foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

khmer words

ภาษาเขมร เรียนรู้ภาษาเพื่อนบ้านใกล้กัน เผื่อไปเที่ยวจะได้พอฟังรู้เรื่อง สื่อสารกันได้บ้าง บอกก่อนว่า ผู้ทำเว็บไซต์นี้ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางภาษาเขมรเลยแม้แต่น้อย แต่สนใจใคร่รู้อยากทราบมากเพราะเคยไปเที่ยมเสียมเรียบ นครวัด นครธม โตนเลสาป มาแล้วใบ้กิน อาศัยไกด์ทัวร์อย่างเดียวเลย วันนี้ได้รับการอนุเคราะห์จาก ครูเหลิม (นายเฉลิมชัย ถึงดี ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา สุรินทร์ เขต 3) ส่งคลิปการเรียนรู้ภาษาเขมรวันละคำมาให้เผยแพร่ ขอบคุณอย่างยิ่งครับ

ความตั้งใจของผม(ผู้จัดทำเว็บไซต์นี้)นั้น ต้องการจะเผยแพร่งานอันเป็นศิลปวัฒนธรรมของภาคอีสาน คนอีสานมีการใช้ภาษาถิ่นหลากหลาย ซึ่งก็รวมทั้งภาษาเขมร ลาว ส่วย และภาษาชนเผ่าอื่นๆ อีกมากมาย ค้นหามาได้ก็อยากบันทึกไว้ เพื่อให้เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ ต้องขอขอบคุณผู้ที่อนุเคราะห์ส่งเสริมข้อมูลความรู้ต่างๆ ไว้เป็นอย่างยิ่งครับ

ภาษาเขมร (ភាសាខ្មែរ ภาสาแขฺมร) เป็นหนึ่งในภาษาหลักของภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติก และได้รับอิทธิพลมาจากภาษาสันสกฤต และภาษาบาลี พอสมควร ซึ่งอิทธิพลเหล่านี้ มาจากอิทธิพลของศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู ต่อวัฒนธรรมของชาวเขมร ในขณะที่อิทธิพลอื่นๆ เช่น จากภาษาไทย และภาษาลาว เป็นผลมาจากการติดต่อกันทางด้านภาษา และความใกล้ชิดกันในทางภูมิศาสตร์

คืนลับฟ้า kernlabfar โดย เจน สายใจ (นักร้องไทย)

จากคลิปวีดิโอด้านบนนี้ คงทำให้ใครหลายคนสนใจอยากเรียนรู้ภาษาเขมรได้บ้าง ด้วยความไพเราะของบทเพลงทั้งเนื้อหาและท่วงทำนอง "คืนลับฟ้า" ในภาคภาษาไทยส่วนมากจะรู้จากการขับร้องของต้นฉบับ คุณเหลือง บริสุทธิ์ และต่อมาก็มีเพลงแก้ที่ขับร้องโดย เจน สายใจ นักร้องสาวชาวสุรินทร์ (ที่ชาวเขมรในอินเทอร์เน็ตทั่วโลกโหวตยกย่องให้เธอเป็น "นักร้องกันตรึมในดวงใจ" ชนะขาด เอื้อน สเรย์มัม นักร้องสาวคนดังชาวเขมรเสียอีก) ที่เอามาให้ชมข้างต้น ที่มีการใส่เนื้อร้องแบบคาราโอเกะให้ได้รับรู้กัน น่าสนใจครับ

ภาษาถิ่น ที่เป็นการพูดจาในประเทศเขมรเอง ก็มีสำเนียงต่างกันอย่างชัดเจนในแต่ละพื้นที่ มีข้อแตกต่างที่สังเกตเห็นได้ระหว่างคนจากเมืองพนมเปญ (เมืองหลวง) และเมืองพระตะบองในชนบท โดยภาษาเขมรจะแบ่งเป็นภาษาถิ่นได้ 5 ถิ่น ได้แก่

  • สำเนียงพระตะบอง พูดทางแถบภาคเหนือของประเทศกัมพูชา
  • สำเนียงพนมเปญ เป็นสำเนียงกลางของกัมพูชา เช่นเดียวกับสำเนียงภาษาไทยกลาง (กรุงเทพฯ) ของไทย โดยจะพูดในพนมเปญ และจังหวัดโดยรอบเท่านั้น
  • สำเนียงเขมรบน หรือสำเนียงเขมรสุรินทร์ พูดโดยชาวไทยเชื้อสายเขมรในแถบอีสานใต้ โดยเฉพาะในจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น
  • สำเนียงแขมรกรอม หรือภาษาเขมรถิ่นใต้ พูดโดยชาวเขมรที่อาศัยแถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงในประเทศเวียดนาม
  • สำเนียงคาร์ดามอน ถือเป็นภาษาถิ่นที่ใช้พูดทางภาคตะวันตกของประเทศกัมพูชา มีผู้ใช้ในแถบเขาคาร์ดามอน (เทือกเขากระวาน) และมีผู้ใช้จำนวนน้อย

