![]()
|
ให้เอาหัวขิงแดง 1 ข่าโคม 1 ยาหัว 1 อ้อยดำ 1 ข้าวจ้าว 1 เอาอย่างละถ่อกันต้มกินดีแล
ให้เอาฮากอีเลิศ 1 ฮากหวดข้าว 1 ฮากปอแก้ว เอาทั้งใบทั้งฮากสู่อันใช้น้ำมวกส้มเป็นน้ำกระสายต้มฮม ดีแล
ให้เอาต้นตีนนก 1 เครือหมากร่าง 1 ยาหัว 1 ต้มกินดีแล
อีกขนานหนึ่ง เอาต้นเสียวน้อย 1 แก่นส้มโฮง 1 หัวข่าป่า 1 หัวข่าบ้าน 1 แก่นตากวาง 1 น้ำตาล ่ 1 ยาหัว 1 ให้เอาพอสมควรต้มกิน ดีแล
คะยือ หรือ กะยือ เป็นชื่อโรคชนิดหนึ่งในภาษาอีสาน ผู้รู้ในวัฒนธรรมสุขภาพบางท่านกล่าวไว้ว่า เป็นโรคคล้ายกับโรคหอบหืดที่รู้จักกันทั่วไป คุณพ่อ ดร.ปรีชา พิณทอง ปราชญ์แห่งอีสานเคยเขียนเอกสารเกี่ยวกับโรคกะยือหรือคะยือไว้ ดังนี้
“คะยือเป็นโรคชนิดหนึ่ง เกิดเสลดขึ้นที่ปอด ทำให้หายใจฝืด หอบและเมื่อย เมื่อมีอาการหนักทำให้เสียชีวิตได้ โรคคะยือมักกำเริบในช่วงเวลาที่อากาศเปลี่ยนแปลงจากฤดูฝนไปสู่ฤดูหนาว” โรคคะยือมี 2 แบบคือ คะยือบ้องขวาน และคะยือแมว
ให้เอาเปลือกงิ้ว 1 ข้าวจ้าว 1 มาตำดอมกัน แล้วเอาน้ำมวกเป็นน้ำต้มกิน ดีแล
ให้เอาเครือเขามวก ฝนใส่น้ำมันงา ทาดีแล
ให้เอาหมากเขือขื่นเหี่ยวแห้งคาต้น มาเผาไฟให้ไหม้แล้วตำบดใส่น้ำมันงา ทาดีแล
ให้เอาเปลือกหมาก มาตำตองเอาน้ำ แล้วผสมกับน้ำงาดิบ กินดีแล
ให้เอาฮากกำยาน ต้มกินดีแล หรืออีกขนานหนึ่ง เอาเปลือกหมากพร้าวห้าว 1 ใบส้มพ่อ 1 ต้มกินดีแล
ให้เอาเปลือกอึงกา 1 แก่นเกลือ 1 ส่วนแก่นเกลือให้เผาไฟให้ไหม้ ตำเอาน้ำหมากเกลือเป็นน้ำ หลามใส่ปล้องไม้ไผ่ กินดีแล
อีกขนานหนึ่ง ให้เอาฮากคูณ 1 ฝักหมากบ้า 3 หน่วย 1 หมากซัก 3 หน่วย 1 สะดีปี 1 พริก 1 ขิง 1 กระเทียม 1 หัวฝักบั่ว 1 บดคนเข้ากันแล้ว ให้ตำเอาหญ้าห่อมแก้วเป็นน้ำกระสายปั้นเป็นลูกกลอน กินดีแล
ให้เอาขี้ครั่งดิบ 1 พริก 1 ขิง 1 กระเทียม 1 หมากกล้วยตีบ 3 หน่วย 1 มาตำดอมกันแล้ว ห่อปิ้งไฟให้สุก แช่น้ำกินดีแล
อีกขนานหนึ่ง เอาฮากส้มกบ 1 ฮากมุกน้อย 1 ฮากมูกใหญ่ 1 เอาถ่อกันต้มกินดีแล้ว
ให้เอาหมากส้มมอ 1 สะดีปี 1 น้ำอ้อย ถ่อกันต้มกิน ดีแล
ให้เอากล้วยตีบ 3 หน่วย มาเผาทั้งดิบแล้วเอาข้าวจ้าวพอสมควร ตำใส่ในกล้วยตีบนั้น ปิ้งไฟกินดีแล
ให้เอาใบหว้านชน ญ่อง (ขยำ) ใส่น้ำเหล้าเด็ด กินดีแล
ให้เอาหมากน้ำเต้าปุง 1 ขี้ซี 1 ยาหัว 1 อ้อยดำ 1 ต้มกิน ดีแล
ให้เอาเปลือกอึ่งกา 1 แก่นสัก 1 แก่นตูมตัง 1 แก่นหาด 1 แก่นคูณ 1 อ้อยดำ 1 เอาอย่างละถ่อๆ กันต้มเคี่ยว 3 บวย เอา 3 บวย แล้วเอาน้ำเหล้า 3 ผอง น้ำเผิ้งผอง 1 ผสมกันกินดีแล
ให้เอาใบผักกาด 1 ถั่วสะแดด 1 เข้าจ้าว 1 ตำให้แหลกแล้วใส่น้ำเหล้าเด็ด กินดีแล้ว
ให้เอาต้นส้มพ่อ 1 บาท ใบฮุ่งแดง 1 บาท ใบกล้วยตีบ 2 บาท เข้าเปลือกน้อยหนึ่งตำดอมกัน แล้วนึ่งให้สุก กินดีแล
ให้เอาฮากหมากหวด 1 ฮากนมแมว 1 ฮากคัดเค้า 1 ฮากยานาง 1 ต้มกินดีแล
อีกขนานหนึ่ง เอาฮากหมากเฟือง 1 ฮากจูมคาน 1 เบี้ยพลู 1 ฝนแล้วเอาน้ำเหล้าตัดหน่อยหนึ่งกินดีแล
ให้เอาเปลือกส้มโฮง 1 เปลือกหว้าชมพู 1 เปลือกเฮื้อนกวาง 1 ต้มกินดีแล
ให้เอาฮากส้มโฮง 1 ยาหัว 1 ตาไม้ไผ่บ้าน 1 ต้มกินดีแล
ให้เอาขมิ้นขึ้น 1 หัวหว้านไฟ 1 ฮากหญ้าโคยงู 1 แมงมุม 1 ฮังแตน 1 ฮากหญ้าคา 1 ตอกเกี้ยวซ้าย 1 กลั้นใจหยุมเอาขี้เถ้ากลางคีไฟ 1 หยุมใบหมากกล่ำน้อย 7 ใบ ตำแซ่น้ำให้กินดีแล
