foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

agri new gen

ารทำนาปลูกข้าวของชาวนาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอยู่มาก ในเรื่องของเทคโนโลยีในการทำนา จากเดิมที่เราเห็นชาวนาสมัยก่อนใช้วิถีชาวบ้านในการทำนา ตั้งแต่กระบวนการหว่านเมล็ดพันธุ์ ยันการเก็บเกี่ยว ใช้เพียงเครื่องมือพื้นบ้านคราด ไถ จอบ บวกกับแรงงานสัตว์และแรงคนเท่านั้น แต่ปัจจุบันได้หันมาใช้เทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ ซึ่งเน้นการใช้เครื่องจักรทุ่นแรง ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นการส่งผลกระทบต่อชีวิตและการการผลิตของชาวนา ทั้งโรคภัยที่เกิดจากสารเคมี ยาฆ่าหญ้า ฆ่าแมลง และมลพิษจากเครื่องจักรกลทั้งหลาย ไม่เฉพาะแต่ชาวนาเท่านั้น ยังรวมไปถึงเกษตรกรที่ทำการเกษตรอื่นๆ เช่น ชาวไร่ ชาวสวนก็ล้วนมีผลกระทบเช่นเดียวกัน

thai farmer 01

"การทำการเกษตร" ในสมัยปัจจุบันนั้น มุ่งที่การผลิตให้ได้เยอะๆ เพื่อจำหน่ายแลกเป็นเงิน ไม่ว่าจะเป็นข้าว ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง หรือพืชไร่อื่นๆ ผลิตเพื่อขายไม่ได้ทำเพื่อเป็นอาหารในครัวเรือนอย่างในอดีต จึงมีการพัฒนาสายพันธุ์ของพืชเกษตรสมัยใหม่ ทั้งการตัดต่อพันธุกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของการตลาด การพัฒนาพันธุ์ที่เน้นผลผลิตต่อไร่สูงสุด และสามารถปลูกได้ทุกฤดูกาลหรือปลูกได้ตลอดทั้งปีนั่นแหละ

ซึ่งก็ทำให้เกษตรกรต้องใช้ปุ๋ยเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ราคาปุ๋ยก็แพงขึ้นทุกปีเช่นเดียวกัน และพืชพันธุ์สมัยใหม่นั้นมักจะมีความอ่อนแอต่อโรคมาก จึงจำเป็นต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชควบคู่กันไป พูดง่ายๆ ว่า "พืชพันธุ์สมัยใหม่" เหล่านี้ทำให้ต้นทุนในการผลิตของเกษตรเพิ่มมากขึ้น แต่รายได้…กลับลดน้อยลง คนที่รวยคือ "นายทุน" ที่ส่งเสริมให้ปลูก แน่นอนจะใครล่ะ! ก็พวกโรงงาน โรงสี หรือเจ้าของกิจการผู้ค้าปุ๋ยและค้าสารเคมีนั่นเอง รวมทั้งเป็นนายทุนให้กู้ยืมผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในรูปของ "ข้าวเขียว" คือเอาไปใช้ก่อนผ่อนทีหลัง ซึ่งมักจะไม่เหลือต้นทุนและค่าแรงให้เกษตรกรเลยด้วยซ้ำ

thai farmer 02

เกษตรกรไทยจะหลุดพ้นวงจรความทุกข์ยากด้วย "เกษตรทฤษฎีใหม่"

มีตัวอย่างให้เห็นมาเยอะแยะแล้ว ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันอีกแล้ว "เกษตรกรยุคใหม่" ต้องมีความรู้ให้ทันยุคทันสมัย เมื่อวันวานมันผ่านไปแล้วได้เห็นตัวอย่างมามากแล้วว่า การทำการเกษตรเยี่ยงบรรพบุรุษในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ทั้งฤดูกาลและธรรมชาติที่ผันแปร ฟ้าฝนไม่ได้ตกต้องตามฤดูกาล การทำลายล้างของมนุษย์ที่กระทำต่อธรรมชาติมากขึ้น (ทั้งการบุกรุกป่า การทำลายระบบนิเวศน์ ทำให้สมดุลธรรมชาติเปลี่ยน เกิดการปรับตัวแมลงศัตรูพืชที่ดื้อยา ป่าไม้ และศัตรูตามธรรมชาติที่ลดลง) ความต้องการในโลกเศรษฐกิจทุนนิยมเปลี่ยน มีความต้องการอาหารมากขึ้น "ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินของเกษตรกร" เป็นปัญหาสำคัญยิ่งในปัจจุบัน และการประกอบอาชีพทางการเกษตรโดยเฉพาะในเขตที่ใช้น้ำฝนทำนาเป็นหลัก เกษตรกรจะมีความเสี่ยงสูง เป็นเหตุให้ผลผลิตข้าวอยู่ในระดับต่ำ ไม่เพียงพอต่อการบริโภค รวมทั้งพืชไร่ พืชสวนอื่นๆ ด้วย

