foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

kratib kao

ภูมิปัญญา หมายถึง แบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่า แสดงถึงความเฉลียวฉลาดของบุคคล และสังคม ซึ่งได้สั่งสมและปฏิบัติสืบต่อกันมา ภูมิปัญญาจะเป็นทรัพยากรบุคคล หรือทรัพยากรความรู้ก็ได้

วันนี้จะเสนอภูมิปัญญาของฅนอีสานที่ล้ำยุคไปไกลทีเดียว เป็นเรื่องของ "กระติบข้าวและก่องข้าว"

ก่องข้าว และ กระติบข้าว เป็นภาชนะบรรจุข้าวเหนียวดั้งเดิมของชาวอีสาน ความแตกต่างของภาชนะทั้งสองอยู่ที่รูปทรง โดยจะแตกต่างกันดังนี้

kong kao5

  • ก่องข้าว จะมีลักษณะคล้ายกระบุง มีฝาปิด และมีขาทำด้วยไม้เนื้อแข็งเป็นฐานแยก 4 แฉก ดังภาพบน มีความแข็งแรงทนทานมากกว่า การสานด้วยไม้ไผ่ส่วนผิวนอกที่มีความแข็งกว่า สานให้ชิดกันจนมีความแน่นหนา เก็บขอบด้วยหวายโดยรอบ การสานทำได้ยาก และต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษ จึงมีราคาแพงกว่ากระติบข้าว
  • กระติบข้าว นั้นพบเห็นได้ทั่วไป เป็นภาชนะสานทรงกระบอกกลม มีสองส่วนสวมเข้ากันได้ ส่วนนอกใหญ่กว่าใช้เป็นฝาปิด ส่วนฐานของกระติบจะทำจากก้านตาล นำมาขดเป็นวงกลมยึดเข้ากับตัวกระติบส่วนล่างด้วยหวายหรือเชือก มีมากมายหลายขนาด การสานทำได้ง่ายกว่าก่องข้าว เพราะใช้ตอกไม่ไผ่ที่มีความบางอ่อนตัวกว่า (ก่องข้าวใช้ตอกที่ทำจากติวไม้ไผ่ (ส่วนผิว) ซึ่งมีความแข็งจึงสานยากกว่า) ทำให้กระติบข้าวมีความแข็งแรงน้อยกว่าก่องข้าวมาก ใช้ไปนานๆ ส่วนขอบบนของปากกระติบมักจะพังเสียหาย ราคาถูกกว่าก่องข้าว

kratip kao 02

ก่องข้าวและกระติบข้าว เป็นภาชนะในการเก็บอาหารที่ทรงคุณค่า มากด้วยภูมิปัญญา เก็บความร้อนได้ดี ในขณะที่ยอมให้ไอน้ำระเหยออกไปได้บางส่วน ผ่านทางช่องว่างระหว่างการสานของไม้ไผ่ ทำให้ "ข้าวเหนียว" ที่บรรจุอยู่ภายในกระติบ หรือก่องข้าวไม่แฉะด้วยไอน้ำ ต่างจากการใช้ กระติกน้ำแข็ง (ที่ดูเหมือนจะถูกนำมาใช้งานแทน ก่องข้าว หรือ กระติบข้าว ของพ่อค้าแม่ค้าขายข้าวเหนียวส้มตำ ไก่ย่างในเมืองใหญ่) ที่จำเป็นต้องใช้ผ้าขาวบางมารองในกระติกอีกที (ควรเป็นผ้าฝ้ายที่ไม่มีส่วนผสมของไนล่อนหรือพลาสติก ซึ่งอาจมีสารเคมีละลายมาปนเปื้อนกับข้าวเหนียวได้) ก่อนบรรจุข้าวเหนียวลงไป ถึงกระนั้น เม็ดข้าวที่อยู่ชิดโดยรอบขอบกระติกก็ยังคงแฉะอยู่ดี

kong kao3

หลายๆ คนคงเคยมีประสบการณ์ในการไปรับประทานอาหารอีสาน (Isan Food Style) กับข้าวเหนียวนอกบ้าน ตามร้านอาหารหรือร้านขายริมทาง แล้วจะเห็นพ่อค้ายุคใหม่สมัยนี้ใช้ภาชนะบรรจุข้าวเหนียวไว้ขาย ด้วยกระติกพลาสติกขนาดใหญ่รองด้วยผ้าขาว บรรจุข้าวเหนียวร้อนๆ ไว้ค่อยแยกมาบรรจุเป็นขนาดเล็กๆ ในภาชนะกระติบข้าวไม้ไผ่เล็กๆ หรือภาชนะอื่นๆ ถ้าสังเกตดีๆ จะพบว่า ข้าวเหนียวที่ได้มาจะมีอาการแฉะเปียกด้วยไอน้ำอยู่บ้าง ไม่น่ารับประทาน ผิดจากที่แม่ค้ารายใดใช้กระติบข้าวหรือก่องข้าวขนาดใหญ่บรรจุข้าวเหนียว เมื่อแบ่งข้าวมาเสิร์ฟนั้นข้าวจะร้อน เหนียวนุ่ม ไม่แฉะแต่อย่างใด

