foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

save isan

หตุการณ์น้ำท่วมอีสานในครั้งนี้ มองมุมหนึ่งเราได้เห็น "น้ำใจคนไทยที่มอบให้กันไม่ขาดสาย" แต่พอมองอีกมุมหนึ่ง เรากลับเห็นความขัดแย้งในทางการเมือง ที่พ่นน้ำลายออกมามากกว่าน้ำท่วมเสียอีก พวกท่านลืมบทบาทคำมั่นว่า "จะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนยามยากลำบาก" มาเป็นพ่นน้ำลายเอาความดีใส่ตัว เอาความชั่วใส่คนอื่น เป็นตาหน่ายแท้น้อ "นักกินเมือง" จำไว้เด้อพี่น้อง เลือกตั้งสมัยหน้าสิเลือกไผ "ไฟบ่ไหม้ป่า บ่เห็นหน้าหนู" ใช้ได้เสมอล่ะพี่น้องเอย

"อุทกภัย" ที่เกิดในครั้งนี้นั้น ทุกคนในพื้นที่ทราบว่า "ทุกปีจะมีน้ำหลากตามที่ราบลุ่ม ริมฝั่งแม่น้ำมูล แม่น้ำชี และลำนำสาขากันทุกปี ต้องเตรียมพร้อมอพยพเสมอ" แต่ธรรมชาตินั้นไม่อาจคาดเดาได้ว่า "ความรุนแรงแห่งภัยพิบัติ" นั้นแต่ละปีจะรุนแรงมากน้อยเพียงใด ในปีนี้เราพบกับความแห้งแล้งยาวนานต่อเนื่อง ฤดูฝนที่มาล่าช้า ฝนตกน้อยมาก จนเกิดความแห้งแล้งไปทั่วพื้นที่ประเทศไทยก็ว่าได้ ทำให้ประชาชนวิตกกับภัยแล้ง จนลืมป้องกันตัวกับเหตุภัยน้ำท่วมกันไปเลย เป็นเช่นนี้จริงๆ

ในทุกๆ ปี ฝนจะตกกระจายไปทั่วภาคอีสาน โดยเฉพาะทางตอนเหนือของภาค ทำให้มีปริมาณน้ำมากทางตอนบนของต้นลำน้ำชี แล้วน้ำจากแม่น้ำสาขาของลำน้ำชีจะค่อยๆ ไหลรวมกันลงมาสบทบกันกับแม่น้ำมูล ที่ต้นน้ำอยู่ทางนครราชสีมา แม่น้ำสองสายจะมารวมกันในพื้นที่อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ก่อนจะไหลลงไปสมทบกับแม่น้ำโขง ที่อำเภอโขงเจียม อุบลราชธานีที่เป็นปลายน้ำก็จะรับรู้ได้ถึงปริมาณน้ำที่ไหลผ่านลงมา เตรียมตัวกันได้ทันกับอุทกภัยที่เกิดขึ้นในทุกๆ ปี

river isan

จากภาพประกอบด้านบนนี้ (ต้องเอียงภาพไปทางซ้าย) จะเห็นว่า พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเป็นแอ่งกระทะ โดยมีแม่น้ำไหลมาจากทางทิศตะวันตกของภาค แล้วมารวมกันทางทิศตะวันออก ที่จังหวัดอุบลราชธานี แล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขงต่อไป ในปี 2562 นี้ ปริมาณน้ำมากมายไม่ได้มาจากทางจังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา แต่มาจากปริมาณน้ำฝนจากอิทธิพลพายุ 2 ลูก คือ โพดุล กับ คาจิกิ ที่พัดเข้าถล่มอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ก่อนใคร ทำให้ปริมาณน้ำฝนมหาศาลนั้น สร้างความอิ่มตัวในดินมากมายในพื้นที่จังหวัดที่กล่าวมา จนซึมซับไม่ไหวอีกแล้ว

