foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

kabbua 01ผ้าลายกาบบัว

เอกลักษณ์ของผ้าลายพื้นเมือง ที่ได้รับการกล่าวขานถึง จากครั้งอดีตจนถึงปัจจุบันของชาวอุบลราชธานีคือ ผ้ากาบบัว ชื่อนี้เป็นที่ถกเถียง และสงสัยกันมากถึงที่มาที่ไป ทำไมจึงเป็น กาบบัว ไม่ใช่ กลีบบัว และลายที่แตกต่างนั้นดูตรงส่วนใด? คำถามเหล่านี้ผู้เขียนได้รับการสอบถามอยู่เสมอ จากเพื่อนพ้องต่างถิ่น ผู้มาเยือน และแม้แต่ลูกศิษย์ลูกหาที่สนใจใคร่รู้ จึงเป็นที่มาของเรื่องราวที่จะกล่าวถึง ตำนาน และความภาคภูมิใจของชาวอุบลราชธานี ในวันนี้

kabbua header

โดย : ครูมนตรี โคตรคันทา

kabbua fai 03ผ้ากาบบัว เป็นชื่อผ้าที่ถูกกล่าวถึงในวรรณกรรมโบราณอีสานหลายเรื่อง คำว่า "กาบ" ในภาษาอีสานมีความหมายถึง เปลือกหุ้มชั้นนอกของต้นไม้บางชนิด เช่น เปลือกหุ้มต้นกล้วย เรียก กาบกล้วย หุ้มไม้ไผ่ เรียก กาบลาง กลีบหุ้มดอกบัว เรียก กาบบัว (สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ : ปรีชา พิณทอง)

ผ้ากาบบัว อาจจะทอด้วยไหมหรือฝ้าย โดยมี เส้นยืน (Warh) ย้อมอย่างน้อยสองสีเป็นริ้ว ตามลักษณะ "ซิ่นทิว" ซึ่งมีความนิยมแพร่หลายแถบอุบลฯ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เส้นพุ่ง (Weft) จะเป็นไหมสีมับไม (ไหมปั่นเกลียวหางกระรอก) มัดหมี่และขิด

pakabbua

kabbua fai 01จังหวัดอุบลราชธานี มีชื่อเสียงในด้านการทอผ้าพื้นเมืองมาช้านาน เห็นได้จากวรรรกรรมโบราณอีสาน และประวัติศาสตร์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดอุบลราชธานี ได้ปรากฏให้เห็นเด่นชัดถึงความประณีตสวยงาม แสดงออกถึงภูมิปัญญาของผู้ทอผ้า ที่ได้รังสรรค์บรรจงด้วยจิตวิญญาณ ออกมาเป็นลวดลายอันวิจิตร สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

ปัจจุบัน ผ้ากาบบัว ได้รับการสืบสานให้เป็น "ผ้าเอกลักษณ์" ทางวัฒนธรรมของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นที่นิยมในวงการแฟชั่นผ้าไทย มีการสวมใส่เสื้อผ้าอาภรณ์ลายกาบบัวนี้ ตั้งแต่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ไปจนถึงวัยรุ่น ด้วยรูปแบบแฟชั่นที่หลากหลายจากนักออกแบบมีชื่อ

'ผ้ากาบบัว' ในหน้าประวัติศาสตร์

kabbua r5ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว ได้นำผ้าทอเมืองอุบลฯ ทูลเกล้าถวาย ซึ่งปรากฏในพระราชหัตถเลขาตอบเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ร.ศ.114 ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ความว่า

"ถึง สรรพสิทธิ ด้วยได้รับหนังสือลงวันที่ 13 มกราคม ส่งผ้าเยียรบับลาวมาให้นั้นได้รับแล้ว
          ผ้านี้ทอดีมากเชียงใหม่สู้ไม่ได้เลย ถ้าจะยุให้ทำมาขายคงจะมีผู้ซื้อ ฉันจะรับเป็นนายหน้า ส่วนที่ส่งมาจะให้ตัดเสื้อ ถ้ามีเวลาจะถ่ายรูปให้ดู แต่อย่าตั้งใจคอยเพราะจะถ่ายเมื่อใดบอกไม่ได้

จุฬาลงกรณ์ ปร.