ผิว่า มันบ่เซา มันออกฮ้อนหลายชื่อว่า ไฟลามโคน ให้เอาใบหมากนาง 1 เขากวาง 1 ต้มกินดีแล
หรือ เอาฮากมูกน้อย 1 ข้าวเจ้า 1 อ้อยดำ 1 เอาถ่อกันตำดอมกันแล้วแช่น้ำกิน ดีแล
ให้เอาฮากเว่อหวาน ฝนใส่น้ำเหล้าเด็ดกิน ดีแล หรือ เอาฮากส้มขี้มอดต้มกิน ดีแล หรือ เอาใบติดต่อ 1 ใบเล็บฮุ้ง 1 ฮากกำลังเสือโคร่ง 1 ยาหัว 1 ต้มกินดีแล
หมายเหตุ : ตำรับยาทั้งหมดเป็นการรวบรวมไว้เพื่อเป็นหลักฐานแสดงถึงภูมิปัญญาในการรักษาโรคของคนในท้องถิ่น ยังไม่มีการตรวจสอบและรับรองคุณภาพแต่อย่างใด หากจะนำไปใช้จริงควรตรวจสอบจากผู้ที่มีความรู้เฉพาะทางก่อน |
อาการไข้ของคนเราจำแนกได้เป็นหลายประเภท ซึ่งต้องดูอาการที่เป็นแล้วจึงปรุงยา ซึ่งมีกันหลายขนานดังนี้
ให้เอาเปลือกแคน 1 แก่นก้างปลา 1 แก่นกลางน้ำ 1 ย่างไฟ แช่น้ำกิน ดีแล
อีกขนานหนึ่ง เอาฮากหมากตูม 1 ฮากก้างปลา 1 ฝนกินดีแล
เอาหมากหนวดแมว 1 หมากข่า ฮากหมากกล่ำตาควาย 1 ผักหวานบ้าน 1 ก้านตง 1 ถั่วสะแดด 1 ข้าวจ้าว 1 อ้อยดำ 1 น้ำไส้เดือน 1 น้ำสร้างน้อย 1 เอาท่อกันแช่น้ำกิน ดีแล
ผิว่า มันถือคอเจ็บฮ้ายหลาย ให้เอา ฮากน้ำแย่ ฝนด้วยน้ำฮากทราย กินดีแล
ผิว่า มันบ่ฮู้เมื้อคิง ให้เอา ฮากเฮื้อนกวาง 1 ฮากน้ำแย 1 ฮากสะโก 1 จันทร์แดง 1 ฝนกินดีแล
อีกขนานหนึ่ง เอาแก่นสะโก แช่อาบดีแล ผิว่าไข้คีงฮ้อนให้เอาหมากตูม 1 ฮากดอกช้อนน้อย 1 ฝนใส่น้ำเหล้าผิวคีง ดีแล
ให้เอาฮากอีเลิศ 1 ฮากสีไค 1 ฮากผีเสื้อ 1 ผักบั่ว 1 ขี้เถ้ากลางคีไฟ 1 เอาพอสมควรตำทาปลายตีนปลายมือ และทาซะหน่อง ดีแล
ให้เอาสาดเฮี้ยน 1 เล็บตีน 1 เล็บมือ 1 มาเผาไฟให้กินเบิ่งก่อน ผิว่ามันแลบลิ้นออกปากแลบๆ นั้นชื่อว่า "ไข้ทำทานแลบลิ้น"
ให้เอาโด้นไฟสุด 1 ด้ามขวานสุด 1 ฝนใส่น้ำให้กินเสียแล้ว จึงเาฮากหมากนัด 1 ฮากหมากม่วย 1 ดองปลาฝา 1 กระดูกกา 1 น้ำเงิน 1 น้ำคำ 1 ฝนให้กินแล
ผิว่า ให้กินยาดังที่กล่าวนี้แล้ว ยังแลบลิ้นอยู่ดังเก่า ชื่อว่า ออกเงา ให้เอา ฮากเดื่อป่อง 1 ยานาง 1 ฝนให้กิน ดีแล
ผิว่า ไข้คีงเย็นซื่อๆ ให้เอาฮากท่อน 1 ไม้เข้าจี่ 1 หัวหมากหนาม 1 ฝนกินดีแล
ผิว่า ไข้คีงเย็นหนหวย อยู่บ่ได้ อยากให้วีอยู่เรื่อยๆ ให้เอาฮากหมากเขือขื่น ฝนใส่น้ำเหล้าโท กินไล่พิษออกเสียก่อน แล้วจึงเอาฮากสงฝนใส่น้ำข้าวจ้าวกิน ดีแล
ผิว่า บ่ฮู้เมือคีง บ่มืนตา ถามบ่ปาก ให้เอาฮากทัน 1 ฮากสัมมา 1 ฮากถั่วพู 1 ฮากสะคาม 1 ฮากม่วงกะสอ 1 ฝนกินดีแล
ผิว่า บ่เซา ให้เอาฮากหมากเอิ๊ก 1 หญ้าปากควาย 1 ฮากต้นหมากล่ำ 1 ฮากส้มลม 1 ฝนให้กินดีแล
ผิว่า ไข้ออก ตีนเย็น มือเย็น ชื่อว่า ออกดำ ให้เอา ฮากท่อน 1 ไม้เข้าจี่ 1 ฮากมอน 1 ฝนกินดีแล อีกขนานหนึ่ง เอาแค่ไม้ยมผา ฝนกินดีแล
ผิว่า ไข้บ่อถอย บ่สว่าง คีงเย็น ให้เอา ฮากซาตรี 1 ฮากส้มกบ 1 ฮากเดื่อ 1 ฮากหิ่งหาย 1 ฮากดอกพุทธ 1 ฮากหญ้าโคยงู 1 ฝนกินดีแล
ให้เอาแก่นบก 1 แก่นแพงพิมาน 1 ต้มกิน ดีแล
ผิว่า ยาไข้ซำเฮื้อและเจ็บขัดหน้าขัดหลัง ให้เอาต้นตูมทั้ง 5 คือ ใบ เปลือก แก่น ฮาก ยอด อย่างละเท่ากันต้มกิน ดีแล
อีกขนานหนึ่ง เอาขี้ช้างพลาย 1 แก่นข้าวโคด 1 ขั้น หมากอึ 1 ต้มกินดีแล
