isan thai words

ภาษาพูดของผู้คนในภาคอีสานนั้นมีหลายสำเนียงที่แตกต่างกันไป ไม่มี "ภาษาอีสาน" นะครับ มีแต่เป็นภาษาพูดดั้งเดิมของชนเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ซึ่งมีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ [ เรื่องที่เกี่ยวข้อง : ชาติพันธุ์ชนเผ่าไทยในอีสาน ] ดังนั้น เมื่อท่านเดินทางไปท่องเที่ยวอีสาน ท่านจะได้ฟังสำเนียงเสียงพูดที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละจังหวัด คำที่เสนอในที่นี่รวบรวมมาจากที่กระผมอาวทิดหมู มักหม่วน ได้ตอบไว้ใน Facebook Fanpage มาแล้วแต่ค้นหาย้อนหลังยาก ท่านเว็บมาดเซ่อเลยขอร้องแกมบังคับให้นำมารวบรวมไว้ที่นี่อีกครั้งหนึ่ง แฟนนานุแฟนที่ต้องการทราบความหมายของคำ หรือประโยคใดก็สอบถามเพิ่มเติมมาได้นะขอรับ ยินดีนำมาตอบให้ทราบทั้งในเว็บไซต์และเฟซบุ๊คต่อไป

หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14

redline

คำที่น่าสนใจนำมาเสนอในวันนี้คือ...

ไง-ฝาละไง-บ่วง-ส้างฮ้าง-เกื่อย-เฟือด-จั้น-แส่ง-เถียง-ไท้-แถน 

ไง

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "ไง"

อ้ายแอดมินให้น้องถามแหน่ "อีแม่เลาชวนไปหากบเข้าไง" น้องอยากฮู้ว่า "เข้าไง" มันเป็นจั่งใด๋น้ออ้าย

ไง น. ฝาปิดปากหอย เรียก ไงหอย กบซ่อนอยู่ในดินในฤดูแล้ง เรียก กบเข้าไง กบจำศีล ก็ว่า. hard "door" of snail shell, also: estivation (of frog in burrow).

ฝาละไง น. ฝาปิด เครื่องปิดหม้อ เรียก ฝาละไงหม้อ ปิดไห เรียก ฝาละไงไห ปิดปากหอย เรียก ฝาละไงหอย. lid (of pot), hard pad on snail with which it closes itself in its shell.

กบเข้าไง กะคือ กบจำศีล นั่นหล่ะ คำว่า "ไง" คือฝาปิด การที่กบไปขุดหลุมริมหนองน้ำในหน้าแล้งแล้วเอาดินมาปิดกลบ เพื่อหลบจำศีลในหน้าแล้ง ฝาปิดนี่คือ "ไง"

ngai

เช่นเดียวกับหอย ฝาปิดก็เรียกว่า ไง เหมือนกัน อย่างหอยจูบเวลาตัดก้นหอยเอามาอ่อม ตอนกินก็ดูดที่ปากหอยที่เขี่ยไงออกแล้วทำการดูดจ๊วบอย่างแรง และเนื้อหอยก็หลุดออกมาให้เคี้ยวกรุบๆ เลยเรียกว่ากิน แกงบักหอยจูบ (ทางภาคกลางเรียกว่า หอยขม)

คนอีสานสมัยก่อนเวลาเอาหอยกาบมาต้มกินเนื้อแล้ว ก็นำเอาเปลือกหอยกาบมาทำเป็น ช้อน เรียกว่า "บ่วงหอย"

บ่วง น. ช้อนสำหรับตักอาหาร เรียก บ่วง ทำด้วยหอยเรียก บ่วงหอย ทำด้วยหอยกีบกี้เรียก บ่วงหอยกีบกี้ ทำด้วยกะลามะพร้าว เรียก บ่วงกะโป๋หมากพร้าว อย่างว่า มีจองบ่มีด้ามชิเป็นบ่วงตักแกง (ภาษิต). spoon, dipper.

ส้างฮ้าง

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "ส้างฮ้าง"

มีคำถามจากแฟนานุแฟนฅนอีสานบอกว่าได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่ว่า "โอ๊ย หลุบปานตกส้างฮ้าง" หมายความว่าจั่งใด๋น้อพี่หมู

ส้าง น. บ่อน้ำ บ่อที่ขุดลึกลงไปในดินมีน้ำกินน้ำใช้ตลอดปี เรียก น้ำส้าง. well (water).

