foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
อากาศร้อนชนิดทะลุ 40 องศามาตลอดเดือนเมษายน และน่าจะลากยาวไปจนถึงปลายเดือนพฤษภาคม โปรดระวังพายุฤดูร้อนหรือลมหัวกุดบ้านเฮาที่จะมาพร้อมฝนและลูกเห็บ ฟ้าผ่า พัดเอาหลังคาบ้านเรือนกระจายไปไกลได้ ฟ้าดินลงโทษวิปริตผิดคาดก็เพราะพวกเรานี่แหละที่ตัดไม้ทำลายป่า เผาไร่เผานา จนโลกร้อนขึ้นทุกวัน รวมทั้งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้หมดไป ไม่ปลูกสร้างป่าทดแทน ถึงเวลาแล้วที่พวกเราต้องมาช่วยกันรักษ์โลกนี้ไว้ให้ลูกหลาน...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

prawat header

wat nong papong 02

20. สุนัขก็อยู่ด้วยไม่ได้

หลังจากหลวงพ่อและคณะพำนักอยู่ที่ดงป่าพงได้เดือนกว่า แม่พิมพ์ มารดาของหลวงพ่อ ซึ่งมาอุปัฏฐากช่วยเหลืองานวัดพร้อมกับฝึกหัดภาวนาอยู่เป็นประจำ ได้เกิดศรัทธาในปฏิปทาของพระลูกชาย และเลื่อมใสในคำสอนทางพุทธศาสนามาก จึงชักชวนญาติมิตรอีก 3 คนมาบวชชีที่ป่าพง และได้ร่วมทุกข์ยากลำบากกับพระในรุ่นบุกเบิกนั้นด้วย

วัดหนองป่าพงในสมัยนั้น ผู้คนเข้าวัดน้อยมาก เพราะอยู่ในถิ่นกันดาร ไม่มีใครรู้จัก รวมทั้งชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ และไม่สนใจความเป็นอยู่ของพระป่า หลวงพ่อกับคณะจึงต้องเผชิญ กับปัญหารอบข้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

cha 12นับตั้งแต่เรื่องอาหารขบฉัน ซึ่งหลวงพ่อฟื้นความหลังให้ฟังว่า...

"สมัยนั้น แม้สุนัขก็อยู่ด้วยไม่ได้ ไม่ใช่มันถูกเตะถูกตีหรอก มันไม่มีอะไรจะกิน เพราะอาหารของพระ ก็แทบจะไม่พอจะฉันอยู่แล้ว เมื่อพระฉันเสร็จก็เดินกลับกุฏิกันหมด สุนัขวิ่งตามไป พระท่านก็ขึ้นกุฏิปิดประตูเงียบ สุนัขมันก็กลัว ไม่รู้จะอยู่กับใคร มันจึงอยู่ไม่ได้ แต่คนอยู่ได้ คิดแล้ว ก็สลดสังเวชเหมือนกัน"

บางวันไปบิณฑบาตได้กล้วยมาสามลูก หลวงพ่อจะหั่นกล้วยเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วแบ่งกันฉันอย่างทั่วถึง โดยไม่ทิ้งแม้แต่เปลือก หากมีน้ำพริกมาด้วย วันนั้นถือว่าโชคดี แม่ชีจะเก็บผักกำโตๆ มาถวาย แล้วแบ่งน้ำพริกกันคนละนิดฉันกับผักนั้น ด้วยความรู้สึกที่ดีกว่าทุกวัน

ผ้าไตรจีวร ขัดสนมาก ต้องเก็บเอาเศษผ้าทีทิ้งแล้วมาใช้ สิ่งของเครื่องอาศัยต่างๆ เช่น สบู่ ผงซักฟอก รองเท้า เทียนไข ไม้ขีดไฟ ไม่มีเลย ยามค่ำคืน อาศัยแสงเดือนแสงดาวที่ส่องลอดใบไม้ ลงมาแทนแสงโคมไฟส่องทางเดินจงกรม บางครั้งพระเณรเหยียบงูบ่อยๆ แต่ไม่ปรากฏว่ามีใคร เคยถูกงูกัด

หลวงพ่อเล่าว่า "คืนข้างแรมมืดตึ๊ดตื๋อ เวลาจะลงจากกุฏิ ก็พนมมือยกขึ้นเหนือหัว สาธุ ด้วยอำนาจแห่งคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สัพเพ สัตตา สุขิตา โหนตุ ขอสัตว์ทั้งหลาย ทั้งปวง จงเป็นสุขๆ ทุกตัวตนเถิด อย่าเข้ามาใกล้นะ เวลากลางคืนมันมืดอย่างนี้ มองไม่เห็นอะไร ไม่มีไฟส่อง เดี๋ยวเหยียบเอาจริงๆ นะ"