จากการค้นคว้าถึงตำนานผ้าเยียรบับนี้พบว่า เป็น ผ้าลายกาบบัวคำ ทอด้วยเทคนิคขิด หรือยกด้วยไหมคำ (ดิ้นทอง) แทรกด้วยไหมมัดหมี่ ใช้เทคนิคการจกหรือเกาะด้วยไหมสีต่างๆ ลงบนผืนผ้า

kabbua kampoon 02ในเวลาต่อมาอีก 55 ปีถัดจากนั้น เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 ชาวอุบลราชธานีได้ร่วมใจกันทอ ผ้าซิ่นไหมเงิน ยกดอกลายพิกุล ทูลเกล้าฯ ถวายเนื่องในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช กับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร และถัดจากนั้นอีก 5 ปีต่อมา ในวโรกาสเสด็จฯ เยี่ยมพสกนิกรชาวอุบลราชธานีเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2498 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าซิ่นไหมเงิน ที่ชาวอุบลราชธานีทูลเกล้าฯ ถวาย และมีพระกระแสรับสั่งกับเหล่าผู้เฝ้ารับเสด็จฯ ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ว่า "ชาวอุบลฯ เขาให้ผ้าซิ่นนี้เป็นของขวัญวันอภิเษกสมรส เมื่อมาเยี่ยมอุบลฯ จึงนำมานุ่งให้คนอุบลฯ เขาดู" ยังความปลาบปลื้มปิติเป็นล้นพ้นของชาวอุบลราชธานีทั้งมวล

pakabbua2

'ผ้ากาบบัว' ผ้าเอกลักษณ์ของเมืองอุบล

kabbua jok 01โครงการสืบสานผ้าไทยสายใยเมืองอุบลราชธานี ได้เกิดขึ้นเพื่อธำรงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมอันล้ำค่าของเมืองอุบลราชธานี โดย นายศิวะ แสงมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี (ในสมัยนั้น) ได้มอบหมายให้คณะทำงานพิจารณาฟื้นฟูลายผ้าพื้นเมืองในอดีตที่สวยงาม จนได้ลายผ้ามีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ชื่อว่า ผ้ากาบบัว พร้อมกับมีประกาศจังหวัดให้ "ผ้ากาบบัว" เป็น "ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัด" เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2543 (ดูประกาศด้านล่างบทความนี้)

ผ้ากาบบัว อาจทอด้วยฝ้ายหรือไหม ประกอบด้วยเส้นยืนย้อมอย่างน้อยสองสี เป็นริ้วตามลักษณะ "ซิ่นทิว" ซึ่งมีความนิยมแพร่หลายแถบอุบลราชธานี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังทอพุ่งด้วยไหมสีมับไม (ไหมปั่นเกลียวหางกระรอก) มัดหมี่ และขิด

ผ้ากาบบัว (จก) คือ ผ้าพื้นทิว หรือ ผ้ากาบบัวเพิ่มการจกลาย เป็นลวดลายกระจุกดาว (บางครั้งเรียก เกาะลายดาว) อาจจกเป็นบางส่วน หรือกระจายทั่วทั้งผืนผ้า เพื่อสืบทอด "ซิ่นหัวจกดาว" อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของผ้าซิ่นเมืองอุบล ผ้ากาบบัว (จก) นี้เหมาะที่จะใช้งานในพิธีหรือโอกาสสำคัญ

kabbua kam 01kabbua kam 02

ผ้ากาบบัว (คำ) คือ ผ้าทอยก (บางครั้งเรียก ขิด) ด้วยไหมคำ (ดิ้นทอง) อาจสอดแทรกด้วยไหมเงิน หรือไหมสีต่างๆ อันเป็นผ้าที่ต้องใช้ความประณีตในการทออย่างสูง

