foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

pra farang

มีชาวต่างประเทศจำนวนมากที่มีความเลื่อมใสในพระธรรมคำสอน แล้วมาบวชอยู่ศึกษาปฏิบัติธรรมเป็นศิษยานุศิษย์ ของ หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บ้างก็ปวารณาตัวบวชตลอดชีวิต จึงมีคำถามว่า "ศาสนาพุทธ มีดีอะไรจึงทำให้ฝรั่งต่างชาติละทิ้งอาชีพและอนาคตอันศิวิไลซ์มาบวชมากมายเช่นนี้"

ดอกบัวบานทางทิศตะวันตก (4)

pra farang 06

ดอกบัวบานแผ่กิ่งก้านสาขาไปทุกมุมโลก

อกจาก "พระพุทธศาสนา" จะเบ่งบานในทิศตะวันตกแล้ว ก็ยังเป็นที่ยินดีที่ “เมล็ดพันธุ์แห่งพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ได้ถูกปลูกฝังลงในดินแดนของยูกันดา ทวีปอัฟริกา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตอนนี้เป็นเวลาแห่งการดูแลให้เติบใหญ่ หวังว่าเมล็ดพันธุ์ที่มีประโยชน์นี้จะได้รับการดูแลเป็นอย่างดี และเติบโตอย่างแข็งแรง แผ่ขยายไพศาลเป็นผลไม้แห่งประโยชน์ของสัตว์โลกทั้งปวง” โดยมี พระพุทธรักขิตะ หรือ สตีเว่น คาบอคโกซา (Steven Kaboggoza) ชาวอูกานดา ได้ก่อตั้งศูนย์พระพุทธศาสนาในประเทศยูกันดา ในนาม Uganda Buddhist Centre หรือ UBC ซึ่งถือเป็นจุดเกิดพระพุทธศาสนาในดินแดนกาฬทวีปแผ่นดินอัฟริกา

african budhist

เมื่อแรกเริ่ม สตีเว่น คาบอคโกซา รู้จัก "พุทธศาสนา" เพียงผิวเผินตามหนังสือเรียน แต่พอรู้จักพระสงฆ์ไทยจากการเป็นเพื่อนร่วมชั้นระหว่างเรียนการบริหารที่อินเดีย ก็ทำให้ท่านสนใจในเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น ซึ่งหลังเรียนจบก็ได้ออกเดินทางไปยังพื้นที่กำเนิดพระพุทธศาสนา ทั้งที่ ทิเบต และเนปาล ก่อนที่จะจบลงที่ประเทศไทย ซึ่งการมาที่ไทยนอกจากมาศึกษาพระพุทธศาสนาแล้ว ก็มาประกอบอาชีพหาเงินด้วยการเป็นครูดำน้ำที่เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานีด้วย ก่อนที่จะกลับไปบ้านเกิดอีกครั้งหลังจากห่างบ้านไปท่องโลกนาน 7 ปี พอไปถึงที่บ้านญาติๆ ของท่านก็ไม่ค่อยชอบใจที่ท่านนำหนังสือธรรมะและชุดดำน้ำกลับไปด้วย เพราะคาดคิดว่า จะได้พบท่านในฐานะนักธุรกิจ นักบริหารที่ร่ำรวย โดยถึงขั้นจะเผาหนังสือและชุดดำน้ำทิ้ง และให้หันกลับไปนับถือศาสนาคริสต์ตามครอบครัว ท่านจึงตัดสินใจออกเดินทางอีกครั้ง

ท่านได้เดินเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกา เพื่อไปศึกษาธรรมะโดยเฉพาะ จนกระทั่งปี 2002 ท่านจึงตัดสินใจบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ หลังได้พบกับ ท่านปัณณาธิภา (Pannadipa) ณ ศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนาตถาคต (Tathagata) ทีเอ็มซีTMC – Tathagata Meditation Centre ในเมืองซาน โฮเซ่ (San Jose) รัฐแคลิฟอร์เนีย (California) โดยมีพระอาจารย์ คือ ท่านซายาดอว์ ยู สิละนันทะ (Sayadaw U. Silananda)

