foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

heet m 05

บุญเดือนห้า

ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเดือนห้าได้พวกไพร่ซาวเมือง จงพากันสรงน้ำขัดสีพุทธรูป ให้ทำทุกวัด แท้อย่าไลม้างห่างเสีย ให้พากันทำแท้ๆ ไผๆ บ่ได้ว่า ทุกทั่วทีปแผ่นหล้าให้ทำแท้สู่คน จั่งสิสุขยิ่งล้น ทำถืกคำสอน ถือฮีตคองควรถือแต่ปฐมพุ้น "

หลายท่านคงจะนึกแปลกใจเหมือนกับผู้เขียนในการเรียกขานพระสงฆ์ในชื่อต่างๆ ดูมีความซับซ้อนเหลือเกิน บางท่านจะถูกเรียกว่า "มหา" "ญาคู" "ญาซา" และเมื่อสึกจากการบวชพระแล้ว ก็จะมีคำเรียกขานที่แตกต่างกัน เช่น "เชียง" "ทิด" "จารย์" มีการกำหนด กฏเกณฑ์เช่นไรหนอ วันนี้ได้รับคำตอบมาจาก อาจารย์ชุมพล แนวจำปา มานำเสนอกันแล้วครับ 

โฮงฮด

โฮงฮด หรื ฮางฮด คือ ท่อนไม้ที่เซาะให้เป็นราง สำหรับเอาน้ำรดให้ไหลลงไปตามราง จึงเรียก "รางรด" หรือ "ฮางฮด" (คนอีสานออกเสียงพยัญชนะ ร. เป็น ฮ. เช่น รัก เป็น ฮัก) ช่างนิยมทำด้านหัวของฮางฮดเป็นรูปพญานาค มีทั้งเศียรเดียวและหลายเศียร ส่วนด้านท้ายทำเป็นหางนาค เป็นส่วนที่ใช้เทน้ำให้ไหลลาดไปทางหัวนาค ซึ่งเจาะเป็นรูให้น้ำไหลออกไปถูกองค์พระพุทธรูปที่ต้องการ "ฮดสรง" คว่ามยาวของฮางฮดเท่าที่ปรากฏสูงสุดไม่เกิน 12 ศอก ใน "ฮีตสิบสอง คองสิบสี่" ได้กล่าวถึงการสรงน้ำพระพุทธรูปในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เรียก "บุญฮดสรง" เป็นช่วงตรุษสงกรานต์ คือวันที่พระอาทิตย์ได้เคลื่อนย้ายจากฤดูหนาวก้าวสู่ฤดูร้อน จึงเรียกอีกอย่างว่า "บุญเดือนห้า"

kong hod 4

ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม เส้นมีทั้งเส้นโค้งและเส้นตรง รูปทรงเป็นรางยาวแนวนอนเป็นรูปทรงพญานาค ลวดลายเป็นลายประดับตัวพญานาค ผิวของไม้ที่แกะสลักเป็นลายนูน มีการระบายสี ประดับกระจก และลงรักปิดทอง

ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม คติความเชื่อเรื่องนาคซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งน้ำ ความอุดมสมบูรณ์ และความเชื่อเกี่ยวกับนาคที่ปกป้องศาสนาพุทธ

bulletลูกผู้ชายไทยควรได้บวชในบวรพระพุทธศาสนา

ลูกผู้ชายไทยทุกคนมีธรรมเนียมว่า เมื่อถึงอายุ 20 ปี ควรบวชในบวรพระพุทธศาสนา เพื่อทดแทนพระคุณบิดามารดาและเป็นการสืบสานพระศาสนาให้คงอยู่ เมื่อเป็นพระบวชใหม่ ยังมีพรรษาน้อยจะเรียกกันว่าพระ "นวกะ" ถ้าบวช 5 พรรษาขึ้นไปจึงพ้น "นวกะ" ในชุมชนอีสานมีธรรมเนียมการทำ "กองฮด" สำหรับพระสงฆ์ที่มีพรรษามากกว่า 5 พรรษาขึ้นไป

watpa inter 01 

bullet"กองฮด, ฮดสรง" พระสงฆ์อีสาน

“ฮดสรง” คือ พิธีสรงน้ำหรือรินน้ำแก่พระสงฆ์ ซึ่งเป็นรูปแบบประเพณีที่เก่าแก่ของผู้คนในแถบอีสาน โดยได้รับอิทธิพลมาจากอาณาจักรล้านช้าง การจัดพิธีฮดสรงนั้น จะถูกจัดขึ้นเมื่อชาวบ้านและพระเถระในคณะสงฆ์เห็นว่า มีพระสงฆ์ที่เล่าเรียนจบในบั้นหรือขั้นต่างๆ แล้ว จึงสมควรที่จะจัดพิธีฮดสรงให้ (สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 15, 2542, น. 5362)

kong hod 3
ฮูปแต้ม “พิธีฮดสรง” ในสิมวัดป่าเรไรย์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
(ภาพจากหนังสือ “ฮูบแต้มในสิมอีสาน งานศิลป์สองฝั่งโขง” โดย อาจารย์สุมาลี เอกชนนิยม)

