foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

dance header

bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

fon for fun header

3diamondระบำว่าว 

ในฤดูหนาวชาวอีสานนิยมเล่น "ว่าว" กันในช่วงเดือน 12 ประมาณเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นระยะมีลมแรงอย่างสม่ำเสมอ เพราะในฤดูร้อนภาคอีสานไม่มีลมประจำที่พัดแรงและสม่ำเสมอเหมือนอย่างในภาคกลาง และลมไม่แรงพอที่จะพัดพยุงให้ว่าวขนาดใหญ่ขึ้นสู่ท้องฟ้าได้ ว่าวอีสานประกอบด้วย ตัวว่าว เชือกว่าว และสะนู หรือธนู ผูกติดไว้บนหัวว่าว คันธนูหรือสะนูว่าวเป็นเครื่องดนตรีประกอบด้วยคันธนู ทำด้วยไม้ไผ่ และเปิ้นธนูจะเป็นแผ่นบางๆ ทำด้วยใบตาลหรือลำหวายขนาดยาวพอเหมาะกับคันธนู ใช้เส้นด้ายหรือไหมผูกปลายเปิ้นธนูเข้ากับปลายคันธนูทั้งสองข้างขึงให้ตึงจันคันธนูโก่งพองาม ตรงปลายของเปิ้นธนูทั้งสองข้างให้ใช้ขี้สูด ติดไว้เป็นก้อนกลมขนาดเท่าปลายก้อย เพื่อให้ธนูมีเสียงไพเราะ ว่าวอีสานจึงต่างจากว่าวภาคอื่นเพราะมีเสียงที่ไพเราะ

การเล่นว่าวนี้ที่จังหวัดบุรีรัมย์ มีการส่งเสริมการเล่นว่าว ทางศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ จึงได้คิดประดิษฐ์ชุดระบำว่าวขึ้น โดยเลียนแบบลีลาของการเล่นว่าวที่ล้อกับลม

เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงแสดงเป็นว่าว ดังนั้นการแต่งกายจะสวมเสื้อมีผ้าทิ้งมาด้านหน้าและหลัง ลักษณะครึ่งวงกลมคล้ายกับเสื้อที่เรียกว่า เสื้อปีกค้างคาว นุ่งผ้าซิ่นยาวกรอมเท้า ฝ่ายชายสวมเสื้อคอกลมแขนสั้นสีพื้น นุ่งโจงกระเบนโดยใช้ผ้าโสร่งพื้นเมือง ใช้ผ้าขาวม้าคาดเอวและโพกศีรษะ

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้ วงกันตรึม

 

ระบำว่าว

3diamondระบำกลอง

ระบำกลอง เป็นระบำชุดหนึ่งที่ทางศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ได้ประดิษฐ์ขึ้น โดยได้แบบอย่างมาจากรำกลองยาวในภาคกลาง แต่ใช้กลองเล็กที่เรียกว่ากลองกันตรึมแทนกลองยาว ลักษณะการฟ้อนเป็นลีลาเฉพาะของอีสานใต้ ซึ่งนับเป็นชุดที่สนุกสนานชุดหนึ่ง

เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงสวมเสื้อคอกลม ผ่าด้านหน้าแต่ไม่ชิดกัน คล้ายกับเสื้อของมอญ (ชุดฟ้อนม่านมงคล) สีดำ และนุ่งผ้าซิ่นดำมีเชิง นุ่งลักษณะพับทบด้านข้างปล่อยให้ชายผ้าบานคล้ายกระโปรง ผมเกล้ามวย ใช้ผ้าสีสดพันรอบศีรษะแต่เห็นมวยผมเล็กน้อย ฝ่ายชายสวมเสื้อคอกลมสีสด นุ่งโจงกระเบนใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้ วงกันตรึม

 

3diamondระบำสุ่ม

ระบำสุ่ม เป็นระบำชุดหนึ่งในระบำกัมพูชา ซึ่งอาจารย์พจนีย์ กงตาล ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูสุรินทร์ ได้ต่อท่ารำมาจากนักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลป์พนมเปญ เมื่อกัมพูชาแตกแล้วได้อพยพมาอาศัยที่ศูนย์อพยพชาวกัมพูชา ณ ศูนย์อพยพกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ราวปี พ.ศ. 2524 ระบำสุ่มเป็นชุดฟ้อนที่สะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน แสดงถึงความสนุกสนานรื่นเริง และการเกี้ยวพาราสีของชายหนุ่มหญิงสาว คำว่า สุ่ม ในภาษาเขมรเรียกว่า อันรุ้จ ซึ่งหมายถึงภาชนะสำหรับจับสัตว์น้ำในบริเวณน้ำตื้น

เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อลูกไม้ระบายที่แขน คอ และเอว ใช้ผ้าสไบรัดตะเบ็งมาน ผมเกล้ามวยต่ำติดดอกไม้ มือถือเชนียงหรือชะนาง ซึ่งเป็นเครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาก๊วย สวมเสื้อคอกลมใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว ใช้ผ้าสไบโพกศีรษะ มือถือสุ่ม

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้ วงมโหรี

อุปกรณ์การแสดง เชนียง และสุ่ม

เรือม อันรุด(ระบำสุ่ม)

3diamondเรือมอันเร (รำสาก)

เรือมอันเร หรือ เรือมลูตอันเร เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวอีสานใต้ในจังหวัดสุรินทร์ คำว่า เรือม แปลว่า รำ ส่วนคำว่า อันเร แปลว่า สาก เรือมอันเรจึงแปลว่า รำสาก ส่วนคำว่า ลูต แปลว่า กระโดด เต้น ข้าม เพราะฉะนั้น เรือมลูตอันเร จึงแปลว่า รำเต้นสาก หรือการเต้นสาก นิยมละเล่นกันในวันสงกรานต์ ซึ่งเรียกว่า วันต็อม ชาวสุรินทร์จะถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งจะหยุดงาน 3 - 7 วันเพื่อทำบุญ เมื่อหยุดงานก็มีเวลาว่างที่หนุมสาวจะได้พบปะกัน เกิดการละเล่นสนุกสนาน เช่น การเล่นสะบ้า เรือมอันเร

เรือมอันเร แต่เดิมนั้นไม่มีบทเพลงและท่าฟ้อนรำที่เป็นแบบฉบับอย่างในปัจจุบัน ผู้ประดิษฐ์เนื้อร้อง คือ ครูปิ่น ดีสม ครูใหญ่โรงเรียนบ้านโคกตาพรหม ตำบลโด อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ได้นำบทเพลงพื้นบ้านที่เคยร้องมาบรรจุใส่จังหวะต่างๆ ซึ่งมี 5 จังหวะดังนี้

    1. จังหวะไหว้ครู เกริ่นครู (ถวายครู)
    2. จังหวะเจิงมุย (จังหวะขาเดียว)
    3. จังหวะเจิงปรี (จังหวะสองขา)
    4. จังหวะมะลุปโดง (จังหวะร่มมะพร้าว)
    5. จังหวะกัจปกา ซาปดาน (จังหวะเด็ดดอกไม้)

    ส่วนผู้คิดท่าฟ้อนคือ นางผ่องศรี ทองหล่อ และนางแก่นจันทร์ นามวัฒน์ ครูโรงเรียนบ้านหนองโด่ง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้ท่าพื้นฐานที่ฟ้อนกันมาแต่เดิมมาดัดแปลงให้สวยงามยิ่งขึ้น ในการเล่นเรือมอันเร เราจะต้องมีการไหว้ครูเสียก่อน เดิมที่ชาวอีสานยังใช้การตำข้าวด้วยมือ หลังจากตำข้าวเสร็จก็จะนำสากมากระทบกัน ฉะนั้นสากจึงเป็นอุปกรณ์สำคัญในการเล่นเรือมอันเร การเล่นเรือมอันเรจะฟ้อนเป็นวงกลมรอบตัวผู้กระทบสาก มีการเข้าสากทีละคู่ตามจังหวะดนตรีที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนครบ 5 จังหวะ

    เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงสวมเสื้อแขนกระบอกตัดด้วยผ้าต่วน นิยมใส่สีเหลือง นุ่งผ้าถุงไหมปูม ห่มผ้าสไบเฉียงบางๆ นิยมใช้ผ้าที่ทำด้วยเปลือกไม้ส่วนมากใช้สีเดียวกับผ้าซิ่น ผมปล่อย อาจจะทัดดอกไม้ให้สวยงาม ส่วนฝ่ายชายสวมเสื้อคอกลมแขนสั้นเป็นสีพื้น นุ่งโจงกระเบนด้วยผ้าโสร่งไหมหางกระรอก ใช้ผ้าขาวม้าไหมพื้นเมืองของสุรินทร์พับครึ่งพาดบ่าปล่อยทิ้งชายทั้งสองชายด้านหลัง

    เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้ ประกอบด้วย กลองตะโพน ปี่ในหรือปี่อ้อ ซอด้วง ซอตรัวเอ กรับ สาก 1 คู่และไม้หมอน 2 อัน

    เรือมอันเร (รำสาก)

    อุปกรณ์การแสดง

      1. ไม้หมอน 1 คู่ มีขนาดยาว 2-3 ศอก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 นิ้ว นิยมใช้ไม้มะค่า หรือ ไม้แดก
      2. สาก 1 คู่ ยาวประมาณ 4-6 ศอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว

      เพลงประกอบการรำเรือมอันเร

      1. เพลงไหว้ครู เกริ่นครู       ทำนอง อายัยพิมพวง
        ชตุม มี จัต
      คเมาบองบัต
      ชัตเติว์ซทานนา
      ชัตเติว์ซทานเจ็น
      รีเติว์ซทานจเวีย
      ชัตเติว์ซทานนา
      บองลีชนาตาม
      ทงัยลเงียจตเจียะ
      บองแจ็ญเปียะ ตัมแร็ย
      ทงัยก็วงเมือตเปร็ย
      ตัมแร็ยบองยูลดัย
      ยูลตังปีปรึ์
      จวนด็อลลุทงัย
      ตัมแร็ยบองยูลดัย
      ก็ตซแร็ยซเราะ ชงาย
      อากาศมืดครึ้ม
      น้องดำของพี่หาย
      ไปประเทศใด
      ไปประเทศจีน
      หรือไปประเทศชวา
      ไปประเทศใด
      พี่แบกหน้าไม้ตาม
      ตะวันเย็นต่ำลง
      พี่ออกไปคล้องช้าง
      ตะวันอยู่ระดับป่าไม้
      ช้างพี่แกว่งงวง
      แกว่งตั้งแต่เช้า
      จนตะวันสาย
      ช้างพี่แกว่งงวง
      คิดถึงหญิงบ้านไกล
      2. จังหวะ กัตปกา ซาปดาน
        ปการี ปการูย
      เนียะนาเดิรกรอย
      รืฮปกาบองพอง
      เนียงรืฮมันรืฮ
      ก็อมเดินชลอง
      รืฮปกาบองพอง
      บองซดายปกานะ
      บองซูจอลปกาทเม็ย
      มัลจอลปกาจัฮ
      บองซดายปกานะ
      ปกาจัฮบีเดิม
      ปกัวร์เลือนแอตโปง
      ชเลอะ โดงกันโจม
      ซเราะ บองม็อตกโม็ม
      บองเดิรสิ่งตามจัฮ
      รือพลูรือซลา
      บองวิจ เติว็บีปเตียะฮ
      บองเดิรลีงตามจัฮ
      ซออ์ตปซ็อฮ
      ดอกไม้บาน ดอกไม้โรย
      ผู้ใดเดินตามหลัง
      เก็บดอกไม้ให้พี่ด้วย
      น้องเก็บไม่เก็บ
      น้องอย่าเดินข้าม
      เก็บดอกไม้ให้พี่ด้วย
      พี่เสียดายดอกไม้นะ
      พี่สู้ทิ้งดอกไม้ใหม่
      ไม่ทิ้งดอกเก่า
      พี่เสียดายดอกไม้นะ
      ดอกเก่าแต่เดิม
      ฟ้าลั่นทางทิศใต้
      ใบมะพร้าวร่มรื่น
      บ้านพี่ไม่มีสาว
      ที่เดินเล่นตามคนแก่
      เรื่องพลูเรื่องหมาก
      พี่ห่อไปจากบ้าน
      พี่เดินเล่นตามคนแก่
      แก้เหงา
      3. จังหวะ จึงมูย
        ซแร็ยซเดิงซเลอะ
      เทอออยบองก็ต
      ปแดปดัม น็องก็
      บองปดัม ซเราะ บีต
      ก็ มินซเกือล
      บองปดัมน็องคย็อล
      มินด็อลซแร็ยเลย
      มือ มี์ ซตุม
      มือ พนม ซตูล
      ซตึงเปรียะ มูล
      เทอแม็ฮบองเฮียน ชลอง
      ตี เรียะ ซเมอะพลิว
      ตึ จริว ซเมอซมอง
      เทอแม็ฮบองเฮียนชลอง
      โมรัวซแร็ยซเดิง
      ผู้หญิงบางใบ
      ทำให้พี่คิด
      ฝากฝังกับเขา
      พี่ฝากบ้านใกล้
      เขาไม่รู้จัก
      พี่ฝากกับลม
      ไม่ถึงน้องเลย
      ดูเมฆมืดครึ้ม
      ดูภูเขาสูงใหญ่
      ห้วยน้ำมูล
      ทำอย่างไรพี่กล้าข้าม
      น้ำตื้นแค่ขา
      น้ำลึกแค่หน้าแข้ง
      ทำอย่างไรพี่กล้าข้าม
      มาหาผู้หญิงบาง
      4. จังหวะ มลุปโดง
        มลปโดงเอย
      ตโซลแด็จพนุม
      มลปโดงซเราะ วิท็ม
      มลป ซาคา
      มลปโดงเกรแย็ย
      รื มลปโดงแย็ยตา
      มลปโดง ซเราะห์ นา
      มลปซรวลโอ็ยแบระ ซแร็บ
      ร่มมะพร้าวเอย
      สูงดุจภูเขา
      ร่มมะพร้าวใบใหญ่
      ร่มมีสาขา
      ร่มมะพร้าวมรดกยาย
      หรือร่มมะพร้าวยาตา
      ร่มมะพร้าวบ้านไหน
      ร่มสบายดีแท้ๆ จริง
      5. จังหวะ จึงบีร
        ปกัวร เลือนแอตโปง
      ตึ แบ ลลูน
      บองรัว ตรู ดะ
      บองกัวลรัวเวือล
      เหมือนเอิรจัมเปรียะ
      บองรัวตรูดะ
      นเจ็มซแร็ยซเดิง
      ตรูบองปรัมเบือน
      เลือนบองปรัมรวย
      บองมันออยเนียงปรวย
      ปบา กัน ชเนียง นเจือต
      ปกัวน เลือนแอตโปง
      คยอลเบาะ รัมปวง
      ซารกรบเม เชอ
      เบอเนียงน็องบอง
      ช็อมคเนียเฮยเตอ
      มินกวรเนียงเซอเวอ
      เนียงเติว์รัวกูตีต
      กีซละ กีซเลา
      กีเดารมจ
      เนียงเติว์รักกูตีต
      ด็อลนาน็องบาน
      ฟ้าลั่นทางทิศใต้
      น้ำไหลหลาก
      พี่หาลอบใส่
      พี่หาเครือ
      ไก่บินติด
      พี่หาลอบใส่
      เลี้ยงผู้หญิงบาง
      ลองพี่ห้าพัน
      เลือนพี่ห้าร้อย
      พี่ไม่ให้น้องกังวลใจ
      ไม่ต้องลำบากถือสวิงช้อน
      ฟ้าลั่นท างทิศใต้
      ลมพัดมาอื้ออึง
      กระทบกิ่งไม้
      ถ้าน้องกับพี่
      สมกันแล้ว
      ไม่ควรน้องซัดเซ
      น้องไปหาคู่อีก
      เขาสลักเสลา
      เขาทาขมิ้น
      น้องไปหาคู่อีก
      เมื่อไหร่จะได้
      ** ต้องขออภัยหากมีการพิมพ์ผิดพลาดด้วยความไม่ชัดเจนของต้นฉบับโรเนียว
      และความไม่รู้ไม่เข้าใจภาษาของผู้ป้อนข้อมูล

       

      ฟ้อนเซิ้งแคน - ฟ้อนชุดเล่นสาวเป่าแคน | ฟ้อนโปงลาง - ฟ้อนไทยภูเขา - ฟ้อนชุดสาวอีสานเล่นน้ำ - ฟ้อนคูณลาน blueline
      ฟ้อนอุบล - ฟ้อนกลองตุ้ม - เซิ้งกะโป๋ - เซิ้งทำนา | เซิ้งกุบ - เซิ้งสาวน้อยเลียบดอนสวรรค์ - เซิ้งสวิง - เซิ้งกระติบข้าว
      blueline เซิ้งกระหยัง - เซิ้งครกมอง - เซิ้งข้าวจี่ - รำหมากข่าแต้ | รำลาวกระทบไม้ - รำโก๋ยมือ - รำกลองยาวอีสาน - ลำลายกลองกิ่งกุสุมาลย์blueline รำส่วงเฮือ - รำจก - รำชุดบุรีรัมย์ตำน้ำกิน - ระบำโคราชประยุกต์ | ระบำว่าว - ระบำกลอง - ระบำสุ่ม - เรือมอันเร (รำสาก)blueline เรือมซาปดาน - เรือมซันตรูจ - เรือมตลอก (ระบำกะลา) - เรือมจับกรับ

      blueline

      next green คลิกไปอ่าน  ดนตรีประกอบการฟ้อนภาคอีสาน

       

      redline

      backled1

      dance header

      bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

      ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

      fon for fun header

      3diamondรำส่วงเฮือ 

      ชาวอีสานถือคติความเชื่อที่ถือกันเป็นประเพณีอย่างหนึ่งคือ การส่วงเรือ หรือ การแข่งเรือ โดยเฉพาะชาวอีสานชนบทที่มีบ้านเรือนอยู่ใกล้แม่น้ำเช่น แม่น้ำมูล แม่น้ำชี แม่น้ำเสียว และแม่น้ำโขง เป็นต้น น้ำจะหลากในระหว่างเดือน 11 เดือน 12 ซึ่งในระยะเวลาดังกล่าวชาวบ้านจะเสร็จสิ้นการดำนา และรอเวลาข้าวออกรวง จึงจัดให้มีการแข่งเรือ (ส่วงเฮือ) โดยออกหนังสือเชิญไปตามหมู่บ้านต่างๆ ให้จัดส่งเรือและฝีพายมาร่วมสนุก

      boat racing

      ในภาคอีสานที่มีการแข่งเรือกันจนเป็นประเพณีประจำได้แก่ ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ทางวิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ จึงได้นำเอาประเพณีการแข่งเรือนี้มาจัดทำเป็นชุดฟ้อนรำขึ้น

