foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

philosopher header

chalee 01นายชาลี มาระแสง

ปราชญ์พื้นบ้านผู้พลิกแผ่นดินนาแล้งสู่ความอุดมสมบูรณ์

นายชาลี มาระแสง ปราชญ์ชาวบ้านผู้ปลูกป่า และทำการการเกษตรแบบผสมผสาน เป็นเกษตรกรผู้กว้างขวาง มีจิตสาธารณะ ชอบบำเพ็ญประโยชน์ และสร้างกิจกรรมต่างๆ มากมาย จากการที่ในวัยเด็กเคยอยู่กับธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ อยู่ร่วมกับสัตว์ป่าน้อยใหญ่อย่างสมดุล ธรรมชาติได้สอนให้นายชาลีมีความฉลาดในเรื่องการทำมาหากิน ทำให้เป็นคนที่มีความอดทนสู้งานหนัก จนกระทั่งบวชเรียนจบนักเรียนธรรมชั้นตรี ในปี 2491 หลังจากสึกออกมา นายชาลีมีแนวคิดที่จะทำงานหาเงิน

จึงตัดสินใจเดินทางไปขายแรงงานในภาคกลาง โชคดีที่มีมีคนรับไปทำงานในสวนส้ม สวนละมุด ที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ทำงานหนักเท่าไหร่ก็สู้ แต่ถูกดูหมิ่นถากถางอาชีพลูกจ้างจากบรรดาลูกเจ้าของนายจ้างอยู่บ่อยครั้ง ก็เลยหนีไปทำงานขุดร่องวางสายโทรศัพท์ในกรุงเทพฯ จากนั้นไปเป็นลูกจ้างขุดบ่อเลี้ยงปลาที่บางนา ต่อมาไปเป็นลูกจ้างทำนาที่นครนายก เป็นลูกจ้างในสวนมะพร้าว สวนมะม่วง และสวนกล้วยที่ชลบุรี จนกระทั่งปี 2495 จึงคิดหวนกลับคืนสู่บ้านเกิดที่ บ้านกุดซวย ตำบลคำพระ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ

ยังไม่ถึงบ้านได้แวะไปหาพี่สาวที่ตัวเมืองอำนาจเจริญ โชคพาให้ไปพบนายช่างใหญ่ หัวหน้าคนงานก่อสร้างชลประทาน จึงได้ทำงานหาประสบการณ์ด้านชลประทานอยู่ถึง 2 ปี พ่อ-แม่ตามให้กลับบ้านไปแต่งงานกับสาวที่สู่ขอไว้ให้ ขัดใจไม่ได้เลยต้องแต่งงาน แต่ก็อยู่กันได้เพียง 6 เดือนก็เลิกรา จนกลับไปหาคนรักเก่าที่เคยชอบพอกัน แต่พ่อ-แม่ทั้งสองฝ่ายก็ไม่ถูกใจ จึงหอบผ้าหนีไปอยู่ด้วยกัน ด้วยความสงสารเห็นใจจากแม่ฝ่ายหญิงที่สงสารลูกสาว จึงขอร้องให้กลับมาด้วยกันโดยยกที่นาโคกให้ 64 ไร่ แต่สามารถทำนาข้าวได้เพียง 4 ไร่เพราะไม่มีน้ำเพียงพอ ด้วยนิสัยรักสนุก ชอบเที่ยวเตร่ ดื่มสุราหนัก จึงทำให้หนุ่มชาลีกับเมียต้องอาศัยข้าวแม่ยายกิน

