foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

kaeng nor mai header

แกงหน่อไม้ หรือบางท้องที่เรียก "แกงเปรอะ" หรือ "แกงเปอะ" เป็นอาหารอีสานยอดนิยมชนิดหนึ่งมีมานาน เป็นของชอบของใครหลายคน ยกเว้น! เว็บมาดเซ่อ (เจ้าของเว็บนี้แหละ) ที่โบกมือปฏิเสธว่า "เอาไปไกลๆ อยากกิน แต่กินบ่ได้" เพราะเพิ่นมีโรคภัยประจำตัวคือโรคนับไม่ถึงสิบ "โรคเก๊าท์" เว้าให้มันเท่ๆ ไปซั่นหล่ะ โรคนี้มีของแสลงคือพวกยอดผักเขียวๆ อ่อนๆ สะตอ กระถิน หน่อไม้ ที่มีปริมาณกรดยูริคสูงๆ ถ้าเป็น "หน่อไม้ดองแกงใส่ไก่" นี่เพิ่นว่า 2 เด้งเลยทีเดียว กินเข้าไปไม่ถึง 10 นาที อาการข้อบวมปวดตามเนื้อตัวจะตามมาทันที มื้อนี้ทิดหมูเลยได้รับมอบหมายให้เขียนเรื่อง "แกงหน่อไม้" แทนเสียเลย

แกงหน่อไม้ใส่ใบย่านาง

แกงเปอะ หรือ แกงเปรอะ หรือ ต้มเปอะ เป็นชื่อที่คนไทยทางภาคกลางใช้เรียกแกงชนิดหนึ่งทางภาคอีสาน ซึ่งเป็นแกงที่น้ำแกงออกสีหม่นๆ คล้ำเพราะผสมน้ำใบย่านางลงไปในน้ำแกง ใส่ผักหลายชนิดลงไปร่วมด้วยจนเป็นแกงสมุนไพร ที่สำคัญคือ "หน่อไม้" ชาวอีสานเรียกแกงชนิดนี้ว่า "แกงหน่อไม้" การทำน้ำแกงให้อร่อยจะใส่ "ข้าวเบือ" ลงไปด้วยเพื่อช่วยให้น้ำแกงข้น ผักที่นิยมใส่นอกจากหน่อไม้ ก็ได้แก่ ฟักทอง ผักแขยง ชะอม เห็ดฟาง เห็ดขอน ผักอีตู่ (ใบแมงลัก) ตามชอบ ส่วนผสมหลักที่เป็นพระเอก-นางเอกของแกงนี้มี 2 อย่าง คือ

kaeng normai 02

หน่อไม้

ส่วนประกอบที่สำคัญของแกงคือ "หน่อไม้" เป็นคำที่ใช้เรียกหน่ออ่อนของต้นไผ่ที่รับประทานได้ ที่แตกมาจากเหง้าใต้ดิน โดยมาจากสปีชีส์ Bambusa vulgaris และ Phyllostachys edulis นิยมรับประทานในทวีปเอเชียหลายประเทศ และมีวิธีในการนำมาปรุงเป็นอาหารที่หลากหลาย เช่น แกงอ่อม แกงหน่อไม้ แกงเหลือง ต้มจืด หน่อไม้ดอง ซุบหน่อไม้ หน่อไม้ผัดไข่ หรือแม้แต่ต้มจิ้มน้ำพริกก็แสนอร่อย

นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์ทางด้านอื่นๆ อีกหลายประการ "หน่อไม้" เมื่อบริโภคจะช่วยดูดซับสารพิษในระบบทางเดินอาหาร แล้วขับถ่ายออกจากร่างกาย หน่อไม้ช่วยลดการกระหายน้ำ อุดมไปด้วย กรดอะมิโน ที่เป็นประโยชน์กับร่างกายหลายชนิด เช่น ธาตุฟอสฟอรัส มีมากพอที่ให้พลังงานกับร่างกาย แคลเซียม ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ธาตุเหล็ก มีบทบาทในการสร้างเม็ดเลือดแดง

ดังนั้น จะเห็นว่า "หน่อไม้" มีประโยชน์มากมาย แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่เป็น "โรคเก๊าต์และโรคไต" ควรบริโภคหน่อไม้ด้วยความระมัดระวังด้วยนะครับ ด้วยสาเหตุ

  • ผู้ป่วยโรคเกาต์ เพราะหน่อไม้มีสารพิวรินสูง อาจจะทำให้กรดยูริกที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเกาต์มีปริมาณในร่างกายสูงขึ้น
  • ผู้ป่วยโรคไต ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกมากเกินไป (เช่น หน่อไม้) เพราะอาจมีปัญหาในการขับกรดยูริกส่วนเกินออกไปจากร่างกายไม่ได้ หรือได้แต่น้อย

หน่อไม้ ที่นำมาประกอบอาหารนั้นโดยทั่วไปมีอยู่ 2 ชนิด

kaeng normai 06

หน่อไม้สด หน่อไม้ดิบ หรือ หน่อไม้ที่ยังปรุงไม่สุก อาจได้รับพิษจากสารไซยาไนด์ ซึ่งมีอยู่ในหน่อไม้ตามธรรมชาติ และทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย หากเข้าสู่ร่างกายในปริมาณน้อยสามารถขับออกทางปัสสาวะได้ แต่ถ้าได้รับในปริมาณมากๆ สารไซยาไนด์จะจับตัวกับสารในเม็ดเลือดแดง (hemoglobin) แทนที่ออกซิเจนทำให้เกิดอาการขาดออกซิเจน หมดสติและอาจทำให้เสียชีวิตได้

ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการบริโภคหน่อไม้ดิบๆ การบริโภคหน่อไม้ที่ต้มสุกแล้ว จะทำให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากการได้รับสารไซยาไนด์ แต่หากอุณหภูมิและระยะเวลาในการต้มไม่เหมาะสม ก็ไม่สามารถลดปริมาณสารชนิดนี้ได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ก่อนที่จะนำหน่อไม้ไปบริโภคควรปรุงให้สุก ด้วยการต้มหน่อไม้ในน้ำเดือดนานอย่างน้อย 10 นาที ซึ่งสามารถลดปริมาณสารไซยาไนด์ลงได้ถึงร้อยละ 90.5

หน่อไม้สด มีคุณค่าสูง มีโปรตีน วิตามิน ที่สำคัญมีกรด “อะมิโน” ที่ร่างกายผลิตเองไม่ได้ หน่อไม้มีกากใยอาหารมาก จะช่วยให้ร่างกายนำกากและสารพิษในร่างกายออกสู่ภายนอกโดยเร็ว (กากใยอาหารช่วยลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่) แต่หน่อไม้เองก็มีข้อด้อยคือมีกรด “ออกซาลิค” ซึ่งจับตัวกับแร่ธาตุต่างๆ ได้ทำให้ร่างกายนำธาตุอาหารนั้นไปใช้ไม่ได้ จึงควรกินหน่อไม้แต่พองามและกินผักอื่นๆ ด้วย

kaeng normai 03

หน่อไม้ดอง หน่อไม้เป็นอาหารอีกหนึ่งชนิดที่นิยมนำมาหมักดอง เพื่อการเก็บรักษาอาหารเอาไว้ให้ได้นานยิ่งขึ้น โดยมักทำการดองเอาไว้ในปิ๊บเป็นเวลาหลายเดือน หากขั้นตอนการหมักดองไม่สะอาดเพียงพอ จะเกิดเป็นเชื้อแบคทีเรีย Clostridium botulinum เจริญเติบโตอยู่ในหน่อไม้ที่อยู่ในปี๊บ หากทำมาปรุงอาหารด้วยความร้อนที่ไม่เพียงพอ อาจได้รับเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย อาเจียน ท้องเสีย หากสารพิษโบทูลินเริ่มซึมจากระบบทางเดินอาหาร เข้าสู่กระแสเลือดและระบบประสาท อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อหนังตา ลูกตา ใบหน้า การพูด การกลืนผิดปกติ กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง หายใจไม่ออก และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ดังนั้น การปรุงอาหารจาก "หน่อไม้" จึงควรทำให้สุกด้วยการต้มให้ผ่านอุณหภูมิที่สูงและนานเพียงพอ ก่อนนำมาปรุงเพื่อความปลอดภัยในการบริโภค

ใบย่านาง สมุนไพรใกล้ตัว

"ใบย่านาง, ใบยานาง" คนที่รู้จักส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นคนภาคอีสาน หรือชอบกินอาหารอีสาน เพราะใบย่านางมักถูกใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งของแกงหน่อไม้ และซุปหน่อไม้ คงมีหลายคนที่ชอบกินแต่คงไม่ทราบว่า น้ำสีออกคล้ำๆ ดำๆ เขียวๆ ที่อยู่ในซุปหน่อไม้ หรือแกงหน่อไม้นั้นได้มาจากน้ำของ "ใบย่านาง" นั่นเอง

ya nang 2

ใบย่านาง สรรพคุณนั้นมีหลากหลาย เพราะเป็นสมุนไพรเย็น มีคลอโรฟิลล์สดจากธรรมชาติ และยังมีวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายอีกมากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เบต้าแคโรทีนในปริมาณค่อนข้างสูง โดยเป็นสมุนไพรที่ใครหลายๆ คนต่างก็คุ้นเคยกันดี เพราะนิยมนำมาเป็นเครื่องปรุงรสช่วยเพิ่มความกลมกล่อมของอาหาร เช่น แกงหน่อไม้ ซุปหน่อไม้ แกงเลียง แกงหวาน เป็นต้น

แม้ว่าสีของน้ำใบย่านางนั้นอาจจะดูไม่ค่อยน่ากินสักเท่าไร แต่น้ำจากใบย่านางนั้นจะช่วยทำให้หน่อไม้ดองมีกลิ่นหอม และมีรสชาติกลมกล่อม เพราะช่วยกำจัดกลิ่นเปรี้ยวและรสขมออกไป ทำให้อาหารจานนั้นแซบนัวหลายๆ หรือหากจะนำยอดอ่อนใส่ในแกงต่างๆ ก็เพิ่มความอร่อยได้ด้วยเช่นกัน

นอกจากความเเซบแล้ว ใบย่านางยังมีสรรพคุณในการช่วยถอนพิษ แก้ไข้และลดความร้อนในร่างกายได้ อีกทั้งยังเป็นพืชที่ให้แคลเซียมและวิตามินซีค่อนข้างสูง และยังให้สารอาหารอื่นๆ เช่น ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินเอ วิตามินบี 1 บี 2 และเบต้า-แคโรทีน หากกินทั้งใบก็จะมีเส้นใยมาก ส่วนรากของใบย่านางช่วยถอนพิษ แก้ไข้ แก้เมารถ เมาเรือ แก้โรคหัวใจและแก้ลมได้ด้วย ขอแถมให้อีกนิด หากนำน้ำใบย่านางมาสระผม จะช่วยทำให้ผมดกดำ ชลอผมหงอกได้อีกต่างหาก

หน่อไม้นั้นมีสารพิวรีนสูง ซึ่งสารตัวนี้มีส่วนทำให้กรดยูริกสูงขึ้น เป็นอันตรายต่อคนที่เป็นโรคเก๊าท์นั่นเอง ดังนั้น จึงต้องแก้ด้วย "น้ำใบย่านาง" ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาเย็น ทำให้หน่อไม้กับใบย่านางกลายเป็นของคู่กันขาดมิได้ แถมยังให้รสชาติที่เข้ากันได้ดีอีกด้วย น้ำสีเขียวของใบย่านางที่นำมาต้มกับหน่อไม้ เชื่อว่าจะช่วยลด "กรดออกซาลิค" ที่มีอยู่ได้ และเมื่อนำมาปรุงกับหน่อไม้จะทำให้หน่อไม้จืดไม่ขม ใบย่านางมีเส้นใยมาก อุดมด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ และจากการวิเคราะห์ของ สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ใบย่านางที่คั้นน้ำแล้วจะมีเบต้าแคโรทีน 39.24 ไมโครกรัม เทียบหน่วย เรตินัล

kaeng normai 04

ใบย่านาง นอกจากจะใช้เป็นเครื่องปรุงรสเพื่อเพิ่มความกลมกล่อมของแกงหน่อไม้ และซุปหน่อไม้แล้ว ยอดอ่อนของเถาย่านางยังสามารถนำมารับประทานแกล้มแนมกับของเผ็ดอื่นได้ด้วย เช่น ทางภาคใต้จะนำยอดอ่อนใสในแกงเลียง ทำให้รสชาติของน้ำแกงนั้นหวานอร่อย (อาหารอีสาน เช่น แกงขี้เหล็ก ก็คั้นน้ำใบย่านางลงไปด้วย เพื่อลดความขมของใบขี้เหล็ก)

การแกงหน่อไม้ใส่ใบย่านาง (สไตล์อาวทิดหมู)

วัตถุดิบ

  • หน่อไม้สด จะเป็นไผ่หวาน ไผ่รวก ก็แล้วแต่ความชอบตามที่หามาได้ จะให้ความอร่อยเป็นพิเศษ หากได้ไปขุดเองในสวนเจ้าของ นำมาฝานเป็นแผ่นหรือเส้นบางๆ ต้มในน้ำเดือดสัก 10-20 นาที ทิ้งน้ำต้มไปก่อนนำไปปรุง (หรือจะใช้ห่อไม้ไผ่ดองปี๊บที่เขาทำมาขายก็ได้ แต่ก่อนจะนำมาแกงต้องนำมาจัก/ฝานเป็นเส้นเล็กตามต้องการ ต้มน้ำให้เดือด ทิ้งน้ำต้มก่อนนำไปปรุง)
  • ใบย่านาง ปริมาณตามความเหมาะสมกับปริมาณหน่อไม้ (แต่... ขอบอกว่ายิ่งน้ำใบย่านางมากและข้น ก็ยิ่งจะทำให้น้ำแกงอร่อยเข้มข้นขึ้น)
  • ใบอีตู่ (ใบแมงลัก)
  • ข้าวเบือ (ข้าวสารเหนียวแช่น้ำให้นิ่มไว้ก่อนประมาณ 20 นาที)
  • พริกแกงเฉพาะ (ตำเองเลย)
  • น้ำปลาร้า (จะใช้ปลาทูเค็ม หรือปลาอินทรีย์เค็มแทนก็ได้)
  • น้ำปลาดี (ตามชอบ)
  • น้ำเปล่า (สำหรับคั้นใบย่านางทำน้ำแกง)
  • ตะไคร้ (ทุบแล้วหั่นเป็นท่อน ช่วยลดการเหม็นคาวของน้ำแกง)
  • เห็ดต่างๆ ทำให้น้ำแกงหวานขึ้น (เห็ดฟาง นางฟ้า หูหนู เห็ดขอนสด หรือแล้วแต่ชอบ)
  • ฟักทอง (แก่ๆ มันๆ) ข้าวโพดอ่อน เมล็ดข้าวโพด
  • ยอดชะอม พริกสด (ลูกโดดระเบิด)

kaeng normai 05

ส่วนผสมสำหรับพริกแกง

  • พริกขี้หนู
  • หอมแดง-กระเทียม (เผา)
  • กระชาย

วิธีทำพริกแกง ให้โขลกส่วนผสมทั้งหมดรวมกันให้ละเอียดเตรียมไว้

วิธีการปรุง

  • นำส่วนยอดอ่อนของหน่อไม้มาฝานบางๆ ต้มน้ำทิ้ง 2-3 ครั้ง ให้หายรสขื่น แล้วรินน้ำทิ้ง (เพื่อล้างรสขม และสารไซยาไนต์ออกไป) ตักขึ้นพักไว้ หากเป็นหน่อไม้ดอง ให้นำมาฝานหรือเขี่ยน (ฉีก) เป็นเส้นบางๆ นำไปต้มเอาน้ำทิ้งเช่นเดียวกัน เพื่อกำจัดแบคทีเรียจากการหมักดองออกไปให้หมด
  • โขลกใบย่านางรวมกับข้าวเบือ (ข้าวสารเหนียวที่แช่น้ำไว้ล่วงหน้า) พอแหลก แล้วนำไปคั้นกับน้ำสะอาดที่เตรียมไว้ นำมากรองใส่หม้อให้ได้ปริมาณที่เพียงพอเหมาะสมกับหน่อไม้ที่เตรียมไว้
  • นำหม้อที่ใส่น้ำใบย่านางยกขึ้นตั้งไฟให้เดือด ใส่พริกแกงลงไปคนให้ละลาย ตามด้วยหน่อไม้ที่ต้มไว้ ตะไคร้ทุบ รอให้เดือดอีกครั้งปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า ปลาเค็ม (หรือน้ำปลา ตามชอบ) เติมเห็ดและผักต่างๆ ได้ตามชอบ ไม่ว่าจะเป็น ข้าวโพด ฟักทอง ใช้ได้ทั้งยอดอ่อน ลูกอ่อนหรือลูกแก่ ผักหวานบ้าน ผักหวานป่า หรือจะเป็นผักอื่นๆ แล้วแต่ความชอบของท่านเลย คนให้เข้ากัน ชิมรสอีกครั้ง ถ้ายังไม่แซบนัวค่อยเติมน้ำปลาดีลงไปอีกนิด
  • ใส่พริกสด (สีเขียวหรือขาว) ลงไปสักกำมือลงไป (เป็นลูกโดด หรือกับระเบิด สำหรับคนชอบรสเผ็ดๆ)
  • ยกลงจากเตา ตักใส่ถ้วย/ชามเสิร์ฟ โรยหน้าด้วยยอดชะอมและใบแมงลักสักเล็กน้อย รับประทานกับข้าวเหนียวขณะกำลังร้อนๆ ซดได้คล่องคอ ลืมตายพ่ะนะ (สูตรของทิดหมูไม่มีผงชูรสหรือผงนัวแต่อย่างใดนะครับ เพราะนัวด้วยน้ำปลาร้า ปลาทูเค็ม ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน และเห็ดก็หวานนัวแล้ว ใครใส่ผงชูรสถือว่าฝีมือไม่ถึงในการทำแกงอีสาน)

kaeng normai 01

คุณค่าทางโภชนาการของแกงหน่อไม้

แกงเปรอะ หรือแกงหน่อไม้ มีสรรพคุณหลากหลาย เช่น น้ำใบย่านางช่วยเสริมสร้างภูมิต้านโรคในร่างกายให้แข็งแรง หน่อไม้มีเส้นใยอาหารจำนวนมากจึงทำให้ช่วยระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นเห็ดฟางและพริกขี้หนูมีวิตามินซีสูง ใบแมงลักมีฤทธิ์ช่วยขับลมในลำไส้ได้อย่างดี