      เครื่องแต่งกาย ฝ่ายชายซึ่งอยู่ที่หัวเรือและท้ายเรือจะสวมเสื้อม่ฮ่อม นุ่งโสร่ง ใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว ฝ่ายหญิงจะสวมเสื้อแขนสั้นคอกลม นุ่งซิ่นใช้ผ้าคาดเอว ห่มสไบ ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้

      ฮีตส่วงเฮือ มหาวืทยาลัยมหาสารคาม

      เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน เพลงแข่งเรือ

      อุปกรณ์การแสดง เรือทำเฉพาะโครงด้านนอก ผู้พายสามารถเข้าไปยืนได้ ทำเป็น 2 ลำ และไม้พายสำหรับพายเท่ากับผู้พาย

       

      3diamondรำจก

      หลังจากการทำงานอันเหน็ดเหนื่อย ชาวอีสานนิยมจัดการรื่นเริงเพื่อความสนุกสนาน โดยเฉพาะในกลุ่มของชาวผู้ไท ในการฟ้อนจะมีการฟ้อนเพื่อแสดงการเกี้ยวพาราสี เย้าหยอกเพื่อความสนุกสนาน ซึ่งคล้ายกับชาวลาวโซ่งในจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีการฟ้อนประจำถิ่นโดยมีเพลงอยู่ 2 ทำนอง คือ ทำนองแคนย่าง (แคนเดิน) กับแคนแล่น (แคนวิ่ง) ในทำนองแคนแล่น ชายหนุ่มและหญิงสาวจะรำจก คือการล้วง คล้ายกับการยืนมือล้วงเข้าไปในผ้าซิ่นของฝ่ายหญิง ฝ่ายหญิงก็จะพยายามหลบหลีกให้พ้นการจู่โจมของฝ่ายชาย ซึ่งการหลบหลีกนั้นจะมีลีลาเฉพาะตัว คล้ายกับของชาวผู้ไท

      ทางภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูสกลนคร จึงนำลีลาการฟ้อนเช่นนี้มาจัดทำเป็นชุดฟ้อนขึ้น โดยใช้ผู้แสดงชายและหญิงฟ้อนออกมาเป็นคู่ๆ ในแต่ละคู่จะแสดงลีลาการรุกไล่ หลบหลีก ปัดป้อง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว

      เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงสวมเสื้อแขนกระบอก นุ่งผ้าซิ่นพื้นเมือง ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ ฝ่ายชายสวมเสื้อม่อฮ่อม กางเกงขาก๊วย มีผ้าขาวม้าคาดพุงและโพกศีรษะ

      เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายสังข์ศิลป์ชัย

       

      3diamondรำชุดบุรีรัมย์ตำน้ำกิน

      จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในเขตอีสานทางตอนใต้ เนื่องจากแต่เดิมเมืองบุรีรัมย์ขาดแคลนน้ำมาก โดยเฉพาะในหน้าแล้ง ไม่มีน้ำพอสำหรับบริโภค เพราะพื้นดินแถบจังหวัดบุรีรัมย์เป็นดินทรายไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ ชาวบ้านจึงได้หาวิธีการเพื่อให้มีน้ำสำหรับบริโภค โดยใช้วิธีอันชาญฉลาด โดยไปตักเอาน้ำที่ขุ่นๆ ตามก้นบ่อ หรือสระมาทำให้ตกตะกอน โดยใช้ไม้กระบอกตำเพื่อทำน้ำให้ใส สามารถนำไปบริโภคได้ ทำให้คนทั่วไปพากันร่ำลือถึงชาวบุรีรัมย์ว่า "บุรีรัมย์ตำน้ำกิน" ติดปากมาจนทุกวันนี้

      ทางวิทยาลัยครูสุรินทร์ โดยท่านอาจารย์ทองคูณ หงส์พันธ์ ได้คิดที่จะอนุรักษ์วิธีการตำน้ำกินไว้ในรูปของการแสดง ทางภาควิชานาฏศิลป์ โดยอาจารย์ผกา เบญจกาญจน์ และอาจารย์ภูมิจิตร เรืองเดช ได้นำเอาข้อมูลของการตำน้ำกินมาประดิษฐ์เป็นชุดฟ้อนให้ใช้ชื่อว่า "บุรีรัมย์ตำน้ำกิน"

      การทำน้ำขุ่นให้เป็นน้ำใส มีขั้นตอนดังนี้

      บริเวณหนองน้ำในฤดูแล้ง เมื่อน้ำแห้งลง น้ำในหนองน้ำเหล่านั้นจะขุ่นเป็นสีขาวออกเหลือง ไม่สามารถตักเอามากินได้ วิธีตำน้ำกิน ชาวบ้านจะขุดหลุมใกล้ๆ บริเวณหนองน้ำ ซึ่งน้ำขุ่นอย่างน้อยก็ต้องขุดสัก 2 หลุม ครอบครัวใหญ่มีสมาชิกหลายๆ คน ก็จะขุด 2-5 หลุม ขนาดของหลุมจุน้ำได้ 1-2 หาบ เมื่อขุดหลุมเรียบร้อยแล้วก็ตักน้ำมาเทลงในหลุมให้เต็ม แล้วโกยเอาดิน (ดินส่วนที่ขุดจะต้องเป็นดินเหนียว) ซึ่งอยู่ขอบๆ หลุม ใส่ลงไปประมาณ 2 - 3 กะลา (กะลามะพร้าวใช้ตักน้ำแทนขัน) จากนั้นก็เริ่มตำ โดยใช้ไม้ไผ่ขนาดยาวประมาณ 50 - 70 ซ.ม. ตัดด้านโคนบริเวณที่เป็นปล้องไม้ไผ่

      วิธีตำน้ำ

      กดกระแทกไม้ไผ่ที่ใช้ตำ หมุนข้อมือเล็กน้อย พยายามไม่ยกไม้ไผ่มาบนผิวน้ำ เพราะจะทำให้น้ำกระฉอก ตำไปเรื่อยๆ ประมาณ 15 - 20 นาที น้ำในหลุมจะเริ่มเปลี่ยนสภาพคล้ายๆ เอาสารส้มลงไปกวน ถ้าหากว่าน้ำยังไม่มีการเปลี่ยนสภาพต้องเติมดินลงไปอีก แล้วตำไปเรื่อยๆ เมื่อมองเห็นว่าน้ำเริ่มตกตะกอน ก็หยุดไปตำหลุมใหม่ ทิ้งน้ำให้ตกตะกอนในหลุม ค่อยๆ เอากะลาตักน้ำขึ้นมาจากหลุมจะได้น้ำที่ใสสะอาดไว้ดื่ม ถ้าตำในช่วงเช้าก็จะตักน้ำขึ้นจากหลุมในช่วงบ่าย พร้อมกับตำไว้ใหม่อีก และลุกมาตักน้ำในช่วงเช้าสลับกันไปอย่างนี้เรื่อยๆ ก็จะได้น้ำที่ใสสะอาดนำไปเก็บไว้ดื่ม "น้ำที่นำมาตำ ต้องไม่มีกลิ่นเหม็นสาป หากแต่ว่าเป็นน้ำขุ่นๆ ซึ่งจะเอามาตำ ให้เป็นน้ำใสเท่านั้น"