ยิ่งขุดยิ่งเจอทางสว่าง - พ่อชาลี มาระแสง

ความทุกข์ยากนี้วนเวียนซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกระทั่งวันหนึ่ง นายช่างชลประทานใหญ่มาเยี่ยมได้เห็นที่นาแห้งแล้งเช่นนั้น จึงให้คำแนะนำว่า "ต้องขุดดินกั้นพื้นที่ให้สูงไม่ต่ำกว่า 4 เมตร ยาว 160 เมตร คันดินกว้าง 1-2 เมตร เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้" ลุงชาลีครุ่นคิดวางแผนในการทำงาน แต่ก็ยังไม่ได้ลงมือ จนอีกขวบปีต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงผนวช ลุงชาลีได้ออกไปที่ทุ่งนากอบดินวางเทินไว้บนศีรษะ พร้อมตั้งสัตย์ปฏิญาณต่อแม่พระธรณีว่า "ข้าฯ จะขอขุดบ่อน้ำ ทำคันดิน กักน้ำทำนา เลี้ยงปลา ปลูกผักผลไม้ให้มีกินให้จงได้ และจะไม่ตัดโกนหนวดเคราจนกว่าจะกระทำได้สำเร็จ"

จากวันนั้น ตั้งแต่ตีสี่ ตีห้าของทุกวัน ลุงชาลีก็ตื่นออกมาขุดสระทำคันดินที่ทุ่งนาทุกๆ วัน จนมือทั้งสองข้างแตกเป็นร่องลึกไม่สามารถวักน้ำล้างหน้าได้ ต้องใช้หลังมือแทน ฝ่ามือแตกด้านหนาไม่เคยย่อท้อเป็นเวลานานถึง 18 ปีจึงสำเร็จผลตามที่ตั้งปณิธานไว้ สิ่งที่ลุงชาลีกล่าวถึงปณิธานนี้ว่า "หลักคิดไม่มีอะไรมาก เพียงใช้ศีล สมาธิ ปัญญา คือศีลนี้ไม่ได้มากมายก่ายกองอะไร คือไม่ต้องหลอกลวง ไม่โกหกตัวเองและโกหกผู้อื่น เวลาบอกคนอื่น บอกภรรยาว่า ไปขุดบ่อปลา ปลูกต้นไม้ ผมก็ไปทำอย่างนั้นจริงๆ ส่วนสมาธิก็ให้หยุดคิดก่อนจะทำอะไรลงไป เรามีปัญญาที่จะกระทำได้มากน้อยแค่ไหน พอหยุดคิด สงบ ระลึกได้ ปัญญาก็เกิด ทำอะไรได้ผลสำเร็จ เท่านั้นเอง"

หลักคิดและการใช้ชีวิต

จากประสบการณ์ที่ได้สั่งสมมานานหลายปี นายชาลี ได้ตั้งปณิธานอันแรงกล้า ที่จะร่วมทำบุญถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) เมื่อครั้งพระองค์ทรงออกผนวช ในปี 2500 จึงนำประสบการณ์ที่เคยออกไปทำงานในที่ต่างๆ หันมาทำการเกษตรที่บ้านเกิด ด้วยความมุ่งมั่นที่จะ "ออมน้ำ" นายชาลี จึงบากบั่นขุดบ่อ สร้างคันดินจนสำเร็จ ใช้เวลานานถึง 18 ปี จนได้แหล่งเก็บน้ำที่สมบูรณ์ในปี 2524 ที่มีคันดินสูง 5 เมตร ความกว้าง 14 เมตร ความยาว 280 เมตร จนทำให้ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว มีสวนผลไม้ มีรายได้เพิ่ม

chalee 02กลายเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง กลายเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง "เกษตรแบบผสมผสาน" แทบจะทุกวัน อาศัยทุนทางสังคม ทุนทางสิ่งแวดล้อมหันมาออมน้ำ ออมดิน ออมต้นไม้ โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาเชื่อมต่อกับวิถีชีวิต สร้างชุมชนเข้มแข็ง เรียนรู้การเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน

ได้มีการจัดตั้ง "ศูนย์เรียนรู้การเกษตรทฤษฎีใหม่ จัดตั้งมหาวิชชาลัยภูมิปัญญาไทยอีสานคืนถิ่น" เป็นเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ที่มีส่วนร่วมในการเริ่มต้นก่อตั้ง "ภาคีพันธมิตรเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านใน 5 จังหวัดภาคอีสาน" ได้แก่ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา อำนาจเจริญ และขอนแก่น และมีเจตนาอย่างแรงกล้า ที่จะร่วมสร้างเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านอีสานให้ครบทุกจังหวัด เพื่อให้พี่น้องประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขและพึ่งตนเองได้

แนะนำให้รู้จักพ่อชาลี มาระแสง (ฉบับเต็ม) คลิกเลย!