 

redline

backled1

moo hed ped kai

เมื่อได้ยินคนโบราณบอกว่า "มากิน หมู เห็ด เป็ด ไก่" ไม่ได้หมายความว่า "มีคนถูกหวยรวยเบอร์จึงสั่ง หมูหัน ซุปเห็ด เป็ดอบน้ำผึ้ง และไก่ตอนตัวใหญ่ มาเลี้ยงดูปูเสื่อ" กันอย่างยิ่งใหญ่นะ แต่มันหมายถึงภูมิปัญญาโบราณ "การใช้ยาสมุนไพรมารักษาอาการต่างๆ ทั้งปวดหัว ตัวร้อน โรคกษัย (กะ-สัย) ไตพิการ" ซึ่งทั้งหมดนั้นหมายถึง "สมุนไพร 4 ชนิด คือ หญ้าแห้วหมู ใบชุมเห็ด รากต้นตีนเป็ด และใบมะคำไก่" ซึ่งคนรุ่นใหม่ๆ อาจไม่เข้าใจดอกนะ วันนี้เลยนำมาขยายความกันหน่อย ด้วยการทำความรู้จักกับสมุนไพรทั้ง 4 ชนิดนี้กันครับ

"หมู เห็ด เป็ด ไก่" เดิมเป็นชื่อเรียก "สมุนไพร" ความหมายเป็นดังนี้

  • หมู คือ หญ้าแห้วหมู
  • เห็ด คือ ใบชุมเห็ดเทศ
  • เป็ด คือ รากต้นตีนเป็ด
  • ไก่ คือ ต้นประคำไก่

โดยคนที่ป่วยเป็น โรคกษัย (กะ - สัย) คือ มีอาการ ผอมแห้ง ตัวเหลือง เท้าเย็น ร่างกายทรุดโทรม แพทย์แผนโบราณก็จะจัดยาสมุนไพรทั้ง 4 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้นให้กิน จึงได้เรียกกันสั้นๆ ว่า "หมู เห็ด เป็ด ไก่"

หญ้าแห้วหมู

แห้วหมู (Cyperus rotundus Linn.) จัดเป็นอยู่ในกลุ่มวัชพืช (weed) ที่ยากแก่การควบคุม พบได้ทั่วไปในทุกภาค มักขึ้นตามข้างทุ่งนา สนามหญ้า และพื้นที่ว่างทั่วไป โดยจะพบขึ้นเป็นหย่อมๆ หรือกระจายเป็นบริเวณกว้าง เนื่องจากมีระบบรากเป็นเถาในดิน

แห้วหมู มีชื่อสามัญ Nut grass, Coco grass
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyperus rotundus L. จัดอยู่ในวงศ์กก (CYPERACEAE)

haew moo

สมุนไพรแห้วหมู มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า หญ้าแห้วหมู หรือ หญ้าขนหมู (แม่ฮ่องสอน), ซาเช่า (แต้จิ๋ว), ซัวฉ่าว (จีนกลาง) เป็นต้น

ต้นหญ้าแห้วหมู มักถูกมองเป็นวัชพืชที่ไร้ค่า หากขึ้นบ้านไหนก็เป็นได้ตัดถอนทิ้ง แถมมักแย่งสารอาหารในดิน ทำให้ผลผลิตของพืชเศรษฐกิจที่เพาะปลูกลดลง และยังเป็นวัชพืชที่กำจัดยากมาก เนื่องจากมีหัวอยู่ใต้ดินและทนทานต่อสารกำจัดวัชพืช แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ในตำรายาแผนโบราณของไทยและต่างประเทศนั้น มีการใช้แห้วหมูเป็นยาสมุนไพรมานานมากแล้ว แถมยังเป็นยาดีที่มีราคาถูกอีกด้วย

แห้วหมู มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ แห้วหมูใหญ่ และ แห้วหมูเล็ก ซึ่งมีลักษณะภายนอกที่แตกต่างกันในเรื่องของ ความสูงของลำต้น ลักษณะของดอก โดยสามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้ทั้ง 2 ชนิด เพราะมีสรรพคุณที่ใกล้เคียงกันมาก โดยส่วนที่นิยมนำมาใช้ปรุงเป็นยาก็ได้แก่ ส่วนของหัว ต้น ราก และใบแห้วหมู

ประโยชน์ของแห้วหมู

แม้ว่าหัวแห้วหมู จะมีรสขมแต่ก็มีคุณค่าทางอาหาร ซึ่งในทวีปแอฟริกาใช้หัวรับประทานเป็นอาหารในช่วงขาดแคลน หัวแห้วหมูสามารถนำมาใช้เป็นอาหารนกได้ มีการนำมาใช้ผสมใยลูกหมากแห้ง หรือแป้งเหล้าในการทำเป็นแอลกอฮอล์ เพราะมีคุณสมบัติทำให้เกิดแก๊สเร็ว

haew moo 2

สรรพคุณทางยาของแห้วหมู

แห้วหมู เป็นสมุนไพรที่มีการวิจัยพบว่า มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ด้วยการใช้หัวนำมาล้างให้สะอาดแล้วนำมาเคี่ยวกิน หรืออีกวิธีเป็นสูตรของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ซึ่งในสูตรจะประกอบไปด้วย หัวแห้วหมู 10 หัว, ดีปลี 10 หัว และพริกไทยดำ 10 เม็ด นำทั้งหมดมาบดให้เป็นผงแล้วใช้ชงกับน้ำผึ้งดื่มก่อนนอน ตามตำรานี้กล่าวว่า ให้ทำเฉพาะวันเสาร์และรับประทานให้หมดในวันเดียว ไม่ให้เหลือทิ้งไว้ แล้วเสาร์ต่อไปค่อยทำใหม่ ผู้ใช้สูตรยาตำรับนี้ร่างกายจะปราศจากโรคภัยและมีอายุยืนยาว ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงกระชุ่มกระชวย ไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน หูตาสว่างไสว หัวและรากใช้เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย

หัวแห้วหมู นำมาแช่น้ำเกลือแล้วผัดกิน มีสรรพคุณช่วยปรับลมปราณให้สมดุล ช่วยแก้ธาตุพิการ กินน้อยเป็นยาบำรุงหัวใจ แต่ถ้าหากกินมากเกินไปจะมีฤทธิ์บีบหัวใจทำให้หัวใจหยุดเต้น ช่วยลดไขมัน ด้วยการใช้แห้วหมูทั้ง 5 ส่วน ตั้งแต่รากจนถึงต้น จำนวนตามต้องการ นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ คั่วไฟให้เหลือง แล้วใช้ชงกับน้ำร้อนดื่มเป็นชา

ใช้เป็นยาลดความอ้วน ทำให้น้ำหนักตัวลดลง ด้วยการใช้หัวแห้วหมู 5 บาท, บอระเพ็ด 4 บาท, กระชาย 5 บาท, เหงือกปลาหมอ 10 บาท, พริกไทยอ่อน 10 บาท, และมะตูมอ่อนแห้ง 4 บาท นำมาบดให้เป็นผงผสมกับน้ำผึ้ง แล้วปั้นเป็นยาลูกกลอนขนาดเม็ดพุทรา ใช้รับประทานก่อนนอนวันละ 1 เม็ด สูตรนี้ยังช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรงและช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ดีอีกด้วย

ช่วยลดความดันโลหิต โดยใช้หัวแห้วหมูนำมาชงกับน้ำร้อนดื่ม ในอัตราส่วนหัว 1 ส่วน ต่อน้ำร้อน 10 ส่วน

ชุมเห็ดเทศ

ชุมเห็ดเทศ (Ringworm Bush) เป็นพรรณไม้ขนาดกลาง ส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้แก่ ต้น ใบ ดอก ฝัก เมล็ด และราก ใช้เป็นยาขับพยาธิ รักษาผิวหนัง กลากเกลื้อน รักษาหูด ขับปัสสาวะ

ชื่อสามัญ : Acapulo, Candelabra bush, Candle bush, Candlestick senna, Christmas candle, Empress candle plant, Impetigo bush, Ringworm bush, Ringworm senna, Ringworm shru, Seven golden candlestick
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna alata (L.) Roxb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cassia alata L., Cassia bracteata L.f., Herpetica alata (L.) Raf.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)

สมุนไพรชุมเห็ดเทศ มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ส้มเห็ด (เชียงราย), จุมเห็ด (มหาสารคาม), ขี้คาก, ลับมืนหลวง, ลับหมื่นหลวง, ลับมืนหลาว, หญ้าเล็บมือหลวง, หมากกะลิงเทศ (ภาคเหนือ), ชุมเห็ด, ชุมเห็ดใหญ่, ชุมเห็ดเทศ (ภาคกลาง), ตะสีพอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ตุ๊ยเฮียะเต่า ฮุยจิวบักทง (จีน), ตุ้ยเย่โต้ว (จีนกลาง) เป็นต้น

chum hed tes

สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ

รากชุมเห็ดเทศใช้ผสมยาบำรุงธาตุ ช่วยทำให้เจริญอาหาร ใช้ใบชาชุมเห็ดเทศนำมาชงกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงหัวใจ หากดื่มยาชงจากชุมเห็ดเทศเป็นประจำจะช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) ชาชุมเห็ดเทศใช้ชงกับน้ำดื่ม สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้

ใบช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการใช้ใบสดหรือแห้งประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวนาน 30 นาที ใช้แบ่งน้ำมาดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น หรือจะใช้ชงเป็นชาดื่มต่างน้ำวันละ 3 เวลาก่อนอาหาร เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดเป็นปกติดีแล้วก็ให้ต้มใบยอดื่มอีก 3 สัปดาห์ ก็จะหายขาดจากโรคเบาหวาน ช่วยแก้เส้นประสาทอักเสบ

ใบ, ราก, ต้น ช่วยทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ เมล็ดช่วยแก้ตานซาง ถ่ายพิษตานซาง ด้วยการใช้เมล็ดแห้งประมาณ 3-5 กรัม นำมาบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งรับประทานตอนท้องว่าง ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ

ต้นตีนเป็ด

ต้นตีนเป็ดที่จะกล่าวถึงนี้ มีการเข้าใจสับสนกันอยู่มากนะครับ โดยทั่วไปถ้ากล่าวขึ้นมาลอยๆ เราจะหมายถึง ต้นตีนเป็ด (Alstonia scholaris) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ พญาสัตบรรณ ซึ่งเป็นต้นไม้ใหญ่ขนาดกลางถึงใหญ่มาก รูปทรงคล้ายดอกบัวใหญ่ยักษ์ จึงเรียก พญาสัตบรรณ จะมีผลจะเป็นฝักยาวๆ กับอีกชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าเรียกว่า ต้นตีนเป็ดน้ำ หรือ ต้นตีนเป็ดทะเล (Cerbera odollam) ซึ่งไม่เหมือนกัน ต้นตีนเป็ดน้ำจะมีลำต้นเล็กกว่า และพบอยู่ริมน้ำ ริมคลอง หรือป่าชายเลน มีดอกสีขาวพร้อมกลิ่นอ่อนๆ ผลเป็นรูปกลมๆ หากลูกหลุดจากต้นแล้วแห้ง สามารถนำมารดน้ำปลูกเป็นต้นใหม่ได้

พญาสัตบรรณ

ต้นตีนเป็ด หรือพญาสัตบรรณ เมื่อลมหนาวพัดมาทีไรบ้านใครที่ปลูกต้นตีนเป็ดไว้ หรืออยู่ใกล้ๆ ที่เขาปลูกต้นตีนเป็ด ก็คงได้กลิ่นจากดอกของต้นนี้อย่างชัดเจน บ้างก็ว่า "หอมชื่นใจ" บ้างก็ว่า "เหม็นจนเวียนหัว" แต่ไม่ว่าอย่างไรต้นตีนเป็ดก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของ “ลมหนาว” ไปโดยปริยาย

ต้นตีนเป็ด หรือ พญาสัตบรรณ มีชื่อสามัญว่า Devil tree, White cheesewood, Devil bark, Dita bark, Black board tree (ดูจะเป็นชื่อที่อันตรายน่ากลัวอยู่นะเนี่ย)

และมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า หัสบัน สัตบรรณ สัตตบรรณ จะบัน บะซา ปูลา ปูแล ตีนเป็ด ตีนเป็ดขาว ตีนเป็ดไทย ต้นตีนเป็ด เป็นต้น

paya satabun

ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia scholaris (L.) R. Br. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยระย่อม (RAUVOLFIOIDEAE)

ประโยชน์ของพญาสัตบรรณหรือต้นตีนเป็ด

พญาสัตบรรณ เป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาธี (Allelopathy) สารสกัดจากใบพญาสัตบรรณสามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของต้นคะน้า ส่วนสารสกัดจากเปลือกของลำต้นก็จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของข้าวโพด ข้าว ถั่วเขียวผิวดำ ถั่วเขียวผิวมัน และคะน้าได้ ในบอร์เนียว ชาวบ้านนิยมนำเนื้อไม้ไปทำทุ่นของแหและอวนได้ เนื้อไม้หยาบ อ่อน แต่เหนียว สามารถใช้ทำหีบใส่ของ หีบศพ ทำโต๊ะ เก้าอี้ ฝักมีดของเล่นสำหรับเด็ก รองเท้าไม้ หรือไม้จิ้มฟันได้ ใช้ทำฟืน หรือนำใช้ทำโครงสร้างส่วนต่าง ๆ ของบ้าน เช่น เสาบ้าน เป็นต้น สารสกัดจากน้ำมันหอมระเหยของดอกพญาสัตบรรณสามารถใช้ไล่ยุงได้

