- Details
- Written by: Webmaster
- Category: Isan Dance
- Hits: 17509
การฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ
ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
การฟ้อนศิลปาชีพ นับเนื่องได้ว่า พัฒนาขึ้นมาจากการประชุมของยูเนสโก (UNESCO) เมื่อราวปี พ.ศ. 2513 เพื่อที่จะส่งเสริมและฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมประจำภาคในท้องถิ่นต่างๆ จึงได้มีการนำเอาการประกอบอาชีพต่างๆ มาจัดทำเป้นชุดฟ้อนขึ้น การฟ้อนศิลปาชีพนี้จะสะท้อนให้เห็นขั้นตอนในการประกอบอาชีพนั้นๆ
ชุดฟ้อนศิลปาชีพ นี้มีการแสดงในหลายภาค เช่น ในภาคเหนือก็มี ฟ้อนสาวไหม จ้องบ่อสร้าง ในภาคตะวันออกก็มี ระบำข้าวหลามหนองมน ระบำพัดพนัสนิคม ระบำทอผ้า ระบำศิลปาชีพ ส่วนในภาคใต้มีระบำสิลปาชีพที่มีชื่อเสียงมาก คือ ระบำปาเต๊ะ ระบำทำตาลบ้านระโนด ระบำร่อนแร่ ระบำปั้นหม้อ ส่วนในภาคอีสานก็เช่นเดียวกัน มีการประดิษฐ์ระบำศิลปาชีพขึ้นมาในหลายๆ รูปแบบด้วยกัน ซึ่งระบำศิลปาชีพของอีสานนั้น จะเน้นให้เห็นถึงอาชีพหลักของชาวอีสานนั้นก็คืออาชีพการทอผ้า
ชาวอีสานส่วนใหญ่มีอาชีพทางเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำนา เพราะฉะนั้นหลังฤดูการเก็บเกี่ยว ชาวอีสานก็จะว่างจากการทำงานก็จะทำอาชีพรอง เช่น การทอผ้า การจักสาน การทอเสื่อ ฯลฯ ซึ่งพอจะทำให้มีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นได้ อาชีพรองที่ชาวอีสานทำกันในแทบทุกจังหวัดของภาคอีสาน คือ การทอผ้า ดังนั้นชุดฟ้อนของภาคอีสานจึงมีชุดฟ้อนศิลปาชีพ ที่เกี่ยวกับการทอผ้ามากที่สุด เช่น รำตำหูกผูกขิด เซิ้งสาวไหม ฟ้อนเก็บฝ้าย ฟ้อนเข็นฝ้าย และฟ้อนแพรวา ฟ้อนอาชีพจึงเป็นการอนุรักษ์อาชีพของชาวอีสาน และเป็นการเผยแพร่ให้คนในท้องถิ่นอื่น เห็นความสำคัญของหัตถกรรมพื้นบ้านอีกด้วย ฟ้อนศิลปาชีพอีสานมีหลายชุดด้วยกัน
ฟ้อนเข็นฝ้าย - เซิ้งสาวไหม - ฟ้อนแพรวา - เซิ้งข้าวปุ้น | รำบ้านประโดก - เซิ้งปลาจ่อม - เซิ้งแหย่ไข่มดแดง - เรือมศรีผไทสมันต์
รำต่ำหูกผูกขิด
การทอผ้าขิด เป็นเรื่องที่มีความยุ่งยากซับซ้อนเป็นอย่างมาก ต้องใช้ความพยายามอย่างสูงในการทอผ้าขิด ชาวอีสานจึงถือว่าผ้าขิด เป็นของสูงจะใช้ในพิธีสำคัญๆ เท่านั้น เช่น พิธีแต่งงาน เป็นต้น อุปกรณ์ที่สำคัญในการทอผ้าลายขิด
- ด้าย ในสมัยก่อนด้ายที่จะนำมาทอผ้า ไม่ว่าจะทอผ้าชนิดใดก็ตามผู้ทอจะต้องปลูกฝ้ายเอง แล้วนำฝ้ายมาผ่านกรรมวิธีต่างๆ จนได้เป็นเส้นด้ายออกมา แล้วจะนำมาย้อมสี ส่วนมากจะย้อมเป็นสีดำ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "ผ้าย้อมหม้อนิล"
- หลอดปั่นด้าย ใช้วัสดุที่หาง่ายๆ ไม่สิ้นเปลือง เช่น ไม้ลำปอ ที่มีขนาดพองาม มีรูกลวงข้างในพอที่จะสอดไส้ใส่กระสวยได้ หลอดปั่นด้ายมี 2 ขนาด และใช้ต่างกัน คือ ขนาดสั้นยาวประมาณ 2 นิ้ว ใช้สำหรับกระสวยที่จะทอผ้า วันหนึ่งๆ ประมาณ 10 - 20 หลอดขนาดความยาวนั้นใช้สำหรับค้นด้ายใส่หลักเผือ เพื่อเอามาทำเป็นเครือหูกใส่ฟืมทอ
- กระสวย คือ เครื่องมือใส่หลอดด้าย ทำด้วยไม้เนื้อแข็งขัดมัน เพื่อสะดวกในการสอดเข้าไปในผืนผ้า ขนาดความยาว 14 - 16 นิ้ว หนา 2 ซ.ม. เจาะรูเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตรงกลางกระสวยกว้างประมาณ 15 - 17 ซ.ม. ส่วนปลายทั้งสองข้างของกระสวยนั้นทำคล้ายเรือขุดคือเหลาให้งอนขึ้นทั้งสองข้าง เพื่อสะดวกในการสอดด้ายพุ่งเข้าไปในฟืมทวี
- อัก เป็นอุปกรณ์สำหรับเก็บเส้นด้าย
- กง เป็นอุปกรณ์ใส่ด้าย "ปอย" เพื่อจะสาวใส่อัก
- ไน ใช้สำหรับปั่นด้ายใส่หลอด เพื่อจะนำไปทอหูกบางทีเรียกว่า "หลา"
- หลักเผือ คือที่ค้นหูก การค้นหูกคือการนำด้ายจาก "อัก" ต่างๆ มาเกาะกับหลักเผือ แล้วสาวด้ายกลับไปกลับมา เพื่อให้ได้หูกยาวตามต้องการ การสาวด้ายไปตามหลักต่างๆ นี้ ด้ายจะขาดไม่ได้ ถ้าขาดก็ต้องต่อใหม่ แล้วสาวไปจนครบจำนวนเส้นตามต้องการ หลักเผือทำด้วยไม้ทั้งสี่ด้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 150 ซ.ม. ยาวประมาณ 200 ซ.ม. ทั้งสองด้านทำเป็นเดือยให้สูงขึ้นประมาณ 4 นิ้ว ระยะห่างระหว่างเดือยห่างกันประมาณ 4 นิ้ว จะทำกี่เดือยก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมและพอใจของผู้ทอ
- ฟืม (ฟันหวี) คือเครื่องมือทอผ้าสำหรับการกระแทกให้เส้นด้ายทอเรียงตัวกันชิดแน่นในเนื้อผ้า มีหลายขนาดแล้วแต่ความต้องการขนาดของความกว้างของหน้าผ้า เริ่มตั้งแต่ 12 นิ้ว ไปจนถึง 42 นิ้ว

- เขา (ไม้เก็บเขา) คือเส้นต้ายที่ถักขึ้นเพื่อกันเส้นด้ายยืน (เครือหูก) ให้อยู่คงที่ในตำแหน่งตรงกับฟันหวีในฟืม เขาแต่ละเส้นจะเก็บด้ายไว้ 1 เส้น จึงมีจำนวนมากเท่ากับขนาดของฟืม
- กี่ คือโครงสร้างสำหรับขึ้งด้ายใส่หูก และรองรับชุดฟืมหวีและเขา ทำด้วยไม้เนื้อแข็งเปนโครงสร้างที่แข็งแรง สามารถรับน้ำหนักของคนนั่งทอได้ สามารถยกเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ เพื่อให้สะดวกแก่การทอ
- แปรงหวีหูก คือแปรงทำด้วยเส้นใยต้นตาล ทำเป็นแปรงโตๆ ใช้ในการหวีเส้นด้าย ทำให้ทอง่ายขึ้นด้ายจะไม่ยุ่งหรือพันกัน
- ไม้เก็บขิด คือไม้ทำเป็นพื้นแบนๆ กว้างประมาณ 2 นิ้ว ยาวประมาณ 1 เมตร ทำด้วยไม้ไผ่ ปลายของไม้เก็บขิดนี้จะแหลมข้างหนึ่ง เพื่อสะดวกในการเก็บด้ายตามลวดลายที่กำหนดไว้แล้ว
- ไม้ค้ำขิด คือไม้ที่ทำเป็นพื้นแบนๆ เหมือนกับไม้เก็บขิดแต่จะมีความกว้างมากกว่าประมาณ 5 นิ้ว ยาวประมาณ 1 เมตร ปลายแหลมข้างหนึ่งเหมือนกัน ใช้สำหรับค้ำยกเส้นด้ายตามลวดลายที่ออกแบบไว้ให้สูงขึ้นเพื่อสอดกระสวยด้ายสีต่างๆ สร้างลวดลายให้ผ้าขิด จะใช้งานร่วมกันกับไม้เก็บขิด
- ไม้ไขว้ (ไม้ขนัด) คือไม้เล็กๆ 2 อัน กว้างประมาณ 1 ซ.ม. ยาวประมาณ 1 เมตร ใช้สอดด้ายเครือหูกให้ไขว้กันข้างบน และข้างล่าง เพื่อกันด้ายเครือหูกยุ่ง ทำด้วยไม้ไผ่เหลากลมๆ เพื่อสะดวกในการร้อยด้ายหรือเชือกใช้สำหรับขัดเส้นยืนให้เป็นลายขิด
- ไม้เหยียบหูก คือไม้ไผ่กลมๆ 2 อันยาวประมาณ 1 เมตร สำหรับสอดใส่ในเชือกร้อยเขา (ตะกรอ) ของฟันหวี ลงข้างล่างให้ผู้ทอหูกเหยียบให้เส้นด้ายเครือหูกเปิดอ้าขึ้นอ้าลงตามแรงเหยียบ เพื่อสอดกระสวยด้ายเส้นตั้งผ่านจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง แล้วกระแทกด้วยฟืมหวีให้แน่น การเหยียบสลับกันแต่ละครั้งก็จะสอดกระสวยจากด้านหนึ่งไปด้านหนึ่งสลับไปมา
- ไม้หาบหูก คือไม้ที่แข็งแรงสำหรับสอดหูเชือกที่ร้อยฟืมและเขาแขวนไว้บนกี่ บางทีเรียก ไม้หาบลูกกลิ้ง ทำจากไม้ไผ่ขนาดใหญ่พอประมาณ แข็งแรง ความยาวมากกว่าความกว้างของกี่ โดยทั่วไปยาวประมาณ 180 ซ.ม.
