foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

ระวังอากาศแปรปรวน!

1april2022

3 เมษายน 2565 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีน แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-3 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกัน และระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

ดูแลสุขภาพกันนะครับพี่น้อง เนื่องจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงในระยะนี้ กระท่อมน้อยอาวทิดหมู ฝนตกตลอดวัน ตลอดคืน แบบปรอยๆ มา 2 วัน เช้าวันที่ 3 เมษานี้แดดแจ่มเลย ฝนเคลื่อนไปทางบุรีรัมย์ นครราชสีมา ชัยภูมิแล้ว  พี่น้องทางโน้นก็ระวังกันด้วยครับ

3april2022 1

โปรดติดตามข่าวสาร การพยากรณ์อากาศ จาก กรมอุตุนิยมวิทยา กันนะครับ

games war 08

วันนี้ 18 มีนาคม 2565 กว่า 20 วันแล้วที่เกิดภาวะสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่ได้สร้างผลกระทบด้านเศรษฐกิจกระจายไปทั่วโลก ทั้งเรื่องของราคาน้ำมันและก๊าซที่พุ่งสูงขึ้นอย่างมหาศาล ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อกระจายไปทั่วโลก ข้าวของเครื่องใช้ราคาแพง รวมทั้งอาหารการกินก็ทะยานขึ้นไปด้วย เขาว่าให้ดูราคาทองที่พุ่งทะยานไม่หยุดเป็นดัชนี ทำเอาอาวทิดหมูปวดหัวหนักเพราะตั้งใจว่า จะหาทองไปผูกสัมพันธ์หมายหมั้นสาวสัก 2-3 บาท กำเงินไปร้านทองแล้วหงอยเพราะอาเฮียร้านค้าทองบอกว่า "เงินที่ลื้อเอามานี่ ซื้อได้ไม่ถึงสามสลึงดอก อาวทิดหมู" สงสัยจะได้นอนอ้างว้างว้าเหว่ไปอีกนานแหละถ้าสาวๆ ไม่ยอมลดตัวมารับทองสักสองสลึง พะนะ 😭🙏😁 น้ำมันก็พุ่งทะยานไปไม่หยุดเลยทีเดียว ไม่กล้าเดินทางไปไหนไกลๆ ล่ะครับ

games war 01

สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ประทุขึ้นเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ทั้งที่ห่างไกลจากภาคอีสาน ของประเทศไทยเรานับหลายพันกิโลเมตร แต่พี่น้องรู้ไหมว่า "ความเดือดร้อนจากสงคราม" ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับประชาชนชาวยูเครน รัสเซีย และประเทศใกล้เคียงเท่านั้น มันกระทบมาถึงบ้านเราด้วย พูดง่ายๆ คือกระทบไปทั่วทั้งโลกนั่นแหละ มีการอพยพหนีภัยสงครามกันซึ่งไม่ใช่เพียงแต่ราษฎรชาวยูเครน พลเมืองประเทศอื่นๆ ที่ไปท่องเที่ยว ไปทำงานในยูเครนก็ต้องหนีตายออกมาเหมือนกัน คนไทยที่ไปทำงานที่นั่น (จากอีสานบ้านเฮาก็มี) ทางสถานทูตไทยในยูเครน ได้ช่วยเหลืออพยพออกมาแล้วหลายร้อยคนทีเดียว ไม่เพียงเท่านี้นะครับ ยังมีอีกมากมายหลายเรื่องที่กระทบกับเราเต็มๆ

สองปีที่ผ่านมา พวกเราต้องพบกับภัยร้ายจากไวรัสโคโรนา-19 ต้องทำการรักษาตัวให้พ้นจากโรคร้าย การงานมีอันต้องหยุดชะงัก มีงานลดน้อยลง หลายคนต้องตกงานกลับถิ่นฐานบ้านเกิด ต้องเปลี่ยนอาชีพหางานใหม่ๆ ทำกัน ซึ่งอาจจะไม่เคยทำมาก่อน ไม่เคยร่ำเรียนศึกษามา แต่ก็จำต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด อาหารการกินต่างๆ ก็มีราคาที่สูงขึ้น จากเหตุปัจจัยต่างๆ ที่ไม่คาดคิด แล้วพอเกิดสงครามขึ้นมาถึงแม้จะอยู่อีกทางซีกโลกหนึ่งแต่มันก็กระทบมาถึงบ้านเรา ตั้งแต่ราคาน้ำมัน ก๊าซ ที่ทะยอยขึ้นราคาแบบพุ่งกระฉูด เพราะปริมาณน้ำมันและก๊าซจำนวนมากที่ใช้งานกันในโลกนี้ก็มีที่มาจากรัสเซียนั่นเอง