ต้นพญาสัตบรรณ นอกจากจะปลูกไว้เพื่อให้ร่มเงาแล้ว ยังเป็นไม้มงคลนามที่นิยมปลูกไว้ในบริเวณบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย เพราะคนไทยโบราณเชื่อว่า การปลูกต้นพญาสัตบรรณไว้ที่บ้านจะทำให้มีเกียรติยศ จะทำให้ได้รับการยกย่อง และการนับถือจากบุคคลทั่วไป ซึ่งความหมายของต้นก็มาจากคำว่า "พญา" ซึ่งมีความหมายว่า ผู้เป็นใหญ่ที่ควรยกย่องและเคารพนับถือ ส่วนคำว่า "สัต" ก็มีความหมายว่า สิ่งที่ดีงาม ความมีคุณธรรมนั่นเอง และตามความเชื่อจะนิยมปลูกต้นพญาสัตบรรณไว้ทางทิศเหนือ และผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ แต่ถ้าอยากให้เป็นมงคลยิ่งขึ้นไปอีก ผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นที่เคารพนับถือหรือเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี ก็จะเป็นสิริมงคลมากยิ่งขึ้น

paya satabun 2

สรรพคุณทางยาของพญาสัตบรรณ

เปลือกต้น มีรสขม ใช้เป็นยาขมช่วยให้เจริญอาหาร มีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน น้ำยางจากต้นใช้หยอดหูแก้อาการปวดหูได้ ใช้อุดฟันเพื่อแก้อาการปวดฟันได้ ใบอ่อนใช้ชงดื่ม ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันหรือโรคลักปิดลักเปิดได้ เปลือกต้นใช้แก้หวัด แก้อาการไอ รักษาหลอดลมอักเสบ เปลือกต้น,ใบ, ดอก ช่วยแก้ไข้เหนือ ไข้ตัวร้อน เปลือกต้นต้มน้ำดื่ม สรรพคุณช่วยรักษาโรคมาลาเรีย ดอก ช่วยแก้โลหิตพิการ

ต้นตีนเป็ดน้ำ

ต้นตีนเป็ดน้ำ ชื่อสามัญ Pong pong มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ตุม ตูม พะเนียงน้ำ (กาญจนบุรี), สั่งลา (กระบี่), ตีนเป็ด ตีนเป็ดทะเล (ภาคกลาง), มะตะกอ (มลายู-นราธิวาส) เป็นต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cerbera odollam Gaertn. (คาร์เบอรา โอดอลลาม) จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE)

teen ped nam

ประโยชน์ของตีนเป็ดน้ำ

เมล็ด มีรสเฝื่อนเมา ใช้เป็นยาเบื่อปลา ส่วนน้ำมันจากเมล็ดใช้เป็นยาฆ่าแมลง ผล เมล็ด และน้ำมันจากเมล็ดใช้ทำเป็นยาใส่ผมแก้ผมหงอก น้ำมันจากเมล็ดใช้ใส่ผมเป็นยาแก้เหา โดยใช้ส่วนผสมของเมล็ดตีนเป็ดน้ำกับน้ำในอัตราส่วน 1:1 เมื่อนำไปฆ่าเหาให้ใช้ชโลมผมทิ้งไว้ประมาณ 6 ชั่วโมง จะทำให้เหาทั้งหมดตายและไข่ฝ่อทั้งหมด โดยเมล็ดจากลูกตีนเป็ดน้ำจะมีประสิทธิภาพในการกำจัดเหาได้ดีกว่ายาฆ่าเหาที่ใช้สารเคมีที่มีวางขายตามท้องตลาด และมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าการใช้ใบน้อยหน่า เนื่องจากใช้ระยะเวลาในการชโลมผมน้อยกว่า อีกทั้งยังมีความปลอดภัยมากกว่าอีกด้วย เมล็ดใช้ทำเป็นไม้ประดับแห้ง

ต้นตีนเป็ดน้ำ มีทรงพุ่มสวยงาม ผลและดอกสวย ดอกมีกลิ่นหอม ใบไม่ค่อยหลุดร่วง จึงใช้ปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาตามลานจอดรถหรือริมถนนได้ หรือจะใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตามริมสระว่ายน้ำ ริมทะเล ฯลฯ ก็ได้เช่นกัน แต่ยางจากต้นเป็นอันตรายจึงไม่ควรปลูกใกล้กับสนามเด็กเล่นหรือบริเวณที่มีเด็กอยู่

สรรพคุณของตีนเป็ดน้ำ

เมล็ดมีฤทธิ์ต่อหัว ช่วยบำรุงหัวใจ รากช่วยแก้ลม แก้ลมให้กระจาย แก่นมีรสเฝื่อน ช่วยกระจายลม กระจายเลือด กระจายลมอันฑพฤกษ์ แก้ลมอัณฑพฤกษ์ (ลมที่ทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้) ดอกช่วยแก้โลหิตพิการ เป็นยาแก้ไข้ตัวร้อน ใบมีรสเฝื่อน ช่วยแก้ไข้หวัด แก้ไข้ตัวร้อน เปลือกต้นและทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ ไข้หวัด แก้ไข้เพื่อดีพิการ แก้หวัด ส่วนน้ำมันจากเมล็ดใช้ทามีสรรพคุณแก้หวัด

รากมีรสเฝื่อน ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้อาเจียน ช่วยขับผายลม ผล เมล็ด ใบ เปลือกต้น และทั้งต้นมีสรรพคุณทำให้อาเจียน แก้หลอดลมอักเสบ

มะคำไก่

มะคำไก่ บางพื้นที่เรียก ประคำไก่ มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน บ้านเรานิยมปลูกตามวัด เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณเป็นยาเย็น เริ่มจากใบตำพอกฝี ปรุงยาถ่ายพิษฝี ถ่ายกระษัย ส่วนราก แก้เส้นเอ็น แก้วัณโรค ฝีหรือมะเร็งในตับ เป็นต้น

มะคำไก่ มีชื่ออื่นๆ เช่น ประคำไก่ มะคำไก่ มะคำดีไก่ (ภาคกลาง) หมากค้อ มักค้อ (ขอนแก่น), ปะอานก, ยาแก้, โอวนก, มะองนก (เหนือ), ทะขามกาย (ตะวันออก)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Drypetes roxburghii (Wall.) Hurusawa ชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAE

ma kam kai

มะคำไก่ เป็นไม้พุ่มถึงไม้ยืนต้นขนาดกลาง กิ่งก้านสีขาวนวล กิ่งทอดห้อยลง เปลือกเรียบสีเทา ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ระนาบเดียว รูปขอบขนานแกมรูป หรือรูปรี ปลายเรียวแหลม โคนรูปลิ่มเบี้ยว ขอบหยักมน หรือจักซี่ฟัน เป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกแบบช่อกระจุก ออกเป็นกลุ่มตามซอกใบ สีเขียวอมเหลือง ดอกแยกเพศต่างต้นหรือบ้างครั้งอาจสมบูรณ์เพศ ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยง เชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ไม่เท่ากันมี ขนที่ขอบเกสรเพศผู้ 3 อัน ดอก เพศเมีย กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ไม่เท่ากัน ผลรูปทรงกลม รูปรี หรือรูปไข่ สีขาวอมเทา เมื่อสุกมีสีดำ

ชาวสวนใช้ใบประคำไก่และใบขี้เหล็กช่วยบ่มมะม่วง น้ำมันจากเมล็ดใช้จุดตะเกียงได้

สรรพคุณทางยาของมะคำไก่

  • ต้น - เป็นยาเย็น ขับปัสสาวะ เป็นยาระบายและกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ
  • ราก - มีรสขมเบื่อเล็กน้อย แก้กระษัย แก้เส้นเอ็น ทำให้เส้นเอ็นหย่อน ถ่ายฝีภายในทั้ง 5 หรือมะเร็ง แก้วัณโรค ขับปัสสวะ
  • ใบ - มีรสขมเบื่อเล็กน้อย แก้ริดสีดวงทวาร แก้พิษฝีในกระดูก ปอด ตับ ม้าม กระเพาะ ลำไส้ แก้กระษัย ขับปัสสาวะ ตำพอกฝี ปรุงยาถ่ายพิษฝี ถ่ายเส้น ถ่ายกระษัย
  • ใบ ผล และเมล็ด - กินเป็นยาลดไข้ แก้หวัด และแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

พอมาถึงตรงนี้หลายๆ คนคงจะบอกว่า "ไม่อยากกินดอก หมู เห็ด เป็ด ไก่ แบบนี้ ให้อาวทิดหมูเลาแซบอยู่ผู้เดียวสา" เหอๆ ถ้าบ่มีโรค มีภัย กะบ่มีไผอยากชิมดอกครับ ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง ปลอดโรคปลอดภัยกันครับ

อ่านเพิ่มเติม : สมุนไพร ผักพื้นบ้านอีสานที่น่าสนใจ

redline

backled1

isan food header

อาหารพื้นเมืองอีสานมักจะต้องมีส่วนปรุงรส หรือชูรส ด้วยผักพื้นบ้านอีสาน ซึ่งมีเอกลักษณ์ทางด้านถิ่นกำเนิด กลิ่นและรสที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ หายากเพราะมีผลผลิตออกมาตามฤดูกาล นอกจากนั้นยังเป็นพืชผักที่ให้คุณค่าทางด้านสุขภาพอนามัย ปลอดสารพิษ ทำให้เป็นที่นิยมกันทั่วไป ไม่ว่าจะทำอาหารประเภทลาบ ก้อย ต้ม แกง อ่อม ล้วนต้องใช้ผักพื้นเมืองเป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น

samunprai

มะระ

มะระ หรือ มะระจีน หรือ ผักไห่ หรือหม่านอย ตามท้องถิ่น คนจีนเรียก โกควยเกี๊ยะ ต้นมะระ จัดเป็นพันธุ์ไม้เลื้อยเขตร้อน เป็นพืชผักอาหารที่อยู่คู่กับคนเอเชียมาช้านาน โดยมะระแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ที่เรารู้จักคุ้นเคยกันดี นั่นก็คือ มะระขี้นก และ มะระจีน ซึ่งเป็นที่นิยมนำมารับประทานมากกว่ามะระขี้นก

ชื่อสามัญ : Bitter melon, Balsam pear, Bitter cucumber, Bitter gourd
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Momordica charantia L. จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)

ma ra

การเลือกซื้อมะระ

ถ้าไม่อยากได้มะระแก่ๆ มาทำเป็นอาหาร เราควรสังเกตที่หนามของมะระให้ดี ถ้าหนามมีลักษณะแข็งแสดงว่า มะระนั้นแก่เต็มที่แล้ว ไม่ควรซื้อมารับประทานเพราะจะมีรสขมมากๆ ให้เลือกซื้อที่หนามมีลักษณะอ่อนนิ่ม เพราะจะเป็นมะระที่มีอายุน้อยและไม่ขมมากจนเกินไป สามารถนำมาประกอบอาหารได้

วิธีลดความขมของมะระ

ก่อนนำไปประกอบอาหารให้นำมาแช่น้ำเกลือก่อนในอัตราส่วนเกลือ 1 ช้อนชากับน้ำ 1 ลิตร โดยแช่ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที เสร็จแล้วให้เทน้ำทิ้ง แล้วนำมาแช่น้ำเปล่าอีกครั้งประมาณ 10 นาทีก่อนจะนำไปประกอบอาหาร ก็จะช่วยลดความขมของมะระลงได้ และที่สำคัญก็คือในขณะที่กำลังประกอบอาหารด้วยการทำต้มอย่างจืด ไม่ควรจะเปิดฝาทิ้งไว้หรือคนบ่อยๆ เพราะจะทำให้มะระขมได้นั่นเอง

สรรพคุณทางยาของมะระ

ยอดและใบอ่อน แก้โรคปวดตามข้อ ตามกระดูก ที่เรียกว่า รูมาติซั่มและเก๊า แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ เมล็ด ฆ่าพยาธิในลำไส้ เป็นยาระบายอ่อนๆ ระลายพิษต่างๆ ให้ออกทางปัสสาวะและอุจจาระ ขับฤดูเสียในสตรี บำรุงดี ตับและม้าม ยอดมะระ ใช้แก้อาการเจ็บคอ ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ในปัจจุบันวงการแพทย์ไทยได้วิจัยค้นพบว่า สามารถใช้แก้โรคเอดส์เบื้องต้นได้ ทำให้เม็ดผื่นคัน แผลในร่างกายไม่ลุกลาม ทำให้กินได้นอนหลับ มีกำลังดีขึ้น

สะเดา

สะเดา (Neem Tree) เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ส่วนที่ใช้ประโยชน์ คือ ก้านใบ ผล เปลือก เมล็ดและราก มียอดใบอ่อนให้กินตลอดปีใช้เป็นอาหาร เป็นต้นไม้ที่แมลงไม่ชอบ จึงเป็นยาปราบศัตรูพืช ยอดของสะเดามีเบตา-แคโรทีนมากช่วยลดน้ำตาลในเลือด และใช้ประโยชน์ทางยาได้มากมาย

สมุนไพรสะเดา มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า สะเดา สะเดาบ้าน (ภาคกลาง), สะเลียม (ภาคเหนือ), เดา กระเดา กะเดา (ภาคใต้), จะดัง จะตัง (ส่วย), ผักสะเลม (ไทลื้อ), ลำต๋าว (ลั้วะ), สะเรียม (ขมุ), ตะหม่าเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ควินิน (ทั่วไป), สะเดาอินเดีย (กรุงเทพฯ), กาเดา, เดา, ไม้เดา เป็นต้น โดยสามารถพบขึ้นได้ทั่วไปตามป่าแล้งในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ปากีสถาน ศรีลังกา และประเทศไทย สำหรับในประเทศไทยจะมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ตามธรรมชาติ ตามป่าเบญจพรรณแล้งและป่าแดงทั่วประเทศ

ชื่อสามัญ : Neem, Neem tree, Nim, Margosa, Quinine, Holy tree, Indian margosa tree, Pride of china, Siamese neem tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A.Juss. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Azadirachta indica var. siamensis Valeton, Melia azadirachta L.) วงศ์กระท้อน (MELIACEAE)

sa dao

สะเดา สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่

  • สะเดาไทย (สะเดาบ้าน) ลักษณะของใบหยักเป็นฟันเลื่อย ปลายของฟันเลื่อยทู่ โคนใบเบี้ยวแต่กว้างกว่า ปลายใบแหลม โดยสะเดาไทยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดขมและชนิดมัน โดยจะสังเกตได้จากยอดอ่อน หากเป็นชนิดขมยอดอ่อนจะมีสีแดง แต่ถ้าเป็นชนิดมันยอดอ่อนจะมีสีขาว
  • สะเดาอินเดีย ลักษณะของใบ ขอบใบเป็นหยักคล้ายฟันเลื่อย ปลายของฟันเลื่อยแหลม ปลายใบมีลักษณะแหลมเรียวแคบมาก ส่วนโคนใบเบี้ยว
  • สะเดาช้าง (สะเดาเทียม) (Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs) ชนิดนี้ลักษณะขอบใบจะเรียบหรือปัดขึ้นลงเล็กน้อย ปลายใบเป็นติ่งแหลม ขนาดของใบและผลจะใหญ่กว่า 2 ชนิดแรก

โดยต้นสะเดาไทยและสะเดาอินเดียจะเป็นชนิดเดียวกันแต่ต่างสายพันธุ์ ส่วนสะเดาช้างจะจัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับสะเดาไทยและสะเดาอินเดีย แต่เป็นคนละชนิดหรือคนละสปีชีส์

สรรพคุณของสะเดา

ดอก, ใบ, ผล ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ใบ, แก่น ช่วยบำรุงธาตุไฟ ขับน้ำย่อยอาหารทำให้กระเพาะย่อยอาหารได้ดีขึ้น ช่วยบำรุงโลหิต น้ำตาลที่ได้จากการหมักน้ำจากลำต้นมีแร่ธาตุ ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย ยอดอ่อน ช่วยบำรุงและรักษาสายตา โดยพบว่าผู้ที่รับประทานยอดสะเดาตั้งแต่เด็ก เมื่ออายุ 90 กว่า สายตายังดีมาก ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร ด้วยการใช้ช่อดอกนำมาลวกน้ำร้อน จิ้มน้ำปลาหวานหรือน้ำพริก หรือจะใช้เปลือกสดประมาณ 1 ฝ่ามือนำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว ส่วนใบช่วยรักษาโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเอดส์ เนื่องจากการรับประทานใบสะเดาเป็นอาหารจะช่วยทำให้เจริญอาหาร ลดอาการเบื่ออาหารหรือกินอาหารได้น้อยแล้วทำให้ซูบผอมจนทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน

