foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

hot climate2563 01

เตรียมใจกันหรือยังว่า "...ปีนี้ พ.ศ. 2563 ประเทศไทยต้องเตรียมรับมือกับวิกฤตภัยแล้งที่คาดว่า จะมีความรุนแรงมากเป็นอันดับสองในรอบ 40 ปี นับตั้งแต่ปี 2522..." ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยานะครับ ที่กล่าวถึงสถานการณ์ฝนในประเทศไทยว่า จะมาล่าช้าจากปกติที่เริ่มเดือนพฤษภาคม มาเป็นปลายเดือนมิถุนายน ซึ่งก็จริงตามนั้น พอฝนมาช่วงแรกๆ ก็กระจายแบบผิวๆ ไม่ฉ่ำใจนักมาเป็นระยะ แต่พอช่วงสิงหาคมเจ้าพายุ "ซินลากู" ก็มาแบบรุนแรงแบบไม่ยั้งเกิดภาวะน้ำท่วมหนักในบางพื้นที่ทางตอนเหนือของภาคอีสาน เช่น จังหวัดเลย แต่ในทางตอนล่างอย่างนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ กลับไม่มีฝนเลย "อ่างเก็บน้ำจระเข้มาก" ก็กลายเป็น "จระเข้หนี" เพราะไม่มีน้ำให้อยู่ จนกระทั่งวันที่เขียนบทความนี้ (13 กันยายน) น้ำท่าก็ยังมีไม่เพียงพอ อ่างเก็บน้ำ เขื่อนใหญ่ๆ หลายแห่งยังมีปริมาณน้ำน้อยมาก น่าจะไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคไปจนถึงฤดูแล้งปีหน้า 2564 [ สถานการณน้ำในเขื่อนประเทศไทย ]

ในขณะที่ชาวนาชาวไร่บ่นกันว่าฝนไม่ตก แล้งจัด ข้าวในนาแห้งตายเสียหายหนักกว่าทุกๆ ปี แต่ในสื่อสังคมออนไลน์อย่าง Facebook ของสังคมคนเมือง คนที่ทำมาค้าขายในตลาดนัด กลับบ่นว่า"ฝนตกหนัก ตกไม่เลือกที่ ไม่เลือกวันเวลา จนการทำมาหากิน การเดินทางมีปัญหา เกิดสภาพตลาดน้ำ"(น้ำท่วม จนใช้รถราเดินทางไม่ได้ อยากมีเรือแทน) นั่นคงจะเป็นเพราะ "ฝนตกตามที่ที่มีโฉนด" เอ้า! มันก็มีโฉนดกระจายในทุกที่นี่นา หาว่าไป... มันเป็นเรื่องเอาความจริงมาล้อเล่นครับ เพราะที่นาที่ไร่จำนวนมากนั้น เกษตรกรไทยส่วนใหญ่นำมาฝากไว้ในเมืองที่ "ธกส." จึงทำให้ฝนตามมาตกในเมืองไงครับ 555 (อาจจะขำไม่ออกนักเนาะ)

hot climate2563 02

ชาวนาต้องปฎิวัติ แต่ไม่ต้องปลดแอก

เอิ่ม! ไม่เกี่ยวกับการเมืองที่ยุ่งขิงๆ ตอนนี้นะครับ บทความต่อไปนี้ไม่มี่เนื้อหาส่วนใดที่จะยุยงให้ชาวนาไปเดินขบวนประท้วงรัฐบาล มีแต่จะช่วยหาหนทางให้ท่านได้ลืมตาอ้าปากด้วยการปฏิวัติตนเอง ลุกออกมาจากความเชื่อที่มีมาแต่ปู่ย่า-ตายายจากโบราณกาล ที่แหงนหน้าคอยแต่ฟ้าฝน มาใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำตามเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่บอกไม่ต้องปลดแอก ก็เพราะการใช้แอกหรือแรงงานจากสัตว์นั้นจะลดต้นทุน ไม่เปลืองน้ำมัน ไม่เหม็นตดที่ออกมาเป็นควัน แต่ได้เครื่องกำจัดหญ้าและผลิตปุ๋ยชั้นดีอีกต่างหากเล่า (สิ่งใหม่-สิ่งเก่า เราต้องเลือกให้เหมาะสม เพื่อลดต้นทุน สร้างรายได้)

