dance header

bulletการแสดงที่ปรากฏในภาคอีสาน

ารละเล่นพื้นบ้าน หรือการมหรสพ นับเป็นมรดกที่แสดงภูมิปัญญาที่สะสมจากอดีต จวบปัจจุบัน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

    1. เพลงพื้นบ้าน
    2. ละครพื้นบ้าน
    3. การฟ้อนพื้นบ้าน
    4. เอกลักษณ์การฟ้อนภาคอีสาน
 
pramothai 08

3diamond ละครพื้นบ้านอีสาน

การแสดงพื้นบ้านอีสานในลักษณะของการเล่าเรื่อง หรือมีการดำเนินเรื่องนั้นพอจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

morlum 01

1. หมอลำหมู่ หมอลำกลอน หมอลำซิ่ง

หมอลำเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของอีสาน ซึ่งเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ และยังคงเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบัน จนมีผู้กล่าวว่า "หมอลำ ไม่มีวันตายจากลมหายใจของคนอีสาน" การลำจะแบ่งออกเป็นหลายแบบหลายสำเนียง และพัฒนาเรื่อยมา รายละเอียดต่างๆ คลิกดูที่นี่ครับ

morlum klon 01

2. หนังปราโมทัย หรือหนังปะโมทัย หรือหนังบักตื้อ

pramothai 11หนังปราโมทัยหรือหนังตะลุงอีสานนั้น มีชื่อเรียกแตกต่างกันหลายชื่อ เช่น หนังประโมทัย หนังปราโมทัย หนังปะโมทัย หนังบักตื้อ และหนังบักป่องบักแก้ว คำว่า หนังปราโมทัย น่าจะมาจากคำว่า ปราโมทย์ ซึ่งหมายถึงความบันเทิงใจ ความปลื้มใจ ส่วนคำว่า ประโมทัยและปะโมทัย สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นชื่อของคณะหนังตะลุงก็ได้ ส่วนหนังบักตื้อ และหนังบักป่องบักแก้ว มาจากชื่อตัวตลก (ตัวหนัง) ซึ่งได้รับความนิยมจากชาวบ้าน ซึ่งหนังปราโมทัยเป็นการละเล่นซึ่งผสมผสานกันระหว่างหนังตะลุงกับหมอลำ โดยตัวที่เป็นตัวเอก ตัวพระ ตัวนาง หรือเป็นเจ้าจะพูดภาษากลาง ตัวตลก เหล่าเสนาอำมาตย์ จะเป็นภาษาอีสาน เรื่องที่นำมาแสดงก็จะเอาวรรณกรรมพื้นบ้านมาแสดง เช่น สังข์ศิลป์ชัย จำปาสี่ต้น การะเกษ ผาแดงนางไอ่ ท้าวก่ำกาดำ รวมทั้งวรรณคดีเอกอย่าง รามเกียรติ์

pramothai 12หนังปราโมทัยอีสานนั้น มีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานีเป็นศูนย์กลางแห่งแรก คณะหนังปราโมทัยคณะเก่าแก่ที่สุดคือ คณะฟ้าบ้านทุ่ง ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2467 คณะหนังประโมทัยที่เก่าแก่รองลงมาได้แก่ คณะบุญมี ซึ่งมาจากจังหวัดอุบลราชธานี และมาตั้งคณะขึ้นในจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อปี พ.ศ. 2476   คณะประกาศสามัคคี ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2490   นอกจากนี้ยังมีคณะ ช. ถนอมศิลป์ บ้านโคกไพลี ตำบลโพธิ์ทอง กิ่งอำเภอศรีสมเด็จ คณะ ป. บันเทิงศิลป์ บ้านสีแก้ว ตำบลสีแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด คณะหนังปะโมทัยของผู้ใหญ่ถัง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น

คณะหนังปราโมทัยคณะหนึ่งมีประมาณ 5-10 คน เป็นคนเชิด 2-3 คน   ซึ่งจะทำหน้าที่พากย์และเจรจาด้วย   แต่ก็มีบางคณะที่ทำหน้าที่เชิดอย่างเดียว โดยมีคนเจรจาแยกเป็นชายจริงหญิงแท้ต่างหาก มีนักดนตรีประมาณ 3-5 คน