- ไม้ลายขิด เป็นไม้ไผ่เหลากลมๆ เล็กๆ ความยาวประมาณ 1 เมตร สำหรับใช้สอดในด้ายหูกเพื่อกำหนดลายขิด มีจำนวนเท่ากับลายขิดที่ออกแบบไว้
- ไม้กำพั้น (ไม้ม้วนผ้า) เป็นไม้เนื้อแข็งขนาดประมาณ 2.5 x 2.5 นิ้ว ปลายข้างหนึ่งเหลาให้กลม อีกข้างหนึ่งเป็นรูปเหลี่ยม เพื่อกันไม่ให้ลื่นพลิกคลายตัวออกไป ใช้สำหรับม้วนเก็บผ้าที่ทอเสร็จแล้ว จะอยู่ถัดจากฟืม (ฟันหวี) มาทางผู้ทอ

ขบวนการในการเตรียมฝ้ายก่อนทอ
- การเลือกซื้อด้าย ก่อนที่จะทำสิ่งอื่นใดในการทอผ้าลายขิด เราจะต้องทำการเลือกซื้อด้ายสีต่างๆ ตามที่เราชอบ เช่น สีเหลือง สีส้ม สีชมพู สีดำ สีฟ้า แต่สีที่จะขาดไม่ได้คือสีขาว ที่ใช้เป็นสีพื้นตามความกว้างความยาวของหูก ตามที่เราต้องการ
- การฆ่าด้าย ด้ายที่ซื้อมาจะนำไปทอเลยทันทีไม่ได้ ต้องทำให้ด้ายมีความคงทนและเส้นเรียบเสมอกัน ด้วยการนำมาฆ่า กล่าวคือ ต้มข้าวเจ้าเละๆ เทน้ำต้มข้าวลงไปในด้ายคลุกให้เข้ากันแล้วนำไป "ทก" โดยสอดด้ายใส่ในไม้กั้นประตูบ้าน กระแทกไม้นั้นไปเรื่อยๆ ด้ายจะแยกกันออกเรียงเส้นด้ายดียิ่งขึ้น นำด้ายไปตากให้แห้ง เป็นเสร็จกระบวนการฆ่าด้าย
- การกวักด้าย นำด้ายที่ฆ่าแล้วตากแห้งใส่ลงไปใน "กง" กวักด้ายออกจากกงให้เข้าไปอยู่ในอัก โดยการหมุนอักไปเรื่อยๆ ด้ายจากกงก็จะเคลื่อนที่ออกมาเข้าสู่อักตามต้องการ เมื่อกวักด้ายเสร็จแล้ว เราก็จะได้ด้ายไปอยู่ในอักหลายๆ อัก
- การค้นหูก เป็นขั้นตอนของการนำด้ายออกจากอักใส่ลงในไม้หลักเผือ เพื่อให้ได้ความยาวของหูกตามที่ต้องการ โดยนำด้ายใส่ลงในเดือยของหลักเผือวนจากซ้ายไปขวาไปมาเรื่อยๆ จนได้ความยาวตามต้องการ
- การปั่นหลอด เป็นการปั่นด้ายจากกงใส่หลอด บรรจุในกระสวย เพื่อทำการทอเป็นด้ายเส้นพุ่ง
- การสืบหูก เป็นการนำด้ายที่ค้นหูกเรียบร้อยแล้วมาต่อเข้ากับเขาหูก ด้วยการใช้นิ้วมือหมุนปลายด้ายให้พันติดกัน โดยใช้ข้าวสุกช่วย
- การกางหูก หลังจากเตรียมสิ่งต่างๆ แล้ว ก็ถึงขั้นกางหูก ส่วนใหญ่นิยมกางใต้ถุนบ้านเพื่อสะดวกในการทอหูก ไม่ต้องกลัวฝนตก แดดออก ทอได้ตลอดเวลา
- การทอ ในการทอผ้าลายขิดจะเป็นการทอผ้าทางยืน ยาวตามความต้องการของผู้ทอ การทอผ้าขิดต่างจากการทอผ้าอื่นตรงที่จะต้องมีไม้แบนๆ ประมาณ 2 นิ้วครึ่งช่วย นอกจากนี้จะมีไม้เล็ก ขนาดก้านมะพร้าว เป็นไม้สอดตามไม้เก็บขิดอีก 20 - 30 อัน ขั้นแรกจะใช้กระสวยสอดไปตามธรรมดาก่อน โดยใช้สีตามต้องการ พอถึงตอนที่เป็นลายขิดถ้าต้องการให้ด้ายกี่โผล่ก็สอดไม้คั่น ถ้าต้องการให้ด้ายขาวโผล่ก็สอดไม้ลง สอดกระสวยและกระตุกฟืม ก็จะได้ลายขิดตามต้องการ
ลายขิด มีอยู่มากมายแต่แบ่งออกเป็นลายใหญ่ๆ ได้ 4 ประเภท คือ ขิดลายสัตว์ ขิดลายพันธุ์ไม้ ขิดลายสิ่งของ เครื่องใช้ และขิดลายเบ็ดเตล็ด
การแสดงชุด "รำต่ำหูกผูกขิด" เป็นการแสดงให้เห็นขั้นตอนต่างๆ ในการทอผ้าลายขิด ตั้งแต่เริ่มเก็บฝ้าย การกวักฝ้าย การค้นหูก การปั่นด้าย จนกระทั่งทอเป็นผืน
เครื่องแต่งกาย ผู้แสดงหญิงล้วน เสื้อแขนกระบอกคอกลมนุ่งซิ่น ใช้ผ้าผูกเอว เกล้ามวยทัดดอกไม้
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ใช้ลายลำเพลิน และทำนองเซิ้ง
ฟ้อนทอเสื่อบ้านแพง
ชาวบ้านแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม มีอาชีพหลักในการทำนา ส่วนอาชีพรองที่ทำชื่อเสียงให้กับหมู่บ้านคือ การทอเสื่อกก "กก" หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ไหล ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในการทอเสื่อนั้น ชาวบ้านแพงจะปลูกเอง โดยนำหน่อกกไปปลูกบนผักตบชวาที่นำมามัดรวมกันเป็นเกาะ ลอยน้ำกลบด้วยดินโคลน และหาไม้ค้ำไว้ไม่ให้ผักตบชวาลอยไปตามน้ำ การปลูกลักษณะนี้จะได้กกที่มีความสมบูรณ์ มีคุณภาพดีและสามารถเก็บเกี่ยวกกได้ตลอดทั้งปี
เมื่อกกโตเต็มที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ชาวบ้านใช้เคียวเกี่ยวกกโดยเกี่ยวลำต้นจนติดดินให้เหลือตอสั้นที่สุด เมื่อได้มาแล้วก็คัดขนาด นำไป "สอย" คือการจักกกให้เป็นเส้นๆ โดยใช้มีดตอก เอาเฉพาะเปลือกข้างนอกให้มีเนื้อสีขาวๆ ข้างในติดเล็กน้อย นำไปตากจนแห้ง แล้วนำไปย้อมสีและตากแดดอีกครั้ง ก่อนนำไปทอเป็นผืน โดยใช้คนสองคน คนหนึ่งทำหน้าที่สอดกกทีละเส้นให้เส้นหัวและเส้นหางกกสลับกันไป อีกคนหนึ่งจะเป็นคนกระแทกฟึมให้เส้นกกชิดกันแน่น เมื่อเส็จแล้วก็นำไป "ไพ" คือการพับเก็บริมเสื่อทั้งสองข้างให้เรียบร้อยสวยงาม
ฟ้อนทอเสือบ้านแพง ได้แรงบันดาลใจมาจากอาชีพการทอเสื่อของชาวบ้านแพง ซึ่งวิทยาลัยคณาสวัสดิ์ โดยอาจารย์พัชราภรณ์ จันทร์เหลือง และอาจารย์สนอง จิตรโคกกรวด เป็นผู้คิดค้นท่ารำเป็นชุดฟ้อนขึ้น ต่อมาอาจารย์ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม) ได้ร่วมปรับปรุงชุดฟ้อนให้สวยงามยิ่งขึ้น และเปลี่ยนทำนองเพลงเป็นลาวแพนน้อย และเพิ่มทำนองลำเพลินและเซิ้งบั้งไฟเข้าไปในปี พ.ศ. 2531 เพื่อให้ดนตรีประกอบมีสีสันทั้งเร็วและช้า
การแสดงชุด "ฟ้อนทอเสือบ้านแพง" ท่าฟ้อนก็ประดิษฐ์ดัดแปลงมาจาก การนำกกไปปลูก เกี่ยวกก สอยกก (หรือจักกก) นำกกไปตาก พรมน้ำกก ย้อมสีกก ตากกก ต่ำกก (หรือทอกก) จนเป็นผืน
เครื่องแต่งกาย ผู้แสดงหญิงล้วน ห่มผ้าแถบสีสด จับจีบหน้าอกด้านซ้าย นุ่งผ้าถุงยาวสีพื้นมีเชิง คาดเอวด้วยผ้าขิด ผมเกล้ามวยติดดอกไม้สีเหลือง
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ประกอบกัน 3 ทำนองคือ ทำนองเพลงลาวแพนน้อย ทั้งจังหวะช้าและเร็ว ลายลำเพลินและลายเซิ้งบั้งไฟ
รำทอเสื่อกกบ้านแพง อำเภอโกสุมพิสัย
- Details
- Written by: Webmaster
- Category: Isan Dance
- Hits: 26969
การฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ
ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