ประโยชน์ของสะเดา

ยอดอ่อนและดอกอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสด หรือใช้ลวกกินกับน้ำพริกหรือลาบ (กะเหรี่ยงแดง), ยอดอ่อนใช้กินกับลาบ (ไทลื้อ) ส่วนช่อดอกใช้ลวกกินกับน้ำพริก (คนเมือง), หรือจะใช้ดอกรับประทานร่วมกับแกงหน่อไม้หรือลาบก็ได้ น้ําปลาหวานสะเดา อีกหนึ่งเมนูอาหารที่ให้พลังงานค่อนข้างสูง ให้โปรตีนพอใช้ แต่ให้ไขมันต่ำ มีคุณค่าทางอาหารสูง ทั้งแร่ธาตุและวิตามิน ช่วยแก้ไข้หัวลม บรรเทาความร้อนในร่างกาย ช่วยปรับธาตุให้สมดุล ช่วยทำให้เจริญอาหาร ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันโรคมะเร็งได้อีกด้วย

sa dao 2

สะเดาเป็นผักที่มีแคลเซียมสูงสุดเป็นอันดับ 3 มีธาตุเหล็กสูงสุดเป็นอันดับ 4 มีเส้นใยอาหารสูงเป็นอันดับ 3 และมีเบตาแคโรทีนสูงเป็นอันดับ 5 ในบรรดาผักทั้งหมด สารสกัดสะเดาที่มีในเมล็ดและใบ ใช้เป็นสารป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยสารสกัดจากสะเดาสามารถใช้กับแมลงได้หลายชนิด มีฤทธิ์ฆ่าแมลง ขับไล่แมลง ช่วยต่อต้านการดูดกิน ยับยั้งการเจริญเติบโต ทำให้หนอนหรือตัวอ่อนไม่ลอกคราบ และกำจัดแมลงได้หลายชนิด

ขมิ้นชัน

ขมิ้น หรือ ขมิ้นชัน (Turmeric, Curcuma) เป็นพืชล้มลุกที่มีอยู่เหง้าอยู่ใต้ดิน มีประโยชน์ในการช่วยดับกลิ่นคาว มีสารสีเหลืองชื่อ เคอร์คูมิน (Curcuma) ฤทธิ์ทางยาแก้ปวดท้อง มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี รักษาอาการนิ่วในถุงน้ำดี รวมทั้งโรคกระเพาะ

ชื่อสามัญ : Turmeric
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa L. จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)

ka mint chan

ขมิ้น เป็นพืชล้มลุกที่จัดอยู่ในตระกูลขิง มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าจะเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีตั้งแต่สีเหลืองเข้มจนถึงสีแสดจัด โดยถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีชื่ออื่นๆ อีก เช่น ขมิ้นชัน ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละภาคและจังหวัดนั้นๆ นิยมนำไปใช้ในการประกอบอาหาร แต่งสี แต่งกลิ่นอาหาร เช่น แกงไตปลา แกงกะหรี่ เป็นต้น

ขมิ้นชัน อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเกลือแร่ต่างๆ รวมไปถึงเส้นใย คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน เป็นต้น และขมิ้นชันมีสรรพคุณทางยาที่รักษาอาการและโรคต่างๆ ได้หลายชนิด มีประวัติในการนำมาใช้ในการรักษามากกว่า 5,000 ปี สำหรับขมิ้นชันที่จะนำมาใช้ประโยชน์นั้น การเก็บเกี่ยวไม่ควรเก็บในระยะที่ขมิ้นเริ่มแตกหน่อ เพราะจะทำให้สารที่มีประโยชน์อย่างเคอร์คูมินในขมิ้นมีน้อย ส่วนเหง้าที่เก็บมาต้องมีอายุอย่างน้อย 9-12 เดือน และต้องไม่เก็บไว้นานเกินไป และไม่ให้ถูกแสงแดด เพราะน้ำมันหอมระเหยในขมิ้นจะหมดไปเสียก่อน

พริก

พริก (Chili, Chilli Pepper) แต่ถ้าเป็นพริกขนาดใหญ่ๆ ที่มีรสอ่อนๆ เราจะเรียกว่า Bell pepper, Pepper, Paprika, Capsicum เป็นต้น โดยมีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ มีการนำเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นแล้ว เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ผลใช้เป็นยา ปรุงอาหาร ช่วยเจริญอาหารรักษาอาการอาเจียน โรคหิด ปอดบวม โดยใช้ผลพริกทำเป็นขี้ผึ้งทา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capsicum frutescens L.

ความเผ็ดของพริกมาจากสารชื่อ "แคปไซซิน" (Capsaicin) ซึ่งจะมีอยู่มากใยบริเวณเยื่อแกนกลางสีขาว (คือส่วนเผ็ดมากที่สุด) ส่วนเปลือกและเมล็ดนั้นจะมีสารนี้น้อย ซึ่งคนทั่วไปมักเข้าใจผิดว่าส่วนเมล็ดและเปลือกคือส่วนที่เผ็ดที่สุด และสารชนิดนี้จะทนทานต่อความร้อนและความเย็นอย่างมาก แม้จะนำมาต้มให้สุกหรือแช่แข็ง ก็ไม่ได้ทำให้สูญเสียความเผ็ดไปแต่อย่างใด โดยเราสามารถเรียงลำดับความเผ็ดของพริกจากมากไปหาน้อยได้ คือ พริกขี้หนู > พริกเหลือง > พริกชี้ฟ้า > พริกหยวก > พริกหวาน เป็นต้น

prig

หน่วยวัดความเผ็ดเดิมคือ สโควิลล์ (Scoville) (เป็นคำที่ตั้งขึ้นตามชื่อผู้คิดค้นวิธีการวัดระดับ ซึ่งก็คือ วิลเบอร์ สโควิลล์ นักเคมีชาวอเมริกัน) โดยพริกขี้หนูสวนบ้านเราจะมีค่าอยู่ที่ 50,000-100,000 สโควิลล์ ส่วนพริกที่ได้รับการบันทึกลงในกินเนสส์บุ๊กว่า "เผ็ดที่สุดในโลก" ก็คือ พริกฮาบาเนโร วัดค่าได้ถึง 350,000 สโควิลล์หรือมากกว่า

พริกอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ อย่าง วิตามินเอ วิตามินบี 6 วิตามินซี ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุเหล็ก ใยอาหาร เป็นต้น โดยในพริก 100 กรัม จะมีวิตามินซีสูงถึง 144 มิลลิกรัมเลยทีเดียว

หากต้องการลดความเผ็ดร้อนของพริก ควรรับประทานอาหารที่มีไขมัน หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากกว่าที่จะดื่มน้ำ เพราะการดื่มน้ำจะมีผลเพียงแค่ช่วยให้บรรเทาอาการแสบร้อนได้เท่านั้น แต่ความเผ็ดยังคงอยู่ สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานพริกเพราะอาจจะทำให้กรดไปกัดแผลในกระเพาะอาหารได้ และสำหรับเด็กและผู้สูงอายุที่มักจะสำลักง่าย ก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเช่นกัน และควรจะระวังพริกป่นตามร้านอาหาร พริกซองที่อาจจะมีสารอะฟลาทอกซินปนอยู่ ซึ่งเป็นสารพิษที่เกิดจากเชื้อรา หากร่างกายได้รับอย่างต่อเนื่องอาจจะเกิดการสะสม จนกลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด ดังนั้นควรเลือกรับประทานพริกป่นที่สะอาด ไม่มีเชื้อราและเปลี่ยนบ่อยๆ ทุกๆ 3 วันพร้อมทั้งการจัดเก็บในภาชนะที่แห้งและสะอาด

ขึ้นฉ่าย

ขึ้นฉ่าย (คื่นไฉ่) หรือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง ภาษาอังกฤษ Celery (เซเลอรี) (มักสะกดผิดเป็น "คื่นช่าย" หรือ "คื่นฉ่าย" หรือ "คึ่นไช่") เป็นพรรณไม้ล้มลุกกลิ่นหอมทั้งต้น ส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้แก่ ต้น เมล็ด ราก สรรพคุณทางยา ต้นลดความดัน รักษานิ่ว ปัสสาวะเป็นเลือด เมล็ดขับลมและระงับปวด รากใช้รักษาอาการปวดตามข้อและขับปัสสาวะ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Apium graveolens L. จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE)

keun chai

ขึ้นฉ่ายเป็นผักที่ใบคล้ายกับผักชี แต่ใบใหญ่กว่าและมีกลิ่นฉุน โดยขึ้นฉ่ายเป็นชื่อผักที่มาจากภาษาจีน หรือที่คนไทยเรียกว่า ผักข้าวปีน, ผักปืน, ผักปิ๋ม เป็นต้น ผักขึ้นฉ่าย จะมีอยู่ 2 สายพันธุ์ สายพันธุ์แรกก็คือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง ลักษณะต้นจะอวบใหญ่มาก ลำต้นมีความสูงประมาณ 40-60 เซนติเมตร ลำต้นขาวใบเหลืองอมเขียว และอีกสายพันธุ์คือ ขึ้นฉ่ายจีน หรือ "Chinese celery" ซึ่งจะมีขนาดของลำต้นที่เล็กกว่า มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร และใบค่อนข้างแก่ ส่วนสรรพคุณก็จะคล้ายๆ กัน

สมุนไพรขึ้นฉ่าย เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม (สำหรับบางคนอาจจะรู้สึกว่ามีกลิ่นฉุนและอาจไม่เป็นที่โปรดปรานมากนัก) นิยมนำมาใช้ในการปรุงอาหารเพื่อช่วยในการดับกลิ่นคาวต่างๆ หรือนำมาใช้เพิ่มความหอมให้น้ำซุป

สรรพคุณของขึ้นฉ่าย

ช่วยทำให้เจริญอาหาร กระตุ้นให้เกิดความอยากอาหาร ขึ้นฉ่ายเป็นผักที่มีโพแทสเซียมสูง ซึ่งช่วยในการขยายตัวของหลอดเลือด ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ขึ้นฉ่ายมีโซเดียมอินทรีย์ที่ช่วยในการปรับสมดุลของกรดและด่างในเลือด เป็นหนึ่งในผักที่มีสารโพลีฟีนอล ซึ่งเป็นตัวช่วยป้องกัน DNA ถูกทำลาย ช่วยลดอาการอักเสบ และป้องกันมะเร็งด้วยการไปยับยั้งการกลายพันธุ์และสารก่อมะเร็งในร่างกาย

น้ำคั้นจากขึ้นฉ่ายมีสรรพคุณใช้เป็นยากล่อมประสาท ช่วยในการนอนหลับ ทำให้รู้สึกสบายขึ้น ช่วยรักษาโรคอัลไซเมอร์ น้ำคั้นจากขึ้นฉ่ายมีสรรพคุณใช้เป็นยากล่อมประสาท ช่วยในการนอนหลับ ทำให้รู้สึกสบายขึ้นที และมีคุณสมบัติในการนำมาสกัดเป็นยารักษาโรคอัลไซเมอร์ได้ ช่วยบำรุงหัวใจและรักษาโรคหัวใจ ช่วยในการทำงานของระบบหมุนเวียนต่างๆ ในร่างกาย ช่วยลดอาการของโรคหอบหืด

ใบย่านาง

ใบย่านาง Bai-ya-nang (ตรงตัว) คนที่รู้จัก "ใบย่านาง, ใบยานาง" ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นคนภาคอีสาน หรือชอบกินอาหารอีสาน เพราะใบย่านางมักถูกใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งของแกงหน่อไม้ และซุปหน่อไม้ คงมีหลายคนที่ชอบกินแต่คงไม่ทราบว่าน้ำสีออกดำๆ เขียวๆ ที่อยู่ในซุปหน่อไม้ หรือแกงหน่อไม้นั้นได้มาจากน้ำของ "ใบย่านาง" นั่นเอง

ชื่อสามัญ : Bai-ya-nang
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Limacia triandra Miers (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cocculus triandrus Colebr., Menispermum triandrum Roxb., Tiliacora triandra Diels) จัดอยู่ในวงศ์บอระเพ็ด (MENISPERMACEAE)

ทางภาคกลางจะเรียกย่านางว่า "เถาย่านาง" เนื่องจากพรรณไม้ชนิดนี้เป็นเถาไม้เลื้อยเกี่ยวพันกับต้นไม้อื่น

ya nang 2

ใบย่านาง สรรพคุณนั้นมีหลากหลาย เพราะเป็นสมุนไพรเย็น มีคลอโรฟิลล์สดจากธรรมชาติ และยังมีวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายอีกมากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เบต้าแคโรทีนในปริมาณค่อนข้างสูง โดยเป็นสมุนไพรที่ใครหลายๆ คนต่างก็คุ้นเคยกันดี เพราะนิยมนำมาเป็นเครื่องปรุงรสช่วยเพิ่มความกลมกล่อมของอาหาร เช่น แกงหน่อไม้ ซุปหน่อไม้ แกงเลียง แกงหวาน เป็นต้น

แม้ว่าสีของน้ำใบย่านางนั้นอาจจะดูไม่ค่อยน่ากินสักเท่าไร แต่น้ำจากใบย่านางนั้นจะช่วยทำให้หน่อไม้ดองมีกลิ่นหอม และมีรสชาติกลมกล่อม เพราะช่วยกำจัดกลิ่นเปรี้ยวและรสขมออกไป ทำให้อาหารจานนั้นแซบนัวหลายๆ หรือหากจะนำยอดอ่อนใส่ในแกงต่างๆ ก็เพิ่มความอร่อยได้ด้วยเช่นกัน นอกจากความเเซบแล้ว ใบย่านางยังมีสรรพคุณในการช่วยถอนพิษ แก้ไข้และลดความร้อนในร่างกายได้ อีกทั้งยังเป็นพืชที่ให้แคลเซียมและวิตามินซีค่อนข้างสูง และยังให้สารอาหารอื่นๆ เช่น ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินเอ วิตามินบี 1 บี 2 และเบต้า-แคโรทีน หากกินทั้งใบก็จะมีเส้นใยมาก ส่วนรากของใบย่านางช่วยถอนพิษ แก้ไข้ แก้เมารถ เมาเรือ แก้โรคหัวใจและแก้ลมได้ด้วย ขอแถมให้อีกนิด หากนำน้ำใบย่านางมาสระผม จะช่วยทำให้ผมดกดำ ชลอผมหงอกได้อีกต่างหาก

สับปะรด

สับปะรด (Pineapple) มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า มะนัด มะขะนัด บ่อนัด (ภาคเหนือ), บักนัด (ภาคอีสาน), ย่านัด ขนุนทอง (ภาคใต้) เป็นต้น

ชื่อสามัญ : Pineapple (ถ้าเป็นพายสับปะรดจะใช้คำว่า Pineapple Pie)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ananas comosus (L.) Merr. จัดอยู่ในวงศ์สับปะรด (BROMELIACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย BROMELIOIDEAE

สับปะรด มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี และจัดว่าเป็นผลไม้เศรษฐกิจของบ้านเราด้วย แหล่งปลูกที่สำคัญๆ มักจะอยู่ใกล้ๆ ทะเล เช่น ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี หรืออุตรดิตถ์ ลำปาง พิษณุโลก เป็นต้น สำหรับพันธุ์ที่นิยมปลูกในบ้านเราก็มีหลายสายพันธุ์ เช่น พันธุ์ปัตตาเวีย (สับปะรดศรีราชา ผลใหญ่ เนื้อฉ่ำ สีเหลืองอ่อน), พันธุ์อินทรชิต (หรือพันธุ์พื้นเมือง), พันธุ์ภูเก็ต (ผลเล็กเปลือกหนา เนื้อสีเหลือง หวานกรอบ), พันธุ์นางแล (พันธุ์น้ำผึ้ง เนื้อจะเข้มเหลือง รสออกหวานจัด) เป็นต้น

sap pa rod

สับปะรดจัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพอีกชนิดหนึ่ง โดยประโยชน์ของสับปะรดนั้นมีอยู่หลากหลาย เพราะอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินต่าง ๆ จำนวนมาก ซึ่งได้แก่ คาร์โบไฮเดรต วิตามินซี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 กรดโฟลิก ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุแมงกานีส ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ธาตุสังกะสี เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้ถือว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายและสุขภาพเราเป็นอย่างมาก และสรรพคุณสับปะรดทางสมุนไพรนั้น ก็ช่วยรักษาอาการต่างๆ ได้อย่างหลากหลายเช่นกัน เช่น โรคบิด โรคนิ่ว ช่วยบรรเทาอาการแผลเป็นหนอง ขับปัสสาวะ เป็นต้น

