![]()
|
"ซอ" เป็นเครื่องดนตรีประเภทสี จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ทำให้เกิดเสียงโดยอาศัยคันชักสีเข้ากับสาย มีส่วนสาคัญ 2 ส่วนคือ ตัวสั่นสะเทือน (Vibrator) และตัวขยายเสียง (Resonator) และมีการสันนิษฐานว่า เครื่องสายนี้น่าจะเกิดหลังเครื่องดนตรีประเภทดีด เราเรียกเครื่องสายประเภทนี้ด้วยคำในภาษาไทยว่า "ซอ" แม้แต่เครื่องสีของฝรั่งที่เรานำมาใช้ในตอนหลังนี้ เราก็เรียกว่า "ซอ" เช่นกัน
"ซอ" สันนิษฐานน่าจะเป็นคำยืมมาจากภาษาอินเดีย เพราะซอสามสายของอินเดียในแคว้นแคชเมียร์เรียกว่า "ซาซ์" หรืออาจจะมาจากคำ "ซะโร" ซึ่งเป็นชื่ออีกชื่อหนึ่งของซอ "ซารินดา" ของอินเดีย แม้ในภาคเหนือของเราก็็เรียกว่า "ซอลอ" หรือ "สะล้อ" หรือ "ตะล้อ" หรือ "ทะลอ" ซึ่งเขมรก็เรียก "ซอ" วา "ตะรอ" หรือ "ตะรัว" หรือ "ตรัว" เป็นชื่อเรียกในแถบจังหวัดอีสานใต้ของไทย
การพัฒนาของเครื่องสายไทย หากตรวจสอบหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับวงเครื่องสาย ไม่ว่าจะเป็น วรรณคดี ประวัติศาสตร์ จะพบว่า ลักษณะของวงเครื่องสายเป็นวงที่เก่าแก่ที่สุดวงหนึ่ง แต่มิได้ใช้มาเป็นวงหลักสำหรับการบรรเลงในงานต่างๆ คงเป็นแต่เพียงวงพื้นเมืองที่บรรเลงตามบ้าน และไม่มีหลักฐานอันใดที่จะทราบว่า ในสมัยสุโขทัยก็ดี สมัยกรุงศรีอยุธยาก็ดี วงเครื่องสายเหล่านั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง แหล่งที่ให้กำเนิดวงเครื่องสายน่าจะเป็นไทยลานนา หรือไทยพายัพมากกว่าถิ่นอื่นของไทย เพราะจากการสังเกตวงดนตรีพื้นเมือง ชาวไทยพายัพยังคงรักษาสภาพมาจนถึงปัจจุบัน จะพบว่า เครื่องดนตรีหลักของเขาเน้นหนักไปในทางเครื่องมีสาย เช่น ซึง สะล้อ กระจับปี่ เป็นต้น จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏแต่ชื่อ "มโหรี" ไม่มีชื่อว่า "เครื่องสาย" หากจะอ้างหลักฐานของคำว่า "ดนตรี" ที่ปรากฏใน ราชานุกิจของพระมหากษัตริย์ว่า "...หกทุ่มเบิกเสภาดนตรี.." จะแปลคำว่า “ดนตรี” ว่า “เครื่องดนตรีที่มีสาย” อย่างภาษาบาลีสันสกฤต ก็ยังอ่อนหลักฐานนัก ด้วยเหตุนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงทรงเรียกว่า “มโหรีเครื่องสาย”
อันการพัฒนาของวงเครื่องสายไทย น่าจะเริ่มมาแต่การ “บรรเลงพิณ” คือ การบรรเลงด้วยพิณน้ำเต้ามาก่อน หรืออาจจะเป็นเครื่อง “มีสาย” ก็ไม่ทราบได้ จากหลักฐานในสมัยสุโขทัยปรากฏแต่คำว่า “พิณ” เป็นส่วนใหญ่ คือ เครื่องดีดหรือเครื่องสี ในสมัยอยุธยา ลักษณะของวงเครื่องสายชัดเจนขึ้น เพราะมีการกล่าวถึงเครื่องดนตรีที่อยู่ในวงเครื่องสาย เช่น ซอ ขลุ่ย เป็นต้น ดังสมัยรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ คงมีการเล่นดนตรีจนเกินขอบเขต ถึงกับมีบทบัญญัติกำหนดสำหรับผู้ที่เล่นเกินขอบเขตเข้าไปใกล้พระราชฐาน กำหนดไว้ในกฎมณเฑียรบาล ตอนที่ 15 ว่า
.......แลร้องเรือ เป่าขลุ่ย เป่าปี่ตีทับ ขับราโห่ร้อง นี่นั่น ไอยการ หมื่นโทวาริก ถ้าจับได้โทษ 3 ประการ... "
เครื่องดนตรีต่างๆ ที่กล่าวถึงล้วนอยู่ในวงเครื่องสาย คำว่า “สีซอ” ที่กล่าวถึงนั้นไม่น่าจะเป็น ซอสามสาย น่าจะเป็น ซออู้ ซอด้วง มากกว่า เพราะซอสามสายเสียงเบา ไม่เหมาะที่มาเล่นในกลางแจ้ง และมักถือว่าเป็นซอระดับสูงกว่าซออู้ ซอด้วง นอกจากนี้ ซออู้ ซอด้วง เป็นเครื่องดนตรีที่หาง่ายและเล่นง่ายกว่าซอสามสาย
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงได้เกิดรูปวงเครื่องสายที่แท้จริง แต่คงแบบที่ชาวจีนเขานิยมเล่นกัน วงเครื่องสายของจีนที่สาคัญคือ ซออู้ ซอด้วง ขิม ม้าล่อ กลอง ฯ จะเห็นได้ว่าลักษณะของวงเครื่องสายจะอยู่ในรูปแบบประสม 2 แบบ คือ ประสมด้วยเครื่องดนตรีด้วยกัน เช่น ประสมด้วยขิม เปียโน เป็นต้น และประสมด้วยวงดนตรี เช่น ประสมด้วยวงกลองแขก ปัจจุบันวงเครื่องสายถือว่าเป็นวงดนตรีไทยชนิดหนึ่ง ประกอบด้วย ซออู้ ซอด้วง จะเข้ ขลุ่ย ฉิ่ง โทน รามะนา และฉาบ
ຫຼວງພະບາງແດນງາມ | หลวงพะบางแดนงาม | ລາວຈະເລີນ Feat ຕິ່ງນ່ອຍໆ
ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีซอชนิดหนึ่งเรียกวา “ซอโอ” มีลักษณะที่คลายคลึงกับซออู้ของไทย ซอชนิดนี้มีสาย 2 สาย คันทวนทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ดู่ไล ไม้กะยูง บางครั้งทำจากงาชาง ในบางครั้งอาจแกะสลักเป็นรูปพระยานาคที่ปลายคันทวน คันทวนนี้มีความยาวประมาณ 80-90 เซนติเมตร กล่องเสียงหรือกะโหลก คนลาวเรียกว่า “กระบอกซอ” ทำจากกะลามะพร้าว โดยด้านหน้าของซอขึงดวยหนังแบ้ (แพะ) หรือหนังลูกวัว ส่วนด้านหลังนิยมแกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ ลูกบิดที่ใช้ขึงสายปรับเทียบระดับเสียง มีความยาวประมาณ 17-18 เซนติเมตร สายของซอทั้งสองสายทำจากเชือกไหมขวั้นเป็นเกลียว คันชักมีรูปทรงคลายคันธนู มีความยาวประมาณ 70 เซนติเมตร ขึงด้วยขนหางม้าจำนวน 160-200 เส้น ซอโอ เทียบเสียงในระยะขั้นคู่ 5 โดยเสียงของสายทุ้มอยูที่ระดับเสียง โด และสายเอกอยู่ที่ระดับเสียง ซอล
