรี (พ.ศ. 1600 - 1800)

นครจัมปาศรี นี้คงมีอายุใกล้เคียงกับเมืองฟ้าแดดสูงยาง ซึ่งพระอริยานุวัตรเขมจารีเถระ ได้เล่าถึงประวัตินครจัมปาศรีไว้ว่า "เมืองนครจัมปาศรีอยู่ในสมัยที่พระพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์กำลังเจริญรุ่งเรืองในดินแดนแถบนี้ บรรดาหัวเมืองน้อยใหญ่ในสมัยนั้น พร้อมกันมานอบน้อมเป็นบริวาร ทำให้อาณาเขตของนครจัมปาศรีได้ขยายกว้างขวางออกไป นครจัมปาศรีมีพระยศวรราชเป็นเจ้าผู้ครองนคร มีพระนางยศรัศมีเป็นพระราชเทวี มีวงศ์ตระกูลมาจากกษัตริย์เสนราชา บ้านเมืองในขณะนั้นมีความสงบสุข และพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในช่วงนั้น"

นครจัมปาศรี เป็นอาณาจักรหนึ่งในยุคเดียวกับอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ทวาราวดีอินทปัตถ์ และเมืองสาเกตุ ซึ่งอยู่ในยุคฟูนัน ในหนังสืออุรังคนิทานได้กล่าวถึงยุคอวสานของนครจัมปาศรีว่า ในสมัยเจ้าฟ้างุ่มแหล่งหล้าธรณี เมืองชวา (หลวงพระบาง) ได้ยกกองทัพข้ามแม่น้ำโขงเข้าโจมตีเมืองสาเกตุนคร พร้อมทั้งเมืองบริวาร และเมืองนครจัมปาศรีได้ถึงกาลวิบัติ และกลายเป็นเมืองร้างไปตั้งแต่บัดนั้น

ในปี พ.ศ. 2522 ชาวอำเภอนาดูนได้ขุดค้นพบโบราณวัตถุรอบกู่สันตรัตน์ ได้พบพระทองสำริด พระพิมพ์แบบต่างๆ เป็นจำนวนมาก และมีการขุดพบซากเจดีย์โบราณและสถูปที่ใช้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ต่อมาทางจังหวัดมหาสารคามได้ร่วมกันสร้างพระธาตุนาดูน โดยจำลองแบบมาจากสถูปทองสำริดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุนาดูนนับได้ว่าเป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา จนมีผู้กล่าวว่าพระธาตุนาดูนเปรียบเหมือนพุทธมณฑลของภาคอีสาน

rabam jampasi 2

ระบำจัมปาศรี จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงความเจริญรุ่งเรืองของโบราณสถานในจังหวัดมหาสารคาม และเป็นความภาคภูมิใจร่วมกันของชาวอีสาน พระธาตุนาดูน ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุนับเป็นของคู่บ้านคู่เมือง ทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม โดย อาจารย์ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ จึงได้จัดทำระบำจัมปาศรีขึ้น โดยอาศัยจากเอกสารทางโบราณคดีและข้อเขียนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนครจัมปาศรี ท่าฟ้อนชุดระบำจัมปาศรีประยุกต์ท่าฟ้อนพื้นเมืองอีสาน ซึ่งได้แก่ ฟ้อนผู้ไท ฟ้อนตังหวาย ฯลฯ ผสมกับท่าระบำโบราณคดี ชุดระบำทวาราวดี และภาพจำหลักที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยท่าเคลื่อนไหวจะเป็นท่าฟ้อนพื้นเมือง ส่วนท่าหยุดจะเป็นท่าโบราณคดี

rabam jampasi 3

เครื่องแต่งกาย ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน นุ่งผ้าไหมพื้นเมืองอีสานโดบใช้ผ้าถุง 2 ผืน ผ้าถุงผืนในนุ่งธรรมดา ส่วนผ้าถุงผืนนอกพับทบทั้ง 2 ข้างตรงสะโพกหักคอไก่คล้ายรำมโนราห์บูชายันต์ ส่วนบนใช้ผ้าพันรัดหน้าอก สวมเครื่องประดับคอ รัดแขน ต่างหูและเข็มขัด

 