      รำวงบุรีรัมย์

      ลำดับขั้นตอนการแสดง

      • ชายหนุ่มหญิงสาวเดินทางออกจากบ้าน โดยฝ่ายหญิงหาบครุน้ำมีกะลาตักน้ำอยู่ข้างใน ส่วนฝ่ายชายถือกระบอกไม้ไผ่ และเสียมสำหรับขุดดิน
      • ฝ่ายชายจะขุดหลุมดินใกล้ๆ บ่อน้ำหรือหนองน้ำ ฝ่ายหญิงจะตักน้ำมาใส่หลุม ฝ่ายชายจะปาดปากหลุมให้เรียบ
      • ฝ่ายหญิงจะดกยดินใส่หลุม ฝ่ายจะตำน้ำด้วยลำไม้ไผ่
      • ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะคอยให้น้ำตกตะกอน ซึ่งในช่วงนี้จะมีการเกี้ยวพาราสีกัน ได้เวลาพอสมควรคาดว่าน้ำตกตะกอนแล้ว จะตักน้ำในหลุมหาบกลับบ้าน

      เครื่องแต่งกาย ชายนุ่งโจงกระเบน โดยใช้ผ้าขาวม้าพื้นเมือง สวมเสื้อคอกลมแขนสั้น ใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว หญิงนุ่งโจงกระเบนผ้าพื้นเมืองสีสด ใช้ผ้าขาวม้าพื้นเมืองห่มแบบตะเบ็งมาน ผมเกล้ามวยต่ำ ทัดดอกไม้สีขาวข้างซ้าย

      เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้ วงกันตรึม ทำนองเพลงกัดเตรยและอาไขเวง

      อุปกรณ์การแสดง 1) ครุสานด้วยไม้ชันยา 2) กะลามะพร้าวสำหรับตักน้ำ 3) เสียมสำหรับขุดดิน 4) ลำไม้ไผ่สำหรับตำน้ำขนาด 50-70 ซ.ม.

       

      3diamondระบำโคราชประยุกต์ 

      ระบำโคราชประยุกต์ เป็นการแสดงที่ได้นำลีลาการเล่นรำโทนและเพลงโคราช มาประยุกต์เข้าด้วยกัน การเล่นรำโทนเป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวโคราชในสมัยโบราณ วิธีรำก็รำเป็นคู่ ชาย-หญิง ไม่มีเพลงร้องประกอบแต่ใช้เสียงโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ เป็นเครื่องจังหวะ การร่ายรำก็เป็นท่าง่ายๆ ปักหลักรำอยู่กับที่บ้าง รำเดินไปเดินมาเป็นเชิงเกี้ยวพาราสีกันบ้าง ดักหน้าดักหลัง โดยไม่มีการถูกเนื้อต้องตัวกันเลย ต่อมามีการแต่งเพลงที่เป็นเนื้อร้องประกอบการรำ เช่น เพลงตามองตา ยวนย่าเหล วิธีเล่นโดยแสดงท่าทางตามคำร้องสลับกัน การรำซึ่งแล้วแต่ใครจะคิด ยังไม่มีใครกำหนดเป็นมาตรฐาน

      พอร้องจบก็มีดนตรีรับเป็นช่วงๆ ต่อมารัฐบาลได้มอบให้กรมศิลปากรแปลงรูปแบบของรำโทนเป็น "รำวง" โดยวางท่ารำไว้เป็นมาตรฐานมีท่ารำ 14 ท่า เพลงร้อง 10 เพลง ส่วนการเล่นเพลงโคราชก็จะมีการรำประกอบรำทีละคู่ ท่ารำก็แล้วแต่ใครจะคิดได้

      เครื่องแต่งกาย ผู้หญิงแต่งกายแบบไทยโคราช คือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแขนกระบอก

      เครื่องดนตรี ใช้เครื่องดนตรีที่เป็นเครื่องจังหวะ เช่น โทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ

      rabam korat

       

      ฟ้อนเซิ้งแคน - ฟ้อนชุดเล่นสาวเป่าแคน | ฟ้อนโปงลาง - ฟ้อนไทยภูเขา - ฟ้อนชุดสาวอีสานเล่นน้ำ - ฟ้อนคูณลาน blueline
      ฟ้อนอุบล - ฟ้อนกลองตุ้ม - เซิ้งกะโป๋ - เซิ้งทำนา | เซิ้งกุบ - เซิ้งสาวน้อยเลียบดอนสวรรค์ - เซิ้งสวิง - เซิ้งกระติบข้าว
      blueline เซิ้งกระหยัง - เซิ้งครกมอง - เซิ้งข้าวจี่ - รำหมากข่าแต้ | รำลาวกระทบไม้ - รำโก๋ยมือ - รำกลองยาวอีสาน - ลำลายกลองกิ่งกุสุมาลย์blueline รำส่วงเฮือ - รำจก - รำชุดบุรีรัมย์ตำน้ำกิน - ระบำโคราชประยุกต์ | ระบำว่าว - ระบำกลอง - ระบำสุ่ม - เรือมอันเร (รำสาก)blueline เรือมซาปดาน - เรือมซันตรูจ - เรือมตลอก (ระบำกะลา) - เรือมจับกรับ

      blueline

      next green คลิกไปอ่าน  ดนตรีประกอบการฟ้อนภาคอีสาน

       

      redline

      backled1

      dance header

      bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

      ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

      fon for fun header

      3diamondรำลาวกระทบไม้ 

      "รำกระทบไม้" เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวจังหวัดสุรินทร์ เดิมเรียกว่า "เต้นสาก" ประเทศไทยมีอาชีพทางกสิกรรมมาช้านาน การทำนาผลิตข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย และทำรายได้เป็นสินค้าออกให้แก่ประเทศไทยอย่างมากมาย ชีวิตประจำวันของคนไทยส่วนใหญ่จึงคลุกคลีอยู่กับการทำนา เริ่มตั้งแต่หว่าน ไถ ดำ และเก็บเกี่ยว เป็นต้น ด้วยนิสัยรักสนุก หลังจากเลิกงาน จึงนำสากตำข้าวมากระทบกันเป็นเครื่องประกอบจังหวะ พร้อมกับมีการละเล่นให้เข้ากับจังหวะ แต่เดิมคงเป็นจังหวะตำข้าวในลักษณะยืนตำ 2 คน ต่อมาจึงลากไม้สากมาวางตามยาว มีคนจับปลายสาก หัว ท้าย ข้างละคน พร้อมทั้งใช้ไม้หมอนรองเคาะเป็นจังหวะ

      ภายหลังกรมศิลปากรได้ศึกษาการละเล่นชนิดนี้ และนำมาปรับปรุงจัดระเบียบแบบแผนเรียงลำดับท่ารำขึ้น โดยไม่ทิ้งเค้าแบบแผนเดิม และได้นำออกแสดงเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2500 เนื่องในงานแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมกับราชอาณาจักรลาวในการปรับปรุงครั้งนั้น เนื่องจากบทร้องของเก่าไม่เหมาะสมที่จะรำได้สวยงาม กรมศิลปากรจึงได้ขอให้อาจารย์มนตรี ตราโมท แต่งบทร้อง และท่านผู้หญิงหม่อม แผ้ว สนิทวงศ์เสนีย์ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่  เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการรำ นอกจากไม้เคาะจังหวะประกอบการร่ายรำแล้ว ปัจจุบันนี้กรมศิลปากรได้นำวงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องคู่ บรรเลงลำนำ ทำนองเพลงให้ไพเราะด้วย

      บทร้อง มีความหมายในการละเล่นในยามค่ำคืนที่ดวงจันทร์เต็มดวง มีการร่ายรำของหนุ่มสาวมีการเกี้ยวพาราสีกัน ตามเนื้อร้องดังนี้

      แสงรัชนี ส่องสีนวล
      ชื่นใจชวน ยั่วยวนใจชมอภิรมย์เริงใจ
      เคล้าคู่เคียงไป ฟ้อนกรายร่ายรำ
      หนุ่มวอนกลอนกล่าว เว้าสาวหวานฉ่ำ
      จันทร์งามยามค่ำ เป็นสายนำดวงใจ
      ยามเดือนลอยเด่น หมือนดังเป็นใจให้
      สาวหนุ่มพลอดกัน กรีดกรายร่ายรำ สำเริงรื่น
      แสนชื่นชอบเชิง เริงรำ ทำทางกั้น
      สับเปลี่ยนเวียนผัน กันสำราญ
      ร่ายรำท่ามกลาง แสงเดือนเด่น
      เยือกเย็นน้ำค้าง ช่างซาบซ่าน
      สาวรำนำหนุ่ม ชุ่มชื่นบาน

       

      รำกระทบไม้

      เครื่องแต่งกาย

      การแต่งกาย แต่งได้ 2 แบบ คือ

      1. การแต่งกายแบบพื้นเมือง
        ชาย นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม แขนสั้น มีผ้าคาดเอว และผ้าคาดไหล่
        หญิง นุ่งผ้าซิ่นป้ายข้างยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนกระบอก คอปิดห่มสไบทับเสื้อ ปล่อยผมทัดดอกไม้ สวมเครื่องประดับพองาม มีสร้อยคอ ต่างหู
      2. การแต่งกายแบบกรมศิลปากร
        ชาย นุ่งกางเกงขาสามส่วน หลากสี วามเสื้อคอกลม มีผ้าคาดเอว และผ้าโพกศีรษะ
        หญิง นุ่งซิ่นมีเชิง ป้ายข้างยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนกระบอกคอกลมหรือคอปิด ห่มสไบเฉียง เข็มขัดทับเสื้อ สวมสร้อยคอและต่างหู ปล่อยผมทัดดอกไม้

      เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน

      อุปกรณ์การแสดง แต่เดิมวางไม้สากตามความยาว 2 อัน ให้ไม้หมอนรองหัวและท้ายไม้ทั้ง 2 ด้าน ปลายสากจะมีคน 2 คน จับปลายเพื่อกระทบกัน ภายหลังกรมศิลปากรปรับปรุง และจัดลำดับท่ารำให้เป็นระเบียบขึ้นแต่ยังคงรักษาเค้าแบบแผนเดิม โดยปรับปรุงเป็นไม้ไผ่ 2 ลำ ขนาดเท่ากันยาวประมาณ 2 - 4  เมตร และใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นหมอนวางรองทั้งสองปลาย ผู้กระทบนั่งกับพื้นจับปลายทั้งสองคนเพื่อจะได้ตีกระทบกัน

      วิธีเล่นกระทบไม้

      1. วางไม้ไผ่ตันไว้กับพื้นให้ห่างกันพอที่จะวางไม้ไผ่สีสุกลง แล้วเหลือปลายไว้ใช้จับประมาณ 2 คืบ 
      2. ผู้เล่น (2 คน) จับไม้ยาวเคาะเป็นจังหวะ โดยรั้งให้ไม้ยาวมากระทบกัน 1 ครั้ง แล้วจึงยกไม้ยาวแยกห่างกันออก เคาะไปที่ไม้สั้น 2 ครั้ง สลับกันไปตามจังหวะเพลง ช่วงระยะเคาะไม้สั้นจะเว้นช่องว่างระหว่างไม้ยาวประมาณ ครึ่งศอก เพื่อให้ผู้รำชาย - หญิง ได้หย่อนเท้าก้าวลงไปในช่องนั้น แล้วยกออกตามจังหวะเพลงได้อย่างสวยงาม และถ้าผู้รำเผลอก้าวพลาดผิดจังหวะ ไม้ไผ่คู่นั้นจะกระทบเท้าผู้รำทันที 

      จังหวะกระทบไม้จะเป็นจังหวะ 8 จังหวะ แล้วย้อนกลับไปใหม่เรื่อยๆ ดังนี้

      จังหวะที่

      1

      2

      3

      4

      5

      6

      7

      8

      จังหวะไม้

      ชิด

      ห่าง

      ห่าง

      -

      ห่าง

      ห่าง

      ชิด

      -

      ram kratop mai

      ท่ารำ-กระบวนท่ารำ

      1. รำท่าสอดสร้อยมาลา ย่ำเท้าตามจังหวะเพลง
      2. รำตามเนื้อร้องตีบทตามความหมายของเพลง
      3. ผู้แสดงชายทั้ง 4 คนแสดงในจังหวะที่รวดเร็วเพื่อเป็นการอวดฝีมือแก่ฝ่ายหญิง ฝ่ายหญิงรำอยู่ด้านหลัง เปรียบเสมือนการให้กำลังใจแก่ฝ่ายชาย
      4. ผู้แสดงฝ่ายหญิงเปลี่ยนออกมาแสดงอย่างสนุกสนาน ฝ่ายชายเปลี่ยนกลับไปรำอยู่ด้านหลัง
      5. ทั้งชายและหญิงออกมาจับคู่รำเหมือนเดิม ร่ายรำผ่านการกระทบไม้ทั้ง 4 คู่ เน้นการใช้เท้าและความพร้อมเพรียงกันอย่างสนุกสนาน
      6. แสดงการแตะไหล่ในการประกอบจังวะอย่างพร้อมเพรียง แสดงถึงความสามัคคีของผู้แสดงทั้งหมด
      7. ผู้กระทบไม้ เปลี่ยนไม้วางเป็นลักษณะรูปเครื่องหมายกากบาท ผู้แสดงการร่ายรำทั้ง 8 แสดงโดยให้ฝ่ายหญิงอยู่วงในและฝ่ายชายอยู่วงนอก มีการควงสลับคู่กันอย่างสนุกสนาน

       

      3diamondรำโก๋ยมือ

      ชาวไทอีสาน จะยึดมั่นในพระพุทธศาสนา และปฏิบัติตามฮีต 12 คอง 14 กันสืบมา ฮีตที่ 4. บุญผะเหวด หรือ บุญเดือนสี่ เป็นบุญที่มีการเทศน์พระเวส หรือ มหาชาติ เรียกว่า บุญผะเหวด ซึ่งหนังสือมหาชาติ หรือ พระเวสสันดรชาดกแสดงถึงจริยวัตรของพระพุทธเจ้า คราวพระองค์เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร เป็นหนังสือเรื่องยาว 13 ผูก

      ในช่วงเดือนสี่ในทุกๆ ปีจะมีงานประเพณีบุญมหาชาติหรือบุญผะเหวด ซึ่งในงานจะมีการแห่ผะเหวดเข้าเมือง ซึ่งชาวภูไท ในอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ได้จัดพิธีอย่างยิ่งใหญ่ และจะมีการจัดขบวนฟ้อนรำซึ่งแสดงออกถึงความดีใจ ความรื่นเริงสนุกสนาน เป็นการฟ้อนนำหน้าขบวน เพื่อต้อนรับผะเหวดที่แห่เข้ามาสู่เมือง

      ท่าฟ้อนโก๋ยมือ ประกอบไปด้วยท่าต่างๆ เช่น ท่าประแป้ง ท่าแญงแว่น (ส่องกระจก) ท่ากกกระต่าย ท่าเชิญสายท้าวพญา ท่ามาลาช่อม่วง ท่าน้าวหน่วงมาลา ท่านาคาม้วนหาง ท่านางญอขา ท่ากาเต้นก้อน ท่านอนหมอนหมิ่น ทากินรีชมหาด ท่านางนาถอ่วยคืน เป็นต้น 

      ฟ้อนโก๋ยมือ วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด

      เครื่องแต่งกาย การฟ้อนนั้นจะมีทั้งชายและหญิง สวมเสื้อแขนยาวหรือเสื้อแขนกระบอก ใช้ผ้าสไบขิดโพกศีรษะและพาดไหล่ หากฝ่ายชายจะมัดเอวด้วย นุ่งผ้าโจงกระเบนปล่อยชายด้านซ้าย สวมเล็บมีพู่ติดปลาย และสวมเครื่องประดับเงิน

      เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน

      อุปกรณ์การแสดง ซวยมือปลายยาวพริ้วไหวด้วยขนสัตว์

       

      3diamondรำกลองยาวอีสาน

      คณะกลองยาว หรือวงกลองยาวก็เกิดขึ้นก่อนที่โปงลางจะดัง เช่นกัน แต่ปัจจุบัน คณะกลองยาว ก็ได้รับการปรับปรุงพัฒนา ประยุกต์รูปแบบนำเสนอใหม่ และกำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมากในภูมิภาคอีสาน คณะกลองยาวนิยมใช้สำหรับประกอบขบวนแห่ต่างๆ เช่นเดียวกับวงมโหรีอีสาน

      คณะกลองยาวตามหมู่บ้านในสมัยก่อน ใช้กลองยาวเป็นเครื่องดนตรีหลัก โดยใช้กลอง ประมาณ 3 - 5 ลูก ไม่มีพิณหรือแคนบรรเลงลายประกอบ อาศัยลวดลายของจังหวะกลอง และลีลาการตีฉาบใหญ่เป็นสิ่งดึงดูด ซึ่งคณะกลองยาวนี้ ยังไม่มีขบวนนางรำ ฟ้อนรำประกอบ (และอาจยังไม่มีชุดแต่งกายประจำคณะ)

      เมื่อคณะกลองยาว พัฒนาขึ้นเป็นคณะกลองยาวจริงๆ เพื่อดึงดูดให้เจ้าภาพงานมาว่าจ้าง บางคณะจึงได้เพิ่มจำนวนกลองขึ้นมาให้ดูยิ่งใหญ่ขึ้น เช่น 10 ลูกบ้าง 14 ลูกบ้าง 20 ลูกบ้าง และนอกจากจะให้ผู้ชายตีกลอง บางคณะอาจใช้ผู้หญิงตีก็มี แต่ในยุคนั้นยังเป็นการโชว์กลองยาวอยู่ จึงยังไม่มีพิณ แคน บรรเลงประกอบ และยังไม่มีขบวนนางรำ ฟ้อนประกอบ คนตีกลอง จะฟ้อนไปด้วย ตีกลองไปด้วย

