dance header

bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

fon for fun header

3diamondเรือมซาปดาน 

ชุดฟ้อนซาปดาน นี้เป็นชุดฟ้อนที่พัฒนาท่าฟ้อนขึ้นมาใหม่ โดยอาจารย์เครือจิตร ศรีบุญนาค ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูสุรินทร์ เพื่อประกอบเพลง "ซาปดาน" ซึ่งมีความหมายว่า เลิก หรือ หยุด ในเนื้อเพลงกล่าวถึงผู้ชายที่มีหญิงคนรักแล้วเปรียบเหมือนกับได้ดอกไม้ ถึงจะได้รับดอกไม้ใหม่ก็จะไม่ทิ้งดอกเก่า แต่จะทิ้งดอกไม้ดอกใหม่เสีย และกล่าวถึงผู้หญิงที่เศร้าโศกพร่ำร้องไห้เมื่อผู้ชายคนรักต้องจากไปไกล

  "ปกาเอย เปรียฮปา
ปองมันจอลปกาเลย
บองดะ ตุ กร็มเคนิย
บองซดายปกานะ
บองมันจอลปกาจัฮ
ปกาจัฮบอกปีเดิม
บองรัปตันเฟิร
เนียงดะ มุ ออนยุม
กัตบานหงับนา
ตัวฮซเว็จฉลวย
บองมันจอลปกาเลย
บอกซูจอลปกาทเม็ย
บอกซดาปกานะ
ซแร็คซเคิงจัมเปิร
เมียงดะ มุ ออนยุม
เนียงกัตตามบองปีกรอย"

เครื่องแต่งกาย ใช้ผู้แสดงหญิงล้วน ใช้ผ้าขาวม้าห่มเป็นแถบรัดหน้าอก ปล่อยชายด้านซ้าย นุ่งผ้าซิ่นพื้นเมืองของอีสานใต้ เกล้าผมมวยติดดอกไม้

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้ วงกันตรึม ทำนองเพลงซาปดาน

 

 ซาปดาน กันตรึมเงินล้าน น้ำผึ้ง เมืองสุรินทร์

3diamondเรือมซันตรูจ

เจรียงซันตรูจ แปลว่า เพลงตกเบ็ด เป็นการร้องเล่นในเทศกาลต่างๆ เช่น งานบวช ซึ่งส่วนมากจะจัดในลานวัด โดยพวกหนุ่มๆ จะรวมกลุ่มกันใช้ผลหมากรากไม้ผูกเชือก มีคันเบ็ดผูกไปล่อสาวๆ ที่ไปเที่ยวตามงานวัด เหยื่อที่ปลายคันเบ็ดนั้นใช้ขนม ข้าวต้ม ผลไม้ ผูกเป็นพวง วิธีการตกเบ็ดนั้น ที่ไหนมีกลุ่มหญิงสาวนั่งรวมกันอยู่ กลุ่มหนุ่มๆ ก็จะพากันร้องรำทำเพลง แล้วก็หย่อนเบ็ดให้เหยื่อไปลอยอยู่ตรงหน้าของคนโน้นบ้างคนนี้บ้าง ผู้ที่ถือคันเบ็ดเป็นผู้ร้องเพลงเอง ชอบสาวคนไหนก็นำเหยื่อไปลอยอยู่ตรงหน้าคนนั้น หากสาวรีบรับเหยื่อไปก็แสดงว่ารับรัก หลังจากเสร็จงานแล้ว ฝ่ายหนุ่มก็จะส่งผู้ใหญ่ไปสู่ขอต่อไป ซึ่งเป็นประเพณีเชื่อมความสามัคคีของกลุ่มหนุ่มสาวระหว่างหมู่บ้านหนึ่งกับอีกหมู่บ้านหนึ่งอีกด้วย

