foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

dance header

bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

fon for fun header

3diamondเซิ้งกระหยัง 

เซิ้งกระหยัง เป็นชุดฟ้อนที่ได้แบบอย่างมาจากเซิ้งกระติบข้าว โดยเปลี่ยนจากกระติบข้าวมาเป็น "กระหยัง" ซึ่งเป็นภาชนะทำด้วยไม้ไผ่ มีลักษณะคล้ายกระบุง แต่มีขนาดเล็กกว่า เซิ้งกระหยัง เป็นการแสดงอย่างหนึ่งของชาวกาฬสินธุ์ โดยอำเภอกุฉินารายณ์ได้ประดิษฐ์ขึ้น โดยดัดแปลงและนำเอาท่าฟ้อนจากเซิ้งอื่นๆ เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งสาละวัน ฯลฯ เข้าผสมผสานกันแล้วมาจัดกระบวนขึ้นใหม่มีอยู่ 19 ท่า ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น

ท่าไหว้ ท่าไท ท่าโปรยดอกไม้ ท่าขยับสะโพก ท่าจับคู่ถือกะหยัง ท่านั่งเกี้ยว ท่าสับหน่อไม้ ท่ายืนเกี้ยว ท่ารำส่าย ท่าเก็บผักหวาน ท่ากระหยังตั้งวง ท่าตัดหน้า ท่าสาละวัน ท่ากลองยาว ท่ารำวง ท่าชวนกลับ ท่าแยกวง ท่านั่ง ที่ได้ชื่อว่าเซิ้งกระหยังเพราะผู้ฟ้อนจะถือกระหยังเป็นส่วนประกอบในการแสดง

เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงสวมเสื้อแขนกระบอกสีดำ หรือน้ำเงินขลิบขาว นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ ฝ่ายชายสวมเสื้อม่อฮ่อมกางเกงขาก๊วย ใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว และโพกศีรษะ

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานซึ่งประกอบด้วย กลองยาว ฉาบ และฉิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องกำกับจังหวะ ใช้แคน พิณ ปี่แอ้ เป็นเครื่องดำเนินทำนอง

อุปกรณ์การแสดง กระหยัง

เซิ้งกระหยัง วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์

3diamondเซิ้งครกมอง

ชาวชนบทในภาคอีสานส่วนใหญ่ จะมี "ครกมอง" หรือ "ครกกระเดื่อง" ไว้ให้สำหรับตำข้าวเปลือกอยู่แทบทุกครัวเรือน ส่วนมากจะทำไว้ใกล้ๆ กับเล้าข้าวโดยต่อหลังคาลงมาเรียกว่า "เทิบมอง" มุงเพื่อกันแดดกันฝนที่ทำครกมองไว้ใกล้ๆ เล้าข้าว เพื่อสะดวกในการตักข้าวเปลือกจากเล้ามาตำ การตำข้าวเปลือกนั้นชาวอีสานถือว่า เป็นหน้าที่ของผู้หญิง สำหรับเรือนที่มีลูกสาวเขาจะตำข้าวหลังจากกินข้าวเย็นแล้ว ในการนี้จะมีชายหนุ่มมาช่วยตำด้วย และมีการเกี้ยวพาราสีกัน ครกมองจะมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้

  1. ตัวครก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งตัดเป็นท่อนยาวพอสมควร ด้านที่เป็นตัวครกเจาะเป็นร่องลึกตรงกลาง ส่วนอีกด้านหนึ่งฝังลงดินให้แน่น
  2. แม่มอง ใช้ไม้เนื้อแข็งยาวประมาณ 4-5 เมตร ส่วนหัวซึ่งเป็นโคนต้นเจาะรูสำหรับใส่สากมอง ส่วนทางปลายจะถากออกเพื่อใช้เป็นที่เหยียบเพื่อให้แม่มองกระเดื่องขึ้น
  3. เสามองและคานมอง แม่มองจะถูกเจาะให้เป็นช่องทะลุตรงช่วงที่ค่อนไปทางหางมอง เพื่อจะได้สอดคานมองและมีเสามองไว้สำหรับยึดคานมองไว้ทั้งสองข้าง ซึ่งจะทำให้แม่มองวางเกือบขนานกับพื้นดิน เมื่อนำสากมองสวมเข้าแล้วหัวแม่มองจะเชิดขึ้นเล็กน้อย
  4. หลักจัน หมายถึงหลักไม้สำหรับให้ผู้ตำข้าวใช้จับเวลาตำ หลักจับอาจจะมีหลักเดียวหรือ 2 หลักก็ได้
  5. สากมอง เป็นส่วนสำคัญของครกมอง การตำข้าวจะออกมาสวยหรือไม่สวย จะขึ้นอยู่กับสากมอง สากมองทำด้วยไม้เนื้อแข็งความยาวประมาณ 60 เซนติเมตร โดยใช้สวมกับแม่มอง สากมองมี 3 ชนิด คือ สากตำเป็นสากขนาดเล็กใช้ตำข้าวเปลือกซึ่งเรียกว่า ตำแหลกเปลือก ต่อไปก็ใช้สากต่าวซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าสากตำ เรียกว่า การตำต่าว และใช้สากส้อมเป็นสากที่มีขนาดใหญ่ที่สุด การเปลี่ยนสากแต่ละครั้งจะต้องนำข้าวนั้นตักออกใส่กระด้งนำไปฝัดเสียครั้งหนึ่ง

