foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

attalak isan

ขันกระหย่อง, กะย่อง, ขันกะย่อง

ขันกระหย่อง กะย่อง หรือ ขันกะย่อง เป็นภาชนะจักสานด้วยไม้ไผ่ ลักษณะคล้ายพานแต่มีเชิงสูง เป็นงานช่างฝีมือพื้นบ้าน มีหลายขนาดตามลักษณะการใช้งาน ใช้ประโยชน์ในการวางดอกไม้ธูปเทียน เครื่องบูชา หรือขันธ์ 5 บูชาพระพุทธรูป เป็นหนึ่งในเครื่องสักการบูชาอีสานโบราณ โดยสามารถพบเห็นได้ในวัดทั่วไปในภาคอีสาน เครื่องสักการบูชาอีสานโบราณประกอบด้วยขันกระหย่อง ต้นข้าวตอก ต้นดอกไม้ ขันหมากเบ็ง ต้นดอกผึ้ง ต้นเทียน เป็นการบูชาในวันพระ และจะมีขบวนแห่ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาหบูชา วันอาสาฬหบูชา

kan kayong 03

ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม ขันกระหย่องมีทั้งเส้นตรงและเส้นโค้ง มีรูปทรงสัดส่วนคล้ายพาน ลวดลายเกิดจากการจักสาน คือ ตรงกลางคอด มีความโปร่งและเบา

ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม การสักการบูชาในพุทธศาสนาและความคิดในเรื่องธรรมชาตินิยม ความสมถะ ความเรียบง่าย

ขันกระหย่อง รายการ นักข่าวพลเมือง ThaiPBS

“ขันกะย่อง” หัตถกรรมเครื่องจักสานหนึ่งเดียว…ในงานพุทธศิลป์ถิ่นอีสาน…!

เขียนโดย : ติ๊ก แสนบุญ
จาก : วารสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับ มกราคม 2549

kan kayong 01

เรื่องราวของศิลปะและวัฒนธรรมแขนงงานช่างพื้นเมืองบริสุทธิ์นั้น กล่าวได้ว่า มีอยู่มากมายหลายชนิด สำหรับแดนดินถิ่นอีสานนี้ เมื่อเราได้เข้าไปกราบนมัสการองค์พระประธานภายในหอแจก หรือแม้แต่ในสิม (โบสถ์) อาณาบริเวณส่วนด้านหน้าองค์พระประธาน ในอดีตจะประกอบไปด้วย ฮาวไต้เทียน (ราวเทียน) พระไม้ พระซุ้มโขง หรือแผงพระ นอกเหนือจากนี้ไม่พบว่ามีงานหัตถกรรมอื่นใด นอกจากงานเครื่องจักสานชนิดหนึ่งที่เรียกเป็นภาษาถิ่นอีสานว่า “กะย่อง” หรือ “ขันกะย่อง” ก็เรียก ซึ่งมีความหมายถึงภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง สำหรับใส่เครื่องสักการบูชา มีพระพุทธรูปและค้ำคุณ มีคุด เขา นอ งา เป็นต้น เรียก “ขันกะย่อง” โดยมีลักษณะทางศิลปกรรมและประโยชน์ใช้สอยคล้ายกับ “ขันแก้วทั้งสาม” ซึ่งเป็นเครื่องประดับในศาสนสถาน (ใช้สำหรับวางเครื่องสักการะดอกไม้ธูปเทียน) ของทางภาคเหนือ นิยมทำด้วยวัสดุหลักจากไม้จริง โดยมีส่วนใบขัน ส่วนเอวและส่วนขาเป็นแปลนรูปทรงสามเหลี่ยมหรือวงกลม จำหลักลวดลายไม้เป็นรูปพญานาคขดในส่วนเอว ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มหัตถกรรมเครื่องเขิน (เป็นอิทธิพลศิลปะจากพม่าในยุคที่เข้ามาปกครองล้านนา)