ลักษณะของสำเนียงในพนมเปญ คือ การออกเสียงอย่างไม่เคร่งครัด โดยที่บางส่วนของคำจะนำมารวมกัน หรือตัดออกไปเลย เช่น "พนมเปญ" จะกลายเป็น "มเปญ" อีกลักษณะหนึ่งของสำเนียงในพนมเปญ ปรากฏในคำที่มีเสียง r/ร เป็นพยัญชนะที่ 2 ในพยางค์แรก กล่าวคือ จะไม่ออกเสียง r/ร ออกเสียงพยัญชนะตัวแรกแข็งขึ้น และจะอ่านให้มีระดับเสียงตก เช่นเดียวกับวรรณยุกต์เสียงโท ตัวอย่างเช่น "dreey" ("เตรย" แปลว่า "ปลา") อ่านเป็น "เถ็ย" (โดย d จะกลายเป็น t และมีสระคล้ายเสียง "เอ" และเสียงสระจะสูงขึ้น) อีกตัวอย่างหนึ่งคือ คำว่า "ส้ม" ออกเสียงว่า kroich โกรช ในชนบท ส่วนในเมืองออกเสียงเป็น koich โคช

ภาษาเขมรวันละคำ โดย เฉลิมชัย ถึงดี

ไวยากรณ์ ลำดับคำในภาษาเขมรมักจะเป็น ประธาน-กริยา-กรรม ภาษาเขมรประกอบด้วยคำเดี่ยวเป็นหลัก แต่การสร้างคำจากการเติมหน้าคำ และการเติมภายในคำก็มีมาก ซึ่งไวยากรณ์นี้เป็นไวยากรณ์ชนิดเดียวกับภาษาไทยอีกด้วย

อักษรเขียน ภาษาเขมรเขียนด้วยอักษรเขมร และเลขเขมร (มีลักษณะคล้ายเลขไทย) ใช้กันทั่วไปมากกว่าเลขอารบิก ชาวเขมรได้รับตัวอักษรและตัวเลขจากอินเดียฝ่ายใต้ อักษรเขมรนั้นมีด้วยกัน 2แบบ

  • อักษรเชรียง (อักซอเจรียง) หรืออักษรเอน หรืออักษรเฉียง เป็นตัวอักษรที่นิยมใช้ทั่วไป เดิมนั้นนิยมเขียนเป็นเส้นเอียง แต่ภายหลังเมื่อมีระบบการพิมพ์ ได้ประดิษฐ์อักษณแบบเส้นตรงขึ้น และมีชื่ออีกอย่างว่า อักษรยืน (อักซอโฌ) อักษรเอนนี้เป็นตัวยาว มีเหลี่ยม เขียนง่าย ถือได้ว่าเป็นอักษรแบบหวัด
  • อักษรมูล หรืออักษรกลม เป็นอักษรที่ใช้เขียนบรรจง ตัวกว้างกว่าอักษรเชรียง นิยมใช้เขียนหนังสือธรรม เช่น คัมภีร์ในพระพุทธศาสนา หรือการเขียนหัวข้อ ที่ต้องการความโดดเด่น หรือการจารึกในที่สาธารณะ

และอีกแบบ คือ Romanization เขียนภาษาเขมรด้วยอักษรโรมัน ในสมัยก่อน มีผู้นิยมใช้อักษรเขมรเขียนภาษาไทย หรือภาษาบาลี ด้วย เรียกอักษรอย่างนี้ว่า อักษรขอมไทย

khmer alphabet

พยัญชนะเขมร และคำอ่านตัวอักษรเขมร ในภาษาเขมร (ภาษากัมพูชา) พบว่ามีหลายตัวที่มีลักษณะใกล้เคียงกับตัวอักษรไทย - ตัวอักษรลาว - ที่มา : http://www.anantasook.com

khmer vowel

สระเขมร และคำอ่านสระในภาษาเขมร (สระในภาษากัมพูชา) ประกอบด้วย สระลอย (สระที่ไม่ประกอบกับพยัญชนะ) และ สระจม (สระที่ต้องประกอบพยัญชนะ) - ที่มา : http://www.anantasook.com/khmer-language-alphabet-vowel-number

คลิป พยัญชนะภาษาเขมร

สำหรับท่านที่สนใจอยากไปเที่ยวเสียมเรียบ ตอนนี้มีบริการรถประจำทางระหว่างประเทศจากไทยไปเสียมเรียบแล้วนะครับ สนใจดูคลิปข้างล่างนี้ได้เลย

 

รถโดยสารประจำทางระหว่างประเทศ

คลิปสอนภาษาเขมรจาก กรมประชาสัมพันธ์ ก็น่าสนใจดีครับ ถ้าชมแล้วต้องการติดตามให้ Login เข้าระบบด้วยอีเมล์ของ Gmail คลิก! ติดตามรายการใน Youtube เหล่านี้จะแจ้งเตือนเมื่อมีคลิปใหม่ๆ ครับ

สนุกกับภาษาเขมร

รายการพันแสงรุ้ง ตอน ภาษาเขมรถิ่นไทย เรื่องน่ารู้ของการใช้ภาษาเขมรของคนไทยในแถบจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ

รายการพันแสงรุ้ง ตอน เขมรถิ่นไทย

สนใจต้องการศึกษาเพิ่มเติมเชิญที่ Facebook : เรียนภาษาเขมรกับ khmersren.com หรือที่เว็บไซต์ www.khmersren.com/ ของคุณวิจิตร วิทยา

ปิดท้ายหน้านี้ด้วย แหล่งดาวน์โหลดคู่มือ "การอ่านภาษาเขมรเบื้องต้นด้วยตนเอง" จาก สำนักประชาสัมพันธ์ เขต 7 คลิกเลยครับ

lilred

backled1

"ภาษาพูด" หรือ "ความเว้า ความจา" ของคนอีสานในแต่ละท้องถิ่นจะมีสำเนียงที่แตกต่างกัน จริงๆ คำว่า "ภาษาอีสาน" นั้นไม่มีอยู่จริง มีแต่ "ภาษาพูดของคนในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)" ซึ่งมีทั้ง 'ภาษาลาว' (คล้ายคลึงกับภาษาของผู้คนที่ใช้สื่อสารกันใน ประเทศ สปป.ลาว แต่ไม่เหมือนกันทั้งหมด เพราะคนลาวเองก็มีสำเนียงที่แตกต่างกันทั้งทางลาวภาคเหนือ กลาง ใต้ หลายสำเนียง และชนเผ่าต่างๆ แต่ก็สื่อสารกันได้) ภาษาเขมร ส่วย เยอ และภาษาของชนเผ่าต่างๆ ในพื้นที่ [ อ่านเพิ่มเติม : ชาติพันธุ์ชนเผ่าไทยในอีสาน ]

isan words

ทั้งนี้ตามสภาพทางภูมิศาสตร์ ถิ่นที่อยู่ที่มีอาณาเขตติดต่อกับถิ่นใด เช่น แถบจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ มีชายแดนติดกับเขมร สำเนียงและรากเหง้าของภาษาก็จะมีคำของภาษาเขมรปะปนอยู่ด้วย ทางด้านจังหวัดสกลนคร นครพนม หนองคาย เลย ก็จะมีอีกสำเนียงหนึ่ง อุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด ก็อีกสำเนียงหนึ่ง ขึ้นอยู่กับชนเผ่าดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น แต่มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงมีความคล้ายกันก็คือ ลักษณะของคำและความหมายต่างๆ ที่ยังคงสื่อความถึงกันได้ทั่วทั้งภาค

หลังจากได้นำเสนอ "คำและความหมาย" ในคำพูด การสื่อสารของคนในภาคอีสานกันมาเป็นเวลานานพอสมควร ก็มีแฟนๆ ส่วนหนึ่งสนใจอยากจะเรียนรู้มากยิ่งขึ้น เพราะในปัจจุบันนี้ 'คนอีสาน' ได้กระจัดกระจายไปอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ ตลอดทั้งความเจริญอย่างรวดเร็วของการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะสื่อจากวิทยุ-โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน มีการนำเสนอละครที่สะท้อนชีวิตคนอีสานอย่างเรื่อง "นายฮ้อยทมิฬ" ของลุงคำพูน บุญทวี การที่ศิลปินชาวอีสานนำเสนอบทเพลงอีสานโด่งดังไปทั่วประเทศ โดยเฉพาะ "เพลงลูกทุ่งอีสานอินดี้" ทำให้มีหลายๆ ท่านอยากจะรู้ว่า คำที่ปรากฏในเนื้อเพลงเหล่านั้นมีความหมายอย่างไร วันนี้ก็เลยขอนำเสนอบทเรียน "ภาษาอีสานจากเพลง" ขึ้นอีกส่วนหนึ่ง

เพื่อให้เป็นฐานข้อมูลความรู้ไว้อ้างอิงทางวิชาการ สำหรับการสืบค้นหาคำ และความหมายของภาษาอีสานเป็น ภาษาไทยกลาง และภาษาอังกฤษ จึงได้จัดทำระบบสืบค้นออนไลน์ "สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ" ขึ้น ขณะนี้ได้จัดทำให้บริการครบถ้วนแล้วทุกหมวดอักษร

dict header logo

ตอนจัดทำถึงหมวดอักษร 'ด. เด็ก' นี่แหละที่ทำให้ผมรู้ว่า ตัวเองยังไม่รู้จักความหมายของคำที่พูดในภาคอีสานอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะคำบางคำมีความหมายต่างกันมากกว่า 20 ความหมาย ใช้เวลาการดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลอยู่หลายปี เนื่องจากมีคำเป็นจำนวนมาก เลยต้องใช้เวลาเพราะให้คนอื่นช่วยทำแล้วยิ่งยุ่งกว่าเดิมคือ จากความไม่เข้าใจในภาษาอีสาน (ของผู้มาช่วยป้อนข้อมูล) คิดว่าในหนังสือพิมพ์ตก พิมพ์หล่น ก็เลยจัดการแก้ไขให้เสียเลย ทำให้เสียเวลาในการตรวจสอบความถูกต้อง มากกว่าป้อนคำเองเสียอีก จึงได้ปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่ ด้วยการเลือกคำศัพท์ที่เป็นภาษาอีสานแท้ๆ มานำเสนอก่อน ที่เหลือค่อยเพิ่มเติมให้ครบถ้วนจนสำเร็จเรียบร้อยแล้ว (แต่ก็อาจจะยังมีหลงเหลือคำผิดอยู่บ้าง ถ้าหากท่านพบเห็น สงสัย ก็กรุณาช่วยแจ้งกันเข้ามาได้นะครับ จะได้ปรับปรุงให้ถูกต้องต่อไป)