ให้เอาฮากหญ้าขัด 1 ฮากหญ้าผากควาย 1 แพงคำร้อย 1 ตาอ้อยคำ 7 ตา 1 แมงมุม 7 โต 1 ขี้แมงไย 1 ฮากลับลืน 1 มือหมากน้ำกำมือ 1 ถั่วสะแดด 1 ข้าวจ้าว 1 เอาท่อกันตำให้แหลก แช่น้ำกินดีแล
ให้เอาฮากเทียน หรือ ฮากหากข้า หรือฮากปสมลม ฝนให้กินดีแล
ผิว่า ไข้มันเส่าไค่คาวไหลออก ให้เอาหมากก้วย 1 ข้าวหมิ้น 1 ท่อกันตำแช่น้ำให้กิน ดีแล หรือ เอาฮากบ้าลาย หรือฮากยอแดง ฝนกินดีแล หรือเอาหัวหญ้าคมปาก 1 ขี้ไส้เดือน แช่น้ำให้กิน ดีแล
ให้เอาฮากชุมแสง หรือฮากยอแดง ฝนให้กินดีแล หรือ ขุดเอาทรายเลิ๊กเพียงศอกมาแช่น้ำกินดีแล
ให้เอาไม้ไผ่ช้างคำ 1 ไม้ไผ่ช้างไพ 1 ไม้ไผ่ใหญ่ 1 ไม้ไผ่ป่า 1 ฝนกินดีแล
ผิว่า บ่เซา ให้เอาแก่นเดื่อใหญ่ 1 เดื่อป่อง 1 เดื่อดิน 1 ไม้ไผ่บ้าน 1 ฝนกินดีแล
ผิว่า บ่เซา ให้เอาฮากตากวาง 1 ฮากตาไก้ 1 ฮากตานกกด 1 ฮากตาเสือ 1 ฝนกินดีแล
ให้เอาต้นเหม้าใหญ่ 1 เม้าตาเขียว 1 เม้าคน 1 ฝนกิน ดีแล ผิว่า บ่เซา ให้เอาต้นนมสาว 1 ต้นนมงัว 1 ต้นนมควาย 1 ต้นนมราชสีห์ 1 ฝนกินดีแล
ให้เอาแก่นหมากเหลื้อม 1 แก่นม่วง 1 แก่นขาม 1 หมากเว่อ 1 ฝนให้กินดีแล ผิว่า บ่เซา ให้เอาปีบปีแดง 1 ฮากลกครก 1 ฮากเต้าแล้ง 1 ฮากพุฒิน้อย 1 ฝนให้กิน ดีแล
ให้เอาหางกวางโตผู้ 1 หางกวางโตแม่ 1 ฮากต้นหมาว้อ 1 ฮากก้างปลา 1 ฝนกิน ดีแล ผิว่า บ่เซา ให้เอาต้นตีนเป็ดน้อย 1 ต้นตีนเป็ดใหญ่ 1 ต้นหว้าขี้นก 1 ต้นชุมพู 1 ฝนให้กิน ดีแล
ให้เอาฮากพร้าว 1 ฮากหมาก 1 ฮากอีตู่ 1 ฮากหัวสิงไค 1 ฮากหมอน้อย 1 ฮากยานาง 1 หัวกล้วยตีบ 1 เอาพอสมควร แช่น้ำกินดีแล
ให้เอาเปลือกต้นพันชาติ 1 ฮากหมากเขือบ้า 1 แมลงวัน 7 โต ไข่แมงสาบ 7 หน่วย 1 ไข่แมลงมุม 7 หน่วย 1 ตำใส่น้ำเหล้ากินดีแล
อาการไข้อีกประเภทหนึ่ง ที่คนโบราณกล่าวถึงกันมาก ยารักษาก็มีกันหลายขนานดังนี้
ให้เอาฮากเฮื้อนกวาง 1 ฮากสะมัด 1 ฮากส่องฟ้า 1 ฮากซาติขาว 1 ฮากหมากเอิก 1 เอาถ่อกันแช่น้ำกินดีแล
ให้เอาฮากท่มพาย 1 ฮากสะคาม 1 ฮากซาซู่น้อย 1 ฮากฝ้ายเอื้อ 1 หินขาว 1 ฮากเหม้าน้อย 1 ฮากสักหลวง 1 ฮากหมากหวดน้อย 1 ฮากหมากแข้งขม 1 ฮากผักกะหย่า 1 ฮากอ้อยช้าง 1 ฮากส้มกบ 1 ฮากแตงแซง 1 ฮากไข่เน่าน้อย 1 ฮากไข่เน่าใหญ่ 1 ฮากหมอน้อย 1 ฮากยานาง 1 ผิว่า ออกตุ่มหลายมันเจ็บจนปากบ่ได้ ให้เอายาฝูงนี้แช่น้ำกินก็ได้ ฝนกินก็ได้ ดีแล
ผิว่า ตุ่มหมากไม้อันอื่นออกแกมตุ่มหมากไม้สุกก็ดี ให้เอา ฮากช้างน้าว 1 ฮากหมากแคขม 1 ฮากหมากหวดข้า 1 ฮากอ้อยช้าง 1 ฝนให้กินเบิ่งก่อน ผิว่า มันฮ้อนแต่หัวเถิงตีนเสมอกัน บ่ฮ้อนและพวนหลาย ยาถึกพยาธิแล ให้ฝนกินเรื่อยๆ จนเซาแล
ให้เอาฮากส้มลม 1 หัวข่าบ้าน 1 ฮากหมากแตก 1 มดแดง 1 ต้มกิน ดีแล
อีกขนานหนึ่ง เอาฮากยานาง 1 บีงูเหลือม 1 หินส้ม 1 ฝนให้กินดีแล
ให้เอาฮากงวงซุ่ม ฝนใส่น้ำเหล้าเด็ด กินดีแล
ให้เอาฮากหย้าลับลืน 1 ฮากหญ้าขัด 1 ฮากหญ้าคา 1 อ้อยดำ 1 เข้าจ้าว 1 แช่น้ำกินดีแล
ให้เอาหอมเงือก 1 นมผา 1 จันทร์แดง 1 จันทร์ขาว 1 เงิน 1 คำ 1 ฮากเสียว 1 เงินเลียง 1 หินแห่งกลางห้วย 1 ตาไม้ไผ่บ้าน 1 ตาไม้ไผ่ช้างไพ 1 ตาไม้บง 1 อ้อยดำ 7 ตา แก่นกอกด่อน 1 ฮากเฟือง 1 แก่นเดื่อป่อง 1 แก่นเดื่อเกลี้ยง 1 น้ำส้างนก 1 น้ำไส้เดือน 1 เป็นน้ำกระสาย แล้วฝนยาฝูงนี้ใส่น้ำกินเทอญ คาย 5 บาท เหล้าก้องไข่หน่วย
