paya kwam tuay

ความทวย โดย : อาจารย์สวิง บุญเติม ปธ.๙ M.A.

รู้จักความทวย | ลักษณะของความทวย | ประเภทของความทวย | ความทวยเรียงตามอักษร


ลักษณะของความทวย

วามทวย เป็นปริศนาหรือปัญหาที่บรรพบุรุษชาวอีสานจินตนาการจากรูปลักษณ์ของสิ่งต่างๆ นั้น แล้วตั้งเป็นปริศนาหรือปัญหาขึ้น ด้วยภูมิปัญญาของตน เพื่อให้ลูกหลานคิดเทียบเคียงแล้วทาย เช่น

  1. ถ้าเขาจะเอาจอมปลวกเป็นความทวย (ปริศนา-ปัญหา) เขาก็จะตั้งปัญหาหรือความทวยนั้นให้มันเหมือนลักษณะของจอมปลวก เช่น
  • ความทวย "ไฟไหม้ป่า บ่ไหม้หมกเห็ด" เจ้าว่าแม่นหยัง?
    คำตอบ ก็คือ "จอมปลวก" นั่นเอง เพราะไฟจะไหม้ป่าเท่าไร มันก็จะไม่ไหม้หมกเห็ดคือจอมปลวกเลย
  • ความทวย "ไฟไหม้ดัง บ่ไหม้ขี้มูก" เจ้าว่าแม่นหยัง?
    คำตอบ ก็คือ คนสูบบุหรี่เอาควันออกทางจมูก ควันออกจากจมูกมันก็เหมือนไฟไหม้จมูก แต่มันก็ไม่ไหม้ขี้มูก เพราะมันเป็นเพียงควันเฉยๆ

 

  1. ถ้าขณะนั้น บรรยากาศมันเครียดเกินไป ต่างคนต่างเมื่อยล้า เพราะฟังนิทานและคิดตอบความทวยมามากแล้ว แต่ยังไม่ถึงเวลาเลิก ท่านก็จะคิดปัญหาที่ตลกๆ ชวนหัวเราะขึ้นมา ให้ลูกหลานพากันคิดหาคำตอบ ความทวยดังกล่าวนี้ พอได้ฟังเท่านั้นเด็กๆ ก็จะหัวเราะและคลายเครียดลงได้ เช่น
    • ความทวย "แข่วซากลาก ฮูดากหลมแขน" เจ้าว่าแม่นหยัง?
      คำตอบ ก็คือ "สุ่ม" สุ่มนั้นถ้าเป็นสุ่มใหญ่เขาจะใช้ขังไก่ ถ้าเป็นสุ่มเล็ก เขาจะนำไปสักหาปลา ลักษณะของสุ่ม ปากและฟันมันจะคว่ำลงข้างล่าง ส่วนก้นสุ่มจะหันขึ้นข้างบน เวลาขังไก่ก็จะคว่ำปากลง เอาไก่ลงทางฮูดาก (รูก้น) ของสุ่ม เวลาจะเอาไก่ก็ล้วงลงทางฮูดาก (รูก้น) ของสุ่มนี้ สุ่มเล็กเขาใช้สักหาปลา น้ำจะต้องลึกไม่เกินครึ่งแข้ง ถ้าลึกกว่านั้นใช้สุ่มสักหาปลาไม่ได้
              การใช้ ผู้ใช้จะจับทางก้นสุ่ม สักจ๊วบๆๆๆ ไปเรื่อยๆ ถ้าไปครอบหรือสักถูกปลา ปลามันจะวิ่งชนสุ่ม ถ้าตัวใหญ่สุ่มก็จะโยก เจ้าของสุ่มจะต้องขึ้นไปนั่งบนก้นสุ่ม ให้ปลามันวิ่งชนสุ่มจนมันเมื่อยล้าก่อน ค่อยเอามือล้วงลงไปจับเอาใส่ข้องที่ผูกติดไว้กับเอว
              พอเด็กได้ฟังความทวยหรือคำถามที่ตั้งขึ้นว่า "แข่วซากลาก ฮูดากหลมแขน" เท่านั้นเด็กก็จะหัวเราะกัน แล้วคิดหาคำตอบ
    • ความทวย ไก่อีดำงำดิน ไผว่าแม่นหยัง?
      คำตอบ ก็คือ ขี้ควาย

