foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

prasart pueng header

phralelaiออกวัสสา หรือ ออกพรรษา คือวันสุดท้ายของเทศกาลเข้าพรรษา จะตรงกับวันขึ้น 15 เดือน 11 ในวันนี้ ทางสงฆ์จะจัดพิธีเรียกว่า วันมหาปวารณา แปลว่า อนุญาต หรือยอมให้ พระแต่ละรูปสามารถว่ากล่าวถึงข้อที่ผิดพลาดล่วงเกินระหว่าง ที่จำพรรษาอยู่ด้วยกัน เทศกาลออกพรรษา มีหลายจังหวัดทางภาคอีสานที่จัดงานแห่ปราสาทผึ้งขึ้น แต่ที่นับว่าเป็นต้นตำรับและมีความยิ่งใหญ่กว่าที่ใด คือ จังหวัดสกลนคร

หลายคนรู้จักคุ้นเคยกับปราสาทผึ้งดี แต่อาจจะไม่รู้ที่มา ที่มาของปราสาทผึ้งก็คือ ระหว่างที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ ปารักขิตวัน ใกล้บ้านปาริไลยยกะ (ป่าเลไลยก์) ในพรรษาที่ 9 โดยช้างปาริไลยกะกับลิงเป็นผู้อุปัฏฐาก ไม่มีมนุษย์อยู่เลย ตลอด 3 เดือน ช้างจัดน้ำ และผลไม้ถวาย ลิงนำรวงผึ้งมาถวาย เมื่อพระองค์ทรงรับแล้วก็เสวย ลิงเห็นก็ดีใจมาก ขึ้นไปจับกิ่งไม้เขย่ากิ่งไม้หักตกลงมา ตอไม้เสียบอกลิงตายไปเกิดเป็นเทพบุตรวิมาน

ครั้นถึงวันออกพรรษา พระพุทธเจ้าเสด็จสู่เมืองโกสัมพี ช้างคิดถึงพระพุทธเจ้ามาก หัวใจแตกตาย ไปเกิดเป็นเทพบุตรในวิมาน พระพุทธเจ้าทรงนึกถึงความดีของช้าง และลิง ที่เฝ้าอุปัฏฐากตลอดพรรษา 3 เดือน จึงทรงนำเอาผึ้งรวงมาเป็นดอกไม้ประดับในโครงปราสาท เป็นปราสาทที่เกิดขึ้นในจินตนาการของผู้ที่มารับ ระหว่างเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

อาจารย์ประสิทธิ์ คะเลรัมย์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เล่าว่า การทำปราสาทผึ้งในอีสาน นิยมทำกันมาแต่โบราณ ด้วยเหตุผลหรือคติที่ว่า เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อตั้งความปรารถนาไว้ หากเกิดในภพมนุษย์ขอให้มีปราสาทราชมณเฑียรอาศัยอยู่ด้วยความมั่งมีศรีสุข ถ้าเกิดในสวรรค์ขอ ให้มีปราสาทสวยงาม มีนางฟ้าแวดล้อมเป็นบริวาร เพื่อรวมพลังสามัคคีทำบุญทำกุศลร่วมกัน พบปะ สนทนากันฉันพี่น้อง เพื่อเป็นการประกาศหลักศีลธรรม ทำบุญทำกุศล

prasart pueng 03

ในอดีตการทำปราสาทผึ้งโบราณ เรียกว่า 'ต้นผึ้ง' หรือ 'ต้นเผิ่ง' ทำ โดยเอากาบของต้นกล้วยมาทำเป็นโครงจากนั้นก็ทำเอาดอกผึ้ง ที่ชาวบ้านจะนำขี้ผึ้งใส่ถ้วยหรือขัน ลงลอยในน้ำร้อนที่ตั้งไฟอ่อนๆ ให้ขี้ผึ้งละลาย แล้วใช้ผลมะละกอดิบ มาปอกเปลือกตรงส่วนก้น ให้มีความเว้าคล้ายกลีบดอกไม้ จุ่มลงในขี้ผึ้งที่ละลายแล้ว ก่อนยกลงจุ่มในน้ำเย็น ดอกผึ้งก็จะหลุดล่อนออกมา ซึ่งทำได้หลายสีสัน โดยใช้ขี้ผึ้งสีต่างๆ กัน เช่น ขาว เหลืองอ่อน เหลืองเข้ม เหลืองแสด ฯลฯ เอาดอกผึ้งไปตกแต่งปราสาท ก็จะใช้ไม้กลัดเสียบดอกบานไม่รู้โรย วางลงตรงกลางดอกผึ้งเป็นเหมือนเกสรดอกไม้