"กองฮด" เป็นกิจกรรมที่ชาวบ้านจัดขึ้นเพื่อยกย่องพระรูปใดรูปหนึ่งที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ยกย่องพระดีมีคุณธรรม มีความสามารถในชุมชนขึ้นเป็น สำเร็จ ซา คู ฯลฯ เป็นการทำพิธีเถราภิเษกมอบถวายสมณศักดิ์กันในระดับชาวบ้าน โดยชาวบ้าน เพื่อประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่ายในชุมชน นับว่าเป็นกิจกรรมที่ใหญ่พอสมควร ชาวบ้าน คนเฒ่า คนแก่ในละแวกบ้านนั้น ก็จะได้รับแจ้งข่าวคราวการตั้งกองฮด ผู้เฒ่าผู้แก่ต้องพร้อมใจกันเห็นดีเห็นงามโดยการประชุมกัน เป็นการยกย่อง ไม่ใช่การเลื่อนตำแหน่ง เป็นความดีความชอบที่ชาวบ้านยกให้พระสงฆ์

 kong hod 1

"กองฮด" หมายถึง การรดน้ำ (ภาษาอีสานออกเสียง รด เป็น ฮด) เริ่มพิธีกรรมโดยการที่ชาวบ้านจัดหาไตรจีวร และเครื่องอัฐบริกขาร เปลี่ยนผ้าให้พระสงฆ์ คือทำเหมือนกับที่ปฏิบัติกับพระพุทธรูป (อย่างเช่น การมีพระราชประเพณีเปลี่ยนเครื่องทรงให้กับพระแก้วมรกต) กองฮดนิยมทำในเดือนเมษายน (คล้ายกฐินต้องทำตอนออกพรรษา) ผู้เฒ่าผู้แก่ ชาวบ้านจะเข้าแถวกันรด (ฮด) น้ำให้ไหลไปตามรางน้ำที่ทำเป็นรูปพญานาค แล้วไหลไปรดตัวพระสงฆ์ เสร็จแล้วเอาจีวรเก่าออก แล้วเอาจีวรใหม่มาห่มแทน ถวายบริกขาร ขอรับศีลรับพรจากท่าน พระสงฆ์รูปนี้จะถือว่าเป็นพระที่ผ่านการฮดแล้ว การเรียกขานพระสงฆ์ผู้นี้ภายหลังการลาสิกขาบทออกไปแล้วจะเรียกว่า "จารย์" เป็นคำนำหน้าชื่อ

พระสงฆ์ที่ไม่ผ่านพิธีการฮด แต่บวชเกินพรรษา เมื่อลาสิกขาบทแล้วจะเรียกขานคำนำหน้าชื่อว่า "ทิด" ส่วนสามเณร เมื่อลาสิกขาบทแล้วจะเรียกขานคำนำหน้าชื่อว่า "เซียง" พระสงฆ์ที่สอบเปรียญได้ถึงแม่ว่าจะไม่ผ่านการฮด เมื่อลาสิกขาบทแล้วก็เรียกขานคำนำหน้าชื่อว่า "มหา" พระสงฆ์บวช 10 พรรษาขึ้นไป เรียก "ญาคู" เป็นพระสงฆ์อาวุโส พระสงฆ์อาวุโสบวช 10 พรรษาขึ้นไป และเป็นอุปัชฌาย์ คือบวชผู้อื่นได้ (ให้กำเนิดพระสงฆ์ได้) เรียก "ญาซา"

"จัว" เป็นคำเรียกเณร "เจ้าหัว" เป็นคำเรียกพระสงฆ์ ถ้าบวชนานๆ เป็น "ญาคู" ถ้าได้เป็นอุปัชฌาย์ เป็น "ญาซา" ดังนี้แล

การฮดสรง ถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญ สำหรับการเลื่อนสมณศักดิ์ของพระสงฆ์แถบอีสานในอดีต เพราะพระสงฆ์ที่จะมีลำดับชั้นสมณศักดิ์ที่สูงขึ้นได้นั้น ต้องผ่านการ “ฮดสรง” หรือ “พิธีเถราภิเษก” โดยชาวบ้านและพระสงฆ์ในชุมชนของตนก่อน สำหรับสมณศักดิ์พระสงฆ์แถบอีสานในอดีตมีลำดับชั้นดังนี้