flood ubon 1

เมื่อน้ำฝนที่ไหลหลั่งมาจากลำปาว ในจังหวัดกาฬสินธุ์ บวกเข้ากับลำเซบาย และลำน้ำสาขาในจังหวัดร้อยเอ็ด ยโสธร รวมกันไหลลงแม่น้ำชี และมีน้ำฝนจากศรีสะเกษที่ไหลลงแม่น้ำมูล มาสมทบกันที่ อำเภอเขื่องใน อุบลราชธานี แล้วยังมีน้ำจากลำเซบกและลำน้ำสาขาทางอำนาจเจริญลงมาสมทบด้วย ดินที่อิ่มน้ำในจังหวัดอุบลฯ ที่มากอยู่แล้ว จึงรับปริมาณน้ำมหาศาลนี้ไม่ได้ เกิดการล้นฝั่งริมตลิ่งท่วมท้นไปหมด ในจังหวัดอุบลราชธานีเองก็ยังมีลำน้ำโดมใหญ่อีกแห่งที่รับน้ำเกินขนาด ไหลลงมาสมทบกับแม่น้ำมูลที่อำเภอพิบูลมังสาหาร จึงเกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างกว่าที่คาดไว้ ส่วนลำโดมน้อยนั้นมีเขื่อนสิรินธรคอยรับน้ำไว้อยู่ จึงไม่มีผลกระทบมากนัก และทำให้ปริมาณน้ำในเขือนเพิ่มถึงระดับ 80% ทีเดียว

ไม่มีการแจ้งเตือนภัยจากทางการหรือเปล่า?

มีหลายคน หลายเสียงใช่ไหม ที่กล่าวเช่นนี้ แล้วจริงไหม? ไม่จริงครับ แต่… นิเวศของสื่อสารมวลชนไทย มันเปลี่ยนไปแล้วครับ การเสพสื่อทางวิทยุ – โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ต่างๆ ของประชาชนนั้นเปลี่ยนไปมากเลยในยุคสมัยนี้ นับตั้งแต่ก่อนพายุ “โพดุล” จะเข้าไทย กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศแจ้งเตือนตลอดมาเป็นระยะๆ สื่อวิทยุ-โทรทัศน์ได้ออกข่าวเตือนย้ำ มามากมายหลายครั้ง แต่ผู้รับสารมีน้อยครับ น้อยจริงๆ เพราะผู้คนหันไปเสพสื่อในโลกออนไลน์ สื่อโซเชียลมากกว่าสื่อเดิมๆ เช่น ดูรายการโทรทัศน์ต่างๆ ก็ดูย้อนหลังได้ และเลือกชมเฉพาะสิ่งที่ตนเองชื่นชอบเท่านั้น การเตือนภัย การพยากรณ์อากาศ จึงถูกละเลยไป ไม่มีใครสนใจ

flood ubon 3

บางท่านบอกว่า “เอ้า! มีสื่อออนไลน์ก็ใช้ซิ มันจะได้รวดเร็วไง” ครับ! เรื่องที่สะใจ ถูกใจ ถูกจริต ก็กระจายเร็วมากเป็นไฟลามทุ่ง เช่น ข่าวดาราคนนั้นชอบคนนี้ จะปี้คนนั้น ก้นหม้อข้าวไม่ทันดำก็เลิกกันแล้ว (มันจะดำได้ไงเขาใช้หม้อไฟฟ้ากันแล้วละลุง อ้าว! ผมผิดใช่ไหม?) ส่วนเรื่อง ภัยพิบัติใกล้ตัว” มันจะไม่ดัง ไม่มีคนสนใจ ไม่แชร์ข่าวลงในกลุ่มตนเองเลย จนกว่ามันจะมาสวัสดีหน้าบ้านแล้ว ซึ่งมันก็ไม่ทันการเสียแล้ว