มีพระรูปหนึ่ง มีธุระลงจากกุฏิไปศาลาในตอนกลางคืน พอเดินไปได้ไม่ไกล ชนเอาต้นงิ้วหนาม หน้าช้ำหมด แต่ไม่มีใครปริปากบ่นถึงความทุกข์ยากนั้น

ในสมัยนั้น ป่าพงมีไข้มาลาเรียชุกชุมมาก พระเณรรวมทั้งแม่ชีป่วยเป็นไข้มาลาเรียกันแทบทุกรูป ยารักษาที่มีและดีที่สุดในยามนั้นคือ น้ำบอระเพ็ดต้ม แม้ไข้ขึ้นสูงจนตัวสั่น ไม่มีใครยอมไปหาหมอ ต่างใช้ความอดทนต่อสู้กับภัยนั้นเรื่อยมา

หลวงพ่อมักพูดให้กำลังใจแก่พระเณรว่า

อดทนเอานะ พระกรรมฐานไม่ต้องกลัว ถ้าตาย ผมจะเผาให้
ถ้าผมตายก็ให้เพื่อนเผาผมด้วยนะ อย่าเอาไว้เลย มันทุกข์  "

ครั้งหนึ่ง พระป่วยเป็นไข้มาลาเรียอย่างหนัก พอตกกลางคืนนอนหนาวจับสั่น อาการหนักขึ้นเรื่อย จึงรำพึงกับตัวเองว่า "เราคงต้องตายวันนี้แน่!" เมื่อคิดวกไปวนมาหลายรอบ คิดได้ว่า ถ้าเราอยู่ที่กุฏินี่คงจะตายอยู่คนเดียว ไม่มีใครรู้ ออกไปหาเพื่อนดีกว่า คิดได้ดังนั้นแล้วก็วิ่งออกไป ทั้งที่ไฟส่องทางไม่มี

พระรูปนั้น วิ่งไปบนไม้แห้ง ชนกิ่งไม้หักไปตลอดทาง เกิดเสียงดังผิดปกติ หลวงพ่อจึงออกมาดู แล้วถามว่า "ใคร เป็นอะไร ?"

"ผมเองครับ... ผมป่วยหนัก เลยจะออกมาหาเพื่อน"

"เออ... ถูกแล้ว... คนป่วยต้องมาหาหมอ จะให้หมอไปหาคนป่วยจะถูกหรือ ?"

จากนั้น ก็ช่วยกันพยาบาลพระรูปนั้นตามมีตามได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ปรากฏว่า พระ เณร วัดหนองป่าพงป่วยเป็นไข้มาลาเรียตายสักที

อยู่ต่อมา หลวงพ่อป่วยเป็นมาลาเรียหนักมาก ท่านออกมานอนบนแคร่ใต้ร่มไม้หน้ากุฏิ อาการไข้สูงขึ้นเรื่อยๆ จนเนื้อตัวเขียวคล้ำ พระเณรไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะหลวงพ่อไม่ให้เอ่ยถึง โรงพยาบาลและหมอ จึงพากันฝนยาสมุนไพรให้ท่านฉันแล้วนั่งเฝ้าอยู่อย่างนั้น

lp cha 05

สักพักหนึ่ง อาการไข้ขึ้นถึงที่สุด หลวงพ่อลุกขึ้นนั่งโยกไปโยกมา แล้วคว้าขันน้ำยาสมุนไพรที่ตั้งไว้ข้างตัว ยกขึ้นเทราดศีรษะท่านเอง หลวงพ่อเที่ยงนั่งอยู่ข้างๆ จับไว้ไม่ทัน เนื้อตัวหลวงพ่อเปียกปอนไปหมด จากนั้นท่านก็นั่งสมาธินิ่งเงียบไป

หลายวันต่อมา อาการของหลวงพ่อดีขึ้น แต่โรคร้ายกลับหันไปเล่นงานลูกศิษย์แทน ไม่เว้นว่าพระเณรหรือแม่ชี ป่วยหนักกันแทบทุกคน

ครั้งหนึ่ง หลวงพ่อจันทร์ อินฺทวิโร (พระครูบรรพตวรกิต เจ้าอาวาสวัดบึงเขาหลวง สาขาที่ 2 ของวัดหนองป่าพง) ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นแรกๆ ได้อยู่ร่วมเคียงข้างหลวงพ่อมาโดยตลอด จนวันหนึ่ง หลวงพ่อจันทร์ป่วยเป็นไข้มาลาเรียนอนซมอยู่หลายวัน หลวงพ่อเห็นป่วยนานผิดสังเกต จึงไปเยี่ยมดูอาการที่กุฏิ เพื่อพูดคุยให้กำลังใจ แล้วได้ถามว่า...