“ซอ” เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ทำให้เกิดเสียงโดยการใช้คันชักสีเข้ากับสาย ปกติซอของไทยมี 3 ชนิด คือ ซอสามสาย ซอด้วง และซออู้ แต่ยังมีซออีกประเภทหนึ่งในภาคอีสาน ซึ่งทำจากวัสดุในท้องถิ่น ซอเหลานี้จึงตั้งชื่อตามวัสดุที่นำมาทำกะโหลกซอ เช่น ซอบั้ง เป็นซอที่ใช้บั้งไม้ไผ่ทำกะโหลก ซอปี๊บ เป็นซอที่ใชปี๊บน้ำมันทำกะโหลก และซอกระป๋อง เป็นซอที่ใชกระป๋องนมหรือกระป๋องสีทำกะโหลก ส่วนประกอบของซอโดยทั่วไปได้แก่ กะโหลกซอ คันทวนซอ สาย ลูกบิด และ คันชักสี ซอที่นิยมเล่นตามคณะหมอลำหรือมหรสพทั่วไปเป็นชนิด ซออู้
เนื่องจากมหรสพทางภาคอีสานใน "กลุ่มวัฒนธรรมดนตรีอีสานเหนือ" นั้น ซอ เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้สีคลอไปกับคนร้องหรือลำ ทำให้คนร้อง หรือลำไม่หลงเสียง หรือเสียงเพี้ยน และยังช่วยให้คนร้องหรือลำเบาแรงอีกด้วย นอกจากจะใช้บรรเลงคลอไปกับคนร้องหรือลำแล้ว ยังใช้บรรเลงรวมกับวงดนตรีบางประเภทด้วย แต่ทั้งนี้ต้องพยายามสีให้กลมกลืน และมีเสียงลอดออกมาได้ตามความเหมาะสม
บุญมา กาละกุล มือซอกะปี๊บ : จากรายการ ชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร ThaiPBS
เครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานประเภทเครื่องสี คือ ซอที่มี 2 สาย ได้แก่ ซอกะโป๋, ซอกะปี๊บ, ซอกระป๋อง, ซอบั้งไม้ไผ่ (กะโหลกซอ ทำจากบั้งไม้ไผ่บ้านปอกผิวให้บาง 2 มิลลิเมตร คันชักซอบั้งไม้ไผ่จะสีนอกสาย)
ซอกะโป๋ (กะโป๋ หมายถึง กะลามะพร้าว) มีลักษณะคล้ายซออู้ กะโหลกทำจากกะลามะพร้าว คันชักใช้สีข้างใน ซอกะโป๋เล่นมาแล้วหลายชั่วอายุคน ผู้บรรเลงซอที่มีความเชี่ยวชาญ คือ นายทองฮวด ฝ่ายเทศ ชาววาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม และนายอุ่น ทมงาม ชาวอำเภอปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ด ซอกะโป๋ ใช้บรรเลง ประกอบการแสดงหมอลำ และประกอบเพลงลูกทุ่งหมอลำในปัจจุบัน ส่วนซอปี๊ป และซอกระป๋อง เพิ่งมีใช้สมัยที่มีกระป๋องน้ามันก๊าดและกระป๋องโลหะต่างๆ พบในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ระบบเสียงของซออีสานตั้งสายเป็นคู่ 5 คล้ายซอด้วง ที่ตั้งเสียงสายทุ้มเสียง ซอล สายเอกเสียง เร และซออู้ที่ตั้งเสียง สายทุ้มเสียง โด สายเอกเสียง ซอล โดยซออีสานตั้งเสียงสายนอกหรือสายที่ 1 ตั้งเสียง มี ส่วนสายในหรือสายที่ 2 ตั้งเสียง ลา (คู่ 5) ไล่ลำดับเสียงเป็นมาตราเสียงสากล คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด สามารถทำครึ่งเสียงได้
หงษ์ทองคะนองรำ - สีซอโดย บุญฮวด ฝ่ายเทศ
ลายที่นิยมบรรเลงเป็นลายประเภทลำเต้ย ลำเพลิน ลำหมู่ และการบรรเลงประกอบการร้องเพลงที่โด่งดังในอดีต คือเพลง "หงษ์ทองคะนองรำ" ขับร้องโดยศิลปินชื่อ หงษ์ทอง ดาวอุดร บรรเลงซอโดย นายบุญฮวด ฝ่ายเทศ ซออีสาน นิยมใช้บรรเลงประกอบการแสดงหมอลำ บรรเลงในวงมโหรีอีสานและเพลงลูกทุ่งหมอลำในปัจจุบัน พื้นที่ที่นิยมเล่นในอดีตพบทั่วไปในภาคอีสาน โดยเฉพาะอำเภอจตุรพักตรพิมาน อำเภอปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ด และอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
ซออีสานมีสองสาย โดยมี สายที่ 1 และสายที่ 2 ตั้งเสียง คู่ 5 คือตั้งสายที่ 2 เป็นเสียง ลาต่ำ สายที่ 1 เป็นเสียง มี ตามตารางตาแหน่งเสียงดังต่อไปนี้
การสีซอพื้นบ้านอีสาน ไม่จำกัดท่าทางในการสี เพื่อให้การบรรเลงดูสง่างาม ผู้ฝึกควรปฏิบัติดังนี้
การสีสายเปล่า ถ้าต้องการสีซอให้เกิดเสียงที่ชัดเจน และเป็นเสียงที่มีคุณภาพ ควรฝึกหัดสีซอสายเปล่าก่อน โดยเริ่มดังนี้
การสีซออีสานให้ไพเราะ จะต้องเรียนรู้และฝึกหัดอย่างถูกต้อง ฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้คันชักกับการวางนิ้วมือ เพราะความไพเราะในการสีซอ เกิดจากการใช้คันชักและนิ้วมือที่กดบนสายซอ (ขย่มซอ) การพรมนิ้ว การประสาย การเอ้เสียง (ใช้เสียงเลื่อน) ส่วนการไกวคันชักเข้าออก ควรไกวไปทั้งแขน โดยใช้ข้อมือช่วยเสียงซอจึงจะน่าฟัง คันชักสายเปล่า ควรไกวคันชักให้สุดคันชักไกวออกช้าๆ สังเกตว่าเสียงซอที่เกิดขึ้น ถ้าเสียงดัง กราก ก็แสดงว่าไกวคันชักแรงเกินไป ต้องไกวเบาลงมา แต่ถ้าเสียงเบาเกินไป แสดงว่าไกวคันชักเบาต้องเพิ่มให้แรงขึ้น สีสายเปล่าให้คล่อง จนเกิดความชานาญในการไกวคันชัก