เกษตรทฤษฎีใหม่ (New Theory farming)

เป็นระบบเกษตรที่เน้น "การจัดการแหล่งน้ำ และการจัดสรรแบ่งส่วนพื้นที่ทำการเกษตรอย่างเหมาะสม" ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีข้าว ปลา อาหาร ไว้บริโภคอย่างพอเพียงตามอัตตภาพ นอกจากจะเป็นการแก้ปัญหาในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรแล้ว ยังก่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอีกด้วย

new theory 2

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานแนวทาง เกษตรทฤษฎีใหม่ เมื่อ วันที่ 4 ธันวาคม 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตก "แนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่" จึงเป็นหนทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นฐานรากของแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งหากสร้างระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาตนเองได้ครึ่งหนึ่ง หรือแม้แต่หนึ่งในสี่ของระบบเศรษฐกิจทั้งหมด ก็จะสามารถทำให้ประเทศชาติมีความมั่นคงมากกว่าระบบเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพาการ ส่งออกมากอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

…ถึงบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ สองอย่างนี้จะทำความเจริญแก่ประเทศได้ แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทน ต้องไม่ใจร้อน…"

สิ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ พึงตระหนักก็คือ แนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นพระราชดำรัสที่อยู่ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียง โดยให้ความสำคัญกับการผลิต เพื่อตอบสนองต่อความต้องการอาหารในครอบครัว และชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอก ดังนั้น การส่งเสริมการเกษตรทฤษฎีใหม่ที่ดำเนินไปพร้อมๆ กับ "การส่งเสริมให้มีการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีการเกษตร หรือการนำทฤษฎีไปใช้ โดยไม่เข้าใจเนื้อหา และปรัชญาที่อยู่ลึกเบื้องหลัง จะมีผลให้แนวทางการดำเนินการดังกล่าว ไม่ถูกจัดว่าเป็นเกษตรกรรมยั่งยืน"

หลักการของ "ทฤษฎีใหม่"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่ 9) พระราชทาน "ทฤษฎีใหม่" ให้ดำเนินการในพื้นที่ทำกินที่มีขนาดเล็กประมาณ 15 ไร่ ด้วยวิธีการจัดสรรที่ดินให้เหมาะสมกับการเกษตรแบบผสมผสานอย่างได้ผล เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ใช้จ่ายตลอดปี ซึ่งได้ดำเนินการอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งการพัฒนาตามแนวทาง "ทฤษฎีใหม่" นี้มีความจำเป็นต้องประยุกต์ใช้ในเหมาะสม กับสภาพภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อมจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ ทฤษฎีใหม่ มี 3 ขั้น คือ

ขั้นที่หนึ่ง

สถานะพื้นฐานของเกษตรกร คือ มีพื้นที่น้อย ค่อนข้างยากจน อยู่ในเขตเกษตรน้ำฝนเป็นหลัก โดยในขั้นที่ 1 นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสถียรภาพของการผลิต เสถียรภาพด้านอาหารประจำวัน ความมั่นคงของรายได้ ความมั่นคงของชีวิต และความมั่นคงของชุมชนชนบท เป็นเศรษฐกิจพึ่งตนเองมากขึ้น มีการจัดสรรพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย ให้แบ่งพื้นที่ ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 ซึ่งหมายถึง

  • พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง เนื้อที่ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่างๆ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ฯ ได้ด้วย)
  • พื้นที่ส่วนที่สอง เนื้อที่ประมาณ 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันในครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้
  • พื้นที่ส่วนที่สาม เนื้อที่ประมาณ 30% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย
  • พื้นที่ส่วนที่สี่ เนื้อที่ประมาณ 10% ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่นๆ (ถนน คันดิน กองฟาง ลานตากผลิตผล กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักสวนครัวหลังบ้าน เป็นต้น)