      คณะกลองยาวในยุคปัจจุบัน ได้นำหลายๆ อย่างประยุกต์ เพื่อให้ดูทันสมัยขึ้น นั่นคือ นอกจากใช้การโชว์กลองเป็นจุดขายแล้ว ยังขายความบันเทิงอื่นๆ ด้วย เช่น ใช้พิณ แคน บรรเลงประกอบ ใช้อีเล็กโทนบรรเลงประกอบ ใช้เครื่องขยายเสียง เพื่อให้เสียงพิณ หรืออีเล็กโทนดังไกล มีขบวนนางรำ ฟ้อนประกอบขบวนแห่ มีเครื่องแต่งกายเป็นเอกลักษณ์ และบางคณะ อาจมีการจัดรูปแบบขบวน ตกแต่งรถสำหรับขบวนแห่แบบต่างๆ เป็นต้น ซึ่งนี่คือตัวอย่างแห่งศิลปวัฒนธรรมที่ไม่หยุดนิ่ง

      เครื่องแต่งกาย แต่งด้วยชุดพื้นบ้านอีสาน ชายนุ่งขาก๊วย เสื้อม่ฮ่อม ผ้าขาวม้าพาดเอว หญิงนุ่งผ้าซิ่น เสื้อแขนกระบอก มีสะไบพาดบ่า

      เครื่องดนตรี ประจำคณะกลองยาว

      • กลองยาว
      • กลองตึ้ง(บางแห่งก็ไม่ใช้)
      • รำมะนา
      • ฉิ่ง
      • ฉาบเล็ก + ฉาบใหญ่
      • พิณ, แคน, หรืออีเล็กโทน,เบส (ประยุกต์ใช้ร่วมคณะกลองยาวในภายหลัง)

      คณะกลองยาว วงใหญ่หรือเล็ก ในสมัยก่อน ขึ้นอยู่กับ จำนวนกลองยาวที่ใช้ โดยวงขนาดเล็ก ใช้กลองยาวประมาณ 3 - 5 ลูก หากกลองยาวไม่เกิน 20 ลูก ยังถือว่า เป็นวงขนาดกลางอยู่ หากเกิน 20 ลูกขึ้นไป จัดว่าเป็นวงขนาดใหญ่ ในปัจจุบัน นอกจากดูเรื่องจำนวนกลองยาวแล้ว ยังต้องดูขบวนนางรำประกอบด้วย

      กลองยาว ที่ใช้ในคณะกลองยาว จะต้องปรับเสียงให้กลองทุกลูก ดังในคีย์เดียวกัน โดยใช้ข้าวเหนียวนึ่งสุก บดให้ละเอียด ติดหน้ากลอง และเมื่อเล่นเสร็จ ก็ต้องทำความสะอาด คราบข้าวเหนียวออกให้หมด ก่อนนำกลองไปเก็บ

      ลายพิณแห่กลองยาว โดย ทองใส ทับถนน

      3diamondรำลายกลองกิ่งกุสุมาลย์ 

      กลองกิ่ง หรือบางแห่งเรียก กลองจิ่ง เป็นกลองขนาดใหญ่ หน้ากลองกว้าง 50 ซ.ม. ก้นกลองกว้างประมาณ 20 ซ.ม. เป็นกลองที่แปลกคือ ไม่ได้ใช้ในพิธีหรือให้จังหวะแต่ทำกลองขึ้นมาสำหรับตีแข่งขันกันให้เสียงดังที่สุด ซึ่งชาวอีสานเรียกว่า เส็งกลอง คำว่า เส็ง แปลว่า การแข่งขัน การเส็งกลองก็คือการแข่งขันหรือการประกวดตีกลอง นอกจากจะใช้ตีแข่งขันที่เรียกว่า เส็งกลองแล้วยังนิยมวางนอนกับพื้นแล้วตีด้วยท่าต่างๆ เรียกว่า ลายกลอง

      ชาวโส้ซึ่งปัจจุบันอาศัยอยู่มากที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร มีความสนใจการเล่นลายกลองมากกว่ากลุ่มอื่นๆ และเนื่องจากกลุ่มชาวโส้มีภาษาพูดซึ่งมีสำเนียงแตกต่างจากชนกลุ่มอื่นๆ จึงทำให้ชาวโส้มีทำนองเพลงหรือลายแคนแตกต่างจากกลุ่มไทยลาว การตีลายกลองนี้เวลาตีผู้ตีจะเคลื่อนไหวร่างกายไปมา ยิ่งกว่านั้นบางรายอาจจะนำเอาลีลาการเลียนแบบของสัตว์ต่างๆ มาตั้งเป็นชื่อลายต่างๆ จากการเล่นตีกลองลายต่างๆ นี้เองทางวิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูสกลนคร จึงนำแนวคิดนี้มาประยุกต์เป็นท่าฟ้อนขึ้นเรียกว่า "รำลายกลองกิ่งกุสุมาลย์" โดยมีท่าทางการรำเลียนแบบท่าตีกลองเป็นท่าต่างๆ

      เครื่องแต่งกาย ผู้แสดงใช้ผู้หญิงล้วนแต่งกายแบบพื้นเมืองของชาวโส้ คือ นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ สวมเสื้อคอกลมแข้นสั้นป้ายข้าง ติดกระดุมสีขาวตลอดแนว ผมเกล้ามวยสูงใช้ฝ้ายผูกมวย

      เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ประกอบด้วยกลองกิ่ง กลองตุ้ม เพลงบ้งไต่ขอน เพลงแมงตับเต่า และเพลงโปงลาง

      อุปกรณ์การแสดง กลองกิ่ง และไม้ตีกลอง

      ลำดับขั้นตอนการแสดง ผู้แสดงจะถือไม้ตีกลองออกมาทำท่าต่างๆ ตามบทร้อง ท่าฟ้อนที่เลียนแบบท่าตีกลอง

      1. ท่าเสือลากหาง ผู้ตีกลองจะลากแขนทั้งสองไปข้างหลังในขณะที่เอี้ยวตัวพร้อมกับตีไปที่หน้ากลองพร้อมกัน
      2. ท่ากวางเหลียวเหล่า ผู้ตีกลองจะยืนในลักษณะไขว้กันไปข้างหน้าพร้อมกับหันหน้าไปตามทิศทางของไม้ในท่ากวางระวังภัย
      3. ท่าไก่เลียบครก ผู้ตีกลองจะหมุนตัวเดินรอบกลองแต่ในขณะเดียวกันต้องตีให้ถูกหน้ากลองลูกใดลูกหนึ่ง
      4. ท่านกเขากระพือปีก ผู้ตีกลองจะย่อตัวในท่านั่งตีกลองและส่งไม้ไปข้างๆ พร้อมกับกระดกข้อมือให้ไม้กลองยกขึ้นในท่านกกำลังบิน
      5. ท่าไม้ลอดขา ในขณะที่ตีกลองให้ยกขาข้างหนึ่งขึ้น แล้วส่งไม้ตีกระทบกันใต้ขาในจังหวะว่าง
      6. ท่ากาเต้นก้อน เป็นท่าเลียนแบบการกระโดดจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ผู้ตีกลองจะแยกสองลูกออกจากกันในลักษณะหันหน้ากลองไปคนละด้าน ขณะที่ข้ามกลองลูกหนึ่งในท่ากระโดดมือก็จะตีกลองทั้งสองลูกพร้อมๆ กัน
      7. ท่าเคาะหลังงูสิง ผู้ตีกลองจะใช้ไม้เคาะที่ตัวกลองในจังหวะแทรกให้มีเสียงดังแตกต่างจากตีด้านหน้ากลอง
      8. ท่าลิงไหว้ข้างหลัง ในท่านี้ผู้ตีกลองจะส่งไม้ไปตีกระทบกันข้างหลัง ให้มีเสียงดังในจังหวะที่ต่อจากจังหวะพื้นที่ลงหน้ากลอง

      ฟ้อนลายกลองกิ่งกุสุมาลย์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

       