เมื่อไกวคันชักสายเปล่าจนคล่องแล้ว ขั้นต่อไปจึงหัดลงนิ้วที่สายเอกก่อน โดยใช้คันชักหนึ่งก่อน ความหมายของ "คันชักหนึ่ง" หมายความว่า สีออกหนึ่งเสียง สีเข้าหนึ่งเสียง เมื่อสีสายเอกได้คล่องและไม่เพี้ยนแล้ว ต่อไปก็หัดสีสายทุ้ม การลงนิ้วในสายเอกและสายทุ้มควรลงนิ้วตามลำดับการไล่เสียง การหัดลงนิ้วนี้จะต้องไม่ให้เพี้ยนเลย ถ้าเพี้ยนต้องแก้ไขทันที การใช้คันชักกับการลงนิ้วจะต้องสัมพันธ์กัน คือ พอดึงคันชักออกก็ต้องลงนิ้วไปพร้อมกัน พอผลักคันชักเข้าก็ลงนิ้วไปพร้อมกันด้วย
วิธีสีซออีสานเบื้องต้น โดย อาจารย์หนุ่ม ภูไท
สนใจเรียนการสีซออีสาน โดย อาจารย์หนุ่ม ภูไท คลิกเลยตรงนี้
การสีซอไทย มีด้วยกันหลายคันชัก เช่น คันชักหนึ่ง คันชักสอง คันชักสี่ คันชักแปด คันชักนาคสะดุ้ง คันชักเลื่อยซุง คันชักน้ำไหล ฯลฯ การรู้จักใช้คันชักจะทำให้การสีซอมีความไพเราะ ได้อารมณ์ ให้ทดลองฝึกใช้คันชักต่างๆ
การฝึกสีซออีสาน สรุปได้ว่า จะต้องฝึกหัดการใช้คันชัก การลงนิ้ว ให้มีความชำนาญ โดยควรฝึกกับบทเพลงที่เป็นการสีที่ใช้วิธีการขั้นพื้นฐาน ฝึกสีซอตามจังหวะต่างๆ ตามแบบฝึกหัดจนเกิดความชานาญ ฝึกสีซอลายพื้นบ้านต่างๆ โดยควรฝึกจังหวะช้าๆ ก่อน เมื่อชานาญแล้วจึงเพิ่มจังหวะให้เร็วขึ้นตามลำดับ
ควรฝึกเทียบเสียง การสีสายเปล่า โดยไม่ต้องลงนิ้ว เริ่มฝึกสีทีละสาย เมื่อฝึกจนชำนาญแล้วจึงฝึกไล่เสียง ฝึกกดนิ้วแต่ละนิ้วลงบนสายซอให้มีความสัมพันธ์และกลมกลืนกับการใช้คันชัก จนสามารถปฏิบัติไปอย่างอัตโนมัติ จึงฝึกวิธีสีแบบง่ายๆ คือ การสีด้วยคันชักหนึ่ง หรือเรียกว่าการสีแบบเก็บ ฝึกสีตามวิธีการนี้จนมีทักษะที่ชำนาญในการลงนิ้วและใช้คันชัก จึงค่อยฝึกทักษะการสีที่ยากขึ้น เช่น ฝึกการพรมนิ้ว รูดนิ้ว สะบัดนิ้ว หรือสะบัดคันชัก ตามแต่บทเพลงที่นำมาฝึก ที่สาคัญคือ ควรฝึกอ่านโน้ตให้เกิดความชานาญ
การเอ้เสียงหรือการเอื้อนเสียง เป็นเทคนิคที่พบในการบรรเลงเพลงเดี่ยวซอ เพราะมีลักษณะเหมือนการเลียนเสียงร้อง สามารถสะกดความรู้สึกสร้างอารมณ์ผู้ฟังให้รู้สึกคล้อยตาม โดยเฉพาะอารมณ์ความโศกเศร้า อาลัยอาวรณ์ที่มีต่อคนที่รัก หรือคนที่จากบ้านมาทำงานต่างถิ่น ทำให้ผู้ฟังรู้สึกสะเทือนใจไปด้วย บางคนที่เข้าถึงอารมณ์ของเสียงซอ อาจทำให้รู้สึกใจจะขาดตามเสียงซอที่ได้ยินก็ได้ ผู้ที่ถือว่าเป็นต้นแบบของเทคนิคการสีซอ ได้รับการยกย่องว่าเป็นปรมาจารย์ด้านซออีสานก็คือ นายทองฮวด ฝ่ายเทศ เจ้าของรางวัลศิลปินมรดกอีสาน ประจำปี 2551 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ดังนั้นเทคนิคการเอ้เสียงหรือการเลื่อนเสียง ผู้ที่สีซออีสานจะตองหมั่นฝึกซ้อม ลายเพลงต่างๆ ให้เกิดความชำนาญ เพื่อใช้เทคนิคดังกล่าวทำให้บทเพลงมีสีสันและความไพเราะน่าฟ้งขึ้น
การเอ้เสียงหรือเสียงเอื้อน เป็นกลวิธีการบรรเลงซอที่เลียนเสียงเอื้อนหรือเสียงร้อง เป็นการสร้างหรือประดับตกแต่งเสียงให้มีสีสัน สามารถเลื่อนเสียงจากสายนอกเสียง มี ไปที่เสียง ซอล โดยสีสายนอกเสียง มี คันชักออกหรือเข้าก็ได้ เพียงคันชักเดียว จากนั้นใช้นิ้วชี้กดโน้ตเสียง ฟา แล้วเลื่อนลงมาที่เสียง ซอล หลังจากเอ้เสียงแล้วจะต้องพรมนิ้วต่อเนื่องกัน
ทำซอแบบง่ายๆ ไว้ใช้เอง โดย พ่อมนเทียร บุญธรรม
นอกจากนั้นยังมีเทคนิค การพรมนิ้ว การสะบัด การประ ซึ่งต้องฝึกฝนร่ำเรียนจากครูซอให้ชำนาญ
ข้อมูลอ้างอิงจาก : ความรู้เกี่ยวกับซออีสาน สถาบันพัฒนศิลป์
[ เรื่องที่เกี่ยวข้อง : ซอกันตรึม ]
เรื่องราวตำนานโดย ทิดโส สุดสะแนน
พิณ แคน ซอ โปงลาง และโหวด เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสานที่ใช้บรรเลงประกอบกับการละเล่นต่างๆ มีบทบาทเป็นที่นิยมของคนทั่วไปโดยเฉพาะ “แคน” ถูกยกให้เป็น “ราชาแห่งดนตรีพื้นเมืองอีสาน” ส่วน “พิณ” เป็น “ราชินีแห่งดนตรีพื้นเมืองอีสาน”
แคน เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุด มีชื่อเสียงควบคู่คนอีสานมายาวนานเหมือนคำที่ว่า “คนอีสานไม่เคยขาดแคน” ยุคสมัยแรกๆ ที่คนอีสานเดินทางมาแสวงโชคในกรุงเทพฯ ที่เรียกว่า “มาค้ากำปั้น” มีแค่ 2 มือกับ 1 แรงกาย หลายคนมีแคนติดตัวมาเป็นเพื่อน มีงานทำห่างบ้านห่างอีสานมานาน ก็เอาแคนมาเป่าเป็นเพื่อน บางคนจากอีสานมานานได้ยินเสียงแคนถึงกับน้ำตาไหล “คึดฮอดบ้าน” เลยทีเดียว
เสียงแคนจากแมนชั่น - ไหมไทย ใจตะวัน
เลิกงานตกเย็นย่ำค่ำมืด จะมานั่งล้อมวงสังสรรค์ อาจมี “บักสองซาว” บ้างพอเป็นกระไสยา เวลาเป่าแคน ใครพอลำได้ก็ลำปรบมือเพื่อคลายคิดถึงบ้าน จนเป็นภาพชินตาชินหูของคนกรุงเทพฯ และคนภาคอื่น ช่วงเทศกาลปีใหม่คนกรุงเทพฯ เขาจะไปเที่ยวงานท้องสนามหลวง งานวังสราญรมย์ คนอีสานที่มาทำงานในกรุงเทพฯ เป็นกรรมกรบ้าง ถีบสามล้อบ้าง จะรวมตัวกันเป่าแคน ตบมือ เดินไปเที่ยวงานที่ท้องสนามหลวงก็ตั้งวงรำแคนกัน