ระบำจัมปาศรี ฉบับดั้งเดิม

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ซึ่งได้แก่ พิณ แคน โปงลาง กลอง โหวด ฉิ่ง ฉาบ และใช้เครื่องดนตรีโลหะประกอบ ได้แก่ ระนาดเหล็ก เพลงที่ใช้ประกอบการฟ้อนชุดระบำจัมปาศรีใช้เพลง มโหรีอีสาน

next green คลิกไปดู  การฟ้อนประกอบทำนองลำ

 

redline

backled1

dance header

bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

fon like animals header

ศิลปะทุกแขนงล้วนมีรากฐานมาจากธรรมชาติ การฟ้อน ซึ่งเป็นศิลปะแขนงหนึ่ง ก็อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเช่นเดียวกับศิลปะแขนงอื่นๆ โดยเฉพาะศิลปะการแสดงของภาคอีสาน ทั้งในด้านดนตรีและนาฏศิลป์ โดยทั่วไปสัตว์แต่ละชนิด จะมีอาการที่น่าสนใจแตกต่างกัน บางชนิดจะมีลักษณะท่วงท่าสง่างาม บางชนิดมีลักษณะแช่มช้อย บางชนิดคึกคักเข้มแข็ง ดังนั้นจึงเกิดมี ระบำ รำ เต้น ของไทยหลายชุด ที่ได้นำกิริยาอาการของสัตว์เหล่านั้น มาเป็นชุดการแสดงขึ้น เช่น ระบำไก่ ระบำนกเขา ระบำครุฑ ระบำเงือก ระบำบันเทิงกาสร ระบำกุญชรเกษม ระบำมยุราภิรมย์ เป็นต้น เฉพาะการฟ้อนเลียนกริยาอาการของสัตว์ในภาคอีสานนั้น มีการแสดงอยู่เพียง 2 ชุด ได้แก่

3diamondกะโน้บติงต๊อง

kanop tingtong 2กะโน้บติงต๊อง เป็นการแสดงของชาวจังหวัดสุรินทร์ คำว่า กะโน้บติงต๊อง เป็นภาษาถิ่นของชาวอีสานใต้ แปลว่า ตั๊กแตนตำข้าว กะโน้บติงต๊องเป็นการละเล่นที่ให้ความสนุกสนาน ด้วยลีลาที่เลียนแบบมาจากการกระโดด หรือการโยกตัวของตั๊กแตน ท่าเต้นแต่ละท่าจะใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขา เอว ท่าเต้นจะแสดงลีลาการเกี้ยวพาราสีระหว่างตั๊กแตนตัวเมียและตัวผู้ ลักษณะการละเล่นจะเป็นการเล่นเป็นหมู่ เป็นกลุ่มยิ่งผู้แสดงมากยิ่งเพิ่มความสนุกมากขึ้น

การเต้นกะโน้ปติงต็อง เป็นการละเล่น เต้นเลียนแบบลีลาท่าทางการเคลื่อนไหวของตั๊กแตนตำข้าว จากการคิดริเริ่มโดย นายเต็น ตระการดี ชาวบ้านโพธิ์กอง ตำบลไพล (ปัจจุบัน คือ ตำบลเชื้อเพลิง) อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เมื่อครั้งเดินทางเข้าไปในประเทศกัมพูชา โดยขบวนเกวียนสินค้า (เกลือ) ไปค้าขาย นำไปแลกเปลี่ยนปราเฮ๊าะ (ปลาร้า) จากประเทศกัมพูชา (เขมร) ในขณะที่หยุดพักเหนื่อยนายเต็น ได้มองเห็นตั๊กแตนตำข้าวกำลังเกี้ยวพาราสีกัน และผสมพันธุ์กันอยู่ นายเต็นเฝ้าดูลีลาของตั๊กแตนคู่นั้นด้วยความประทับใจ เมื่อนายเต็นเดินทางมาถึงบ้าน จึงเกิดความคิดว่า ถ้านำเอาลีลาการเต้นของตั๊กแตนตำข้าวมาดัดแปลงและเต้นให้คนดูก็คงจะดี จึงนำแนวคิดนี้มาเล่าให้ นายเหือน ตรงศูนย์ดี หัวหน้าคณะกันตรึม ที่เล่นอยู่ในหมู่บ้านรำเบอะ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ทั้งสองจึงได้ร่วมกันแสดงต่อเนื่องกันมา การเล่นกะโน้ปติงต็องจะเต้นเป็นคู่ๆ เดิมมีผู้แสดงเพียง 2 คน เล่นสอดแทรกในวงมโหรีพื้นบ้าน

ต่อมาราวปี พ.ศ. 2473 นายยันต์ ยี่สุ่นศรี ครูใหญ่โรงเรียนบ้านโพธิ์ทอง ตำบลไพล ได้นำท่าเต้นมาดัดแปลงเพิ่มเติม ให้มีลีลาสวยงามยิ่งขึ้น และครูสมพงษ์ สาคเรศ ได้แต่งเนื้อเพลงประกอบการเต้น และก็ได้มีการประดิษฐ์เครื่องแต่งกายให้มีความสวยงามเหมาะสมยิ่งขึ้น [ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : อัตลักษณ์ท้องถิ่นอีสาน : กะโน้ปติงต็อง ]

 kanop tingtong

ภาพประกอบจาก http://www.isan.clubs.chula.ac.th

เครื่องแต่งกาย การแต่งกายจะใช้สีเขียวเช่นเดียวกับสีของตั๊กแตน มีลักษณะคล้ายชุดหมี ติดปีกสีเขียวขนาดใหญ่ ส่วนศีรษะจะทำด้วยกระดาษทาสี และตกแต่งให้คล้ายกับหัวของตั๊กแตนจริงๆ ตั๊กแตนตัวเมียมีกระโปรงทำให้แยกได้ว่าตัวไหนตัวผู้หรือตัวเมีย