รูปทรงของปราสาทผึ้งโบราณจะสร้าง ขึ้นจากโครงไม้ไผ่ ตกแต่งด้วยหยวกกล้วยที่แทงเป็นลวดลายหรือ รูปทรงต่าง ๆ เช่น ทรงตะลุ่ม ทรงหอมียอดประดับหลังคา ทรงสิมหรืออุโบสถแบบอีสาน เป็นต้น

prasart pueng 01

ต่อมามีการคิดริเริ่มทำปราสาทผึ้งประยุกต์เริ่มขึ้นครั้งแรกที่ “วัดแจ้งแสงอรุณ” โดยมีพระมหาปราสาท หรือพระที่นั่งบางปะอิน เป็นต้นแบบ โครงสร้างของปราสาทผึ้งประยุกต์ ทำขึ้นด้วยไม้ แล้วหล่อขี้ผึ้งเป็นลวดลายต่างๆ ที่สวยงาม นำไปปะติดลงใน โครงปราสาท ทำให้เกิดความสวยงามในด้านศิลปะต่างจากเดิม สร้างความตื่นตาตื่นใจแกผู้ร่วมงาน นับแต่นั้นเป็นต้นมา จึงเป็นมีการริเริ่มที่จะมีการทำและประกวดแข่งขันปราสาทผึ้งประยุกต์ขึ้นมา โดยให้แต่ละคุ้มวัดทำส่งเข้าประกวด มีทุนสนับสนุน จากทางผู้จัดงานส่วนหนึ่ง และได้รับจากส่วนราชการหรือประชาชนอีกส่วนหนึ่ง

การทำปราสาทผึ้ง ชาวคุ้มวัดต่างๆ ร่วมกับข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน บริจาคเงินตามศรัทธาทำปราสาท ในตอนกลางคืนของวันขึ้น 13 ค่ำ ก่อนวันทำการ ขบวนปราสาทผึ้งชาวคุ้มต่างๆ จะนำปราสาทผึ้งของตนที่ตกแต่งอย่างสวยงาม ประดับโคมไฟหลากสี มาตั้งประกวดแข่งขันกัน ณ สนามมิ่งเมืองเพื่อให้ประชาชนได้ชมความสวยงามอย่างใกล้ชิด

 prasart pueng 02

ส่วนเทศกาลปราสาทผึ้ง กำหนดเอาวันเทศกาลออกพรรษาเป็นวันจัดงาน วันแรกแข่งเรือ วันที่สองแห่ปราสาทผึ้ง วันที่สามทำบุญออกพรรษา กลางคืนมีการสมโภชตามสมควร ในวันออกพรรษา หลังจากที่ได้มีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้าเรียบร้อยแล้ว ก็จะเริ่มจัดขบวนแห่ปราสาทผึ้ง มีปราสาทผึ้งและเทพีนั่งอยู่บนรถขบวน มีการฟ้อนรำของชาวบ้านและเหล่าสาวงาม เหล่าผู้เฒ่าผู้แก่และคนหนุ่มสาวชาวคุ้มต่างๆ จะร่วมเดินในขบวน ถือธูปเทียนแห่รอบพระธาตุเชิงชุม ทำใจให้เป็นสมาธิถวายเป็นพุทธบูชา

นอกจากจะเห็นความยิ่งใหญ่ของขบวนแห่ประสาทผึ้งที่สวยงานตระการตาแล้ว ยังจะได้ชมการแสดงรำหางนกยูง การแสดงมวยไทยโบราณ การแสดงชนเผ่าย้อ ชนเผ่าลาว ชนเผ่าภูไท ชนเผ่าโย้ย กระเลิง เผ่าโล้ ซึ่งแต่ละเผ่าจะมีเอกลักษณ์ของตัวเอง และจะหาดูไม่ได้ง่ายๆ แล้วในปัจจุบัน

blueline

 [ เรื่องที่เกี่ยวข้อง ฮีตบุญเดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา ]

 

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)