การแสดงเรือมซันตรูจ ในปัจจุบันได้ดัดแปลงโดยให้มีผู้ร้องเพลงเจรียงซันตรูจประกอบทำนองซันตรูจ แบ่งผู้แสดงชายและหญิงอย่างละเท่าๆ กัน ฝ่ายชายและหญิงจะรำออกมาพร้อมๆ กัน ตั้งเป็นวงกลม ฝ่ายชายจะแยกไปรวมอยู่นอกวง ซึ่งผลัดกันเข้ามาเกี้ยวหรือจีบสาว โดยใช้เทคนิคและวิธีการต่างๆ กัน ถ้าชายคนหนุ่มคนใดมีของดีแสดงออกมาจนเป็นที่ถูกใจของฝ่ายหญิง ก็จะออกไปรำเกี้ยวกัน

เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิง จะห่มผ้าแถบนุ่งผ้าถุงพื้นเมืองอีสานใต้ ส่วนฝ่ายชายใส่เสื้อคอกลมนุ่งโจงกระเบน มีผ้าขาวม้าพาดบ่าปล่อยชายสองข้างไว้ด้านหลัง

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้ วงกันตรึม หรือจะใช้วงโปงลางบรรเลงเพลงทำนองซันตรูจ

อุปกรณ์การแสดง ดอกไม้ หรือคันเบ็ด

 

 เรือมซันตู๊จ วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด

3diamondเรือมตลอก (ระบำกะลา)

เรือมตลอก หรือ รำกะลา นี้เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวอีสานใต้ โดยชาวบ้านนิยมปลูกมะพร้าวไว้บริเวณบ้าน ให้ความร่มรื่น ความเชื่อแต่โบราณนั้นเชื่อว่า เมื่อลูกหลานแต่งงาน พ่อแม่จะมอบที่ดินให้ทำกินและเป็นที่ปลูกบ้าน ซึ่งจะต้องปลูกมะพร้าวก่อนเพื่อแสดงถึงความมั่นคง เพราะการปลูกมะพร้าวในภาคอีสานจะต้องได้รับความเอาใจใส่เป็นพิเศษ จึงจะเจริญงอกงามเพราะดินแห้งแล้ง ใครปลูกมะพร้าวได้งอกงามก็จะทำให้ชีวิตครอบครัวมั่นคง

ในฤดูหลังจากการเก็บเกี่ยว จะเป็นระยะที่ชาวบ้านส่วนใหญ่จะว่างงาน หนุ่มสาวจะเอากะลามาขัดที่ลานบ้าน เพื่อนำไปประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้ เช่น ทัพพี กระบวยตักน้ำ และนำกะลามาใช้ประกอบการร่ายรำอย่างสนุกสนาน ในลักษณะหญิงชายจับคู่กัน การร่ายรำจะมีการเคาะกะลามะพร้าวเป็นจังหวะ หากหญิงชายคู่ใดเคาะกะลาแตก คู่นั้นอาจจะได้แต่งงานกัน ระบำกะลานี้ อาจารย์พจนีย์ กงตาล อาจารย์ประจำภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูสุรินทร์ จึงได้ฝึกหัดและต่อท่ารำมาจากชาวเขมรอพยพ

ลำดับขั้นการแสดง

ฝ่ายหญิงจะเป็นผู้แสดงก่อน โดยออกมานั่งขัดกะลามะพร้าว แล้วเคาะกะลาให้จังหวะเชิญชวนให้ผู้ชายออกมา เมื่อผู้ชายได้ยินเสียงก็จะออกมาเกี้ยวเป็นเชิงขอเล่นด้วย ซึ่งชายหญิงแต่ละคู่จะออกมาแสดงลีลาการเกี้ยวพาราสีกัน โดยใช้กะลาเป็นอุปกรณ์ ท่ารำมีการแปรแถวและเคาะกะลาไปเรื่อยๆ การเคลื่อนไหวจะขึ้นกับจังหวะของดนตรีซึ่งช้าบ้างเร็วบ้าง ท่าทางในการแสดงออกของผู้แสดงนั้นจะเป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งพอจะนับได้ว่า รำกะลาของอีสานใต้เป็นต้นแบบรำกะลาหรือเซิ้งกะโป๋ของอีสานเหนือ