เครื่องดนตรี ดนตรีที่ใช้ในการเล่นกะโน้บติงต๊อง ได้แก่ วงมโหรี ซึ่งมีเครื่องดนตรีประกอบด้วย ซอ กลองกันตรึม ปี่สไล และเครื่องกำกับจังหวะได้แก่ กรับและฉิ่ง แต่เดิมนิยมเล่นในเทศกาลประจำปีหรืองานรื่นเริงต่างๆ ทั่วไป หรือจะเล่นเวลาใดก็ได้มิได้มีการจำกัด ปัจจุบันการเต้นกะโน้บติงต๊องนับเป็นการแสดงที่มีชื่อเสียงของชาวอีสานใต้

บทร้องที่ใช้ประกอบการเต้นกะโน้บติงต๊องนั้นไม่ได้จำกัดลงไปว่า จะต้องมีเนื้อร้องอย่างไร จะขึ้นอยู่กับผู้ร้องว่าจะร้องเรื่องใด ทั้งนี้เพราะใช้ด้นกลอนสด บางครั้งก็ร้องให้เนื้อหาเข้ากับงานที่แสดง ส่วนใหญ่เนื้อร้องจะเป็นเชิงเกี้ยวพาราสี ตัดพ้อต่อว่ากันระหว่างชายและหญิง ตัวอย่างบทเพลงกะโน้บติงต๊องที่ร้องมาแต่เดิมและยังนิยมกันอยู่ในปัจจุบัน (บทร้องเป็นภาษาเขมร) มีดังนี้

ตั๊กแตนตำข้าว เรือมกะโน๊บติงตอง

เนื้อเพลงประกอบการแสดงกะโน้บติงต๊อง
            โอกะโน้บติงต๊อง ซองซารบอง เอยชี เซลอะราไซ (ซ้ำ)
กะมม มมมูย มมมูย กำเล้าะแบ็ย โอสะระกาแถวเอย ทมโตวบานระนา
            โอกะโน้บติงตีอง ซองซารบองเอยชี เซลอะอังกัญ (ซ้ำ)
กะมม มมมูย มมมูย แดลมองขวัญ โอสระกาแกวเอย ทมโตวบาบานกี่
            เบอมานโมกมอง ซองซารบองเอย ตระกองออมสะตูย(ซ้ำ)
ทะออมันออย มันออยเซร็ย เนียงปรูย โอสระกาแกวเอย ประบากยากกรอ
            โอสราเน้าะแมอสกร็อม ซองซารบองเอย จากล็อมนึงเซาะ (ซ้ำ)
ทะออเปรียงบอง เปรียงมองเวียอาเกร้าะ โอสระกาแกวเอย กำเล้าะแบ็ยดอง
            โอกาเล้าะเซงาะก็ ซองซารบองเอย กำเล้าะมาเนียะมานอง (ซ้ำ)
ทะออกำเล้าะ กำเล้าะโคจดลูนบอง (ซ้ำ) โอสระกาแกวเอย เบ็ยดอกแตแอง
            ทะออสราเน้าะคลูนล็อน ซองซารมองเอย ซลาเน้าะคลูล็อน (ซ้ำ)
ทะออดลูนมอง คลูนม็องอ็อดปราบ็วน (ซ้ำ) โอสระกาแก้วเอย ตนำบายโฮบแอง
            ไดบองเตียงนำ ซองซารบอง เอย ตึกเพะนกโฮรละแฮง (ซ้ำ)
ทะออตนำบาย ตะนำบายโฮบแอง โอสระกาแก้วเอย กำแปลงนึงเคนย

kanop tingtong 3

3diamondฟ้อนแมงตับเต่า

หมอลำแมงตับเต่า เป็นหมอลำหมู่ที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งการแสดงของหมอลำแมงตับเต่าจะมีการลำแบบตลกคะนอง การลำแมงตับเต่าจะใช้ผู้แสดงเป็นชายล้วน สาเหตุที่เรียกหมอลำที่ขับลำทำนองนี้ว่า หมอลำแมงตับเต่า นั้นคงเรียกตามคำร้องของบทกลอนที่มักจะขึ้นต้นว่า แมงตับเต่า เช่น