      ฟ้อนเซิ้งแคน - ฟ้อนชุดเล่นสาวเป่าแคน | ฟ้อนโปงลาง - ฟ้อนไทยภูเขา - ฟ้อนชุดสาวอีสานเล่นน้ำ - ฟ้อนคูณลาน blueline
      ฟ้อนอุบล - ฟ้อนกลองตุ้ม - เซิ้งกะโป๋ - เซิ้งทำนา | เซิ้งกุบ - เซิ้งสาวน้อยเลียบดอนสวรรค์ - เซิ้งสวิง - เซิ้งกระติบข้าว
      blueline เซิ้งกระหยัง - เซิ้งครกมอง - เซิ้งข้าวจี่ - รำหมากข่าแต้ | รำลาวกระทบไม้ - รำโก๋ยมือ - รำกลองยาวอีสาน - ลำลายกลองกิ่งกุสุมาลย์blueline รำส่วงเฮือ - รำจก - รำชุดบุรีรัมย์ตำน้ำกิน - ระบำโคราชประยุกต์ | ระบำว่าว - ระบำกลอง - ระบำสุ่ม - เรือมอันเร (รำสาก)blueline เรือมซาปดาน - เรือมซันตรูจ - เรือมตลอก (ระบำกะลา) - เรือมจับกรับ

      blueline

      next green คลิกไปอ่าน  ดนตรีประกอบการฟ้อนภาคอีสาน

       

      redline

      backled1

      dance header

      bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

      ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

      fon for fun header

      3diamondเซิ้งกระหยัง 

      เซิ้งกระหยัง เป็นชุดฟ้อนที่ได้แบบอย่างมาจากเซิ้งกระติบข้าว โดยเปลี่ยนจากกระติบข้าวมาเป็น "กระหยัง" ซึ่งเป็นภาชนะทำด้วยไม้ไผ่ มีลักษณะคล้ายกระบุง แต่มีขนาดเล็กกว่า เซิ้งกระหยัง เป็นการแสดงอย่างหนึ่งของชาวกาฬสินธุ์ โดยอำเภอกุฉินารายณ์ได้ประดิษฐ์ขึ้น โดยดัดแปลงและนำเอาท่าฟ้อนจากเซิ้งอื่นๆ เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งสาละวัน ฯลฯ เข้าผสมผสานกันแล้วมาจัดกระบวนขึ้นใหม่มีอยู่ 19 ท่า ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น

      ท่าไหว้ ท่าไท ท่าโปรยดอกไม้ ท่าขยับสะโพก ท่าจับคู่ถือกะหยัง ท่านั่งเกี้ยว ท่าสับหน่อไม้ ท่ายืนเกี้ยว ท่ารำส่าย ท่าเก็บผักหวาน ท่ากระหยังตั้งวง ท่าตัดหน้า ท่าสาละวัน ท่ากลองยาว ท่ารำวง ท่าชวนกลับ ท่าแยกวง ท่านั่ง ที่ได้ชื่อว่าเซิ้งกระหยังเพราะผู้ฟ้อนจะถือกระหยังเป็นส่วนประกอบในการแสดง

      เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงสวมเสื้อแขนกระบอกสีดำ หรือน้ำเงินขลิบขาว นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ ฝ่ายชายสวมเสื้อม่อฮ่อมกางเกงขาก๊วย ใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว และโพกศีรษะ

      เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานซึ่งประกอบด้วย กลองยาว ฉาบ และฉิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องกำกับจังหวะ ใช้แคน พิณ ปี่แอ้ เป็นเครื่องดำเนินทำนอง

      อุปกรณ์การแสดง กระหยัง

      เซิ้งกระหยัง วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์

      3diamondเซิ้งครกมอง

      ชาวชนบทในภาคอีสานส่วนใหญ่ จะมี "ครกมอง" หรือ "ครกกระเดื่อง" ไว้ให้สำหรับตำข้าวเปลือกอยู่แทบทุกครัวเรือน ส่วนมากจะทำไว้ใกล้ๆ กับเล้าข้าวโดยต่อหลังคาลงมาเรียกว่า "เทิบมอง" มุงเพื่อกันแดดกันฝนที่ทำครกมองไว้ใกล้ๆ เล้าข้าว เพื่อสะดวกในการตักข้าวเปลือกจากเล้ามาตำ การตำข้าวเปลือกนั้นชาวอีสานถือว่า เป็นหน้าที่ของผู้หญิง สำหรับเรือนที่มีลูกสาวเขาจะตำข้าวหลังจากกินข้าวเย็นแล้ว ในการนี้จะมีชายหนุ่มมาช่วยตำด้วย และมีการเกี้ยวพาราสีกัน ครกมองจะมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้

      1. ตัวครก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งตัดเป็นท่อนยาวพอสมควร ด้านที่เป็นตัวครกเจาะเป็นร่องลึกตรงกลาง ส่วนอีกด้านหนึ่งฝังลงดินให้แน่น
      2. แม่มอง ใช้ไม้เนื้อแข็งยาวประมาณ 4-5 เมตร ส่วนหัวซึ่งเป็นโคนต้นเจาะรูสำหรับใส่สากมอง ส่วนทางปลายจะถากออกเพื่อใช้เป็นที่เหยียบเพื่อให้แม่มองกระเดื่องขึ้น
      3. เสามองและคานมอง แม่มองจะถูกเจาะให้เป็นช่องทะลุตรงช่วงที่ค่อนไปทางหางมอง เพื่อจะได้สอดคานมองและมีเสามองไว้สำหรับยึดคานมองไว้ทั้งสองข้าง ซึ่งจะทำให้แม่มองวางเกือบขนานกับพื้นดิน เมื่อนำสากมองสวมเข้าแล้วหัวแม่มองจะเชิดขึ้นเล็กน้อย
      4. หลักจัน หมายถึงหลักไม้สำหรับให้ผู้ตำข้าวใช้จับเวลาตำ หลักจับอาจจะมีหลักเดียวหรือ 2 หลักก็ได้
      5. สากมอง เป็นส่วนสำคัญของครกมอง การตำข้าวจะออกมาสวยหรือไม่สวย จะขึ้นอยู่กับสากมอง สากมองทำด้วยไม้เนื้อแข็งความยาวประมาณ 60 เซนติเมตร โดยใช้สวมกับแม่มอง สากมองมี 3 ชนิด คือ สากตำเป็นสากขนาดเล็กใช้ตำข้าวเปลือกซึ่งเรียกว่า ตำแหลกเปลือก ต่อไปก็ใช้สากต่าวซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าสากตำ เรียกว่า การตำต่าว และใช้สากส้อมเป็นสากที่มีขนาดใหญ่ที่สุด การเปลี่ยนสากแต่ละครั้งจะต้องนำข้าวนั้นตักออกใส่กระด้งนำไปฝัดเสียครั้งหนึ่ง

      krog mong 04

      อุปกรณ์การแสดง ที่ใช้ในการประกอบในการตำข้าว ได้แก่

      1. กระด้ง ใช้สำหรับผัดข้าว ซึ่งเรียกว่า กระด้งผัดมีลักษณะทรงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร
      2. กระบุง ในการตำข้าวแต่ละครั้งอย่างน้อยต้องใช้กระบุง 2 ใบ สำหรับใส่ข้าวเปลือกกระบุงหนึ่งและข้าวสารอีกกระบุงหนึ่ง
      3. เขิง หรือ ตะแกรงร่อนเพื่อจะเอารำข้าว ทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นลายตารางเล็กๆ ใช้ร่อนข้าวหลังจากตำเสร็จแล้ว เพื่อจะได้รำข้าว

      วิธีการตำข้าว คนตำจะใช้เท้าเหยียบที่หางครกมอง หรือที่เรียกว่า แม่มอง ออกแรงกดเท้าให้แม่มองกระเดื่องยกขึ้นพร้อมกับปล่อยเท้าลง เพื่อให้สากมองไปกระเทาะเปลือกเมล็ดข้าวให้หลุดออก

      การเซิ้งครกมอง จึงได้นำเอาขั้นตอนการตำข้าวตั้งแต่การนำเอาครกมาตั้ง ส่วนแม่มองจะใช้ผู้แสดงหญิงล้วนราว 6 คน แสดงให้เห็นถึงการกระเดื่องขึ้นลง ใช้ผู้ชายสองคนเพื่อแสดงแทนหลักจับ ใช้ผู้แสดงหญิงอีก 5 คนเป็นผู้ตำข้าวและฝัดข้าว หลังจากเสร็จสิ้นการตำข้าวจะเพิ่มการละเล่นของเด็กอีกชุดหนึ่ง เรียกว่า เสือกินวัว

      เซิ้งครกมอง

      เครื่องแต่งกาย ผู้แสดงหญิงที่แสดงเป็นแม่มองนั้นจะนุ่งโจงกระเบนใส่เสื้อแขนกระบอกคอกลม ส่วนผู้แสดงเป็นคนตำข้าวจะนุ่งผ้าถุงสั้นห่มผ้าแทบใช้ผ้าพันรอบเอว ผู้ชายจะใส่เสื้อม่อฮ่อมนุ่งกางเกงขาก๊วยกัน ใช้ผ้าคาดเอว

      เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ทำนองเซิ้งบั้งไฟ

      อุปกรณ์การแสดง ตัวครก กระด้ง กระบุง

       

      3diamondเซิ้งข้าวจี่

      บุญข้าวจี่ เป็นฮีตหรือจารีตที่สำคัญของชาวอีสาน พอถึงเดือนสามต้องการทำบุญข้าวจี่ จนมีคำพูดที่ว่า

      พอถึงเดือนสามคล้อย ปั้นข้าวจี่ใส่น้ำอ้อย เจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ จัวน้อยเช็ดน้ำตา"