แล้วนิเวศสื่อออนไลน์มันก็มีพื้นที่เฉพาะลงไปอีก ตามความนิยมชมชอบ แบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันไปอีก ทั้งเหลือง แดง ส้ม ฟ้า เทา ดำ ขาว ใครอยู่กลุ่มไหน ก็จะสนใจแต่ในกลุ่มออนไลน์นั้น ถ้าต่างกลุ่มแม้จะแหกปากความจริงยังไง กรูก็ไม่ฟังเมิงไง… พอหน่วยงานรัฐบาลออกข่าว กลุ่มที่ไม่ชอบรัฐบาลก็จะตะแบงว่า “เขียนเสือให้วัวกลัว จะได้ออกประกาศฉุกเฉินผลาญงบประมาณอีกล่ะซิ” มันใช่ไหมล่ะ พอจวนตัวน้ำมาท่วมปาก แล้วก็โพนทะนากันใหญ่ “ทำไมไม่เตือนประชาชนก่อน?” อ้าว! บอกแล้วมึงฟังไหมล่ะ?

การเตือนที่ได้ผลมีไหม? มี แต่… ไม่ทำกัน ทั้งที่เทคโนโยลีเหล่านี้มันทำได้ตั้งนานแล้ว เมื่อผมมีโอกาสไปเที่ยวญี่ปุ่น แล้วเปิดเบอร์โทรศัพท์โรมมิ่งในต่างประเทศด้วย วันนั้นมีพายุฝนเข้าในเมืองที่ผมไปเที่ยว ปรากฏว่า มีข้อความถูกส่งผ่านเข้ามาในโทรศัพท์ผม จากเครือข่ายในญี่ปุ่นเพราะเครื่องระบุพิกัด GPS ว่า ผมอยู่ในเขตที่จะเกิดภัยพิบัติ ทั้งข้อความภาษาญี่ปุ่น (ที่ผมอ่านไม่ออก) และภาษาอังกฤษ ประเทศไทยเราทำไมไม่ทำ? หรือ กสทช. เอาแต่จะประมูล 5G เพื่อหาเงินให้สถานีโทรทัศน์ดิจิทัลที่ปิดตัวลงไป อันนี้ท่านต้องไปถามกันดูเอาเองนะ ว่าอะไรควรทำก่อนหลัง?

flood ubon 4

ถ้า “ระบบเตือนภัยพิบัติ” ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทยเรา สามารถทำงานได้จริง ความเสียหายจากภัยพิบัติจะน้อยลงมาก เพราะเตรียมการป้องกันตนเองได้ทัน รวมทั้งจะต้องมีการให้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น Line, Facebook, Twitter, Instagram etc. ต้องมีการแจ้งเตือนภัยเหล่านี้ลงในสื่อด้วย ก็ในเมื่อสื่อพวกนี้มันจับพิกัดที่อยู่ (Location) ของผู้ใช้งานได้เป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ต้องไปเพิ่มเงื่อนไขอะไรมากมายเลย เจ้าภาพนี้คือ กระทรวง DE และ กสทช. นะจะบอกให้ ทำ ไม่ทำ บอกมา?

flood ubon 5

ทันทีที่เกิดอุทกภัยในครั้งนี้ "หน่วยงานทหาร" ในพื้นที่ ดูจะเป็นหน่วยงานหลักในการเข้าช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ตั้งแต่วันแรกๆ ร่วมกับหน่วยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เจ้าหน้าที่กรมชลประทาน กรมทางหลวง อาสากูภัย จิตอาสาจากทั่วทุกสารทิศ ลงมาร่วมด้วยช่วยกันในพื้นที่อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดแก่เหนื่อย ในการขนย้ายสิ่งของ อพยพประชาชน ผู้เจ็บป่วย พิการ รวมทั้งสัตว์เลี้ยงต่างๆ หนีน้ำกัน ประชาชนทั่วประเทศหลั่งไหลธารน้ำใจเข้ามาช่วยเหลือพี่น้อง ประชาชนที่ลำบากทั้งในเรื่องอาหาร น้ำดื่ม เครื่องอุปโภค บริโภค ยารักษาโรคต่างๆ ต้องขอกราบขอบพระคุณในน้ำใจจริงๆ