ผ้ากาบบัว คือ ผ้าที่ใช้เทคนิค 4 เทคนิคผสมกันในการทอ เริ่มจากเส้นยืนที่ต้องใช้ 2 สีขึ้นไป เพื่อให้เกิดลายทิวหรือลายแนวนอนขวางลำตัวเวลานุ่งซิ่น ส่วนเส้นพุ่งประกอบด้วย 3 เทคนิค นั่นคือ ยก (หรือ ‘ขิด’ ภาษาอีสาน แปลว่า การสะกิดเส้นยืนเพื่อให้เกิดลวดลายแค่บางจุด) หางกระรอก (หรือ ‘มับไม’ ภาษาอุบลคือการนำเส้นไหม 2 เส้นมาพันเกลียวกันก่อนใส่กระสวยทอ) และมัดหมี่ (คือการใช้เชือกมัดบางจุดก่อนย้อม ทำให้สีติดบางส่วนจนเกิดลวดลาย)

ในอดีต ผ้ากาบบัว ต้องมีลายทิวหรือลายแนวนอน ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มไทและไทยวน รวมถึงชาวอุบลสมัยก่อน เป็นคุณสมบัติที่ผ้ากาบบัวทุกผืนต้องมี ผ้ากาบบัวรุ่นต่อมายังมีการเพิ่มลวดลายจกดาวที่ตีนซิ่น การจกดาว คือ การเอานิ้วจกลงไประหว่างเส้นด้ายที่ขึงทออยู่ แล้วปักลวดลายเฉพาะจุดออกมาเป็นรูปดาวระยิบระยับ นี่คือลักษณะเด่นที่ไม่มีในผ้าเก่าของจังหวัดอีสานอื่นใดเลยนอกจากอุบลราชธานี

kabbua kam 03

ผ้ากาบบัวคำ ผ้ากาบบัวรุ่นที่เพิ่มเทคนิคยกทองเข้าไป การยกทอง คือ การตีโลหะให้เป็นเส้นบางมากๆ แล้วทอแทรกเข้าไประหว่างไหม ทำให้ได้ผ้าออกมาแวววาวแต่ก็หนักสุดๆ ด้วย นี่เป็นเทคนิคที่เคยเกือบสูญหายไปจากอุบลราชธานี เพราะคนธรรมดาสามัญในสมัยก่อนนั้นห้ามใส่ผ้ายกทอง สงวนไว้สำหรับเจ้านายและผู้สืบสกุลจากเจ้าเมือง ทำให้มีทอผ้ากาบบัวคำนี้เฉพาะในวังเจ้าวังนายเท่านั้น โชคดีที่บ้านคำปุ่นสืบทอดเชื้อสายมา ทำให้ยังคงมีภูมิปัญญานี้อยู่จนปัจจุบัน

kabbua 02

'ผ้ากาบบัว' กับการนำมาใช้ประโยชน์ 

ผ้ากาบบัว ส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในการตัดเย็บเครื่องแต่งกาย ทั้งชายและหญิง ในสมัยโบราณนั้น ฝ่ายชายจะใช้ ผ้าปูม (ทอแบบมัดหมี่สำหรับนุ่งโจม) ผ้าวาหรือผ้าหางกระรอก (ทอด้วยเส้นมับไม) ผ้าโสร่ง (ทอคั่นเส้นมับไม) ผ้าสร้อยปลาไหล (ทอด้วยเส้นมับไม) ผ้าแพรอีโป้ (ผ้าขะม้า) ผ้าปกหัว (นาค) และผ้าแพรมน (ผ้าเช็ดหน้า เช็ดปาก) เป็นต้น