      บุญข้าวจี่ ไม่ได้เป็นการทำบุญที่ใหญ่โตนัก แต่ถึงกระนั้นบุญข้าวจี่ก็มีจุดเด่นที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวอีสาน ในชนบทเมื่อถึงเดือนสามเป็นเวลาที่ชาวบ้านหมดภาระจากการทำงาน จึงร่วมกันทำข้าวจี่ถวายพระสงฆ์ ตำนานการทำบุญข้าวจี่นั้นมีเล่าไว้ว่า "กระทำกันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล วันหนึ่งพระพุทธองค์เสร็จไปบิณฑบาตที่บ้านเศรษฐีปุณณะ ขณะนั้นนางปุณณทาสี คนใช้ของเศรษฐีเจ้าบ้านกำลังย่างข้าวเหนียวเพื่อรับประทานเอง ครั้นนางเห็นพระพุทธองค์ออกรับบิณฑบาต นางไม่มีปัจจัยสิ่งอื่นที่พอจะถวายได้จึงเอาข้าวย่างก้อนนั้นใส่บาตรแด่พระพุทธองค์

      เมื่อนางใส่บาตรไปแล้วนางทาสีก็มีจิตพะวงว่า "พระพุทธองค์คงจะไม่เสวย เพราะภัตตาหารที่นางถวายไม่ประณีต" ข้าวย่างหรือข้าวจี่นั้นเป็นอาหารของชาวบ้านที่ค่อนข้างจะยากจน พระพุทธองค์ทรงทราบวาระจิตของนาง จึงรับสั่งให้พระอานนท์ปูอาสนะลงตรงนั้น ให้ศีลและฉันภัตตาหารของนาง เมื่อฉันเสร็จแล้วทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดนาง ทำให้นางปลื้มปิติและตั้งใจฟังธรรมจนบรรลุโสดาปัตติผล ครั้นนางตายไปได้ไปเกิดบนสวรรค์ด้วยอานิสงฆ์ของการให้ทานข้าวจี่ก้อนนั้น" ดังนั้นชาวอีสานจึงมีความเชื่อว่า หากทำบุญด้วยข้าวจี่นั้นเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า ความยากจนไม่ได้เป็นอุปสรรคในการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน

      พิธีทำบุญข้าวจี่ เมื่อทางวัดกำหนดวันกับทางบ้านเรียบร้อย แล้วทางชาวบ้านจะจัดทำข้าวเกรียบ (ข้าวโป่ง) เอาไว้ เมื่อถึงวันทำบุญข้าวจี่ก็จะจี่ข้าว ย่างข้าวเกรียบ (ข้าวโป่ง) จัดไปถวายพระที่วัด เมื่อชาวบ้านไปรวมกันที่วัด ทายกก็จะนำสวดมนต์ไหว้พระ รับศีล ชาวบ้านก็จะถวายข้าวจี่ จากนั้นก็ฟังเทศน์ตามประเพณี

      วิธีทำข้าวจี่ ข้าวจี่หรือข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้ว ปั้นเป็นก้อนกลมหรือแบนก็ได้ นำไปเสียบไม้ไผ่ แล้วนำไปจี่หรือย่างไฟ พอจวนจะสุกก็ทาไข่ให้ทั่วแล้วทาเกลือเล็กน้อย หรืออาจจะใส่น้ำอ้อยในการปั้นข้าวจี่ก็ได้ ย่างให้หอม ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูมหาสารคาม ได้นำขั้นตอนของการทำข้าวจี่มาประดิษฐ์เป็นท่ารำชุดฟ้อนขึ้น เรียกว่า "เซิ้งข้าวจี่"

      เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงสวมเสื้อคอกลมแขนกระบอก นุ่งผ้าเวียงห่มสไบผ้าเบี่ยงทางไหล่ขวา ผูกโบว์ที่เอวซ้าย ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาก๊วย สวมเสื้อคอกลมสีพื้นขลิบริมชายเสื้อ ใช้ผ้าเวียงคาดเอวและโพกศีรษะ

      เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ทำนองเซิ้ง

      ฟ้อนบุญข้าวจี่

      3diamondรำหมากข่าแต้

      การฟ้อนชุดนี้ได้ประยุกต์มาจากลีลาของการละเล่นพื้นบ้านของเด็กอีสาน ที่เรียกว่า "เม็ดแต้" หรือ "บักแต้" การละเล่นเม็ดแต้นิยมเล่นแถบลานบ้านหรือบริเวณลานวัดที่มีพื้นเรียบ อุปกรณ์ในการเล่นก็ได้แก่ เม็ดแต้ ซึ่งเป็นเมล็ดของต้นแต้ (มะค่าแต้) จำนวนผู้เล่นต้องไม่ต่ำกว่า 2 คน และไม่ควรเกิน 6 คน

      mak ka tae

      วิธีการเล่น

        1. เอาเม็ดแต้มาลงกัน โดยให้แต่ละคนได้จำนวนเม็ดแต้เท่าๆ กัน
        2. ขีดวงกลมไว้หนึ่งวงให้แต่ละคนโยนเม็ดแต้ใส่ในวงกลม ถ้าของใครอยู่ในวงกลมมากที่สุดก็จะได้เล่นก่อน และถ้าของใครอยู่ไกลออกไปจากวงกลมมาก็เล่นทีหลัง โดยพิจารณาจากความใกล้ไกลของเม็ดแต้กับวงกลม
        3. ตั้งเม็ดแต้เรียงเป็นแถวจนหมดจำนวนของผู้ที่เล่น
        4. ขีดเส้นสำหรับเล่น โดยคนที่หนึ่งจะเล่นก่อนไปยืนยิง (หมุนเม็ดแต้) ที่เส้นเริ่มโดยยิงไปใส่เป้าคือเม็ดแต้ที่เรียงไว้ ถ้าเม็ดแต้ล้มเท่าไหร่ก็แปลว่าคนนั้นเล่นได้เท่านั้น
        5. คนต่อไปที่เล่นต่อ ถ้ายิงไม่ล้มก็ไม่ได้เลย ในบางครั้งเล่นยังไม่ครบคนแม็ดแต้ที่ตั้งไว้ก็หมด ก็จะมีการลงเม็ดแต้เพื่อเล่นเกมส์ใหม่ต่อไป คนไหนยิงเม็ดแต้ได้มากก็กำไร คนที่เล่นได้น้อยก็ขาดทุน

        การรำหมากข่าแต้นี้จึงได้ดัดแปลงจากวิธีเล่นเม็ดแต้นี้มาทำเป็นชุดฟ้อน โดยอาศัยผู้หญิงแทนเม็ดแต้ ผู้ชายจะใช้ลีลาต่างๆ ในการยิงเม็ดแต้ให้ล้มลง

        เครื่องแต่งกาย ผู้หญิงสวมเสื้อคอกระเช้า นุ่งโจงกระเบนใช้ผ้าขิดสอดใต้หว่างข่าแบบขี่ม้า ใช้เข็มขัดรัดทิ้งชายทั้ง 2 ชาย ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ ฝ่ายชายสวมเสื้อคอกลมแขนสั้น นุ่งโจงกระเบนสีพื้นใช้ผ้าขาวม้าพื้นเมืองสอดใต้หว่างข่าแบบขี่ม้า ใช้เข็มขัดรัดทิ้งชายทั้ง 2 ชาย เช่นเดียวกัน

        เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายนกไซบินข้ามทุ่ง

        อุปกรณ์การแสดง ไม้ที่ทำเป็นเม็ดแต้แต่มีขนาดใหญ่กว่า

         

        ฟ้อนเซิ้งแคน - ฟ้อนชุดเล่นสาวเป่าแคน | ฟ้อนโปงลาง - ฟ้อนไทยภูเขา - ฟ้อนชุดสาวอีสานเล่นน้ำ - ฟ้อนคูณลาน blueline
        ฟ้อนอุบล - ฟ้อนกลองตุ้ม - เซิ้งกะโป๋ - เซิ้งทำนา | เซิ้งกุบ - เซิ้งสาวน้อยเลียบดอนสวรรค์ - เซิ้งสวิง - เซิ้งกระติบข้าว
        blueline เซิ้งกระหยัง - เซิ้งครกมอง - เซิ้งข้าวจี่ - รำหมากข่าแต้ | รำลาวกระทบไม้ - รำโก๋ยมือ - รำกลองยาวอีสาน - ลำลายกลองกิ่งกุสุมาลย์blueline รำส่วงเฮือ - รำจก - รำชุดบุรีรัมย์ตำน้ำกิน - ระบำโคราชประยุกต์ | ระบำว่าว - ระบำกลอง - ระบำสุ่ม - เรือมอันเร (รำสาก)blueline เรือมซาปดาน - เรือมซันตรูจ - เรือมตลอก (ระบำกะลา) - เรือมจับกรับ

        blueline

        next green คลิกไปอ่าน  ดนตรีประกอบการฟ้อนภาคอีสาน

         

        redline

        backled1

        isan word tip

        isangate net 345x250

        ppor blog 345x250

        adv 345x200 1

        นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

        ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)