ประโยชน์ของสับปะรด

ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสอยู่เสมอ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยและความแก่ชรา เป็นผลไม้ที่เมื่อรับประทานแล้วจะรู้สึกสบายท้อง ไม่รู้สึกอึดอัด ใช้นำมารับประทานเป็นผลไม้ หรือนำมาปรุงเป็นอาหาร เช่น แกงสับปะรด นำมาใช้แปรรูปเป็นสับปะรดกระป๋อง ทำเป็นสับปะรดกวนก็ได้ รวมทั้งการแปรรูปสับปะรดอื่นๆ เช่น การทําไวน์สับปะรด แยมสับปะรด เป็นต้น

[ อ่านเพิ่มเติม : อาหารอีสานรสเลิศ เค็มหมากนัด ]

ผักแก่นขม

ผักแก่นขม เป็นผักพื้นบ้านที่พบมากในภาคอีสาน และภาคเหนือ มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ในตอนบนของพม่า ไทย และลาว ในประเทศไทยพบมากในภาคอีสาน พบได้เฉพาะในแปลงนาหรือพื้นที่เตียนโล่ง โดยเฉพาะบริเวณแอ่งหรือที่ต่ำในแปลงนาหรือข้างแอ่งน้ำที่ชุ่ม และพบได้เฉพาะช่วงหน้าหนาวถึงหน้าแล้ง หารับประทานได้ง่ายในหน้าหนาวและหน้าแล้ง โดยเฉพาะภาคอีสานที่นิยมใช้ประกอบอาหารจำพวกต้ม และแกงต่างๆ เนื้อผักมีความนุ่ม ให้รสขมเล็กน้อย ช่วยเพิ่มรสให้น่ารับประทาน และมีสรรพคุณทางยาต่อร่างกาย

ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ผักขี้ขวง (ภาคเหนือ), สะเดาดิน ผักขวง (ภาคกลาง), ผักแก่นขม ผักดางขม (ภาคอีสาน) ส่วนในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 เรียกสมุนไพรชนิดนี้ว่า "ขวง"

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Glinus oppositifolius (L.) Aug.DC. จัดอยู่ในวงศ์สะเดาดิน (MOLLUGINACEAE)

pak kan kom

ผักขวง เป็นผักที่มีรสขมคล้ายสะเดา บางแห่งจึงเรียกผักชนิดนี้ว่า "สะเดาดิน" คนอีสานเรียก "ผักแก่นขม, ผักดางขม" โดยชาวบ้านตามชนบทจะใช้ผักขวงเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก และรับประทานร่วมกับลาบ บ้างนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริกหรือนำมาแกงรวมกับผักอื่นๆ แกงแค แกงเมือง หรือแกงกับปลาทูนึ่ง หรือต้มส้มปลาค่อ (ช่อน) ต้มกบ ต้มเขียดจะนา แกงอ่อมบักหอยจูบ หรือพวกอ่อมปลา กบ ขมอ่ำหล่ำดีคักพี่น้อง

ผักแก่นขม จะเริ่มแตกหน่อและเติบโตเป็นต้นขนาดเล็กในช่วงเดือนพฤศจิกายน หลังน้ำในแอ่งน้ำขังหรือนาข้าวแห้งแล้ว และเริ่มเก็บลำต้นมาประกอบอาหารได้ต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนธันวาคม-เมษายน การเก็บผักแก่นขม โดยทั่วไปจะใช้วิธีถอนทั้งลำต้น และราก เพราะนิยมใช้ทั้งส่วนราก และลำต้นในการปรุงอาหาร มีวิธีเก็บด้วยใช้มือจับถอนบริเวณโคนต้น ดึงถอนให้รากติดขึ้นมาด้วย นำไปล้างน้ำให้สะอาดก็พร้อมนำไปประกอบอาหารได้

สรรพคุณทางยาก็มีมากมาย คือ ลดไขมันในเลือด มีเส้นใยมาก กำจัดการก่อมะเร็งแก้เบาหวาน เป็นยาบำรุงธาตุ แก้หวัด แก้ไอ แก้ไข้ทั้งปวง บดทำเป็นยาทาแก้คัน โรคผิวหนังได้

หัวปลี

หัวปลี คือ ส่วนช่อดอกของต้นกล้วย อันประกอบด้วยดอกจริงที่จะถูกหุ้มอยู่ภายในด้วยใบประดับสีแดงขนาดใหญ่ ลักษณะเป็นกาบซ้อนกันจนสุดปลายช่อ คล้ายดอกบัวตูม เมื่อดอกเพศเมียเจริญเป็นผลโดยที่ไม่ต้องได้รับการผสมเกสร จนเป็นกล้วยหวีเล็กๆ หรือที่เรียกกันว่า “กล้วยตีนเต่า” ชาวสวนก็จะตัดปลีที่ปลายช่อทิ้ง เพื่อไม่ให้แย่งอาหารที่จะไปเลี้ยงผลกล้วย ทั้งยังเป็นการป้องกันการสะสมเชื้อโรคของเครือกล้วยด้วย

ปลีกล้วย ที่ตัดไปก็ไม่ได้ทิ้งเปล่า เพราะเนื้อขาวนวล กรุบกรอบรสฝาดมันของหัวปลีสด เข้ากันได้ดีกับอาหารจานเด็ดอย่างผัดไทยหรือขนมจีนน้ำยา ส่วนหัวปลีลวก เนื้อหวานมันปนฝาด เคี้ยวนุ่มชุ่มฉ่ำ นิยมกินเป็นผักเหนาะจิ้มน้ำพริก นอกจากนี้ยังดัดแปลงไปทำยำ แกง ต้มกะทิ ต้มยำ ห่อหมก ทอดมันหัวปลี หรือชุบแป้งทอดให้รสชาติอร่อยเปี่ยมคุณค่าไม่แพ้ผักชนิดอื่น แถมยังมีข้อดีกว่าตรงที่เป็นผักปลอดสารพิษ เพราะกล้วยเป็นพืชที่ไม่ต้องใช้สารเคมีใดๆ ในการปลูก

ชื่อไทย หัวปลี ภาษาอังกฤษเรียก Banana blossom หรือ Banana flower เพราะหัวปลีเป็นส่วนดอกของต้นกล้วยนั่นเอง ส่วนในบ้านเราเรียกกันทั้ง หัวปลี ปี๋ (เหนือ) และ ปลีกล้วย แล้วแต่ความถนัดและความเคยชินของท้องถิ่นต่างๆ

hua plee

ชื่อสามัญ : banana blossom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa paradisiaca L. var. sapientum O. Ktze., M. sapientum L. วงศ์ Musaceae

กลายเป็นที่สนใจไปทั่วโลกสำหรับ “หัวปลี” โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่นิยมไม่บริโภคเนื้อสัตว์ เนื่องจากรสชาติที่คล้ายคลึงและมีแคลอรีต่ำ แถมมากไปด้วยสรรพคุณ จึงทำให้เป็นที่ต้องในต่างประเทศ จนมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 1,000 บาท (ข่าวเขาว่ามา รวมค่าขนส่งไป + ความนิยมต้องการ หายากในต่างประเทศ ก็เลยแพง) สรรพคุณของหัวปลีนั้นโดดเด่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ รุ่นปู่ยาตาทวดในเรื่องของ "การบำรุงน้ำนม" ของแม่ลูกอ่อนที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร แก้ร้อนใน ยางจากปลีกล้วยก็ใช้รักษาแผลสดหรือทาบริเวณที่แมลงกัดต่อยได้ ปัจจุบันนักวิจัยยังพบว่าหัวปลีมีคุณสมบัติบรรเทาอาการหวัด ไข้ รักษาโรคกระเพาะ และยังช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ที่สำคัญสามารถรักษาแก้โรคยอดฮิตอย่าง เบาหวานได้อีกด้วยหากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากหัวปลีอุดมเต็มไปด้วยใยอาหาร มีแมกนีเซียม ธาตุอาหารสำคัญที่มีผลรักษาอาการซึมเศร้า มีแคลเซียม และวิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส ที่จะช่วยให้วิตามินเข้าสู่ร่างกายได้อย่างเต็มที่ ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายทำให้ร่างกายแข็งแรงจากภายในสู่ภายนอก

อยากแข็งแรงสุขภาพดี พร้อมกับหุ่นดีบอดี้งาม สวยใสสมวัย เราสามารถรับประทานปลีกล้วยได้ทุกวัน โดยสามารถรับประทานได้สดๆ เป็นผักแกล้ม หรือรังสรรค์เมนูยอดฮิตในแบบน้ำและแบบแห้งเช่น หัวปลีไปเผาไฟ จิ้มน้ำพริก ยำหัวปลี รสชาติก็ถูกปากครบครันด้วยสรรพคุณ

ผักปลัง

ผักปลัง เป็นผักที่มีประโยชน์ ปลูกง่าย มีดินอยู่ก้นกระถาง หรือข้างร่องปูนริมรั้ว ก็ปลูกขึ้นได้ มีรั้วให้เถาพันเลื้อย ออกยอด ออกดอก ให้ผล คนนำไปประกอบอาหารกินได้ ต้นหนึ่งเมื่อออกมาแล้ว จะแตกกิ่งก้านสาขามาก เลื้อยพันรั้ว หรือค้างขึ้น อยู่ได้นานหลายเดือน อาจเป็นปี ถ้ามีการหมั่นให้น้ำ ดูแล เพียงแต่อย่าให้ออกลูกออกผล จนแก่แห้งทั้งต้น คอยตัดคอยเด็ดเป็นประจำ ต้นแม่จะโตขึ้นเรื่อยๆ จะเจริญเติบโตให้ยอดให้ใบ ให้ดอก ทั้งปี รากผักปลังชอนไชหาอาหารตามร่องปูนที่แตกร้าวได้ด้วย

ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ผักปั๋ง ผักปั่ง (ภาคเหนือ), ผักปลังใหญ่ ผักปลังขาว ผักปลังแดง (ภาคกลาง), ผักปรัง ผักปรังใหญ่ (ไทย), เดี้ยจุ่น (เมี่ยน), มั้งฉ่าง (ม้ง), เหลาะขุ้ย โปแดงฉ้าย (แต้จิ๋ว), ลั่วขุย (จีนกลาง)

pak plung

ชื่อสามัญ : Ceylon spinach, East Indian spinach, Indian spinach, Malabar nightshade, Vine spinach
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า : Basella rubra L. (ผักปลังแดง) และอีกชนิดคือ : Basella alba L. (ผักปลังขาว) จัดอยู่ในวงศ์ผักปลัง (BASELLACEAE)

ผักปลัง นำมาประกอบอาหารด้วยการเด็ดยอด ใบอ่อน ดอก และช่อผลอ่อน ที่ข้างรั้ว หรือถ้ายังไม่มี ก็หาซื้อตามตลาดผักพื้นบ้าน นำไปต้ม ลวก นึ่ง ให้สุก กินเป็นผักจิ้มน้ำพริก ใบ แกงส้ม แกงแค แกงปลา แกงอ่อม ผัดน้ำมัน ผัดกับแหนม ชาวเหนือและชาวอีสานนิยมกินเป็นยาสมุนไพร จะลวกจิ้มน้ำพริกก็สุดยอด เจียวใส่ไข่ก็อร่อย ผัดแหนม แกงผักปั๋ง (ผักปลัง) ใส่ปลาย่าง ภาษาเรียกของคนทางภาคเหนือ หรือต้มโปเด้งฉ่าย (ผักปลังที่คนจีนเรียก)

ผักปลัง เป็นสมุนไพรที่รู้จักกันมานาน ต้น กิ่ง ก้าน ใช้รักษาฝี แก้อาการปัสสาวะขัด แก้ท้องผูก ท้องอืด ลดไข้ ใบผักปลัง เป็นยาขับปัสสาวะ รักษาอาการอักเสบ รักษากลาก ดอกผักปลัง รักษาเกลื้อน รากแก้โรคมือเท้าด่าง แก้รังแค รักษาอาการพรรดึก หรืออุจจาระแข็ง ปวดแน่นท้อง ท้องเกร็ง ช่วยระบายท้องแบบอ่อนๆ ผลแก่ผักปลังแดง มีสารแอนโทไซยานิน ใช้เป็นสีผสมอาหาร แป้งทำขนมต่างๆ ได้หลายอย่าง

เทา และ ผำ

เทา และ ผำ เป็นอาหารพื้นบ้านโบราณอีสานเฮาที่ไม่ค่อยได้เห็นทำกินกันบ่อยนักในยุคนี้ จะรู้จักเฉพาะกับคนในวัย 30 ขึ้นไป แต่หลายคนอาจจะไปรู้จักในฐานะ "อาหารเสริมแคปซูล"  ชื่อเป็นฝรั่งว่า "สไปโรไจร่า" แล้วซื้อมาบริโภคกันตรึมในทางออนไลน์ วันนี้เลยขอเล่าถึง "ลาบเทา และ แกงไข่ผำ" กันให้รู้จักสักหน่อย

เทา เป็นสาหร่ายน้ำจืดชนิดหนึ่ง ชื่อภาษาอังกฤษคือ Spirogyra (สไปโรไจรา) (คนอีสานเรียกสาหร่ายชนิดนี้ว่า "เทา") เป็นสาหร่ายที่ชอบขึ้นในน้ำจืดที่สะอาดทั้งน้ำนิ่ง และน้ำไหลเอื่อยๆ มีสีเขียวเป็นเส้นกลมยาวขนาดเล็กพันกันเป็นเกลียวนิ่มลื่นมือ พบได้ในแหล่งน้ำภาคเหนือและอิสาน เรียกสาหร่ายชนิดนี้ว่า เทา หรือผักไก นิยมนำมาบริโภคในรูปผักจิ้มน้ำพริก ทำลาบ และมีรายงานว่าเป็นสาหร่ายที่นิยมบริโภคในประเทศพม่า เวียตนาม และอินเดียด้วย

ขื่อสามัญทั่วไป : สาหร่ายน้ำจืด (เทา) ชื่อวืทยาศาสตร์ : Spirogyra sp. อยู่ในวงศ์ : Zygnemataceae

ประโยชน์ของเทา นอกเหนือจากเป็นอาหารของมนุษย์แล้วก็ยังใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ จากการวิจัยของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พบว่า สาหร่ายสีเขียวในนาข้าวบางชนิด สามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศให้เป็นสารประกอบไนโตรเจน เช่น แอมโมเนียม ทำให้ข้าวเจริญเติบโต ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ช่วยให้ผิวพรรณดีขึ้นและลดริ้วรอยในรูปครีมบำรุงผิว ใช้ในอุตสาหกรรมยา รักษาโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคกระเพาะ อีกทั้งยังช่วยลดความเครียด และความไม่สมดุลในร่างกาย

tao paam

ผำ หรือ ไข่ผำ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ไข่น้ำ เป็นสาหร่ายน้ำจืดชนิดหนึ่งเหมือนกัน ที่ไหนมีเทา ที่นั่นย่อมมีผำ เป็นพืชมีดอกที่มีขนาดเล็กที่สุด อาศัยลอยอยู่บนผิวน้ำ อาจลอยอยู่เป็นกลุ่มล้วนๆ หรือลอยปนกับพืชชนิดอื่นๆ เช่น แหน แหนแดง ก็ได้ มีรูปร่างรีๆ ค่อนข้างกลม มีขนาดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร แต่ละต้นมีสีเขียว ไม่มีราก ไม่มีใบ ต้นประกอบด้วยเซลล์ชนิดพาเรงคิมาเป็นส่วนใหญ่ มีช่องอากาศแทรกอยู่ระหว่างเซลล์ ทำให้เห็นเป็นฟองน้ำ และช่วยให้มีการลอยตัวอยู่ในน้ำได้ ไม่มีเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่นำน้ำและอาหาร มีช่องให้อากาศเข้าออกได้อยู่ทางบนของต้น ไข่ผำนี่ไม่ใช่ว่าจะหาได้ง่ายๆ นะครับ เพราะมันจะเกิดอยู่แหล่งน้ำนิ่ง แหล่งน้ำจะต้องสะอาด และมีสารอาหารครบถ้วน ถ้าแหล่งน้ำไม่สะอาดหากปล่อยไข่ผำลงไปเลี้ยง ก็อาจจะตายหมดได้

