dab took manual

  1. จงประพฤติศีล 5 ให้สมบูรณ์ ด้วยการไม่ฆ่าสัตว์ทุกชนิด ไม่ขโมยสิ่งของของใคร ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่โกหกหลอกลวงใคร ไม่ดื่มหรือเสพติดของมึนเมา
  2. แบ่งเวลาในแต่ละวันให้พอเหมาะพอดีแก่สภาพชีวิตตนเอง มีเวลาพักผ่อนในครอบครัวตามสมควรสำหรับผู้เป็นฆราวาส และมีเวลาฝึกจิตให้เป็นสมาธิทำให้จิตใจสงบ
  3. ในการฝึกสมาธินั้นให้นั่งอยู่อย่างสงบสำรวม อย่าเคลื่อนไหวอวัยวะมือและเท้า จะนั่งกับพื้นเอาขาทับขาข้างหนึ่งข้างใดก็ได้ หรือจะนั่งพับเพียบก็ได้ หรือจะนั่งบนเก้าอี้ตามสบายก็ได้ ไม่มีปัญหา
  4. วิธีการฝึกสมาธินั้น ขอให้เข้าใจว่าท่านจะทำจิตใจให้สงบ ปราศจากความคิดนึกปรุงแต่งในเรื่องภายนอก ทุกอย่างชั่วระยะเวลาที่ทำสมาธินั้น ท่านจะไม่ปรารถนาที่จะพบเห็น รูป รส สี แสง เสียง สวรรค์ นรก หรืออินทร์พรหมที่ไหน เพราะสมาธิที่แท้จริงย่อมไม่มีสิ่งเหล่านั้นอยู่ในจิต สมาธิที่แท้จริงจะมีแต่จิตที่่สะอาด บริสุทธิ์ และสงบเย็นเท่านั้น

sura oonnawong 07

  1. พอเริ่มทำสมาธิ โดยปกติแล้วให้หลับตาให้สบาย สำรวมจิตให้เข้านับที่ลมหายใจ ทั้งหายใจเข้าและหายใจออก โดยจะนับอย่างนี้ว่า หายใจเข้านับหนึ่ง หายใจออกนับสอง เรื่อยไป ทีแรกนับช้าๆ เพื่อให้สติต่อเนื่องอยู่กับการนับนั้น แต่ต่อไปพอจิตสงบเข้าที่แล้วมันจะหยุดนับของมันเอง
  2. หรือบางทีอาจจะกำหนด พุท โธ หายใจเข้ากำหนด พุท หายใจออกกำหนด โธ อย่างนี้ก็ได้ไม่ขัดแย้งกันเลย เพราะการนับอย่างนี้ มันเป็นเพียงอุบายที่ทำให้จิตนึกคิดปรุงแต่งเท่านั้น
  3. ในการฝึกแรกๆ นั้น ท่านจะยังนับและกำหนดไม่ได้อย่างสม่ำเสมอ หรืออย่างตลอดรอดฝั่ง เพราะมักจะมีความคิดต่างๆ แทรกเข้ามาในจิต ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ช่างมัน ให้เข้าใจว่าฝึกครั้งแรกๆ มันก็เป็นอย่างนี้นี่เอง แต่ให้ท่านตั้งนาฬิกาเอาไว้ตามเวลาที่พอใจว่า จะทำสมาธินานเท่าใด แรกๆ อาจจะสัก 15 นาที อย่างนี้ก็ได้ และให้เฝ้านับหรือกำหนดอยู่จนครบเวลาที่กำหนดจิตไว้ มันจะมีความคิดมากน้อยก็ช่างมัน ให้พยายามกำหนดนับตามวิธีการที่กล่าวมาแล้วจนครบเวลา ไม่นานนักจิตมันก็จะหยุดคิดและสงบได้ของมันเอง
  4. การฝึกสมาธินี้ให้พยายามทำทุกวันๆ ละ 2-3 ครั้ง แรกๆ ให้ทำครั้งละ 15 นาที แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มให้มากขึ้นๆ จนถึงครั้งละ 1 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้นตามที่จิตปรารถนา
  5. ครั้นกำหนดจิตด้วยการนับอย่างนั้นจนมีประสบการณ์พอสมควรแล้ว ท่านก็จะรู้สึกว่าจิตนั้นสะอาด สงบเย็น ผ่องใสไม่หงุดหงิด ไม่หลับใหล ไม่วิตกกังวลกับสิ่งใด นั่นแหละ คือ สัญลักษณ์ที่แสดงว่า สมาธิกำลังเกิดขึ้นในจิต
  6. เมื่อจิตสงบเย็น ไม่หงุดหงิดเช่นนั้นแล้วอย่าหยุดนิ่งเฉยเสีย ให้ท่านเริ่มน้อมจิตเพื่อที่จะพิจารณาเรื่องราวต่างๆ ต่อไป ถ้ามีปัญหาชีวิตหรือปัญหาใดๆ ที่ทำให้ท่านกำลังเห็นทุกข์กลัดกลุ้มอยู่ ก็จงน้อมจิตเข้าไปคิดนึกพิจารณาปัญหาด้วยความสุขุมรอบคอบ ด้วยความมีสติ
  7. จะยกเอาปัญหานั้นมาพิจารณาว่า ปัญหานั้นมาจากไหน? มันเิดขึ้นเพราะอะไร? เพราะอะไรท่านจึงหนักใจกับมัน ทำอย่างไรท่านจึงจะแก้ไขปัญหามันได้ ทำอย่างไรท่านจึงจะเบาใจและไม่เป็นทุกข์กับมัน?
  8. การพิจารณาด้วยจิตอันสงบอย่างนี้ การถามหาเหตุผลกับตนเองอย่างนี้ จิตของท่านมันจะค่อยๆ รู้เห็น และเกิดความคิดนึกรู้สึกอันฉลาดขึ้นมาโดยธรรมชาติของมัน จิตจะสามารถเข้าใจต้นสายปลายเหตุของปัญหาต่างๆ ได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง นักปฏิบัติจึงต้องพยายามพิจารณาปัญหาต่างๆ อย่างนี้เรื่อยไปหลังจากที่จิตสงบแล้ว
  9. จงเข้าใจเป้าหมายที่ถูกต้องของการฝึกสมาธินั้นคือ ท่านจะฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบจากอารมณ์ภายนอกชั่วระยะเวลาหนึ่ง เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้ว จิตนั้นจะมีกำลังและมั่นคง สภาพจิตเช่นนั้นเองที่มันจะมีความพร้อมในการที่จะรู้และเข้าใจปัญหาต่างๆ หรือสิ่งต่างๆ ที่แวดล้อมตัวท่านเอง ได้อย่างถูกต้องตามความจริง
  10. สรุปว่า ท่านจะฝึกสมาธิเพื่อจะเรียกกำลังจิตจากสมาธินั้นไปพัฒนาความคิดนึก หรือความรู้สึกของท่านให้ถูกต้อง ซึ่งความรู้สึกคิดนึกที่ถูกต้องนั้น แท้จริงแล้วก็คือ "ปัญญา" นั่นเอง

 sura oonnawong 02

 ผศ.สุระ อุณวงศ์ ชมรมผูสูงอายุวัดหนองปลาปาก

redline

backled1