games war 07

ราคาน้ำมันพุ่งกระฉูดเพราะภาวะสงครามนั่นเอง

ความขัดแย้ง สร้างแต่ปัญหา

ความขัดแย้งหากเกิดขึ้นที่ใดก็ตามย่อมนำมาซึ่งปัญหามากมาย เกิดความสูญเสียมากบ้างน้อยบ้าง แม้แต่ความขัดแย้งของคนในครอบครัวเดียวกัน ในหมู่บ้าน ในตำบล อำเภอ จังหวัด ไปจนถึงระดับประเทศที่คนในชาติขาดความสามัคคีกัน ทำให้มีการพลัดพรากจากกันไป ขาดความสงบสุขแยกกันเป็นฝักฝ่ายดังในบ้านเราเองก็มี หันหน้ามาเจรจาปรับความเข้าใจกันเถอะ ถ้าลดความขัดแย้งประนีประนอมกันได้ ก็จะไม่มีสงคราม ทุกอย่างก็จะกลับคืนมาสู่สภาพปรกติเสียที 

ความน่ากลัวของสงครามในครั้งนี้อยู่ที่คู่ขัดแย้งไม่ได้มีเฉพาะรัสเซียกับยูเครน แต่มีประเทศที่เกี่ยวข้องให้การหนุนหลังของแต่ละฝ่ายอีกมากมาย พูดกันง่ายๆ ว่าตอนนี้กระจายอยู่ทั่วโลกเป็น 2 ฝ่าย โดยทางยูเครนจะมีทางสหภาพยุโรป อังกฤษ อเมริกา และคานาดา รวมทั้งประเทศอื่นๆ ที่นิยมชมชื่นฝ่ายอเมริกาหรือมีผลประโยชน์ร่วมกันกับอเมริกา กับอีกฝ่ายที่ถือหางทางรัสเซียหรือเป็นบริวารใกล้ชิดกันอยู่ โดยมีประเทศจีนอยู่ตรงกลางไม่พูดอะไรทำเป็นหลับตาไม่รู้ไม่เห็น มีการต่อต้าน สนับสนุนกันในรูปแบบต่างๆ ที่ทำให้เกิดความตึงเครียดขึ้นทั่วโลก

games war 02

ภาพแสดงการใช้ภาษารัสเซียของประชากรในยูเครน

สงครามครั้งนี้ อาจเป็นสงครามครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 มีปัจจัยหลักอยู่ที่บทบาทและความเคลื่อนไหวของ 4 ฝ่าย ได้แก่

  • ยูเครน
  • รัสเซีย
  • สหรัฐฯ และ NATO
  • EU และชาติยุโรปอื่นๆ

ยูเครน

  • ยูเครน ซึ่งเคยเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียต ถูกมองว่าเป็นดินแดนที่มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ และความมั่นคงในยุโรปตะวันออก โดยมีพรมแดนติดกับทั้งรัสเซียและสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งนับตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 รัฐบาลเครมลินก็มองยูเครนว่าเป็นเสมือน ‘สวนหลังบ้าน’ ของตนเอง
  • ความผูกพันระหว่างรัสเซียและยูเครนนั้น มีทั้งด้านประวัติศาสตร์ ภาษา และวัฒนธรรม ประชากรในยูเครนจำนวนไม่น้อยเป็นชนเชื้อสายรัสเซีย และพูดภาษารัสเซีย โดยเฉพาะในภูมิภาคไครเมีย (ภาคใต้) และดอนบัส (ภาคตะวันออก) ซึ่งผู้คนในสองภูมิภาคนี้นอกจากจะใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาหลัก ยังมีความต้องการแยกตัวเป็นเอกราชจากยูเครนอีกด้วย
  • นับตั้งแต่การแยกตัวจากสหภาพโซเวียต ยูเครนพยายามที่จะขยายความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกมากขึ้น รวมถึงพยายามจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization: NATO) ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรทางการทหาร ที่ตั้งขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายในการต่อต้านสหภาพโซเวียต โดยในปี 2008 องค์การ NATO ได้ให้สัญญากับรัฐบาลเคียฟ (ยูเครน) ว่า จะเปิดโอกาสให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกได้ในวันหนึ่งข้างหน้า
  • ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซียนั้นปะทุขึ้นในปี 2014 หลังเกิดการประท้วงใหญ่ในยูเครน จากฝ่ายสนับสนุนชาติตะวันตก ซึ่งนำมาสู่การถอดถอนประธานาธิบดีผู้มีความใกล้ชิดกับรัสเซีย ตามด้วยการประท้วงจากฝ่ายสนับสนุนรัสเซีย ทั้งในไครเมียและดอนบัส ซึ่งส่งผลให้สถานการณ์ขยายตัวสู่ความรุนแรง และยิ่งกลายเป็นความขัดแย้งมากขึ้นเมื่อรัสเซียเข้ามามีบทบาท ทั้งการผนวกรวมดินแดนไครเมีย และการสู้รบระหว่างกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในดอนบัสกับกองทัพรัฐบาลยูเครน ซึ่งรัสเซียถูกกล่าวหาว่าให้การสนับสนุนทั้งอาวุธและกำลังทหารแก่กลุ่มแบ่งแยกดินแดน
  • ปัจจุบันสถานการณ์สู้รบในดอนบัสนั้นยังไม่ยุติลง แม้ที่ผ่านมาจะมีความพยายามทำข้อตกลงสันติภาพมาแล้วหลายครั้ง โดยการทำสงครามขนาดใหญ่กับกองทัพรัฐบาลยูเครนนั้นลดลง แต่ยังมีการปะทะเล็กๆ น้อยๆ เกิดขึ้นเป็นระยะ ซึ่งผลพวงจากการสู้รบจนถึงปัจจุบัน คร่าชีวิตประชาชนไปแล้วมากกว่า 13,000 คน

