attalak isan

รำบายศรี

รำบายศรี เป็นการรำเพื่อประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญ เพื่อให้เกิดความสวยงามสมเกียรติผู้มาเยือน ทำเพื่อความเป็นสิริมงคล รำบายศรีเริ่มจากการแห่พานบายศรีมาสู่พิธี พราหมณ์เริ่มสวดเรียกขวัญ จบแล้วจึงรำบายศรี เนื้อร้องประกอบการรำเป็นการบรรยายถึงความสวยงามของพานบายศรี และเป็นคำเรียกขวัญที่เรียบเรียงด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย

ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม เนื้อร้อง ท่ารำ เครื่องแต่งกายชุดพื้นเมือง และการบรรเลงดนตรีอีสาน

ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม ความเชื่อเรื่องขวัญ การทำพิธีบายศรีสู่ขวัญทำได้ทั้งเหตุดีและเหตุไม่ดี เหตุดีได้แก่ หายจากเจ็บป่วย การจากไปอยู่ที่อื่นแล้วกลับมา การไปค้าขายได้เงินทองมามาก เหล่านี้ก็ทำพิธีสู่ขวัญ เหตุไม่ดี ได้แก่ เจ็บไข้ได้ป่วย คนในครอบครัวเสียชีวิต ประสบอุบัติเหตุ ก็ทำพิธีสู่ขวัญ

ram bai siการฟ้อนบายศรีสู่ขวัญ

บายศรีสู่ขวัญ หรือ บาศรีสูตรขวัญ เป็นประเพณีดั้งเดิมเก่าแก่ ที่นิยมกระทำกันสืบเนื่องติดต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน ถือว่าเมื่อจัดทำพิธีนี้จะก่อให้เกิดความเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต ซึ่งคำว่า บายศรี ก็หมายถึงการทำสิริให้กับชนผู้ดี สูตรเป็นคำเก่าแก่ หมายถึง การสวด ซึ่งในอันที่จริงแล้ว บาศรีสูตรขวัญนี้เป็นพิธีของพราหมณ์ ส่วนขวัญนั้นเราถือว่าเป็นของไม่มีตัวตน เห็นไม่ได้ จับต้องไม่ได้

แต่เชื่อว่า "ขวัญ" นี้แฝงอยู่ในตัวตนของคนและสัตว์มาตั้งแต่กำเนิด และขวัญนี้จะต้องอยู่ประจำตัวของตนตลอด เวลาตกใจ เสียใจ ป่วยไข้ ขวัญจะหนีไป ซึ่งอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ ฉะนั้นจึงต้องเรียกขวัญ หรือสูตรขวัญ เพื่อให้ขวัญหลับมาอยู่กับตัวจะได้สุขสบาย (อ่านเรื่อง การสูตรขวัญ ได้ที่นี่)

การทำพิธีสู่ขวัญนี้ มีทั้งเหตุดีและเหตุไม่ดี เหตุดีได้แก่ หายจากการเจ็บป่วย จากไปอยู่บ้านอื่นกลับมา ไปค้าขายได้เงินทองมามาก เหตุเหล่านี้ก็มีการทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ ส่วนเหตุไม่ดีได้แก่ การเจ็บไข้ได้ป่วย คนในครอบครัวเสียชีวิต ประสบอุบัติเหตุ ก็ทำพิธีบายศรีเช่นกัน ในวรรณกรรมอีสานหลายเรื่องที่กล่าวถึงพิธีบายศรีสู่ขวัญเช่น ในเรื่องพญาคันคาก

เมื่อนั้น ภูธรเจ้า พญาหลวงแถนเถือก เจ้าก็ เดินไพร่พร้อม แถนฟ้าซุพญา
บัดนี้ เฮาจักบาลีเจ้า บุญมีองค์ประเสริฐ จริงเทอญ เฮาจัก ตกแต่งพร้อม กวยช้างสู่ขวัญ ก่อนเทอญ
แต่นั้น ยาบๆ แส่ ฝูงหมุ่พญาแถน เขาก็ ปูนกันตก แต่งงัวควายช้าง "