สำหรับฝ่ายหญิง มีซิ่นชนิดต่างๆ คือ ซิ่นยกไหมคำ (ดิ้นเงิน - ดิ้นทอง) ซิ่นขิดไหม (ยกดอกด้วยไหม) ซิ่นหมี่ ซิ่นทิว ซิ่นไหมควบ ซิ่นลายล่อง นอกจากนี้ยังมีผ้าห่ม (ถือ) หรือผ้าเบี่ยง (สไบ) และผ้าตุ้มอีกหลายแบบ

kabbua shirtkabbua handback

ผ้ากาบบัว ในปัจจุบันนี้ ได้รับการส่งเสริมให้เป็นสินค้าชั้นนำ OTOP โดยมีพรีเซนเตอร์ระดับประเทศสนใจเป็นแบบโดยไม่ตั้งใจ เพราะหลงไหลในลวดลายและสีสันของผ้ากาบบัว ตั้งแต่ดารา นางแบบ นางสาวไทยหลาย พ.ศ. ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หลายๆ กระทรวง รวมทั้งรัฐมนตรีทุกท่านในคณะรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร บางท่านถึงกับสั่งตัดพิเศษเพื่อใช้ประจำทุกสัปดาห์ โดยไม่ให้ซ้ำสี ซ้ำลายเลยทีเดียว

'ผ้ากาบบัว' ทำไมไม่เรียก 'ผ้ากลีบบัว'

คำตอบของชื่อนี้มีที่มาที่ไปครับ อย่าสับสนกับคำในภาษาไทยกลาง เพราะตามความหมายในพจนานุกรมนั้น (ภาษากลาง) กาบ จะหมายถึง "น. เปลือกหุ้มชั้นนอกของผลหรือดอก และของต้นไม้บางชนิด ลอกออกได้เป็นชั้นๆ เช่น กาบมะพร้าว กาบหมาก กาบกล้วย โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น" แต่ถ้าไปดูคำในภาษาอีสาน คำว่า "กาบ" ในภาษาอีสานมีความหมายถึง เปลือกหุ้มชั้นนอกของต้นไม้บางชนิด เช่น เปลือกหุ้มต้นกล้วย เรียก กาบกล้วย หุ้มไม้ไผ่ เรียก กาบลาง กลีบหุ้มดอกบัว เรียก กาบบัว (สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ : ปรีชา พิณทอง) และจากเอกสารข้อยุติของคณะทำงานพิจารณาผ้าพื้นเมืองได้ให้เหตุผลไว้ดังนี้

ผ้ากาบบัว ในการประชุมคณะทำงานพิจารณาลายผ้าพื้นเมือง คุณพ่อบำเพ็ญ ณ อุบล ได้เสนอชื่อ ผ้ากาบบัว อันเป็นชื่อผ้าในวรรณกรรมโบราณอีสาน ซึ่งไม่อาจทราบหรือพบในยุคปัจจุบันแล้ว ให้เป็นชื่อเรียกผ้าเอกลักษณ์เมืองอุบลฯ

ชื่อ ผ้ากาบบัว ออกเสียงง่าย ไพเราะ และง่ายต่อการจดจำ

ชื่อ ผ้ากาบบัว สอดคล้องกับความนิยมในเรื่องสีของยุคปัจจุบัน โดยจะเห็นได้ว่า ในการเสนอข่าวแฟชั่นของทุกปี จะต้องมีการนำเสนอสีแนวธรรมชาติ (Earth Tone) อยู่เสมอ สีของกาบบัว (ภาษาท้องถิ่น) หรือกลีบบัว ซึ่งไล่อ่อนแก่จาก ขาว ชมพู เทา เขียว น้ำตาล อยู่ในความนิยมเสมอ และยังสอดคล้องกับการย้อมจากพืชพรรณธรรมชาติอีกด้วย

ชื่อ ผ้ากาบบัว มีความหมายเหมาะสมกับชื่อ จังหวัดอุบลราชธานี

เมื่อดูความหมายของ "กาบ" ตามพจนานุกรมฯ อธิบายไว้ว่า "น. เปลือกหุ้มชั้นนอกของผลหรือดอก และของต้นไม้บางชนิด ลอกออกได้เป็นชั้นๆ เช่น กาบมะพร้าว กาบหมาก กาบกล้วย โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น"