ให้เอาฮากนมสาว 1 ฮากน้ำแน้ 1 แพงคำฮ้อน 1 ฮากเอี่ยนด่อน 1 ฮากส้มพ่อ 1 งิ้วคำ 1 งิ้วด่อน 1 จันทร์แดง 1 จันทร์หอม 1 ฮากภังคี 1 ฮากแฮนต้น 1 ฮากแฮนเครือ 1 ฮากดอกทอง 1 ฮากก้างปลา 1 ฮากหญ้ามุ้งกระต่าย 1 เครือแสนปล้อง 1 เครือแสนพัน 1 ข้าวหมิ้นต้น 1 เครือทำทานโตผู้ 1 เครือทำทานโตแม่ 1 ฮากทัน 1 ฮากพิลา 1 ฮากหมากสัก 1 แก่นแหน 1 ฮากหนามขี้แรด 1 ฮากไค้หางนาค 1 แก่นไข่เน่า 1 ฮากตูมกา 1 ฮากช้างน้าว 1 ผักชีช้าง 1 กว้างทะเล 1 ฮากสะมัด 1 ฮากปอเข้าจี่ 1 ฮากยานาง 1 ฮากเดื่อเกลี้ยง 1 ฮากเดื่อดิน 1 ฮากไม้เข้าหลาม 1 ซืนดิบ 1 ฝนกินดีแล
ให้เอาฮากเฮื้อนกวาง 1 ฮากก้างปลา 1 ฝนกินดีแล
ให้เอาฮากตีนจำ 1 ไม้เท้าสาน 1 ฮากหมากน้ำ 1 ฮากยานาง 1 ฮากนมผา 1 ฝนกินดีแล
ให้เอาขี้กะเดือน 7 โต มาฟักให้หมุ่นๆ แล้วเอาน้ำหม้อนึ่งแฮมคืนแซ่ ทาตุ่มหายแล
ให้เอาฮากหมากแปบ 1 ฮากขี้อ้นน้อยแคมน้ำ 1 ฝนกิน ดีแล
โอมผู้เฒ่าชุมพูปูนแดง ผู้แฮงซุ่มปูนเบี้ย ปากกูเค็มปานเกลือ 3 ก้อน ปากกูฮู้ฮ้อนปานถ่านไฟแดง ให้หายปานแป้งกะแด้งปานปูน โอม สะหุมติด (ว่า 3 เทื่อ แล้วจึงเป่าแล)
ผุ สุ คู อุ อะ พุทโธ ธมฺโม สงฺโฆ อะ นะ โอมสะหุมติด ว่า 7 เทื่อ แลก่อนจะเป่าให้ตั้งคาย ขันธ์ 5 เหล้าก้อง ไข่หน่วย เงินสลึงหนึ่ง แพรมน 1 ข้าวสารและหมากพลู พอสมควรตั้งคายแล
คำว่า “หมากไม้” เป็นภาษาอีสาน หมายถึง ผลไม้ แต่มีไข้ชนิดหนึ่งในทางภาคเหนือและอีสานของไทยที่เรียกว่า “ไข้หมากไม้” โดยเชื่อว่าเกิดจากการหมักหมมของใบไม้ ต้นไม้ และพืชต่างๆ ที่อยู่ในโคลนตม คนที่ไม่แข็งแรงเมื่อได้รับพิษเข้าไปก็จะเกิดอาการไข้ มักเกิดในช่วงเปลี่ยนฤดูกาลหรือช่วงที่ผลไม้ออกมากๆ หรือช่วงเริ่มมีฝนกับปลายฝน กล่าวกันว่าหากรักษาไม่ถูกวิธีอาจเสียชีวิตได้ ในบางท้องถิ่นมีความเชื่อว่า หากลูกหลานป่วยด้วยไข้หมากไม้ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล และแพทย์ทำการให้น้ำเกลือก็อาจถึงแก่ชีวิตได้ ชาวบ้านจึงปฏิเสธไม่ยอมให้แพทย์รักษาโดยการให้น้ำเกลือ
ทฤษฎีว่าด้วย ไอพิษ (Miasma) ที่ระเหยจากดินและพืช (Miasmatic Theory) ทำให้เกิดโรค เป็นความคิดความเชื่อที่สืบทอดกันมานาน ดังสมัยก่อน ในสยามประเทศเรียกไอระเหยเหล่านี้ว่า “อายพิศม์” ทฤษฎีดังกล่าวเป็นความเชื่อที่มีร่วมกันในหลายวัฒนธรรมก่อนที่แพทย์จะรู้จักเชื้อโรค เช่น ในยุโรป, จีน และอินเดีย เป็นต้น โดยเชื่อว่า “อายพิศม์” นั้น เป็นที่มาของโรคระบาดอย่าง อหิวาตกโรค และไข้จับสั่น เป็นต้น ในกรณีของไข้จับสั่นหรือที่เราเรียกว่า ไข้ป่า นั้น ในตะวันตก ก่อนที่การแพทย์ตะวันตกจะรู้ว่า โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อปาราสิตที่เรียกว่า plasmodium หรือเชื้อมาเลเรีย โรคนี้เคยถูกอธิบายว่าเกิดจากการหายใจเอาอากาศที่เป็นพิษเข้าไปในร่างกาย ชื่อไข้จับสั่นที่เรียกว่า มาเลเรีย หรือ malaria นั้นมาจากคำว่า 'mal' (แปลว่า เสีย) รวมกับคำว่า 'aria' (แปลว่า อากาศ) นั่นเอง
แนวคิดเรื่อง ไข้หมากไม้ กับเรื่อง Miasma ของตะวันตก จึงมีความคล้ายคลึงกัน แม้จะอยู่ในสังคมที่ห่างไกลและแตกต่างทางวัฒนธรรมกัน