เครื่องดนตรีจะประกอบด้วย ระนาดเอก 1 ราง ตะโพน 1 ใบ ฉิ่ง 1 คู่ ต่อมามีการนำเอา พิณ แคน กลอง ฉิ่งฉาบ เข้ามาเสริมเพื่อให้เกิดความไพเราะเร้าใจขึ้น ทุกอย่างแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลาคล้ายกับหมอลำนั่นเอง คณะหนังตะลุงที่ผม (ผู้ทำเว็บไซต์) ได้รู้จัก และเคยเฝ้าดูการละเล่นมาตั้งแต่เด็กจนปัจจุบันคือ คณะ ฟ.บันเบิงศิลป์ ถ้ามีโอกาสจะได้สัมภาษณ์มาบอกกล่าวกันต่อไป

3. ลิเกเขมร

ลิเกเขมรปรากฏในแถบอีสานใต้ในจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ได้รับอิทธิพลมาจากเขมร เดิมชาวไทยและกัมพูชามีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน มีการไปมาหาสู่ต่อกัน มีชายไทยคนหนึ่งชื่อ "ตาเปาะ" ได้ไปเที่ยวประเทศกัมพูชาและได้ภรรยาเป็นชาวเขมร ได้อาศัยอยู่ที่นั่นหลายปี จนมีความรู้ความเข้าใจในขนบธรรมเนียมประเพณี และการละเล่นต่างๆ ในประเทศกัมพูชาเป็นอย่างดี

like khamer

ต่อมาได้กลับมาประเทศไทย ได้รวบรวสมัครพรรคพวกที่ชอบร้อง และรำตั้งเป็นคณะลิเกขึ้น ลักษณะการเล่นลิเกเขมรคล้ายลิเกไทย โดยใช้บทร้องและเจรจาเป็นภาษาเขมร ไม่มีการรำอย่างละครแต่รำประกอบพองาม หรืออาจจะมีระบำสลับฉาก หรือสอดแทรกในเรื่อง เช่น รำอาไย หรือกระโนบติงตอง เป็นต้น เรื่องที่นำมาแสดงเอามาจากนิทานพื้นบ้าน เช่น เจ็ดยอดกุมาร กดามซอ (ปูขาว) ก่อนการแสดงจะมีการไหว้ครู แล้วแนะนำตัวละคร จึงเข้าสู่เรื่องราว

 
รายการ รอบแดนสยาม ตอน : ลิเกเขมร

เครื่องดนตรีประกอบด้วย ซอตตรัวเอก กลองรำมะนา 2 ลูก กรับ ฉิ่ง และฉาบ ผู้แสดงส่วนใหญ่ใช้ผู้หญิงแสดงเป็นตัวผู้หญิงและชาย ส่วนผู้ชายจะแสดงเป็นตัวตลกเท่านั้น การแต่งกายเป็นแบบพื้นบ้าน แต่มีมงกุฏสวมทั้งตัวพระตัวนาง ในราวปี พ.ศ. 2503 นายเปรม รัตนดี ได้จัดตั้งคณะลิเกขึ้นที่ บ้านดงเค็ง ตำบลเมืองลิง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ชื่อว่า "คณะเปรมปรีดิ์สามัคคีศิลป์" ซึ่งมีอยู่เพียงคณะเดียวและมีผู้ว่าจ้างไปแสดงน้อยเต็มที (ปัจจุบันไม่ปรากฏอีกแล้ว หากท่านผู้ใดมีข้อมูลจะช่วยเสริมก็ขอบพระคุณครับ)

ของดีประเทศไทย : ลิเกเขมรโบราณ

เพลงพื้นบ้าน | ละครพื้นบ้าน | การฟ้อนพื้นบ้าน | เอกลักษณ์การฟ้อนภาคอีสาน blueline

 next green คลิกไปอ่าน  การฟ้อนแบบต่างๆ

 

redline

backled1