แคน มีบทบาทโดดเด่นขึ้นเมื่อถูกนำมาเป่าใส่เพลงบันทึกแผ่นเสียง เมื่อ พ.ศ. 2540 กว่า นักร้องนักแต่งเพลงลูกอีสาน ครูเฉลิมชัย ศรีฤาชา เป็นคนแรกที่นำเอาแคนเต้าเดียวมาเป่าใส่เพลง และมีกลองโทนหนึ่งใบตีจังหวะรำโทน อัดแผ่นเสียงขายดีเป็นที่นิยม ต่อมา ครูเบญจมินทร์ นักร้องนักแต่งเพลงลูกอีสานอีกคน ก็นำแคนมาเป่าใส่เพลง “ชายฝั่งโขง” และต่อมา สุรพล สมบัติเจริญ ก็นำมาเป่าใส่เพลง “น้ำตาลาวเวียง” ทำให้เสียงแคนที่ไพเราะเป็นที่ประทับใจของคนภาคอื่นมาแต่บัดนั้น
สมัยนั้น คนอีสานที่มาอยู่กรุงเทพฯ ที่มีความชำนาญเป่าแคนมีน้อย การหาหมอแคนไปเป่าประกอบเพลงยาก การเป่าแคนประกอบเพลงก็ใช้แค่เป่าขึ้นหัวอินโทรเพลงเท่านั้น จึงยังไม่โดดเด่นเท่าที่ควร
อีสานลำเพลิน - อังคนางค์ คุณไชย
พ.ศ. 2516 เพลง “อีสานลำเพลิน” เป็นเพลงแรกที่นำเอาทั้งแคนและพิณ มาบรรเลงประกอบเพลง ผสมกับดนตรีสากลได้อย่างกลมกลืน และดังเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ต่อมาเพลงที่มีเสียงพิณบรรเลงเป็นที่นิยมคือเพลง “คอยรักจากเสียงพิณ” โดย นกน้อย อุไรพร ต่อมาเพลงที่มีพล็อตหรือบรรยากาศเกี่ยวกับอีสานต้องมีเสียงพิณ เสียงแคนประกอบ จนเป็นที่นิยมหมอแคนที่เป่าใส่เพลงช่วงนั้นก็มี “สมัย อ่อนวงศ์” และ “บุญล้อม คอมพิวเตอร์” หมอแคนพิการตาบอดจากวงดนตรี “ทิดโส ลำเพลิน”
เนื่องจากอาจารย์บุญล้อมพิการตาบอด แต่มีความจำเป็นเลิศ มีความชำนาญในการเป่าแคน แต่เวลาไปเป่าใส่เพลงบันทึกเสียงในห้องอัดเสียง ร่วมกับเครื่องดนตรีสากลอื่นๆ เวลาผู้เรียบเรียงประสานให้สัญญาณมือให้เริ่มบรรเลง อาจารย์บุญล้อมมองไม่เห็น ถ้าจะใช้เสียงบอกก็ไม่ได้ ผมจึงใช้วิธีสะกิดไหล่เป็นสัญญาณให้เป่าได้ ด้วยประสาทฉับไวและความจำแม่นยำนี้เอง ผมจึงตั้งชื่อให้ว่า “บุญล้อมคอมพิวเตอร์” เพราะใช้นิ้วสัมผัส และมือพิณอันดับหนึ่งในตอนนั้นคือ ทองใส ทับถนน มือพิณประจำวงดนตรี “เพชรพิณทอง”
เมื่อ แคน พิณ ราชาและราชินีแห่งดนตรีอีสาน มาโด่งดังคู่กับเพลงลูกทุ่งอีสาน ต่อมาก็มีผู้นำเอา ซออีสาน มาบรรเลงใส่เพลงลูกทุ่งก็ดังเป็นที่รู้จักคือเพลง “คิดฮอดเสียงซอ” ขับร้องโดย สุภาพ ดาวดวงเด่น หมอซอยุคนั้นคือ ทองฮวด ฝ่ายเทศ ต่อมาก็มีโปงลางตามมาคือเพลง “คึดฮอดเสียงโปงลาง” ขับร้องโดย สัญญา เพชรเมืองกาฬ ตามมาด้วยเสียงโหวด แต่เพลงบรรเลงด้วยเสียงโหวดยุคแรกๆ ไม่มีเพลงดัง
คิดถึงเสียงซอ - สุภาพ ดาวดวงเด่น
“โปงลาง” กับ “โหวด” ดนตรี 2 ชนิดนี้มีข้อจำกัดคือ เปลี่ยนคีย์เสียง ยกเสียงสูงเสียงต่ำไม่ได้ จึงเป็นอุปสรรคกับการบันทึกเสียงไม่เข้ากับนักร้อง โปงลางกับโหวด จึงไม่โดดเด่นเท่าที่ควร
พิณ แคน ซอ เป็นดนตรีอีสานที่ปรับเสียงสูงต่ำเข้ากับเสียงนักร้องได้ จึงถูกนำมาบรรเลงกับเพลงลูกทุ่งมากที่สุด และเป็นที่นิยม
พ.ศ. 2520 อาจารย์พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา ได้สร้างและกำกับภาพยนตร์เรื่อง “มนต์รักแม่น้ำมูล” เรื่องราวหนุ่มสาวอีสานสมัยนั้น ที่ใฝ่ฝันอยากเป็นนักร้อง จึงดิ้นรนเข้ากรุงเทพฯ ไปเผชิญโชคและล่าฝันจนประสบความสำเร็จเป็นนักร้องดังมีชื่อเสียง มีเพลงประกอบภาพยนตร์ 10 เพลง ผู้กำกับมอบหมายให้ผมเป็นโปรดิวเซอร์ ควบคุมการผลิตเพลง เพลงส่วนมากจะเป็นแนวเพลงลูกทุ่งอีสาน ผมจึงนำหมอแคน คือ อาจารย์บุญล้อม คอมพิวเตอร์ และหมอพิณ อาจารย์สุดใจ พึ่งกิจ และหมอซอ จากวงดนตรีทิดโสลำเพลินมาร่วมบรรเลง เพลงลูกทุ่งที่ประกอบดนตรีอีสานส่วนมาก จะมี แคน พิณ ซอ ร่วมบรรเลงเพียงเล็กน้อย เช่น ขึ้นหัวเพลงหน่อย หรือไปโซโล่ตอนกลางเพลง ไม่ได้ร่วมบรรเลงกันเต็มๆ ทั้งเพลง
ขอบคุณโปสเตอร์จาก Thai Movie Posters
แต่คราวนี้ ผมให้หมอแคน หมอพิณ หมอซอ นำเพลงไปซ้อมจนขึ้นใจ จำเพลงได้ทั้งหมด เพื่อจะให้บรรเลงร่วมไปกับดนตรีสากลตลอดเพลง เป็นครั้งแรกของวงการ
เมื่อมาร่วมบันทึกเสียง พิณ แคน ซอ จะดีด เป่า สี เริ่มแต่หัวเพลง คลอทำนองเพลงไปจนจบ สอดรับกับเครื่องดนตรีสากลที่มีทั้ง แซกโซโฟน ทรัมเป็ต ไวโอลิน และแอคคอร์เดียน เรียกว่าบรรเลงเคียงบ่าเคียงไหล่กันเต็มๆ เพลงไปเลย
ปรากฏว่า เพลงชุดนี้ที่มีเครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสานบรรเลงร่วมแบบเต็มๆ เพลง ได้รับความนิยมมีเพลงดัง เช่น เพลง “มนต์รักแม่น้ำมูล” “ลูกทุ่งคนยาก” “ลำกล่อมทุ่ง” “ฝากใจไว้ที่เดือน” และ “แต่งงานกันเด้อ” ส่งให้ภาพยนตร์ได้รับความนิยม เปิดฉายรอบปฐมทัศน์วันแรกโรงแตก เพราะคนดูล้นโรงเป็นประวัติศาสตร์ของวงการหนังไทยอีกเรื่องหนึ่ง เพลงประกอบภาพยนตร์ก็ดังเป็นอมตะมาจนปัจจุบันนี้
มนต์รักแม่น้ำมูล - สนธิ สมมาตร
