![]()
|
มาใกล้จะถึงช่วงกลางปี 2565 แล้วนะครับ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มเบาบางลงแม้จะยังไม่หมดไป แต่การจัดงานบุญประเพณีอีสานบ้านเฮาก็เริ่มมีการจัดขึ้นได้แล้ว โดยแต่ละพื้นที่ก็ยังคงเน้นที่การเฝ้าระวัง เว้นระยะห่าง ลดการแออัดของผู้คนกันอยู่ จะเที่ยวที่ไหน จะไปทำบุญ ก็ระมัดระวังตัวกันเหมือนเดิมนะครับ เพื่อเป็นการรักษา "ประเพณี-ฮีตคอง" อันดีงามของบ้านเฮาให้คงอยู่ต่อไป เดือนนี้เทศกาลเข้าพรรษามีบุญใหญ่บ้านอาวทิดหมูเด้อขอรับกระผม มาเอาบุญนำกัน
งานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2565 ปีนี้จัดเป็นปีที่ 121 เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย ให้นักท่องเที่ยวและประชาชนเดินทางมาท่องเที่ยวงานประเพณีแห่เทียนพรรษา ณ จังหวัดอุบลราชธานี ให้เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศมากขึ้น โดยได้กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-17 กรกฎาคม 2565 จะมีพิธีปล่อยขบวนต้นเทียน ได้แก่ ขบวนเทียนพรรษาพระราชทาน ขบวนต้นเทียนประเภทแกะสลัก ประเภทติดพิมพ์ และขบวนเทียนโบราณ โดยจะมีขบวนแห่ต้นเทียนและขบวนฟ้อนรำจากคุ้มวัดต่างๆ ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี อำเภอ และส่วนท้องถิ่น ณ บริเวณหน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม เวลา 08.00 น. ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2565 ให้นักท่องเที่ยวและประชาชนได้ชมความงดงามของต้นเทียน โดยมีมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ซึ่งจะมีการปรับในให้ลดความแออัดให้มีระยะห่างเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ในช่วงก่อนและหลังงานประเพณีแห่เทียนพรรษา ดังนี้
เส้นทางขบวนแห่เทียนพรรษา 2565 ใช้เส้นทางเดิมเหมือนทุกปีนะครับ
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางใ ห้กับนักท่องเที่ยวที่มาร่วมชมงานในวันจัดขบวนแห่เทียน (14 กรกฎาคม 2565) ทางจังหวัดอุบลราชธานีได้จัดให้มีบริการรถรับ-ส่ง ฟรี!! จำนวน 4 จุด (ต้นทาง-ปลายทาง) ได้แก่
มีการจองที่นั่งชมบนอัฒจันทน์ รายละเอียดเพิ่มติม คลิกที่นี่เลยจ้า
อีกหนึ่งไฮไลท์สำหรับท่านที่มาเยือนอุบลราชธานีในช่วง "งานประเพณีแห่เทียนพรรษา อุบลราชธานี 2565" คือ การไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และแหล่งทอผ้าไหมสำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งดำเนินงานสืบทอดโดย 2 ศิลปินแห่งชาติ สาขาหัตถศิลป์ (การทอผ้า) คือ คุณแม่คำปุน ศรีใส และคุณมีชัย แต้สุจริยา ที่จะ "เปิดบ้านคำปุ่น" เพื่อให้ทุกท่านได้เข้าชมกระบวนการผลิตผ้าไหมอันเลื่องชื่อ เพียงปีละ 1 ครั้งในช่วงงานประเพณีแห่เทียนพรรษาเท่านั้น
ระหว่างวันที่ 13-14-15 กรกฎาคม 2565 นี้ ขอเชิญทุกท่านมาร่วมบุญในงาน "เปิดบ้านคำปุน" กันอีกเช่นเคยครับ
ติดตามข่าวสารจาก Khampun Museum Café คำปุน มิวเซียม คาเฟ่ อุบลราชธานี
รายละเอียดเพิ่มเติมทางทีมงานจะได้ติดตามนำมาเสนอให้ทราบต่อไป
บุญแห่เทียน - ดอกอ้อ ทุ่งทอง & ก้านตอง ทุ่งเงิน
วันที่จัดงาน : 11 - 17 กรกฎาคม 2565
สถานที่จัดงาน : บริเวณโดยรอบสนามทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
วันอาสาฬหบูชา (บาลี: อาสาฬหปูชา; อักษรโรมัน: Āsāḷha Pūjā) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธนิกายเถรวาท และวันหยุดราชการในประเทศไทย คำว่า อาสาฬหบูชา ย่อมาจาก "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่สี่ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนกรกฎาคมหรือเดือนสิงหาคม แต่ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็ให้เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 8 หลังแทน
วันอาสาฬหบูชา ได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 คือวันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์
การแสดงธรรมครั้งนั้นทำให้ พราหมณ์โกณฑัญญะ 1 ในปัญจวัคคีย์ ประกอบด้วย โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ เกิดความเลื่อมใสในพระธรรมของพระพุทธเจ้า จนได้ดวงตาเห็นธรรมหรือบรรลุเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน ท่านจึงขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา พระอัญญาโกณฑัญญะจึงกลายเป็นพระสาวกและภิกษุองค์แรกในโลก และทำให้ในวันนั้นมีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วันนี้ถูกเรียกว่า "วันพระธรรม" หรือ วันพระธรรมจักร อันได้แก่วันที่ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก และ "วันพระสงฆ์" คือวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และจัดว่าเป็น "วันพระรัตนตรัย" อีกด้วย
กิจกรรมที่ทำในวันอาสาฬหบูชา โดยทั่วไป คือ ทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา (ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) และสวดมนต์ ดังนั้นในวันนี้จึงถือว่า พุทธศาสนิกชนควรได้รับประโยชน์ ที่เป็นสาระสำคัญจากอาสาฬหบูชา กล่าวคือ ควรทบทวนระลึกเตือนใจสำรวจตนว่า ชีวิตเราได้เจริญงอกงามขึ้นด้วยความเป็นอยู่อย่างผู้รู้เท่าทันโลกและชีวิตนี้บ้างแล้วเพียงใด เรายังดำเนินชีวิตอยู่อย่างลุ่มหลงมัวเมา หรือมีจิตใจอิสระปลอดโปร่งผ่องใสบ้างแล้วเพียงใด
วันเข้าพรรษา (บาลี: วสฺส, สันสกฤต: วรฺษ, อังกฤษ: Vassa, เขมร: វស្សា, พม่า: ဝါဆို) เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่า จะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดระยะเวลา 3 เดือนตามที่พระวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือภาษาปากว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) การเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง พระสงฆ์จะไม่จำพรรษาไม่ได้ เนื่องจากรูปใดไม่จำพรรษาถือว่าต้องอาบัติทุกกฏตามพระวินัย การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา
สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน (สมัยนั้นการคมนาคมไม่มีถนนหนทางสะดวกสบายดังเช่นทุกวันนี้) เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาส (วัด) หรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย
ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง 3 เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศล ด้วยการเข้าวัดทำบุญใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่นๆ คือ มีการถวายหลอดไฟ หรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชน เมื่ออายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์ เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาลทั้ง 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า "บวชเอาพรรษา"
วันที่จัดงาน : 13 - 14 กรกฎาคม 2565
สถานที่จัดงาน : ทุกวัดในพระพุทธศาสนา ทุกจังหวัดทั่วประเทศ
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)