hot climate2563 03

นับตั้งแต่ประเทศไทยีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ในยุคที่เพลง "ผู้ใหญ่ลี" ของ ศักดิ์ศรี ศรีอักษร ดังคับประเทศโน่น เกษตรกรทั้งชาวนาชาวไร่ก็ลืมอดีต ลืมการทำเกษตรเพื่อยังชีพตนเอง มาเป็นทำการเกษตรเชิงเดี่ยวจะปลูกพืชพันธุ์ เลี้ยงสัตว์ก็ทำชนิดเดียวจำนวนมากๆ เพื่อการขาย ขาย และรวยๆๆๆ แต่จากบัดนั้นจนจนบัดนี้ ก็ยังไม่เห็นมีเกษตรกรรายใดที่ร่ำรวยเงินทอง เห็นรวยแต่หนี้ทั้งจาก ธกส. และนายทุน ที่เอาสินค้าปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืชมาแลกเอาผลิตผลไปด้วยราคาถูกๆ ไปขายโก่งราคาแพงๆ ร่ำรวยกันไป

ถึงวันนี้ "ชาวนาต้องปฏิวัติ" ด้วยการกลับมาทำเกษตรอินทรีย์ด้วยเกษตรผสมผสานมีพืชพันธุ์หลากชนิด ได้ผลิตผลในทุกฤดูกาล เพื่อเลี้ยงตนเอง ถ้ามีเหลือค่อยนำไปแลกเปลี่ยนเป็นปัจจัยอื่นๆ ที่ตนยังขาด ทำการ "สวมแอก" ปลดพันธนาการจากเครื่องจักรกล ที่คอยสูบเงินจากกระเป๋าพ่นมลพิษ มาใช้แรงงานเพื่อน (สัตว์เลี้ยง) ที่ช่วยกำจัดหญ้า วัชชพืชและให้ปุ๋ยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ แล้วรอยยิ้มของลูกหลานชาวนาจะกลับมาอีกแน่นอน

hot climate2563 04

“เกษตรกรยุคนี้ควรปรับเปลี่ยน "วิธีการคิด และวิธีการทำเกษตร" โดยเฉพาะเรื่องการทำเกษตรแบบผสมผสาน ตามแนวทฤษฎีใหม่ และยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวง (รัชกาลที่ ๙) เชื่อว่านี่จะเป็นทางรอดของเกษตรกรและชาวนาไทยในเวลานี้ได้” แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการส่งเสริมชุมชน หรือการพัฒนาชนบทที่สำคัญๆ คือ การที่ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนา คือ การที่ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนาให้เกิดการพึ่งตนเองได้ของคนในชนบทเป็นหลัก กิจกรรมและโครงการตามแนวพระราชดำริที่ดำเนินการอยู่หลายพื้นที่ทั่วประเทศในปัจจุบันนั้น ล้วนแล้วแต่มีเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่การพึ่งตนเองได้ของราษฎรทั้งสิ้น พิสูจน์ให้เห็นว่าทำได้สำเร็จจริงๆ จากเกษตรกรจำนวนมากในทุกๆ ภาคของประเทศ

ชาวนาต้อง "เรียนรู้การทำนาทั้งระบบ" โดยอาจเป็นผู้จัดการนา (ที่อาจไม่ต้องลงแรงเองทั้งหมด) แต่กระบวนการต่างๆ ใช้วิธีการจ้างให้ทำก็ยังสำเร็จได้ โดยต้องเรียนรู้ตั้งแต่ การคัดพันธุ์ข้าว เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี เป็นที่นิยมบริโภค ซึ่งการคัดพันธุ์ข้าวดีย่อมได้ผลผลิตดีก็เท่ากับเป็นการลดต้นทุน เรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์ ทำยาปราบศัตรูพืช ไล่เพลี้ยแมลงออกไปด้วยพืชสมุนไพร จัดการสร้างแหล่งเก็บน้ำในพื้นที่ไร่นาของตน เป็นสระน้ำลึกขนาดใหญ่ (โคก หนอง นา โมเดล) ทำธนาคารน้ำ ปลูกป่าเพิ่มเติม เมื่อได้ข้าวก็นำมาแปรรูปขายเอง จะด้วยช่องทางออนไลน์ในมือถือที่เดี๋ยวนี้มีกันแทบทุกครัวเรือน หรือรวมกลุ่มกันเป็นผลผลิตจากชุมชน เท่านี้เองชาวนาก็จะสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องรอการช่วยเหลือจากรัฐบาลแล้ว