  • สำเร็จ คือภิกษุหรือสามเณรที่ผ่านการฮดสรง ครั้งที่ 1
  • ซา คือภิกษุหรือสามเณรที่ผ่านการฮดสรงครั้งที่ 2 (เชื่อกันว่า ซา หมายถึง ปรีชา หรือสามารถ)
  • คู (ครู) คือภิกษุหรือสามเณรที่ผ่านการฮดสรง ครั้งที่ 3
  • คูหลักคำ คือภิกษุหรือสามเณรที่ผ่านการฮดสรงครั้งที่ 4
  • คูลูกแก้ว คือภิกษุหรือสามเณรที่ผ่านการฮดสรงครั้งที่ 5
  • คูยอดแก้ว คือภิกษุหรือสามเณรที่ผ่านการฮดสรงครั้งที่ 6

kong hod 6

โฮงฮดรูปพญานาค จากพิพิธภัณฑ์บ้านท่าไห อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

ส่วนสมณศักดิ์ชั้นสูงสุด คือ “ราชครูหลวง” นั้นเป็นตำแหน่งที่กษัตริย์ของอาณาจักรล้านช้างเป็นผู้สถาปนาด้วยพระองค์เอง แก่พระภิกษุที่มีวัตรปฏิบัติเหมาะสม และเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะแล้วต้องเป็นภิกษุที่มีบทบาทสูง ในการช่วยกษัตริย์ล้านช้างควบคุมดูแลให้บ้านเมืองมีความสงบสุขเรียบร้อยในทางสังคมร่วมไปด้วย เช่น ราชครูหลวงโพนสะเม็ก หรือหลวงพ่อขี้หอม ในคำที่ชาวบ้านในอดีตคุ้นเคย ทั้งนี้ ภิกษุและสามเณรที่ผ่านการฮดสรงแล้ว จะมีการเรียกสมณศักดิ์ดังกล่าวตามไปด้วย

ในอดีตแถบอีสานเรียกภิกษุว่า “เจ้าหัว” สามเณรเรียกว่า “จัว” เช่น ภิกษุชื่อมา หลังฮดสรงครั้งที่ 1 เรียก เจ้าหัวสำเร็จมา หากฮดสรงจนถึงครั้งที่ 6 จะเรียก เจ้าหัวคูยอดแก้วมา ส่วนสามเณรก็เช่นกัน เช่น สามเณรมี หลังฮดสรงครั้งที่ 1 เรียก สำเร็จจัวมี หากผ่านการฮดสรงครั้งที่ 6 เรียก คูยอดแก้วจัวมี (สังเกตว่า การเรียกจัว หลังฮดสรงจะนำหน้าชื่อด้วย ลำดับสมณศักดิ์)

3diamondเครื่องกองฮด (หด,รด)

ซึ่งอุปกรณ์ประกอบพิธีฮดสรงที่สำคัญคือ “ฮางฮด” หรือ “รางริน” ลักษณะของฮางฮด โดยทั่วไปจะใช้ไม้เนื้อแข็งในการแกะสลักเป็นรูปพญานาคในทางยาวประมาณ 3 เมตร หรือ 3.50 เมตร ส่วนเส้นรอบวงอยู่ระหว่าง 20 - 25 เซนติเมตร ทั้งนี้ขนาดของฮางฮดบางวัดอาจมีขนาดที่เล็กหรือใหญ่กว่าขนาดดังกล่าวข้างต้น ไม่ถือเป็นมาตรฐานแน่นอน และการแกะสลักฮางฮดเป็นรูปพญานาคสะท้อนนัยยะการให้ความสำคัญแก่สัตว์ประเภทนี้ ทั้งในฐานะผู้เคยอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาล และความเชื่อของชาวบ้านในท้องถิ่นเอง ที่เชื่อว่าพญานาคเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่มีอยู่จริง นอกจากตัวฮางฮดแล้ว ยังมีองค์ประกอบของฮางฮดที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือขาตั้งหรือขาค้ำยันสำหรับฮางฮด ซึ่งจะมีทั้งแบบ 2 ขาและ 4 ขา รวมทั้งจะมีการแกะสลักเป็นรูปสัตว์ที่สวยงามด้วยเช่นกัน อาทิ เต่า กระต่าย สุนัข ฯลฯ (ติ๊ก แสนบุญ, 2548, น. 43.)

