soi2


[ วรรณกรรมคำสอย | ความเป็นมาของความสอย | ข้อดีของความสอย | ความสอยเรียงตามอักษร ]

alert2ข้อดีของความสอย

ความสอยนี้ นอกจากจะให้ความสนุกสนานครื้นเครงล้อเลียนและเตือนสติของคนดังกล่าวมาแล้ว ยังเป็นการแสดงที่ใครเอาผิดไม่ได้ ทั้งนี้เพราะ

  1. ความสอยเป็นกลาง กล่าวคือ ความสอยระบุเฉพาะพฤติกรรมคนชั่ว แต่ไม่ระบุชื่อผู้กระทำ แม้ว่าผู้กระทำไม่ดีนั้นจะรู้อยู่ว่าเขาว่าตน ก็เอาผิดคนว่าไม่ได้ ถ้ายิ่งไปเอาผิดเขา เรื่องก็จะกลายเป็นว่า ตัวเองกินปูนแล้วร้อนท้อง จะไปฟ้องร้องทางกฎหมายก็ไม่ได้ ยิ่งเข้าไปฟ้องร้องเขาก็เท่ากับเป็นการยอมรับว่าตนเองนั่นแหละคือผู้ทำเช่นนั้น และถ้าฟ้องไปก็หาหลักฐานไม่เพียงพอ สังคมที่เขารังเกียจพฤติกรรมเช่นนั้นอยู่แล้ว ก็ไม่มีใครจะไปเป็นพยานให้ ซึ่งก็จะมีแต่เสียกับเสีย
  2. ภาษาสอย ภาษาอีสานที่ใช้ในการสอยนั้น จะแก้ปัญหาในทางกฎหมายได้มากทีเดียว เช่นคำว่า "เผิ่น" โดยปกติจะหมายความว่า "คนอื่น" และคำว่า "โต" โดยปกติจะหมายถึง "ตัวเรา" แต่ในบางสถานการณ์จะมีความหมายกลับกัน จะขอยกตัวอย่างเพื่อพิจารณาดังนี้
    • เผิ่น-โต ที่มีความหมายปกติ เช่น "ของเผิ่น (ของคนอื่น) อย่าไปเอา มันบ่แม่นของโต (มันไม่ใช่ของตัวเองคือของเรา)"
    • เผิ่น-โต ที่มีความหมายตรงข้าม ใช้ในกรณีที่มีการขัดแย้งกัน เช่น มีคนหนึ่งไปหยิบเอาดินสอไปแล้วเจ้าของดินสอไปตามเอาคืน เกิดแย่งกันขึ้น เจ้าของดินสอจะว่า "หึย! ของเผิ่น (ของเจ้าของดินสอ) บ่แม่นของโต (ไม่ใช่ของผู้หยิบเอาของเขามา) จักหน่อย เอาของเผิ่นมาได้ หน้าบ่อาย"

ขอยกกรณีการสอยบ้างเป็นตัวอย่าง เช่น

สอย สอย พี่น้องฟังสอย 
ครูบ้านเผิ่น บ่คือครูบ้านโต
ครูบ้านเผิ่น สอนแต่หนังสือ
บาดห่าครูบ้านโต ล่อสี้แต่ลูกศิษย์
จั่งซี้กะว่าสอย

ลองคิดดูซิว่า มันจะหมายถึงครูบ้านคนสอยหรือหมายถึงครูบ้านคนฟัง มันระบุไม่ได้ แต่ครูผู้มีพฤติกรรมเช่นนั้นหนาวแน่ ถ้ายิ่งไปฟ้องเขา นอกจะเปิดตัวเองว่าเป็นอ้ายโม่งตัวนั้นแล้ว ยังจะแพ้ความเพราะภาษาด้วยเรียกได้ว่าเสียสองต่อ ด้วยความสอยที่ใช้กระเทาะเปลือกคนชั่วและสังคมเลว โดยที่คนชั่วเอาผิดอะไรไม่ได้นี้ ก็แสดงให้เห็นว่า ใครเล่าจะฉลาดไปกว่า "บรรพบุรุษอีสาน"

alert2สร้อยความสอย

ความสอยธรรมดาจะไม่มีสร้อย แต่ที่ใส่สร้อยเข้าไปนั้น ก็เพื่อเป็นการเน้นความสนใจ ความสะใจ แก้เก้อ เยาะเย้ย และประชด ความสอยก็จะออกรสจูงใจและสะใจผู้ฟัง ผู้ทำชั่วที่ถุกด่าด้วยความสอย เขาก็จะหยุดทำชั่ว สร้อยความสอยดังกล่าวนั้น มีดังนี้