krog mong 04

อุปกรณ์การแสดง ที่ใช้ในการประกอบในการตำข้าว ได้แก่

  1. กระด้ง ใช้สำหรับผัดข้าว ซึ่งเรียกว่า กระด้งผัดมีลักษณะทรงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร
  2. กระบุง ในการตำข้าวแต่ละครั้งอย่างน้อยต้องใช้กระบุง 2 ใบ สำหรับใส่ข้าวเปลือกกระบุงหนึ่งและข้าวสารอีกกระบุงหนึ่ง
  3. เขิง หรือ ตะแกรงร่อนเพื่อจะเอารำข้าว ทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นลายตารางเล็กๆ ใช้ร่อนข้าวหลังจากตำเสร็จแล้ว เพื่อจะได้รำข้าว

วิธีการตำข้าว คนตำจะใช้เท้าเหยียบที่หางครกมอง หรือที่เรียกว่า แม่มอง ออกแรงกดเท้าให้แม่มองกระเดื่องยกขึ้นพร้อมกับปล่อยเท้าลง เพื่อให้สากมองไปกระเทาะเปลือกเมล็ดข้าวให้หลุดออก

การเซิ้งครกมอง จึงได้นำเอาขั้นตอนการตำข้าวตั้งแต่การนำเอาครกมาตั้ง ส่วนแม่มองจะใช้ผู้แสดงหญิงล้วนราว 6 คน แสดงให้เห็นถึงการกระเดื่องขึ้นลง ใช้ผู้ชายสองคนเพื่อแสดงแทนหลักจับ ใช้ผู้แสดงหญิงอีก 5 คนเป็นผู้ตำข้าวและฝัดข้าว หลังจากเสร็จสิ้นการตำข้าวจะเพิ่มการละเล่นของเด็กอีกชุดหนึ่ง เรียกว่า เสือกินวัว

เซิ้งครกมอง

เครื่องแต่งกาย ผู้แสดงหญิงที่แสดงเป็นแม่มองนั้นจะนุ่งโจงกระเบนใส่เสื้อแขนกระบอกคอกลม ส่วนผู้แสดงเป็นคนตำข้าวจะนุ่งผ้าถุงสั้นห่มผ้าแทบใช้ผ้าพันรอบเอว ผู้ชายจะใส่เสื้อม่อฮ่อมนุ่งกางเกงขาก๊วยกัน ใช้ผ้าคาดเอว

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ทำนองเซิ้งบั้งไฟ

อุปกรณ์การแสดง ตัวครก กระด้ง กระบุง

 

3diamondเซิ้งข้าวจี่

บุญข้าวจี่ เป็นฮีตหรือจารีตที่สำคัญของชาวอีสาน พอถึงเดือนสามต้องการทำบุญข้าวจี่ จนมีคำพูดที่ว่า

พอถึงเดือนสามคล้อย ปั้นข้าวจี่ใส่น้ำอ้อย เจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ จัวน้อยเช็ดน้ำตา"