สังคมและวัฒนธรรมแถบลุ่มแม่น้ำโขง ยังคงยึดมั่นกับความเชื่อในเรื่องภูติ ผี วิญญาณ ผีฟ้า ผีแถน ผีปู่ย่าตายาย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ดังนั้น ลูกหลานที่สืบทอดความเชื่อนี้ จะต้องให้ความเคารพและเซ่นสังเวย เพื่อบูชาเป็นประจำทุกๆ ปี ซึ่งเชื่อว่า เมื่อได้ทำการเซ่นสังเวยตามพิธีกรรมแล้ว จะทำให้ผู้ปฏิบัตินั้นได้รับผลดี ถ้าไม่ปฏิบัติแล้วจะให้ร้ายแก่ผู้ไม่ปฏิบัติ ดังนั้น จึงมีการฟ้อนเพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผี วิญญาณ นั้นพึงพอใจ เพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข การฟ้อนเพื่อเซ่นสรวงบัดพลีหรือบูชานั้น สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
การฟ้อนเพื่อเสี่ยงทาย
สภาวะทางธรรมชาติเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเองพร้อมกับมนุษย์ เช่น ป่าเขา แมกไม้ สายลม แสงแดด สายธาร พืชพันธ์ธัญญาหาร และสัตว์โลกทั้งหลาย สรรพสิ่งเหล่านี้มีลักษณะอันให้คุณให้โทษเป็นวิสัยธรรมดา ภาคอีสานได้รับโทษจากธรรมชาติมาเป็นเวลาช้านาน แต่คนอีสานและชุมชนก็ยังคงอยู่เพื่อท้าทายลมแล้ง
ชาวอีสานมีความเชื่อดั้งเดิมว่า ธรรมชาติทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิน ผืนน้ำ พืช สัตว์ มนุษย์ อุบัติขึ้นในโลกด้วยอำนาจแห่งผีฟ้าหรือผีแถน ผีจึงให้ชีวิต คุ้มครองชีวิต และทำลายชีวิตด้วย ผู้ที่หวังความสุขหรือเมื่อประสบปัญหาเจ็บป่วยทางกาย และทางใจจึงมีพิธีกรรมอัญเชิญผีฟ้าลงมาขจัดเหตุแก้ไขให้ชีวิตเป็นปกติสุข ดังนั้น เมื่อเกิดความแปรปรวนทางธรรมชาติ เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วม โรคระบาด ฯลฯ จึงเชื่อว่าเป็นอำนาจของผีฟ้า ผีแถน โดยเฉพาะชาวอีสานมีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นถ้าเกิดภัยธรรมชาติ เช่น ภัยแล้ง จึงมีพิธีกรรมเพื่อขอคำพยากรณ์ขึ้นเพื่อเสี่ยงทายว่าในปีนั้นๆ ฟ้าฝนจะดีหรือไม่?
ชุดฟ้อนเพื่อเสี่ยงทาย จึงสืบเนื่องมาจากพิธีกรรมในการเสี่ยงทาย หรือการขอฟ้าขอฝนของชาวอีสาน ชุดฟ้อนเพื่อเสี่ยงทายมีอยู่ 4 ชุด ได้แก่ 1. เซิ้งบั้งไฟ 2. เซิ้งนางด้ง 3. รำดึงครกดึงสาก 4. เซิ้งเชียงข้อง
เซิ้งบั้งไฟ
ประเพณีอีสานมีความสำคัญต่อชีวิตของชาวอีสาน ซึ่งมีฮีต 12 คอง 14 เป็นหลักในการดำเนินชีวิต บุญบั้งไฟหรือบุญเดือนหกเป็นประเณีที่มีส่วนในการสร้างเสริมกำลังใจแก่ชาวบ้าน และเป็นการเตรียมพร้อมในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวอีสาน จุดประสงค์ใหญ่ของการมีงานบุญบั้งไฟ ก็เพื่อขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล จะได้ใช้น้ำในการทำนา เพื่อให้พืชพันธุ์ธัญญาหารมีความอุดมสมบูรณ์ การจุดบั้งไฟโดยมีความเชื่อว่า
- การจุดบั้งไฟเพื่อบูชาพระยาแถน เพื่อบอกกล่าวให้ท่านดลบันดาลให้ฝนตกลงมาสู่โลกมนุษย์ตามนิทานพื้นบ้าน เรื่อง พญาคันคาก
- จุดบั้งไฟเพื่อบูชาอารักมเหสักข์ หลักเมือง เพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล การจุดบั้งไฟทุกครั้งโดยเฉพาะในจังหวัดยโสธรจะต้องมีการบอกกล่าว หรือคารวะเจ้าพ่อมเหสักข์หลักเมืองเสียก่อน
- เพื่อเสี่ยงทายดินฟ้าอากาศและพืชพันธุ์ธัญญาหารว่าในปีนั้นๆ จะเป็นอย่างไร เช่น ถ้าบั้งไฟขึ้นสูงก็ทำนายว่าปีนี้ฝนฟ้าจะตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์
การเซิ้งบั้งไฟ เป็นการฟ้อนประกอบการขับกาพย์ กาพย์เซิ้งบั้งไฟมีทั้งกาพย์เซิ้งเล่านิทานหรือตำนาน เช่น ตำนานผาแดงนางไอ่ ตำนานพญาคันคาก หรือเล่านิทานท้องถิ่น เช่น นิทานเรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ และกาพย์เซิ้งประเภทคำสอน เช่น กาพย์เซิ้งพระมุณี นอกจากนี้ยังมีกาพย์เซิ้งขอบริจาคจตุปัจจัย กาพย์เซิ้งอวยพร กาพย์เซิ้งประเภทตลกหยาบโลน เป็นต้น
ระยะเวลาในการเซิ้งบั้งไฟแบ่งออกเป็น 4 ช่วง คือ การเซิ้งบั้งไฟบอกบุญ ช่วงเตรียมงาน การเซิ้งบั้งไฟในวันงาน การเซิ้งบั้งไฟในวันจุดบั้งไฟ และการเซิ้งบั้งไฟหลังจุดบั้งไฟแล้ว
การฟ้อนเซิ้งบั้งไฟ นั้นอาจจะเป็นผู้หญิงล้วน หรือหญิงและชายก็ได้ ท่าฟ้อนเซิ้งบั้งไฟนั้นมีมากมายหลายท่า เช่น ท่าฟ้อนของคุ้มบ้านใต้สามัคคี อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร มี 6 ท่าคือ ท่าไหว้ครู ท่านาคพ่นน้ำ ท่าม้วนเชือก ท่าแงงคีง (ท่าชมโฉมตัวเอง) ท่าส่อนฮวก (การช้อนลูกอ๊อด ลูกกบ) ท่ายูงรำแพน
ส่วนท่าฟ้อนเซิ้งบั้งไฟของบ้านท่าศรีธรรม อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร มี 13 ท่า คือ ท่าไหว้ครู ท่าเกี่ยวข้าว ท่าทวยเทพ ท่าแหวกม่านเข้าหอ ท่าเอิ้นบ่าว - แหลวเสิ่น (ลักษณะของหญิงสาวเรียกชายหนุ่ม) ท่าปะแป้ง ท่าเสือขึ้นภู ท่าปอบผีฟ้า-กาตบปีก ท่าบัวหุบ-บัวบาน ท่าสามก้าว ท่างามเดือน ท่าแผลงศร
เครื่องแต่งกาย
- ใช้ชุดศรัทธา คือ ใส่เสื้อย้อมคราม นุ่งโสร่งหรือผ้าถุงไหม ซึ่งมีลักษณะคล้ายกระโจม แขวนกระดิ่งหรือกระพรวน ใส่หมวกกาบหรือหมวกเวิ้ง ใช้ผ้ามัดเอว สวมเล็บ บางครั้งถือร่มกระดาษ
- ใช้ชุดพื้นเมือง คือ นุ่งผ้าซิ่นสั้น ใส่เสื้อแขนกระบอก โดยเอาชายเสื้อออกข้างนอก ห่มผ้าสไบ เกล้าผมมวยทัดดอกไม้
เครื่องดนตรี
ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานประกอบไปด้วย กลองตุ้ม พังฮาด กลองยาว รำมะนา ฆ้องเหม่ง ฉิ่ง ฉาบ กั๊บแก๊บ ซึ่งจะเล่นลายเซิ้งบั้งไฟ
เซิ้งนางด้ง
พิธีเต้าแม่นางด้ง หรือ แห่แม่นางด้ง เป็นพิธีการทางไสยศาสตร์เพื่อขอฝน เมื่อฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล โดยใช้กระด้งเป็นอุปกรณ์สำคัญ จัดเตรียมอุปกรณ์ดังนี้ ใช้กระด้ง 2 ใบ ไม้คาน 2 คู่ แว่น หวี ข้าวปั้น กำไลมือ แหวนของหญิงหม้ายลงในกระด้ง แล้วเอากระด้งอีกใบหนึ่งครอบเข้าข้างบน มัดติดกับไม้คานเป็นรูปกากบาท เตรียมหาหลักมา 2 หลัก สมมุติให้หลักหนึ่งเป็นหลักแล้ง อีกหลักหนึ่งเป็นหลักฝน
หัวหน้าผู้ทำพิธีจะเตรียมขันธ์ 5 และเหล้าก้อง ไข่หน่วย ป่าวสัคเค อัญเชิญเทวดามาชุมนุมอธิษฐานขอให้ฝนตก ให้สองคนจับไม้คาน ซึ่งผู้จับจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็ได้ หัวหน้าผู้ทำพิธีจะนำชาวบ้านกล่าวคำเวิ้งแม่นางด้งเป็นวรรคๆ ไป ถ้าว่าจนจบแล้วกระด้งยังไม่เคลื่อนไหวก็อาจจะเปลี่ยนผู้จับไม้คาน ถ้าหากกระด้งเคลื่อนที่ไปตีหลักแล้งก็จะแล้ง หากแม่นางด้งเคลื่นที่ไปตีหลักฝน ฝนก็จะตกในเร็ววัน การเต้าแม่นางด้งนี้นอกจากจะทำเพื่อขอฝนแล้ว ก็สามารถทำเพื่อขับภูติผีปีศาจก็ได้ หรือของใครหายไม่รู้ว่าใครเอาไปก็เต้าแม่นางด้งเพื่อหาของก็ได้ ตัวอย่างคำเซิ้งแม่นางด้ง