พระพุทธรักขิตะ หลังจากท่านได้ศึกษาพระพุทธศาสนา และบวชเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านจึงตัดสินใจกลับบ้านเกิดที่อูกานดา เพื่อทำตามปณิธานที่ตั้งไว้ว่า “จะต้องกลับไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ยูกันดาให้จงได้” ซึ่งฟังดูอาจจะดูเหมือนง่าย แต่หากพอทำจริงมันยากมาก เพราะชาวบ้านยังไม่เชื่อใจ บ้างก็ว่าท่านถูกมนต์ดำ (ต้องเข้าใจว่า ในอัฟริกานั้นผู้คนยังเชื่อในเรื่องสิ่งลึกลับ ภูติผี เจ้าป่า เจ้าเขา ผู้วิเศษที่ลี้ลับอยู่) บ้างก็ว่าท่านวิกลจริต (บ้าไปแล้ว) เดินเข้ามาแกล้งสารพัด จนเป็นที่ตลกขบขัน แต่ด้วยวัตรปฏิบัติของท่านที่เรียบง่าย และงดงาม ไม่เคยถือโทษโกรธผู้ใด แต่ไขข้อสงสัยให้แก่ผู้ที่เข้ามาตั้งคำถามอย่างใจเย็น จนเป็นที่น่าประทับใจ ทำให้ผู้คนเปิดใจให้กับท่านมากขึ้น จนสามารถก่อตั้งศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ดังกล่าว ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

rakita african monk

ดาราและคนดังต่างชาติที่สนใจในพุทธศาสนา

ยังมีชาวต่างชาติอีกจำนวนมากที่มีความสนใจ และเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เช่น เหล่าบรรดาเซเลปที่มีชื่อเสียง ศิลปิน ดาราดังในฮอลลีวู๊ด นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ นักปรัชญา และนักคิดนักเขียน แม้จะไม่ได้มาบวชเป็นพระสงฆ์ แต่ก็ยังคงใช้ชีวิตตามหลักพุทธศาสนาอยู่ไม่น้อย ได้กล่าวถึงพุทธศาสนาในแง่มุมต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น

hollywood

อาร์เธอร์ โชเพนเฮาว์ นักปรัชญาชาวเยอรมัน (ค.ศ.1788-1860) กล่าวว่า “ถ้าข้าพเจ้าจะถือเอาผลแห่งปรัชญาของข้าพเจ้าว่า เป็นมาตรฐานแห่งความจริง ข้าพเจ้าก็ควรมีข้อผูกพันที่ต้องยอมรับพระพุทธศาสนาว่า "เด่นเป็นพิเศษเหนือศาสนาที่เหลือ" อย่างไรก็ตาม ก็จะต้องเป็นที่น่ายินดีสำหรับข้าพเจ้าที่ได้พบว่า  คำสอนของข้าพเจ้าเข้ากันได้อย่างใกล้ชิดกับศาสนาซึ่งมนุษย์ส่วนมากนับถือ การเข้ากันได้นี้ต้องเป็นที่น่าพอใจมาก เพราะในการคิดปรัชญานั้น ข้าพเจ้ามิได้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของศาสนานั้น (พระพุทธศาสนา) อย่างแน่นอน”

ศาสตราจารย์ทางนิรุกติศาสตร์ ชาวเยอรมัน แมกซมึลเลอร์ (ค.ศ.1823-1900)  ผู้นำในการศึกษาความรู้เกี่ยวกับตะวันออก กล่าวว่า “ประมวลศีลธรรมของพระพุทธเจ้า สมบูรณ์มากที่สุดที่โลกเคยรู้จักมา”

เอช. จี. เวลส์ นักประพันธ์ นักหนังสือพิมพ์ และนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ (ค.ศ.1866-1946) ผู้ริเริ่มการเขียนนวนิยายทางวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า “พระพุทธศาสนาได้กระทำไว้มาก ยิ่งกว่าอิทธิพลอื่นใดที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เพื่อความก้าวหน้าแห่งอารยธรรมของโลก และวัฒนธรรมที่แท้จริง”