ให้เกษตรกรมีความพอเพียง โดยเลี้ยงตัวเองได้ (Self Sufficiency) ในระดับชีวิตที่ประหยัดก่อน ทั้งนี้ ต้องมีความสามัคคีในท้องถิ่น มีการผลิตข้าวบริโภคพอเพียงประจำปีโดยถือว่าครอบครัวหนึ่ง ทำนา 5 ไร่ จะมีข้าวพอกินตลอดปี ข้อนี้เป็นหลักสำคัญของทฤษฎีนี้ "หากชาวนาต้องซื้อข้าวกิน ก็หมดสิ้นความเป็นเกษตรกรไทย" ต้องมีน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่แต่ละแปลง (15 ไร่) ทำนา 5 ไร่ ทำพืชไร่หรือไม้ผล ฯลฯ 5 ไร่ (= 10 ไร่) จะต้องมีน้ำ 10,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี

new theory 1

ใช้เนื้อที่รวมประมาณ 15 ไร่ ถ้ามีที่ดินน้อยหรือมากกว่านี้ เช่น 10 ไร่ ก็แบ่งตามสัดส่วนโดยประมาณ แต่ที่สำคัญต้องทำข้าวให้พอกินได้ทั้งปี

ขั้นที่สอง

มื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการ และได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือ ให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปของกลุ่ม หรือ สหกรณ์ เพื่อร่วมแรง ร่วมใจกันดำเนินการในด้าน

  • การผลิต เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิตโดยเริ่มตั้งแต่ ขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การหาน้ำ และอื่นๆ เพื่อการเพาะปลูก
  • การตลาด เมื่อมีผลผลิตแล้ว จะต้องเตรียมการต่างๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดี และลดค่าใช้จ่ายลงด้วย
  • ความเป็นอยู่ ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหารการกินต่างๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ยารักษาโรคที่พอเพียง
  • สวัสดิการ แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิการและบริการที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้ให้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ
  • การศึกษา มีโรงเรียนและชุมชนมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชุมชนเอง
  • สังคมและศาสนา ชุมชนควรเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว

กิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าส่วนราชการ องค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ

new theory 3

ขั้นที่สาม

เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกรจะมีรายได้ดีขึ้น ฐานะมั่นคงขึ้น เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือ ติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงินทุน เช่น ธนาคาร หรือบริษัทห้างร้านเอกชน มาช่วยในการทำธุรกิจ การลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารกับบริษัทเหล่านั้น จะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ

  • เกษตรกรขายข้าวได้ในราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา)
  • ธนาคารกับบริษัทสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง)
  • เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ ซื้อในราคาขายส่ง)
  • ธนาคารกับบริษัทจะสามารถกระจายบุคลากร (เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น)

ในปัจจุบันนี้ได้มีการนำเอาเกษตรทฤษฎีใหม่ไปทำการทดลองขยายผล ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวมทั้งหน่วยงานราชการในหลายสังกัดนำไปปฏิบัติในหมู่บ้านต่างๆ หลายแห่งทั่วประเทศ ซึ่งสามารถไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้

จะทำอย่างไรให้สำเร็จ?

ที่เขียนบทความนี้ขึ้นมา ก็เนื่องจากสถานการณ์ของภูมิอากาศบ้านเฮาปีนี้แล้งไปทั่วภาคอีสาน ภาคเหนือ ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ที่ลงทุนหว่านข้าวกล้าในนาก็แห้งเสียหาย ปลูกพืชสวนชนิดใดแม้จะใช้น้ำน้อยก็แห้งตาย แม้กระทั่งน้ำใช้ น้ำกิน น้ำประปาหมู่บ้าน ในเมืองล้วนขาดแคลน แต่ได้ดูข่าวเกษตรกรบางรายที่นำความรู้จาก "ทฤษฎีใหม่" นี้มาใช้กลับไม่เดือดร้อนเลย พืชผลเขียวชอุ่ม สัตว์เลี้ยงมีน้ำบริโภค แม้จะผ่านเดือนเมษา-พฤษภามาแล้ว น้ำในสระก็ยังมีเพียงพอ พิสูจน์ได้ว่า ทฤษฎีของพ่อได้ผลจริงๆ ถ้าได้ทำตามหลักการนี้ย่อมไม่ยากจนแน่นอน ดังตัวอย่างสุภาพสตรีท่านนี้