รัสเซีย

  • จุดยืนที่ชัดเจนของรัสเซียต่อวิกฤตตึงเครียดครั้งนี้ คือ การเรียกร้องให้ NATO ยุติการขยายอิทธิพลในยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะการรับรองว่ายูเครนจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO (ต้องการให้ยูเครนเป็นรัฐกันชนคั่นกลางระหว่างรัสเซียกับยุโรป)
  • ท่าทีของประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ค่อนข้างชัดเจนว่าต้องการให้ NATO และมหาอำนาจตะวันตกถอยออกไปจากยุโรปตะวันออก โดยยกเลิกการฝึกซ้อมรบทั้งในลิทัวเนีย ลัตเวีย และเอสโตเนีย ที่เคยเป็นอดีตรัฐของสหภาพโซเวียต ตลอดจนถอนกำลังทหารและระบบขีปนาวุธ ที่ติดตั้งในโรมาเนียและโปแลนด์ และสร้างเขตความมั่นคงที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของรัสเซีย เฉกเช่นในยุคสหภาพโซเวียตเมื่อกว่า 30 ปีที่แล้ว ซึ่งเขาต้องการดึงยูเครนที่มีประชากร 44 ล้านคนกลับมาสู่วงโคจรภายใต้การนำของรัสเซีย
  • ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2021 รัสเซียมีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ในการเสริมกำลังทหารเข้าสู่พื้นที่ชายแดนยูเครน โดยเฉพาะการส่งกองกำลังยุทธวิธีกว่า 5,000 นายไปประจำยังชายแดนในดอนบัส ซึ่งเพิ่มจากเดิมที่มีประจำการถาวรแล้วกว่า 12,000 นาย นอกจากนี้ยังส่งกำลังทหารจำนวนมากไปประจำพื้นที่ชายแดนติดตอนเหนือของยูเครน เช่น ที่เมืองคลินต์ซี ซึ่งเป็นจุดสามเหลี่ยมยุทธศาสตร์สำคัญ ที่ติดทั้งชายแดนยูเครน รัสเซีย และเบลารุส
  • ขณะเดียวกันรัสเซียยังได้ทยอยส่งกำลังทหาร รถหุ้มเกราะ เครื่องบินรบ และระบบต่อต้านอากาศยานที่ล้ำหน้า ไปยังเบลารุส ซึ่งเป็นพันธมิตรสำคัญและเพื่อนบ้านทางตอนเหนือของยูเครน แม้ว่ากองทัพรัสเซียจะอ้างว่า การส่งกำลังทหารและยุทโธปกรณ์เหล่านี้ไปยังเบลารุส เป็นไปเพื่อการซ้อมรบที่มีกำหนดการเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่สหรัฐฯ และ NATO มองว่ารัสเซียอาจใช้การซ้อมรบเป็นเพียงข้ออ้างบังหน้า เพื่อส่งกำลังทหารประชิดพรมแดนยูเครนและกดดันให้ NATO และพันธมิตรยอมรับข้อเรียกร้อง
  • จนถึงวันนี้มีการประเมินจากฝ่ายสหรัฐฯ ว่ารัสเซียอาจเสริมกำลังทหารประจำการแนวชายแดนยูเครนรวมแล้วมากกว่า 130,000 นาย

 games war 03

ภาคีสมาชิกของนาโต้ (น้ำเงิน) และที่กำลังอยากจะเข้าร่วมด้วย (เขียว)

