ja riang header

เจรียง หรือ จำเรียง ภาษาเขมรในสุรินทร์เรียกว่า จรีง หรือ จำรึ่ง เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่เน้นการขับร้องมากกว่าการร่ายรำ ขับร้องเป็นเพลงคล้ายทำนองแบบการอ่านทำนองเสนาะ มักจะใช้ "กลอนสด" เป็นส่วนใหญ่เนื้อร้องเป็น ภาษาเขมร บรรยายถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตและปัจจุบัน คำว่า "เจรียง" เป็นคำกริยาในภาษาเขมรแปลว่า "ร้อง" ส่วนคำว่า "จำเรียง" หรือที่ชาวเขมรทางกัมพูชาออกเสียงว่า "จ็อบ-เรียง" นั้นเป็นคำนาม แปลว่า "บทร้อง" เจรียงมีลักษณะการขับคล้ายกับการขับวรรณคดีเสภาในภาคกลางที่เรียกว่า “เสภา” ภาคเหนือเรียกว่า “จ๊อย”

ja riang 01

การเรียกเจรียง จะเรียกตามชนิดของเครื่องดนตรีที่เล่นประกอบการเจรียง เช่น ถ้าใช้ปี่ที่มีชื่อว่า เป์ยจรวง เป่าประกอบเรียกว่า เจรียงจรวง ถ้าใช้ ซอ บรรเลงประกอบเรียก เจรียงตรัว และหากนำเจรียงไปขับขานกับการละเล่นพื้นบ้านอะไรก็จะใช้คำว่า เจรียง นำหน้าการละเล่นนั้นๆ

เจรียง เป็นการละเล่นพื้นบ้านในลักษณะของ เพลงปฏิพากย์ (dialogue songs) คือ เพลงที่ชายหญิงใช้ร้องโต้ตอบกัน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการเกี้ยวพาราสี มีจุดเด่นอยู่ที่โวหาร การชิงไหวพริบกันเพลงพื้นบ้านที่ใช้ขับร้องนั้น จะแตกต่างกันไปบ้างตามลักษณะวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น สังเกตได้จากการใช้ภาษา ท่วงทำนอง เนื้อหา เครื่องดนตรี การร่ายรำ การแต่งกาย และโอกาสที่ขับร้อง เพลงปฏิพากย์ เป็นเพลงที่ร้องเล่นกันเป็นกลุ่มเป็นวง

เจรียง ซึ่งเป็นการละเล่นของชาวไทยเชื้อสายเขมรในแถบอีสานใต้ และตามแนวชายแดนติดกับประเทศกัมพูชา เป็นเพลงที่เล่นในเทศกาล หนุ่ม-สาวมีโอกาสได้พบปะกัน เช่น เทศกาลตรุษสงกรานต์ เทศกาลกฐิน ผ้าป่า ในงานบุญต่างๆ ที่จัดขึ้นที่วัด เจรียง จึงเป็นการละเล่นพื้นบ้าน เป็นเพลงปฏิพากย์ของชาวไทยเขมร โดยชายหญิงร้องโต้ตอบกันไปมา มีทั้งเจรียงที่ร้องโต้ตอบเป็นคู่ๆ ระหว่างชายหญิง และมีการร้องกันเป็นกลุ่ม ซึ่งมีผู้นำขับร้อง เรียกว่า หัวหน้า หรือ พ่อเพลง และแม่เพลง อาจจะมีลูกคู่คอยร้องรับในจังหวะ เช่น เจรียงซันตูจ เจรียงตรด เจรียงเบริน เป็นต้น การแสดงอย่างเดียวกันนี้ในประเทศกัมพูชา เรียกว่า "โอะกัญโตล"

ja riang 02

การเจรียง จะเริ่มต้นด้วยบทไหว้ครู เป็นการรำลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระคุณบิดามารดา ครูบาอาจารย์ แล้วเริ่ม บทปฏิสันฐานกับผู้ฟัง เพื่อบอกเล่าถึงความสำคัญของการแสดงว่า งานนั้นๆ มีการบำเพ็ญกุศลอะไร บางครั้งก็ยกนิทานประกอบ การเจรียงอาจจะเจรียงเป็นกระทู้ถามตอบ ในช่วงหลังๆ จะเพิ่มความสนุกสนานโดยใช้บทหยอกล้อ กระทบกระเทียบ ในลักษณะตลกคะนองเพิ่มเข้ามา