word new

  • ภาษาไทย (กลาง) ในภาษาอีสาน เนื่องจากการขยายตัวของการคมนาคม เศรษฐกิจ การศึกษาจากกรุงเทพฯ สู่หัวเมืองอีสาน ทำให้เกิดการหยิบยืมคำมาใช้ผสมปนเปกันไป บางคำในอีสานเป็นชื่อสามัญออกเสียงสำเนียงกันปรกติทั่วไป แต่คนทางภาคกลาง หรือภูมิภาคอื่นๆ อาจจะเข้าใจว่าเป็นคำหยาบโลน หรือบางคำนั้นในภาษาอีสานอาจจะมีความหมายได้กว้างไกลกว่า เช่น "เปิด" ในภาษากลางคือ เผยออก แย้มออก ตรงข้ามกับ "ปิด" แต่ในภาษาอีสานนั้นยังมีความหมายไปถึง เบื่อหน่าย เปิดหน่าย ได้อีก
    im and kwai
  • เรื่องเสียวสวาทหรืออีโรติกในวัฒนธรรมอีสาน ชื่อ-ที่มาของคำในภาษาอีสาน ความหมายที่ต้องทำความเข้าใจให้ดี ก่อนจะออกความเห็นในแง่ลบ
  • เสี่ยว หมายถึง สหาย, มิตร, เพื่อน, เกลอ (friend, buddy, comrade.) คนที่มีรูปร่างหรือ นิสัยใจคอเหมือนกัน หรือเกิดไล่เลี่ยกัน พ่อแม่ผูกให้เป็นมิตรกัน เรียกว่า "ผูกเสี่ยว" ซึ่งเขาทั้งสองจะผูกสมัครรักใคร่ คอยช่วยเหลือเกื้อกูลจนวันตาย หรือจะเรียกว่า "เป็นเพื่อนตาย" ก็ยังได้

    "ประเพณีผูกเสี่ยว" เป็นงานที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ทุกปีที่จังหวัดขอนแก่นนะครับ

  • คำว่า "บักเสี่ยว" ที่คนในภาคอื่นนำมาใช้เรียกคนอีสานอย่างดูแคลนจึงไม่ถูกต้อง เพราะ คำว่า "บัก" เป็นคำนำหน้านาม "นาย" ที่ใช้เรียกชื่อชายที่มีอายุเสมอกัน หรือต่ำกว่ากันว่า บักสี บักสา บักมี บักมา (นายสี, นายสา, นายมี, นายมา) ถือเป็นคำพูดพื้นๆ ไม่หยาบคายแต่อย่างใด คำว่า "บักสี่ยว" จึงหมายถึงการเรียกว่า ไอ้เพื่อนเกลอ ก็เท่านั้นเอง

  • "บักหำ" คำภาษาอีสานของผู้ใหญ่เรียกผู้น้อย อย่างเอ็นดู [ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมแบบเจาะลึก ได้ที่นี่เลย "บักหำ" ]
    ham 01
  • ไท มีความหมายเป็น 2 นัย คือ
    1. ไท อย่างแรก แปลว่า "ชาว" หรือ "ผู้ที่อยู่" คนในถิ่นที่เอ่ยนามหลังคำว่าไท เช่น ไทอุบลฯ ก็หมายถึง ชาวอุบลฯ ไทบ้าน หมายถึง ชาวบ้าน ไทบ้านได๋ หมายถึง คนบ้านไหน ไทแขก หมายถึง ผู้ที่มาเยือน ซึ่งมักจะไม่ใช่ญาติพี่น้อง และมักจะเป็นบุคคลที่มาจากต่างถิ่น ไม่ได้หมายถึงคนที่เป็นลูกครึ่งไทยผสมอินเดีย หรืออาหรับแต่อย่างใด