หมายเหตุ : ตำรับยาทั้งหมดเป็นการรวบรวมไว้เพื่อเป็นหลักฐานแสดงถึงภูมิปัญญาในการรักษาโรคของคนในท้องถิ่น ยังไม่มีการตรวจสอบและรับรองคุณภาพแต่อย่างใด หากจะนำไปใช้จริงควรตรวจสอบจากผู้ที่มีความรู้เฉพาะทางก่อน |
ยาฮากไม้ ก็คือ ยา หรือ สมุนไพร อันได้มาจากพืชพันธุ์ชนิดต่างๆ รวมทั้งส่วนสำคัญที่ได้จากสัตว์ที่มีฤทธิ์เป็นยามาผสมเข้าด้วยกันนั่นเอง คนที่มีความร้ในการนำเอายาสมุนไพรเหล่านี้มาใช้ปัว (รักษา) คน เรียกว่า หมอยาพื้นบ้าน การรักษาด้วยสมุนไพรของชาวอิสานมีวิธีสกัดตัวยาออกมาจากสมุนไพรแบบง่ายๆ คือ การฝนยา เป็นการนำสมุนไพรมาฝนหรือถูกับแผ่นหิน แผ่นเท่าฝ่ามือ เมื่อฝนแล้วก็เอาแผ่นหินนั้นจุ่มน้ำ ตัวยาที่ฝนออกจากละลายในน้ำเป็นน้ำยาที่สกัดออกมา สมุนไพรที่นำมาฝนประกอบด้วยรากไม้ แร่ธาตุหลายชนิด บางทีชาวบ้านเรียกว่า “ยาซุม” ยังมี การต้มยา คือการนำเอาสมุนไพรต่างๆ ไปต้มในน้ำ เพื่อสกัดเอาฤทธิ์ยาออกมาก็ได้เช่นกัน นอกจากนั้นยังมี การพอกยา ด้วยการเอาไปตำผสมน้ำเล็กน้อยนำมาพอกบาดแผล และ การรม ด้วยไอร้อนหรือควันให้สูดดมอีกด้วย
เมื่อพูดถึง หมอยาพื้นบ้าน ในสมัยโบราณก็มีการแบ่งออกไปตามความชำนาญในการรักษาอาการเจ็บป่วย เหมือนกับแพทย์แผนปัจจุบันที่แบ่งตามการดูแลรักษาคนป่วยเป็น อายุรกรรม ศัลยกรรม กุมารแพทย์ ฯลฯ ในส่วนของหมอยาแบบโบราณก็เช่นกัน แบ่งออกได้เป็น 8 ประเภทคือ
ตำรายาฮากไม้ ที่นำมาเสนอต่อไปนี้ ผู้เขียนได้มาจาก หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูอุบลเดชคณาจารย์ (ต่วน นิทฺเทสโก) วัดศรีทอง เมืองอุบลราชธานี หรือ วัดศรีอุบลรัตนาราม ในปัจจุบัน
ตำรา : | ได้แก่ แบบแผน หรือ หนังสือ หรือใบลาน ที่ว่าด้วยวิชาการต่างๆ บันทึกไว้ให้ลูกหลานได้นำไปใช้ประโยชน์ |
ยา : | ได้แก่ ของสำหรับปัวพยาธิ หรือของบรรเทาความเจ็บปวดต่างๆ (ปัว=รักษา) ให้อยู่ดีมีสุข ร่างกายแข็งแรง ประกอบสัมมาอาชีพได้เป็นปกติสุข |
ตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านอีสาน หรือ ตำรายาฮากไม้ เป็นหนังสือใบลานมีหลายคัมภีร์ด้วยกัน เอิ้นว่า "คัมภีร์อภัยสันดา, คัมภีร์มหาโชตะรส" และ "คัมภีร์ปฐมจินดา" เป็นต้น เป็นของเก่าแก่ซึ่งมีมาแต่โบราณกาล ยาปัวพยาธิทุกชนิดบ่ว่าจะเป็นยาแผนโบราณหรือยาแผนปัจจุบันก็ตาม โดยส่วนหลายแล้วเค้าเดิมแม่นเอามาจากฮากไม้หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นไม้ การออกไปเก็บยาในป่าของคนโบราณนั่นย่อมต้องมีพิธีรีตรองต่างๆ กัน บางคนก็ใช้กล บางคนก็ใช้เวทย์มนต์และคาถา ตลอดจนต้องหาฤกษ์ หายาม เวลาไปเอายา จึงจะสัมฤทธิผล ดังตำรากล่าวไว้ว่า
วันอาทิตย์ | ยามเช้า ยามสาย ยามเที่ยง ยามค่ำ |
พิษยาอยู่ลำต้น พิษยาอยู่ราก พิษยาอยู่ใบ พิษยาอยู่เปลือก |
วันจันทร์ | ยามเช้า ยามสาย ยามเที่ยง ยามค่ำ |
พิษยาอยู่ราก พิษยาอยู่แก่น พิษยาอยู่ใบ พิษยาอยู่เปลือก |
วันอังคาร | ยามเช้า ยามสาย ยามเที่ยง ยามค่ำ |
พิษยาอยู่ใบ พิษยาอยู่เปลือก พิษยาอยู่ลำต้น พิษยาอยู่ราก |
วันพุธ | ยามเช้า ยามสาย ยามเที่ยง ยามค่ำ |
พิษยาอยู่ราก พิษยาอยู่ใบ พิษยาอยู่เปลือก พิษยาอยู่แก่น |
วันพฤหัสบดี | ยามเช้า ยามสาย ยามเที่ยง ยามค่ำ |
พิษยาอยู่แก่น พิษยาอยู่ราก พิษยาอยู่ใบ พิษยาอยู่ลำต้น |