ปัจจุบัน การละเล่นเจรียง เกือบทุกประเภทที่เคยได้รับความนิยมในอดีต ได้ถูกหลงลืมและลดความสำคัญไปจากสังคมชาวไทยเขมร จนแทบจะไม่มีให้ชมให้ฟังอีกเลย จะมีไม่กี่เพลงที่เหลืออยู่ แต่ใกล้ดับสูญตามไปด้วย แต่ก็ยังมีบทเพลงเจรียงบางประเภท ที่ได้สอดแทรกแนวปรัชญาแห่งการดำเนินชีวิต ตามหลักพุทธศาสนาของกลุ่มชาวไทยเขมรไว้อย่างพร้อมมูล ด้วยเหตุนี้เจรียงจึงยังคงอยู่คู่กับวัฒนธรรมสังคมชาวไทยเขมรตลอดมา ในสภาพที่เสี่ยงต่อการสูญหาย ทั้งนี้เพราะสภาพสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันนั่นเอง

ja riang 03

ประเภทของเจรียง

ประเภทการเจรียง แบ่งออกได้หลายแบบ เช่น

1. เจรียงซันตูจ แปลว่า ร้อง-ตกเบ็ด เป็นการร้องเล่นในงานเทศกาลต่างๆ หรืองานบวชนาค และที่แพร่หลายกันมากคือ ช่วงเดือน 10 (ไงแซนโดนตา) และช่วงเดือน 5 (แคแจด) ในวันฉลองส่วนมากจะจัดเป็นงานวัด หนุ่มๆ ที่มาร่วมงานจะมารวมกันเป็นกลุ่มๆ และหาคันเบ็ดมา 1 อัน เหยื่อที่ปลายคันเบ็ดนั้นใช้ขนม ข้าวต้มมัด ผลไม้ผูกเป็นพวง

วิธีการตกเบ็ดนั้น ที่ใดมีกลุ่มหญิงสาวนั่งรวมกันอยู่ กลุ่มหนุ่มๆ จะพากันร้องรำทำเพลง แล้วก็หย่อนเบ็ดให้เหยื่อไปลอยอยู่ตรงหน้าสาวคนนี้บ้าง คนโน้นบ้าง ผู้ที่ถือคันเบ็ดจะเป็นผู้ร้องเพลง (เจรียง) เอง หากสาวผู้นั้นรับเหยื่อ (หรือขนม) ไปแสดงว่าพอใจ หลังจากเสร็จงานแล้ว ฝ่ายหนุ่มจะให้ผู้ใหญ่ไปสู่ขอหรือทาบทามต่อไป

2. เจรียงกันกรอบกัย (เพลงปรบไก) เป็นการเล่นเจรียงคนเดียว ไม่มีดนตรีเป็นแบบแผน ส่วนใหญ่ใช้วิธีตบมือหรือสีซอเป็นการเจรียงแบบตลก

3. เจรียงตรัว เป็นการขับร้องเดี่ยวเป็นนิทาน ประกอบซอ คล้ายการ "ลำพื้น" ของชาวอีสานเหนือ ผู้ขับร้องจะสีซอไปด้วย

4. เจรียงจาเป็ย เป็นการขับร้องเดี่ยวเป็นนิทาน ประกอบพิณกระจับปี่ มีผู้เล่นคนเดียวเป็นผู้ขับร้องและดีดจาเป็ย

เพลง : เจรียงยายยิง ศิลปิน : สังเวียนทอง อรุณรุ่ง

5. เจรียง-จรวง แปลว่า ขับร้องโดยมี "ปี่จรวง" เป่าประกอบ เป็นการขับร้องโต้ถามกันเป็นเรื่องตำนาน สุภาษิตต่างๆ เดิมใช้ "ปี่จรวง" ประกอบแต่ปัจจุบันใช้ "ซอ" แทน

6. เจรียงนอรแก้ว มีผู้แสดงประกอบด้วยชาย 2 คน หญิง 2 คน เป็นการเล่นโต้ตอบระหว่างชายหญิง โดยแต่ละฝ่ายจะมีพ่อเพลงและแม่เพลงร้องนำ และมีลูกคู่ร้องตาม ต่อจากนั้นชาย-หญิงแต่ละฝ่ายจึงร้องโต้ตอบกันเป็นคู่ๆ โดยไม่มีเครื่องดนตรีประกอบ