    2. ไท อย่างที่สอง หมายถึง ชนชาติไท เป็นชนชาติหนึ่งที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีน จีนตอนใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า (รัฐฉาน) รัฐอัสสัมทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย (ไทอาหม) เอกลักษณ์ของชนเผ่านี้คือ ผู้หญิงตั้งแต่วัยเริ่มเข้าเรียนจะนุ่งผ้าซิ่นแบบป้าย ผ้าซิ่นนี้จะเอาผ้าเป็นผืนมาเพลาะให้เป็นถุงที่ไม่มีก้นถุงก่อน แล้วจึงนุ่งป้ายทบไปเหน็บที่เอวข้างใดข้างหนึ่งของผู้นุ่ง (ไม่ได้นุ่งแบบจีบหน้านางของนางรำละคร หรือพันเฉวียงตัวอย่างส่าหรีของอินเดีย)
  • อ่านสมุดเยี่ยมวันนี้มีผู้ลงนามที่ใช้ชื่อ นางน้อย อยากทราบความหมายของคำว่า สุดสะแนน ก็เลยเอามาบอกกันครับ
    สุดสะแนน ชื่อทำนองเป่าแคนชนิดหนึ่ง เรียก ลายสุดสะแนน ทำนองเป่าแคนโบราณมีหลายชนิด (ทำนอง) แต่ละชนิดเรียก ลาย เช่น ลายสุดสะแนน ลายโป้ซ้าย ลายส้อยใหญ่ ลายส้อยน้อย ลายยาว ดังนั้นเมื่อนำเอาคำนี้ไปใช้ จึงมีความหมายว่า มีความสนุกสนานอย่างยิ่ง (ม่วนหลาย)

    แต่ถ้าเอาความหมายเฉพาะของคำว่า สะแนน จะแปลว่า เตียง เตียงสำหรับผัวเมียนอนเรียกว่า สะแนน หรือแคร่สำหรับนอนย่างไฟของแม่ลูกอ่อนอยู่กรรมก็เรียกว่า สะแนน เช่นเดียวกันครับ

  • ม้ม เป็นคำของคนไทยเชื้อสายลาว และพี่น้องลาวหลุ่มใน สปป.ลาว และไทพวนในทั้งสองประเทศ (ไทยและสปป.ลาว) คำว่า "ม้ม" หมายถึง หลุด พ้น, ผ่านพ้น, รอดพ้น เช่น ทุกคน เกิดมาก็ต้องม้มต่งซิ่น (เกิดมาก็ต้องพ้นชายผ้าถุงของมารดามาทุกคน ยกเว้น ผู้ที่คลอดโดยหมอผ่าตัดออกมา) สมัยก่อนแม่มาน (ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์) จะคลอดในท่านั่งคุกเข่า แล้วใช้มือทั้งสองข้างโหนเหนี่ยวผ้าขาวม้าของสามี ที่ผูกไว้อย่างแน่นหนากับขางเฮือน (ขื่อบ้าน) เผื่อ เวลามีลมเบ่งจะได้ใช้มือเหนี่ยวยึดผ้าเอาไว้

    ม้มมื้อนี่แล้วไข้กะคือสิส่วง (พ้นวันนี้ไปแล้วไข้ก็คงจะสร่าง) หรืออย่างประโยคที่ว่า หั่นหว่าอยู่ หว่ามันสิบ่ม้มมือผ่อ (ว่าแล้วไง ว่ามันจะไม่พ้นมือพ่อที่ต้องทำ) หรือ หนีบ่ม้ม (หนีไม่พ้น)

  • ผ่านมาหลายปีแล้วครับ (จากปี 2000 นี่ก็เข้าปี 2020 แล้ว) แม้จะได้รับการนั่งยันนอนยันจากรัฐบาลว่า เศรษฐกิจฟื้นแล้ว ผมก็ยังอยากขอให้ทุกท่าน ม้มปีนี้ไปแบบหม่อนๆ นะครับ (จงผ่านพ้นภัย เศรษฐกิจไปอย่างราบรื่นตลอดปีครับ อีกปีเถอะน่า)

  • มีคำถามจากแฟนเพลงลูกทุ่งท่านหนึ่ง สอบถามถึงคำในเพลงของคุณฝน ธนสุนทร มาครับ ก็เลยนำมาแนะนำในที่นี้ครับ
    • จ่างป่าง (ว.) สว่าง, โล่ง ท้องฟ้าที่ปราศจากเมฆหมอก มองไปทางไหนก็แจ้งสว่าง เรียก แจ้งจ่างป่าง bright, clear (of clouds)
    • แจ่งแป่ง เป็นสร้อยคำ ใช้คู่กับจ่างป่าง เช่น แจ่งแป่งจ่างป่าง
    • จิ่งปิ่ง (ว.) รูขนาดเล็กเรียก ฮูจิ่งปิ่ง ถ้ารูขนาดใหญ่เรียก ฮูจึ่งปึ่ง small (hole)
    • โจ่งโป่ง (ว.) ลักษณะของรูที่ใหญ่ มองเห็นทะลุตลอด เรียก ฮูโจ่งโป่ง gaping and penetrating (of hole)
  • คะลำ ผิด บาป กรรม สิ่งใดที่ทำลงไปแล้วผิดจารีตประเพณี ผิดกฎหมาย ผิดระเบียบ ผิดต่อ ศีลธรรม ในทางพระศาสนา จะมีโทษมาก โทษน้อย หรือไม่มีโทษ แต่สังคมรังเกียจสิ่งนั้น เรียก คะลำ เช่น ของมันผิดอย่าได้กระทำ ของคะลำอย่าได้ไปต้อง ของพี่น้องอย่าได้ไปซูน เรื่องราวของคะลำยังมีอีกมาก [ ลองคลิกไปอ่านดูเพิ่มเติมกันครับ ]