new theory 4

ละออง ภูจวง เป็นชาวตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) ซึ่งได้ใช้ความพยายามฟันฝ่าปัญหาอุปสรรคจนประสบผลสำเร็จระดับหนึ่ง เป็นแบบอย่างแก่เยาวชนและเกษตรกรทั่วไป ละอองเล่าว่า หลังจากสำเร็จการศึกษาชั้น ม.ปลาย เมื่อปี 2544 ได้ไปสมัครงานและเข้าทำงานที่ บริษัท ไทยซัมมิกฮาร์เนส นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ในตำแหน่งพนักงานทั่วไป ทำหน้าที่แจกจ่ายเอกสาร และธุรการทั่วไป ระหว่างที่ทำงานเธอยังหาโอกาสและเวลาศึกษาต่อจนจบ ปวส. ที่โรงเรียนเทคโนโลยีศรีราชา (ภาคค่ำ 2 ปี) อีกด้วย

ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจทำงาน จนเป็นที่ยอมรับของนายจ้าง และเป็นที่รักใคร่ของพี่ๆ เพื่อนและน้องๆ ในบริษัท เธอทำงานที่นี่ได้ 9 ปี แม้การทำงานที่บริษัทจะไม่มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น แต่ปัญหาเรื่องส่วนตัวเริ่มมีมา ด้วยสำนึกต่อผู้มีพระคุณที่ให้กำเนิดเริ่มเข้าสู่วัยชรา ไม่มีคนดูแล ประกอบกับไม่มีผู้เลี้ยงดูลูกน้อย จึงคิดที่จะกลับไปหางานทำที่บ้าน หาอาชีพที่จะต้องมีรายได้ เพื่อนำมาจุนเจือครอบครัวหลังจากที่ต้องลาออกจากงานที่เดิม

แนวคิดแรกเมื่อเดินทางกลับถึงบ้านเกิดคือ การน้อมนำเอา "หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ตามรอยพ่อหลวง โดยได้รับแรงบันดาลใจจากคุณลุงท่านหนึ่งที่เล่าให้ฟัง และใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการดำรงอยู่และปฏิบัติตนอยู่บนเส้นทางสายกลาง อยู่บนความพอเพียง ซึ่งหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร เป็นแบบอย่างที่เห็นชัดเจน

เธอจึงได้เริ่มศึกษาหาความรู้จากการอ่านหนังสือบ้าง ค้นหาทางอินเตอร์เน็ตบ้าง พร้อมได้เล่าให้ครอบครัวฟังว่า "อยากทำการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่จะช่วยให้ครอบครัวอยู่ได้แบบยั่งยืน" แต่ทุกคนในครอบครัวไม่เห็นด้วย เพราะต้องมีการปรับพื้นที่ใหม่โดยการปรับพื้นที่นา มาขุดสระน้ำและทำให้เป็นสวน ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนมาก แต่เธอก็ไม่ละทิ้งแนวคิดทำการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง "ทฤษฎีใหม่" หลังจากลาออกจากงาน เธอก็เริ่มทำความฝันตนเองให้เป็นจริง เริ่มต้นด้วยการปลูกผักที่ตัวเองชอบกิน รวมถึงพืชผักสวนครัวต่างๆ ไปพร้อมกับการปลูกพลู ปลูกกล้วย และอื่นๆ ที่กินได้ เหลือกินก็นำไปขายให้ชาวบ้านและชุมชนใกล้เคียง ขณะเดียวกัน ก็ได้เข้ารับ "การฝึกอบรมตามโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ที่ส่วนราชการจัดขึ้น ทำให้ได้รู้วิธีการและเทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่ๆ จึงมีแนวคิดที่จะขยายพื้นที่เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม โดยทุกครั้งที่ไปเรียนและเข้ารับการฝึกอบรม จะมีคำถามจากคนรอบข้างตลอดว่า...