7. เจรียงปังนา เป็นการขับร้องคล้ายกับเจรียงนอรแก้ว แต่มีจังหวะเร็วกว่า มีผู้แสดงประกอบด้วยชาย 1 คน หญิง 1 คน คนตีกลองโทน 1 คน ขับร้องโดยบรรยายเรื่องราวตามต้องการ

8. เจรียงเบริน เป็นการร้องเพลงคลอกับ "ซอ" แบบร้องคู่ชาย-หยิง วิวัฒนาการมาจากการเล่น "กัญต๊อบไก" ซึ่งมีการร้องโต้ตอบ มีเครื่องดนตรี "ปี่อ้อ" ประกอบ ต่อมาการเล่นชนิดนี้ได้นำ "แคน" เข้ามาเป่าประกอบทำนองเจรียงเบริน คล้าย "หมอลำกลอน" ของชาวอีสานเหนือ เป็นทำนองขับลำนำเรื่องราวหรือโต้ตอบซักถามนิทานชาดก ซึ่งเข้าใจว่าเกิดขึ้นในช่วง 50-60 ปี มานี้ การเล่นเจรียงเบริน มีองค์ประกอบต่างๆ คือ ผู้เล่น ชาย-หญิง 2-3 คน สถานที่แสดงไม่จำกัดสถานที่จะเป็นที่ไหนก็ได้ ที่เหมาะสม

การแสดงเจรียงเบริญพื้นบ้าน จังหวัดสุรินทร์

การแต่งกาย แต่งแบบพื้นบ้านโบราณ ต่อมามีการพัฒนาให้หญิงนุ่งกระโปรง ชายสวมกางเกงขายาว ดนตรีที่ใช้ประกอบ มี แคน ซึ่งเป่า "ลายแมงภู่ตอมดอก" เป็นส่วนใหญ่ ท่ารำจะมีท่ารำพื้นฐานอยู่ 5 ท่าคือ ท่ารำเดิน ท่ารำถอย ท่ารำเคียง ท่ารำเกี้ยว ท่าดีดนิ้ว และท่าเตะขา

วิธีการเล่น จะเริ่มจากการบูชาครู แนะนำตนเอง มีการบอกกล่าวถึงความสำคัญของงาน แล้วเริ่มเจรียงถาม-ตอบ เจรียงเรื่อง สุดท้ายจะเจรียงลา คุณค่าของเพลงพื้นบ้านเจรียงให้คุณค่าในหลายๆ ด้าน เช่น ด้านภาษาสามารถเลือกสรรคำที่ไพเราะ มีสัมผัสที่เป็นภาษาเขมร แต่ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว เนื้อหาของบทร้องเจรียงยังสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ ประเพณี ค่านิยม สังคมและอาชีพด้านต่างๆ นอกจากนี้เพลงพื้นบ้านเจรียงเบรินยังให้ความบันเทิงใจ ให้ความเพลิดเพลิน และสนองตอบสภาวะด้านจิตใจได้ด้วย

9. เจรียงตรุษ เป็นการร้องรำเป็นกลุ่มในวันขึ้นปีใหม่ (13 เมษายน วันสงกรานต์) โดยมีพ่อเพลงร้องนำแล้วลูกคู่ก็ร้องตาม หรือร้องรับ เดินทางเป็นคณะไปร้องอวยพรตามบ้านต่างๆ เมื่ออวยพรเสร็จก็จะขอบริจาคเงินเพื่อไปทำสาธารณะประโยชน์ต่างๆ ลักษณะการร้องรำอันนี้คล้ายกับ "การเซิ้งบั้งไฟ" ของชาวอีสานเหนือ

10. เจรียงกันตรึม ใช้ในงานมงคลโดยเฉพาะ เช่น กล่อมหอ ในงานแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ มีผู้เล่นประกอบ 4 คน เป็นชายทั้งหมด เครื่องดนตรีประกอบด้วย ปี่อ้อ 1 คน ซอด้วง 1 คน กลองโทน 2 คน คนตีกลองจะเป็นผู้ขับร้อง

เจรียงในเพลงลูกทุ่ง

มีการนำเอา "เจรียง" มาทำเป็นเพลงลูกทุ่งกันบ้างแล้ว ที่คุ้นเคยหน่อยและโด่งดังพอตัว เพราะได้ดัดแปลงเนื้อร้องจากภาษาเขมรมาเป็นภาษาไทยให้ฟังง่าย อย่างเพลง "ลูกเทวดา" ของ สนุ๊ก สิงห์มาตร