hot climate2563 05

กระแสที่ชาวนาเริ่มหันมาเป็นผู้ผลิตข้าวถุงขายเอง และกระแสสังคมที่ต่างพร้อมใจกันช่วยเหลือชาวนา หลังจากราคาข้าวเปลือกตกต่ำก็ได้มีชาวนาและกลุ่มวิสาหกิจต่างๆ ซื้อเครื่องสีข้าวกันมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นเครื่องสีข้าวขนาดเล็กและขนาดกลาง ทำเป็นธุรกิจเล็กๆ เพื่อนำข้าวสารที่สีแปรสภาพแล้วไปขายให้กับผู้บริโภคโดยตรงผ่านช่องทางออนไลน์ หรือในตลาดการเกษตรทั่วไป แทนการไปขายเป็นข้าวเปลือกให้พ่อค้าคนกลางซึ่งจะได้ราคาต่ำ ชาวนาจึงได้หันมาสีข้าวขายเองกันมากขึ้น เพื่อจะได้ขายข้าวในราคาที่สูงขึ้น และยังมีส่วนอื่นๆ ของข้าวที่เหลือ เช่น รำ แกลบ ปลายข้าวที่หัก นำมาจำหน่ายต่อ หรือนำไปเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ในครัวเรือนได้อีกทางหนึ่ง

หลายคนคงเคยได้ยินโครงการชื่อ "1 ไร่ 1 แสน" มาบ้างแล้ว ซึ่งก็พัฒนาต่อยอดมาจากเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรพอเพียง และปัจจุบันก็ "โคก หนอง นา โมเดล" นี่เอง คงไม่ต้องถามนะว่า "มันทำได้ผลจริงไหม?" ทำได้จริงครับ แต่...

คนทำต้องมีความตั้งใจจริง ศึกษาหลักการ ทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ แล้วจึงลงมือปฏิบัติ เพราะหากไม่เข้าใจแต่ฝืนทำแบบครึ่งๆ กลางๆ ก็จะล้มเหลวกันเสียส่วนมาก ที่บอกว่า "ต้องศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องท้" เพราะสภาพพื้นดินของแต่ละคนในแต่ละสถานที่นั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงครับ การลงมือทำจึงต้องมีวิธีการที่หลากหลายแตกต่างกันด้วย จะเลียนแบบกันตรงๆ ก็ไม่ได้ แต่หลักการใหญ่ๆ คือ

1. แบ่งพื้นที่ให้เหมาะสม

แบ่งส่วนสำหรับการเป็นที่อยู่อาศัย (โคก) ส่วนสำหรับการจัดเก็บน้ำเพื่อการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ (หนอง หรือสระกักเก็บน้ำ) ส่วนสำหรับปลูกข้าว (นา) และส่วนต่อเชื่อมของพื้นที่ต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น ทางเดินสำหรับการสัญจร ใช้ปลูกพืชพันธ์ต่างๆ ทั้งที่เป็นไม้ยืนต้น ไม้ผล และลำคลองเชื่อมให้ความชุ่มชื้นกระจายไปในพื้นที่อย่างเหมาะสม

2. การปรับปรุงดิน

เนื่องจากสภาพดินของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน จะต้องมีการบำรุงดินที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาพอสมควร อาจจะนานเป็นปีกว่าจะให้ผล ซึ่งเกษตรกรจะต้องศึกษามากขึ้นถึงสภาพดินในพื้นที่ตนเอง การปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ เช่น หมอดินของทางการ จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อนำความรู้มาปรับใช้ รวมทั้งศึกษาด้วยว่า พืชพันธุ์ชนิดใดจเหมาะสมในการเพาะปลูก รวมทั้งพืชที่ช่วยในการบำรุงดินให้ฟื้นตัวเร็ว การนำสัตว์ที่ให้มูลค่าสูงทางเศรษฐกิจมาเลี้ยง (มูลค่าที่ว่าคือ ให้ทั้งอาหารกับคน ให้ปุ๋ยแก่ดิน เลี้ยงไม่ยากนัก โตเร็ว เหมาะสม)