เครื่องแต่งกาย ฝ่ายชาย นิยมนุ่งกางเกงสีพื้น เสื้อคอกลมผ่าหน้าขลิบที่คอ แขน และด้านหน้าอก มีผ้าขาวม้าคาดเอวและโพกศีรษะ ฝ่ายหญิงนิยมนุ่งโจงกระเบนสีพื้นสด เสื้อคอกลมแขนสั้นมีขลิบ เช่นเดียวกับชาย คาดเข็มขัดทับ ผมปล่อยหรือเกล้ามวยทัดดอกไม้

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้วงกันตรึม ทำนองจองได และเพลงเรือมตลอก

อุปกรณ์การแสดง กะลามะพร้าวคนละคู่

 

 เรือม ตล็อก (ระบำกะลา)

3diamondเรือมจับกรับ

เรือมจับกรับ เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวบ้านสวายจุ๊ ตำบลป่าชัน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเดิมใช้ชื่อเรียกว่า "อาไยลำแบ" หรือ "รำจับกรับ" การใช้กรับหรือไม้สองอันกระทบกันนี้ เห็นได้โดยทั่วไปในเอเชีย เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย และชาวอาหรับ การรำกรับของชาวสุรินทร์นั้นจะมีการเล่นในงานนักขัตฤกษ์ งานมงคลทุกประเภท มักจะมีอาสาสมัครโดยมีกรับทั้งสองมือออกร่ายรำขับร้องประกอบกับเสียงกรับกระทบกัน ซึ่งเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า จั๊กตะล็อก ทางภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ จึงได้นำรูปแบบของการแสดงมาจัดกระบวนให้มีรูปแบบยิ่งขึ้น แต่ท่ารำและลีลาการแสดงต่างๆ ไว้คงเดิม แสดงถึงลีลาการขยับกรับ และหยอกล้อระหว่างคู่เล่น โดยมีจังหวะช้าและเร็วขึ้นตามลำดับ

เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิง นุ่งโจงกระเบนผ้ามัดหมี่ สวมเสื้อแขนกระบอกมีสไบห้อยมาผูกด้านซ้ายที่เอว ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ ฝ่ายชายนุ่งโจงกระเบน เสื้อคอกลมแขนสั้นมีผ้าขาวม้าคาดเอว และมีผ้าคล้องไหล่พับทบด้านหน้าทิ้งชาย 2 ชายด้านหลัง

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้ วงกันตรึม ประกอบด้วยเพลง ถวายครู อาไยกลาย กันต๊บ ปะการันเจก โอละนอย

อุปกรณ์การแสดง กรับสั้น สำหรับฝ่ายหญิงแต่ละคน กรับยาว 1 คู่และอีก 1 อันสำหรับฝ่ายชายแต่ละคน

เรือมจับกรับ

 

ฟ้อนเซิ้งแคน - ฟ้อนชุดเล่นสาวเป่าแคน | ฟ้อนโปงลาง - ฟ้อนไทยภูเขา - ฟ้อนชุดสาวอีสานเล่นน้ำ - ฟ้อนคูณลาน blueline
ฟ้อนอุบล - ฟ้อนกลองตุ้ม - เซิ้งกะโป๋ - เซิ้งทำนา | เซิ้งกุบ - เซิ้งสาวน้อยเลียบดอนสวรรค์ - เซิ้งสวิง - เซิ้งกระติบข้าว
blueline เซิ้งกระหยัง - เซิ้งครกมอง - เซิ้งข้าวจี่ - รำหมากข่าแต้ | รำลาวกระทบไม้ - รำโก๋ยมือ - รำกลองยาวอีสาน - ลำลายกลองกิ่งกุสุมาลย์blueline รำส่วงเฮือ - รำจก - รำชุดบุรีรัมย์ตำน้ำกิน - ระบำโคราชประยุกต์ | ระบำว่าว - ระบำกลอง - ระบำสุ่ม - เรือมอันเร (รำสาก)blueline เรือมซาปดาน - เรือมซันตรูจ - เรือมตลอก (ระบำกะลา) - เรือมจับกรับ

blueline

next green คลิกไปอ่าน  ดนตรีประกอบการฟ้อนภาคอีสาน

 

redline

backled1