เต่า เล่า เตา เล่า เต่า เล่า เตา แมงตับเต่าแมงเม่าขี้หมา จับอยู่ฝาแมงมุมแมงสาบ จับซาบลาบแมงหวี่แมงวัน อัศจรรย์แมงวันแมงหวี่ ตอมตาตี่เด็กน้อยนอนเว็น.... "

ดังนั้นจึงนิยมเรียกว่า หมอลำแมงตับเต่า และทำนองลำ หรือดนตรีประกอบการลำนั้นก็เรียกว่า "ทำนองแมงตับเต่า" ซึ่งในการลำแมงตับเต่านั้น หมอลำแมงตับเต่าจะใช้ไม้กับแก๊บประกอบการลำและการฟ้อน

font mang tabtao tab tao 1
tab tao 2

 ภาพประกอบจาก http://www.isan.clubs.chula.ac.th

เครื่องแต่งกาย ผู้ชายนิยมนุ่งผ้าโสร่งพื้นบ้านอีสาน สวมเสื้อม่อฮ่อม มีผ้าขาวม้าคาดเอวและโพกศีรษะ การฟ้อนแมงตับเต่าดั้งเดิมนั้นจะฟ้อนโดยเน้นที่ลีลาของการขยับกับแก๊บ ส่วนการฟ้อนแมงตับเต่าในปัจจุบันเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นหลายสถาบัน

การฟ้อนแมงตับเต่า ของ วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด การแต่งกายจะให้คล้ายกับแมงตับเต่า สวมปีกและหัว ท่าฟ้อนจะเป็นการเกี้ยวพาราสีของแมงตับเต่าตัวผู้และตัวเมีย

 

การฟ้อนแมงตับเต่า

การฟ้อนแมงตับเต่า ของ วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ จะแต่งตัวคล้ายกับหมอลำแมงตับเต่า คือ นุ่งโสร่ง สวมเสื้อม่อฮ่อม ส่วนผู้หญิงจะสวมเสื้อแขนกระบอก คอกลม นุ่งซิ่นพื้นเมือง ห่มสไบพับทบกลางทิ้งชาย 2 ชายด้านหลัง

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน (พิณ โปงลาง แคน ฯลฯ) ลายแมงตับเต่า

เนื้อเพลงแมงตับเต่า
            เอ่า เฮา เอ้า เฮา เอ่า เฮา เอา แมงตับเต่าขอไว้วันทา ไหว้ครู ไหว้บาของเฮาแต่เก่า
            เอ่า เฮา เอ้า เฮา เอ่า เฮา เอา แมงตับเต่านำท่งนำนา มาเฮามาเล่นแมงตับเต่า
            เอ่า เฮา เอ้า เฮา เอ่า เฮา เอา แมงตับเต่ายุคพัฒนา มาเฮามาเล่นแมงตับเต่า
            เอ่า เฮา เอ้า เฮา เอ่า เฮา เอา แมงตับเต่าไผว่าสีหยัง มันเป็นตะซังคือแมงตับเต่า
            เอ่า เฮา เอ้า เฮา เอ่า เฮา เอา แมงตับเต่าถึงว่าสีดำ อย่างลูกปะคำเห็นเป็นของเก่า
            เอ่า เฮา เอ้า เฮา เอ่า เฮา เอา แมงตับเต่ามีอยู่จักขา พอมันบินมาจักขาเท่าเฮา
            เอ่า เฮา เอ้า เฮา เอ่า เฮา เอา แมงตับเต่ามีอยู่หกขา ถ้ามันบินมาจักขาคือเก่า
            เอ่า เฮา เอ้า เฮา เอ่า เฮา เอา แมงตับเต่าโตผู้นอนหงาย ก็มันกินแมงตายทั้งเหม็นทั้งเน่า
            เอ่า เฮา เอ้า เฮา เอ่า เฮา เอา แมงตับเต่าโตแม่นอนหงายก็บ่ก้มบ่เงย คือแมงตับเต่า
            เอ่า เฮา เอ้า เฮา เอ่า เฮา เอา แมงตับเต่าออกลูกทางใด ก็ยังสงสัยคือแมงตับเต่า
            เอ่า เฮา เอ้า เฮา เอ่า เฮา เอา แมงตับเต่าบ่ต้องสงสัยตัวใดบินไวมันก็ออกลูกทางเก่า
            เอ่า เฮา เอ้า เฮา เอ่า เฮา เอา แมงตับเต่าขอสั่งของ ลากลับลงมาหาหนองคือเก่า

เนื้อหาของกลอนลำนี้อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เป็นการลำด้นสดแสดงปฏิภาณของผู้ลำ โดยมีทำนองเดียวกัน แต่ใส่เนื้อหาที่แสดงให้เห็นถึงกิริยาอาการของสัตว์ ที่มีความสนุกสนาน

next green คลิกไปชม  การฟ้อนชุดโบราณคดี

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)