ท่านจันทร์ต้องการอะไรไหม ? ถ้าเป็นของที่พอหาได้ ผมจะหามาให้ "

หลวงพ่อจันทร์ตอบทันทีว่า "กระผมอยากฉันต้มไก่ใส่หัวข่าครับ"

"มันก็บ่มีแล้ว...ว...ว" หลวงพ่อลากเสียง

pp 3
พระอุโบสถวัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ต่อมา หลวงพ่อจันทร์ออกไปอยู่วัดสาขาแล้ว เมื่อมีโอกาสมาเยี่ยมหลวงพ่อที่วัดป่าพง ถ้าวันไหนได้นั่งฉันอาหารร่วมกัน แล้วมีชาวบ้านนำต้มไก่มาถวาย หลวงพ่อมักจะพูดสัพยอก หลวงพ่อจันทร์ว่า

เออ... วันนี้ผมขอต้มไก่ถวายท่านอาจารย์จันทร์ด้วยนะ.. ผมเป็นหนี้ท่าน
ตั้งแต่สมัย ท่านป่วยเป็นไข้มาลาเรียคราวนั้น ยังไม่ได้ใช้หนี้ท่านเลย... "

พูดแล้วหลวงพ่อก็หัวเราะไปด้วย ทำเอา หลวงพ่อจันทร์และพระเณรในโรงฉันอมยิ้มไปตามๆ กัน

redline

arr 1larr 1uarr 1r

prawat header

sweep

19. ป่

ยามบ่ายของวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 หลวงพ่อกับคณะเดินทางมาถึงดงป่าพง ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านก่อไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร คืนแรกคณะพระธุดงค์ได้พักที่ริมหนองน้ำชายป่า

ดงป่าพงในสมัยนั้น มีสภาพเป็นป่าทึบ รกร้าง ชุกชุมด้วยไข้ป่า ในอดีตป่าพงเป็นดงใหญ่ มีแหล่งน้ำอันอุดมสมบูรณ์ เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ชาวบ้านเรียกดงดิบนี้ว่า หนองป่าพง เพราะใจกลางป่ามีหนองน้ำใหญ่ที่มีกอพงขึ้นอยู่หนาแน่น

wat nong papong 02

ต่อมาบริเวณผืนป่าส่วนใหญ่ถูกทำลายหมดไป ยังคงเหลือเพียงส่วนที่เป็นบริเวณวัดใน ปัจจุบันเท่านั้น สาเหตุที่ป่าส่วนนี้ไม่ถูกบุกรุกถากถาง เพราะชาวบ้านเชื่อถือกันว่า มีอำนาจลึกลับ แฝงเร้นอยู่ในดงนั้น เพราะปรากฏอยู่เสมอว่า คนที่เข้าไปทำไร่ตัดไม้หรือล่าสัตว์ เมื่อกลับออกมา มักมีอันต้องล้มตายไปทุกราย โดยที่หาสาเหตุไม่ได้ ชาวบ้านจึงพากันเกรงกลัวภัยมืดนั้น ไม่มีใครกล้าเข้าไปทำลาย หรืออาศัยทำกินในป่านี้เลย ดงป่าพงจึงดำรงความเป็นป่าอยู่อย่างสมบูรณ์

วันถัดมา ผู้ใหญ่ลาพี่ชายหลวงพ่อ มานิมนต์ให้เข้าไปสำรวจหาที่พักในป่าใหญ่ ญาติโยม พาหลวงพ่อเดินบุกป่า ฝ่าหนาม เข้าไปอย่างยากลำบาก กระทั่งถึงดงมะม่วงใหญ่ (อยู่ด้านทิศใต้ ของโบสถ์ในปัจจุบัน) หลวงพ่อเดินสำรวจดูรอบๆ บริเวณนั้น แล้วบอกให้ชาวบ้านช่วยปรับที่บนจอมปลวกเก่าๆ ใช้เป็นที่พัก ส่วนพระเณรและผู้ติดตามก็กางกลดอยู่รายรอบ

แผนผังแสดงอาณาเขตวัดหนองป่าพง
pp 1

คืนต่อมา ผู้ใหญ่ลาได้พากำนันและชาวบ้านกลุ่มหนึ่งมาพบหลวงพ่อ เพื่อปรึกษาหารือเรื่องสถานที่ หลังจากสนทนากันสักครู่หนึ่ง หลวงพ่อได้ถามกำนันและญาติโยมว่า "ที่นี่สมควรเป็น ที่พักสงฆ์ไหม ?"