kong hod 5

นอกจากการฮดสรงจะมีฮางฮดเป็นอุปกรณ์ประกอบพิธีที่สำคัญแล้ว ยังมีบริขารเครื่องยศประกอบสมณศักดิ์ สำหรับมอบถวายแก่พระสงฆ์ ที่ได้รับการฮดสรงด้วย โดยทั่วไปจะประกอบด้วย 1. อัฐบริขาร (จีวร ผ้าสังฆาฏิ สบง สายประคด มีดโกน กล่องเข็ม ธรรมกรก มีดตัดเล็บ) 2. ผ้าห่ม 3. รองเท้า 4. ไม้เท้า 5. หมวก 6. เตียงนอน 7. ตาลปัตรรูปใบโพธิ์ (ใช้เส้นไหมปัก) 8. หลาบเงินหรือหลาบทอง (คือแผ่นเงินหรือแผ่นทองที่จารึกพุทธพจน์หรือพุทธภาษิต)

เมื่อเห็นเป็นการสมควรว่า พระภิกษุ สามเณรลูกหลานรูปใด ได้สำเร็จการศึกษาควรแก่การยกย่องให้เตรียมกองฮด (หด) จะมี ไตร จีวร (สามเณรไม่ต้องใส่สังฆาฏิ์) มีดโกน กล่องเข็ม มีดตัดเล็บ ธรรมกรก ประคตเอว ผ้าห่ม รองเท้า ไม้เท้า ตาลบัตร มีดชะนาก เงี่ยง (กระโถน) ขันหมาก หลาบเงิน เครื่องยศ เทียนกิ่ง (ทำเทียนเหมือนหอกสามง่ามสำหรับใต้ติดโฮงหด) เทียนเล็ก ได้แก่เทียนน้อยใต้ถวายพระตอนพระมาหด บายศรี 1 คู่ เทียนอาจ (เทียนเล่มบาท 2 คู่) น้ำหอม 3 ตุ่ม

การฮด (หด, รด) ให้ทำน้ำอบน้ำหอมใส่ตุ่มไว้ให้มาก เอาโฮงหดมาตั้ง เอาต้นกล้วยเป็นเสา เอาใบตองกล้วยและหญ้าแพรกมารอง ถ้าสูงจนหย่อนขาได้เรียกว่า บัลลังก์ศิลาอาสน์ ถ้าต่ำกว่านั้นเรียกว่า หินศิลาอาสน์ ตั้งไว้ใต้ป่องน้ำโฮงหด เวลาเทน้ำใส่โฮงหดน้ำจะไหลลงมารดผู้รับการรดน้ำพอดี

kong hod 2

การหดน้ำจะทำต่างหากก็ได้ หรือจะทำร่วมกับบุญอื่นๆ ก็ได้ พระเถระผู้ใหญ่จะนำในการประกอบพิธี ให้พระรดน้ำก่อนจากนั้นคนแก่คนเฒ่าจะรดตามเรียงลำดับไปจนถึงชาวบ้านทั่วไป การหด (รด) นี้เป็นพิธีกรรมที่สำคัญมาก เพราะเป็นการสถาปนาให้ผู้ได้รับการรดน้ำนี้เปลี่ยนชื่อ เป็นผู้มียศทางสังคมได้ สมควรจะสืบต่อประเพณีอันดีงามนี้สืบไป

กองฮด วัดบ้านนาแก้ว อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

เมื่อรดน้ำเสร็จแล้วก็จะมีการถวายไตรจีวร พระที่รับไตรจีวรก็จะพินทุผ้า ปัจจุทธรณ์ผ้า (ถอนผ้าเก่าถ่ายใส่ผ้าใหม่) อธิษฐานผ้าและครองผ้า เปลี่ยนที่เปียกออก เสร็จแล้วชาวบ้านจะเอาฆ้องมาให้ตี พ่อใหญ่ทายกวัดจะหิ้วเชือกฆ้องไว้ (หากฆ้องใหญ่ ให้จับที่เชือกแขวนแทน) พระที่รับการหดน้ำจะเอากำปั้นตีจูมฆ้อง 3 ครั้ง แต่ละครั้งที่ตีให้บริกรรมว่า "สีหะทานัง นะทันเตเต ปะริสาสุ วิสาระทา" ต่อจากนั้นก็ไปให้ศีล และรับถวายกองหดทั้งหมดจากญาติโยม ให้พร เป็นอันจบพิธี