โดยนัยแห่งคำอธิบายตามพจนานุกรมนี้ "กาบบัว" จึงหมายถึง เปลือกหุ้มชั้นนอกของดอกบัว มิใช่กลีบบัวที่หุ้มรอบเกสรบัวที่อยู่ชั้นใน (หรือจะพูดแบบภาษาชาวบ้านง่ายๆ ว่า กาบบัวคือกลีบบัวชั้นนอกสุดที่แก่จัดเกือบร่วงโรย นั่นเอง) ดังนั้น จึงมีข้อคิดเห็นที่สนับสนุนในการเรียกผ้าเอกลักษณ์เมืองอุบลว่า ผ้ากาบบัว ดังนี้

กาบบัว มีพื้นผิวเป็นเส้นทางตั้ง ขึ้นเด่นชัด สามารถนำมาเป็นตัวอย่างในการทอลายผ้าได้อย่างงดงาม ตรงข้ามกับกลีบบัวที่ยังไม่ปรากฏลายเส้นนูน

กาบบัว มีสีตามธรรมชาติชัดเจน สอดคล้องกับการย้อมสีจากพืชพรรณธรรมชาติ ให้ได้สีตามต้องการ แต่กลีบบัวยังไม่ปรากฏสีเด่นชัด

ผ้ากาบบัว เป็นผ้าที่มีมาแต่โบราณในอุบลฯ จึงใช้ชื่อเดิม เพื่ออนุรักษ์ประวัติผ้าชนิดนี้ไว้มิให้เสื่อมสูญ

ชื่อ ผ้ากาบบัว นอกจากมีความเหมาะสมกับชื่อจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว ยังมีความหมายถึงเชื้อสายบรรพบุรุษ ที่สืบเนื่องมาจาก "นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน" อีกด้วย

เรื่องเล่า "ผ้ากาบบัวอุบลราชธานี"

'ผ้ากาบบัว' กับความงดงามแห่งปัจจุบัน

ผ้ากาบบัว ไม่ได้เป็นที่นิยมเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ในต่างประเทศก็ยังมีการสั่งนำไปตัดเย็บ เป็นผ้าประดับในการตกแต่งอาคาร เช่น เป็นผ้าม่าน มูลี่กั้นแสง ผ้าปูโต๊ะ หมอนอิง และโซฟา รวมทั้งเป็นเครื่องใช้เช่น กระเป๋าถือสุภาพสตรี และที่น่าภาคภูมิใจคือ เจ้าชายอากิชิโน พระราชโอรสสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น ที่เสด็จฯ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อทรงงานด้านการประมงน้ำจืด ก็ทรงโปรดฉลองพระองค์ด้วย "ผ้ากาบบัว"

และในปี พ.ศ. 2547 นี้เอง ชาวอุบลราชธานีก็ได้ปลาบปลื้มอีกวาระหนึ่ง จากการได้เฝ้ารับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงโปรดฉลองพระองค์ผ้ากาบบัว ที่ช่างชาวอุบลราชธานีได้ทำการทอผ้าลายกาบบัวพิเศษเฉพาะพระองค์ และคาดเดาออกแบบฉลองพระองค์ตัดถวาย โดยมิได้เข้าเฝ้าวัดพระวรกาย ทรงโปรดและชื่นชม ทั้งลายผ้าและการออกแบบฉลองพระองค์ทั้ง 3 ชุด (สีฟ้า สีกาบบัว และสีม่วง) ได้ทรงฉลองพระองค์ทั้ง 3 ชุดระหว่างการปฏิบัติพระราชกรณียกิจในท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี และใกล้เคียง เมื่อวันที่ 21-23 ธันวาคม 2547

ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูล :

  • สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี
  • ศูนย์ดีไซน์คริสตัล
  • บ้านคำปุ่น
  • ศูนย์แสดงสินค้าหัตถกรรมจังหวัดอุบลราชธานี (OTOP)

pakabbua ubon

 

งามวิจิตรผ้ากาบบัว : รายการศิษย์มีครู ThaiPBS

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)