จะเรียนไปทำไม แค่ปลูกผักใครๆ ก็ทำได้ "

วันหนึ่ง เธอได้ข่าวว่า "มีการเปิดรับสมัครเข้าร่วมโครงการพระราชดำริฯ จำนวน 5 คน" ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดี เธอจึงสมัครเข้าเป็นนักเรียนในโครงการพระราชดำริฯ หลักสูตรการดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงและองค์กรภาคี โครงการรณรงค์เพื่อน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสร้างภูมิคุ้มกันชุมชน ทำให้ได้ความรู้โดยมีหลักการสำคัญที่นำมาปรับใช้ในการทำการเกษตรคือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เป็นขั้นตอนตามลำดับความจำเป็น ประหยัด การพึ่งพาตนเอง ส่งเสริมความรู้ และเทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่เหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้น ยังมุ่งเน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ชุมชนสามารถวิเคราะห์ปัญหา และความต้องการของชุมชน สามารถวางแผนการผลิตที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ และความพร้อมของเกษตรกรได้ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกร

new theory 5

หลังเสร็จสิ้นการอบรมเธอได้ใช้พื้นที่ทั้งหมด 12 ไร่เศษที่มี เริ่มจากขุดสระน้ำในไร่นา 1 บ่อ แล้วปลูกพืชผัก ไม้ผล และอื่นๆ 2 ไร่ เมื่อมีรายได้จึงนำเงินมาขุดบ่อเพิ่มอีก 1 บ่อ ปัจจุบัน ขยายพื้นที่ปลูกออกเป็น 4 ไร่ 52 ตารางวา โดยปลูกพืชหลากหลายชนิด เช่น กล้วย 120 กอ มี 20 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์กล้วยหอมขอนแก่น หอมไต้หวัน หอมทุเรียน กล้วยไข่กำแพงเพชร กล้วยเขียวใหญ่ กล้วยเล็บมือนาง กล้วยตีบ กล้วยน้ำว้า เป็นต้น ต้นข่า 350 กอ มี 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ข่าเหลือง ข่าใหญ่ และข่าแดง ขายหน่อ 5-7 หน่อ/10 บาท และขายพันธุ์ถุงละ 25 บาท ต้นขจร 60 ต้น มะนาวพันธุ์แป้นพิจิตร 60 ต้น และพันธุ์ตาฮิติ 2 ต้น ไม้ผลต่างๆ มี มะม่วง ขนุน มะขามหวาน มะขามเปรี้ยว และส้มโอ รวม 25 ต้น ต้นพลู 200 หลัก ราคาขาย 100 ใบ/25-30 บาท มีรายได้ทุกวัน เฉลี่ยเดือนละไม่น้อยกว่า 3,000 บาท

นอกจากนี้ ยังมีผลิตผักปลอดสารพิษ หลายชนิด เช่น คะน้า ผักสลัด หอม ฯลฯ เพาะผักสวนครัวไว้สำหรับแจกจ่ายผู้ที่มาเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอีกจำนวนหนึ่ง เลี้ยงปลา 2 บ่อ มีปลาธรรมชาติ และปล่อยปลาตะเพียน ปลานวลจันทร์ และปลาหมอ เลี้ยงหมูหลุม 4 ตัว เลี้ยงเป็ดและเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง ประมาณ 50 ตัว และทำนา 8 ไร่ ผลจากความตั้งใจของเธอทำให้มีผลิตผลการเกษตรประเภทพืชผัก ปลา และสัตว์ปีก ที่เป็นอาหารที่ปลอดภัยในครัวเรือน และผลผลิตในส่วนที่เหลือยังนำไปจำหน่ายในชุมชน ทำให้มีรายได้ 400-500 บาท/วัน สำหรับสัตว์และไม้ผลทำให้มีรายได้เดือนละ 12,000-13,000 บาท ทั้งนี้ ตลอดปีทั้งปีมีรายได้เฉลี่ยปีละ 220,000 บาท ส่งผลให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุขและยั่งยืน

new theory 6

คุณละอองบอกว่า ทุกครั้งที่มีเงินรายได้จากการจำหน่ายผลิตผล จะแบ่งออกเป็นส่วนๆ ส่วนหนึ่งเก็บออมไว้ อีกส่วนไว้เป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัวและเป็นเงินลงทุนในการทำการเกษตร และอีกส่วนจะพาครอบครัวไปศึกษาดูงาน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรต้นแบบที่ประสบผลสำเร็จในแต่ละด้าน รวมถึงทุกครั้งเมื่อมีการจัดฝึกอบรมเพื่อให้รู้ว่าการทำการเกษตรจะต้องไม่หยุดนิ่ง ต้องพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา เมื่อได้รับการถ่ายทอดแล้วก็นำเรื่องการคิดต้นทุนในการผลิตมาใช้ ก่อนที่จะลงมือทำการผลิตพืชแต่ละชนิด