บุญข้าวจี่ ไม่ได้เป็นการทำบุญที่ใหญ่โตนัก แต่ถึงกระนั้นบุญข้าวจี่ก็มีจุดเด่นที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวอีสาน ในชนบทเมื่อถึงเดือนสามเป็นเวลาที่ชาวบ้านหมดภาระจากการทำงาน จึงร่วมกันทำข้าวจี่ถวายพระสงฆ์ ตำนานการทำบุญข้าวจี่นั้นมีเล่าไว้ว่า "กระทำกันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล วันหนึ่งพระพุทธองค์เสร็จไปบิณฑบาตที่บ้านเศรษฐีปุณณะ ขณะนั้นนางปุณณทาสี คนใช้ของเศรษฐีเจ้าบ้านกำลังย่างข้าวเหนียวเพื่อรับประทานเอง ครั้นนางเห็นพระพุทธองค์ออกรับบิณฑบาต นางไม่มีปัจจัยสิ่งอื่นที่พอจะถวายได้จึงเอาข้าวย่างก้อนนั้นใส่บาตรแด่พระพุทธองค์

เมื่อนางใส่บาตรไปแล้วนางทาสีก็มีจิตพะวงว่า "พระพุทธองค์คงจะไม่เสวย เพราะภัตตาหารที่นางถวายไม่ประณีต" ข้าวย่างหรือข้าวจี่นั้นเป็นอาหารของชาวบ้านที่ค่อนข้างจะยากจน พระพุทธองค์ทรงทราบวาระจิตของนาง จึงรับสั่งให้พระอานนท์ปูอาสนะลงตรงนั้น ให้ศีลและฉันภัตตาหารของนาง เมื่อฉันเสร็จแล้วทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดนาง ทำให้นางปลื้มปิติและตั้งใจฟังธรรมจนบรรลุโสดาปัตติผล ครั้นนางตายไปได้ไปเกิดบนสวรรค์ด้วยอานิสงฆ์ของการให้ทานข้าวจี่ก้อนนั้น" ดังนั้นชาวอีสานจึงมีความเชื่อว่า หากทำบุญด้วยข้าวจี่นั้นเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า ความยากจนไม่ได้เป็นอุปสรรคในการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน

พิธีทำบุญข้าวจี่ เมื่อทางวัดกำหนดวันกับทางบ้านเรียบร้อย แล้วทางชาวบ้านจะจัดทำข้าวเกรียบ (ข้าวโป่ง) เอาไว้ เมื่อถึงวันทำบุญข้าวจี่ก็จะจี่ข้าว ย่างข้าวเกรียบ (ข้าวโป่ง) จัดไปถวายพระที่วัด เมื่อชาวบ้านไปรวมกันที่วัด ทายกก็จะนำสวดมนต์ไหว้พระ รับศีล ชาวบ้านก็จะถวายข้าวจี่ จากนั้นก็ฟังเทศน์ตามประเพณี

วิธีทำข้าวจี่ ข้าวจี่หรือข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้ว ปั้นเป็นก้อนกลมหรือแบนก็ได้ นำไปเสียบไม้ไผ่ แล้วนำไปจี่หรือย่างไฟ พอจวนจะสุกก็ทาไข่ให้ทั่วแล้วทาเกลือเล็กน้อย หรืออาจจะใส่น้ำอ้อยในการปั้นข้าวจี่ก็ได้ ย่างให้หอม ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูมหาสารคาม ได้นำขั้นตอนของการทำข้าวจี่มาประดิษฐ์เป็นท่ารำชุดฟ้อนขึ้น เรียกว่า "เซิ้งข้าวจี่"

เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงสวมเสื้อคอกลมแขนกระบอก นุ่งผ้าเวียงห่มสไบผ้าเบี่ยงทางไหล่ขวา ผูกโบว์ที่เอวซ้าย ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาก๊วย สวมเสื้อคอกลมสีพื้นขลิบริมชายเสื้อ ใช้ผ้าเวียงคาดเอวและโพกศีรษะ