ความสามารถอันโดดเด่น

1. การทำปุ๋ยหมักชีวภาพสูตรสำหรับปรับสภาพดินในนาข้าว

วัตถุดิบส่วนผสม :

  • แกลบดำ จำนวน 10 กิโลกรัม
  • แกลบดิบ จำนวน 10 กิโลกรัม
  • มูลสัตว์ จำนวน 10 กิโลกรัม
  • รำอ่อน จำนวน 20 กิโลกรัม
  • น้ำหมักชีวภาพ (ฮอร์โมนสูตรแม่) จำนวน 10 ลิตร
  • หัวเชื้อจุลินทรีย์ EM จำนวน 1 ฝา
  • กากน้ำตาล จำนวน 5 ลิตร
  • น้ำเปล่า จำนวน 100 ลิตร

ขั้นตอน/วิธีการทำ :

  • กองวัสดุทุกอย่างเข้าไว้ด้วยกัน ยกเว้นรำอ่อน(ใส่ในขั้นตอนสุดท้าย) ผสมวัตถุดิบทั้งหมดคลุกเคล้าให้เข้ากัน
  • ผสมน้ำหมักชีวภาพ (ฮอร์โมนสูตรแม่) + หัวเชื้อจุลินทรีย์ EM + กากน้ำตาล และน้ำเปล่า คนละลายให้เข้ากัน แล้วนำไปราดบนกองปุ๋ย จนได้ความชื้นที่เหมาะสม กำดูเนื้อปุ๋ยจับกันเป็นก้อนไม่มีน้ำไหลออกจากง่ามนิ้วมือ
  • เกลี่ยกองปุ๋ยให้เสมอกัน แล้วโรยด้วยรำอ่อน ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน รดน้ำไปเรื่อยๆ จนกว่ารำอ่อนจะหมดทั้ง 20 กิโลกรัม ให้เนื้อปุ๋ยคลุกเคล้าเข้ากันดี ให้ได้ความชื้นที่เหมาะสม
  • เกลี่ยกองปุ๋ยให้เสมอกันในที่ร่ม จากนั้นก็หาพลาสติกมาคลุมให้มิดชิด กลับกองทุก 2 วัน ใช้เวลาในการหมัก 15 วัน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

การนำไปใช้งาน :

  • ใส่ปุ๋ยในนาข้าวครั้งแรกในขั้นตอนการเตรียมดิน อัตรา 300 กิโลกรัม/ไร่
  • ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ก่อนย้ายต้นกล้าไปปักดำ อัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่

ประโยชน์จากปุ๋ย :

  • ดินที่แข็งกระด้างจะเริ่มมีความร่วม ซุย ขึ้น ข้าวจะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรจะใช้ปุ๋ยเคมีได้น้อยลง ต้นทุนการผลิตลดลง แต่ได้ปริมาณผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นในปีถัดๆไป

chalee 04

2. การทำสารสกัดสมุนไพรขับไล่แมลง

วัตถุดิบที่ต้องเตรียม :