พูดถึง หมอแคน นอกจากหมอแคนที่ชำนาญด้านเป่าประกอบเพลงบันทึกเสียงแล้ว ยังมีหมอแคนที่ชำนาญด้านการโชว์บรรเลง ในยุคนี้คือ อาจารย์สมบัติ สิมหล้า หมอแคนพิการตาบอดเช่นกัน ที่ได้ฉายา “หมอแคนขั้นเทพ” เพราะมีพัฒนาการเป่าแคนให้หลากหลายลีลาขึ้น
ช่วง พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา มีเครื่องดนตรีใหม่เข้ามาพร้อมกันกับคอมพิวเตอร์ สามารถจะปรับเสียงเลียนแบบเสียงดนตรีได้ ในเพลงลูกทุ่งยุคนี้จึงได้ยินเสียงโหวด เสียงโปงลาง เกิดขึ้นเพราะใช้คอมพิวเตอร์มาเลียนเสียงได้ แต่เสียงแคนคอมพิวเตอร์ไม่สามารถเลียนเสียงได้ไพเราะนุ่มนวลเท่าของจริง
ก่อนจบเรื่องราว "เสน่ห์เสียงดนตรีพื้นเมืองอีสาน" มีข้อปรารภจากผู้เขียนนิดหนึ่งว่า เสียงแคนนั้นมีดี มีเสน่ห์อยู่ในเสียงแล้ว ไม่อยากเห็นผู้เป่าทำท่า (ขออนุญาตใช้คำศัพท์ภาษาอีสานว่า) “กระเด้า” โชว์ให้คนทั่วไป หรือออกสื่อโทรทัศน์ เพราะผู้เขียนมองว่า การทำแบบนั้นมันลดเสน่ห์ของเสียงแคนอันเป็นราชาแห่งดนตรีอีสานลงไปเยอะ เหมือนคนสวยอยู่แล้วไม่ต้องโป๊ก็สวยได้ ถ้าอยาก “กระเด้า” ก็ขอให้แสดงในกลุ่มชุมชนก็พอ ฝากถึงครูบาอาจารย์ผู้รู้ได้แก้ไขด้วย
เจรียง หรือ จำเรียง ภาษาเขมรในสุรินทร์เรียกว่า จรีง หรือ จำรึ่ง เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่เน้นการขับร้องมากกว่าการร่ายรำ ขับร้องเป็นเพลงคล้ายทำนองแบบการอ่านทำนองเสนาะ มักจะใช้ "กลอนสด" เป็นส่วนใหญ่เนื้อร้องเป็น ภาษาเขมร บรรยายถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตและปัจจุบัน คำว่า "เจรียง" เป็นคำกริยาในภาษาเขมรแปลว่า "ร้อง" ส่วนคำว่า "จำเรียง" หรือที่ชาวเขมรทางกัมพูชาออกเสียงว่า "จ็อบ-เรียง" นั้นเป็นคำนาม แปลว่า "บทร้อง" เจรียงมีลักษณะการขับคล้ายกับการขับวรรณคดีเสภาในภาคกลางที่เรียกว่า “เสภา” ภาคเหนือเรียกว่า “จ๊อย”
การเรียกเจรียง จะเรียกตามชนิดของเครื่องดนตรีที่เล่นประกอบการเจรียง เช่น ถ้าใช้ปี่ที่มีชื่อว่า เป์ยจรวง เป่าประกอบเรียกว่า เจรียงจรวง ถ้าใช้ ซอ บรรเลงประกอบเรียก เจรียงตรัว และหากนำเจรียงไปขับขานกับการละเล่นพื้นบ้านอะไรก็จะใช้คำว่า เจรียง นำหน้าการละเล่นนั้นๆ
เจรียง เป็นการละเล่นพื้นบ้านในลักษณะของ เพลงปฏิพากย์ (dialogue songs) คือ เพลงที่ชายหญิงใช้ร้องโต้ตอบกัน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการเกี้ยวพาราสี มีจุดเด่นอยู่ที่โวหาร การชิงไหวพริบกันเพลงพื้นบ้านที่ใช้ขับร้องนั้น จะแตกต่างกันไปบ้างตามลักษณะวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น สังเกตได้จากการใช้ภาษา ท่วงทำนอง เนื้อหา เครื่องดนตรี การร่ายรำ การแต่งกาย และโอกาสที่ขับร้อง เพลงปฏิพากย์ เป็นเพลงที่ร้องเล่นกันเป็นกลุ่มเป็นวง
เจรียง ซึ่งการละเล่นของชาวไทยเชื้อสายเขมรในอีสานใต้ และตามแนวชายแดนติดกับประเทศกัมพูชา เป็นเพลงที่เล่นในเทศกาล หนุ่ม-สาวมีโอกาสได้พบปะกัน เช่น เทศกาลตรุษสงกรานต์ เทศกาลกฐิน ผ้าป่า ในงานบุญต่างๆ ที่จัดขึ้นที่วัด เจรียง จึงเป็นการละเล่นพื้นบ้าน เป็นเพลงปฏิพากย์ของชาวไทยเขมร โดยชายหญิงร้องโต้ตอบกันไปมา มีทั้งเจรียงที่ร้องโต้ตอบเป็นคู่ๆ ระหว่างชายหญิง และมีการร้องกันเป็นกลุ่ม ซึ่งมีผู้นำขับร้อง เรียกว่า หัวหน้า หรือ พ่อเพลง และแม่เพลง อาจจะมีลูกคู่คอยร้องรับในจังหวะ เช่น เจรียงซันตูจ เจรียงตรด เจรียงเบริน เป็นต้น การแสดงอย่างเดียวกันนี้ในประเทศกัมพูชา เรียกว่า "โอะกัญโตล"
การเจรียง จะเริ่มต้นด้วยบทไหว้ครู เป็นการรำลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระคุณบิดามารดา ครูบาอาจารย์ แล้วเริ่มบทปฏิสันฐานกับผู้ฟัง เพื่อบอกเล่าถึงความสำคัญของการแสดงว่า งานนั้นๆ มีการบำเพ็ญกุศลอะไร บางครั้งก็ยกนิทานประกอบ การเจรียงอาจจะเจรียงเป็นกระทู้ถามตอบ ในช่วงหลังๆ จะเพิ่มความสนุกสนานโดยใช้บทหยอกล้อ กระทบกระเทียบ ในลักษณะตลกคะนองเพิ่มเข้ามา
ปัจจุบัน การละเล่นเจรียง เกือบทุกประเภทที่เคยได้รับความนิยมในอดีต ได้ถูกหลงลืมและลดความสำคัญไปจากสังคมชาวไทยเขมร จนแทบจะไม่มีให้ชมให้ฟังอีกเลย จะมีไม่กี่เพลงที่เหลืออยู่ แต่ใกล้ดับสูญตามไปด้วย แต่ก็ยังมีบทเพลงเจรียงบางประเภท ที่ได้สอดแทรกแนวปรัชญาแห่งการดำเนินชีวิต ตามหลักพุทธศาสนาของกลุ่มชาวไทยเขมรไว้อย่างพร้อมมูล ด้วยเหตุนี้เจรียงจึงยังคงอยู่คู่กับวัฒนธรรมสังคมชาวไทยเขมรตลอดมา ในสภาพที่เสี่ยงต่อการสูญหาย ทั้งนี้เพราะสภาพสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันนั่นเอง
ประเภทการเจรียง แบ่งออกได้หลายแบบ เช่น
1. เจรียงซันตูจ แปลว่า ร้อง-ตกเบ็ด เป็นการร้องเล่นในงานเทศกาลต่างๆ หรืองานบวชนาค และที่แพร่หลายกันมากคือ ช่วงเดือน 10 (ไงแซนโดนตา) และช่วงเดือน 5 (แคแจด) ในวันฉลองส่วนมากจะจัดเป็นงานวัด หนุ่มๆ ที่มาร่วมงานจะมารวมกันเป็นกลุ่มๆ และหาคันเบ็ดมา 1 อัน เหยื่อที่ปลายคันเบ็ดนั้นใช้ขนม ข้าวต้มมัด ผลไม้ผูกเป็นพวง