  1. ไม่มีสร้อย ความสอยนี้จะเป็นแบบธรรมดา ซึ่งจะมีสร้อยหรือไม่ก็ได้ เช่น
          สอย สอย พี่น้องฟังสอย
    ดัง ตึ้ง ตึ้ง พ่อเฒ่าอึ่งนั่งปิ๊ด
    นั่งลงผิด กะพาหงายลงตึ้ง

    (สอยสดในกรณีที่พ่อเฒ่าอึ่งเอาปิ๊บมาคว่ำลงแล้วนั่งปิ๊บคว่ำจนตัวเองหงายหลังลง)
  2. เน้นความสนใจ ความสอยนี้จะเป็นการสอยเรียกเสียงหัวเราะ ซึ่งมีข้อความค่อนข้างตลกมันๆ เช่น
          สอย สอย พี่น้องฟังสอย
    ลิงกินกล้วย มันนั่นกินเบิ๊ดหวี
    บาดห่าหีกินโคย ดูดกินแต่น้ำ
    จั่งซี้กะว่าสอย
    (สร้อยมัน)
  3. เน้นความสะใจ เช่น
          สอย สอย พี่น้องฟังสอย
    ลูกสาวเดียวอยากได้ทองห้าฮ้อย
    พ่อลูกอ่อนสี้จ้อยบ่ได้พอสลึง
    จั่งซี่กะว่าสอย
    (สร้อยมัน)
  4. เน้นแก้เก้อเมื่อกระทบแรงๆ เช่น
          สอย สอย พี่น้องฟังสอย
    บัตรยากจน คนทุกข์บ่ได้ใช้
    บาดห่าคนได้ใช้ มีแต่ญาติกำนัน
    ฮ่วยจั่งซี้กะว่าสอย
    (สร้อยมัน)
  5. เน้นเยาะเย้ย เช่น
          สอย สอย พี่น้องฟังสอย
    ฟาดแส้ ลงใส่หลัง เขาว่าตี
    ฟาดโคย ใส่หี เขาว่าสี้กัน
    ฟาดเบิ๊ดสู่อันเขาว่า "ผู้แทนซื้อเสียง"
    เฮอะ เฮ่ย จั่งซี้กะว่าสอย
    (สร้อยมัน)
  6. เน้นในเชิงประชด เช่น
          สอย สอย พี่น้องฟังสอย
    อั๊วคงคิด ดีกลูกคิกรางทอง
    พวกพี่น้อง จำสูกง่ายๆ
    ไผขี้ร้ายอั๊วกิงหมกเลย
    ซาให้โหงวโละยี่ สี่ให้โหงวโละเอี่ยว
    โหงวตื้อโหงวกิงอีก โป๊ยตื้อซากิงอีก
    ซิกตื้อซาฮวงเกี่ยวกิงอีก
    มีอีกอั๊วกิงอีก มีอีกอั๊วกิงอีก
    มีอีกอั๊วก็กิงอีก
    ฮ่วย! กระหยอนลาวจนดอกเว้ย
    (สร้อยมัน)

alert2ผู้ที่จะสอย

การสอยนั้นนิยมใช้กันทั้งผู้หญิงผู้ชาย ไม่มีจำกัดว่าเพศใดเพศหนึ่ง ยกเว้นนักบวช นอกนั้นสอยได้หมด แต่คุณสมบัติของผู้สอยนั้นจะต้องเป็นผู้มีมุขตลกอยู่ในบุคลิกเพราะสอยต้องการความสนุกสนาน ไม่ใช่เป็นวิชาการ ถ้าสอยแล้วไม่สนุก มันก็จืดชืด ถ้ามันจืดชืดแล้วจะใช้สร้อยแก้เก้อว่า "จั่งซี้กะว่าสอย" อยู่เรื่อยๆ คงไม่ไหว

alert2ทำนองสอยสอย

เนื่องจากการสอยเป็นมุขตลก สอยออกมาแล้วต้องเรียกเสียงฮาให้ได้ ดังได้กล่าวมาแล้ว ทำนองสอยก็จะต้องเป็นทำนองตลกซึ่งคนอีสานเรียกทำนองนี้ว่า "แถนหนิ่งหน่อย" (แถนจั๊กกะจี้หรือพระอินทร์ทำให้หัวเราะนั่นเอง) ทำนองนี้จะมีสั้นบ้างยาวบ้าง สลับกันไป

alert2การออกเสียง

การออกเสียงภาษาของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น จะแตกต่างกับภาษากลางในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะที่มีวรรณยุกต์ ภาษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีวรรณยุกต์ ออกเสียงเอาเหมือนภาษาอังกฤษ ถึงจะใส่วรรณยุกต์ก็จะออกเสียงตามภาษาอีสานอยู่นั่นเอง


[ วรรณกรรมคำสอย | ความเป็นมาของความสอย | ข้อดีของความสอย | ความสอยเรียงตามอักษร ]

redline

backled1