3. ชองทางการจำหน่าย/รายได้เสริม

การปลูกแบบไร้ทิศทางทำตามเขาว่า ไม่สำรวจความต้องการ แนวโน้ม ก็คือ ความล้มเหลว อย่างที่เราเข้าใจกันคือ การเกษตรแบบนี้คือเน้นที่พึ่งพาตนเองให้ได้ก่อน เมื่อมีผลผลิตเหลือค่อยแลกเปลี่ยนหรือจำหน่าย เราก็ต้องมองที่ชุมชนของเราว่า ในพื้นที่นิยมบริโภคอะไรบ้าง มีการปลูกมากน้อยเพียงใด ถ้ามีมากอยู่แล้วเรายังไปปลูกเพิ่มอีก มันก็ล้นความต้องการแน่นอน เราจึงต้องลดการปลูกพืชพันธุ์ชนิดนั้นลง เอาแค่พอกินในครอบครัว แล้วทดลองศึกษาการปลูกชนิดอื่นๆ ที่ยังมีน้อยในท้องถิ่นให้ชำนาญ ให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น หลากหลายชนิดขึ้น จึงจะประสบผลสำเร็จดังประสงค์

4. การนำเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยเสริม

ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาช่วยเสริมเป็นเรื่องจำเป็นของเกษตรกรยุคใหม่ เช่น ทฤษฎีการแกล้งดิน ของในหลวงรัชการที่ ๙ ที่ทำให้ดินเลวกลายเป็นดินดีเหมาะสำหรับการเพาะปลูก (ลองค้นหาเองจากเพื่อนกู(เกิ้ล)เองนะครับ) วันนี้ขอเสนอ "เทคนิคการแกล้งข้าว" ที่ทำให้การปลูกข้าวในนาได้ดี มีผลผลิตมากขึ้นพิสูจน์ได้มาแล้ว วิธีการนี้เหมาะกับ "นาดำ" มากกว่านาหว่านนะครับ หรือเรียกว่า "การทำเปียกสลับแห้ง" ซึ่งวิธีนี้เป็นการแกล้งหลอกให้ข้าวตกใจงอกรากหยั่งลงลึกหาอาหารจากน้ำใต้ดินเอง หลักการคือ

ทำท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร เจาะรูด้วยสว่านเส้นผ่านศูนย์กลางหุนครึ่งถึงสองหุน 4-5 แถวรอบๆ ท่อ แต่ละรูห่างกัน 5 เซนติเมตร ฝังลงไป 20 เซนติเมตร ให้ปากท่อโผล่ขึ้นพ้นผิวดิน 5 เซนติเมตร เพื่อการวัดสังเกตระดับน้ำใต้ดิน ดังภาพ

hot climate2563 07

วิธีการทำนาแบบเปียบสลับแห้ง

การเตรียมดินในการทำนาแบบ "ทำนาเปียกสลับแห้ง" ต้องปรับพื้นที่ให้มีความราบเรียบเสมอกันในแปลงนา ด้วยการไถดะพร้อมปุ๋ยอินทรัย์หรือปุ๋ยคอก ทำการไถแปรและคราดเพื่อปรับระดับดินและเก็บเศษวัชชพืชออก เพื่อให้สามารถกำหนดระดับน้ำในแปลงได้สะดวก แม่นยำ หลังจากนั้นฝังท่อแกล้งข้าว (ท่อพีวีซีเจาะรูสำหรับวัดน้ำใต้ดิน) ลงในผืนนาแปลงละ 2-4 จุด (เพื่อสะดวกในการดูระดับน้ำใต้ดิน) จากนั้นเริ่มปล่อยน้ำเข้ามาในช่วงแรก ทำการปักดำข้าวกล้าตามปกติจนเสร็จในแปลงนา

รอจนต้นข้าวเริ่มตั้งลำยึดดินมั่นคง แตกยอดแล้วก็สูบน้ำออกให้นาแห้ง เพื่อฝึกให้รากข้าวออกแรงชอนไชหาอาหาร หาน้ำใต้พื้นดินเองลึกขึ้น และจะเติมน้ำเข้านาอีกครั้งเมื่อเวลาที่ระดับน้ำใต้ดินแห้งลง ผลก็คือ ต้นข้าวเติบโตแข็งแรงขึ้นอย่างคาดไม่ถึง โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีสักนิด และวัชพืชที่ขึ้นแซมต้นข้าวก็ตายไปโดยไม่ต้องออกแรงกำจัด อีกทั้งผืนดินที่แห้ง ทำให้หมดปัญหานาหล่มที่ชาวนาแสนจะเอือมระอา หอยเชอรี่ก็อยู่ไม่ได้ ศัตรูพืชก็ลดน้อย