ชื่อสามัญทั่วไป : ผำ หรือ ไข่แหน หรือ ไข่น้ำ หรือ ไข่ขำ (อังกฤษ: Water Meal, Swamp Algae)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Wolffia globosa 
จัดอยู่ในวงศ์ Lemnaceae สกุล Wolffia

ผำ นับเป็นพืชน้ำmujเป็น "ดอกไม้" ขนาดเล็กที่สุดในโลก (สังเกตด้วยตาเปล่าไม่เห็นเป็นรูปทรงดอกไม้ เพราะเล็กจิ๋ว)​ อุดมด้วยคลอโรฟิลล์ และเติบโตดีช่วงรอยต่อระหว่างหน้าหนาวและหน้าร้อน ทั้งยังมีผลวิจัยรายงานว่า ผำมีสารต้านอนุมูลอิสระเพียบ และช่วยรักษาอาการท้องผูกได้อย่างดี เนื่องจากมีกากใยสูงเทียบเท่าผลไม้อย่างส้มหรือฝรั่ง ที่สำคัญ ผำนับเป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกชั้นดีสำหรับคนไม่กินเนื้อ เพราะมีโปรตีนสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง ทว่าข้อได้เปรียบของผำที่โปรตีนทางเลือกอื่นอาจให้ไม่ได้ก็คือ ผำมีวิตามินและธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์พิเศษของพืชที่เติบโตขึ้นในน้ำสะอาด

[ อ่านเพิ่มเติม : อาหารอีสานรสเด็ด ลาบเทา และ แกงไข่ผำ ]

 

ผักพื้นบ้านอีสาน : ตอนที่ 1 | ตอนที่ 2 | ตอนที่ 3 | ตอนที่ 4 | ตอนที่ 5 | ตอนที่ 6

redline

backled1

isan food header

อาหารพื้นเมืองอีสานมักจะต้องมีส่วนปรุงรส หรือชูรส ด้วยผักพื้นบ้านอีสาน ซึ่งมีเอกลักษณ์ทางด้านถิ่นกำเนิด กลิ่นและรสที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ หายากเพราะมีผลผลิตออกมาตามฤดูกาล นอกจากนั้นยังเป็นพืชผักที่ให้คุณค่าทางด้านสุขภาพอนามัย ปลอดสารพิษ ทำให้เป็นที่นิยมกันทั่วไป ไม่ว่าจะทำอาหารประเภทลาบ ก้อย ต้ม แกง อ่อม ล้วนต้องใช้ผักพื้นเมืองเป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น

samunprai

กะเพรา

กะเพรา ใช้ใบดอกประกอบอาหาร เพิ่มรสชาด สรรพคุณทางยาบำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น แก้ลมตาล ลมทรางในเด็ก ใช้ปรุงผสมกับสมุนไพรอื่นๆ เป็นยาเขียว ยาลมธาตุ ยาแก้กษัย ส่วนรากใช้ฝนใส่ฝาหม้อดินผสมกับสุราขาวหยอดใส่ปากเด็กโต 3-5 ขวบขึ้นไป ช่วยไล่ลมในกระเพาะ ลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ

กะเพรา มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่), ห่อกวอซู ห่อตูปลู อิ่มคิมหลำ (แม่ฮ่องสอน), กะเพราขน กะเพราขาว กะเพราแดง (ภาคกลาง), อีตู่ไทย (ภาคอีสาน) เป็นต้น

ชื่อสามัญ : Holy basil, Sacred basil
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum tenuiflorum L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ocimum sanctum L.) จัดอยู่ในวงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)

 ka prao

กะเพรา เป็นไม้ล้มลุกที่มีความสูงของต้นประมาณ 30-60 เซนติเมตร โคนต้นออกแข็ง กะเพรามีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ กะเพราแดงและกะเพราขาว กะเพราแดงจะมีลำต้นสีแดงอมเขียว กะเพราขาวมีลำต้นสีเขียวอมขาว และยอดอ่อนมีขนสีขาว มีใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวรูปรีออกตรงข้ามกัน ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเป็นจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนสีขาว ส่วนดอกกะเพราจะออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนจะเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ปาก ปากบน 4 แฉก ปากล่าง 1 แฉกและยาวกว่าปากบน มีขนประปราย เกสรตัวผู้มี 4 อัน ส่วนผลเป็นผลแห้ง เล็ก เมื่อแตกออกจะมีเมล็ดสีดำถึงน้ำตาลคล้ายรูปไข่

โดยกะเพราแดงจะมีฤทธิ์ที่แรงกว่ากะเพราขาว ในสรรพคุณทางยาจึงนิยมใช้กะเพราแดง โดยส่วนที่นำมาใช้ทำเป็นยาสมุนไพรก็ได้แก่ ส่วนของใบ ยอดกะเพรา (ทั้งสดและแห้ง) และทั้งต้น แต่ถ้านำมาใช้ประกอบอาหารจะนิยมใช้กะเพราขาวเป็นหลัก เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณทางยาช่วยรักษาโรคได้หลายชนิด ทั้งตำรับยาไทยและต่างประเทศก็ระบุว่า กะเพราเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณหลายด้าน อย่างตำราสมุนไพรไทยบ้านเราก็บรรยายสรรพคุณของกะเพราเอาไว้ว่า รสฉุน ร้อน ช่วยขับลมแก้ซาง แก้ท้องขึ้น จุกเสียดแน่นท้อง ปวดท้อง ช่วยในการย่อยอาหาร และช่วยบำรุงธาตุ เป็นต้น และในต่างประเทศก็มีการใช้กะเพราในการรักษาโรคกันอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าบ้านเราเสียอีก โดยเฉพาะประเทศอินเดีย เขาถือว่า กะเพราเป็นยารักษาโรคได้ทุกโรค และยังจัดเป็นราชินีแห่งสมุนไพร (The Queen of herbs) หรือเป็นยาอายุวัฒนะ (The Elixir of life) เลยก็ว่าได้

กระเทียม

กระเทียม (Garlic) ใช้ปรุงอาหารต่างๆ ช่วยให้มีกลิ่นเผ็ดร้อน ชวนรับประทาน ใช้หัวสดตำทาแก้โรคผิวหนัง เช่น เกลื้อน กลาก ตลอดจนเม็ดผดผื่นคันตามตัวทั่วไป ปรุงผสมสมุนไพรอื่นๆ ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ริดสีดวงลำไส้ ขับลมในกระเพาะ เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยให้นอนหลับง่าย แก้โรคหืด

ชื่อสามัญ : Garlic
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium sativum L. จัดอยู่ในวงศ์พลับพลึง (AMARYLLIDACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย ALLIOIDEAE (ALLIACEAE)

สำหรับในประเทศไทยนิยมปลูกกันมากในทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่สำหรับกระเทียมที่ขึ้นชื่อว่า เป็นกระเทียมไทยคุณภาพดี กลิ่นฉุนกลีบเล็ก นิยมใช้ในการประกอบอาหารไทย ก็คงหนีไม่พ้นในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ โดยเฉพาะที่อำเภอยางชุมน้อย จะเป็นแหล่งปลูกกระเทียมที่สำคัญ การมีวิตามินและแร่ธาตุในกระเทียมมากน้อยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับดินและสภาพอากาศที่ใช้ในการเพาะปลูกด้วย

kra tiam

ประโยชน์ของกระเทียม

ประโยชน์หลักๆ ของกระเทียมคงหนีไม่พ้นการนำมาใช้เพื่อช่วยปรุงรสชาติของอาหาร ไม่ว่าจะใช้ผัด แกง ทอด ยำ ต้มยำ หรือน้ำพริกต่างๆ อีกสารพัด กระเทียมเป็นเครื่องสมุนไพรที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลากหลายชนิด และยังเป็นพืชที่ธาตุซีลีเนียมสูงกว่าพืชชนิดอื่นๆ รวมทั้งยังมีสารอะดีโนซีน (Adenosine) ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิกที่เป็นตัวสร้าง DNA และ RNA ของเซลล์ในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีการนำกระเทียมไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่างหลากหลาย เช่น กระเทียมเสริมอาหาร กระเทียมสกัดผง สารสกัดน้ำมันกระเทียม กระเทียมดอง เป็นต้น

สรรพคุณของกระเทียม

ช่วยบำรุงผิวหนังให้มีสุขภาพดีและแข็งแรง เสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกาย ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง เสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย ลดระดับคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือด ปรับสมดุลในร่างกาย แก้อาการวิงเวียนศีรษะ อาการมึนงง ปวดศีรษะ หูอื้อ ช่วยในเรื่องระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินปัสสาวะ เพราะมีสารที่ช่วยควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว เพิ่มพละกำลังให้มีเรี่ยวแรง รักษาโรคความดันโลหิต ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงของหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เป็นต้น

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก จัดเป็นพืชในวงศ์ Leguminosae นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน เช่น ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง) ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลางบางที่) ผักจี้ลี้ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ยะหา (มลายู-ปัตตานี) และขี้เหล็กจิหรี่ (ภาคใต้) เป็นต้น

ชื่อสามัญ : Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod
ชื่อวิทยาศาสตร์ Senna siamea (Lam.) H.S.Irwin & Barneby (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cassia siamea Lam.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)

kee lek

ขี้เหล็ก เป็นพืชผักสมุนไพรที่หาได้ง่ายตามตลาด นอกจากจะนำมาใช้ทำเป็นอาหารไว้รับประทานแล้ว ในตำราการแพทย์แผนไทยยังได้มีการใช้ประโยชน์ของต้นขี้เหล็กในหลายๆ ด้าน เช่น ใช้แก้อาการท้องผูก บำรุงโลหิต บำรุงน้ำดี ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยกำจัดรังแค ทำความสะอาดผมทำให้ผมชุ่มชื่นเงางาม เป็นต้น และนอกจากนี้ขี้เหล็กยังมีสาร "บาราคอล" (Baracol) ที่มีฤทธิ์ในการกล่อมประสาท และมีฤทธิ์เป็นยานอนหลับอ่อนๆ ทำให้นอนหลับสบาย แต่ก็ใช่ว่ามันจะได้ผลอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะในกระบวนการปรุงอาหารให้ปลอดภัยก็ต้องต้มน้ำทิ้งเสียก่อน เพื่อลดความขมและความเฝื่อน ทำให้ความเป็นพิษและฤทธิ์ดังกล่าวลดน้อยลงไปด้วย โดยส่วนที่นำมาใช้และมีสรรพคุณทางยา ได้แก่ ดอก ใบ ใบแก่ ฝัก เปลือกฝัก เปลือกต้น ลำต้น กิ่ง แก่น ทั้งต้น และราก

คนอีสานบ้านเฮานิยมนำเอาใบอ่อนนำมาต้มจนเปื่อย หมดรสขม นำมาแกงใส่อุ้งตีนวัว หรือหนังวัว/ควายตากแห้ง ปิ้งไฟทุบให้นุ่ม ใส่น้ำใบยานาง บางคนก็ชอบกะทิใส่ลงไปกลายเป็น "แกงขี้เหล็กใส่หนังวัว" แซบอีหลีเด้อสิบอกให่ สรรพคุณทางยา แก่นต้นขี้เหล็กนั้นแก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย บำรุงธาตุไฟแก้หนองในและกามโรคในบุรุษ ราก แก้ไข้หัวลม อากาศเปลี่ยนฤดู แก้ปวดเมื่อย เหน็บชา แก้กษัย บำรุงไต ดอก แก้โรคประสาทอาการนอนไม่หลับ แก้หอบหืด บดผสมน้ำฟอกผมบนศรีษะขจัดรังแค เปลือก แก้ริดสีดวงทวาร ริดสีดวงลำไส้ แก้โรคเบาหวาน สมานแผลให้หายเร็ว ใบแก่ แก้ถอนพิษ ถ่ายพิษ กามโรค ตำพอกที่แข้งขา มือเท้าที่มีอาการบวมเนื่องจากเหน็บชา ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย กิ่ง-ใบ ทำเป็นยาระบายถ่ายพิษ ขับเสลดในคอ แก้ไข้จับสั่น (มาลาเรีย)

โทษของขี้เหล็ก : เมื่อมีประโยชน์ก็มักจะมีโทษแฝงอยู่ เช่น การรับประทานขี้เหล็กในลักษณะที่นำใบขี้เหล็กไปตากแห้ง แล้วบรรจุเป็นเม็ด อาจทำให้เกิดการเสื่อมและการตายของเซลล์ตับ หรืออาจทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ ทำให้เกิดโรคตับได้ ซึ่งการรับประทานขี้เหล็กอย่างปลอดภัย ต้องเลือกใบเพสลาดหรือตั้งแต่ยอดอ่อนถึงใบขนาดกลาง และนำไปต้มให้เดือด เทน้ำทิ้งสัก 2-3 น้ำ แล้วค่อยนำมาปรุงอาหารหรือนำไปทำเป็นยา ซึ่งวิธีการแบบพื้นบ้านนี้จะช่วยฆ่าฤทธิ์และทำลายสารที่เป็นอันตรายต่อตับได้ และยังช่วยลดความขมลงอีกด้วย

ดอกแค

แคขาว แคแดง ยอดใบ ดอกและฝักเรานำมากินเป็นผัก นึ่งใส่ปลา ลวกจิ้มแจ่ว แซบแท้ๆ และยังเป็นยาแก้ท้องเดิน ท้องร่วง สมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้บิด มูกเลือด แก้ไข้หัวลม เปลือกต้นแคนั้นมีสรรพคุณทางยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับเสมหะในลำคอ ใช้ฝนเอามาทาแผลเปื่อย แผลสดได้ผลดี ส่วนใบนำมาตำพอกแผลสดเพื่อสมานเนื้อให้หายเร็ว

สมุนไพรแค มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า แคขาว แคแดง แคดอกขาว ดอกแคแดง แคดอกแดง (กรุงเทพ-เชียงใหม่), แค แคบ้าน ต้นแค แคบ้านดอกแดง ดอกแคบ้าน (ภาคกลาง), แคแกง เป็นต้น

ชื่อสามัญ : Agasta, Sesban, Vegetable humming bird, Humming bird tree, Butterfly tree, Agati
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sesbania grandiflora (L.) Pers. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)

dok kae

ประโยชน์ของแค

ต้นแค นิยมปลูกไว้เป็นรั้วบ้าน ปลูกตามคันนา ริมถนนข้างทาง และปลูกไว้ในบริเวณบ้าน แคเป็นพืชที่มีจุลินทรีย์ที่ปมราก เมื่อจับกับก๊าซไนโตรเจนในอากาศจะผลิตเป็นปุ๋ยที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ต้นแคจึงเป็นพืชที่ช่วยปรับปรุงดินไปได้ในตัวอีกด้วย ใบใช้เป็นอาหารสัตว์ เลี้ยงโคกระบือได้ดี และเป็นที่ชื่นชอบของโคกระบือ ไม้ใช้ทำเป็นฟืนหรือเชื้อเพลิงได้ ลำต้นนิยมนำมาใช้ในการเพาะเลี้ยงเห็ดหูหนูได้ดี ประโยชน์ของดอกแค ฝักอ่อน ยอดอ่อน และใบอ่อน สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เมนูดอกแค เช่น แกงแค, แกงส้มดอกแค, ดอกแคสอดไส้, ดอกแคห่อกุ้งทอด, แกงเหลืองปลากะพง, แกงจืดดอกแค, ดอกแคชุบแป้งทอด, ดอกแคผัดหมู, ดอกแคผัดกุ้ง, ดอกแคผัดเต้าเจี้ยว, ดอกแคผัดกะเพรา, ยำดอกแค, ส่วนใบอ่อน ยอดอ่อน และฝักอ่อนนำมาลวกจิ้มกินกับน้ำพริกก็ได้ เป็นต้น

สำหรับชาวอีสาน นิยมนำดอกแคและยอดอ่อนมานึ่งหรือย่าง รับประทานร่วมกับลาบ ก้อย แจ่ว และดอกยังนำมาปรุงเป็นอาหารประเภทอ่อมอีกด้วย บ้านเรานิยมกินดอกและยอดอ่อน แต่สำหรับประเทศอื่นๆ บางประเทศจะนิยมกินดอกแคสดหรือนำมานึ่งเป็นสลัดผัก ส่วนฝักจะใช้รับประทานเหมือนกับถั่วฝักยาว

