คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
คำอีสาน | ความหมาย |
ห้ง | ก. ขัง น้ำฝนที่ตกลงมาแล้วขังอยู่เรียก น้ำห้ง เช่น น้ำห้งฮอยควยพอออเจาะแอแจะ (น้ำขังในรอยเท้าควายพอมองเห็น) |
หงวย | ก. เอน เอนจนล้มลง เรียก หงวย |
หง้าง | ก. แยก ถ่าง กางออก เช่น ถ่างขาออกจากกัน เรียก หง้างขา |
หงำ | 1ก. บัง ข่ม ครอบ เช่น ต้นไม้ใหญ่ในนา บดบังแสดงแดดไม่ส่องลงถึง ข้าวในนา ก็เรียก ต้นไม้ใหญ่หงำนา 2ก. อาฆาต มาดร้าย |
หนหวย | ว. รำคาญ ไม่สบายใจ หงุดหงิด กังวลใจ |
หน้าเค่ง | น. หน้าบึ้ง หน้าตึง เกิดเพราะความโกรธจัด |
หน้าถั่งดังคม | น. หน้าตาคมคาย |
หนิ้ง | ก. เกี่ยง เกี่ยงงอน ทำแง่งอน ทำโดยไม่เต็มใจ เรียก หนิ้ง |
หม้อง | น. บริเวณ ย่าน แถว บริเวณที่เป็นหลุมเล็ก ๆ ตื้น ๆ เรียก หม้อง |
หม้อต้อ | ว. คนที่มีรูปร่างเตี้ยและอ้วน เรียก สั้นหม้อต้อ ต้อหม้อ ก็ว่า |
หมิดแหมว | ว. แผ่วเบา เสียงที่เปล่งออกมาแผ่วเบา เรียก เสียงหมิดแหมว |
หมึ้งหมึ้ง | ว. อาการหลับตาของคนหรือสัตว์ตัวตาโต เช่น หมีหลับตากินผึ้ง เรียกว่า หลับตาหมึ้งหมึ้งคือหมีกินเผิ้ง |
หมึน | ก. ฉุน โกรธ คนโกรธแสดงอาการหน้าบึ้งตึง เรียก คนหมึน |
หย่องย้อ | ว. อาการนั่งชันเข่า ยกก้น เรียก นั่งหย่องย้อ |
หลายเติบ | ว. มากโข ของที่มากจนไม่อาจจะนับจะประมาณได้ คือไม่สามารถบอก จำนวนที่แน่นอนได้ |
ห้าน | ก. เขยก คนขาเขยก เรียก คนขาห้าน |
ห้าว | ก. คึกคะนอง สัตว์คึกคนอง เรียก สัตว์ห้าว คนแก่คนอง เรียก หัวหงอกห้าว |
เหิ่ม | ว. ห่าม ผลไม้ห่าม เรียก เหิ่ม เช่น มะม่วงจวนจะสุก เรียก หมากม่วงเหิ่ม มะละกอจวนจะสุก เรียก บักหุ่งเหิ่ม |
โหย้น | ก. โล้ ไกว โล้ชิงช้า เรียก โหย้นโอ้นซา (ชิงช้า โบราณเรียก โอ้นซา) |
คำอีสาน | ความหมาย |
ส่วนใหญ่ ใช้ในคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต ในคำภาษาอีสานไม่มี |
คำอีสาน | ความหมาย |
อ่ง | ก. ถือตัว หยิ่ง ทะนง อย่างว่า สาวนางหล้าหันมาอย่าสิอ่งหลายเด้อ (น้องหันหน้ามาหน่อยอย่าหยิ่งนักเลย) |
อ่งต่ง | ว. เปล่งปลั่ง แก้มที่มีลักษณะอวบอัดเปล่งปลั่ง เรียก แก้มอ่งต่ง |
อ่งล่ง | ว. ลักษณะของสิ่งของที่พองโตไหลไปตามน้ำ เรียก ลอยอ่งล่ง ลอยโอ่งโล่ง ก็ว่า ถ้ามีขนาดเล็กว่า ลอยอ่องล่อง |
ออนชอน | ว. เพราะพริ้ง สวย งาม น่ารัก |
อ้อนต้อน | ว. การใช้ไม้หามข้างเดียวเรียก คอน สิ่งของที่คอนไปขนาดเล็กเรียก อ้อนต้อน ถ้าขนาดใหญ่ เรียก โอ้นโต้น |
อ่อม | น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง ใส่น้ำเพียงเล็กน้อย ใช้สำหรับจ้ำ เรียก อ่อม เช่น อ่อมปลา อ่อมกบ อ่อมเขียด อ่อมฮวก |
อ้อยซ้อย | ว. บริสุทธิ์ ผุดผ่อง สดใส |
อั่ง | ว. คับ แออัด แออัดยัดเยียด เรียก อั่ง |
อั่ว | น. ชื่ออาหารคาวชนิดหนึ่ง เอาเครื่องปรุงยัดเข้าไป เรียก อั่ว ยัดเข้าใส้หมู เรียก อั่วหมู ยัดเข้าใส้วัว เรียก อั่วงัว ยัดเข้าท้องกบ เรียก อั่วกบ อั่วทุกชนิดเป็นอาหารที่มีรสอร่อย |
อ้าย | น. พี่ชายคนเกิดก่อน เรียก อ้าย เรียกผัวของพี่สาวว่า พี่อ้าย เรียกพี่สาวของตนเองว่า พี่เอื้อย หรือเรียกเดือนแรกของปีว่า เดือนอ้าย |
อี่หลี | ว. จริง ๆ จัง ๆ เช่น คักอีหลี แม่นอีหลี |
เอดเปด | ว. เรียกสิ่งของที่มีลักษณะใหญ่และแบน ติดอยู่ตามแข้งขาหรือที่ใดที่หนึ่งว่า ติดเอดเปด ถ้าเล็กเรียก ติดแอดแปด |
เอดเลด | ว. เรียกสิ่งของที่มีลักษณะเหนียวหนืด เช่น ขี้มูกติดอยู่ตามแก้มเด็กว่า ติดเอดเลด ถ้าจำนวนเล็กน้อย เรียก ติดแอดแลด |
เอิ้น | ก. เรียก ร้อง ป่าว ประกาศ อย่างว่า เพิ่นบ่เอิ้นอย่าขาน |
โอ้อ่าว | ก. คำนึงถึง คิดถึง รำพึงถึง |
คำอีสาน | ความหมาย |
ฮก | ว. รก รุงรัง ไม่เตียน สถานที่ที่เต็มไปด้วยสิ่งของที่ไม่ต้องการ เรียก ที่ฮก |
ฮวก | น. ลูกกบหรือลูกเขียดตัวเล็ก ๆ มีหาง เรียก ฮวก ลูกกบเรียก ฮวกกบ ลูกเขียดเรียก ฮวกเขียด |
ฮอด | ก. ถึง ไปถึง เรียก เดินฮอด คิดถึง เรียก คึดฮอด |
ฮีด | ก. รีด บีบให้ยาวออกไป เรียก ฮีด |
ฮีต | น. จารีต กฎ ระเบียบ ประเพณี สิ่งที่ประพฤติปฏิบัติมาเป็นเวลานาน เรียก ฮีต ฮีตนั้นไม่จำเป็นจะต้องมีบทบังคับเหมือนกฎหมาย เพียงแต่ให้ทุกคนมีแนวปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อความสามัคคีปรองดองในหมู่คณะ |
โฮม | ก. รวม ชุมนุม ประชุมกัน เช่น พวกเฮามาโฮมกันอยู่หม้องนี้ |
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)