"สมควรมากครับ" ทุกคนตอบอย่างยินดี

wat nong papong 04

หลายวันต่อมา ชาวบ้านก่อและบ้านกลาง ก็มาร่วมแรงร่วมใจกันสร้างกุฏิหลังเล็กๆ ให้สี่หลัง ใช้หญ้าคามุงเป็นหลังคา กั้นฝาด้วยใบชาด ปูพื้นด้วยฟากไม้ไผ่และขุดบ่อน้ำให้หนึ่งบ่อ

หลังจากมีกุฏิพอกันแดดกันฝนได้บ้างแล้ว หลวงพ่อก็พาหมู่คณะมุ่งบำเพ็ญภาวนาอย่างพากเพียร แม้ขณะนั้น จะลำบากยากไร้ปัจจัยเครื่องอาศัยแทบทุกอย่าง แต่ก็ไม่ทำให้พระ เณร ย่อท้อหรือหวั่นไหวเลย หลวงพ่อเล่าถึงความเป็นอยู่ในครั้งนั้นให้ฟังว่า

ครั้งแรกก็อยู่ด้วยกันสี่รูป ได้รับความทุกข์ยากลำบากสารพัดอย่าง แต่การประพฤติปฏิบัติเข้มข้นมาก การอดทนนี่ยกให้เป็นที่หนึ่ง ฉันข้าวเปล่าๆ ก็ไม่มีใครบ่น เงียบ ไม่มีใครพูด "

หลวงพ่อให้ข้อคิดเรื่องการฉันข้าวเปล่าๆ แก่ศิษย์ว่า "ชาวบ้านบางถิ่นให้ข้าวเหนียวก้อนเล็กๆ แก่สุนัขกินในวันหนึ่งๆ เท่านั้น แต่มันก็อยู่ได้ ตื่นเร็วว่องไวไม่เกียจคร้าน ผิดกับสุนัขที่กินดี จะนอนขี้เกียจทั้งวัน พระกรรมฐานก็เช่นเดียวกัน ถ้าอยู่ในถิ่นกันดารอาหารขาดแคลนบ้าง จะเป็นผู้ขยันภาวนาไม่เห็นแก่หลับนอน แต่ทางตรงกันข้าม หากมีความเป็นอยู่ที่สุขสบายจนเกินไป คิดอยากได้อะไรก็ได้ดังปรารถนา มักจะติดสุข เห็นแก่กินแก่นอน ถูกนิวรณ์ครอบงำ ละทิ้งการภาวนา"

samati 6

หลวงพ่อจึงผูกคติธรรมขึ้น ซึ่งถือเป็นหลักสำคัญของการดำเนินชีวิตในป่าพงว่า

กินน้อย พูดน้อย นอนน้อย คือ นักปฏิบัติ
กินมาก พูดมาก นอนมาก คือ คนโง่ ..."

redline

arr 1larr 1uarr 1r

prawat header

binbart 1

18. คืสู่อี

จากอยุธยา หลวงพ่อเดินทางกลับมาที่อุบลฯ ได้แวะพักที่ป่าช้าบ้านก่อ พอญาติพี่น้องรู้ข่าว ต่างพากันมานมัสการด้วยความยินดี เพราะจากกันไปนานถึงสองปี โดยไม่ทราบข่าวคราวกันเลย และญาติมิตรยังสังเกตเห็นว่า หลวงพ่อกลับมาคราวนี้มีท่าทีน่าเลื่อมใสมาก จึงพากันให้ความเคารพยำเกรง ท่านจะแนะนำสิ่งใดทุกคนก็สนใจฟัง ไม่แสดงอาการโต้แย้งใดๆ ทำให้โยมแม่และญาติพี่น้องหลายคน เกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องบาปบุญคุณโทษยิ่งขึ้น

ค่ำคืนหนึ่ง พระภิกษุเที่ยง โชติธมฺโม ซึ่งเมื่อครั้งเป็นสามเณรเคยได้รับการอบรมสั่งสอนจากหลวงพ่อ ได้เข้ามากราบคารวะขอฟังธรรม และตัดสินใจออกปากฝากตัวเป็นศิษย์ ขอติดตามออกบำเพ็ญกรรมฐาน แต่หลวงพ่อกลับนิ่งเฉย ไม่ตอบรับและตอบปฏิเสธ ทำให้พระภิกษุเที่ยงเกิดความลังเลและรูสึกผิดหวังบ้าง เมื่อนั่งนิ่งกันอยู่ชั่วครู่หลวงพ่อได้เอ่ยขึ้นว่า

cha 11"ทำไมถึงอยากจะไป"

"กระผมเห็นว่าอยู่ที่นี่ไม่มีอะไรดีขึ้น จึงอยากไปปฏิบัติเช่นครูบาอาจารย์บ้างครับ" พระเที่ยงตอบ พร้อมกับใจชื้นขึ้นมาเล็กน้อย

"เอ้า... ถ้าจะไปจริงๆ ให้ท่านทองดี (สามเณรทองดีบวชเป็นภิกษุแล้ว)   เขียนแผนที่บอก ทางไปบ้านป่าต่าวให้นะ แล้วไปรอผมอยู่ที่นั่น"