สรรพคุณทางยาของแค

ดอก, ยอดอ่อนแค อุดมไปด้วยวิตามินซึ่งมีส่วนช่วยต่อต้านและยับยั้งมะเร็ง เพราะมีสารที่มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้เป็นอย่างดี ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยป้องกันและรักษาอาการหวัด ช่วยบำรุงและรักษาสายตา เนื่องจากมีเบตาแคโรทีนที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้

ใบสด, ดอกโตเต็มที่ ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย แก้ร้อนใน กระหายน้ำ เปลือกต้นช่วยคุมธาตุในร่างกาย ฝักช่วยในเรื่องความจำ ป้องกันการเกิดเนื้องอก บรรเทาอาการไข้ ปวด โลหิตจาง ด้วยการใช้ฝักแคสด 20 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำ 1 ลิตร ประมาณ 30 นาที กรองเอาฝักออก นำมาดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน

ในประเทศอินเดีย ใช้ใบช่วยแก้โรคตาบอดตอนกลางคืน ด้วยการใช้ใบสด 20 กรัม เทน้ำเดือด 1 ลิตร ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วกรองเอาใบแคออก นำมาดื่มแก้อาการ ส่วนดอกแคมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ ลดอาการไข้ ถอนพิษไข้ในร่างกาย ช่วยแก้ไข้หัวลมหรือไข้เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดู ด้วยการใช้ดอกหรือใบนำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้ดอกที่โตเต็มที่นำมาล้างน้ำ แล้วต้มกับหมูทำหมูบะช่อ 1 ชาม แล้วรับประทานวันละ 1 มื้อ ติดต่อกัน 3-7 วัน อาการก็จะดีขึ้น ช่วยบำรุงและเสริมสร้างกระดูกและฟัน เนื่องจากอุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัส

ตำลึง

ต้นตำลึง จัดเป็นไม้เลื้อย โคนใบมีลักษณะเหมือนรูปหัวใจ มีมือเกาะที่ยื่นออกมาจากที่ข้อ ดอกมีทั้งดอกเดี่ยวและดอกคู่ กลีบดอกมีสีขาว และดอกมีลักษณะคล้ายรูประฆัง

ตำลึง หรือ ใบตำนิน (ก็ว่า) ใบเป็นผักใช้ทำอาหารได้หลายอย่างทั้ง ผัด ลวก นึ่ง หรือจะใส่ในแกงก็อร่อย มีชื่อสามัญ : Ivy gourd และชื่อวิทยาศาสตร์ : Coccinia grandis (L.) Voigt (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cephalandra indica (Wight & Arn.) Naudin) จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)

ตำลึง มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ตำลึง, สี่บาท (ภาคกลาง), ผักแคบ (ภาคเหนือ), ผักตำนิน (ภาคอีสาน), แคเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น

tam leung

สรรพคุณของตำลึง

ตำลึงช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันความเสื่อมความเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อในร่างกาย ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้เถาแก่ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำหรือจะใช้น้ำคั้นจากผลดิบ นำมาดื่มวันละ 2 รอบ เช้า,เย็น จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มระดับอินซูลิน ป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง โรคหัวใจขาดเลือด จึงช่วยป้องกันการเกิดอัมพาตด้วย ให้แคลเซียมจึงช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง มีวิตามินเอจึงช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยบำรุงน้ำนมแม่ ฯลฯ

ประโยชน์ของตำลึง

นิยมใช้ยอดและใบกินเป็นผักสด อาจจะลวกหรือต้มจิ้มกินกับน้ำพริก และใช้ในการประกอบอาหารได้หลายอย่าง เมนูตำลึง เช่น แกงจืด ต้มเลือดหมู แกงเลียง ก๋วยเตี๋ยว ผัดไฟแดง ไข่เจียว เป็นต้น ใช้เถาและใบช่วยกำจัดกลิ่นตัว กลิ่นเต่า ด้วยการนำมาตำผสมกับปูนแดงแล้วทาบริเวณรักแร้ ส่วนยอดใช้ทำทรีตเม้นต์ทำให้ผิวหน้าเต่งตึง ด้วยการใช้ยอดตำลึงครึ่งถ้วยและน้ำผึ้งแท้ครึ่งถ้วย นำมาผสมกันแล้วปั่นในโถให้ละเอียด แล้วนำมาพอกหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วล้างออก

ฟักทอง

ฟักทอง แบ่งออกเป็น 2 ตระกูล ตระกูลแรกก็คือ ฟักทองอเมริกัน (Pumpkin) ผลใหญ่ เนื้อยุ่ย และฟักทองสควอช (Squash) ซึ่งได้แก่ฟักทองไทยและฟักทองญี่ปุ่น โดยฟักทองไทยนั้น ผิวของผลขณะยังอ่อนจะเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสลับเขียว ผิวมีลักษณะขรุขระเล็กน้อย เปลือกจะแข็ง เนื้อด้านในเป็นสีเหลือง พร้อมด้วยเมล็ดสีขาวแบนๆ ติดอยู่

ฟักทอง หรือ หมากอึ (ภาคอีสาน), หมักอื้อ (เลย), มะฟักแก้ว ฟักแก้ว (ภาคเหนือ), มะน้ำแก้ว  หมากฟักเหลือง (แม่ฮ่องสอน), น้ำเต้า (ภาคใต้)

ชื่อสามัญ : Pumpkin
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cucurbita moschata Duchesne จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)

fug thong

ฟักทอง อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุแมงกานีส ธาตุเหล็ก ซิงค์ เป็นต้น

ฟักทอง ยังเป็นอาหารเพื่อสุขภาพของผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักอีกด้วย เพราะฟักทองมีกากใยที่สูงมาก มีแคลอรีและไขมันน้อย จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการลดความอ้วนและควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดี เพียงแค่รับประทานฟักทองหนึ่งถ้วยหรือ 3 กรัม จะทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่มได้นานขึ้น

ฟักทอง แม้จะมีประโยชน์ต่อร่างกายอยู่มาก แต่การรับประทานอย่างไม่เหมาะสมก็อาจเกิดโทษได้เช่นกัน เนื่องจากฟักทองนั้นมีฤทธิ์อุ่น ไม่เหมาะกับผู้ที่กระเพาะร้อน เช่น ผู้ที่มักมีอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะเหลือง ท้องผูก มีแผลในช่องปาก เหงือกบวมเป็นประจำ เป็นต้น ซึ่งผู้ที่มีอาการเหล่านี้ไม่ควรรับประทานฟักทองในปริมาณที่มากเกินไปหรือบ่อยเกินไป แม้กระทั่งในคนปกติเองก็ตาม ก็ไม่ควรรับประทานอย่างไร้สติ เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้องได้

เป็นพืชล้มลุก มีเถายาวเลื้อยปกคลุมดิน ผลมีขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นพูเล็กๆ โดยรอบเปลือกนอกขรุขระและแข็ง มีสีเขียวและจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อนและ สีเหลืองเข้ม ตามลำดับ เนื้อภายในมีสีเหลืองอมเขียว สีเหลือง และสีส้ม เมล็ดมีจำนวนมากซึ่งอยู่ตรงกลางผลระหว่างเนื้อฟูๆ มีรูปร่างคล้ายไข่ แบน มีขอบนูนอยู่โดยรอบ

เนื้อฟักทองประกอบด้วยแป้ง โปรตีน ไขมัน ฟอสฟอรัส แคลเซียม เหล็ก และ สารเบต้า - แคโรทีน ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายนำไปสร้างวิตามิน เอ เมล็ดมีฟอสฟอรัสในปริมาณสูง รวมทั้งแป้ง โปรตีน และน้ำประมาณร้อยละ 40 ส่วนเมล็ดแห้งมีสารคิวเคอร์บิทีน (Cucurbitine) เป็นสารสำคัญ ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าพยาธิได้ผลดี นอกจากนั้น ฟักทองสามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ซึ่งช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิต ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด บำรุงนัยน์ตา ตับและไต เมล็ดใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด ป้องกันการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และช่วยดับพิษปอดบวม รากช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ยางช่วยแก้พิษผื่นคัน เริม และงูสวัด

มะเขือเทศ

"มะเขือเทศ คือ ผลไม้" ซึ่งเป็นไปตามคำนิยามของหลักทางพฤกษศาสตร์ เพราะผลไม้คือส่วนของรังไข่ที่เจริญเติบโตเต็มที่ของพืชดอก ส่วนผักคือพืชที่กินได้ของพืชล้มลุก ไม่ว่าจะเป็นราก ใบ ก้าน หัว หน่อ ดอก ซึ่งโดยปกติแล้วคนส่วนมากมักเข้าใจผิดว่า "มะเขือเทศคือผัก" เพราะนำไปใช้ประกอบอาหารกันเป็นส่วนส่วนใหญ่ และมักคิดว่าผลไม้คือสิ่งที่ให้ความหวานนั่นเอง โดยมะเขือเทศที่นิยมรับประทานมากคือ มะเขือเทศสีดา มะเขือเทศราชินี

ชื่อสามัญ : Tomato
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lycopersicon esculentum Mill. จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)

ma kua tes

มะเขือเทศ นอกจากจะเป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานกันมากที่สุดในโลกแล้ว ประโยชน์ของมะเขือเทศยังมีอยู่มากมาย เพราะอุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินซี วิตามิเอ วิตามินเค วิตามินพี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุเหล็ก โดยมะเขือเทศขนาดปานกลางนั้น จะมีปริมาณของวิตามินซีครึ่งหนึ่งของส้มโอทั้งลูก และมะเขือเทศหนึ่งผล จะมีปริมาณวิตามินเอที่ร่างกายต้องการจำนวน 1 ใน 3 ของวิตามินเอที่ร่างกายต้องการต่อวันเลยทีเดียว และยังมีสารจำพวกไลโคปีน (Lycopene) แคโรทีนอยด์ เบตาแคโรทีน และกรดอะมิโน เป็นต้น และมะเขือเทศยังจัดว่า เป็นผลไม้ที่มีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคได้อีกด้วย เช่น ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด ขับปัสสาวะ รักษาความดัน เป็นต้น

มะเขือเทศ ฅนอีสานบ้านเฮามักเอาใส่ตำบักหุ่ง (แซบอีหลี) ให้วิตามินซี แก้เลือดออกตามไรฟัน (ลักปิดลักเปิด) หากกินสม่ำเสมอจะทำให้ไม่เป็นมะเร็งในลำไส้ แก้โรคนอนไม่ค่อยหลับ หรือมักนอนผวา สะดุ้ง หรืออาการตกใจง่ายๆ

มะละกอ

มะละกอ (Papaya) หรือ หมากหุ่ง หรือบักหุ่ง ผลไม้สารพัดประโยชน์ในด้านอาหารของชาวอีสาน จะแห้งแล้ง อุดมสมบูรณ์ ถ้ามีหมากหุ่งละก็รอดตายเลย ใช้ทำส้มตำรสแซบ แกง หรือผัด ผลสุกกินเป็นของหวาน ตัดเป็นชิ้นๆ ลงในต้มเนื้อจะทำให้เนื้อเปื่อยง่าย เร็ว เพราะมีเอนไซม์ที่ชื่อว่า Papain ซึ่งเป็นส่วนประกอบของผงหมักสำเร็จรูปที่เราเห็นขายกันอยู่ตามท้องตลาดนั่นเอง ลูกเขยฝรั่งต่างบ้านมาได้เมียไทยก็แซบแป๋ตายกับ ตำปาปาย่า ป๊อกๆ

ชื่อสามัญ : Papaya
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carica papaya L. จัดอยู่ในวงศ์มะละกอ (CARICACEAE)

malakor

มะละกอ เป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีต้นกำเนิดจากอเมริกากลาง เป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่นิยมรับประทานกันมากในบ้านเรา ด้วยการรับประทานสดๆ หรือนำมาประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ก็ได้ มะละกอนั้นจัดว่าเป็นไม้ล้มลุก (หลายๆ คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น)

สรรพคุณทางยา ราก รสฉุนเอียนใช้แก้โรคหนองใน ขับเลือด หนองในกระเพาะปัสสาวะ บำรุงไต ก้านใบ มีสรรพคุณเช่นเดียวกัน กับทั้งฆ่าพยาธิในลำไส้และในกระเพาะอาหาร แก้โรคมุตกิต ระดูขาว เหง้า ตรงที่ฝังดินมีรากงอบโดยรอบ ใช้ทำยาขับและละลายเม็ดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้ผลดี

แต่มีคำแนะนำว่า ไม่ควรรับประทานมะละกอสุกในปริมาณมากๆ หรือติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจจะทำให้ผิวของคุณเปลี่ยนเป็นสีเหลืองได้

ลิ้นฟ้า

เพกา หรือ ลิ้นฟ้า (Broken bones tree) จัดเป็นพืชสมุนไพรที่นิยมนำฝักอ่อน ยอดอ่อน และดอกมารับประทานคู่กับน้ำพริก และอาหารในเมนูซุปหน่อไม้ และลาบต่างๆ เนื่องจากให้ความกรอบ นุ่ม และมีรสขมเล็กน้อย ทำให้เพิ่มรสชาติของอาหาร ช่วยกลบรสอาหารส่วนเกิน และให้คุณค่าทางสมุนไพรในการบรรเทา และรักษาโรคต่างๆได้ดี

มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีก เช่น ลิ้นฟ้า (ภาคอีสาน), กาโด้โด้ง (กาญจนบุรี), ดุแก ดอก๊ะ ด๊อกก๊ะ (แม่ฮ่องสอน), เบโด (นราธิวาส), มะลิ้นไม้ มะลิดไม้ ลิดไม้ (ภาคเหนือ), โชยเตียจั้ว (จีน) เป็นต้น

ชื่อสามัญ : Broken bones tree, Damocles tree, Indian trumpet flower
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oroxylum indicum (L.) Kurz จัดอยู่ในวงศ์แคหางค่าง (BIGNONIACEAE)

ต้นเพกา จัดเป็นไม้ยืนต้นและเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และรวมถึงประเทศไทยบ้านเราด้วย โดยพบได้ตามป่าเบญจพรรณและป่าชื้นทั่วไป แม้ว่าต้นเพกาจะมีอยู่ในหลายๆ ประเทศ แต่มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่นำเพกามารับประทานเป็นผัก (จัดอยู่ในหมวดดอกฝัก)

linfah peka

เพกา มีสรรคุณเป็นยา ตามตำรายาสมุนไพรนั้นเราจะใช้ส่วนต่างๆ ของต้นเพกาตั้งแต่ราก เปลือกต้น ฝัก ใบ รวมไปถึงเมล็ด ซึ่งจัดเป็นสมุนไพร "เพกาทั้ง 5" และหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานฝักอ่อนของเพกา เพราะอาจทำให้แท้งบุตรได้ เนื่องจากฝักของเพกามีฤทธิ์ร้อนมาก

ตามความเชื่อของคนโบราณนั้น ห้ามปลูกเพกาไว้ในบริเวณบ้าน เนื่องจากฝักของเพกามีรูปร่างคล้ายดาบหรือปลายหอก อาจทำให้ผู้อยู่อาศัยมีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจเลือกตกยางออกได้ และเพกายังเป็นชื่อเรียกของเหล็กประดับยอดพระปรางค์ เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายฝักของเพกา จึงถือว่าเป็นของสูงไม่คู่ควรแก่การนำมาปลูกไว้ในบ้าน แต่ถ้าจะไปปลูกไว้ตามไร่ตามสวน หรือรั้วบ้านก็คงจะไม่เป็นไร

เพกา ผักพื้นบ้านต้านมะเร็ง จากความเชื่อของคนโบราณที่บอกว่า กินฝักเพกาแล้วจะทำให้ไม่เจ็บป่วยนั้น มีรายงานการศึกษาที่น่าสนใจในไทยคือ เพกาเป็นผักใน 4 ชนิดที่มีฤทธิ์ต้านการก่อมะเร็งสูงสุด ซึ่งไม่น่าแปลกใจเลย เนื่องจากในฝักเพกามีวิตามินสูงมาก และยังมีวิตามินเอมากถึง 8,221 มิลลิกรัม ใน 100 กรัม พอๆ กับตำลึงทีเดียว เช่นเดียวกับการศึกษาพืชสมุนไพรในบังกลาเทศ พบว่าในพืชสมุนไพรพื้นบ้าน 11 ชนิด เพกาแสดงฤทธิ์ต้านมะเร็งทุกชนิดสูงสุด รองลงไปคือมะตูม