เต้าอิแม่นางด้ง มาเวียนนี้ได้สองสามฮอบ ตักตุลี่แมงมี่ตุลา มาสู้แดดหรือมาสู้ฝน เสียงเคียงแม่นเขียดจ่อง อ่องล่องแม่นเขียดจ่านา เชิญทั้งคกไม้บาก มาสูญด้งเยอ ด้งน้อยๆ ฮ่อนข้าวกินขาวอีสาวก็มี มีทั้งหวีเขาควายป่ายเกล้า มีทั้งเหล้าไหใหญ่ฮับแกน เต้นเยอด้ง เป่อเคอเยอด้ง ฝนบ่ตกข่าวไฮ่ตามคาเหมิดแล้ว แฮ้งอยู่ป่าโฮมโครงเหมิดแล้ว น้ำใสขาวให้สูพากันอาบ ฝนตกลงแต่เทิงภูค่อย กลิ้งกันลงสูพันกันลง เสมอดังพันสาด เสมอกันแล้วฝนแก้วเลียนลำ สาวไทเวียงเต่าแม่นางด้ง เต้นเยอด้ง เป่อเคอเยอด้ง มาเป่งน้ำเดือนเก้าใส่นา |
โล้งโค้งเสมอดั่งกงเกวียน มาคอบนี้ได้สองสามที พาสาวหลงเข้าดงกำแมด มากำฮนนำแม่เขียดไต้ ซักไซ้แม่เขียดเหลือ หลังชาแม่นพญาคันคาก เชิญทั้งสากไม้แดงมาสูญด้งเยอ มีทั้งหวีเขาควายป่ายปลาย มีทั้งเหล้าไหหลวงฮับไถ่ แขนวงมาแต่เถิงวีด้ง มาปิ่นวัดปิ่นเวียนเดี๋ยวนี้ ฝนบ่ตกข้าวนาตายแล้งเหมิดแล้ว หมากม่วยสุกคาเครือเหมิดแล้ว เห็นหอยตาบกี้มขึ้นเมือบก น้ำย้อยลงภูหอภูโฮง ตาดแต่นี้เท่าฮอดเสอเพอ มานำกูนี้ให้ฝนฮวยลง เต้นเยอด้งเป่อเสอเยอด้ง มาเป่งน้ำเดือนหกใส่เข้า กุ๊ก กุ๊ กุ๊ก กุ๊ |
เซิ้งนางด้ง จึงเป็นการนำเอาพิธีขอฝนขอฟ้าดังกล่าว มาจัดทำเป็นชุดแสดง โดยเลียนแบบการแสดงคงได้แบบอย่างมาจากชุดรำแม่นางด้งของภาคกลาง
เครื่องแต่งกาย
ผู้ชายสวมเสื้อคอกลม นุ่งโสร่งใช้ผ้าขาวม้ามัดเอว ผู้หญิงที่เป็นนางด้ง 1 คน จะใช้ผ้าขิดรัดหน้าอก นุ่งซิ่น ผู้หญิงที่ฟ้อนประกอบจะใช้ผ้าขิดรัดหน้าอกและนุ่งซิ่นเช่นเดียวกัน
เครื่องดนตรี
ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ใช้ทำนองเซิ้งบั้งไฟ
อุปกรณ์สำหรับการแสดง
มีกระด้ง 2 ใบคว่ำประกบใส่กัน แล้วเอาไม้คานมัดเป็นรูปกากบาท
ลำดับขั้นตอนการแสดง
ผู้แสดงจะออกมาพร้อมกัน โดยให้นางด้งเดินตามผู้ชายซึ่งถือไม้คานและกระด้งออกมา มีการตอกหลักขอฝนและหลักแล้ง พร้อมกับฟ้อนประกอบการเซิ้งนางด้งเพื่อขอฝน
ฟ้อนแม่นางด้ง
รำดึงครกดึงสาก
พิธีดึงครกดึงสาก หรือ โยนครกโยนสาก เป็นพิธีทางไสยศาสตร์ที่กระทำเพื่อขอฝน โดยมีครกและสากที่ใช้ในครัวเป็นอุปกรณ์สำคัญ พิธีดึงครกดึงสากเป็นพิธีที่มีลักษณะง่ายๆ ไม่ซับซ้อน คือเอาครกและสากผูกด้วยเชือกอย่างละเส้นแบ่งผู้ดึงให้เท่ากัน จะเป็นหยิงหรือชายก็ตาม โดยให้มีจำนวนเท่าๆ กัน จับปลายเชือกคนละด้าน แต่งเครื่องคายขันธ์ห้า สักการะบูชาเทวดาขอน้ำฝน ป่าวสัคเคเทวดาแล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าฝนจะตกขอให้ฝ่ายหญิงเป็นผู้แพ้ (แพ้ ในภาษาอีสานหมายถึง ชนะ) ถ้าฝนจะแล้งขอให้ฝ่ายชายเป็นผู้แพ้ จากนั้นเริ่มดึงครกดึงสากจนปรากฏผลว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแพ้หรือชนะ ชาวอีสานมีความเชื่อว่า ฝนฟ้าในปีนั้นจะเป็นไปตามการตั้งจิตอธิษฐาน
การฟ้อนดึงครกดึงสาก ได้แรงบันดาลใจในพิธีกรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับสภาพชีวิตของคนอีสาน ที่มีอาชีพทางเกษตรกรรม ที่ต้องอาศัยฝนฟ้าจากธรรมชาติ ทางวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด โดย อาจารย์ทองคำ ไทยกล้า และ อาจารย์ทรงศักดิ์ ประทุมศิลป์ คิดลายทำนองเพลง อาจารย์ฉวีวรรณ ดำเนิน สร้างเครื่องแต่งกาย โดยมีอาจารย์ทองจันทร์ สังฆะมณี ปรับปรุงตกแต่งจัดฟอร์ม คัดเลือกลาย บรรจุเพลง การแต่งกาย และความกลมกลืนในรูปแบบศิลปะโดยอาจารย์จีรพล เพชรสม เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2526 ท่าฟ้อนได้จากท่าธรรมชาติและผสมกับแม่ท่าของหมอลำ ซึ่งได้ลีลาเร้าใจและงดงามไปอีกแบบหนึ่ง
เครื่องแต่งกาย
ผู้แสดงชาย จะสวมเสื้อม่อฮ่อมนุ่งโสร่ง จำนวน 4 คน ผู้แสดงหญิง แต่งตัวชุดพื้นเมืองโดยใช้ขิดรัดหน้าอก นุ่งซิ่นพื้นเมือง ใช้ผ้าพันรอบเอว 1 คน แสดงเป็นจุดศูนย์กลางของเชือก และผู้แสดงหญิงที่แสดงเป็นผู้ดึงเชือกแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ประมาณฝ่ายละ 5-6 คนอสวมเสื้อคอกลมแขนกระบอก นุ่งโจงกระเบนผ้ามัดหมี่ ใช้ผ้าแถบพันเอว ใช้ผ้าขาวม้าสอดใต้ระหว่างขามาผูกไว้ที่เอวทางด้านหน้าและหลัง ส่วนผมเกล้ามวยใช้ผ้าพันรอบมวย
เครื่องดนตรี
ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ทำนองผู้ไท (กาฬสินธุ์) ทำนองคอนสวัน
ลำดับขั้นตอนการแสดง
- ผู้แสดงชาย 4 คน ออกมาพร้อมกับผู้แสดงหญิงที่แสดงเป็นจุดศูนย์กลางของเชือก
- ผู้แสดงชายจะตอกหลัก
- ผู้แสดงหญิงออกมาทั้ง 2 ฝ่ายๆ ละ 5-6 คน จะแสดงการดึงเชือกที่จุดศูนย์กลางจะโอนเอนไปตามแรงดึง ขั้นสุดท้ายจะมีฝ่ายหนึ่งชนะที่สามารถดึงจนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งถ้าเอียงไปด้านใดก็ถือว่าด้านนั้นชนะ
ฟ้อนดึงครกดึงสาก
เซิ้งเชียงของ
พิธีเต้าแม่นางข้อง หรือ พิธีเต้าเชียงของ เป็นพิธีโบราณพิธีหนึ่งใช้ขับไล่ภูติผีปีศาจ โดยอาศัยข้องซึ่งเป็นเครื่องจักสานไม้ไผ่ชนิดหนึ่งใช้สำหรับบรรจุสัตว์น้ำ เช่น ปลา กบ หรือแมลง ส่วน "เชียง" เป็นคำในภาษาอีสาน หมายถึง ผู้ที่เคยบวชเป็นสามเณรแล้วลาสิกขาบทออกมา ซึ่งภาคกลางเรียกว่า "ทิด" แต่ชาวอีสานเรียกว่า "เชียง" (ความรู้เพิ่มเติม)
พิธีทำเชียงข้อง เริ่มต้นจากการนำเอาข้องมาตกแต่งให้มีรูปร่างหน้าตาคล้ายคน โดยเอากะลามะพร้าวครอบลงบนปากข้อง จัดการมัดกะลาให้ติดแน่นกับข้องใช้ไม้ 2 - 4 อันมัดข้างๆ เพื่อใช้เป็นที่จับเรียกว่า ขา ใช้ผ้าแดงผุกที่ปากข้องทำเป็นเสื้อผ้า เขียนหน้าเขียนตาและปากที่กะลามะพร้าว
การปลุกเชียงข้องต้องใช้ หมอธรรม ซึ่งหมอธรรมจะจัดเครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน เงิน 6 สลึง เหล้าก้อง ไข่หน่วย ซวยสี่ ซิ่นผืน แพรวา เอาเครื่องสักการะลงในข้องแล้วตั้งจิตอธิษฐานป่าวสัคเค เชิญเทวดามาสิงในข้อง โดยหมอธรรมจะเลือกคนที่มีร่างกายแข็งแรง จิตใจเข้มแข็ง สองคนทำพิธีเสกเป่าไปด้วย พร้อมกันนั้นก็ให้คนทั้งสองจับเซียงข้อง พอเซียงข้องได้รับการเสกเป่าก็จะเริ่มแสดงอาการดิ้น คือ จะแกว่งตัวไปมา โยนตัวไปซ้ายทีขวาที หรือพาคนจับลุกเดินหรือวิ่ง