                เด็กจะแยกกันคิด และรวมกันคิดหาคำตอบอย่างสนุกสนาน จนได้เวลากินข้าวเย็น บางคนก้กินกับตายาย บางคนก็กลับไปกินบ้าน บางคนยังทายไม่เสร็จแต่อาหารเย็นบ้านเขาเสร็จ พ่อแม่ของเขาจะมาเรียกแล้วพากลับไปกินข้าว
             วันไหนคุณย่าคุณปู่ หรือคุณตาคุณยาย ผู้เป็นครูพิเศษมีอาหารมาก ท่านก็จะบอกพ่อแม่เด็กที่มาเรียกว่า "บ่ต้องเอิ้นมันดอก มื้อนี้กูสิเลี้ยงมันเอง" วัฒนธรรมเก่าของเรามันน่ารักอย่างนี้ แต่พอวิทยุ โทรทัศน์นำนวนิยายมาทำเป็นละครฮิต จนลูกหลานลุ่มหลงตั้งตารอดูและลุกลามไปจนถึงผู้เฒ่าผู้แก่ก็ยังตั้งตาคอยด้วย วัฒนธรรมเหล่านี้ก็นับวันจะหดหายและไม่อาจหวนกลับมาอีก

จึงได้แต่เสียดายในการสูญหายของ ความทวย หนทางที่จะบันทึกไว้ให้ลูกหลานได้รู้ ได้ทราบเป็นตำนานสืบไปก็โดยการถ่ายทอดบนเว็บไซต์นี้

 kwam tuay

โอ๋ยน้อท่านเอ้ย

ข้าน้อยสิเด็ดดอกไม้สามดอกไว้ถวาย
ดอกหนึ่งเทียมกั่วกายสูงกั่วชายสองช่วง
บัดยามค่วงลงน้ำบ่สูงเพียงตุ้มหม่อง
ให้เจ้าทายไวว่องลองเบิ่งว่าดอกหยัง

ดอกสองต่ำสูงบ่ฮู้หมื่นพันแสนร้อย
ดอกสองนี่ดอกหน่อยมีหลายคนซุบ้าน
บัดยามบานเกินโพดตัดดอกหน่อยต้นบ่ตัด
ให้ลองวัดปัญญาทายท้าว่าดอกหยัง

ดอกสามยามเฮาเอิ้นดอกหน่วยว่าต่างกัน
บัดเอาผ้ามาปั้นบัดได้อยู่ในเฮือนนอน
อย่าสิว่าโพดถ่อนต้นเกิดฮอดนรก
สามดอกยกมาแล้วลองทายเบิ่งว่าดอกหยัง

เฉลย

ดอกแรกเพิ่นทวยไว้ว่าดอกได๋คิดไปแหน่
เห็นพ่อแก่เพิ่นตากไว้บัดยามหิ้วปลาค่อข่อง
แผ่ห้อยไว้เทิงจั่วเล้าหลังจากเซาขึ้นจากหนอง
ดอกนี่ว่าบ่ขัดข้อง ทวยเพิ่นว่าดอกแหนั่น แนวเอาไว้หากิน

ดอกสองเห็นอยู่หลายล้น หลายคนทวยบ่ผิด
คนบ่คิด เหมิดทางใจ จั่งค่อยได้ถามกู้
ร้อยละสิบซาวห้า สามสิบกะยอมอยู่
ตัดดอกกู้ ตรอมป่วยไข้ จ๊ะแม่นหลายน้อดอกเบี้ย

ดอกสามเฉลยออกดอกบักงิ้วหน่วยบักหนุ่น
มากหลายคุณประโยชน์เหลือจนล้นล้ำ
ผิดเมียลูก ตายตกนรก ชดใช้กรรม
ปีนงิ้วซ้ำ หนามแทงหน่อเนื้อ เจ็บปวดทรมาน ซั่นแหล้ววววววววววววว

ดอกแห
ดอกเบี้ย
ดอกงิ้ว

 


รู้จักความทวย | ลักษณะของความทวย | ประเภทของความทวย | ความทวยเรียงตามอักษร

redline

backled1