![]()
|
กรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งเตือน!!! อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง มีผลกระทบในช่วงวันที่ 23-25 กุมภาพันธ์ 2568 ดังนี้
"ในช่วงวันที่ 23-25 กุมภาพันธ์ 2568 บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และภาคตะวันออก จะมีสภาพอากาศแปรปรวน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า ลมกระโชกแรง มีลูกเห็บตกบางแห่งในบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอุณหภูมิจะลดลง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง หรืออยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ส่วนเกษตรกรควรเสริมความแข็งแรงให้ไม้ผล และเตรียมการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยง รวมทั้งระมัดระวังรักษาสุขภาพช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับจะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน"
กรมอุตุนิยม คาดหมายลักษณะอากาศ 7 วันข้างหน้า (17 - 23 กุมภาพันธ์ 2568) ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนอากาศ แปรปรวน โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้บางแห่ง
วันที่ 22 - 23 กุมภาพันธ์ 2568 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมทั้งฟ้าผ่า ที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร
ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
คาดการณ์ว่า ช่วงนี้จะเป็นฤดูหนาวระยะท้ายๆ ปลายกุมภาพันธ์อากาศจะเริ่มอุ่นขึ้นเรื่อยๆ หลายๆ คนสนใจว่า ฤดูร้อนปีนี้จะร้อนแรงและจะแห้งแล้งขนาดไหน น้ำดื่มน้ำใช้จะเพียงพอ หรือน้ำในเขตชลประทานยังจะสามารถทำการเกษตรเพียงพอไปจนถึงฤดูฝนไหม และฝนจะพอมีเกิดขึ้นไหม
เนื่องจากสถานการณ์ของปรากฏการณ์ใหญ่อย่างเอนโซบ่งชี้ว่า ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2568 ยังมีโอกาสเป็นลานีญาอ่อนๆ หรือเป็นกลาง จึงมีผลต่อกระแสลมที่พัดปกคลุมซึ่งจะเปลี่ยนเป็นลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น
ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2568 จึงยังพอมีความชื้นอยู่บ้าง ทำให้มีโอกาสเกิดฝนฟ้าคะนองเป็นระยะๆ แม้ในเดือนมีนาคม-เมษายน 2568 จะเป็นช่วงฤดูร้อน อากาศร้อนถึงร้อนจัด อุณหภูมิเฉลี่ยมากที่สุดในช่วงนี้ แต่ปีนี้คาดว่าจะไม่ร้อนแรงเหมือนปีที่แล้ว เนื่องจากมีฝนฟ้าคะนองและมีความชื้นสูง แต่บางวันอาจจะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดได้เป็นช่วงๆ ไม่ร้อนจัดติดต่อกันเหมือนปีที่แล้ว
โดยฝนคาดการณ์ให้สูงกว่าค่าปกติ ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม แต่จะต่ำกว่าค่าปกติในเดือนมิถุนายน 2567 อาจมีฝนทิ้งช่วงได้ ต้นปีฝนยังพอมี แต่กลางปียังต้องลุ้นและติดตามเป็นระยะๆ
อย่างไรก็ตาม กรมอุตุนิยมวิทยาระบุหมายเหตุว่า ข้อมูลนี้ใช้เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามข้อมูลนำเข้าใหม่ เนื่องจากเป็นการพยากรณ์ระยะนาน ค่าความคลาดเคลื่อนสูง
องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) คาดการณ์ว่า ปรากฏการณ์ลานีญาจะยังมีอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ส่งผลให้ภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้น และอากาศเย็นลง อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไป ปรากฏการณ์ลานีญาจะอ่อนกำลังลงและเข้าสู่เอลนีโญในระดับต่ำถึงปานกลาง ส่งผลให้อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน 2568 คาดว่าประเทศไทยจะเผชิญกับอุณหภูมิสูงสุดถึง 45 °C ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์
นับตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงตอนนี้ รัฐบาลได้ออกมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 หลากหลายนโยบายด้วยกันในฐานะที่ปัญหานี้เป็นวาระแห่งชาติ แต่ยังไม่สามารถทำให้ปัญหาดังกล่าวดีขึ้นจนผู้คนรู้สึกได้ ขณะเดียวกันคนไทยต่างเผชิญปัญหานี้มานานกว่า 20 ปี ซึ่งพบว่าสถานการณ์รุนแรงมากขึ้นในช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา
ปัญหาเรื่องฝุ่น PM 2.5 นี้มีที่มาแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ แต่ส่วนใหญ่มาจาก "การเผา" ไม่ว่าจะเป็นการเผาป่า เผาไร่ เผานา ในพื้นที่เกษตรกรรม หรือการเผาถ่าน เผาขยะ ก็ล้วนก่อเกิดปัญหาในทุกพื้นที่ ตั้งแต่สร้างควัน สร้างกลิ่นรบกวน จนไปถึงการเกิดฝุ่นละอองลอยข้ามพื้นที่ไปยังพื้นที่อื่นๆ ประเทศไทยทั้งประเทศเกิดกลุมควันครอบคลุมไปทั่ว ก็เกิดมาจากการเผาในพื้นที่ประเทศเราเองจำนวนมาก เช่นเผาใบอ้อยก่อนการตัดสู่โรงงาน เผาฟางข้าวหรือตอซังในนา เผาป่าเพื่อหาล่าสัตว์ในเขตภูเขาสูงชัน รวมทั้งที่ลอยข้ามประเทศมาจากเพื่อนบ้านทั้งพม่า ลาว เขมร
คงต้องช่วยกันให้มากกว่านี้นะครับปีนี้รุนแรงมากกว่าปีก่อนๆ จริงๆ
12 กุมภาพันธ์ ไปวัดไปวาเอาบุญมาฆบูชาก่อนเด้อ อย่าสิห้าว! หาดอกไม้ "วันวาเลนไทน์" ในวันที่ 14 ดอกเด้อ โดยเฉพาะซุมอายุเกิน 30 นั้นบ่ต้องไปโพดในโซเชียลเอิ้นหาดอกไม้ อดใจรอไปรับ "ดอกมะลิ" ในวันแม่ 12 สิงหาคม พุ้น! เหอๆๆๆ หยอกๆๆๆ อย่าหน้างอตี้ล่ะ
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)