เมื่อแนะแนวทางปฏิบัติแก่ญาติพี่น้องบ้างแล้ว หลวงพ่อก็ออกจาริกไปตามสถานที่วิเวกต่างๆ ต่อไป จนกระทั่งมาถึงบ้านป่าตาว อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร (เมื่อก่อนเป็นจังหวัดอุบลราชธานี) และได้พำนักจำพรรษาที่ 14 (พ.ศ. 2495) อยู่ที่วัดถ้ำหินแตก

ในปีนั้น หลวงพ่อจำพรรษาร่วมกับพระเณรหลายรูป มีพระเที่ยงกับพระทองดีรวมอยู่ด้วย ท่านได้นำหมู่คณะประพฤติปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์ บางวันเดินจงกรมนั่งสมาธิตลอดวันตลอดคืน โดยให้ข้อคิดแก่ศิษย์ว่า

"อย่าพากันติดในสมมุติบัญญัติจนเกินไป ที่ว่าเป็นกลางวันกลางคืนนั้น มันเป็นการสมมุติของชาวโลกเท่านั้นเอง เมื่อกล่าวโดยปรมัตถธรรมแล้ว ไม่มีกลางวัน กลางคืน ไม่มีข้างขึ้น ข้างแรม ฉะนั้น เรามาสมมุติกันใหม่ ให้กลางวันเป็นกลางคืน ให้กลางคืนเป็นกลางวันก็ได้ ถ้าเราคิดได้ว่า กลางวันหรือกลางคืน ก็ไม่แตกต่างอะไรกัน เราก็จะทำความเพียรโดยไม่อ้างเวลา"

วันหนึ่ง หลวงพ่อสังเกตเห็นพระเที่ยงฉันยาบางอย่างอยู่เป็นประจำ จึงถามว่า "ท่านเที่ยง ฉันยาพวกนี้มานานแล้วหรือ ?"

"กระผม ฉันมาหลายปีแล้วครับ" "แล้วมันดีขึ้นไหม ?"

"พอทุเลาลงบ้างครับ"

หลวงพ่อนิ่งอยู่ชั่วครู่แล้วพูดขึ้นว่า

เอ้อ... ฉันยาพวกนี้ก็นานแล้ว ยังไม่เห็นว่ามันจะหาย สักที... เอามันโยนทิ้งไปซะ แล้วมาฉันยาขนานใหม่กัน คือ ฉันอาหารให้น้อย นอนให้น้อย และพูดให้น้อย แล้วทำความเพียรเดินจงกรมนั่งสมาธิให้มาก ลองทำดูนะ ถ้ามันไม่หาย เราก็ยอมตาย ไปซะ..."

ชาวบ้านป่าตาวในสมัยนั้น ส่วนใหญ่เป็นชาวนาที่ค่อนข้างยากจน แม้จะมีจิตศรัทธาต่อการทำบุญกุศล แต่ก็ขัดสนเรื่องความเป็นอยู่บ้าง จึงอุปัฏฐากพระสงฆ์ตามมีตามได้ อาหารที่บิณฑบาตได้โดยมากจึงเป็นข้าวเหนียวเปล่าๆ วันใดมีกล้วยสุก หรือพริกเกลือ ถือว่าเป็นวันพิเศษสำหรับพระที่ถ้ำหินแตกเลยทีเดียว

แม้จะอดอยากขาดแคลนสักปานใด หลวงพ่อกับศิษย์ก็คงบากบั่นหมั่นเพียร เจริญภาวนา อย่างไม่ย่อท้อ กลับน้อมเอาความยากไร้มาเป็นครู ผู้สอนให้มีความอดทน ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง แต่วันหนึ่งก็มีสิ่งมาทดสอบความมุ่งมั่นของท่าน

lp cha 09

บริเวณสำนักที่หลวงพ่อพำนักอยู่นั้น ด้านทิศเหนือเป็นแอ่งน้ำใหญ่ มีปลาชุกชุมมาก เวลาฝนตกหนักน้ำล้นฝั่ง ปลาต่างตะเกียกตะกายตามน้ำมา เพื่อจะเข้าไปในแอ่งน้ำใหญ่ บางตัวที่มีเรี่ยวแรงดี ก็ข้ามคันหินธรรมชาติที่กั้นเป็นขอบแอ่งน้ำขึ้นไปได้ แต่บางตัวหมดกำลังเสียก่อน ก็นอนดิ้นกระเสือกกระสนหายใจพะงาบๆ อยู่บนคันหินนั้น หลวงพ่อสังเกตเห็นได้ช่วยจับมันปล่อย ลงไปในแอ่งน้ำอยู่บ่อยๆ