มีคำถาม มาจากเยาวชนรุ่นหลัง (ลูกอีสานบ้านเฮานี่หละ) ว่า ได้เบิ่งรายการ "เกมทศกัณฑ์ ยกสยาม ทางช่อง 9 โมเดิร์นไนน์ทีวี" ว่ามีการถามถึงความหมายคำศัพท์ภาษาอีสานว่า "ส้วม" หมายถึงอะไร ในคำตอบวันนั้นเฉลยว่า หมายถึง ห้องนอน คนรุ่นผู้ใหญ่อย่างผมนี่ คงไม่สงสัยอะไร แต่รุ่นหลังข้องใจมาก ถึงกับก่นด่ารายการ และตัวพิธีกร คุณปัญญา นิรันดร์กุล ว่าไปเอาคำเฉลยมาจากไหน ไม่เคยได้ยินมาก่อน แบบนี้ดูถูกคนอีสานชัดๆ

suam na baan

เขาดูถูกเราจริงๆ คือ ส้วม หมายถึง ห้องนอน ถูกต้องแล้วคร๊าบ... แต่ห้องนอนที่ว่านี่เฉพาะเจาะจง ต้องเป็นห้องนอนของลูกสาวและลูกเขยนะครับ คงจะเคยได้ยินภาษิตที่ว่า มีลูกสาวเหมือนมีส้วมอยู่หน้าบ้าน อย่าเข้าใจผิดว่า "สิมีไผแวะมาขี้ใส่ส้วมหน้าบ้าน แล้วบ่ล้างเด้อ... อาว" [ ไปอ่านเพิ่มเติม : เฮือนอีสาน ]

ความหมายของภาษิตนี่หมายถึง ต้องคอยระมัดระวัง ไม่ให้ไอ้หนุ่มหน้าไหนมาแอบ 'เจาะไข่แดง' ลูกสาว ก่อนเวลาอันสมควร เพราะถ้าเฝ้าไม่ดีอาจมีเสียงนินทาว่าร้ายในภายหลังได้ว่าลูกบ่มีพ่อ มาที่คำว่า "ส้วม" จากหนังสือ สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ โดย ดร.ปรีชา พิณทอง ให้ความหมายของส้วมไว้ ดังนี้

ส้วม น.๑
ห้องนอน เรียก ส้วม ห้องนอนที่กั้นไว้เพื่อให้ลูกสาวลูกเขยนอน เรียก ส้วม อย่างว่า กูจักนอนในส้วมปักตูเฮือนอัดหี่ (กาไก่). bedroom.
ส้วม น.๒
ห้องน้ำ ห้องที่กั้นไว้เพื่ออาบน้ำ เรียก ส้วม ส้วมน้ำอาบ ก็ว่า อย่างว่า นางนาฏน้อยเมือส้วมอาบสี (สังข์). bathroom.

เรื่องเหล่านี้ ถ้ายังบ่ฮู้ให้ค้นหา บ่แน่ใจให้สอบถามผู้ฮู้กันเสียก่อน อย่าฟ้าวตีโพยตีพาย มันสิขายหน้าฅนเป็น 'ลูกอีสาน' ขนานแท้ซั่นดอกวา...

อ้างอิงจากหนังสือ "สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ"
โดยปราชญ์อีสาน คุณพ่อ ดร. ปรีชา พิณทอง

pang ngang

นอนหงายป่างง่าง ซำบายปานหมา

คำพูดของฅนอีสานกับความหมาย (ที่น่าสนใจ)

ทางทีมงานได้รวบรวมเอาคำจากที่เคยโพสต์ในเพจเฟซบุ๊คเกี่ยวกับ "ภาษาอีสานวันละคำ" มารวมไว้ที่นี่ เพื่อให้ค้นหาย้อนหลังได้ง่ายขึ้น

redlineภาษาอีสานตามหมวดอักษร | ภาษาอีสานจากเพลง | ภาษาเขมร | Isan Dictionary Online 

dict header logo

ข้อมูลคำศัพท์นี้นำมาจาก หนังสือสารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ ของ คุณพ่อ ดร.ปรีชา พิณทอง ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2532   แปลและให้ความหมายคำเป็นภาษาอังกฤษ โดย คุณแซม แมททิกซ์ (Samuel A. Mattix) ชาวอเมริกัน ที่เข้ามาสอนศาสนาที่จังหวัดนครพนม เป็นเวลาหลายปี คุณแซมเข้าใจภาษาอีสาน และพูดภาษาอีสานได้ดีเหมือนคนอีสานทีเดียว