kan kayong 02

“ขันกะย่องของอีสาน” ยังมีเอกลักษณ์และความหมายแตกต่างในมิติอื่นๆ เช่น ขนาดที่เล็กกว่า โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 - 45 เซนติเมตร และสูงตั้งแต่ 35 - 65 เซนติเมตร รูปทรงเส้นรอบนอกมีลักษณะแบบโบกคว่ำโบกหงายแบบบัวปากพาน (ดูภาพประกอบ) วัสดุเป็นไม้ไผ่จักสานหลากหลายรูปแบบ (แตกต่างกับทางเหนือที่เป็นไม้จริง) มีลักษณะลายสานซึ่งเป็นแม่ลายสำคัญ เช่น ลายขัด ลายเฉลว ลายหัวสุ่ม ลายก้นหอย คุณค่าทางศิลปะของ “ขันกะย่อง” ยังบ่งบอกถึงตัวตนคนอีสาน ที่สื่อสารผ่านงานช่างในแขนงต่างๆ ที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของสังคมเกษตรที่เน้นถึงความเรียบง่าย อีกทั้งสัจจะทางวัสดุ หรือเรียกอย่างภาษาชาวบ้านว่า “สวยแบบซื่อๆ”

kan kayong 04

จังหวัดบึงกาฬ ส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ "ทำขันกระหย่อง"

kan krayongขันกระหย่อง การจักสานภูมิปัญญาชาวบ้าน

ท่านที่สนใจต้องการชมกรรมวิธีการจักสานโดยผู้สูงอายุได้ร่วมทำกิจกรรมในยามว่าง "การจักสานขันกระหย่อง" เป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเอง อีกทั้งเป็นการรักษาวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น ที่ วัดสุดเขตแดนสยาม บ้านหนองแวง ตำบลวิศิษฐ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ เนื่องจากการ “ขันกระย่อง” เป็นเครื่องใช้งานในทางพระพุทธศาสนา และยังสามารถนำไปดัดแปลงเพื่อประดับตกแต่งตามสถานที่ต่างๆ ได้หากมีการออกแบบให้สวยงาม

“ขันกระหย่อง” เป็นภาชนะคล้ายกระจาด แต่มีเชิงสูง สานจากตอกไม้ไผ่ ก้นของขันกระหย่องสานเป็นรูปวงกลมหรือรูปสี่เหลี่ยม เอวของขันกระหย่องเป็นเอวรัด ปากของขันกระหย่องจะบานออก ลักษณะการจักสานเป็นลายขัดธรรมดา สานเป็นช่องห่างๆ

"ขันกระหย่อง" มีไว้สำหรับใส่ดอกไม้ ธูปเทียน บูชาพระพุทธ เป็นหนึ่งในเครื่องสักการบูชา และเป็นงานช่างฝีมือของผู้เฒ่าผู้แก่ในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบันยังคงมีใช้อยู่ เป็นงานช่างฝีมือพื้นบ้านที่ทำไว้ใช้ในท้องถิ่น มีหลายขนาดตามลักษณะการใช้งาน จะพบเห็นได้ทั่วไปในวัดทางภาคอีสาน เวลาเราไปทำบุญที่วัดในจะเห็นมีขันกระหย่องตั้งไว้ด้านข้างพระประธาน โดยจะนำดอกไม้ ธูป เทียน และก้อนข้าวเหนียว วางบนขันกระหย่องเพื่อเป็นเครื่องบูชา

kan kayong 05

แจ้งให้ทราบ : เว็บไซต์ประตูสู่อีสาน ไม่ได้เป็นผู้ผลิต หรือตัวแทนผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านอีสานแต่อย่างใด โปรดค้นหาด้วย Google ติดต่อกับผู้ผลิตในชุมชนอีสานต่างๆ โดยตรงนะครับ หรือจะติดต่อผ่านทาง กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย หรือพัฒนาชุมชนในจังหวัดต่างๆ เช่น ขอนแก่น บึงกาฬ มุกดาหาร อำนาจเจริญ ได้ครับ

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)