ฮ้าง ก. ทอดทิ้ง จากไป เมียที่ผัวทอดทิ้ง เรียก แม่ฮ้าง ผัวที่เมียทอดทิ้ง เรียก พ่อฮ้าง หนุ่มสาวที่รักกันแล้วทอดทิ้งกันไป เรียก ฮ้างชู้ บ้านที่คนทอดทิ้ง เรียก บ้านฮ้าง เรือนที่ไม่มีคนอยู่อาศัย เรียก เฮือนฮ้าง วัดที่ไม่มีพระสงฆ์อยู่ เรียก วัดฮ้าง อย่างว่า ญิงชายฮู้เฮียงกลการย่อยโชค ส่ำฮ้างฮามหม้ายหมู่สะเทิน (สังข์) คันหากมีผัวแล้วบ่กลัวใผอย่าฟ้าวว่า บาดห่าเป็นฮ้างหม้ายชิมาโอ้ใส่เขา (ผญา). to be abandoned, discarded, divorced.

เมื่อรวมกัน "ส้าง + ฮ้าง" เป็น "ส้างฮ้าง" จึงหมายถึง บ่อน้ำที่ถูกทอดทิ้งไม่ดูแล จนมีหญ้ารกปกคลุม ใช้การไม่ได้ เมื่อเดินไปไม่สังเกตจึงตกลงไปในบ่อน้ำร้างนั่น อีกนัยหนึ่งคือการเล่นการพนันจนหมดตัว ไม่มีแม้น้ำจะกรอกปากจึงตะโกนออกมา "หลุบปานส้างฮ้าง" หลุบ คือหมดตัว เหมือนบ่อน้ำร้างที่ไม่มีน้ำกินได้

sang hang

เกื่อย

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "เกื่อย"

จากเพลง "มนต์ฮักทางหินแห่" ของเอกพล มนต์ตระการ ที่นำลงในเว็บไซต์ของเรา ในเนื้อเพลงมีการกล่าวถึงการ "เกื่อยน้ำส้าง" ก็เลยมีคำถามตามมาว่า ทำยังไงหรือ ไม่เก็ตเลย เพราะสมัยนี้มันสมัยน้ำขวดแช่เย็นเสียแล้ว

เกื่อย ก. ตักน้ำ เรียก เกื่อยน้ำ แก้ไขเหตุร้ายให้กลายเป็นดีเรียก เกื่อย อย่างว่า รือจักปุนเกื่อยให้หายบ้าบ่เป็นแลเด (สังข์) แม้นว่าบาปหมื่นชั้นเชิญให้เกื่อยไกล แต่ถ้อน (กา). to dip water, offer a libation to avert disaster.

ส้าง น. บ่อน้ำ บ่อที่ขุดลึกลงไปในดิน มีน้ำกินน้ำใช้ตลอดปี เรียก น้ำส้าง. well (water).

kuay naam

เกื่อยน้ำส้าง ก็คือ การลงไปในบ่อน้ำในหน้าแล้งที่น้ำมีปริมาณน้อย ค่อยๆ ไหลซึมออกมา แล้วใช้ขัน หรือกะลามะพร้าวบรรจงตักน้ำ (ไม่ให้ขุ่น) ถ่ายลงครุไม้ไผ่ หาบกลับบ้านนั่นเอง

nam sang

การเกื่อยน้ำใส่ครุน้ำหากใส่เต็มเกินไปเมื่อหาบกลับบ้าน อาจทำให้น้ำ "เฟือด" ทิ้งได้ จึงมักจะใช้ผ้าขาวม้ามัดปิดปากครุ หรือใช้ใบไม้สะอาดวางบนปากครุเพื่อกันน้ำกระฉอก

เฟือด ก. น้ำล้น เรียก น้ำเฟือด อย่างว่า ยั่งยั่งน้ำหน้าเฟือดฟูมแครง อุณโหเวรฮีบฮอมฮมฮ้อน นางจิ่งแจงดูสร้อยสังวาลมุกมาศ แหวนขอดล้อมคำเข้มขอบลาย (ฮุ่ง). to overflow (of liquid).

อธิบายมาแล้วก็เอาให้จบไปเลย เรื่อง "น้ำส้าง" หรือบ่อน้ำ จะมี 2 แบบ ดังนี้

จั้น น. น้ำบ่อที่ไหลออกตามชายฝั่งเรียก น้ำจั้น น้ำส้างจั้น ก็ว่า. spring (water) in river bank.