วันศุกร์ | ยามเช้า ยามสาย ยามเที่ยง ยามค่ำ |
พิษยาอยู่ใบ พิษยาอยู่ราก พิษยาอยู่เปลือก พิษยาอยู่ลำต้น |
วันเสาร์ | ยามเช้า ยามสาย ยามเที่ยง ยามค่ำ |
พิษยาอยู่ราก พิษยาอยู่ลำต้น พิษยาอยู่ใบ พิษยาอยู่แก่น |
เมื่อไปถึงป่าตามฤกษ์ยามแล้ว ยังจะต้องมีกรรมวิธีในการเอายาอีก เพราะคนโบราณถือว่า สรรพสิ่งใดๆ ในโลกล้วนมีเจ้าของ ต้นไม้ก็มีเทพารักษ์ การจะเก็บยาจึงต้องมีการขอด้วยหลากหลายกรรมวิธีเช่นกัน ดังจะยกตัวอย่างพอสังเขปดังนี้
โอม กมฺมะเกมะมะ ว่า 3 เทื่อแล้วให้ทืบต้น 3 เทื่อ จึงว่า มนต์ยามพระยาธรผู้รักษาต้นยา ว่า "โอม ทิพย์พระยาธร ขี่ม้าจรมาจอกพอกๆ ฆ้อนกูจักตอกหัวพระยาธร ขี่ม้าจรลอดเมฆ" ว่า 3 เทื่อ แล้วจึงกล่าวมนต์ปลุกยา ว่า "โอม ขะลุกๆ กูจักปลุกฮากยาก็ตื่น พญายาไปอยู่แห่งอื่นก็ให้เสด็จเข้ามาสู่ต้นไม้อยู่ลีลา เสด็จเข้ามาอยู่ต้นยาอยู่ลีล้าย เชื้อลูกท้าวฝูงหมู่พญายา โอม สวาหับ" ว่า 3 เทื่อ แล้วจึงเอามือสั่นต้นยา 3 เทื่อ แล้ว ขุด หรือ ฟันเอาเทอญ
"โอม ทิพมนต์ มนต์เจ้าพญายา พระฤาษีสั่งมาให้กูเอาต้นนี้ไปใส่...... (คนไข้ผู้ชื่อว่า...) ให้ซ่วง ให้เซา โอม สวาหายะ" ว่า 3 เทื่อ แล้วจึงขุด หรือฟันเอาเทอญ
"คับปัง คับระงับ คูบาสิทธิยะ ให้กูทงๆ ชินะ สวาหะ" ว่า 3 เทื่อ แล้วจึงขุด หรือฟันเอาเทอญ
เป็นการเรียนรู้เพื่อเป็นหมอยา จะต้องมีการแต่งขันธ์ 5 เพื่อการบูชา ประกอบด้วย พานหรือขัน 5 บรรจุ เทียนเล่มบาท 4 เล่ม เทียนน้อย 4 คู่ เทียนกิ่ง 4 คู่ ซวยกลม 4 ซวย ซวยเป 4 ซวย (ซวย=การม้วนใบตองลักษณะเป็นกรวย) ดอกไม้ขาว ซิ่นผืน แพรวา เหล้าก้อง ไข่หน่วย และเงิน 24 บาท
แต่งเครื่องครบแล้วให้ใต้เทียนติดขันธ์ 5 ยกขึ้นใส่หัว แล้วจึงว่า พิษณุยา ดังนี้
โอมสิท โอมทง โอมสิท โอมทง
โอมสิท โอมทง กูทงแล้วกูบ่ได้ทงอาสน์ กูทงแล้วกูบ่ได้ประมาทครู โอมสิท โอมจับ โอมสิท โอมจับ โอม พิษณุจับกกยา โอม พิษณุจับฮากยา โอมสิทธิ โอมจับ โอม พิษณุจับ โอม พิษณุจับ โอม พิษณุจับ ว่า 3 เทื่อแล
|
"โอม ขะลุกๆ พ่อครูกูปลุกๆ ลุกแล้วอย่านั่ง พ่อครูกูสั่นๆ ลุกแล้วอย่านอน โอมสวหายะ" ให้ฝนยาแล้วจึงว่ามนต์ปลุกเศกยานี้ 3 เทื่อ จึงให้กินเทอญ
สกฺกตฺวา พุทฺธรตฺนํ หิตํ เทวมนุสฺสานํ นสฺสนฺตุปทฺทวา สพฺเพ สกฺกตฺวา ธมฺมรตฺนํ ปริฬาหูปสมนํ นสฺสนฺตุปทฺทวา สพฺเพ สกฺกตฺวา สงฺฆรตฺนํ อาหุเนยฺยํ ปาหุเนยฺยํ นสฺสนฺตุปทฺทวา สพฺเพ |
โอสถํ อุตฺตมํ วรํ พุทฺธเตเชน โสตฺถินา ทุกฺขา วูปสเมนฺตุ เต โอสถํ อุตฺตมํ วรํ ธมฺมเตเชน โสตฺถินา ภยา วูปสเมนฺตุ เต โอสถํ อุตฺตมํ วรํ สงฺฆเตเชน โสตฺถินา โรคา วูปสเมนฺตุ เต (ว่า 3 เทื่อ แล)
|
อตฺถิ อิมสฺมึ กาเย เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ มํสํ นหารู อฏฐิ อฏฐิมิญชํ วกฺกํ หทยํ ยกนํ กิโลมกํ ปิหกํ ปปฺผาสํ อนฺตํ อนฺตคุณํ อุทริยํ กรีสํ ปิตฺตํ เสมฺหํ ปุพฺโพ โลหิตํ เสโท เมโท อสฺสุ วสา เขโฬ สิงฺคานิกา ลสิกา มุตฺตํ มตฺถเกมตฺถลุงฺคํ (ว่า 3 เทื่อ แล)
|