เบอร์ทรันด์ รัสเซล นักปรัชญา นักเขียน นักคณิตศาสตร์ และนักต่อสู้คัดค้านอาวุธนิวเคลียร์ ชาวอังกฤษ (ค.ศ.1872-1970) ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1950 กล่าวว่า “พระพุทธศาสนาเป็นการรวมกันของปรัชญาแบบพินิจความจริง กับวิทยาศาสตร์ ศาสนานั้นสนับสนุน วิธีการทางวิทยาศาสตร์ และติดตามวิธีการนั้นจนถึงที่สุด ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นศาสนาแห่งเหตุผล ในพระพุทธศาสนาเราจะได้พบคำตอบที่น่าสนใจ เช่น จิตใจกับวัตถุคืออะไร? ระหว่างจิตใจกับวัตถุนั้นอย่างไหนสำคัญมากกว่ากัน? เอกภพเคลื่อนไปหาจุดหมาย ปลายทางหรือไม่? พระพุทธศาสนาพูด ถึงเรื่องที่วิทยาศาสตร์ยังหานำทางไปได้ไม่ เพราะความจำกัดแห่งเครื่องมือ ของวิทยาศาสตร์ ชัยชนะของพระพุทธ ศาสนาเป็นชัยชนะทางจิตใจ”

ศาสตราจารย์คาร์ล กุสตาฟ จุง (ค.ศ.1875-1961) นักจิตวิทยา ชาวสวิสเซอร์แลนด์ กล่าวว่า “ในฐานะเป็นนักศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สมบูรณ์มากที่สุดที่โลกเคยพบเห็นมา ปรัชญาของพระพุทธเจ้า ทฤษฎีวิวัฒนาการและกฎแห่งกรรม (ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว) ยิ่งใหญ่เหนือลัทธิอื่นอย่างห่างไกล”

อัลแบร์ต ชไวเซอร์ (ค.ศ.1875-1965) แพทย์นักสอนศาสนาชาวฝรั่งเศส นักเทววิทยา และนักดนตรี ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในปี 1952 (พ.ศ. 2495) บอกว่า “พระองค์ (พระพุทธเจ้า) ได้ทรงแสดงออกซึ่งสัจธรรมอันมีคุณค่าเป็นนิรันดร และได้ทำให้จริยธรรมมิใช่ของอินเดียเท่านั้น แต่ของมนุษยชาติก้าวหน้าไป พระพุทธเจ้าเป็นผู้หนึ่งในบรรดาอัจฉริยมนุษย์ทางศีลธรรมที่โลกเคยได้มา”

albert eistineอัลเบิร์ต ไอนสไตน์ (ค.ศ.1879-1955) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ กล่าวว่า “ศาสนาในอนาคตจะต้องเป็นศาสนาสากล ศาสนานั้นควรอยู่เหนือพระเจ้าที่มีตัวตน และควรจะเว้นคำสอนแบบสิทธันต์ (คือเป็นแบบสำเร็จรูปที่ให้เชื่อตามเพียงอย่างเดียว) และแบบเทววิทยา (คืออ้างเทวดา เป็นหลักใหญ่) ศาสนานั้นเมื่อครอบคลุมทั้งธรรมชาติและจิตใจ จึงควรมีรากฐานอยู่บนความสำนึกทางศาสนาที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ต่อสิ่งทั้งปวง คือ ทั้งธรรมชาติและจิตใจ อย่างเป็นหน่วยรวมที่มีความหมาย "พระพุทธศาสนา" ตอบข้อกำหนดนี้ได้ ถ้าจะมีศาสนาใดที่รับมือได้กับความต้องการทางวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบัน ศาสนานั้นก็ควรเป็นพระพุทธศาสนา”

อัลดัส ฮักซลี่ย์ (ค.ศ.1894-1963) นักเขียนนวนิยายชาวอังกฤษ กล่าวว่า “ในบรรดาศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของโลกทั้งหมด "พระพุทธศาสนา" เป็นเพียงศาสนาเดียว ที่ดำเนินไปโดยปราศจากการเบียดเบียนทางศาสนา การตรวจควบคุม และการซักถามสอบสวน (ซึ่งมีลูกขุนหรือเจ้าหน้าที่ดำเนินการ เพื่อจะเอาผิด หรือควบคุมผู้ไม่นับถือ) ในแง่เหล่านี้ทั้งหมด ประวัติของพระพุทธศาสนายิ่งใหญ่มาก เหนือศาสนาอื่นซึ่งดำเนินไปในระหว่างประชาชน ผู้ติดอยู่กับระบบทหาร”