แส่ง น. คอกไม้รูปสี่เหลี่ยมกั้นในบ่อน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ดินพัง บ่อที่กั้นด้วยคอกไม้นี้ เรียก น้ำส้างแส่ง แคว่งสร้าง ก็ว่า. square-holed well with wood retaining walls, wood walls of square-holed well.

nam sang4

น้ำส่างแส่ง บ่อน้ำที่มีขอบไม้กั้นกันดินพังลงในบ่อ

เถียง

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "เถียง"

ได้รับอีแมว เอ้ย! อีเมล์จากบ่าวใต้ถามมาว่า "กอดเสาเถียง" นั่นมีความหมายว่าอย่างไร ตามมิวสิกวีดิโอดูแล้วก็ยังไม่มั่นใจ เพราะเห็นแต่นั่งบนหลังคา

เถียง น. โรงเรือนที่ปลูกไว้เพื่อเฝ้าพืชผลเรียก "เถียง" ปลูกไว้ที่นาเรียก เถียงนา ปลูกไว้ป่า เรียก เถียงไฮ่. hut to live in while watching fields or garden.

ในเพลงนี้ "เถียง" คือ กระท่อมปลายนา ถ้าทางใต้น่าจะความหมายเดียวกันกับ "ขนำ" เมื่อสาวไปแต่งงานกับคนอื่น จึงได้แต่กินเหล้าเมานั่งกอดเสาเถียง (ตามรูปประกอบทางฝั่งขวา) ไม่ได้กอดสาวด้วยความช้ำใจนั่นเอง เป็นตาหลูโตนแท้น้อ

tiang

เถียง ก. พูดโต้แย้งเรียก เถียงกัน หรือ ถกเถียง อย่างว่า ตาบอดคลำช้างมักเถียงกัน (ภาษิต) คือดั่งเสือลวงได้มิคาลูกมั่ง จริงแล้ว รือจักเถียงท่านแพ้กรรมข้องครอบคีง แลเด (สังข์). to argue.

เถียง ในความหมายที่สองนี่คือ การทะเลาะทุ่มเถียงกัน ซึ่งเป็นอันตรายอาจถึงเลือดตกยางออกได้ และการเถียงนั้นถ้าไปเถียงเมีย (บังเกิดเกล้า) อันตรายก็จะเพิ่มเป็นทวี คูณสองเลยทีเดียว ดังเพลงลาวของ อ้ายบุญยู้ ลูกแม่ของ ข้างล่างนี้

ຖຽງເມຍບໍ່ຄືຖຽງນາ-ບຸນຍູ້ เถียงเมียบ่อคือเถียงนา-บุญยู้ ลูกแม่ของ (ดูความหมายเพลงคลิกเลย)

แถน

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "แถน"

มื้อนี้มีบุญบั้งไฟที่เมืองยศนคร (ยโสธร) เป็นการจุดถวายไท้ถวายแถน กะเลยมีคำถามว่า "ไท้ แถน" คือหยังน้อ

ไท้ น. ผู้เป็นใหญ่ ผู้เป็นหัวหน้า อย่างว่า เสด็จล่วงขึ้นเถิงไท้ขาบทูล (กา) ดอกหนึ่งฟ้าสนั่นก้องเวหา ดอกหนึ่งสถานกงญายอดไท้ ดอกหนึ่งซอมแซมหยาหลายกาบ ดวงดาดดวงละไล้ลูบไล้ลืมวาง (ฮุ่ง). the great one, god, leader.

แถน น. เทวดา ผีฟ้า อย่างว่า ถวายแก่เจ้าแถนเถ้าเบิ่งแนน ท่านเอย (ขูลู) แต่นั้นแถนเล็งพร้อมแถนลอแถนหล่อ แถนทอกพร้อมแถนตื้อหลั่งโฮม (หน้าผาก). angel(s), celestial spirit(s).

padaeng nang ai 09

"บุญบั้งไฟ" มีตำนานเล่าขานมานาน จากนิทานพื้นบ้านเรื่องผาแดงนางไอ่ เรื่องพระยาคันคาก ล้วนแต่กล่าวถึงการจุดบั้งไฟเพื่อให้แถน (เทวดา) ได้บันดาลให้ฝนตกตามฤดูกาล

 

หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14

redline

backled1