เช้าวันหนึ่งก่อนจะออกบิณฑบาต หลวงพ่อเดินไปดูปลา เพื่อจะช่วยชีวิตมันดังทุกวัน พบปลาติดเบ็ดดิ้นทุรนทุรายอยู่หลายตัว คิดจะช่วยมัน แต่ก็จนใจ เพราะเบ็ดมีเจ้าของ ซึ่งเขาอาจไม่พอใจก็ได้หากไปทำเช่นนั้น จึงได้แต่เพียงยืนมองดูด้วยความสลดใจ แล้วคิดไปว่า เพราะความหิวแท้ๆ ที่ทำให้เจ้าต้องกินเหยื่อที่เขาล่อไว้ จึงได้คติเตือนตนเองว่า "เรานี่ก็เหมือนกัน ถ้าฉันอาหาร โดยไม่พิจารณา ก็จะเป็นเหมือนปลากินเหยื่อแล้วติดเบ็ด"

เมื่อพิจารณาธรรมจากปลาติดเบ็ดแล้วก็ออกไปบิณฑบาต ครั้นกลับมาถึงวัด ชาวบ้านนำ ต้มยำปลามาถวาย หลวงพ่อรู้ว่าต้องเป็นปลาติดเบ็ดที่เห็นเมื่อเช้านี้แน่ๆ และอาจเป็นตัวที่เราช่วยชีวิตมันก็ได้ พอชาวบ้านยกหม้อต้มยำปลามาประเคน หลวงพ่อก็รับแล้ววางไว้ไม่ยอมฉัน เพราะนึกสงสารปลา และยังคิดยาวไกลไปอีกว่า ... "หากเรายินดีฉันของเขาในวันนี้ ต่อไปปลา ในแอ่งน้ำจะถูกฆ่าหมด"

เมื่อพิจารณาได้เช่นนั้น ก็ยกหม้อแกงส่งให้พระทองดีซึ่งนั่งอยู่ข้างๆ พระทองดีสังเกตเห็น หลวงพ่อไม่ฉัน ก็ไม่ยอมฉันเหมือนกัน ชาวบ้านเห็นดังนั้น จึงถามว่า "ท่านอาจารย์ ไม่ฉันต้มปลา หรือครับ ?"

"ไม่ฉันหรอก... สงสารมัน" หลวงพ่อตอบ

โยมคนนั้นถึงกับอึ้งไปชั่วครู่ แล้วจึงพูดว่า "ถ้าเป็นผมหิวๆ อย่างนี้คงอดไม่ได้แน่"

นับตั้งแต่นั้น ชาวบ้านก็ไม่มารบกวนปลาในแอ่งน้ำนั้นเลย และพวกเขายังถือกันว่า มันเป็นปลาของวัดที่ควรช่วยกันรักษาด้วย ปี พ.ศ. 2496 (พรรษาที่ 15) หลวงพ่อกับลูกศิษย์ยังคงพำนัก อยู่ที่บ้านป่าตาวต่อเป็นปีที่สอง

eating
"ฉันอาหารไม่พิจารณา... จะเหมือนปลากินเหยื่อแล้วติดเบ็ด"

แต่ในระหว่างพรรษา หลวงพ่อได้ปลีกตัวไปอยู่ตามลำพังบนภูกอย ซึ่งอยู่ห่างจากถ้ำหินแตกประมาณสามกิโลเมตร ตอนเช้าหลวงพ่อจะลงมาบิณฑบาต แล้วแวะฉันอาหารร่วมกับพระเณรที่วัดถ้ำหินแตกทุกวัน ครั้นฉันเสร็จก็กลับขึ้นสู่ภูกอยตามเดิม แม้หลวงพ่อไม่ได้ร่วมจำพรรษากับลูกศิษย์ แต่ก็ได้ตั้งกติกาข้อวัตรเคร่งครัดไว้ควบคุมพระเณรแทนตัวท่าน เมื่อถึงวันอุโบสถหลวงพ่อ จะลงมาร่วมสังฆกรรม พร้อมทั้งให้โอวาทแก่ศิษย์และญาติโยม

ในระหว่างพรรษานั้น หลวงพ่อต้องประสบกับการเจ็บป่วยอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นบททดสอบสำคัญที่ท่านฝ่าฟันมาด้วยความอดทนและปัญญา วันหนึ่ง ขณะทำความเพียรอยู่บนภูกอย ท่านรู้สึกปวดฟันมาก รวมทั้งเหงือกก็อักเสบบวมขึ้นทั้งข้างล่างและข้างบน จึงหยิบเอาว่านยาสมุนไพร มาฝนกับน้ำแล้วฉันตามมีตามได้ แต่ความเจ็บปวดก็เพียงแต่ทุเลาลงเล็กน้อยเท่านั้น

หลวงพ่อจึงตั้งจิตพิจารณาว่า "เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่มีใครหลีกหนีความเจ็บ ป่วยนี้ไปได้" แล้วพยายามแยกกายกับใจออกเป็นคนละส่วน... "แม้กายจะมีอาการเจ็บป่วย แต่ก็ ไม่ปล่อยให้ใจป่วยด้วย เพราะหากปล่อยให้ใจกังวลในร่างกาย ก็จะเป็นทุกข์ถึงสองขั้น" หลวงพ่อ เฝ้าดูและต่อสู้กับความรู้สึกเจ็บปวดนี้นานถึงเจ็ดวัน อาการเหงือกบวมจึงทุเลาและหายไป