หมายเหตุปิดท้าย ตำรายาทั้งหมดนี้ เป็นของโบราณ ชื่อเรียกที่ปรากฏเป็นชื่อเรียกตามท้องถิ่น (อุบลราชธานี) ซึ่งอาจจะมีชื่ออื่นๆ แตกต่างออกไปตามแต่ละพื้นถิ่น คำบางคำก็มีความหมายเป็นการเฉพาะของหมอยาที่เข้าใจกันได้ ซึ่งทางคณะผู้จัดทำไม่อาจอธิบายออกมาให้ชัดเจนกว่านี้ได้ ท่านผู้ใดทราบความหมายที่แน่ชัดโปรดได้ชี้แนะด้วย รวมทั้งชื่อของโรคที่เป็นภาษากลาง และสรรพคุณทางยาที่ได้เคยทดลองแล้ว ทีมงาน IsanGate.com
|
ดูเหมือนว่า ผู้หญิง จะมีโรคภัยไข้เจ็บมารบกวนมากหลาย ด้วยความเป็นแม่ที่อาจมีผลกระทบต่อลูกน้อย ตำรายาที่เกี่ยวกับผู้หญิงจึงมีจำนวนมาก มีหลายขนานดังนี้
ให้เอาเปลือกต้นยานางแดง 1 เปลือกยางดำ 1 หัวยีบา 1 ฮากไม้ส้มเสี่ยว 1 ฮากจวงหอม 1 ฮากตูมกาขาว 1 ฮากตูมกาดำ 1 ฮากตูมกาแดง 1 ฮากเอี่ยนด่อน 1 ฝนกินดีแล
ให้เอาผากตูมบ้าน 1 ผากตูมกา 1 ผากตูมตัง 1 ผากสัง 1 ผากพิมาน 1 ผากกุง 1 ผากสะแบง 1 ผากจำปา 1 ผากเขียบ 1 ผากบก 1 ผากแดง 1 ผากหนามคอม 1 ผากเหลื่อม 1 ผากซาดเคลือ 1 ผากลุมพุก 1 ผากกะโดน 1 ผากงิ้วผา 1 ผากจานต้น 1 ผากจานเคลือ 1 ฮากพังคีน้อย 1 พายเสลียง 1 พายสะเบา 1 ฮากเจียงปืน 1 ฮากดูกใส 1 ฝนกินดีแล
ให้เอาพริกไทย 7 เมล็ด ดีปลี 7 เมล็ด ขิง 7 ฝาน กะเทียม 7 กลีบ หญ้าแห้วหมู 7 หัว ในหมากฝ้าย 7 ใน หญ้าห่อมแก่ว 1 บาท หญ้าปากควาย 1 บาท เปลือกท่อน 1 บาท ใบหว้านชน 1 บาท ซอยตากแดดให้แห้งแล้วตำให้ละเอียด ดองน้ำเหล้า 7 แก้ว ไว้ 7 คืน แล้วกินมื้อหนึ่ง 3 เวลา คือ เช้า เที่ยง มื้อแลง เทื่อละจอกน้ำชา ซู่วันดีแล
ให้เอาฮากพีพ่วน 1 ฮากแขม 1 ฮากคอนหมา 1 บาชาดต้น 1 ตาไม้ไผ่ช้างไพ 1 ตาไม้ไผ่เหลือง 1 จันทร์หอม 1 ฝนกินดีแล
ให้เอาฮากพังคีน้อย 1 ฮากช่องฟ้า 1 ฮากเอ็นอ้าข้าว 1 ฮากก้นครก 1 ฝนกินดีแล
อีกขนานหนึ่งให้เอาฮากพังคี 1 ฮากสมัด 1 ฮากดีนตังเปี้ย 1 ฮากเอ็นอ้า 1 ฮากคางฮุ่ง 1 ฝนกินบ่ต้องอยู่ไฟก็ได้ และเอาฮากเฮื้อนกวางเป็นยาต้มกินดีแล
ให้เอาฮากพังคีน้อย 1 ฮากช่องฟ้า 1 ฮากเอ็นอ้าข้าว 1 ฮากก้นครก 1 ฮากเข็มแดง 1 ฮากหมอน้อย 1 ฮากยานาง 1 ฝนกินดีแล
ให้เอาแก่นแคฝอยแช่น้ำอาบ ดีแล
ให้เอาเครือกะแมด 1 แก่นต้นหมากหล่ำใหญ่ 1 ฮากหมากเขือบ้าใส่ 2 ข้อกลาง 1 ต้มกินดี กินแล้วผิว่ามันคอแห้ง บ่เป็นหยัง
ให้เอาหมากทัน 1 บาท ซาดขาว 1 บาท ฮากเกล็ดหลิ่นน้อย 1 บาท ฮากเกล็ดหลิ่นใหญ่ 1 บาท ฮากเอ็นอ้า 1 บาท แก่นตานกกด 1 บาท ฮากตานา 1 บาท ฮากหนามแท่ง 1 บาท ฮากหมากแข้งขม 1 บาท ฮากตับเต่า 1 บาท ต้มกินดีแล
ให้เอาพริกไทย 1 บาท ดีปรี 1 บาท หว้านไฟ 1 บาท ขิง 1 บาท กระเทียม 1 บาท น้ำอ้อย 1 บาท ตำเข้ากันให้ละเอียดดีแล้วจึงเอาหมากนาวกำลังมีน้ำฝานเปลือกเอาเมล็ดในออก แล้วผสมยานี้กินระบายถ่ายเลือดออกแล หรือจะกินยานี้กับข้าวเวลาอยู่กรรมก็ได้ ดีแล
ให้เอาแก่นบก 1 สะโนโคก 1 แก่นกะเดา 1 หัวหวายเตี้ย 1 หัวผักหนาม 1 ฮากเขียงใหญ่ 1 ยาหัว 5 บาท ต้มกินดีแล
ให้เอามหาหิง 1 บาท ขิง 1 บาท กะเทียม 1 บาท พริกไทย 1 บาท พริกขี้หนู 1 บาท ฮากพังคีน้อย 1 บาท หมากกล้วยทะนี 1 หน่วย หมากกล้วยตีบน้อย 1 หน่วย หมากกล้วยตีบใหญ่ 1 หน่วย ตำผสมกันปั้นเป็นลูกกลอน ตากแดดไว้ 7 แดด 7 หมอก ถ้าเป็นกะบูนเลือดกะบูนลม ให้เอายานี้ผสมน้ำ ซ้ำเหล้า กินดีแล
อีกขนานหนึ่ง เอาฮากแก 1 ฮากขี้เหล็กสาน 1 ฮากหมากเกลือ 1 ต้มกินดีแล