วิธีการตกเบ็ดนั้น ที่ใดมีกลุ่มหญิงสาวนั่งรวมกันอยู่ กลุ่มหนุ่มๆ จะพากันร้องรำทำเพลง แล้วก็หย่อนเบ็ดให้เหยื่อไปลอยอยู่ตรงหน้าสาวคนนี้บ้าง คนโน้นบ้าง ผู้ที่ถือคันเบ็ดจะเป็นผู้ร้องเพลง (เจรียง) เอง หากสาวผู้นั้นรับเหยื่อ (หรือขนม) ไปแสดงว่าพอใจ หลังจากเสร็จงานแล้ว ฝ่ายหนุ่มจะให้ผู้ใหญ่ไปสู่ขอหรือทาบทามต่อไป
2. เจรียงกันกรอบกัย (เพลงปรบไก) เป็นการเล่นเจรียงคนเดียว ไม่มีดนตรีเป็นแบบแผน ส่วนใหญ่ใช้วิธีตบมือหรือสีซอเป็นการเจรียงแบบตลก
3. เจรียงตรัว เป็นการขับร้องเดี่ยวเป็นนิทาน ประกอบซอ คล้ายการ "ลำพื้น" ของชาวอีสานเหนือ ผู้ขับร้องจะสีซอไปด้วย
4. เจรียงจาเป็ย เป็นการขับร้องเดียวเป็นนิทาน ประกอบพิณกระจับปี่ มีผู้เล่นคนเดียวเป็นผู้ขับร้องและดีดจาเป็ย
เพลง : เจรียงยายยิง ศิลปิน : สังเวียนทอง อรุณรุ่ง
5. เจรียง-จรวง แปลว่า ขับร้องโดยมี "ปี่จรวง" เป่าประกอบ เป็นการขับร้องโต้ถามกันเป็นเรื่องตำนาน สุภาษิตต่างๆ เดิมใช้ "ปี่จรวง" ประกอบแต่ปัจจุบันใช้ "ซอ" แทน
6. เจรียงนอรแก้ว มีผู้แสดงประกอบด้วยชาย 2 คน หญิง 2 คน เป็นการเล่นโต้ตอบระหว่างชายหญิง โดยแต่ละฝ่ายจะมีพ่อเพลงและแม่เพลงร้องนำ และมีลูกคู่ร้องตาม ต่อจากนั้นชาย-หญิงแต่ละฝ่ายจึงร้องโต้ตอบกันเป็นคู่ๆ โดยไม่มีเครื่องดนตรีประกอบ
7. เจรียงปังนา เป็นการขับร้องคล้ายกับเจรียงนอรแก้ว แต่มีจังหวะเร็วกว่า มีผู้แสดงประกอบด้วยชาย 1 คน หญิง 1 คน คนตีกลองโทน 1 คน ขับร้องโดยบรรยายเรื่องราวตามต้องการ
8. เจรียงเบริน เป็นการร้องเพลงคลอกับ "ซอ" แบบร้องคู่ชาย-หยิง วิวัฒนาการมาจากการเล่น "กัญต๊อบไก" ซึ่งมีการร้องโต้ตอบ มีเครื่องดนตรี "ปี่อ้อ" ประกอบ ต่อมาการเล่นชนิดนี้ได้นำ "แคน" เข้ามาเป่าประกอบทำนองเจรียงเบริน คล้าย "หมอลำกลอน" ของชาวอีสานเหนือ เป็นทำนองขับลำนำเรื่องราวหรือโต้ตอบซักถามนิทานชาดก ซึ่งเข้าใจว่าเกิดขึ้นในช่วง 50-60 ปี มานี้ การเล่นเจรียงเบริน มีองค์ประกอบต่างๆ คือ ผู้เล่น ชาย-หญิง 2-3 คน สถานที่แสดงไม่จำกัดสถานที่จะเป็นที่ไหนก็ได้ ที่เหมาะสม
การแสดงเจรียงเบริญพื้นบ้าน จังหวัดสุรินทร์
การแต่งกาย แต่งแบบพื้นบ้านโบราณ ต่อมามีการพัฒนาให้หญิงนุ่งกระโปรง ชายสวมกางเกงขายาว ดนตรีที่ใช้ประกอบ มี แคน ซึ่งเป่า "ลายแมงภู่ตอมดอก" เป็นส่วนใหญ่ ท่ารำจะมีท่ารำพื้นฐานอยู่ 5 ท่าคือ ท่ารำเดิน ท่ารำถอย ท่ารำเคียง ท่ารำเกี้ยว ท่าดีดนิ้ว และท่าเตะขา
วิธีการเล่น จะเริ่มจากการบูชาครู แนะนำตนเอง มีการบอกกล่าวถึงความสำคัญของงาน แล้วเริ่มเจรียงถาม-ตอบ เจรียงเรื่อง สุดท้ายจะเจรียงลา คุณค่าของเพลงพื้นบ้านเจรียงให้คุณค่าในหลายๆ ด้าน เช่น ด้านภาษาสามารถเลือกสรรคำที่ไพเราะ มีสัมผัสที่เป็นภาษาเขมร แต่ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว เนื้อหาของบทร้องเจรียงยังสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ ประเพณี ค่านิยม สังคมและอาชีพด้านต่างๆ นอกจากนี้เพลงพื้นบ้านเจรียงเบรินยังให้ความบันเทิงใจ ให้ความเพลิดเพลิน และสนองตอบสภาวะด้านจิตใจได้ด้วย
9. เจรียงตรุษ เป็นการร้องรำเป็นกลุ่มในวันขึ้นปีใหม่ (13 เมษายน วันสงกรานต์) โดยมีพ่อเพลงร้องนำแล้วลูกคู่ก็ร้องตาม หรือร้องรับ เดินทางเป็นคณะไปร้องอวยพรตามบ้านต่างๆ เมื่ออวยพรเสร็จก็จะขอบริจาคเงินเพื่อไปทำสาธารณะประโยชน์ต่างๆ ลักษณะการร้องรำอันนี้คล้ายกับ "การเซิ้งบั้งไฟ" ของชาวอีสานเหนือ
10. เจรียงกันตรึม ใช้ในงานมงคลโดยเฉพาะ เช่น กล่อมหอ ในงานแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ มีผู้เล่นประกอบ 4 คน เป็นชายทั้งหมด เครื่องดนตรีประกอบด้วย ปี่อ้อ 1 คน ซอด้วง 1 คน กลองโทน 2 คน คนตีกลองจะเป็นผู้ขับร้อง
มีการนำเอา "เจรียง" มาทำเป็นเพลงลูกทุ่งกันบ้างแล้ว ที่คุ้นเคยหน่อยและโด่งดังพอตัว เพราะได้ดัดแปลงเนื้อร้องจากภาษาเขมรมาเป็นภาษาไทยให้ฟังง่าย อย่างเพลง "ลูกเทวดา" ของ สนุ๊ก สิงห์มาตร
ลูกเทวดา - สนุ๊ก สิงห์มาตร
ซึ่งน่าจะมาจากต้นฉบับแบบเนื้อยังเป็นภาษาเขมรปนไทยอยู่ คือเพลง "เจรียงยิ่งยงสอนน้อง" โดย นักร้องจอมชี้(นิ้ว) ยิ่งยง ยอดบัวงาม แต่ดูเหมือนคนจะรู้จักเพลงนี้(ในสไตล์ภาษาเขมร)มากเพราะ คำมอด พรขุนเดช จากวงดนตรีลูกทุ่งหมอลำคณะเสียงอีสานนำไปร้อง (หาดูใน Youtube ได้นะ)
เจรียงยิ่งยงสอนน้อง - ยิ่งยง ยอดบัวงาม
เนื้อเพลง เจรียงยิ่งยงสอนน้อง - ศิลปืน ยิ่งยง ยอดบัวงาม
...... ปะโอนบองเอย ไงแนะไงเจียว เวเลียละออ.. เอ.เบอทาเนียงจองบานอังกอ
ออยเนียงยัวสราโตว.เก็น.. เอ.เบอทาเนียงจองเทิดทม สรวลบวนยางเบ็ญ.