ชาวบ้านต้องการทราบเรื่องอะไรก็จะซักถาม เช่น ฝนจะตกหรือไม่ หากตกขอให้สูญหรือสั่น หากไม่ตกให้สงบนิ่ง เชียงข้องจะมีอาการตามที่ผู้ถามบอก และถ้าต้องการให้เชียงข้องไล่ผีแม่แล้งให้พ้นไปจากหมู่บ้าน เชียงข้องจะนำคนที่จับไปยังสถานที่มีผีแม่แล้งอาศัย ชาวบ้านจะถืออาวุธต่างๆ เช่น มีด หอก ดาบ ตามไปเพื่อขู่ให้แม่ผีแล้งหนีไป
นอกจากนี้ เชียงข้องยังช่วยตามหาผีปอบ และขับไล่ผีปอบออกไปจากหมู่บ้าน หรือหาของหาย เชียงข้องสามารถหาของที่ถูกขโมยหรือของที่หายไปได้ ถ้าหาไม่พบก็จะบอกทิศทางหรือแนวทางที่จะตามหาของคืนมาได้ การทำพิธีเต้าเชียงข้องอาจจะใช้เวลานานเกือบตลอดวัน แต่ในบางครั้งก็ใช้เวลาเพียงชั่วโมงหรือสองชั่วโมงเท่านั้น
การรำเชียงข้องได้แรงบันดาลใจจากพิธีกรรมดังกล่าว ซึ่งการเซิ้งเชียงข้องเป็นการสะท้อนภาพของพิธีกรรม ความเชื่อต่างๆ ของชาวอีสานออกมาในรูปแบบของการแสดง ประดิษฐ์ท่าฟ้อนโดยอาจารย์ฝ่ายนาฏศิลป์พื้นเมือง วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด ในปี พ.ศ. 2524
เครื่องแต่งกาย
ผู้แสดงใช้ผู้หญิงซึ่งเป็นผู้ถือเชียงข้อง แต่งกายโดยใช้ผ้าแถบรัดอก นุ่งโจงกระเบน ใช้ผ้าขาวม้าพาดสอดใต้หว่างขาไปผูกกับเอวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ใช้ผู้ชาย ๋ 1 คน แต่งชุดแสดงเป็นหมอธรรม
เครื่องดนตรี
ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายแมงตับเต่า
ลำดับขั้นตอนการแสดง
- จะมีหมอธรรมออกมาอัญเชิญเทวดา
- ผู้แสดงหญิงจะถือเชียงข้องออกมาเป็นคู่ๆ
- มีผีออกมา
- หมอธรรมจะปลุกเสกให้เชียงข้องขับไล่ผีออกจากหมู่บ้าน
เซิ้งเชียงข้อง
คลิกไปอ่าน การฟ้อนศิลปาชีพ
- Details
- Written by: Webmaster
- Category: Isan Dance
- Hits: 19659
การฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ
ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
สังคมและวัฒนธรรมแถบลุ่มแม่น้ำโขง ยังคงยึดมั่นกับความเชื่อในเรื่องภูติ ผี วิญญาณ ผีฟ้า ผีแถน ผีปู่ย่าตายาย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ดังนั้น ลูกหลานที่สืบทอดความเชื่อนี้ จะต้องให้ความเคารพและเซ่นสังเวย เพื่อบูชาเป็นประจำทุกๆ ปี ซึ่งเชื่อว่า เมื่อได้ทำการเซ่นสังเวยตามพิธีกรรมแล้ว จะทำให้ผู้ปฏิบัตินั้นได้รับผลดี ถ้าไม่ปฏิบัติแล้วจะให้ร้ายแก่ผู้ไม่ปฏิบัติ ดังนั้น จึงมีการฟ้อนเพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผี วิญญาณ นั้นพึงพอใจ เพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข การฟ้อนเพื่อเซ่นสรวงบัดพลีหรือบูชานั้น สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
การฟ้อนเพื่อบูชา
การฟ้อนเพื่อบูชา นั้น ส่วนใหญ่เป็นการฟ้อนชุดดั้งเดิมที่มีมาแต่โบราณ เพื่อบูชาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นที่นับถือของคนโดยทั่วไป เช่น การฟ้อนผู้ไท เพื่อบูชาพระธาตุเชิงชุมของชาวจังหวัดสกลนคร เพื่อบูชาวิญญาณบรรพบุรุษ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชนกลุ่มนั้น การฟ้อนเพื่อบูชา ได้แก่
ฟ้อนแถบลาน - ฟ้อนบายศรี - เรือมมม๊วต - เชิ้งตูมกาอธิษฐาน
ฟ้อนแถบลาน
ฟ้อนแถบลาน เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มีเชื้อสายลาว ฟ้อนแถบลานนี้ชาวบ้านอำเภอหล่มสักเรียกว่า "รำแขนลาน" เป็นการฟ้อนในเทศกาลเข้าพรรษาและงานทำบุญบั้งไฟ มีวัตถุประสงค์เพื่อบวงสรวงเจ้าพ่อผาแดง ซึ่งสิงสถิตย์อยู่ที่ผาแดง โดยมีความเชื่อกันว่า การฟ้อนแถบลานนี้ จะทำให้เจ้าพ่อผาแดงเกิดความพึงพอใจ แล้วบันดาลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ข้าวปลาอุดมสมบูรณ์ และทำให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข ลักษณะเด่นของฟ้อนแถบลานอยู่ที่การแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ตัดเย็บด้วยแถบใบลาน ที่มีสีสันลวดลายที่งดงาม
การแต่งกาย
ผู้แสดงหญิงล้วน สวมเสื้อแขนกระบอก คอกลม ติดด้วยแถบใบลาน นุ่งผ้าซิ่น โพกศีรษะ สวมเล็บ ติดพู่แดง
เครื่องดนตรี
ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายศรีทันดร
ฟ้อนแถบลาน
ฟ้อนบายศรี
บายศรีสู่ขวัญ หรือ บาศรีสูตรขวัญ เป็นประเพณีดั้งเดิมเก่าแก่ ที่นิยมกระทำกันสืบเนื่องติดต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน ถือว่าเมื่อจัดทำพิธีนี้จะก่อให้เกิดความเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต ซึ่งคำว่า บายศรี ก็หมายถึงการทำสิริให้กับชนผู้ดี สูตรเป็นคำเก่าแก่ หมายถึง การสวด ซึ่งในอันที่จริงแล้ว บาศรีสูตรขวัญนี้เป็นพิธีของพราหมณ์ ส่วนขวัญนั้นเราถือว่าเป็นของไม่มีตัวตน เห็นไม่ได้ จับต้องไม่ได้ แต่เชื่อว่า "ขวัญ" นี้แฝงอยู่ในตัวตนของคนและสัตว์มาตั้งแต่กำเนิด และขวัญนี้จะต้องอยู่ประจำตัวของตนตลอด เวลาตกใจ เสียใจ ป่วยไข้ ขวัญจะหนีไป ซึ่งอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ ฉะนั้นจึงต้องเรียกขวัญ หรือสูตรขวัญ เพื่อให้ขวัญหลับมาอยู่กับตัวจะได้สุขสบาย (อ่านเรื่อง การสูตรขวัญ ได้ที่นี่)
การทำพิธีสู่ขวัญนี้มีทั้งเหตุดีและเหตุไม่ดี เหตุดี ได้แก่ หายจากการเจ็บป่วย จากไปอยู่บ้านอื่นกลับมา ไปค้าขายได้เงินทองมามาก เหตุเหล่านี้ก็มีการทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ ส่วนเหตุไม่ดี ได้แก่ การเจ็บไข้ได้ป่วย คนในครอบครัวเสียชีวิต ประสบอุบัติเหตุ ก็ทำพิธีบายศรีเช่นเดียวกัน ในวรรณกรรมอีสานหลายเรื่องที่กล่าวถึงพิธีบายศรีสู่ขวัญเช่น ในเรื่อง พญาคันคาก
"เมื่อนั้น ภูธรเจ้า พญาหลวงแถนเถือก หรือ
เขาก็ ยาบๆ พร้อม แตกต่างพาขวัญ |
![]() |
