foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

rainny season 2562

ว่าละตั่ว "มันสิแล้ง ฝนถิ่มช่วง ระวังช่วงเข้าพรรษาเอาไว้" อีสานบ้านเฮาได้เห็นฝนตกเบิดมื้อมา 2-3 มื้อจากอิทธิพลหายุโซนร้อนชื่อ "มูน (Mun)" ที่พัดเข้าอ่าวตังเกี๋ย เวียดนาม แล้วพัดเลยเฉียงๆ ขึ้นไปทางจีนแผ่นดินใหญ่ ฝนฟ้าก็เลยมีตกมาทางแถบอีสานบ้านเฮาแค่วันที่ 3-4 กรกฎาคมเท่านั้น ช่วงต่อไปถ้าไม่มีพายุก่อตัวขึ้นอีกก็น่าจะแล้งอีกรอบ ผู้ใดหว่านข้าวในนาไว้บ่ต้องพยากรณ์กะคือสิฮู้ว่า "หญ้าสิงามท่วมเข้า" เป็นแน่แท้ทีเดียว

windy com 1

ปีนี้ร้อนแรงกว่าปีก่อนๆ มากครับ แม้ว่ากรมอุตุนิยมวิทยาจะประกาศว่า บัดนี้เข้าสู่ "ฤดูฝน" อย่างเป็นทางการแล้วก็ตาม ฝนก็ยังตกแบบไม่เต็มใจ ตกไม่ทั่วฝ้า ชาวอีสานหลายถิ่นที่จุดบั้งไฟไปบอกพญาแถนแล้วก็ยังเฉยชาอยู่ สงสัยจะต้องส่งประกาศอุตุนิยมวิทยาไปกับบั้งไฟเพื่อบอกพระยาแถนแล้วล่ะ ฝากแหน่เด้อพี่น้องผู้ที่กำลังจะจุดบั้งไฟในช่วงนี้

rainny season
ฝนตกลงมาชาวนาก็ดีใจกัน แต่ก็ระวังแล้งช่วงเข้าพรรษาแหน่ละเด้อ

rainny season 2562

เอาข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยามาฝากนะครับ พี่น้องชาวอีสานที่มีอาชีพด้านเกษตรกรรมควรจะศึกษาทำความเข้าใจไว้ครับ เพราะสถานการณ์ของปีนี้มีข่าวว่า ปรากฏการณ์เอลนิโญจะมัผลกระทบต่อประเทศไทยตามรอบการเกิดสถานการณ์นี้

เอลนีโญ (สเปน: El Niño) เป็นรูปแบบสภาพอากาศที่เกิดขึ้นตลอดมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน โดยเกิดขึ้นเฉลี่ยทุกห้าปี ลักษณะของเอลนีโญ คือ เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุณหภูมิผิวน้ำทะเลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก โดยอุ่นขึ้นหรือเย็นลงผิดปกติ ซึ่งเรียกว่า เอลนีโญและลานีญาตามลำดับ และความดันบรรยากาศบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกเขตร้อน ซึ่งเรียกว่า ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นได้สองกรณี :

เอลนีโญ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิมหาสมุทรอุ่นขึ้นผิดปกติ ประกอบกับความดันบรรยากาศสูงบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก

ส่วนลานีญา เป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิมหาสมุทรเย็นลงผิดปกติ ประกอบกับความดันบรรยากาศต่ำบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก... "

ทางกรมอุตุนิยมวิทยา จึงพยากรณ์คาดหมายฤดูฝน ในปี พ.ศ. 2562 ตามภาพด้านล่างนี้ พี่น้องก็เตรียมตัวรับมือนะครับ ติดตามความเคลื่อนไหวการพยากรณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาได้ที่เว็บไซต์ กรมอุตุนิยมวิทยา หรือดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นมาใช้ในมือถือได้มีทั้งบน iOS และ Android ครับ

rainny season 2562

ดร.สุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. ได้ตอบคำถามถึงปัญหาที่หลายคนตั้งคำถามว่า "ทำไมปีนี้ถึงได้ร้อนเอามากๆ และไม่เพียงจะร้อนผิดปกติ เกษตรกรมีสิทธิจะได้เจอภาวะภัยแล้งแบบลากยาวจนถึงต้นปี 2563 กันเลยทีเดียว"