บอนกุซอนออยเนียงบำเพ็ญ. ไกวละไกลเว็น เนอโอน..
ตระโยน.โยนเอย โยนๆ โยนเอยเนียงเอยก็โยนๆ
ก็ปรัวทาบอง.สลันปะโอน บานบองปรับนะบองทา นะบองทา
(....ดนตรี...)
สมัยซบไงกีเฮาสมัยพัฒนา ซบ.ไง.กีเฮาสมัยพัฒนา. กีเมียนน่ะตองคลับ
กีเมียนน่ะตองบาร์ โกนเมงนะโปรสะไล แจจั๊วะ...เพาะสรา โตวนานีโมวนา กีจิมอเตอร์ไซค์
กลางคืนนะเที่ยวคลับ กลางวัน...หลับสบาย เดาะมันนะเตือนเลิง อังกุยยุมจองบานปะเตย
คลูนทมนะเปินระเบ็ย มันแจ๊ะ...ตนำบาย วิชานะไม่มี ติดตัวนะทรามวัย
ดอลเนียงนะปานปะได บองคลาด...เสรยยากรอ โกนเพนคะเมารวล หากินนะไม่พอ
เปอเนียงนะขาดกรออ ออยเนียงคอมวิชา...นะวิชา
(...ดนตรี..)
ตระโยน.โยนเอย โยนๆ โยนเอยเนียงเอยก็โยนๆ
ก็ปรัวทาบอง.สลันปะโอน บานบองปรับนะบองทา นะบองทา
(...ดนตรี..)
แมเอานะนา.คละ ยากรอมันเทยปรูน ออยแตนะโกนซรูน
ออยโกนบานศึกษา ร่ำเรียนนะวิชา หาความรู้ใส่ตัว โกนคละนะเวียจูน
มันเด๊ะ...กึดเวไกล ทั้งหญิงนะทั้งชาย พากันเที่ยวคลับบาร์
กัญชงนะกัญชา ยาอง...ยาอี ยาบ้าก็มี พากันมั่วอบาย พ่อแม่อับอาย
เอียลเซราะ...เอียลแซร มันเตรยนะโกนแม มันแจ๊ะ.แยะเคาะเตรา
โคยมุนะแมเอา โคยดอล...ยัยตา ตัวเราก็ยังเด็ก ออยเร่งการศึกษา
ใครมีนะวิชา เขาว่า...เมียนประแซน ยากรอนะยังนา วิชา.จูยาบานเมน
กึดออยนะเมนเตน เนอโอน...ปะวอซะเร็ย .ละออบองเอย สดับบองยิ่งยงอันยัย
.โอนเกลียดโอนชังเกอไคว แดลบองยิ่งยงอันยัย ปรัวบองสลันซรัยเนอโอ..โอน
(...ดนตรี..)
ตระโยน.โยนเอย โยนๆ โยนเอยเนียงเอยก็โยนๆ
ก็ปรัวทาบอง.สลันปะโอน บานบองปรับนะบองทา นะบองทา
หลายคนมักจะตั้งคำถามเช่นนี้ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยฟังหมอลำมาก่อน ส่วนผู้ที่ชื่นชอบหรือคุ้นเคยในการฟังลำเป็นอย่างดี อาจจะไม่รู้สึกอะไรเลย เพราะฟังจนกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา เฉพาะอย่างยิ่ง “หมอลำกลอน” ถ้าไม่โอละนอ แทบจะบอกได้เลยว่า นั่นไม่ใช่หมอลำกลอน ซึ่งเท่ากับเป็นการย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของประเด็นคำถามนี้
อันที่จริงคำว่า “โอนอ” หรือ “โอ้ละนอ” นั้นก่อให้เกิดความสับสนแก่ผู้ฟังมานานแล้ว เนื่องจากคำว่า “โอ” นั้น ทำนองลำบางประเภทออกเสียงว่า “โอย” เช่น
ลำยาว (ลำล่อง) ร้องขึ้นต้นว่า “โอย…ละนอ ฟ้าเอ๋ยฟ้าฮ้องส่วยผู้ใดซวยแฮ่งเสียตื่ม”
ลำเพลิน ร้องขึ้นต้นว่า “โอยละหนอหละพี่เอ๋ย” หรือ “โอ้โอ่ยนอชาย”
ลำกลอน โดย หมอลำฉวีวรรณ ดำเนิน
ดังนั้น หลายคนจึงเข้าใจผิด เพราะหยิบเอาเฉพาะคำว่า “โอย” มาตีความ โดยลืมฟังคำต่อไปคือคำว่า “ละนอ” มาต่อท้าย ก็เลยกลายเป็นว่าภาคอีสานนั้นแห้งแล้ง ถึงขนาดหมอลำต้องร้องโอดครวญเป็นภาษาเพลง ทั้งๆ ที่ “โอย” คำนี้ มาจากคำว่า “โอยละนอ” หรือ “โอนอ”
เรื่องนี้น่าจะเป็นอุทาหรณ์สำหรับผู้ที่ชอบเอาภาษาส่วนกลางเข้าไปจับภาษาถิ่น ซึ่งทำให้เกิดความผิดพลาดจากการตีความได้ง่าย
นิทานพื้นบ้านหลายเรื่อง มักจะใช้คำว่า “โอละนอ” หรือ “โอนอ” เมื่อกล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับความรักหรือการเกี้ยวพาราสี เช่น
โอนอ ปานนี้นางแพงแก้ว เถิงปรางค์ผาสาท
แม่แจ่มเจ้า สิกุมให้บ่าวลาง แลนอ
และ
โอนอ ขูลูท้าว ผัวขวัญหลายชาติอวนเอย
บาหากละน้องไว้ ทางพี้บ่คนิง แลนอ
โอนอ แพงแสนสร้อย เสมอตาตนพี่ เฮียมเอย
พี่ก็คิดฮอดน้อง ประสงค์ตั้งแต่งไฟ
แสนสิไกลเหลือล้น บ่มีคนไปใส่ก็ตามถ้อน
ใจหากคึดฮอดน้อง นอนลี้อยู่บ่เป็น
โอนอ เจ้าอย่าได้ลวงพางข่อย เสียแฮงอ้ายนั้นเนอ เจ้าคำเอ๋ย
เมื่ออี่พี่จักขัดอยู่แท้ การเจ้าบอกไป อุ่นเอ๋ย
โอนอ คำไขน้อยสีไวซู่พี่ อี้เฮียมเอ๋ย
น้องอย่ามีใหม่ซ้อน ลืมอ้ายขาดขวัญ น้องเอ๋ย
โอนอ พี่หากคิดเถิงเจ้า สายคอบ่ฮู้สว่าง อวลเฮย
วิบากเป็นกำพร้า ยินค้อยคั่งทวง
พี่นี้เป็นดั่งชาลีท้าว กัณหาพลัดแม่ วันนั้น
ก็บ่ปานพี่พรากน้อง เดียวนี้ดุ่งมา พี่นา
แม้แต่ประเพณีเกี่ยวกับความรัก เช่น ประเพณีเกี้ยวสาวลงข่วง ก็ใช้คำว่า “โอนอ” นำหน้าบทพูด ที่เรียกว่า “คำผญา” เช่น
(ชาย) โอนอ อันว่าสุดที่ทางไกลล้ำ เดินทางมาถามข่าว
สุดที่คอยล่ำเยี่ยม หาน้องก็บ่เห็น อุ่นเอย
เจ้าก็นอนในห้อง แจเฮือนคอยถ้าพี่
แสนสิคิดฮอดน้อง นอนแล้วหากต่าวฝัน
(หญิง) โอนอ อ้ายเอย แนวหญิงนี้ คือกันกับดอกท่ม
ครันว่าอ้ายบ่หักไม้หมิ้น ดวงดั้วบ่หล่นลง ได้แล้ว
น้องนี้แนวนามเชื้อ สกุลญิงยศต่ำ