ประเพณีสงกรานต์ 

ในช่วงเดือนนี้ ยังมีเทศกาลสำคัญของประชาชนทั่วไปคือ วันสงกรานต์ เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณ ก่อนที่จะมีการประกาศวันขึ้นปีใหม่แบบสากล ในขณะที่ชาวต่างชาติต่างรู้จักวันสงกรานต์ในฐานะของการละเล่นสาดน้ำคลายร้อนที่โด่งดังไปทั่วโลก

boon songkran 2

คำว่า สงกรานต์ นั้น แปลว่า ก้าวขึ้น เปลี่ยนผ่าน หรือย่างขึ้น ซึ่งตรงกับทางโหราศาสตร์ที่ว่า วันสงกรานต์จะเป็นช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งตรงกับวันที่ 13 , 14, 15 เมษายนของทุกปี ในบางจังหวัดก็จะมีการเฉลิมฉลองยาวนานกว่า 3 วัน เช่น ประเพณีสงกรานต์เชียงใหม่ หรือประเพณีสงกรานต์พระประแดง ประเพณีสงกรานต์ (วันไหล) พัทยา สงกรานต์ถนนข้าวเหนียวจังหวัดขอนแก่น และนอกจากไทยแล้ว ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง เช่น ลาว พม่า กัมพูชา ก็มีประเพณีวันสงกรานต์เช่นเดียวกัน

ในระหว่าง 3 วันนี้ จะมีกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น การทำความสะอาดบ้านเรือน เข้าวัดทำบุญ ขนทรายเข้าวัด ก่อเจดีย์ทราย สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และการละเล่นสาดน้ำของหนุ่มสาว

ในวันที่ 13  เมษายน จะเรียกว่าวันมหาสงกรานต์ เป็นวันสิ้นปีเก่าเตรียมเข้าสู่วันขึ้นปีใหม่ ผู้คนก็จะปัดกวาด ทำความสะอาดบ้าน เพื่อชำระล้างสิ่งไม่ดีให้ออกไปจากบ้าน เป็นการต้อนรับปีใหม่ บางบ้านก็จะยิงปืน จุดประทัด หรือทำอะไรก็ได้ให้เกิดเสียงดัง เพื่อขับไล่สิ่งไม่ดีต่างๆ ออกไป

วันที่ 14 เมษายน วันเนาหรือวันเน่า ตามวัดวาอารามต่างๆ จะมีการเตรียมงานทำบุญสงกรานต์ ตอนบ่ายๆ จะมีการขนทรายเข้าวัดเตรียมก่อเจดีย์ทราย ในวันนี้คนโบราณมีความเชื่อว่า ห้ามพูดจาไม่ดีต่อกัน ห้ามทะเลาะเบาะแว้ง เพราะจะทำให้โชคไม่ดีไปตลอดปี

วันที่  15 เมษายน วันเถลิงศกหรือวันพญาวัน  เป็นวันที่ผู้คนพากันเข้าวัด ทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว มีการรดน้ำดำหัว ขอพรจากผู้สูงอายุ ผู้อาวุโสในชุมชน มีการก่อเจดีย์ทราย การละเล่นสาดน้ำของหนุ่มสาว ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญที่หนุ่มสาวจะได้พบปะกันพูดคุยกัน เกี้ยวพาราสีกันได้ด้วยการละเล่นสาดน้ำ

boon songkran 1

ที่มาของประเพณีสงกรานต์นั้นอิงมาจาก ตำนานนางสงกรานต์ เมื่อธรรมาบาลกุมารผู้มีสติปัญญาปราดเปรื่อง สามารถตอบคำถามท้าวกบิลพรหมได้ ทำให้ท้าวกบิลพรหมต้องตัดศีรษะตนเองตามที่ตกลงไว้กับธรรมบาลกุมารว่า จะยอมตัดศีรษะให้หากตอบคำถามได้ แต่ศีรษะของท้าวกบิลพรหมนั้นหากตัดแล้วนำไปตั้งไว้บนผืนดิน แผ่นดินจะลุกเป็นไฟ ถ้าโยนขึ้นท้องฟ้า ฝนจะแล้ง ท้าวกบิลพรหมจึงให้ลูกสาวทั้งเจ็ดคนผลัดเปลี่ยนกัน จัดขบวนแห่ศีรษะของตนเองรอบเขาพระสุเมรุ ทุกๆ 365 วัน การนำศีรษะของท้าวกบิลพรหมออกแห่จึงถูกนับว่าเป็นการขึ้นปีใหม่นั่นเอง

new1234อ่านเพิ่มเติม : ประเพณีสงกรานต์ที่ควรรู้จัก  

อัตลักษณ์ท้องถิ่นอีสาน

 

ประเพณีวันสงกรานต์

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)