flood ubon 2

ในข่าวร้าย มีข่าวลวง ข่าวหลอก

แต่... ในโลกออนไลน์กับเกิดปรากฏการ์สงครามความขัดแย้ง แบ่งสี แบ่งฝักฝ่ายทางการเมือง สร้างข่าวลวง ข่าวหลอก ยุแยงตะแคงรั่ว ให้ทะเลาะขัดแย้งกันเองมากมาย ขอร้องเถอะ "ถ้าไม่ช่วย ไม่มีปัญญาจะช่วย ก็โปรดหุบมือ หุบตีนบนคีย์บอร์ด อย่าสร้างความขัดแย้งอีกเลย" เรื่องนี้มันไม่ใช่ "มือไม่พาย แต่เอาตีนราน้ำ" นะ แต่มันเป็น "การเอาสมองขี้เลื่อย เน่าๆ ของคนบ้าการเมือง มาสำรอกสมองเหม็นเน่าให้ไหลลงแม่น้ำมูล ให้มันเน่ายิ่งกว่าเดิม"

นทำดีเราก็ชื่นชมครับทำต่อไปเถอะ ไม่ว่าทางใด ย่อมเกิดอานิสงส์ผลบุญกันทั้งนั้น ถ้าไม่รู้ให้ถาม ไม่อยู่ในพื้นที่ก็ถามคนในพื้นที่ อย่า "มโน" แล้วก็เออ ออ เอาเอง คนประสบภัยอย่างพวกเรามันเจ็บปวด อย่าจับคนทุกข์ยากลำบากมาเป็นตัวประกันบนความขัดแย้งของพวกท่านทั้งหลายเลย กำลังหลักที่เข้าถึงเป็นกลุ่มแรกๆ คือ “ลูกหลาน” พวกเราเองนี่แหละ ที่ไปอยู่ในค่ายทหารต่างๆ มาทั้งกำลังกายในวัยฉกรรจ์ และยานพาหนะขนาดใหญ่ที่ทนต่อการต้านน้ำไหลได้ ผมผ่านไปหลายๆ จุดที่น้ำท่วมก็เห็นเขาเหล่านี้ ทั้งเหล่าทัพบก เรือ อากาศ และตำรวจ เต็มไปหมด ก่อนที่อาสากู้ภัยจากที่ต่างๆ จะเดินทางมาถึง เพราะในเขตร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี อำนาจเจริญ จะมีกำลังพลจากทุกเหล่าทัพตั้งอยู่ในเขตพื้นที่นี้ประจำอยู่แล้ว

แต่เกรียนมโนในโลกออนไลน์ “สิงห์คีย์บอร์ด” จะไม่รู้ไม่เห็นหรอก เพราะพวกนี้พอเห็นหน่วยงานราชการใด ทำการไลฟ์สด ถ่ายทอดการทำงานออกช่วยเหลือประชาชน เขาจะมโนไปเลยว่า “เฮ้ย! มันสร้างภาพ ไม่ดู” จึงไม่เห็นความยากลำบากในการทำงาน และความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่จริงๆ จนกว่า “กลุ่มของตนจะหลั่งน้ำตา” จึงจะออกมาผสมโรง ไม่ฟังใครเขา “นายกฯ ผู้ว่า ไปไหน?” อ้าว! สนใจด้วยรึ?