เพราะปรากฏการณ์เอลนีโญที่ว่าจะหมดไปในเดือนพฤษภาคมนี้ ทาง สสน. ได้ใช้ดัชนีสมุทรศาสตร์สร้างแบบจำลองวิเคราะห์สภาพอากาศพบว่า เอลนีโญกำลังอ่อนมีโอกาสยาวนานไปถึงต้นปีหน้า

“แม้ว่าปลายเดือนนี้จะเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการก็ตาม สิ่งที่น่ากังวลก็คือ ฝนจะน้อยกว่าค่าเฉลี่ย 30 ปี มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 1,470 มม. พอๆกับปี 2550 คือมีฝนตกเป็นช่วงๆ กินพื้นที่ไม่มาก และจะตกบริเวณชายขอบของประเทศ ส่วนที่หวังว่าจะมีเขื่อนช่วยกักเก็บน้ำได้ คงจะช่วยอะไรไม่ได้มาก เพราะมีโอกาสฝนตกเหนือเขื่อน เหนือพื้นที่รับน้ำค่อนข้างมาก ฝนที่มีจะตกใต้เขื่อนเสียเป็นส่วนใหญ่”

นอกจากนั้นยังจะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนานอีกด้วย จากปกติฝนทิ้งช่วงจะเกิดในช่วงปลาย มิถุนายน นานประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่ปีนี้ฝนอาจทิ้งช่วงตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนไปจนถึงเดือนกรกฎาคม กว่าฝนจะกลับมาตกอีกทีก็เดือนสิงหาคมนั่นแหละ

และเมื่อบวกกับปรากฏการณ์ช่วงที่ผ่านมา ฝนจากพายุฤดูร้อนแทบจะไม่ได้ไปเติมน้ำในเขื่อนเท่าใดนัก เพราะไม่ได้ไปตกเหนือเขื่อน ส่งผลให้น้ำในเขื่อนหลัก 10 เขื่อน มีน้ำใช้น้อยกว่า 30% โดย เฉพาะเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น วิกฤติที่สุด มีระดับน้ำต่ำกว่าระดับเก็บกัก จนต้องใช้น้ำใต้ระดับเก็บกัก

“นับแต่นี้ไป แม้จะเป็นฤดูฝนแต่มีแนวโน้มจะเกิดภัยแล้งได้ แต่จะแล้งแบบวิกฤติแค่ไหน ขึ้นอยู่กับฝีมือในการบริหารจัดการของภาครัฐ แต่ที่แน่ๆ จะเกิดภัยแล้งเป็นจุดๆ บางพื้นที่ กระจายไปใน 29 จังหวัดทั่วประเทศ น้ำอุปโภคบริโภคน่าจะเพียงพอ แต่น้ำเพื่อการเกษตรไม่พอ ฉะนั้นเกษตรกรต้องปรับตัว หันมาทำวนเกษตร หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อลดความเสี่ยง”

ส่วนปี 2563 จะได้รับมรดกแล้งตกทอดมากแค่ไหน ดร.สุทัศน์บอกว่า "ขึ้นอยู่กับว่าฤดูฝนปีนี้จะมีพายุพัดเข้าประเทศไทยมาเติมน้ำในเขื่อนได้มากแค่ไหน"

ที่สำคัญคิดจะทำเกษตรยุคโลกร้อน อย่ามองอนาคตแค่ปีต่อปี เพราะภาวะแล้งแบบนี้จะเกิดบ่อย ถ้าไม่รู้จักหาแหล่งน้ำให้ตัวเอง เปลี่ยนไปทำอย่างอื่นซะดีกว่า มัวรอแต่รัฐช่วย อดตายแน่ ต้องสร้างฝาย สร้างเขื่อนเก็บกักน้ำใต้ดินช่วยกันเองให้มาก หากชุมชนใดร่วมมือกันทำแหล่งเก็บกักน้ำใต้ดินให้มาก ร่วมมือกันปลูกป่าให้เขียวขจี โอกาสที่จะฟื้นคืนกลับมาน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ก็ไม่ไกล

การทำธนาคารน้ำใต้ดิน (ระบบปิด)

การทำธนาคารน้ำใต้ดิน (ระบบเปิด)

 

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)