การฟ้อนบายศรีสู่ขวัญ เนื่องมาจากพิธีบายศรีสู่ขวัญเมื่อมีแขกมาเยือน ซึ่งเป็นแขกที่มีเกียรติหรือแขกผู้ใหญ่ที่มาจากต่างถิ่น ชาวอีสานจะทำพิธีบายศรีสู่ขวัญเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยมี พานบายศรี หรือที่เรียกว่า "พาขวัญ" การจัดพาขวัญนี้ปกติต้องจัดด้วยพานทองเหลือง หรือขันสัมฤทธิ์หลายใบซ้อนๆ กัน ซึ่งมีตั้งแต่ 1 ชั้นถึง 9 ชั้น มีใบตองจัดเป็นกรวยเข้าช่อ ประดับดอกไม้สดดูสวยงาม
ชั้นล่างของพาขวัญ จะเป็นพานมีใบศรีทำด้วยใบตอง ดอกไม้สด ข้าวต้ม ไข่ต้ม ขนม กล้วย อ้อย ปั้นข้าว เงินฮาง มีดด้ามแก้ว มีดด้ามคำ ชั้นต่อไปจะตกแต่งด้วยใบศรีและดอกไม้สด ซึ่งจะเป็นดอกปาง ดอกดาวเรือง ดอกรัก ใบเงิน ใบคำ ใบคูณ ใบยอป่า
ส่วนชั้นที่ 5 จะมีฝ้ายผูกข้อมือ เทียนเวียนหัว นอกจากพาขวัญแล้วจะต้องมีเครื่องบูชาอื่นๆ เช่น ขันบูชา ขันธ์ 5 ซึ่งมีพานขนาดกลางสำหรับวางผ้า 1 ผืน แพร 1 วา หวี กระจกเงา น้ำอบน้ำหอม สร้อย แหวน ของผู้เป็นเจ้าของขวัญ โดยจะมีพรารหมณ์เป็นผู้ทำพิธีเรียกขวัญ ตามท่วงทำนองของชาวบ้าน ในคำเรียกขวัญนั้นมีทั้งคาถาที่เป็นภาษาบาลี และคำเรียกขวัญภาษาถิ่น หรือที่เรียกว่า "สูตรขวัญ" ซึ่งคำสูตรขวัญนั้นยากแก่การเข้าใจของผู้มาเยือน จึงมีการจัดทำชุดฟ้อนบายศรีขึ้น เพื่อให้คนต่างถิ่นได้เข้าใจ เพราะมีคำร้องที่เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย แต่งโดยอาจารย์ดำเกิง ไกรสรกุล และท่าฟ้อนประดิษฐ์ขึ้นโดยอาจารย์พนอ กำเนิดกาญจน์ แห่งวิทยาลัยครูอุดรธานี ซึ่งในปัจจุบันก็ยังเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ แต่เนื้อร้องอาจจะเพี้ยนจากเดิมไปบ้างดังนี้
"มาเถิดเย้อ มาเยอขวัญเอย มาเย้อขวัญเอย หมู่ชาวเมืองมาเบื้องขวานั่งซ่ายล่าย เบื้องซ้ายนั่งเป็นแถว ยอพาขวัญ ไม้จันทร์เพริศแพร้ว ขวัญมาแล้ว มาสู่คีงกลม เกศเจ้าหอมลอยลม ทัดเอื้องชวนดม เก็บเอาไว้บูชา ยามเมื่อฝนเจ้าอย่าคลาย ยามแดดสายเจ้าอย่าคลา อยู่ที่ไหนจุ่งมารัดด้ายไสยา มาคล้องผ้าแพรกระเจา อย่าเพลินเผลอ มาเยอขวัญเอย มาเย้อขวัญเอย อยู่แดนดินใด หรือฟากฟ้าไกล ขอให้มาเฮือนเฮา เผืออย่าคิดอาศัยซู้เก่า ขออย่าเว้าขวัยเจ้าจะตรม หมอกน้ำค้างพร่างพรม ขวัญอย่าเพลินชม ป่าเขาลำเนาไพร เชิญมาทัดพวงพยอม ทาน้ำหอมให้ชื่นใจ เหล่าข้าน้อยแต่งไว้ ร้อยพวงมาลัยมาคล้องให้สวยรวย" |
หลังจากฟ้อนบายศรีเรียกขวัญแล้ว จะมีการผูกข้อมือด้วยฝ้าย ซึ่งผ่านพิธีกรรมแล้ว ถือว่าเป็นฝ้ายมงคลทำให้อยู่เย็นเป็นสุข

การแต่งกาย
ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน ใส่เสื้อแขนกระบอก นุ่งผ้าซิ่นห่มสไบเฉียง เกล้าผมมวย ทัดดอกไม้
ฟ้อนบายศรีสู่ขวัญ
เรือมมม๊วต
เรือมมม๊วต หรือ โจลมม๊อต เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวสุรินทร์ ซึ่งมีความเชื่อมาแต่โบราณว่า เรือมมม๊วต จะเป็นสิ่งที่จะช่วยให้คนกำลังเจ็บไข้ได้ป่วยให้มีอาการทุเลาลงได้ แม้ว่าจะเป็นพิธีกรรมที่มีมานานมากแล้วก็ตาม ก็ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งชาวสุรินทร์มีความเชื่อว่า ดนตรีนั้นสามารถรักษาคนป่วยให้หายไข้หรือโรคภัยไข้เจ็บได้ อุปกรณ์ประกอบการเซ่นไหว้เหมือนกับการไหว้ครูดนตรี
การเล่นเรือมมม๊วต จะไม่จำกัดจำนวน ในจำนวนผู้เล่นจะต้องมีหัวหน้า หรือครูมม๊วตอาวุโส ทำหน้าที่เป้นผู้นำพิธีต่างๆ เป็นผู้จัดระเบียบแนะนำสั่งสอนทั้งมม๊วตเก่าและมม๊วตใหม่ และเป็นผู้รำตามทำนองเพลง "กาปเป" ไล่เสนียดจังไรทั้งปวง นอกจากนี้ต้องมีพี่เลี้ยงของมม๊วตอีกเท่าจำนวนผู้เล่น เพื่อคอยรับใช้และซักถามม๊วตที่เข้าทรงแล้ว เช่น ถามเรื่องคนป่วย ซึ่งเป็นคนที่เป็นพี่เลี้ยงของมม๊วตนั้น จะต้องเข้าใจภาษาพูดของผู้ทรงมม๊วตเป็นอย่างดี
โอกาสการเล่นมักจะเป็นการเล่นตามประเพณี คือ เป็นการเล่นไหว้ครูหรือตามสัญญาที่ได้กล่าวบนเอาไว้ มักจะเล่นวันที่เป็นสิริมงคล ยกเว้นวันพระ ส่วนเวลาไหนนั้นก็แล้วแต่สะดวกอาจเป็นกลางวันหรือกลางคืนก็ได้ การเล่นมม๊วตอีกอย่างหนึ่งเมื่อมีผู้ป่วยเป็นกระทันหันญาติๆ ต้องให้เล่นเรือมม๊วต ทำนองและจังหวะดนตรีมีดังนี้
- ทำนองและจังหวะไหว้ครูดนตรีใช้ทำนอง ซแร็ยซเติร
- ทำนองและจังหวะไหว้ครูผู้เข้ามม๊วต เรียกว่า โจลมม๊วต ใช้ทำนองเพลงเพลียง
- ทำนองและจังหวะออกรำ ซึ่งท่ารำหรือฟ้อนนั้นก้แล้วแต่ความสามารถของแต่ละคน ใช้ทำนองเพลงบันแซร
- ทำนองและจังหวะรำตามใช้ทำนองเพลงกาปเป
- ทำนองและจังหวะรำ ใช้ทำนองเพลงเซียม มลปโดง อันซอง ซแนญนบ ฯลฯ
- ทำนองและจังหวะเบ็ดเตล้ดประกอบท่ารำของมม๊วต ใช้ทำนองเพลงตัมแร๊ย หม๊วนพลุ ตระเนาะทม็วนแพล และจบลงด้วย จังหวะซาปดาน
เครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีประกอบไปด้วย โทนอย่างน้อย 2 ใบ ตะโพน 1 ใบ ซออู้ขนาดกลาง 1 คัน ปี่อ้อ 1 เลา ปี่ชลัย 1 เลา ฉิ่ง 1 คู่ กรับ 1 คู่
การแต่งกาย
จะใช้ชุดพื้นเมืองของชาวอีสานใต้
เรือมมะม็อต
เชิ้งตูมกาอธิษฐาน
ชาวอีสานมีประเพณีที่สืบทอดกันโดยเฉพาะในวันออกพรรษา คือ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกๆ ปี ชาวอีสานจะมีพิธี จุดน้ำมันตูมกา โดยใช้ลูกตูมกา ฟักทอง หรือกระบอกไม้ไผ่บรรจุน้ำมันมะพร้าว จุดตั้งไว้จนสว่างไสวไปทั่วบริเวณวัดและในหมู่บ้าน ประเพณีการจุดน้ำมันตูมกานี้เป็นการบูชาและระลึกถึงพระพุทธเจ้า และในวันนี้จะมีการกวนข้าวทิพย์ด้วย จากแรงศรัทธาและความประทับใจในประเพณีการจุดน้ำมันตูมกานี้ ทางภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูสกลนคร จึงได้นำมาประยุกต์เป็นรูปแบบของการแสดงที่สวยงามชุดหนึ่ง
เครื่องดนตรี
ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานประกอบ กลองกิ่ง ลายผู้ไท
การแต่งกาย
ผู้แสดงหญิงล้วนแต่งกายพื้นเมืองชาวผู้ไท คือ นุ่งผ้าซิ่นดำมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อดำขลิบแดงเข้ารูปแขนกระบอกผ่าหน้า ติดกระดุมเงินหรือกระดุมสีขาวตลอดแนว สวมเล็บยาวที่ทำจากกระดาษสีติดพู่ที่ปลายเล็บ ห่มสไบเฉียงทิ้งชายด้านขวา ผมเกล้ามวยสูงผูกผ้าแดง
ฟ้อนแถบลาน - ฟ้อนบายศรี - เรือมมม๊วต - เชิ้งตูมกาอธิษฐาน
- Details
- Written by: Webmaster
- Category: Isan Dance
- Hits: 20677
การฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ
ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
สังคมและวัฒนธรรมแถบลุ่มแม่น้ำโขง ยังคงยึดมั่นกับความเชื่อในเรื่องภูติ ผี วิญญาณ ผีฟ้า ผีแถน ผีปู่ย่าตายาย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ดังนั้น ลูกหลานที่สืบทอดความเชื่อนี้ จะต้องให้ความเคารพและเซ่นสังเวย เพื่อบูชาเป็นประจำทุกๆ ปี ซึ่งเชื่อว่า เมื่อได้ทำการเซ่นสังเวยตามพิธีกรรมแล้ว จะทำให้ผู้ปฏิบัตินั้นได้รับผลดี ถ้าไม่ปฏิบัติแล้วจะให้ร้ายแก่ผู้ไม่ปฏิบัติ ดังนั้น จึงมีการฟ้อนเพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผี วิญญาณ นั้นพึงพอใจ เพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข การฟ้อนเพื่อเซ่นสรวงบัดพลีหรือบูชานั้น สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
การฟ้อนเพื่อบูชา
การฟ้อนเพื่อบูชา นั้น ส่วนใหญ่เป็นการฟ้อนชุดดั้งเดิมที่มีมาแต่โบราณ เพื่อบูชาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นที่นับถือของคนโดยทั่วไป เช่น การฟ้อนผู้ไท เพื่อบูชาพระธาตุเชิงชุมของชาวจังหวัดสกลนคร เพื่อบูชาวิญญาณบรรพบุรุษ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชนกลุ่มนั้น การฟ้อนเพื่อบูชา ได้แก่
ฟ้อนแถบลาน - ฟ้อนบายศรี - เรือมมม๊วต - เชิ้งตูมกาอธิษฐาน
เชิ้งผีหมอ
ผีหมอ นั้นเป็นเทวดาที่ลงมาสิงสถิตย์อยู่ในร่างของมนุษย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยขึ้น เช่น มีหญิงกลางคนเกิดล้มเจ็บลงอย่างกระทันหัน แล้วเพ้อว่า "ตัวเอง เป็นเทวดาต้องการมาอาศัยอยู่กับลูกที่กำลังป่วยนี้ ถ้าไม่ให้อาศัยอยู่ก็จะเอาชีวิตผู้ป่วยเสีย" เมื่อญาติๆ ยินยอมตามคำเพ้อของผู้ป่วยๆ เริ่มทุเลาในที่สุดก็หายป่วย ประเพณีบูชาผีหมอจะทำเป็นประจำในราวเดือนสี่ของทุกๆ ปี โดยทำกันในเวลาข้างขึ้น เมื่อจะมีพิธีผีหมอประจำหมู่บ้านก็จะไปบอกข่าวการทำพิธี ณ บ้านต่างๆ ที่สังกัดเข้าผีหมอด้วยกัน
หลังจากนั้น ผีหมอที่อยู่ในหมู่บ้านอื่นเมื่อทราบข่าวก็จะเตรียมอุปกรณ์ ได้แก่ พวงมาลัย ดาบ ปลาแห้ง ให้พร้อม พอถึงวันนัดก็มาพร้อมกับแต่งตัวลงสู่ปะรำพิธี ที่จัดไว้ให้มีการเล่นเกม และฟ้อนรำเป็นที่สนุกสนานยิ่ง
เครื่องแต่งกาย
ผู้หญิงสวมเสื้อคอกลมแขนกระบอก นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ ใช้สไบสีแดงโพกศีรษะ ผู้ชายสวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกงขาก๊วย ใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว
อุปกรณ์การแสดง
จานเล็กๆ ใส่ดอกไม้สีขาว 10 ดอก เทียน ไม้ขีดไฟ ไข่ต้ม มีดดาบ ผ้าสไบ พวงมาลัย ปลาแห้ง
เครื่องดนตรี
ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน
ขั้นตอนการแสดง
- ผู้แสดงหญิงจะเดินถือจานใส่ของออกมานั่ง แล้วหยิบผ้าคาดศีรษะ จุดเทียนเสี่ยงไข่ และเข้าทรง
- ผู้แสดงชายจะออกมาทีละคน แย่งพวงมาลัย ดาบ และปลาแห้ง
- ออกจากทรง
การแสดงฟ้อนเลี้ยงผีหมอ โดย วงสินไซ
ฟ้อนผีฟ้า
ชาวอีสานเชื่อกันว่า มีเทพเจ้าอยู่บนสรวงสวรรค์ มีนามว่า พระยาแถน เป็นผู้สร้างมนุษย์ให้เกิดมาบนโลก และควบคุมความเป็นไปของมนุษย์ เมื่อมนุษย์เกิดมาแล้วจะมีความสุข ความทุกข์ หรือยากดีมีจนก็ขึ้นอยู่กับอำนาจของพระยาแถน และยังมีความเชื่อว่า บนผืนโลกอันกว้างใหญ่นี้ ท่ามกลางป่าสูง หรือป่าดงดิบ แม่น้ำลำคลอง ต้นไม้ใหญ่ ฯลฯ ย่อมจะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิงสถิตย์อยู่ ใครจะทำอะไรก็จะต้องบนบานสานกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เมื่อมีความไม่สบายเกิดขึ้นในครอบครัว รักษาไม่หาย พวกพี่น้องของผู้ป่วยก็เชิญผู้มีวิชาอาคมมาลำ และฟ้อนขับกล่อม เพื่อให้ผู้ป่วยหายขากการป่วยนั้นๆ ซึ่งสิ่งนี้เองที่ชาวบ้านเรียกว่า "ผีฟ้า" การลำผีฟ้ามีอยู่ 2 ลักษณะคือ
- ลำเพื่อบวงสรวงบูชาผีบรรพบุรุษ ซึ่งเรียกว่า ผีโคตร หรือ ผีต้นตระกูล ซึ่งจะอาสัยอยู่ตามบ้าน ตามเล้า ตามตุ่มน้ำ หรือตามครกมอง ปีหนึ่งๆ จะต้องเลี้ยงครั้งหนึ่งในราวเดือนหก หรือเดือนเจ็ด ดังกลอนลำว่า
เดือนหกตั้งสังขารดอกไม้ใหญ่
มาชมดวงดอกไม้สเลเตชมพั๊วดอกหุ่ง
ลงมาเล่นผามเพียงเย็นเลี้ยงข่วง
เอาเดอ เอาเดอ เฮาเอย
ลงมาเล่นกันตำบักหุ่งติ่ง
หัวค่อยๆ ย่านแอวมองหัก
หัวแฮงๆ ย่านแอวมองขาดเคิ่ง
ดึกดื่นแล้วแมลงภู่หาบ่อนนอน
แมงซอนหาบ่อนซ้นคนจนหาบ่อนเพิ่ม เอาเดอ - ลำเพื่อรักษาคนป่วย ซึ่งเป็นการลำเพื่อสอดส่องหาสาเหตุแห่งความเจ็บป่วย ผู้ลำหรือหมอลำที่ชาวบ้านสามารถติดต่อกับภูติผี วิญญาณหรือเทวดาได้ หมอลำจะเริ่มพิธีด้วยการคุกเข่าตรงหน้าเครื่องบูชา กราบลงแล้วเชิญผีฟ้าให้มารับเครื่องบูชา หมอลำผีฟ้าก็จะลำจนทราบสาเหตุแห่งการเจ็บป่วย ถ้าสาเหตุนั้นเกิดจากผีฟ้า หมอลำผีฟ้าก็จะขับลำนำอ้อนวอนให้ผีฟ้าออกจากร่างของผู้ป่วย ในขณะที่หมอลำผีฟ้าลำอยู่นั้น บริวารผีฟ้าก็จะฟ้อนบูชาผีฟ้าไปด้วย หมอแคนก็จะเป่าแคนประกอบการลำ ผู้ป่วยบางรายก็จะลุกขึ้นฟ้อนตามบริวารผีฟ้า และเมื่อรักษาจนหายการเจ็บป่วยแล้ว จะต้องเป็นบริวารของผีฟ้าต่อไป ตัวอย่างกลอนลำอ้อนวอนผีฟ้า
ขอนำฮ่องคองคูมาฮอดพ่อ
รินทองท้าวนางกองคำให้เจ้านำส่งพ่อเด้อนางเอย
มาเดอแก้วกองคำพวงหมากหล่ำ
มาฮอดแล้งบ่อนไข้กะให้ลง
บ่อนโพงกะให้แวบ
กินเข้ากะให้ตกท้องหนา
กินปลาก็ให้ตกท้องน้อง
คันเจ้าให้แซบซ้อนเมือหน้าสิบ่เอา
วันผัดอย่าให้กลายวันหมายอย่าให้ชุด
ผัดหมายให้วันลุนฮอดมื้ออื่น
ตื่นมื้อเช้าเมือหน้าให้ส่วงเซา
หมอว่านให้หาว่านมาทา
ยาฮากไม้ทางไว้ให้ส่วงหาย
การลำผีฟ้า เพื่อรักษาคนป่วยนั้นจะต้องมีลำดับขั้นตอนดังนี้
- เมื่อครอบครัวใดเกิดมีผู้ป่วยซึ่งรักษาไม่หาย ญาติของผู้ป่วยก็จะไปหาหมอลำผีฟ้า เพื่อเชิญมาดูอาการว่าจะมีเทิง (ผีฟ้า) มาสิงอยู่หรือไม่ หรือถ้าไม่มีใครมาสิงก็จะดูอาการเจ็บป่วยนั้นเกิดจากอะไร จะใช้วิธีใดในการรักษา
- การทำพิธีจะต้องกระทำบนบ้านของผู้ป่วย โดยมีญาติผู้ป่วยอยู่ในพิธีนั้นด้วย หมอลำผีฟ้าจะมากับบริวารของหมอลำผีฟ้า (คือ คนที่หมอลำผีฟ้ารักษาหายแล้ว) และหมอแคน