การนำเสนอคำศัพท์เหล่านี้อาจจะยังไม่ครบถ้วนมากนัก ถ้าท่านใดค้นหาคำใดไม่เจอ อาจจะไม่มีในฐานข้อมูลนี้ อยากทราบความหมาย ก็สอบถามมายังmail webmasterจะค้นคว้าหาคำตอบมาเพิ่มเติมให้ ในสารานุกรมชุดนี้นั้น ถ้าหากท่านได้ค้นหาอย่างครบถ้วนแล้ว จะพบว่า เน้นไปในทางศาสนาพุทธมากทีเดียว มีคำเกี่ยวกับพระสงฆ์มาก เนื่องจากการจัดทำสารานุกรมนี้เริ่มทำในสมัยที่คุณพ่อปรีชา พิณทอง ยังบวชอยู่ในร่มกาสาวพัตร์ ท่านสอบได้เปรียญเก้าประโยค ซึ่งถือว่าเป็นเปรียญสูงสุดของฝ่ายสงฆ์ ได้รับการยกย่องจากทุกสารทิศในวงการสงฆ์ เพราะเป็นพระชนบทที่ไม่ได้ไปร่ำเรียนในสำนักกรุงเทพฯ แต่สอบได้ สมณศักดิ์ครั้งสุดท้ายคือ เจ้าคุณพระศรีธรรมโสภณ

ภาษาอีสานนั้นมีคำพูดที่หลากหลาย คำคำเดียวอาจมีความหมายได้หลายอย่าง บรรดาคำเหล่านี้ล้วนเป็นคำเก่าทั้งสิ้น บางคำยังใช้กันอยู่ บางคำเกิดขึ้นใหม่ บางคำหมุนเวียนเปลี่ยนไป บางคำเสื่อมสิ้นไปสูญหายไปเหมือนคน เพราะเกิดนาน จะมีหลงเหลืออยู่บ้าง ก็ในวรรณคดีอีสานเก่าๆ อักษรย่อที่ใช้ในสารานุกรมจะมีความหมายดังนี้

บัญชีอักษรย่อที่ใช้ในสารานุกรมนี้

  1. อักษรย่อในวงเล็บ ที่บอกที่มาของคำ
    ข. = เขมร       ป. = ปาลิ (บาลี)       ป., ส. = บาลี, สันสกฤต       จ. = จีน         ส่วย = ส่วย       อ. = อังกฤษ
    ญวณ = ญวณ
  2. อักษรย่อหน้าบทนิยาม บอกชนิดของคำตามหลักบาลีไวยากรณ์
    ก. = กริยา (verb)
    น. = นาม (noun)
    บ. = บุรพบท (preposition)
    ว. = วิเศษณ์ (คุณศัพท์หรือกริยาวิเศษณ์) (modifier)
    ส. = สรรพนาม (pronoun)
    สัน. = สันธาน (conjunction)
    อ. = อุทาน (exclamation)
  3. คำในวงเล็บท้ายตัวอย่างที่ยกมา บอกหลักฐานที่อ้างอิง ซึ่งมีชื่อเต็มดังนี้
    (กลอน) = คำกลอน
    (กล่อมลูก) = คำกล่อมลูก
    (กา) = กาฬเกษ
    (กาไก) = ท้าวกาไก
    (กาเผือก) = ท้าวกาเผือก
    (กาพย์ปู่) = กาพย์ปู่สอนหลาน
    (คำสอน) = ท้าวคำสอน
    (จำปา) = จำปาสี่ต้น
    (เชตพน) = เรื่องวัดเชตพน
    (เซิ้งกลอง) = เซิ้งตบกลอง
    (เซียงเหมี้ยง) = หนังสือเซียงเหมี้ยง
    (นกจอกน้อย) = ท้าวนกจอกน้อย
    (นิทาน) = นิทานพื้นบ้าน
    (บ) = คำโบราณ
    (บัง) = บังรหัส
    (ปฐมปนา) = ปฐมปนา
    (ประเพณี) = ประเพณีโบราณไทยอีสาน
    (ประวัติอุบล) = ประวัติเมืองอุบล
    (ปริศนา) = ปัญหาคดีโลก
    (ปัสเสน) = พญาปัสเสนทิ์
    (ปัญหา) = ปัญหาคดีโลก
    (ปู่) = หนังสือปู่สอนหลาน
    (ผญา) = คำผญา (ภาษิตอีสาน)
    (ผอกผี) = ประเพณีผอกผี
    (ผาแดง) = ผาแดงนางไอ่
    (ผูกแขน) = ประเพณีผูกแขน
    (เพลง) = เพลงผู้ใหญ่ลี
    (ภาษิต) = ภาษิตอีสาน
    (มทรี) = มหาชาติกัณฑ์มทรี
    (มนต์) = มนต์โบราณอีสาน
    (มนต์ปลูกผม) = มนต์ทำให้ผมดก
    (มาลัยสูตร) = มาลัยสูตร
    (ขึ้นลำ) = ก่อนจะขึ้นกลอนลำ
    (ขุนทึง) = ขุนทึงนางนี
    (ขุนบุรม) = พื้นขุนบุรม
    (ขูลู) = ขูลูนางอั้ว
    (คชนาม) = ท้าวคชนาม
    (คลองสิบสี่) = คลองสิบสี่
    (ย่า) = ย่าสอนหลาน
    (ยามอัฏฐกาล) = ยามแปดในหมอดูโบราณ
    (สิน) = สินทอง
    (สืบ) = สิบพระสูรย์ สืบปสูญ
    (เวส) = เวสสันดร
    (เวส-กลอน) = เวสสันดรคำกลอน
    (สรรพสิทธิ) = สรรพสิทธิคำโคลง
    (สม) = สมที่คึด
    (สอย) = คำสอย
    (สังข์) = สังข์ศิลป์ชัย
    (สำ) = คำสำนวน
    (สิริจัน) = สิริจันโทวาท
    (สุด) = สุดที่อ่าว
    (สุริย์วงศ์) = สุริย์วงศ์
    (สู่ขวัญ) = ประเพณีสู่ขวัญ
    (เสียว) = เสียวสวาสดิ์
    (โสกผู้ญิง) = โสกผู้หญิง
    (โสกวัน) = โฉลกวัน
    (โสวัตร) = ท้าวโสวัตร
    (อ่านเจือง) = อ่านหนังสือ
    (อิน) = อินทิญาณสอนลูก
    (หน้าผาก) = หน้าผากไกลกะดัน
    (หมอดู) = หมอดูโบราณอีสาน
    (หมาหยุย) = ท้าวหมาหยุย
    (หลาน) = กาพย์หลานสอนปู่
    (ฮุ่ง) = ท้าวฮุ่ง หรือ ท้าวเจือง