ลูกเทวดา - สนุ๊ก สิงห์มาตร

ซึ่งน่าจะมาจากต้นฉบับแบบเนื้อยังเป็นภาษาเขมรปนไทยอยู่ คือเพลง "เจรียงยิ่งยงสอนน้อง" โดย นักร้องจอมชี้(นิ้ว) ยิ่งยง ยอดบัวงาม แต่ดูเหมือนคนจะรู้จักเพลงนี้(ในสไตล์ภาษาเขมร)มากเพราะ คำมอด พรขุนเดช จากวงดนตรีลูกทุ่งหมอลำคณะเสียงอีสานนำไปร้อง (หาดูใน Youtube ได้นะ)

เจรียงยิ่งยงสอนน้อง - ยิ่งยง ยอดบัวงาม

เนื้อเพลง เจรียงยิ่งยงสอนน้อง - ศิลปืน ยิ่งยง ยอดบัวงาม

...... ปะโอนบองเอย  ไงแนะไงเจียว เวเลียละออ.. เอ.เบอทาเนียงจองบานอังกอ
ออยเนียงยัวสราโตว.เก็น.. เอ.เบอทาเนียงจองเทิดทม สรวลบวนยางเบ็ญ.
บอนกุซอนออยเนียงบำเพ็ญ. ไกวละไกลเว็น เนอโอน..


ตระโยน.โยนเอย โยนๆ โยนเอยเนียงเอยก็โยนๆ
ก็ปรัวทาบอง.สลันปะโอน บานบองปรับนะบองทา นะบองทา
(....ดนตรี...)
สมัยซบไงกีเฮาสมัยพัฒนา ซบ.ไง.กีเฮาสมัยพัฒนา. กีเมียนน่ะตองคลับ
กีเมียนน่ะตองบาร์ โกนเมงนะโปรสะไล แจจั๊วะ...เพาะสรา โตวนานีโมวนา กีจิมอเตอร์ไซค์
กลางคืนนะเที่ยวคลับ กลางวัน...หลับสบาย เดาะมันนะเตือนเลิง อังกุยยุมจองบานปะเตย
คลูนทมนะเปินระเบ็ย มันแจ๊ะ...ตนำบาย วิชานะไม่มี ติดตัวนะทรามวัย
ดอลเนียงนะปานปะได บองคลาด...เสรยยากรอ โกนเพนคะเมารวล หากินนะไม่พอ
เปอเนียงนะขาดกรออ
ออยเนียงคอมวิชา...นะวิชา
(...ดนตรี..)
ตระโยน.โยนเอย โยนๆ โยนเอยเนียงเอยก็โยนๆ
ก็ปรัวทาบอง.สลันปะโอน บานบองปรับนะบองทา นะบองทา
(...ดนตรี..)
แมเอานะนา.คละ ยากรอมันเทยปรูน ออยแตนะโกนซรูน
ออยโกนบานศึกษา ร่ำเรียนนะวิชา หาความรู้ใส่ตัว โกนคละนะเวียจูน
มันเด๊ะ...กึดเวไกล ทั้งหญิงนะทั้งชาย พากันเที่ยวคลับบาร์
กัญชงนะกัญชา ยาอง...ยาอี ยาบ้าก็มี พากันมั่วอบาย พ่อแม่อับอาย
เอียลเซราะ...เอียลแซร มันเตรยนะโกนแม มันแจ๊ะ.แยะเคาะเตรา
โคยมุนะแมเอา โคยดอล...ยัยตา ตัวเราก็ยังเด็ก ออยเร่งการศึกษา
ใครมีนะวิชา เขาว่า...เมียนประแซน ยากรอนะยังนา วิชา.จูยาบานเมน
กึดออยนะเมนเตน เนอโอน...ปะวอซะเร็ย .ละออบองเอย สดับบองยิ่งยงอันยัย
.โอนเกลียดโอนชังเกอไคว แดลบองยิ่งยงอันยัย ปรัวบองสลันซรัยเนอโอ..โอน
(...ดนตรี..)
ตระโยน.โยนเอย โยนๆ โยนเอยเนียงเอยก็โยนๆ
ก็ปรัวทาบอง.สลันปะโอน บานบองปรับนะบองทา นะบองทา

redline

backled1