สหรัฐอเมริกา และ NATO

  • สำหรับบทบาทและความเกี่ยวข้องของสหรัฐอเมริกา และ NATO ในวิกฤตตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครนครั้งนี้ ต้องทำความเข้าใจย้อนไปถึงจุดเริ่มต้นขององค์การ NATO ที่เป็นกลุ่มพันธมิตรทางทหารระหว่างรัฐบาล ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 1949 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีสมาชิกรุ่นก่อตั้งคือ สหรัฐฯ แคนาดา โปรตุเกส อิตาลี นอร์เวย์ เดนมาร์ก และไอซ์แลนด์
  • การก่อตั้ง NATO นั้นมีขึ้นภายใต้ 3 จุดประสงค์หลัก คือ 1) จัดตั้งระบบพันธมิตรทางทหารในการถ่วงดุลอำนาจทางทหารกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ (สหภาพโซเวียต) 2) ให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกในกรณีที่ถูกคุกคามจากภายนอก 3) ส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
  • ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 บทบาทของ NATO ในยุโรปตะวันออกนั้นขยายกว้างมากขึ้น โดยตลอด 3 ทศวรรษที่ผ่านมา มีมากกว่า 10 ประเทศ ที่เคยอยู่ใต้อำนาจของสหภาพโซเวียตในยุคสงครามเย็น กลับกลายมาเป็นสมาชิกของ NATO ซึ่งปัจจุบัน NATO มีสมาชิกทั้งหมด 30 ประเทศ ในจำนวนนี้รวมถึง 3 ประเทศของรัฐบอลติก ได้แก่ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต
  • ในปี 2008 NATO เคยให้สัญญาไว้กับจอร์เจียและยูเครนที่เป็นอดีตรัฐของสหภาพโซเวียตว่า จะรับทั้งสองประเทศเข้าเป็นสมาชิกในวันหนึ่งข้างหน้า โดยประเด็นนี้กลายเป็นข้อกังวลของรัสเซีย เนื่องจากหากยูเครนที่เปรียบเหมือนหลังบ้านของตนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO อาจส่งผลกระทบสำคัญต่อยุทธศาสตร์ความมั่นคงในภูมิภาค

EU และชาติยุโรปอื่นๆ

  • สถานการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครนนั้น สร้างความกังวลอย่างยิ่งต่อผู้นำ EU และชาติยุโรปอื่นๆ โดยหากเกิดสงครามขึ้น ผลกระทบที่รุนแรงนอกจากประเด็นความมั่นคงแล้ว ยังครอบคลุมไปถึงเรื่องพลังงาน เนื่องจากรัสเซียนั้น ถือเป็นผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ให้แก่ประเทศยุโรป คิดเป็นสัดส่วนรวมกว่าร้อยละ 40 ซึ่งเฉพาะในกลุ่ม EU มีการใช้งานก๊าซธรรมชาติที่นำเข้าจากรัสเซียสูงกว่า 38% ของปริมาณก๊าซทั้งหมด

games war 04

สีแดงแสดงเส้นทางท่อก๊าซธรรมชาติที่ส่งมาจากรัสเซียมาหล่อเลี้ยงยุโรป

  • สำหรับชาติสมาชิก EU นั้น ยังมีท่าทีที่ต่างกันในวิกฤตตึงเครียดครั้งนี้ โดย เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส แสดงจุดยืนชัดเจนในการหาทางออกของปัญหา ผ่านการเจรจาทางการทูต ซึ่งตัวเขาได้เดินทางไปพูดคุยกับประธานาธิบดีปูติน เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และเน้นย้ำความจำเป็นในการพูดคุยเพื่อคลายความตึงเครียด
  • ส่วนเยอรมนีซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับรัสเซียมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในยุคของ อังเกลา แมร์เคิล อดีตนายกรัฐมนตรีหญิง ที่พูดภาษารัสเซียได้อย่างคล่องแคล่ว พบว่า มีท่าทีสนับสนุนการพูดคุยเพื่อยุติปัญหาเช่นเดียวกัน โดย โอลาฟ โชลซ์ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน พยายามเดินสายไปพูดคุยทั้งกับผู้นำยูเครนและรัสเซีย แต่ในขณะเดียวกันก็เตือนรัสเซียว่าอาจเผชิญการคว่ำบาตรที่รุนแรงหากตัดสินใจบุกยูเครน