เจ.โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ นักฟิสิกส์ ชาวอเมริกัน (ค.ศ. 1904-1976) ผู้นำในการพัฒนาระเบิดปรมาณู กล่าวว่า “ขอยกตัวอย่าง เช่นเราถามว่า ฐานะของอิเล็กตรอนเป็นอันเดียวกันใช่หรือไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่ ถ้าเราถามว่า ฐานะของอิเล็กตรอนเปลี่ยนไปพร้อมกับกาลเวลาใช่หรือไม่? เราจะต้องตอบ ว่าไม่ ถ้าถามว่า อิเล็กตรอนหยุดพักใช่หรือไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่ ถ้าเราถามว่ามันเคลื่อนไหวใช่หรือไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่ พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานคำตอบเช่นเดียวกัน เมื่อทรงได้รับคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์ของตัวตนของมนุษย์ภายหลังความตาย แต่คำตอบเหล่านั้นมิใช่คำตอบที่คุ้นกับจารีตประเพณีของวิทยาศาสตร์ สมัยศตวรรษที่ 17และ 18”

สำหรับซุปเปอร์สตาร์ที่คนทั่วโลกชื่นชอบ และคลั่งไคล้กันนั้น การที่เขาสนใจ และบางรายถึงกับเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ พร้อมอุทิศตนทำงานเพื่อช่วยจรรโลงพุทธศาสนานั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่า "หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เป็นที่พึ่งที่ระลึกของพวกเขาได้อย่างแท้จริง"

ริชาร์ด เกียร์ (Richard Gere) ดาราชื่อก้องชาวอเมริกัน ได้ชื่อว่าเป็นดาราหนุ่มที่ประสบความสำเร็จที่สุดคนหนึ่งในปี 1980-1990 ภาพยนต์ที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขามากก็คือ Pretty Woman(1990) และเมื่อปี 2546 ที่ผ่านมา เขาก็คว้ารางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 60 ในฐานะดารานำชายยอดเยี่ยมจากภาพยนต์เรื่อง "ชิคาโก"

richard gear

ริชาร์ด เกียร์ หันมาสนใจศึกษาพุทธศาสนาอย่างจริงจัง จนพบว่า ศาสนาพุทธให้คำตอบกับชีวิตของเขาได้ ด้วยเหตุนี้เองเขาจึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และใช้เวลานอกจอช่วยเหลืองานขององค์ทะไลลามะ ในการเผยแผ่ศาสนา และเมื่อครั้งที่มีการประกาศรางวัลออสการ์ปี 1993 ท่ามกลางสายตาของผู้ชมนับล้านๆ คู่ ริชาร์ด เกียร์ ก็ใช้เวทีนี้เรียกร้องความรักและสัจธรรมให้กับมวลมนุษย์ และในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ถล่มตึกเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ (เหตุการณ์ Nine-one-one) เมื่อวันที่ 11 กันยายน  2545 นั้น ริชาร์ด เกียร์ ให้สัมภาษณ์ว่า เขากำลังศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่ที่รัฐแมสซาชูเซตส์

เกียร์เคยพูดว่า "เราต้องคิดว่า บรรดาผู้ก่อการร้ายนั้นได้ก่อความเลวร้ายให้กับชีวิตภายหน้าของพวกเขาไว้แล้ว เรียกว่า สร้างกรรมชั่ว และเราจะต้องมองให้กว้างไกลว่า เราทุกคนต่างเกี่ยวโยงกับการกระทำครั้งนี้เช่นกัน" เขาย้ำว่า "เราต้องให้ความรักและเมตตากับทุกคน ไม่เว้นแม้พวกที่ก่อการร้าย ถ้าเราทั้งหลายสามารถที่จะมองพวกผู้ก่อการร้าย ด้วยความคิดว่าเขาเหล่านั้นคือ ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา ยาที่จะรักษาพวกเขาได้ก็คือ ความรักและเมตตานั้นเอง ไม่มีอะไรจะดีกว่านั้นอีกแล้ว"

สตีเว่น ซีกัล (Steven Seagal) พระเอกนักบู๊ชื่อดังของฮอลลีวู้ด ชาวอเมริกัน โด่งดังขึ้นมาในฮอลลีวู้ดในฐานะพระเอกหนังแอ๊คชั่น หนังเรื่องล่าสุดของเขา คือ "Exit Wounds" ซีกัลได้ศึกษา และปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด จนกระทั่งมีลามะในทิเบตบางรูปพูดถึงเขาว่า "เขาเป็นอดีตลามะองค์สำคัญที่กลับชาติมาเกิดทีเดียว"

roberto baggioโรเแบร์โต บาจโจ (Roberto Baggio) นักฟุตบอลชื่อดังชาวอิตาลี หันมาสนใจพุทธศาสนา หลังผ่าตัดเข่าข้างขวา และต้องหยุดเล่นนานถึง 2 ปี ช่วงนี้เขาต้องฝึกกายภาพ ด้วยความหวังที่เลือนลางและไม่มีความสุข หงุดหงิด อารมณ์เสียบ่อยครั้ง เมาริซิโอ โบลดรินี เจ้าของร้านขายแผ่นซีดี ซึ่งโรแบร์โตเป็นลูกค้าประจำที่ร้าน จึงได้แนะนำให้เขาสวดมนต์