  • สะเดา จำนวน 3 กิโลกรัม
  • บอระเพ็ด จำนวน 3 กิโลกรัม
  • ข่า จำนวน 1 กิโลกรัม
  • ตะไคร้หอม จำนวน 1 กิโลกรัม
  • หางไหล จำนวน 1 กิโลกรัม (หรือสาบเสือ,หนอนตายหยาก)
  • ผลไม้สุก จำนวน 6 กิโลกรัม
  • ยาฉุน จำนวน 2 กิโลกรัม
  • น้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาล จำนวน 4 กิโลกรัม
  • น้ำสะอาด จำนวน 40 ลิตร
  • หัวเชื้อจุลินทรีย์ จำนวน 10 ช้อนแกง

ขั้นตอน/วิธีการหมัก :

  • หั่นหรือสับวัตถุดิบทั้งหมดใส่ลงในถังหมัก
  • ผสมน้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาลกับน้ำใส่ลงในถังหมัก
  • ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์ลงในถังหมัก แล้วคนวัตถุดิบส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
  • จัดหาวัสดุมาทับไม่ให้วัตถุดิบลอยตัว ปิดฝาถังหมักให้สนิท ตั้งเก็บไว้ในที่ร่มใช้ระยะเวลาในการหมัก 1 เดือน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

การนำไปใช้งาน :

  • ใช้น้ำหมักสมุนไพร 3 ช้อนแกง ผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นเพื่อป้องกันและขับไล่แมลงศัตรูพืชตอนเช้ามืด หรือตอนค่ำ

chalee 03

3. การทำน้ำหวานหมักจากพืชและผลไม้

การทำน้ำหวานหมักจากพืชสีเขียว (น้ำแม่) :

ส่วนประกอบ :

  • ผักบุ้ง 2 กิโลกรัม
  • หน่อกล้วย 2 กิโลกรัม
  • หน่อไม้ 2 กิโลกรัม
  • ผักใบเขียวตระกูลถั่วต่างๆ 2 กิโลกรัม
  • กากน้ำตาล 4 กิโลกรัม
  • หัวเชื้อจุลินทรีย์ 10 ช้อนแกง

การทำน้ำหวานหมักจากผลไม้ (น้ำพ่อ) :

ส่วนประกอบ :

  • กล้วยน้ำว้าสุก 2 กิโลกรัม
  • มะละกอสุก 2 กิโลกรัม
  • ฟักทองแก่ 2 กิโลกรัม
  • กากน้ำตาล 3 กิโลกรัม
  • หัวเชื้อจุลินทรีย์ 10 ช้อนแกง

การหมัก :

  • น้ำส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้าให้เข้ากัน (แยกกันหมักแต่ละสูตรคนละถังหมัก) ระยะเวลาในการหมัก 7-15 วัน จึงนำมาใช้ประโยชน์

การผสมน้ำหวานหมักเพื่อใช้ให้ตรงกับการเจริญเติบโตของพืช :

  • สูตรที่ 1 : ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช ใช้น้ำแม่ 10 ส่วน + น้ำพ่อ 1 ส่วน
  • สูตรที่ 2 : ช่วงเร่งการออกดอกของพืช ใช้น้ำแม่ 5 ส่วน + น้ำพ่อ 5 ส่วน
  • สูตรที่ 3 : ช่วยเร่งผล ราก และหัว ใช้น้ำแม่ 1 ส่วน + น้ำพ่อ 10 ส่วน

การนำไปใช้งาน :

  • หัวเชื้อน้ำหมักที่ผสมกันแล้ว 1 ส่วน ผสมน้ำเปล่า 500 ส่วน ฉีดพ่นตามช่วงอายุการเจริญเติบโตของพืช

ปราชญ์ชาวบ้าน - พ่อชาลี มาระแสง ตอนที่ 1

เกียรติประวัติและผลงาน

  • เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • วิทยากรบรรยายเรื่องการเกษตรทฤษฎีใหม่และเกษตรแบบผสมผสาน
  • ปราชญ์ชาวบ้านผู้พลิกฟื้นผืนป่า
  • รางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ปี 2551

ปราชญ์ชาวบ้าน - พ่อชาลี มาระแสง ตอนที่ 2

redline

backled1

 

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)