การฟ้อนบายศรีสู่ขวัญ เนื่องมาจากพิธีบายศรีสู่ขวัญเมื่อมีแขกมาเยือน ซึ่งเป็นแขกที่มีเกียรติหรือแขกผู้ใหญ่ที่มาจากต่างถิ่น ชาวอีสานจะทำพิธีบายศรีสู่ขวัญเพื่อความเป็นสิริมงคลโดยมีพานบายศรี หรือที่เรียกว่า "พาขวัญ" การจัดพาขวัญนี้ปกติต้องจัดด้วยพานทองเหลือง หรือขันสัมฤทธิ์หลายใบซ้อนๆ กัน ซึ่งมีตั้งแต่ 1 ชั้นถึง 9 ชั้น มีใบตองจัดเป็นกรวยเข้าช่อ ประดับดอกไม้สดดูสวยงาม

baisri 03

ชั้นล่างของพาขวัญจะเป็นพานมีใบศรีทำด้วยใบตอง ดอกไม้สด ข้าวต้ม ไข่ต้ม ขนม กล้วย อ้อย ปั้นข้าว เงินฮาง มีดด้ามแก้ว มีดด้ามคำ ชั้นต่อไปจะตกแต่งด้วยใบศรีและดอกไม้สด ซึ่งจะเป็นดอกปาง ดอกดาวเรือง ดอกรัก ใบเงิน ใบคำ ใบคูณ ใบยอป่า

ram bai si 2

ส่วนชั้นที่ 5 จะมีฝ้ายผูกข้อมือ เทียนเวียนหัว นอกจากพาขวัญแล้วจะต้องมีเครื่องบูชาอื่นๆ เช่น ขันบูชา ขันธ์ 5 ซึ่งมีพานขนาดกลางสำหรับวางผ้า 1 ผืน แพร 1 วา หวี กระจกเงา น้ำอบน้ำหอม สร้อย แหวน ของผู้เป็นเจ้าของขวัญ โดยจะมีพรารหมณ์เป็นผู้ทำพิธีเรียกขวัญ ตามท่วงทำนองของชาวบ้าน ในคำเรียกขวัญนั้นมีทั้งคาถาที่เป็นภาษาบาลี และคำเรียกขวัญภาษาถิ่น หรือที่เรียกว่า "สูตรขวัญ" ซึ่งคำสูตรขวัญนั้นยากแก่การเข้าใจของผู้มาเยือน จึงมีการจัดทำชุดฟ้อนบายศรีขึ้น เพื่อให้คนต่างถิ่นได้เข้าใจ เพราะมีคำร้องที่เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย แต่งโดยอาจารย์ดำเกิง ไกรสรกุล และท่าฟ้อนประดิษฐ์ขึ้นโดยอาจารย์พนอ กำเนิดกาญจน์ แห่งวิทยาลัยครูอุดรธานี ซึ่งในปัจจุบันก็ยังเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ แต่เนื้อร้องอาจจะเพี้ยนจากเดิมไปบ้างดังนี้

มาเถิดเย้อ มาเยอขวัญเอย มาเย้อขวัญเอย
หมู่ชาวเมืองมาเบื้องขวานั่งซ่ายล่าย เบื้องซ้ายนั่งเป็นแถว
ยอพาขวัญ ไม้จันทร์เพริศแพร้ว
ขวัญมาแล้ว มาสู่คีงกลม
เกศเจ้าหอมลอยลม ทัดเอื้องชวนดม เก็บเอาไว้บูชา
ยามเมื่อฝนเจ้าอย่าคลาย ยามแดดสายเจ้าอย่าคลา
อยู่ที่ไหนจุ่งมารัดด้ายไสยา มาคล้องผ้าแพรกระเจา

        อย่าเพลินเผลอ มาเยอขวัญเอย มาเย้อขวัญเอย
อยู่แดนดินใด หรือฟากฟ้าไกล ขอให้มาเฮือนเฮา
เผืออย่าคิดอาศัยซู้เก่า ขออย่าเว้าขวัยเจ้าจะตรม
หมอกน้ำค้างพร่างพรม ขวัญอย่าเพลินชม ป่าเขาลำเนาไพร
เชิญมาทัดพวงพยอม ทาน้ำหอมให้ชื่นใจ
เหล่าข้าน้อยแต่งไว้ ร้อยพวงมาลัยมาคล้องให้สวยรวย "

บายศรีสู่ขวัญ - ต่าย อรทัย

หลังจากฟ้อนบายศรีเรียกขวัญแล้ว จะมีการผูกข้อมือด้วยฝ้าย ซึ่งผ่านพิธีกรรมแล้ว ถือว่าเป็นฝ้ายมงคลทำให้อยู่เย็นเป็นสุข

 พิธีบายศรีสู่ขวัญแบบอีสาน - รายการคุณพระช่วย

 

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง : พานบายศรี | การบายศรีสู่ขวัญ (สูตรขวัญ)

redline

backled1