kong kao4

ภูมิปัญญานี้มีเคล็ดลับอยู่ที่ กระติบข้าว หรือ ก่องข้าว จะมีการสานภาชนะเป็นสองชั้น ชั้นในสุดจะสานด้วยตอกไม้ไผ่ให้มีความห่าง (ช่องว่างระหว่างตอกสาน) เล็กน้อย เพื่อให้ไอน้ำระเหยออกจากข้าวไปสู่ช่องว่างภายในก่อง หรือกระติบข้าวได้ ในขณะที่ชั้นนอกสุดจะสานด้วยตอกที่มีความชิดแน่นหนากว่า เพื่อเก็บกักความร้อนไว้ ไอน้ำที่มีความร้อนอยู่ภายในช่องว่างนี้ จะช่วยทำให้ข้าวเหนียวที่อยู่ภายในกระติบ หรือ ก่องข้าว ยังคงความร้อนอยู่ได้อีกนาน โดยเมล็ดข้าวจะไม่มีไอน้ำเกาะ ข้าวเหนียวจึงไม่แฉะเหมือนกับการบรรจุในภาชนะพลาสติกยุคใหม่

kong kao

อันตรายที่ได้จากความสะดวก (ภาชนะพลาสติก) นั้นมีแน่นอน จริงอยู่ที่ภาชนะพลาสติกเกรดดี (Food Grade) ที่ทนความร้อนได้สูงเหมาะกับการบรรจุอาหารก็มี แต่เชื่อได้ว่า ร้อยละ 99 ของผู้ค้าขายอาหารส่วนใหญ่ใช้ภาชนะพลาสติกราคาถูก ที่ทำมาจากพลาสติกรีไซเคิลมาด้วยราคาถูก ลดต้นทุนและไม่ทราบถึงอันตรายของมัน ยิ่งนำมาบรรจุข้าวเหนียวร้อนๆ รองด้วยผ้าขาวบาง ซึ่งผ้าขาวบางนี้ก็ไม่ได้ทำจากใยฝ้ายแต่ทำมาจากใยไนลอน ความเสี่ยงก็ยิ่งทวีเป็นสองเท่า ภูมิปัญญาอีสานดีกว่าแน่นอนดังที่กล่าวมา แต่ก็ควรรักษาความสะอาดไม่ให้เกิดเชื้อราสะสมอยู่ภายในด้วย

kratip kao 01 

ในกรณีของกระติบข้าว จะเห็นว่า ฝาปิดและตัวกระติบ จะมีลักษณะที่เหมือนกัน เพียงแต่มีขนาดที่ต่างกันเล็กน้อย ให้สามารถสวมใส่กันได้พอดี ในส่วนตัวกระติบจะมีฐานรองทำจากก้านตาล ขดเป็นวงกลม มีขนาดเล็กกว่าตัวกระติบเล็กน้อย ยึดด้วยหวายให้ติดกับตัวกระติบ (ปัจจุบันนี้ นิยมใช้เชือกไนล่อน เพราะหาง่ายราคาถูกกว่า)

kratip kao

ด้วยเทคนิคการสานจากภูมิปัญญาไทยนี้ ทำให้ผลิตภัณฑ์นี้เป็นที่ยอมรับ และยังคงอยู่ตลอดมา สร้างรายได้ให้กับชุมชนในการสร้างงาน และยังสืบสานความรู้ของการจักสานไว้ เช่น ที่หมู่บ้านทุ่งนางโอก อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร (ผู้เขียนเคยไปถ่ายทำสารคดีเรื่องเครื่องจักสานที่นี่ เมื่อตอนประชาสัมพันธ์ Amazing Thailand 30 ปีมาแล้ว ตอนนี้หาภาพที่ถ่ายไว้ไม่พบ เห็นทีจะต้องย้อนไปอีกครั้งแล้วครับ)

รายการทีวีชุมชน ThaiPBS ตอน กระติบข้าว มหัศจรรย์เครื่องสานหลงยุค

สิ่งที่อยู่คู่กับข้าวเหนียวไม่เคยห่างก็คือ กระติบใส่ข้าวเหนียว ปัจจุบันยังไม่มีภาชนะใดที่จะนำมาใช้ทดแทนกระติบข้าวได้ดีมากพอ จึงยังคงเห็นคนสานกระติบข้าวอยู่ อย่างเช่นที่ชุมชนหนองขอน อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

ขั้นตอนการสานกระติบข้าว

 เรื่องที่เกี่ยวข้อง : หวดนึ่งข้าวเหนียว | โบมส่ายข้าว | วิญญาณที่ ๕ ของชาวอีสาน 

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)