- หมอลำผีฟ้าจะเริ่มต้นด้วย การตั้งเครื่องบูชาพระยาแถน ด้วยเครื่องบูชาที่มีอุปกรณ์ดังนี้ บายศรีหมากเบ็ง 1 ต้น เหล้า ไข่ ขัน 5 ผ้าแพรวา เงิน แล้วแต่หมอจะเรียก โดยปกติ 6 บาท หรือหนึ่งตำลึง ด้ายผูกแขน
- การประกอบพิธีมีดังนี้ ให้คนป่วยนั่งอยู่ซ้ายสุดนั่งพับเพียบ พนมมือ ถือกรวยดอกไม้ หมอลำผีฟ้ากราบลง 3 ครั้ง แล้วจะทำพิธีเสี่ยงทายไข่ว่า พระยาแถนจะลงมาเข้าทรงหรือไม่ โดยจะนำไข่มาวางลงในมือคนป่วย แล้วหมอลำผีฟ้าจะลำอัญเชิญพระยาแถนลงมา หากท่านลงมาสู่พิธีไข่ไก่จะค่อยๆ กระดกตัวขึ้น แต่ถ้าพระยาแถนไม่ลงมาไข่ไก่จะนอนอยู่อย่างนั้นตลอดไป วิธีอัญเชิญนั้นจะมีการลำเพื่อขอร้องและการฟ้อนประกอบ
พระยาแถนเข้าทรงจะสังเกตได้จากการที่หมอลำขนลุก แล้วหมอลำก็จะ "ลำส่อง" เป็นการลำเพื่อหาสาเหตุของการป่วย เมื่อทราบสาเหตุแล้วจะมีการ "ลำปัว" หรือลำรักษาดังเนื้อหาของกลอนลำข้างต้น โดยจะกล่าวถึงการขอโทษที่ทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงแต่งคายเพื่อขอขมา และขอให้คนป่วยหาย ช่วงนี้จะมีการฟ้อนประกอบ โดยหมอลำผีฟ้าจะฟ้อนก่อน แล้วบริวารของผีฟ้าก็จะฟ้อนตาม ในบางครั้งผู้ป่วยก็จะลุกขึ้นฟ้อนตาม สุดท้ายคือการ "ลำส่ง" คือให้สัญญาว่าจะทำทุกอย่างที่ผีต้องการ เสร็จแล้วหมอลำผีฟ้าจะให้น้ำมนต์แก่ผู้ป่วยดื่ม เอาด้ายผูกแขนให้เป็นอันเสร็จสิ้นการฟ้อนผีฟ้า และวันถัดไปญาติของคนป่วยอาจทำพิธีสะเดาะเคราะห์ให้อีกก็ได้
ฟ้อนผีฟ้า มีประวัติความเป็นมาอันเก่าแก่ยาวนาน ทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม เห็นว่า นิสิตปัจจุบันควรได้เรียนรู้เกี่ยวกับพิธีกรรมสมัยโบราณ เพื่อเป็นการสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามนี้ไว้
การแต่งกาย
การแต่งกายของหมอลำผีฟ้าจะสวมผ้าซิ่นไหม เสื้อแขนกระบอก ห่มผ้าสไบ บริวารก็แต่งตัวเรียบร้อยแบบชาวบ้านทั่วไป
เครื่องดนตรี
ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน โดยเฉพาะแคน
ฟ้อนไทยดำ
ชาวไทดำ เดิมอาศัยอยู่แถบเมืองเชียงขวาง เมืองแถง เมืองไล และเมืองลอ ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาว ได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยในช่วงที่มีการปราบฮ่อ ราวรัชกาลที่ 5 ในปัจจุบันชาวไทดำ ตั้งถิ่นฐานที่หมู่บ้านป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
สำหรับชาวไทดำจะนับถือและบูชาพระยาแถน บรรพบุรุษและผีต่างๆ มาก ชาวไทดำมีความเชื่อว่า คนทุกๆ คนนอกจากประกอบไปด้วยร่างกายแล้ว ยังประกอบด้วยอีกส่วนหนึ่งก็คือ ขวัญ (วิญญาณหรือจิต) และเชื่อว่าคนที่เจ็บไข้ได้ป่วยนั้นเกิดจาก การที่ขวัญไม่อยู่กับตัวเองหรือขวัญได้หนีหายไป จะต้องมีพิธีตามหาขวัญหรือเรียกขวัญให้กลับคืนมา ในพิธีการเรียกขวัญนี้ต้องอาศัยหมอผี ซึ่งชาวไทดำเรียกว่า มด โดยหมอผีจะเชิญผีต่างๆ ให้ไปตามหาขวัญกลับมา
ในการเชิญผีชนิดใดนั้นต้องขึ้นอยู่กับว่าขวัญนั้นจะไปตกอยู่ที่ใด เช่น ขวัญไปอยู่ตามป่าตามเขาก็จะอัญเชิญผียะวาย ซึ่งเป็นผีเจ้าป่าเจ้าเขาเป็นผู้ตามหาขวัญให้กลับมา แต่ถ้าขวัญตกน้ำก็จะเชิญผีกองกอยตามหาขวัญ ซึ่งเมื่อตามหาขวัญกลับมาได้แล้ว คนไข้ก็จะหายจากการเจ็บป่วย และเมื่อถูกรักษาหายก็จะเป็นลูกเลี้ยงของหมอผีไป
เมื่อครบรอบ 4 ปี หมอผีจะจัดพิธีเลี้ยงผีขึ้น ซึ่งชาว ไทดำเรียกพิธีนี้ว่า การแซปาง หรือ ชมปาง โดยหมอผีจะอัญเชิญเทพเจ้าต่างๆ ที่ชาวไทดำนับถือลงมาชมปางก่อน แล้วค่อยอัญเชิญผีชนิดต่างๆ ลงมาชมปาง ในพิธีนี้ชาวไทดำทุกคนจะต้องมาร่วมพิธี ซึ่งมีการจัดหาเครื่องดนตรี มีการจัดเลี้ยงและฟ้อนรำ
เรือมปัญโจล
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ นำโดย ผศ.ภูมิจิตร เรืองเดช และอาจารย์ผกา เบญจกาญจน์ ได้ไปเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพิธีกรรมที่เรียกว่า "บองบ๊อด" ที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งพิธีกรรมบองบ๊อด นี้เป็นพิธีกรรมที่จะใช้รักษาคนไข้ คำว่า "บองบ๊อด" แปลว่า รักษาคนไข้ ก่อนการรักษาตามพิธีการ จะเริ่มจากผู้ทำพิธีจะต้องเป็นผู้ที่ถือศีล และปฏิบัติตนในทางที่ดีงามอยู่เสมอ ในการรักษา เมื่อคนทรงเข้าสู่โรงพิธีก็จะจุดธูปเทียน ท่องคาถาอัญเชิญเทวดาให้มาประทับทรง เมื่อประทับทรงแล้วคนทรงก็จะฟ้อนไปรอบๆ ในลักษณะสี่ทิศ
เมื่อไหว้ครูแล้ว คนทรงซึ่งส่วนใหญ่มีอายุมากอาจเหนื่อย ก็มอบให้ศิษย์ต่อซึ่งเทพก็จะเข้ามาสิงสถิตย์ที่ตัวลูกศิษย์ ศิษย์ก็จะร่ายรำในลักษณะต่างๆ ที่ช่วยในการรักษาคนไข้ คนไข้ที่ได้รับการรักษาอาจจะเกิดอารมณ์ร่วม ลุกขึ้นฟ้อนไปกับคนทรงก็ได้ การรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีการเข้าทรงนี้ มิได้มุ่งหมายให้คนป่วยนั้นหายขาดจากโรคภัย แต่เป็นการเพิ่มพูนกำลังใจให้กับผู้ป่วย
เรือมปัลโจล หรือ ฟ้อนเทพประทับทรง นี้ ผู้ทรงจะร่ายรำออกไปเอง โดยมิได้มีการฝึกซ้อมมาก่อน ทางวิทยาลัยครูบุรีรัมย์ จึงได้นำท่าฟ้อนมาประดิษฐ์เป็นชุดฟ้อน "เรือมปัลโจล" ขึ้น โดยอาสัยเค้าเดิม พร้อมปรับปรุงขบวนฟ้อน และท่าฟ้อนให้เกิดความสวยงามยิ่งขึ้น
เครื่องแต่งกาย
ใช้ผู้แสดงหญิงล้วน นุ่งผ้าวิ่นกรอมเท้า ห่มผ้าแถบพันรอบอก ห่มสไบทับด้านหน้าไว้หาง 2 ชาย ด้านหลังคาดเข็มขัดเงินทับ ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ ให้ผู้แสดงถือขันบายศรี หรือขันหมากเบ็ง
ลำดับขั้นตอนการแสดง
ท่าฟ้อน "เรือมปัลโจล" ผู้แสดงจะถือขันหมากเบ็งออกมานำหน้า คนทรงและลูกน้องจะเริ่มอัญเชิญเทวดาหรือเทพเพื่อประทับทรง เมื่อเทพประทับทรง หัวหน้าคนทรงก็จะมอบต่อไปยังลุกน้อง หรือศิษย์ ต่อไปก็เป็นการฟ้อนพร้อมๆ กัน โดยแสดงการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น เท้า ข้อมือ ไหล่ หัวเข่า การใช้ลำตัว ฯลฯ
เครื่องดนตรี
ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้วงกันตรึม ทำนองเพลงกัญจังเจก อาไยกัด เชิ๊บจ๊ะซ์
เรือมโจลมะมด (รำเข้าทรง)
ฟ้อนแถบลาน - ฟ้อนบายศรี - เรือมมม๊วต - เชิ้งตูมกาอธิษฐาน