games war 05

แนวเส้นทางท่อส่งก๊าซ Nord Stream 2 จากรัสเซียมาเยอรมัน

จากข่าวที่ปรากฏนั้น มีเรื่อง ท่อส่งก๊าซ Nord Stream 2 เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัท Gazprom ของรัสเซีย กับบริษัทเยอรมันและอีกหลายประเทศ สร้างท่อส่งจากรัสเซียลอดทะเลบอลติก ขึ้นฝั่งที่เมือง Greifswald เยอรมนี รวมระยะทาง 1,200 กิโลเมตร สามารถส่งก๊าซจากรัสเซียสู่เยอรมนีปีละ 55,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อรวมกับ Nord Stream (อันเดิม) จะส่งก๊าซได้ถึง 110,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ทำให้เยอรมนีกลายเป็นศูนย์พลังงานแห่งหนึ่งของยุโรปตะวันตก

ยุโรปเป็นผู้นำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) รายใหญ่ที่สุดของโลก นิยมใช้ก๊าซธรรมชาติชนิดนี้ทั้งในครัวเรือน สถานประกอบการ (ส่วนใหญ่ใช้กับเครื่องทำความร้อน LNG คล้าย NGV แต่ NGV ใช้กับยานพาหนะและอยู่ในรูปก๊าซ) ใช้เป็นพลังงานผลิตกระแสไฟฟ้า มักกระจายส่งถึงบ้านและที่ต่างๆ ด้วยระบบท่อ เหตุที่นิยมเนื่องจากราคาถูก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัย (เป็นก๊าซมีเทนที่เบากว่าอากาศ หากรั่วจะกระจายหายไปในอากาศทันที โอกาสระเบิดน้อย) ด้วยข้อดีเหล่านี้คาดว่าจะใช้เพิ่มขึ้นอีก

คำถามที่พูดกันเสมอคือ หากรัสเซียปิดท่อก๊าซ คนเยอรมันหลายสิบล้านคนที่ใช้ก๊าซจากรัสเซียจะเป็นอย่างไร ในอดีตอาจตอบว่า เยอรมันนำเข้าจากหลายประเทศ แต่ปัจจุบันเยอรมันนำเข้าจากรัสเซียมากกว่าครึ่ง และทำท่าจะเพิ่มขึ้นอีก คำถามนี้จึงมีน้ำหนักมากกว่าเดิม

ข้อโต้แย้งในมุมกลับคือ เพราะเยอรมนี (กับยุโรป) เป็นลูกค้ารายใหญ่ รัสเซียจึงไม่ผลีผลามทำอะไรที่ทำให้ยุโรปรู้สึกไม่ปลอดภัย เช่น ส่งกองทัพบุกยูเครนหรือคิดทำสงครามใหญ่ การอยู่ร่วมอย่างสงบ ทำมาค้าขายระหว่างกันน่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า

ในอีกแง่หนึ่ง Nord Stream 2 เป็นท่อเชื่อมรัสเซียกับเยอรมนีโดยตรง ต่างจากบางท่อที่ต้องผ่านประเทศอื่น การไหลของก๊าซไร้การสกัดกั้นจากประเทศที่ 3 ถ้ามองจากความมั่นคงของเยอรมนี การต่อตรงย่อมดีกว่าแบบที่ต้องผ่านประเทศที่ 3 แต่รัฐบาลสหรัฐกลับมองว่า การต่อตรงแบบนี้ส่งสัญญาณว่า เยอรมนีเป็นมิตรกับรัสเซีย เป็นอีกเหตุที่รัฐบาลสหรัฐพยายามขัดขวาง ในขณะที่บางข่าวก็บอกว่า สหรัฐอเมริกาก็อยากขายพลังงานให้เยอรมันและยุโรปแทนที่รัสเซีย

สงครามมันคือผลประโยชน์มหาศาล ที่หลายคนอยากฉกฉวยเพราะ การสู้รบทำให้เกิดการใช้ (อาวุธ) เกิดการทำลายล้าง และมีการซื้อมาทดแทน ซึ่งประเทศผู้ผลิตอาวุธอย่างสหรัฐอเมริกาชอบ เพราะสู้รบในพื้นที่ประเทศอื่น ตัวเองเสียหายเล็กน้อย (จากการส่งทหารไปรบ) แต่ได้ประโยชน์จากการขายอาวุธมากกว่า สิ่งที่ประเทศอื่นๆ ในซีกโลกอื่นๆ กลัวคือ

สงครามนิวเคลียร์ และกัมมันตภาพรังสี ที่จะพัดพาไปทำความเสียหายอย่างมหาศาลต่อชาวโลก กับประเทศอื่นๆ ที่ไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งนั่นเอง "

games war 06

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)