โรเแบร์โต บาจโจ รู้สึกดีขึ้นมากและหันมาสนใจศึกษาพุทธศาสนา จนนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง กระทั่งอาการบาดเจ็บที่เข่าของเขาค่อยทุเลาลง และสามารถกลับมาเล่นฟุตบอลได้อีกครั้ง บาจโจ บอกไว้เมื่อ พ.ศ. 2539 ว่า "แม้จะปฏิบัติธรรมได้เพียง 8 ปีเท่านั้น แต่บุญกุศลที่ได้รับนั้นมากมายเกินกว่าจะกล่าวได้หมด"

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับ โรเแบร์โต บาจโจ ก็คือได้เปลี่ยนแปลงทัศนคติของตนเอง เพราะก่อนหน้าที่จะหันมาปฏิบัติธรรมนั้น เขาเป็นคนที่จะต้องคิดในรูปแบบที่ตัวเองวางกรอบหรือกำหนดไว้แล้ว หรือไม่ก็ตัดสินสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยใช้ความคิดของตนเองเป็นหลัก และคิดว่าการกระทำเช่นนี้ของตนถูกต้องเสมอ แต่หลังการปฏิบัติธรรมแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างมากมายในชีวิตจิตวิญญาณของตัวเอง ซึ่งต้องใช้สติปัญญาในการตัดสินใจ แม้จะเป็นเรื่องที่ยาก เพราะบางครั้งจิตใจก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางกาย บาจโจ บอกว่าสำหรับชาวอิตาเลียนแล้ว พุทธศาสนานั้นอยู่ห่างไกลและไม่เกี่ยวข้องอะไรกับปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และชาวอิตาเลียนจะมีความเชื่อในความคิดเห็นของตนเองมาก และไม่ต้องการศึกษาเรียนรู้ หรือเข้าใจปรัชญาอื่นๆ ที่แตกต่างไปจากที่พวกเขาเคยรับรู้มา แต่จะตัดสินสิ่งต่างๆ ตามความคิดเห็นของตนเอง สำหรับเขาแล้วการตัดสินใจหันมานับถือพุทธศาสนา ไม่รู้สึกว่าขาดความเชื่อมั่น และไม่แคร์ว่าใครจะพูดว่าอย่างไร เพราะเป้าหมายของตนคือ "ต้องการจะเป็นบุคคลที่มีความสุขที่สุด"

pra farang 08

Russian President Vladimir Putin promised “100-percent support” for Russian Buddhists
on Thursday during a visit to the country’s Buryatia republic, where about 20 percent of the population is Buddhist.

เคยมีฝรั่งบอกผมว่า ที่ รัสเซีย ก็มีชาวพุทธเป็นจำนวนมาก ที่ Buryatia มีชาวพุทธเกือบ 20 %

วัดอมราวดี ประเทศอังกฤษ : วิถีพระวัดป่าในโลกตะวันตก

ไม่เพียงแต่บรรดาคนดังเหล่านี้ ที่หันมาสนใจและประพฤติปฏิบัติตามหลักพุทธธรรมเท่านั้น ยังมีชาวตะวันตกอีกมากมายที่มุ่งหน้าค้นหาสัจธรรมของชีวิต เดินทางเข้าสู่ดินแดนแห่งพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นทิเบต ภูฐาน ศรีลังกา พม่า หรือประเทศไทย เพื่อการศึกษาหลักธรรมคำสอนและปฏิบัติกันอย่างจริงจัง คอร์ส อบรม วิปัสสนา ที่วัดหรือหน่วยงานบางแห่งในบ้านเราจัดขึ้น สำหรับชาวต่างชาตินั้น ได้รับความสนใจมีผู้สมัครเข้าร่วมอย่างล้นหลาม

pra farang 07

 

ดอกบัวบานทางทิศตะวันตก : ตอนที่ 1 | ตอนที่ 2 | ตอนที่ 3 | ตอนที่ 4

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)