พอออกพรรษา หลวงพ่อลงมาพักที่วัดถ้ำหินแตก แล้วให้พระเณรแยกย้ายกันไปภาวนาในป่าตามลำพัง โดยกำหนดให้เจ็ดวันมารวมกันที่วัดครั้งหนึ่ง หลวงพ่อพาลูกศิษย์ประพฤติปฏิบัติเช่นนั้น จนกระทั่งถึงปลายเดือนสามของปี พ.ศ. 2497 แม่พิมพ์ (มารดาของหลวงพ่อ) พร้อมกับ ผู้ใหญ่ลา (พี่ชาย) และญาติมิตรชาวบ้านก่ออีก 5 คน ได้เดินทางมานิมนต์หลวงพ่อให้กลับไปโปรดญาติโยมทางบ้านก่อบ้าง หลวงพ่อพิจารณาเห็นว่า ถึงเวลาสมควรแล้ว ที่จะได้ให้ธรรมานุเคราะห์แก่ผู้มีพระคุณ จึงรับนิมนต์ และให้แม่พิมพ์กับญาติมิตรขึ้นรถกลับไปก่อน

จากนั้น หลวงพ่อได้เรียกลูกศิษย์มาประชุมกัน แล้วมอบให้พระเที่ยง พระทองดี กับพระ เณรบางส่วนอยู่ดูแลสำนัก (ต่อมาพระเที่ยงได้ติดตามไปอยู่กับหลวงพ่อที่ป่าพง ส่วนพระทองดี ไปศึกษาปริยัติที่กรุงเทพฯ)

เมื่อตกลงกันเรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อกับพระเณรอีกส่วนหนึ่งก็อำลาชาวบ้านป่าตาว ออกเดินทางกลับสู่มาตุภูมิ

 wat nong papong 03

redline

arr 1larr 1uarr 1r

prawat header

lama

17. ยุ

ต้นปี พ.ศ. 2493 หลวงพ่อได้รับจดหมายจากพระมหาบุญมี ซึ่งเป็นเพื่อนที่เคยปฏิบัติธรรมร่วมกัน ส่งข่าวเรื่อง หลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ให้ทราบ จึงออกเดินทางจากบ้านสวนกล้วย สู่กรุงเทพฯ ได้ศึกษาแนวทางปฏิบัติที่วัดปากน้ำประมาณ 7 วัน จากนั้นก็เดินทางต่อไป ยังวัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ในระหว่างปี พ.ศ. 2493-2494 ซึ่งเป็นพรรษาที่สิบสองและสิบสาม หลวงพ่อได้จำพรรษาอยู่ที่วัดใหญ่ชัยมงคล ได้พบกัลยาณมิตรสองท่าน คือ พระอาจารย์ฉลวย (ปัจจุบันพำนักอยู่ที่ วัดเขาต้นเกตุ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) และหลวงตาแปลก

ครั้งหนึ่งขณะอยู่ที่วัดนั้น หลวงพ่ออาพาธหนัก ท้องทางด้านซ้ายบวมขึ้น มีความเจ็บปวดมาก ทั้งโรคหืดที่เคยเป็นก็กำเริบซ้ำเติมอีก ได้รับความทุกข์ทรมานมาก จึงปรารภกับตัวเองว่า

เรานี้อยู่ห่างไกลญาติพี่น้อง เงินทองก็ไม่มี และยังมาป่วยหนักอีก จะไปโรงพยาบาลก็คงต้องเป็นภาระยุ่งยากแก่ผู้อื่น ไม่ไปดีกว่า จะใช้ธรรมโอสถรักษา ถ้าหายก็หาย ถ้าไม่หายก็ให้ตายไป "

หลวงพ่อเล่าว่า... เมื่อปลงตกเช่นนี้ จึงทอดอาลัยในชีวิตแล้วอดอาหาร ดื่มเพียงน้ำเปล่าบ้าง ไม่ยอมพักผ่อนหลับนอน เดินจงกรมสลับกับนั่งสมาธิตลอดวัน ร่างกายเกิดความอ่อนเพลียมาก แต่จิตใจกลับเข้มแข็งไม่หวั่นไหวต่อสิ่งใด

lp cha 06

รุ่งเช้า พระเณรไปบิณฑบาต หลวงพ่อก็เดินจงกรมและนั่งสมาธิ เมื่อเพื่อนพระเณรกลับมานั่งฉันอาหาร หลวงพ่อได้พิจารณาดูจิตเกิดคิดผิดว่า การฉันอาหารเป็นเรื่องยุ่งยาก ท่านให้ความ เห็นเรื่องการอดอาหารแก่ศิษย์ว่า