เธอมีวิสัยทัศน์คือ “ยึดมั่นในปรัชญา, พัฒนาตามขั้นตอน, สอนให้พึ่งตนเอง” จากความสำเร็จในการทำเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานเกษตรอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม และได้รับการคัดเลือกเป็น วิทยากรต้นแบบ โครงการเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) จังหวัดมหาสารคาม กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเมื่อปี 2558 ที่ผ่านมาก็ได้รับการคัดเลือกจากจังหวัดมหาสารคาม ให้จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์ ประจำตำบลขามเฒ่าพัฒนา อีกด้วย

new theory 7

ท่านที่สนใจการทำเกษตรตาม "ทฤษฎีใหม่" นี้ สามารถติดต่อสอบถามกับ คุณละออง ภูจวง ได้ที่ โทรศัพท์ 08-7145-6552 หรือ Facebook ละออง ภูจวง

ยังมีเกษตรกรอีกมากมายที่ประสบผลสำเร็จแบบ คุณละออง ภูจวง ในทุกภาคของประเทศไทย ที่มีการน้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีหลัก "ทฤษฎีใหม่" อยู่ภายใน ถ้าเราเริ่มต้นวันนี้ด้วยความขยัน อดทน ค่อยเป็นค่อยไป ย่อมสำเร็จในวันหน้า ขอเพียงอย่าสร้างฝันว่า "จะรวย รวย ปลูกเยอะๆ ขายได้เงินแน่นอน เพราะดูตัวอย่างเขามาแล้ว"

ตัวอย่่างที่สำเร็จเขาไม่ได้ใช้เวลาเพียงชั่วข้ามคืน แต่ทำมานานพอสมควรที่จะเกิดประสบการณ์ เกิดการเรียนรู้ เริ่มทำจากน้อยๆ เมื่อสำเร็จได้ผลจึงนำมาต่อยอดเป็นทุนค่อยๆ ขยายให้ใหญ่ขึ้นไป และทุกรายเขาไม่ทำเกษตรเชิงเดี่ยว ไม่ปลูกพืชชนิดเดียว ไม่เลี้ยงสัตว์ชนิดเดียว แต่ทำอย่างผสมผสาน และต้องมีต้นทุนน้ำที่พอเพียงเสมอ

ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านได้ผ่านภัยแล้งในปีนี้ไปด้วยเถิด "จงเอาปัญหามาเป็นโอกาส" แล้งอย่างนี้ทั้งประชาชน เอกชน ภาครัฐ ควรถือโอกาสสร้างแหล่งน้ำให้เพียงพอ ขยายสระน้ำ ห้วย หนอง แม่น้ำที่ตื้นเขินให้มีความกว้างและลึกเพียงพอ สำหรับการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้งปีต่อไป การบ่นไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาแต่อย่างใด ถ้าทุกคนร่วมมือกันภัยนั้นจะผ่านพ้นไปได้ครับ

new theory 8

"ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด" สวนแม่พิมพ์ไร่ภูจองนายอย นาจะหลวย อุบลราชธานี

"แห่นางแมว" ฝนกะบ่ตก ย้อนว่า พากันใช้เจ้าแม่คิตตี้มาแห่อ้อมบ้าน บางบ้านกะเอาแมวโดราเอมอนใส่เข่งแห่ พากันตั๋วเทวดาคักแท้น้อ พอๆ กับพวกตัดสติกเกอร์ติดท้ายรถว่า "รถคันนี้สี..." ทั้งที่แนมเห็นๆ อยู่ว่ามันบ่แหม่นตามสติ๊กเกอร์ ตั๋วตาเห็นแท้น้อ! ทีหลังไปปรึกษาหมอดู หมอเดาให้ดีว่าสีใด๋ถืกโฉลกก่อนสิออกรถเด้อ แต่จริงๆ สีที่ถืกใจขับไปกะหม่วน ทำมาหากินคล่อง มีเงินส่งงวด อย่าสิไปหลงเชื่อหมอดูหลาย มักไผมักมันตั่วหล่ะ เอ้า! ฝนบ่ตกกะพากันมาฮ้องเพลงนี้เบิ่งเป็นหยัง เอาให้ครึกครื้นเบิดท่งกันโลด เผื่อเทวดาม่วนนำเทน้ำลงมาให้ส่งเปียก พะนะ!

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)