foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

attalak isan

ฟ้อนภูไท

ฟ้อนภูไท เป็นฟ้อนที่งดงามและเก่าแก่ ถือว่าเป็นนาฏศิลป์ที่ขึ้นหน้าขึ้นตาของชาวภูไท เนื่องจากชาวภูไทอาศัยกระจัดกระจายหลายพื้นที่ในอีสาน จึงจำแนกประเภทการฟ้อนภูไทตามพื้นที่ เช่น การฟ้อนภูไทของเขตจังหวัดสกลนคร การฟ้อนภูไทเขตเรณูนคร (รำภูไทภูพาน รำภูไทสามเผ่า) การรำภูไทของเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีลีลาการฟ้อนที่แตกต่างกัน การฟ้อนภูไทจะฟ้อนในงานมงคลและงานบุญ เช่น บุญมหาชาติ ในการทำบุญแต่ละครั้งหลังวันทำบุญจะมีการแห่ปัจจัยไปวัด การแห่ขณะไปทำบุญและการแห่หลังทำบุญนี้เองที่ทำให้เกิดฟ้อนภูไทขึ้น

ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม ผู้ฟ้อนแต่งกายชุดพื้นเมืองของชาวภูไท คือนิยมนุ่งห่มดำ สีเข้ม หรือสีคราม เป็นผ้าที่ทอด้วยฝ้ายพื้นเมือง แขนยาว เครื่องตกแต่งร่างกายอาจจะแตกต่างกันเล็กน้อยตามกลุ่มต่างๆ ของชาวภูไท

ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม เป็นการฟ้อนที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและการทำบุญ

fon poo tai

ชาวผู้ไท เป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย แต่เดิมนั้นชาวผู้ไทตั้งบ้านเรือนอยู่แถบสิบสองจุไทย คือ บริเวณลาวตอนเหนือ บางส่วนของเวียตนามเหนือ และทางตอนใต้ของจีน มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไล เมืองแถง เรียกว่า ผู้ไทดำ ชาวผุ้ไทสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ถึงแม้จะมีผู้แบ่งเป็นกลุ่มผู้ไทแดงและผู้ไทลาย แต่ก็ไม่มีประวัติชัดเจน (ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ. 2526 : 2) ชาวผู้ไทยที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่มาจากเมืองวัง และเมืองตะโปน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองสวันเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบัน และแยกย้ายกันตั้งหลักแหล่งอยู่บริเวณเทือกเขาภูพานในเขต 3 จังหวัด คือ

  • ชาวผู้ไทจังหวัดกาฬสินธุ์ อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอสหัสขันธุ์ อำเภอคำม่วง
  • ชาวผู้ไทจังหวัดสกลนคร อยู่ในอำเภอพรรณานิคม อำเภอวาริชภูมิ
  • ชาวผู้ไทจังหวัดนครพนม อยู่ในอำเภอเรณูนคร อำเภอคำชะอี อำเภอหนองสูง

fon poo tai renu 6

การฟ้อนผู้ไทนั้น เริ่มมีมาในสมัยที่เริ่มสร้างพระธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร ผู้ไทเป็นชนเผ่าที่รับอาสาที่จะเป็นผู้ปฏิบัติรักษา หาเครื่องสักการะบูชาพระธาตุทุกๆ ปีเมื่อถึงฤดูข้าวออกรวงกำลังแก่ จะมีการเก็บเกี่ยวข้าวบางส่วนมาทำข้าวเม่า ชาวผู้ไทจะนำข้าวเม่ามาถวายสักการะบูชาพระธาตุเชิงชุม การนำข้าวเม่ามาถวายพระธาตุนั้น เรียกว่า "แห่ข้าวเม่า" จะมีขบวนฟ้อนรอบๆ พระธาตุ ผู้ฟ้อนเป็นหญิงล้วน ผู้หญิงแต่งตัวพื้นเมือง ใส่เล็บยาว ผู้ชายเล่นดนตรี เช่น กลองเส็ง กลองยาว ตะโพน รำมะนา ฉิ่งฉาบ เป็นต้น (พนอ กำเนิดกาญจน์. 2519:38)

fon poo tai renu 4

การฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์

การฟ้อนภูไทเรณูนคร

เป็นการฟ้อนประเพณีที่มีมาแต่บรรพบุรุษ ที่สร้างบ้านแปลงเมือง การฟ้อนภูไทนี้ถือว่าเป็นศิลปะเอกลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรม ประจำเผ่าของภูไทเรณูนคร ถือว่าฟ้อนภูไทเป็นการฟ้อนที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดนครพนม

ในคราวที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมานมัสการพระธาตุพนม ในปี พ.ศ. 2498 นั้น นายสง่า จันทรสาขา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมในสมัยนั้น ได้จัดให้มีการฟ้อนผู้ไทถวาย นายคำนึง อินทร์ติยะ ศึกษาธิการอำเภอเรณูนคร ได้อำนวยการปรับปรุงท่าฟ้อนผู้ไทให้สวยงามกว่าเดิม โดยเชิญผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์ในการฟ้อนผู้ไทมาให้คำแนะนำ จนกลายเป็นท่าฟ้อนแบบแผนของชาวเรณูนคร และได้ถ่ายทอดให้แก่ลูกหลานสืบทอดต่อจนปัจจุบัน

ลักษณะการฟ้อนภูไทเรณูนคร ชาย-หญิงจับคู่เป็นคู่ๆ แล้วฟ้อนท่าต่างๆ ให้เข้ากับจังหวะดนตรี โดยฟ้อนรำเป็นวงกลม แล้วแต่ละคู่จะเข้าไปฟ้อนกลางวงเป็นการโชว์ลีลาท่าฟ้อน

หญิงสาวที่จะฟ้อนภูไทเรณูนครต้อนรับแขก จะได้ต้องเป็นสาวโสด ผู้ที่แต่งงานแล้วจะไม่มีสิทธิ์ฟ้อนภูไทเรณูนคร เวลาฟ้อนทั้งชายหญิงจะต้องไม่สวมถุงเท้าหรือรองเท้า และที่สำคัญคือในขณะฟ้อนภูไทนั้น ฝ่ายชายจะถูกเนื้อต้องตัวฝ่ายหญิงไม่ได้เด็ดขาด (มิฉะนั้นจะผิดผี เพราะชาวภูไทนับถือผีบ้านผีเมือง อาจจะถูกปรับไหมตามจารีตประเพณีได้)

เครื่องดนตรี แบบดั้งเดิม ประกอบด้วย แคน กลองสองหน้า กลองหาง ฆ้องโหม่ง พังฮาด และกั๊บแก๊บ ส่วนในวงโปงลาง ก็ใช้เครื่องดนตรีครบชุดของวงโปงลาง ลายเพลง ใช้ลายลมพัดพร้าว

ท่าฟ้อนภูไทเรณูนคร มี 16 ท่า ดังนี้คือ

  • ท่าโยกหรือท่าเตรียม (ท่าเตรียมโยกตัวไปมาเป็นการอุ่นเครื่องเพื่อจะไปท่าบิน)
  • ท่าบิน หรือท่านกกะทาบินเลียบ
  • ท่าเพลิน หรือท่าลำเพลิน
  • ท่าเชิด หรือ ท่ารำเชิด
  • ท่าม้วน หรือท่ารำม้วน
  • ท่าส่าย หรือท่ารำส่ายเปิด
  • ท่าลมพัดพร้าว
  • ท่ารำเดี่ยว หรือฟ้อนเลือกคู่
  • ท่าเสือออกเหล่า
  • ท่ากาเต้นก้อนข้าวเย็น
  • ท่าเสือลากหาง
  • ท่าม้ากระทืบโฮง
  • ท่าจระเข้ฟาดหาง
  • ท่ามวยโบราณ
  • ท่าถวายพระยาแถน หรือท่าหนุมานถวายแหวน
  • ท่ารำเกี้ยว

[ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : การฟ้อนพื้นบ้านภูไท ]

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)