flood ubon 6

อยู่เฝ้าบ้านน้ำท่วมทำไม ไม่ออกมา คนเข้าไปช่วยลำบากนะ

ใครๆ ก็อยากออกมาจากที่น้ำท่วม อยากปลอดภัยกันทั้งนั้นแหละ แต่… ออกมาแล้วจะให้ไปอยู่ไหน อยู่อย่างไร? มันต้องคิดให้รอบด้านด้วยนะ ออกจากบ้านที่เคยอยู่ลำบากไปได้แต่ตัว ทรัพย์สินเอาออกไปไม่ได้ ก็เป็นห่วงล่ะ ขนาดที่เอาออกไปได้ก็ยังเป็นห่วงใช่ว่าจะปลอดภัยนะ บางครอบครัวย้ายที่อยู่ 3 ครั้งถึงจะพ้นน้ำ ย้ายครั้งแรกไปริมถนนที่คิดว่าคงไม่ท่วมเพราะปีที่แล้วมันไม่ท่วม แต่ปีนี้ดันท่วมถึงและมาเร็วด้วย บางคนเพิ่งจะทำเพิงพักมุงสังกะสีชั่วคราว วางแคร่ไม้ไผ่ยกพื้นพอจะได้นอนพัก แค่คืนเดียวเท่านั้นแหละ วันรุ่งขึ้นน้ำมาขนของแทบไม่ทัน ย้ายอีกครั้งที่สอง ได้แค่ 2 คืนมันมาอีกแล้ว ต้องย้ายอีกครั้งที่สามถึงรอดพ้นน้ำ

flood ubon 7

ประเทศไทยเราไม่ได้มีการสร้าง "ศูนย์อพยพหลบภัย" อย่างเป็นทางการ ไว้รองรับเหตุการณ์เช่นนี้ และสถานที่ที่คาดว่าจะใช้หลบภัยได้ เช่น วัด โรงเรียน หอประชุมหรือศาลากลางหมู่บ้าน ก็โดนน้ำท่วมทั้งหมด เพราะน้ำท่วมกันเป็นบริเวณกว้างมาก หรือถึงแม้จะมีอยู่จริงก็คงใช้ประโยชน์ไม่ได้หรอก พอเหตุการณ์ภัยพิบัติผ่านพ้นไปไม่นาน ก็ขาดคนเหลียวแล ปล่อยทิ้งให้ร้าง ผุพังกันหมด (ไม่เชื่อไปดู ศูนย์หลบภัยสึนามิ ในภาคใต้ดูเถอะ ถ้ามันเกิดเหตุการณ์เช่นปีนั้นอีก จะช่วยได้ไหม?)

ทรัพย์สินที่เอาออกมาไม่ได้ ก็ยกขึ้นชั้นสองบ้าง ใต้หลังคาบนขื่อบ้านก็มี ให้ลูกเมียออกไปจากบ้านน้ำท่วมก่อน สามีที่แข็งแรงก็อยู่เฝ้าบ้าน มีเรือก็โชคดีไปได้ขนย้ายสิ่งของออกมาบ้างบางส่วน และได้อาศัยพายแวะเวียนไปดูบ้านบ้าง ที่ไม่มีเรือก็ลำบากมากหน่อย มนุษย์ยุคนี้มันไว้ใจยากอยู่ มีบางคนเอาทรัพย์สินที่ขนย้ายได้ออกมาเหลือแต่บ้านไว้ พอน้ำลด ทั้งประตู หน้าต่าง หลังคาดีๆ ถูกถอดออกไปหมด ไม่ใช่น้ำพัดพาไป คนนี่แหละมาขโมยทั้งๆ ที่ประสบภัยยากลำบากกันขนาดนี้

บทเรียนที่ต้องหาทางแก้ไข

น้ำท่วมปีนี้ไม่ใช่ว่า เราประมาทไม่เตรียมการอะไร ประชาชนบางส่วนที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำมูล แม่น้ำชี นั้นเขาเตรียมตัวกันดีพอสมควร ปลายสิงหาคมเขาก็เริ่มอพยพนำสิ่งของมีค่าต่างๆ ขึ้นมาไว้บ้านญาติๆ ที่ปลอดภัยกันบ้างแล้ว แต่ในบางจุดที่ไม่เคยท่วมมานานนับสิบปี ไม่คิดว่ามันจะท่วมก็ดันท่วมด้วย ทั้งท่วมแบบมาเร็ว มาแรงเสียด้วย เช่น ที่อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ที่น้ำมาในพริบตาเดียวระดับสูงเกือบ 2 เมตร จนอพยพเด็กนักเรียนในโรงเรียนอนุบาลออกมาไม่ทัน เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน

flood roi ed 01

ริมแม่น้ำสายหลักนั้นท่วมเป็นปกติทุกปี แต่ในจุดที่ไม่เคยท่วมมาก่อน ปีนี้ทำไมถึงท่วม และทำไมถึงมาเร็วขนาดนั้นล่ะ มาวิเคราะห์ปัญหากันเล่นๆ อาจจะถูกหรือผิดก็ได้นะ ผมวิเคราะห์ภาพรวมๆ ไม่เจาะจงพื้นที่

1. ในเขตเมือง สาเหตุมาจากความเจริญที่ขาดการวางแผน ผังเมืองที่มันเปลี่ยนสีตามผู้มีอำนาจในยุคต่างๆ ทำให้แก้มลิงที่เคยรับน้ำหาย กลายเป็นที่ที่มีเจ้าของ ออกโฉนดได้ แล้วก็ขายเปลี่ยนมือไปยังนายทุน ทำไมต้องนายทุน? ก็เพราะ ชาวบ้านไม่มีปัญญาถมที่ที่ลุ่มต่ำขนาดนั้น มาเป็นเนินสูงกว่าที่ดอนเดิมได้หรอก จากนั้นมันก็กลายเป็นศูนย์การค้า อาคารพาณิชย์ หมู่บ้านจัดสรร มีการขยายของเมืองที่ไร้ทิศทาง ขาดการวางแผน รถราติดหนึบ แล้วก็มาแก้ปัญหาคือ ทำถนนวงแหวนรอบเมือง ตัดผ่านที่นายทุนที่กว้านซื้อไว้ล่วงหน้า ได้ค่าเวนคืนด้วย ทำให้ที่ดินตาบอดกลับกลายเป็นที่ดินมีราคาขึ้นมาอีก รวยกันสองเด้ง

flood ubon 8

การทำถนนวงแหวน โดยไม่สำรวจก่อนเลยว่า ในอดีตที่ดินบริเวณนี้มันมีที่ทางให้น้ำระบายออกไปทางไหน อย่างไร ในปริมาณเท่าไหร่ (ยิ่งไม่สอบถามชาวบ้าน ชุมชนยุคก่อนพัฒนาเมือง) ก็ไม่ทราบข้อมูลที่เป็นจริง ห้วย หนอง คลองที่มีในอดีต ก็ตื้นเขินไปโดยธรรมชาติ หรือโดยการเบียดบังจากมนุษย์มีมากน้อยเพียงใด ทำให้การวางแผนสร้างถนนทำได้เพียงทำท่อลอดระบายน้ำไม่กี่จุด แทนที่จะทำเป็นสะพานคอนกรีตยาวๆ เยอะๆ ถี่ๆ ให้น้ำระบายได้เร็วก็เลยท่วมกันทุกปีอย่างที่เห็น

2. ในเขตนอกเมือง สาเหตุมาจากการทำเกษตรเพื่อการค้า เรารุกพื้นที่ป่าทาม พื้นที่โคกป่าไม้ เพื่อการเกษตรเชิงพาณิชย์ ปลูกเพื่อขายกันมากยิ่งขึ้นทุกปี ทำการเกษตรโดยอาศัยฟ้า อาศัยฝน พระพิรุณเท่านั้น โดยไม่สร้างแหล่งน้ำ (กลับรุกแหล่งน้ำนั้นเสียเอง เช่น ป่าบุ่ง ป่าทาม ที่เคยเป็นที่ชลอเก็บกักน้ำ ก็ไปหักล้าง ไถ เพื่อเป็นที่ทำการเกษตร เทียบได้กับป่าพรุ ป่าชายเลนในภาคใต้ ภาคตะวันออก) การรอแต่พระพิรุณ เราก็เลยได้แต่…