ญิงหากสุขอยู่ย้อน บุญสร้างพร่ำผัว
ต่อมาเมื่อภาษาพูดและภาษาวรรณกรรมถูกพัฒนามาเป็นภาษาเพลง คำว่า “โอนอ” ก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบเพลง ดังคำ “ขับโคลง” ของหนุมาน ในนิทานเรื่อง พระลักษณ์-พระราม (รามเกียรติ์) สำนวนเก่าของอีสานที่ว่า
โอนอ มาเสียดายโพธิ์ศรีต้นลังกาบานแบ่ง เพื่อนเด
ง่าหากโปดจากต้นบ่มีเอื้อต่อลำ แลนอ
โอนอ มาเสียดายบุปผาต้นลังกาหอมอ่อน เพื่อนเด
บัดนี้ กาบฮ่วนแล้วใบซิเยี้ยมล่ำคอย นี้เด
โอนอ เมื่อก่อนกี้งูหากคาบกินกบ เดนอ
เทื่อนี้ บ่มีดาวอยู่อ้อมดูเส้าหม่นหมอง แลนา
เมื่อนั้น หุลละมานท้าวขับสาส์นแล้วอย่า
เนือด ๆ ฟ้อนบาท้าวอ่านโคง”
ดังนั้นคำว่า “โอนอ” หรือ “โอละนอ” จึงกลายเป็นธรรมเนียมการเกริ่นนำขึ้นเพลง เฉพาะกลุ่มภาษาตระกูลลาวล้านช้าง เช่น ไทยภาคอีสาน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เลยไปจนถึงเขตมณฑลยูนนาน ตอนใต้ประเทศจีน เช่น
โอ้นอ โอ้นอ น้องเอย หนอน้องนอ ตูมดอกนอเดือนเต้า
เมียบ่หนี อกสินวลสิไลแล้ว บ่หนีทางพระเนอน้อง
สิคึดต่อ อ้ายตายนำเด้อ น้องเอย… ”
โอนอ มาอิดูโตนเด อกสิเพแตกแลง คำแพงเอย
อันแม่นว่า บ่แม่นหน่ายหลดตั้งแก้งแปลงล้อมพระนาง คิงบางเอย…
บัดนี้เจ้าผู้ก้อนน้ำล้าง ฮูปฮางเสมอเขียน
ขอเป็นดาวเดือนเพ็งแต่งลงยามสิย้อย
อันแม่นว่าสาธุเนอขอให้เป็นของข้อยบัวผันไคแน พี่น้องเอย
คันได้เป็นแท้ ๆ ตนน้องก็บ่แหนงสังแล้ว… ”
โอยแหละโอยนอ นางเอยนางเอย” หรือ “โอย โอยนอ ชายเอยชาย”
โอ่ยนอ…”
ลำสาละวัน พลัดถิ่นฐาน : ລຳສາລະວັນ ພັດຖິ່ນຖານ โดย ສຶດທຶພົນ ສຽງສະຫວັນ
โอนอ จิตระวังใจระเว อกสิเพแตกแล่ง โอ…โอย แพงนางเอย
โอนอ น้องหล่ากะวิงน้องอยู่บ่แล้ว แก้วอยู่หว่างใจอ้ายนา ”
โอนอ มักไถด้ำหรือไถคน นาโนนหรือนาต่ำ แม่ซิตำฮากไม้ไถบักอ้ายซิรับรอง ”
จากกลอนลำและคำขับทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น พอจะเข้าใจแล้วว่าทำไมหมอลำต้อง “โอละนอ” หรือ “โอนอ” โดยเฉพาะหมอลำกลอน ทั้งนี้เพราะ
ที่มา : สนอง คลังพระศรี นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับ สิงหาคม ๒๕๔๐
นอกจากเรื่องการขึ้นลำด้วย "โอละนอ" แล้วยังมีคำถามที่ตามมาอีกคือ ท่วงทำนอง หรือ สังวาสลำ ที่หลายๆ คนสงสัย สังวาสลำไม่ใช่ชนิดของการลำแต่อย่างใด เพราะการลำของหมอลำในภาคอีสานนั้นแบ่งเป็น ลำโบราณ ลำคู่หรือลำกลอน ลำหมู่ ลำซิ่ง ซึ่งในการลำเหล่านี้ก็จะมีกลอนที่เป็นการเกริ่นนำ (กลอนขึ้นลำ) กลอนเดินเรื่อง กลอนเต้ย (กลอนลา) กลอนลงลำ เป็นต้น
สังวาสลำ คือ สำเนียงการลำ (สังวาส คือ พื้นถิ่น/ท้องถิ่นนั้นๆ) บางทีใช้คำว่า "วาทลำ" จะมีใช้ในลำกลอนที่มีการแสดงเป็นเรื่องราว ซึ่งจะบ่งบอกว่า หมอลำคณะนั้น คนนั้นเป็นคนพื้นถิ่นใด หรือเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ที่ใด การลำที่มีวาทลำเป็นเอกลักษณ์และมีความแตกต่างกันเด่นชัดจะมีอยู่หลายจังหวัด เช่น
ลำศรีธนมโนห์รา โดย คณะรังสิมันต์ (ทองคำ เพ็งดี - ฉวีวรรณ ดำเนิน)
ลำกลอนประวัติเมืองอุบลฯ ฉลอง 200 ปี
ผู้ลำ : ป.ฉลาดน้อย ส่งเสริม ผู้แต่ง : กำนันดวง จันทร์น้อย
ในเวลานี้จะมีการเรียกลำทำนองขอนแก่น ออกเป็น 2 ยุค 2 สไตล์ คือ
มีข้อมูลคณะหมอลำชื่อดังที่เป็นรู้จักกันดี มีชื่อเสียงโด่งดังทั่วภาคอีสาน (ข้ามไปฝั่ง สปป.ลาว ด้วย) การจองคิวจ้างไปแสดงในงานต่างๆ นั้นยาวข้ามปีกันเลยทีเดียว ข้อมูลนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 นะครับ ปัจจุบันอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงบ้างแล้วก็ได้ ตามการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายตัวพระเอก นางเอก ทีมตลก หางเครื่อง และอุปกรณ์แสง สี เสียง ที่พัฒนาขึ้นมาก แข่งขันกันชัดเจนเลยทีเดียว
วงดนตรีลูกทุ่งหมอลำ ลำเรื่องต่อกลอน ที่เป็นความบันเทิงอันดับหนึ่งของพี่น้องชาวอีสาน การแสดงด้านหน้าเวทีตั้งแต่เริ่มต้น โชว์นักร้องน้องใหม่ หางเครื่อง ไปจนเต้ยลาช่วงสุดท้ายถือว่า เป็นความสุดยอดและคุณภาพทั้งด้านการแสดงโชว์เพลง เสื้อผ้า เวที เล่นตลก หมอลำ พระเอก นางเอก จัดนักแสดงได้ลงตัวเหมาะกับกลอนลำ ลำเรื่องต่อกลอนและช่วงเต้ยลาสุดท้ายในช่วงรุ่งสาง เรียบเรียงเรื่องราวได้เป็นอย่างดี จนจัดอันดับเป็นสุดยอดแห่งปี สำหรับ "10 อันดับคณะหมอลำยอดเยี่ยมแหงปี 2558" มีดังนี้