หากมีข้อบกพร่องด้วยการพิมพ์ผิด พิมพ์ตก พิมพ์หล่น ก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ เนื่องจากข้อมูลคำศัพท์มีเป็นจำนวนมาก บางคำอาจเป็นคำเก่าที่ไม่มีใช้แล้วในปัจจุบัน (ซึ่งไม่ใช่การพิมพ์ผิด) บางคำพยายามพิมพ์ให้อ่านเหมือนกับ การเลียนเสียงสำเนียงภาษาอีสานแท้ๆ จนท่านอาจจะคิดว่าพิมพ์ผิดไป ถ้าท่านมีข้อสงสัย หรือจะทักท้วงที่ไหน อย่างไร ก็โปรดได้เสนอแนะไปที่mail webmasterจะขอบพระคุณยิ่งครับ

ต้องขอบคุณน้องๆ นักศึกษาฝึกงานจากสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี และลูกศิษย์นักเรียนโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช หลายๆ คนที่ช่วยกันป้อนข้อมูลคำศัพท์ และขอบคุณเป็นพิเศษ สำหรับโปรแกรมการสืบค้นด้วยภาษา ASP (ครั้งแรกทำเซิร์ฟเวอร์ด้วยวินโดว์เอ็นที 4) จาก นายต๋อง (อรรถกรณ์ ศรีณรงค์) แห่ง www.tongzweb.com และทำการดัดแปลงให้เป็นภาษา PHP + MySQL โดย นายกระป๋อง (พงษ์พันธ์ เพียรพาณิชย์) ลูกศิษย์รักอีกคน เพื่อให้ใช้งานกับเซิร์ฟเวอร์ลินุกส์ได้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

และกราบขอบพระคุณอย่างสูง สำหรับบรรดาข้อมูลคำศัพท์เหล่านี้จากคุณพ่อ ดร.ปรีชา พิณทอง ที่ได้ศึกษาค้นคว้ารวบรวมไว้ให้เราลูกหลานได้มีโอกาสเรียนรู้ และสืบสานเป็นมรดกทางวัฒนธรรมตลอดไป

หนังสือเล่มนี้ไม่มีการพิมพ์เพิ่มเติมเพื่อจำหน่ายอีกแล้วนะครับ เพราะค่าใช้จ่ายสูง ฉบับเดิมที่ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2532 ได้รับการสนับสนุนจากทาง มูลนิธิโตโยต้า (Toyota Foundation) ราคาเมื่อปีที่จัดพิมพ์คือ เล่มละ 300 บาท ราคาปัจจุบัน ผมเคยเจอที่ร้านขายหนังสือเก่าในตลาดจตุจักร เมื่อปี พ.ศ. 2550 ติดป้ายกระดาษเล็กๆ 1,500 บาท ท่านที่สนใจอยากได้คงต้องตามหาเอาจากแหล่งหนังสือเก่า โชคดีอาจพบเจอ 1 ใน 5,000 เล่มที่จัดพิมพ์ โดย ด่านสุทธาการพิมพ์ จัดจำหน่ายโดย สายส่งเคล็ดไทย

จึงเรียนมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน กระผมผู้จัดทำเว็บไซต์นี้มีเพียงเล่มเดียวที่คุณพ่อ ดร.ปรีชา พิณทอง ได้กรุณามอบให้ เพื่อมาทำเป็นระบบออนไลน์เผยแพร่และไม่ขอจำหน่ายครับ (เป็นแรงบันดาลใจที่ได้จากคุณพ่อมาขอเก็บไว้ให้เป็นสมบัติของลูกหลาน)

กลับไปค้นหาคำในสารานุกรมอีกครั้ง

 

หมวดหมู่รอง

รวมผญา สุภาษิต และคำสอย

กลอนลำ

song word

เพลงลูกทุ่งอีสาน มาเข้าใจความหมายของคำภาษาอีสานในเพลงลูกทุ่ง

ภาษาอีสานแยกตามหมวดอักษร

กลอน ภาษิตโบราณอีสาน

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)