flood ubon 9

ความพิโรธโกรธเคือง พ่นน้ำลงมาแล้วไม่มีที่กักเก็บ ชะลอ พยุงน้ำ ให้ซึมลงดินช้าๆ กลายเป็นไหลหลากมาท่วมอย่างรวดเร็วตั้งตัวไม่ทัน “การทำสวนยาง” บางคนก็ว่า “มันก็เป็นป่ามีต้นไม้อยู่นี่” จริง!!! แต่… ไม่ทั้งหมด ใต้ต้นยางพาราโดนถากถาง พ่นยาฆ่าหญ้าให้ตาย กลายเป็นลานโล่งๆ ให้น้ำไหลมาง่ายๆ กว่าเดิมเสียอีก คำว่า “ป่า” นั้นประกอบด้วย ไม้ต่างระดับกัน ตั้งแต่หญ้าหรือวัชพืชคลุมดิน ต้นไม้พุ่มขนาดเล็ก ต้นไม้ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ หลายสายพันธุ์ที่ต่างก็มีราก กิ่ง ก้าน ใบ แผ่ขยายที่ต่างกัน ที่เอื้ออำนวยประโยชน์ให้ผืนดินแตกต่างกันนะ บ้างก็รากหยั่งลงลึก บ้างก็รากแผ่สยายตามผิวดิน ซึ่งมีผลต่อการซึมซับน้ำลงในดินทั้งนั้น

พอเราไม่มีที่กักเก็บน้ำอย่างเหมาะสม จึงปรากฏการณ์น้ำหลากลงมาในเมือง ในหมู่บ้าน โดยอาศัยถนนเป็นเส้นทางลำเลียงน้ำ ที่มากันอย่างรวดเร็วนั่นเอง ใช่ไหม? ก็ลองพิจารณากันดูนะครับ

ขอให้เหตุการณ์นี้เป็นบทเรียน ที่ทุกหน่วยงานควรนำมาถอดบทเรียนเพื่อแก้ไขปัญหาในอนาคต เราอาจจะจัดการบางเรื่องไม่ได้ย้อนหลัง เช่น การรุกล้ำแก้มลิง ป่าบุ่งป่าทาม ที่เคยมีมาในอดีต แต่เราควรจะหยุดปัญหานี้ไม่ให้เกิดขึ้นอีก ห้วย หนอง คลอง บึง ทั้งหลายต้องได้รับการแก้ไข ขุดลอกใหม่ไม่ให้ตื้นเขิน กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ เช่น ผักตบชวา การสร้างสิ่งก่อสร้างรุกล้ำลำน้ำ หาช่องทางระบายน้ำให้รวดเร็ว ด้วยการเร่งสร้างธนาคารน้ำใต้ดินที่ถูกหลักวิชาการ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไร้สารพิษ เพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ได้ยามขาดแคลน

before after
บ้านโบราณหนีน้ำท่วมได้ กับบ้านยุคใหม่ใต้ถุนสูง เทียบกับบ้านชั้นเดียวที่ท่วมได้ทุกปี

สร้างค่านิยมใหม่ให้ถูกต้อง ด้วยการอยู่กับนิเวศของพื้นที่ให้ได้ ไม่หลงทิศทางกับความเจริญรุ่งเรืองสมัยใหม่ ที่ไม่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น เช่น การก่อสร้างบ้านใต้ถุนสูงเพื่อให้พ้นน้ำยามภัยพิบัติ แทนที่จะสร้างบ้านตึกชั้นเดียวอย่างปัจจุบัน ที่น้ำมาคราใดก็มิดหลังคาทุกทีไป เราจะไปฝืนธรรมชาติไม่ได้ดอก นอกจากจะทำให้กลมกลืนไปกับธรรมชาติอย่างเช่นในอดีต

 

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)