ให้เอาพริกไทย 1 บาท ดีปรี 1 บาท กะเทียม 1 บาท ผ้าเสื้อดำเผาไฟ 1 บาท ตำบดละลายใส่น้ำร้อนพอสมควร ถ้าเลือดออกหลาย ให้เอาน้ำปูนใสตัดหน่อยหนึ่งดีแล
ให้เอาฮากครุฑขาวทั้ง 5 ต้นลำดวน 1 พริกไทย 7 ดีปรี 7 เมล็ด ตำบดปั้นเป็นลูกกลอนกินกับน้ำเหล้า ดีแล
ให้เอาฮากผักอีฮุม 1 ฮากกูดส้อย 1 ฝนกินดีแล เถิงแม่นว่าตายแล้ว ก็ให้กินก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมาแล
ให้เอาคาบงู 3 โต มาแช่ใส่น้ำผักกาดกินแด่ ทาท้องน้อยแด่ ลูกออกแล
อีกขนานหนึ่ง ให้เอายอดผีเสื้อ 7 ยอด ตำใส่น้ำธรรมดา กินแด่ ทาแด่ ดีแล
อีกขนานหนึ่ง เอาหมากน้ำเต้าขมทั้งหน่วย 1 คาบงู 1 ใบผักกาด 1 ตำใส่น้ำทาท้องลูกออกแล
อีกขนานหนึ่ง เอาฮากหย้าคัดมอน ต้มใส่น้ำเผิ้ง กินดีแล
อีกขนานหนึ่ง เอาฮากหญ้าโคยงู 1 ในผักกาด 1 ตำทาตีนซ้าย มือซ้าย ดีแล
ผิว่า ลูกคาท้อง ให้เอาคาบงู 1 ในผักกาด 1 ใบผักกาด 1 ใบส้มป่อย 1 ตำใส่น้ำทาลูบท้องออกแล
หรือ เอาต้นเดื่อป่อง 1 เกษรดอกคำ 1 ต้ม 3 บวย เอาบวย 1 กินดีแล
ให้เอาฮากหนามพรม 1 ฮากหญ้าโคยงู 1 ในผักกาด 1 เอาสิ่งละท่อกันตำให้แหลกละเอียดทาท้องแล
หรือ เอาต้นหุ่งแดง 1 ฮากปีปปีแดง 1 ฝนทาใจตีนใจมือ ดีแล
ให้เอาฮากกระโดนเบี้ย 1 ฮากนมราชสีห์ 1 แก่นบบก 1 ฮากเฮื้อนกวาง 1 แก่นชายเด็น 1 ฮากพังคี 1 ฮากนางแช่ง 1 ฮากเป้า 1 เคลือตาปา 1 ฮากเพ็ก 1 ฝนกินดีแล
ให้เอาผากขาม 1 ผากเล็บแมว 1 ผากก่ามโคก 1 ยาหัว 1 อ้อยคำ 1 ต้มกินดีแล
ให้เอาแก่นแหน 1 แก่นแคดง 1 แก่นขี้หนู 1 แก่นเฟือง 1 แก่นเฮื้อนกวาง 1 รากแขม 1 แก่นส้มกบ 1 แก่นเหม้าน้อย 1 ฮากเลา 1 เอาท่อกัน แช่ใส่ไหไว้แล้วให้เอาฮากยานางปนกิน 3 คืนเสียก่อน จึงกินยาที่แช่ไว้นั้น กินแล้วให้ห่มผ้า ดีแล
ให้เอาสะค้าน 1 ผักอีเลิศ 1 เปลือกอีฮุม 1 ต้นอีทือ 1 หว้านไฟ 1 ขิง 1 ใบผีเสื้อ 1 หนักอย่างละ 10 บาท ปีปปีแดง หนัก 10 สลึง มาซอยตำให้แหลกละเอียดละลายน้ำร้อนกิน ดีแล
ให้เอายานี้กินกัดออก คือ ฮากปีบปีแดง 10 บาท ฮากปีบปีขาว 10 บาท ผักแพวแดง 10 บาท ขี้เจีย 10 บาท มาด 5 บาท มาตำบดเป็นฝุ่นแล้วเอาไข่ไก่ดำเอาเฉพาะไข่แดงผสมปั้นเป็นลูกกลอน กินดีแล
ให้เอาเอ็นอ่อน 1 ข่า ใบกุ่ม ใบก่าม 1 สะค้าน 1 ใบหว้านชน 1 ใบหว้านไฟ 1 หน่วยผักอีฮุม 1 เครือปูมเป้า 1 ต้นอีทือ 1 ต้นฮุ่นไฮ 1 หว้านตูบหมูบ 1 ข้าวมิ้นขึ้น 1 ใบหมากนาว 1 เอาพอสมควรตำผ้าห่อนึ่ง ตั้งท้องหายแล
อีกขนานหนึ่ง ถ้ามันเป็นหวิ่ง วิน เวียน ให้เอา เปลือกลิ้นไม้ 1 ภังคีน้อย 1 หัวหวายนั่ง 1 เขียง 1 เกล้านางนี 1 เครือง้านหมู 1 จันทร์แดง 1 แก่นฝาง 1 ฝนกินดีแล
อีกขนานหนึ่ง เอาฮากช้องแมว 1 ยาหัว 1 อ้อยคำ 1 เอาอย่างละท่อกัน ต้มกินหม้อหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงเอาฮากช้องแมว 1 ฮากตีนนก 1 ฮากหนามพรม 1 ต้มกินอีก ดีแล
ให้เอาฮากตัดเค้า 1 ฮากเล็บแมวตัวผู้ 1 ต้มกินหายแล
ให้เอาฮากก้นถ้วย 1 ฮากเจียงปืน 1 ฮากกำยาน 1 ฮากขี้หนู 1 ต้มกินดีแล
หมายเหตุ : ตำรับยาทั้งหมดเป็นการรวบรวมไว้เพื่อเป็นหลักฐานแสดงถึงภูมิปัญญาในการรักษาโรคของคนในท้องถิ่น ยังไม่มีการตรวจสอบและรับรองคุณภาพแต่อย่างใด หากจะนำไปใช้จริงควรตรวจสอบจากผู้ที่มีความรู้เฉพาะทางก่อน |
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)