"การอดอาหารนั้น ระวังให้ดีบางที จะทำให้เราหลงได้ เพราะจิตอาจคิดผิด เห็นเพื่อนๆ เขาฉันอาหารแล้วคิดว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก เป็นภาระที่ทำความลำบากแก่ตนเอง เมื่อคิดอย่างนี้ อาจจะไม่ยอมฉันอาหาร จึงเป็นทางตายได้ง่ายๆ เหมือนกัน"

หลวงพ่ออดอาหาร เร่งความเพียรอย่างหนักถึง 8 วัน โรคร้ายนั้นได้หายไป และไม่กลับมา กำเริบอีก ท่านอาจารย์ฉลวยเฝ้าสังเกตอาการด้วยความเป็นห่วง ครั้นเห็นว่า เพื่อนอดอาหารนาน พอสมควรแล้ว จึงมาขอร้องให้ฉันอาหารดังเดิม จากประสบการณ์ในครั้งนั้น หลวงพ่อยังได้แนะนำ ลูกศิษย์อีกว่า

"เมื่อเราอดอาหารนานหลายๆ วัน เวลากลับมาฉัน ต้องระวังอย่าเพิ่งฉันมากในวันแรกๆ เพราะธาตุขันธ์ยังไม่เป็นปกติ ถ้าฉันมากอาจตายได้ เพราะอาหารไม่ย่อย ควรฉันวันละน้อย และเพิ่มขึ้นไปทุกวันจนเป็นปกติ"

cha 3การอาพาธของหลวงพ่อทุกครั้ง มักผ่านพ้นไปได้ด้วยความอดทน และกำลังใจที่เกิดจาก ความคิดที่ถูกต้อง รวมทั้งการทอดอาลัยในสังขารร่างกาย "หายก็เอา ตายก็เอา ถ้าคิดอยาก หายอย่างเดียวทุกข์แน่" ท่านจะให้กำลังใจแก่ศิษย์ด้วยคำพูดเช่นนี้เสมอ หรือบางครั้งก็หยิบยก เอาเหตุการณ์ที่ได้เผชิญและฝ่าฟันมาเล่าเป็นคติ ดังครั้งหนึ่ง...

ระหว่างรอนแรมโดดเดี่ยวอยู่ในป่า เขตสกลนครกับนครพนม หลวงพ่อเกิดอาพาธหนัก นอนซมเพราะพิษไข้อยู่ผู้เดียวบนภูเขา ไข้สูงมากจนลุกไม่ขึ้น รู้สึกอ่อนเพลียมากจนม่อยหลับไป พอรู้สึกตัวตื่นขึ้นก็เป็นเวลาพลบค่ำ ขณะนอนลืมตา คิดถึงสภาพความลำบากยากไร้ของตนอยู่ ได้ยินเสียงเก้งร้องดังก้องภูเขา จึงตั้งปัญหาถามตัวเองว่า

"อีเก้งและสัตว์ป่าต่างๆ มันป่วยเป็นไหม? มันป่วยเป็นเหมือนกัน เพราะมันก็มีสังขาร ร่างกายเหมือนเรานี่แหละ

มันมียากิน... มีหมอมาฉีดยาให้หรือเปล่า? เปล่า... ไม่มีเลย... มันคงหายอดไม้ใบหญ้า ตามมีตามได้

สัตว์ป่ามันไม่มียากิน ไม่มีหมอรักษา แต่ก็ยังมีลูกหลานสืบเผ่าพันธุ์ต่อมาเป็นจำนวนมาก มิใช่หรือ ?

ใช่.... ถูกแล้ว!"

พอหลวงพ่อพิจารณาได้ข้อคิดเช่นนี้ ก็มีกำลังใจดีขึ้นมาก พยายามลุกตะเกียกตะกายไป เอาน้ำในกามาดื่ม แล้วลุกขึ้นนั่งทำสมาธิ จนอาการไข้ทุเลาลงเรื่อยๆ รุ่งเช้าก็มีกำลังออกไปบิณฑบาตได้

หลังอาการอาพาธหนักที่วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อคงทำความเพียรภาวนาอย่างสม่ำเสมอ ไม่ได้แสดงธรรมแก่ผู้ใด มีแต่อบรมและพิจารณาตัวเองอยู่ ตลอดเวลา

cha kamson 4

เมื่อออกพรรษา ได้เปลี่ยนสถานที่ภาวนาไปยัง เกาะสีชัง พักอยู่บนเกาะประมาณหนึ่งเดือน แล้วย้อนกลับมาพักอยู่ที่วัดใหญ่ชัยมงคลอีกระยะหนึ่ง จากนั้นก็อำลาสหธรรมิก คือ ท่านอาจารย์ฉลวยและหลวงตาแปลกกลับคืนสู่อีสาน

tudong 2

เราจะหลุดพ้นจากความทุกข์ได้อย่างไร "

redline

arr 1larr 1uarr 1r

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)