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ทำนองเซิ้ง

ฟ้อนบุญข้าวจี่

3diamondรำหมากข่าแต้

การฟ้อนชุดนี้ได้ประยุกต์มาจากลีลาของการละเล่นพื้นบ้านของเด็กอีสาน ที่เรียกว่า "เม็ดแต้" หรือ "บักแต้" การละเล่นเม็ดแต้นิยมเล่นแถบลานบ้านหรือบริเวณลานวัดที่มีพื้นเรียบ อุปกรณ์ในการเล่นก็ได้แก่ เม็ดแต้ ซึ่งเป็นเมล็ดของต้นแต้ (มะค่าแต้) จำนวนผู้เล่นต้องไม่ต่ำกว่า 2 คน และไม่ควรเกิน 6 คน

mak ka tae

วิธีการเล่น

    1. เอาเม็ดแต้มาลงกัน โดยให้แต่ละคนได้จำนวนเม็ดแต้เท่าๆ กัน
    2. ขีดวงกลมไว้หนึ่งวงให้แต่ละคนโยนเม็ดแต้ใส่ในวงกลม ถ้าของใครอยู่ในวงกลมมากที่สุดก็จะได้เล่นก่อน และถ้าของใครอยู่ไกลออกไปจากวงกลมมาก็เล่นทีหลัง โดยพิจารณาจากความใกล้ไกลของเม็ดแต้กับวงกลม
    3. ตั้งเม็ดแต้เรียงเป็นแถวจนหมดจำนวนของผู้ที่เล่น
    4. ขีดเส้นสำหรับเล่น โดยคนที่หนึ่งจะเล่นก่อนไปยืนยิง (หมุนเม็ดแต้) ที่เส้นเริ่มโดยยิงไปใส่เป้าคือเม็ดแต้ที่เรียงไว้ ถ้าเม็ดแต้ล้มเท่าไหร่ก็แปลว่าคนนั้นเล่นได้เท่านั้น
    5. คนต่อไปที่เล่นต่อ ถ้ายิงไม่ล้มก็ไม่ได้เลย ในบางครั้งเล่นยังไม่ครบคนแม็ดแต้ที่ตั้งไว้ก็หมด ก็จะมีการลงเม็ดแต้เพื่อเล่นเกมส์ใหม่ต่อไป คนไหนยิงเม็ดแต้ได้มากก็กำไร คนที่เล่นได้น้อยก็ขาดทุน

การรำหมากข่าแต้นี้จึงได้ดัดแปลงจากวิธีเล่นเม็ดแต้นี้มาทำเป็นชุดฟ้อน โดยอาศัยผู้หญิงแทนเม็ดแต้ ผู้ชายจะใช้ลีลาต่างๆ ในการยิงเม็ดแต้ให้ล้มลง

เครื่องแต่งกาย ผู้หญิงสวมเสื้อคอกระเช้า นุ่งโจงกระเบนใช้ผ้าขิดสอดใต้หว่างข่าแบบขี่ม้า ใช้เข็มขัดรัดทิ้งชายทั้ง 2 ชาย ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ ฝ่ายชายสวมเสื้อคอกลมแขนสั้น นุ่งโจงกระเบนสีพื้นใช้ผ้าขาวม้าพื้นเมืองสอดใต้หว่างข่าแบบขี่ม้า ใช้เข็มขัดรัดทิ้งชายทั้ง 2 ชาย เช่นเดียวกัน

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายนกไซบินข้ามทุ่ง

อุปกรณ์การแสดง ไม้ที่ทำเป็นเม็ดแต้แต่มีขนาดใหญ่กว่า

 

ฟ้อนเซิ้งแคน - ฟ้อนชุดเล่นสาวเป่าแคน | ฟ้อนโปงลาง - ฟ้อนไทยภูเขา - ฟ้อนชุดสาวอีสานเล่นน้ำ - ฟ้อนคูณลาน blueline
ฟ้อนอุบล - ฟ้อนกลองตุ้ม - เซิ้งกะโป๋ - เซิ้งทำนา | เซิ้งกุบ - เซิ้งสาวน้อยเลียบดอนสวรรค์ - เซิ้งสวิง - เซิ้งกระติบข้าว
blueline เซิ้งกระหยัง - เซิ้งครกมอง - เซิ้งข้าวจี่ - รำหมากข่าแต้ | รำลาวกระทบไม้ - รำโก๋ยมือ - รำกลองยาวอีสาน - ลำลายกลองกิ่งกุสุมาลย์blueline รำส่วงเฮือ - รำจก - รำชุดบุรีรัมย์ตำน้ำกิน - ระบำโคราชประยุกต์ | ระบำว่าว - ระบำกลอง - ระบำสุ่ม - เรือมอันเร (รำสาก)blueline เรือมซาปดาน - เรือมซันตรูจ - เรือมตลอก (ระบำกะลา) - เรือมจับกรับ

blueline

next green คลิกไปอ่าน  ดนตรีประกอบการฟ้อนภาคอีสาน

 

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)