สารสกัดฟลาโวนอยด์ที่ได้จากเปลือกต้นเพกา มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ การแพ้ (anti-inflammatory and anti-allergic) ทั้งมีฤทธิ์ยับยั้งการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ สารลาพาคอล (lapacol) ที่สกัดได้จากรากเพกา มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5-ไลพอกซีจีเนส (5-lipoxygenase) ที่ทำให้เกิดการอักเสบ นอกจากนี้การรับประทานฝักเพกาหรือยอดอ่อนยังสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดได้

คุณค่าทางโภชนาการ ผลเพกา (ฝักอ่อน) ในส่วนที่กินได้ น้ำหนัก 100 กรัม ให้ไขมัน 0.51 กรัม คาร์โบไฮเดรต 14.3 กรัม โปรตีน 0.23 กรัม เส้นใย 4.3 กรัม แคลเซียม 13 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม วิตามินเอ 8,221 หน่วย วิตามินซี 484 มิลลิกรัม มีประโยชน์ช่วยป้องกันมิให้เซลล์ร่างกายแก่เร็วเกินไป ปกป้องอนุมูลอิสระมิให้เกิดขึ้นในร่างกาย อันเป็นผลทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งได้ หากรับประทานร่วมกับอาหารที่มีวิตามินอีสูงๆ เช่น รำข้าวในข้าวกล้อง ช่วยเสริมฤทธิ์ในการป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกายได้อย่างสมบูรณ์อีกด้วย

หมากมี้

ขนุน (Jackfruit) ผลไม้ในหลากหลายชื่อ ภาษาอีสานก็เอิ้นกันว่า บักมี่, หมากมี้ ภาษาเหนือเรียกขนุนว่า บะหนุน พอลงมาทางใต้ ภาษาใต้เรียก หนุน หรือ ลูกหนุน มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ขะนู (จันทบุรี), นะยวยซะ (กาญจนบุรี), เนน (นครราชสีมา), ซีคึย ปะหน่อย หมากกลาง (แม่ฮ่องสอน), นากอ (ปัตตานี), มะหนุน (ภาคเหนือ ภาคใต้), ลาน ล้าง (ภาคเหนือ) และชื่ออื่นๆ เช่น ขะเนอ, ขนู,นากอ, มะยวยซะ, Jack fruit tree เป็นต้น

ชื่อสามัญ : Jackfruit, Jakfruit
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus heterophyllus Lam. จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE)

พันธุ์ขนุน มีอยู่หลายสายพันธุ์ ซึ่งสีของเนื้อก็แตกต่างกันออกไปด้วยตามแต่ละสายพันธุ์ ขนุนบางสายพันธุ์มีรสหวานใช้รับประทานได้ แต่บางพันธุ์มีรสจืดไม่นิยมนำมารับประทาน โดยสายพันธุ์ขนุนที่นิยมปลูกในประเทศไทยก็ได้แก่ พันธุ์ตาบ๊วย (ผลใหญ่ เนื้อหนา สีจำปาออกเหลือง), พันธุ์ทองสุดใจ (ผลใหญ่ยาว เนื้อเหลือง), พันธุ์ฟ้าถล่ม (ผลค่อนข้างกลมและใหญ่มาก มีเนื้อสีเหลืองทอง), พันธุ์จำปากรอบ (ผลขนาดกลาง รสหวานอมเปรี้ยว เนื้อสีเหลือง) ฯลฯ

mak mee kanoon

ต้นขนุน จัด เป็น 1 ใน 9 ไม้มงคลของไทย ไม้ขนุนมีความหมายว่า การช่วยหนุนบารมี เงินทอง ความร่ำรวย ให้ดียิ่งขึ้น มีผู้ให้การเกื้อหนุนจุนเจือ โดยนิยมปลูกไว้หลังบ้านด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในส่วนของแก่นไม้หรือเนื้อไม้ของขนุนจะมีสีเหลืองเข้มออกน้ำตาล เมื่อนำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าจะให้สีเหลืองน้ำตาล (สมัยก่อนเปลือกนำมาต้มย้อมผ้าจีวรพระ) และนอกจากนั้นไม้ขนุนยังใช้ทำอุปกรณ์เครื่องเรือน และเครื่องดนตรี (พิณ หรือ ซุง ของคนอีสานทำจากไม้หมากมี้) ได้อีกด้วย

นอกจากขนุนจะเป็นไม้มงคลนามแล้ว ก็ยังเป็นผลไม้ที่มีเนื้อหอมหวานอร่อยอีกด้วย และยังนำมาทำเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู แต่สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขนุนหรือรับประทานแต่น้อยเพราะมีรสหวาน นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรอีกด้วย ส่วนที่นำมาใช้เป็นยารักษาอาการต่างๆ ได้แก่ ใบ ยวง เมล็ด แก่น ส่าแห้งของขนุน

สรรพคุณทางยาของบักมี้ ใบขนุนอ่อนๆ จะแบบสดกินเคียงกับลาบ ส้มตำ หรือจะเอามาต้มกินกับน้ำพริกก็ได้ และรสฝาดนั้นยังใช้บดโรยแผลมีหนองเรื้อรังได้ ราก บำรุงโลหิต แก้กามโรค ขับพยาธิ ระงับประสาท แก้โรคลมชัก ยางขนุน มีรสฝาด แก้แผลอักเสบ บวม แผลมีหนองเรื้อรัง แก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ เนื้อหุ้มเมล็ดสุก บำรุงกำลัง บำรุงการทำงานของหัวใจ เป็นยาระบายอ่อนๆ อีกทั้งยังนำไปหมักเหล้าได้ เนื้อในเมล็ด (จากเมล็ดขนุนต้ม) มีรสมัน บำรุงน้ำนม บำรุงกำลัง เนื้อขนุนสุก เป็นยาระบายอ่อนๆ

อีรอก

บุกอีรอกเขา หรือ ต้นอีรอก เป็นผักพื้นเมืองทางภาคอีสาน จะมีเหง้าอยู่ใต้ดิน และจะจำศีลข้ามปี เพื่อรอฤดูฝนกลับมาจึงจะแทงกิ่งก้านใหม่อีกครั้ง ต้นบุกอีรอกเขา เมื่อถึงฤดูหนาวจะเหี่ยวเฉาฝั่งตัวในดิน และรอฝนรอบต่อไป มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า บุก, อีรอก, ดอกก้าน เป็นต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amorphophallus brevispathus Gagnep. จัดอยู่ในวงศ์บอน (ARACEAE)

เป็นพืชอาหาร ดอกอ่อนนำมาลอกเปลือกลวกรับประทานกับน้ำพริก หรือใช้ปรุงอาหารประเภทนึ่งต่างๆ เช่น แกงเห็ด แกงหน่อไม้ เป็นต้น ลำต้นที่อ่อนอวบสามารถกินได้ นำลำต้นไปทำแกงให้ได้รสชาติตามต้องการ ให้ตัดดอกและใบออก ต้ม 5 นาที อีรอกจะอ่อนนุ่ม เพิ่มการกินได้ง่ายขึ้น

e rog

เป็นผักที่คุณค่าทางอาหาร โดยเฉลี่ยแล้ว อีรอก 100 กรัม จะมีพลังงาน 95 แคลอรี แคลเซียม 15 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัสมี 36 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 21.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.1 กรัม เหล็ก 0.6 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัสมีมากในผักอีกรอก นิยมใช้บำรุงกำลังช่วยในการสูบฉีดโลหิต ป้องกันโรคไหลตายได้

สรรพคุณของบุกอีรอกเขา

หัวมีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาลจากทางเดินอาหาร ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ลดน้ำหนัก ใช้เป็นยากัดเสมหะ เป็นยาแก้เถาดาล ที่จุดเป็นก้อนกลิ้งอยู่ในท้อง บางข้อมูลระบุว่า หัวใช้เป็นยาพอกกัดฝีหนอง

เครือหมาน้อย

หมาน้อย เป็น ไม้เถาเลื้อย ในวงศ์ MENISPERMACEAE มีชื่อเรียกอื่นๆ ตามท้องถิ่น เช่น กรุงเขมา (อ่านว่า กรุง-ขะ-เหมา) มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า เปล้าเลือด (แม่ฮ่องสอน), หมอน้อย, หมาน้อย (อุบลราชธานี), สีฟัน (เพชรบุรี), กรุงเขมา (นครศรีธรรมราช), เครือหมาน้อย (ภาคอีสาน), ก้นปิด (ภาคตะวันตกเฉียงใต้), กรุงเขมา ขงเขมา พระพาย (ภาคกลาง), อะกามินเยาะ (มลายู-นราธิวาส), ยาฮูรู้ ซีเซิงเถิง อย่าหงหลง (จีนกลาง), วุ้นหมอน้อย, หมาน้อย เป็นต้น 

กรุงเขมา ชื่อสามัญ Icevine, Pareira barva
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cissampelos pareira L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cissampelos poilanei Gagnep., Cissampelos pareira var. hirsuta (Buch.-Ham. ex DC.) Forman) จัดอยู่ในวงศ์บอระเพ็ด MENISPERMACEAE

ma noi

หมาน้อย หรือ กรุงเขมา เป็นพรรณไม้เถาเลื้อยขนาดกลางเนื้อแข็ง ไม่มีมือเกาะ เลื้อยพาดพันตามต้นไม้อื่นๆ ยาวได้ประมาณ 1 เมตร มีรากสะสมอาหารใต้ดิน มีขนนุ่มสั้นขึ้นปกคลุมหนาแน่นตามเถา กิ่ง ช่อดอก และใบ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดหรือเหง้า ชอบดินร่วนปนทราย มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย แอฟริกา และอเมริกา ในประเทศไทยพบขึ้นทางภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันตกเฉียงใต้ พบขึ้นในป่าดิบ ป่าผลัดใบ และป่าไผ่ ตามริมแม่น้ำลำธาร ตั้งแต่พื้นที่ระดับน้ำทะเลจนถึงความสูงประมาณ 1,100 เมตร ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนธันวาคม ในปัจจุบันนิยมนำมาปลูกไว้ในครัวเรือน เพราะเป็นพืชปลูกง่าย ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี จะปลูกลงดินให้เลื้อยกับไม้ใหญ่หรือทำค้างแบบปลูกถั่วก็ได้ เพราะสามารถเก็บผลผลิตมาขายเป็นอาหารพื้นบ้าน ใช้เป็นอาหารสัตว์ของโคกระบือ และนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้ดี

ประโยชน์ของเครือหมาน้อย

ใบนำมาคั้นเอาน้ำ เมื่อผสมกับเครื่องปรุงอาหารจะทำให้มีลักษณะเป็นวุ้น โดยใบกรุงเขมาจะมีสารเพกทินอยู่ประมาณ 30% (มีคุณสมบัติในการพองตัวอุ้มน้ำ) ถ้านำใบมาขยำกับน้ำ กรองเอากากออก เมื่อทิ้งไว้จะแข็งตัวเป็นวุ้น เรียกว่า "วุ้นหมาน้อย" สามารถนำมารับประทานเป็นอาหารได้ โดยนำใบมาประมาณ 20 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด แล้วหาชามใบใหญ่ๆ นำใบกรุงเขมามาขยี้กับน้ำ 1 แก้ว ขยี้ไปเรื่อยๆ จะรู้สึกว่ามีเมือกลื่นๆ มีฟองเล็กน้อย ขยี้ไปจนได้น้ำสีเขียวเข้ม จากนั้นให้แยกเอากากออกแล้วกรองด้วยผ้าขาวบางเอาแต่น้ำไว้ (ระหว่างคั้นใบให้คั้นใบย่านางผสมลงไปด้วย ซึ่งจะช่วยให้วุ้นแข็งตัวเร็วขึ้น) หลังจากกรองได้น้ำแล้ว ก็นำไปปรุงอาหารคาวหรือหวานได้ ถ้าเป็นอาหารคาว จะมีการเติมตั้งแต่เนื้อปลาสุก ปลาป่น ปลาร้า ผักชี หัวหอม ต้นหอม ข่า ตะไคร้ พริก เกลือป่น ฯลฯ จากนั้นก็เทน้ำคั้นหมาน้อยลงในถาด พอทิ้งไว้ราว 4-5 ชั่วโมง จะได้วุ้นอาหารคาวรสแซ่บ ตัดวุ้นออกเป็นชิ้น ๆ ให้พอดีคำ จะเป็นอาหารรับลมร้อนที่ดีมาก ส่วนคนอีสานจะนิยมนำมาทำเป็นเมนู "ลาบหมาน้อย" แบบแซบ (แล้วแต่ผู้มัก)

ma noi 2

ถ้าจะทำเป็นของหวาน อาจคั้นเอาน้ำใบเตยผสมลงไปด้วย แต่งเติมด้วยน้ำเชื่อม น้ำกะทิ ถ้าให้ดีก็ผสมน้ำผึ้ง ทิ้งไว้ให้เย็น เมื่อได้วุ้นหวานเย็นนี้มาก็ให้หั่นเป็นชิ้น ๆ นำมาใส่กับน้ำแข็งน้ำหวาน ใช้ดื่มกินอร่อยนัก เป็นขนมหวานเลิศรสที่อร่อยและดีต่อสุขภาพ โดยจะมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรที่เหมาะกับฤดูร้อน เพราะให้รสเย็น ช่วยแก้ไข้ ลดความร้อนในร่างกาย อีกทั้งวุ้นหมาน้อยยังเป็นวุ้นธรรมชาติที่ให้เพกทินสูง จึงช่วยเพิ่มกากอาหารในลำไส้ ช่วยย่อย แก้ปวดท้อง แก้ร้อนใน ช่วยในการขับถ่าย ดูดสารพิษจากทางเดินอาหาร ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง ลดการดูดซึมของน้ำและไขมัน จึงเหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ส่วนผู้ที่ฟื้นไข้เมื่อได้รับประทานแล้วจะช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า

ในด้านความงามก็สามารถนำใบมาทำเป็นสมุนไพรมาส์กหน้า บำรุงผิว แก้สิวได้ด้วย เพียงแค่เด็ดใบนำมาล้างน้ำ ขยี้ใบให้เป็นวุ้นๆ แล้วนำพอกหน้า หลังพอกจะรู้สึกผิวหน้าเต่งตึงสดใสเปล่งปลัง รู้สึกเย็นสบาย ช่วยแก้อาการอักเสบและสิวได้ ในปัจจุบันจึงมีผู้นำไปผลิตเป็นเจลพอกหน้ากันแล้ว

สรรพคุณทางยาของกรุงเขมา หรือ เครือหมาน้อย

ทั้งต้นกรุงเขมามีรสขม ชุ่มหวานเล็กน้อย เป็นยาอุ่น ใช้เป็นยาฟอกเลือด กระจายเลือด แก้เลือดกำเดา (ทั้งต้น) หรือใช้รากเป็นยาแก้โลหิต กำเดา เปลือกและแก่นเป็นยาบำรุงโลหิต ลำต้นใช้เป็นยาบำรุงโลหิตสตรี เนื้อไม้ใช้เป็นยารักษาโรคโลหิตจาง รากมีกลิ่นหอม รสสุขม ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ เป็นยาเจริญอาหาร เป็นยาบำรุง หมอยาไทยจะใช้รากนำมาทำให้เป็นผงละลายกับน้ำผึ้งกิน หรือขยี้กับน้ำ ดื่มเป็นยาอายุวัฒนะ รวมทั้งใช้รากเป็นส่วนประกอบในแป้งเหล้า โดยเชื่อว่าจะช่วยบำรุงร่างกาย ใช้เป็นยาสงบประสาท ใช้ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาลดความดันโลหิต ส่วนหมอยาพื้นบ้านบราซิลก็ใช้กรุงเขมาในสรรพคุณนี้เช่นกัน โดยใช้ราก ต้น เปลือก และใบนำมาต้มกิน เพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น

 

ผักพื้นบ้านอีสาน : ตอนที่ 1 | ตอนที่ 2 | ตอนที่ 3 | ตอนที่ 4 | ตอนที่ 5 | ตอนที่ 6

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)