สามารถเลิกใช้ยาฆ่าแมลงที่เป็นสารเคมีได้ โดยใช้ระบบนิเวศธรรมชาติให้นก (ปากห่าง) มากินหอยเชอรี่เอง และเปลี่ยนใช้น้ำส้มควันไม้แทนในการกำจัดเพลี้ย ถ้าสามารถเพิ่มการแพร่พันธุ์แหนแดงเข้าในแปลงนาให้มาช่วยเพิ่มไนเตรดในดิน ก็จะเป็นปุ๋ยที่มีประโยชน์ต่อข้าวมาก เมื่อฤดูเก็บเกี่ยวมาถึง ผลของการทดลองปลูกนาเปียกสลับแห้งนี้ได้ผลผลิตมากกว่าเดิม แถมสุขภาพร่างกายชาวนาดีขึ้นกว่าเดิม เพราะไม่ต้องเผชิญกับสารเคมี

hot climate2563 06

หากในนาลุ่มใกล้เขตชลประทาน มีพื้นที่มากจะใช้วิธีการทำนาหว่านกับการทำนาแบบเปียกสลับแห้งก็ได้ ตามแผนผังภาพด้านบน โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. การเตรียมดิน ปรับให้พื้นที่สม่ำเสมอ ฝังท่อีวีซีวัดระดับน้ำลงในแปลงนา
  2. ปลูกข้าว (หว่าน ปักดำ หรือหยอด) ถ้าปลูกด้วยวิธีการหว่าน หลังหว่านข้าวให้ระบายน้ำให้แห้งเพื่อให้เมล็ดข้าวงอกสม่ำเสมอ พ่นสารคุม-ฆ่าวัชพืชหลังหว่านข้าว 10 วัน
  3. เอาน้ำเข้าแปลงนา หลังพ่นสารภายใน 2 วัน ประมาณครึ่งต้นข้าว รักษาระดับน้ำไว้จนถึงช่วงการใส่ปุ๋ยรองพื้น
  4. เมื่อข้าวอายุ 20-25 วันให้ใส่ปุ๋ยรองพื้น หลังจากหว่านปุ๋ยรองพื้น ปล่อยน้ำในนาให้แห้งไปโดยธรรมชาติจนน้ำอยู่ที่ระดับ 15 เซนติเมตรใต้ผิวดิน
  5. สูบน้ำเข้าแปลงจนระดับน้ำสูง 5 เซนติเมตรเหนือผิวดิน จากนั้นปล่อยน้ำให้แห้งไปตามธรรมชาติ ทำสลับกันไปจนถึงช่วงการใส่ปุ๋ยแต่งหน้า ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าระยะข้าวแต่งตัว
  6. ใส่ปุ๋ยแต่งหน้าและรักษาระดับน้ำในแปลงให้อยู่ที่ 5 เซนติเมตรเหนือผิวดิน จนถึงก่อนเก็บเกี่ยว 10 วัน จึงปล่อยให้แปลงแห้งเพื่อให้ข้าวสุกแก่สม่ำเสมอและสะดวกต่อการเก็บเกี่ยว

วิธีการเหล่านี้ เกษตรกรต้องลงมือทำเพื่อหาข้อบกพร่อง ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับผืนดินของตนเอง วิธีการหนึ่งอาจจะสำเร็จในที่ที่หนึ่งแต่ก็อาจจะไม่ได้ผลในบางพื้นที่ ต้องทดลองในสถานที่จริงเปลี่ยนแปลงไปให้เหมาะสมครับ ขอเป็นกำลังใจให้กับเกษตรกรยุคใหม่ ต้องศึกษา ค้นคว้า สั่งสมความรู้และเทคนิควิธีการสมัยใหม่ให้มาก อย่าลืมติดตามเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสภาพทางภูมิกากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาด้วย จะติดตั้ง Application Thai Weather ติดไว้ในสมาร์ทโฟนด้วยก็ยิ่งดี โหลดที่นี่สำหรับ Android และ iOS ได้เลย

lilred

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)